ผมมีคำแนะนำทีมีค่าอย่างยิ่ง

บทความต่างๆที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม

โพสต์ โพสต์
humdrum
Verified User
โพสต์: 1961
ผู้ติดตาม: 0

ผมมีคำแนะนำทีมีค่าอย่างยิ่ง

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ผมอ่านโพสเรื่อง กาลามสูตร ที่ท่าน sakkaphan เป็นคนโพส
แล้วสนใจเป้นอย่างยิ่ง ผมไม่เคยอ่านว่ามีอะไรบ้างเลย
นี่เป้นครั้งแรกครับ

sakkaphan เขียน:วันแรกแห่งปีมังกร ขอเสนอหลัก กาลามสูตร ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ให้แก่พุทธศาสนิกชน ไม่ให้เชื่อสิ่งใด ๆ อย่างงมงายโดยไม่ใช้ปัญญา

1. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามๆ กันมา
2. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสืบๆ กันมา
3. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ
4. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์
5. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก
6. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะการอนุมาน
7. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล
8. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว
9. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้
10. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้ เป็นครูของเรา

หวังว่าคงมีประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย ขอขอบคุณ google สำหรับข้อมูล
สวัสดีปีใหม่ครับ



ผมอ่านแล้ว ก็นัี่งคิดอยู๋นาน
พระองค์ท่านพูดไว้เป็นจริงทุกประการ
เป็นไปไมได้ว่า เราจะ long หรือ short ความเชื่อ/ ความไม่เชื่อ ของตัวเองได้อย่างถูกต้องตลอดเวลา
เวลาจะตัดสินใจว่าจะอยู๋ข้าง ความเชื่อ / ความไม่เชื่อ นั้น
การตัดสินใจเป้นเพียงการสะท้อนอัตตาตัวเองในเวลานั้นเท่านั้น

อัตตาของคนมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
และสลับเปลี่ยนระหว่างการเข้าสู่ภาวะไร้ดุลยภาพ / เสถียรภาพ
ถ้าฝึกตัวเองให้อยู๋ในภาวะเสถียรภาพจนเป็นอาจิณของชีวิต
การตัดสินใจของเราคงมีประสิทธิภาพอย่างยิ่ง
ถ้าท่านไม่เคยฝึกจับอารมณ์ตัวเองเลย
สิ่งที่ท่านแปลสิ่งต่างที่ท่านเห็นกับความจริงที่ปรากฎ
อาจผิดเพี้ยนไปจากที่ท่านคิด
self dictionary ของตัวเองนั้นแปลสิ่งต่างๆ อาจผิดหมดเลย
ทุกอย่างที่ท่านแปลสะท้อนอัตตาของตัวเองทั้งนั้น
อาจหาได้สะท้อนความจริงไม่
มันยากมากที่จะตัดสินใจเชือ / ไม่เชื่อโดยไม่มีอัตตาเข้ามาปน

การยอมรับว่าตัวเองผิดจึงเป็นสิ่งที่ดีกว่า
และเมื่อยอมรับว่าตัวเองผิดได้แล้ว
เชื่อหรือไม่เชื่อจึงไม่สำคัญู

สำคัญที่เวลาเชื่อแล้ว มันกลับตาลปัตรจากที่เชื่อ
แล้วจะส่งผลเป็นอย่างไร เราจะทำอย่างไร
เตรียมแผนสำหรับสิ่งที่ไม่คาดหวังไว้หรือไม่
ถ่าเป็นนักลงทุน เตรียมแผนcut loss ไว้หรือไม่
cut loss ที่วานี้ ทั้งตัวเงิน ทั้งอัตตาของตัวเอง
ถ้าผิดแล้ว จะก้าวต่อไปข้างหน้าได้อย่างไร
หรือจะยืนตกใจทำอะไรไม่ถูกเลยอยู๋ตรงนั้น

ขั้นต่อไปจึงหาสาเหตุที่ทำให้เราเชื่อคนคนนั้น สิ่งสิ่งนั้นอย่างปักใจว่าเพราะอะไร
การยอมรับว่าตัวผืดได้จึงทำให้รู้จักตัวเองอย่างแท้จริง
รู้หรือไม่ว่าโดนอัตตาตัวเองหลอกอยู๋มาตั้งนานแล้ว

ส่วนที่ยากในขั้นนี้คือ จะต้องซื่อสัตย์ต่ออัตตาตัวเอง
อัตตาที่ว่านี้ก็เหมือนปัจจัยพืนฐานของหุ้น
แต่เป็นพื้นฐานของตัวเอง
และการประเมิณตัวเองก่อนว่าคิดอย่างไรในขณะนั้นถือว่าสำคัญอย่างยิ่ง
เพราะพอรู็ว่าตัวเองคิดอะไรอยู๋ มันก็เป้นเรื่องง่ายที่จะกระโดดไปอีกขั้น
นั่นคือการเดิมพันกับอัตตาตัวเองที่จะเกิดขึ้นในอนาคตแบบไม่คาดหวัง

ผมจะเดิมพันกับตัวเองว่า
การเชื่อ/ การไม่เชื่อ กำลังจะเกิดขึ้นกับตัวเองเมื่อไหร่
หรือว่าตัวเองได้ตัดสินใจเขื่อหรือไม่เชื่อไปแล้ว
จนจับมันไม่ทัน

ผมเคยเป็นสิงเดียวกับอัตตาของผม
มันอยู่ได้ด้วยตัวผม และผมอยู๋ได้ด้วยพวกมัน
ผมนอนหลับไปกับมัน
มันคือเจ้านายผม
ผมเคยหวาดกลัวว่าจะสูญเสียพวกมันไป
และการหลีกเหลี่ยงที่จะยอมรับพวกมันทำให้ผมเคยทุกข์ใจอย่างมาก
มันเป็นวิถีชีวิตทีน่าสังเวชจริงๆ

ผมมีคำแนะนำทีมีค่าอย่างยิ่ง
ผมเรียก อัตตา ตัวเองว่า ความยุ่งเหยิงที่ไร้ระเบียบ
ถ้าสามารถวิเคราะห์พวกมันได้มากเท่าใด
ท่านก็สามารถเข้าใจตัวเองได้ดีเท่านั้น
และความรวยมันจะมาหาท่านเอง
ถ้าท่านไม่สนใจในเรื่องค้นหาอัตตาตัวเอง
มันอาจจะพาความซวยมาหาท่านได้เช่นกัน
sakkaphan
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1111
ผู้ติดตาม: 0

Re: ผมมีคำแนะนำทีมีค่าอย่างยิ่ง

โพสต์ที่ 2

โพสต์

เป็นคำแนะนำที่มีค่าอย่างยิ่ง เหมือนชื่อกระทู้จริงๆครับ

คุณเคยเถียง ทะเลาะ โมโหโทโส กับคนที่ความคิดเห็นไม่ตรงกับคุณบ้างมั้ย
คุณเคยคิดบ้างมั้ยว่า ที่เค้าเชื่อหรือไม่เชื่อเช่นนั้น เป็นเพราะเหตุอันใด เป็นผลยังไง
แล้วคุณเคยมองย้อนกลับดูตัวเองมั้ยว่า ที่เราเชื่อหรือไม่เชื่อเช่นนั้น เป็นเพราะเหตุอันใด เป็นผลยังไง
แล้วผลลัพธ์มันเป็นเช่นไร หากไม่มีฝ่ายใดฝ่ายนึงใช้"สติ" จับอารมณ์ จับความคิดของตนเองได้ทัน

"ทุกอย่างที่ท่านแปลสะท้อนอัตตาของตัวเองทั้งนั้น
อาจหาได้สะท้อนความจริงไม่"

ผมชอบประโยคนี้
ตราบใดที่เรายังไม่มี "สติ"
การเชื่อ หรือ ไม่เชื่ออะไร ก็ไร้ความหมาย

ขอบคุณสำหรับบทความครับ
ความยากจนในจิตใจ คือความยากจนที่แท้จริง
ภาพประจำตัวสมาชิก
Tibular
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 522
ผู้ติดตาม: 0

Re: ผมมีคำแนะนำทีมีค่าอย่างยิ่ง

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ความหลงในตัวเอง ยากที่จะเห็นและเข้าใจ

บางท่านต้องรอเวลาและเหตุการณ์ที่เหมาะสม
บางท่านสังเกตเห็นได้เอง
บางท่านมีผู้มาเตือนมาชี้ให้เห็น
บางท่านมาเข้าใจเมื่ออายุมากแล้วจากการนึกทบทวนถึงสิ่งที่ผ่านมา
บางท่านเข้าใจเมื่อเกิดโรคร้าย เกิดอุบัติเหตุแก่ตัวเอง
บางท่านเข้าใจเมื่อเกิดการสูญเสียสิ่งต่างๆในชีวิต
บางท่านเห็นและเข้าใจจากการปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ

แล้วก็มีอีกหลายท่านที่ไม่เคยสนใจ
ไม่เคยได้รู้ ไม่เคยคิดว่ามันมีอยู่
หรือแม้แต่กระทั่งจะสงสัย

ทุกสิ่งทุกอย่างก็คงดำเนินไปอย่างนี้จนถึงเวลาที่เหมาะสม
แต่หากเราเตรียมตัวไว้ก่อนจะดีกว่าไหม

ใช้หลักกาลามสูตร แล้วคงต้องใช้หลักโยนิโสมนสิการควบคู่ไปด้วยคับ

ผมหลงมานานปีกว่าจะเห็นและเข้าใจ
แต่ก็อาจจะยังหลงอยู่หรือคิดไปเองว่าเห็นและเข้าใจ

จึงแสวงหาความรู้ทั้งเรื่องรูปธรรมและนามธรรม

การเป็นนักลงทุนเปิดโอกาสในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ
สืบสาวถึงที่มาที่ไป ความเป็นไปของสิ่งต่างๆ
คงเพราะมีเวลา และไม่ต้องถูกบีบคั้นด้วยครรลองของสังคม

ทุกวันนี้ได้รู้ว่าการเรียนรู้ไม่ได้จบลงที่ใบปริญญา สถานที่ศึกษา ประเทศที่ศึกษา
ทุกวันนี้ในโลกยุคนี้คุณสามารถเลือกศึกษาสิ่งต่างๆได้มากและลึกเท่าที่คุณต้องการ

"คนที่รู้ว่า ตัวเองไม่รู้อะไร"
"คนที่รู้ว่า ตัวเองรู้อะไร"
"คนที่ไม่รู้ว่า ตัวเองรู้อะไร"
"คนที่ไม่รู้ว่า ตัวเองไม่รู้อะไร"

อยากเป็นคนแบบไหนกันคับ

สวัสดีปีใหม่คับ
humdrum
Verified User
โพสต์: 1961
ผู้ติดตาม: 0

Re: ผมมีคำแนะนำทีมีค่าอย่างยิ่ง

โพสต์ที่ 4

โพสต์

wow , I smell the word "โยนิโสมนสิการ" but I can't taste it. What does it mean?
Living fully in the moment?
he

How about exercises and practical application for the most basic ego busters?

What are your " to do "lists to distinguish between facts and our emotional thoughts which interpret the facts.?

I persist that only real experiences to "dig me" , as uncomfortable as we could become, have the real power to transform ourself.

อย่างผมดูบริษัท X ผมแยก facts กับ ความคิดเห็นเกี่ยวกับ facts
ถ้ามันเป็นบริษัทที่ยังไมมีใครสนใจ
ผมจะถามว่าที่ว่าไม่สนใจนั้นเป็นความคิดผมเองหรือว่าเป้นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆ
ถ้าผมจับได้ว่าเป้นความคิดเห็นของตัวเองมากกว่า
ผมก็จะอินเวิดทันทีว่า คนทั้วโลกทราบกันดีแล้ว
และผมเป็นคนสุดท้ายที่ซื้อหุ้นของบริษัทนี้
เห็นไหมครับว่า ผมกำลังจับผิดตัวเอง
และจากการย้อนความคิดเห็นของตัวเองนี้
ผมจะตั้งสมมุติฐานและเริ่มทำการบ้าน
เพื่อหาข้อมูลว่า คนทั้งโลกทราบแล้วจริง
และมีบางสิ่งที่ผมไม่ทราบเกี่ยวกับบริษัทนี้
ความเป็นไปได้ที่ผมจะผิดพลาดจากการลงทุนครั้งนี้นั้น
เกิดจากการตีความของผมจากข้อมูลบริษัทที่ผมได้อ่านหรือรับรู้
การปฎิบัติจริงในการจับ ego ของตัวเองนั้นอยู๋ที่การตีความ
เอาการตีความหมายอันเก่าออกไป เอาอันใหม่เข้าไปแทนที่
การตีความหมายใหม่ของสิ่งต่าง ๆ ในมุมมองตรงข้ามจึงเป้นกฎข้อแรกของการจับผิดตัวเอง
สำหรับผมเป็นกฎข้อแรกของการลงทุน

หลักที่ผมใช้ในปีที่ผ่านมาในการจับอารมณ์ตัวเองครับ

ผมชอบมองกระรอกในสวนปีนต้นมะม่วงในบ้านตอนเช้า
ผมจินตนาการตัวเองเป็นต้นไม้ กระรอกเกาะบนตัวผม ผมเป้นต้นไม้
ผมรู็สึกอย่างไร ผมเป็นกระรอก ผมกำลังปีนสายไฟ
ผมเป้นสายไฟ มีกระรอกปีนบนตัวผม ผมรู็สุกอย่างไร
ผมเป็นลำธาร กระรอกมากินน้ำผม ผมรู็สึกอย่างไร
ผมเป็นผู้บริหารบริษัท x ผมรู้สึกอย่างไรมีคนมาสนใจซื้อหุ้นของผม
ผมเป็นนักลงทุนสนใจซื้อหุ้นบริษัท x ผมรู็สึกอย่างไร

สำหรับแบบฝึกหัดที่ผมยกมานั้น
ช่วยให้ผมแยกอคติของตัวเองออกจากฝูงชน
สำหรับการลงทุนนั้น
ผมมองไม่เห้นว่า ราคากับอคติของคนจะแยกกันไม่ออกได้อย่างไร
อันที่จริง ผมอยากจะบอกว่า ราคากับอคติมันคือสิ่งเดียวกัยด้วยซ้ำ
ไม่ว่า ปี 2555 กลุ่มไหนจะเข้าวิน กลุ่มไหนจะเข้ากรุ
มันก็ไม่สำคัญ ตราบใดที่เรายัง long และ short ได้เสมอ
ผมกลับให้ความสำคัญกับกระบวนการของการเติบโต / ตกต่ำ มากกว่า
มากกว่าที่จะให้ความสำคัญกับว่าลงทุนหุ้นตัวไหนครับ

รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Tibular
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 522
ผู้ติดตาม: 0

Re: ผมมีคำแนะนำทีมีค่าอย่างยิ่ง

โพสต์ที่ 5

โพสต์

เห็นด้วยกับมุมมองเรื่องหุ้นคับ

แนวคิดการมองหามูลค่าหุ้นพื้นฐานมาจาก
การเข้าใจคุณภาพของกิจการ และคุณภาพของกำไร
รวมถึงระยะเวลาที่กิจการจะมีคุณภาพอยู่

(จากกราฟ)
ส่วนภาวะตลาด อคติ จิตวิทยา ของผู้เล่น
ทำให้เรามองเห็นถึง แนวโน้มของราคา วัฏจักรของราคา
ต่อกำไรที่ทำได้ของกิจการ และราคามันก็บอกถึง
ความคาดหวังในอนาคตว่าดีหรือแย่ลง

บางทีนี่อาจเป็นเหตุผลที่นักลงทุนที่มีเหตุผลสามารถถือหุ้นได้นานๆ
แม้บางช่วงจะผันผวน เพราะเค้ารู้ หรือด้วยประสบการณ์ และสัญชาตญาณ
ว่ามันคุ้มค่ามากที่จะรอคอยช่วงเวลาที่กิจการมีคุณภาพ และกำไรดีที่สุด
แล้วจึงขายหุ้นราวกับเค้ารู้ว่าบริษัทจะไม่สามารถมีคุณภาพ และกำไรได้ดีกว่านั้นอีกแล้ว
จนกว่าจะมีเรื่องราวเข้ามาใหม่ๆต่อไป นี่คงเป็นความสนุก และเสน่ห์ของการลงทุนในตลาดหุ้นอย่างนึง

สำหรับเทรดเดอร์ที่มองเห็น ก็คงใช้ประโยชน์ได้มากมายจากวัฏจักรของราคา
ไม่ว่าขาขึ้น หรือขาลง และนั่นอาจทำให้เค้าทำกำไรได้มากมายมหาศาล

การเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของเรื่องนี้อาจเป็นกุญแจสำคัญ
ซึ่งทำให้การลงทุนของเราน่าจะปลอดภัย และได้ผลตอบแทนที่น่าพอใจได้

โยนิโสมนสิการ เป็นวิธีการคิดทางพุทธมี 10 วิธีที่สรุปมาจากคำสอนต่างๆของพระพุทธเจ้า
กระบวนการคิดหาเหตุผลทำให้เราได้คำตอบต่างๆมากมายในโลก และในตัวเราเอง
นำมาซึ่งวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิถีชีวิต จนเราเป็นอย่างที่เราเป็นในปัจจุบัน

โยนิโสมนสิการ อย่างย่อๆคับ
1. วิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย
2. วิธีคิดแบบแยกแยะส่วนประกอบ
3. วิธีคิดแบบสามัญลักษณ์
4. วิธีคิดแบบแก้ปัญหา
5. วิธีคิดตามหลักการและความมุ่งหมาย
6. วิธีคิดแบบเห็นคุณโทษและทางออก
7. วิธีคิดแบบรู้คุณค่าแท้-คุณค่าเทียม
8. วิธีคิดแบบเร้าคุณธรรม
9. วิธีคิดแบบอยู่กับปัจจุบัน
10. วิธีคิดแบบวิภัชชวาท

ถ้าสนใจลึกๆก็ต้องหาข้อมูลกันละคับ น่าเสียดายนะคับแนวคิดดีๆอยู่กับ
พวกเราคนไทยมานานมากมายกลับมองไม่เห็น ถูกปกคลุมทับถมอยู่ด้วย
ความศักดิ์สิทธิ์ ความกลัวสิ่งเหนือธรรมชาติ ความเก่า คร่ำคร่า ไม่ทันสมัย
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3227
ผู้ติดตาม: 4

Re: ผมมีคำแนะนำทีมีค่าอย่างยิ่ง

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ที่มาของกาลามสูตรมาจาก เกสปุตตสูตร กล่าวถึง ชาวกาลามะ แห่งนิคมเกสปุตตะ ที่สงสัยว่ามีคนมาเผยแพร่ลัทธิ ศาสานา ความเชื่อต่างๆ บ้างก็บอกว่าของตนดีอย่างนู้นอย่างดี บอกว่าของคนอื่นไม่ดีอยู่นู้นอย่างนี้ จนสร้างความสับสนเคลือบแคลงว่าใครพูดจริง ใครพูดเท็จ พระพุทธเจ้าจึงตรัสสั่งสอนชาวกาลามะ ตามพระสูตรในข้างต้น

จุดที่น่าสนใจในพระพุทธพจน์ คือ

....
ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ก็ควรแล้วที่ท่านทั้งหลายจะเคลือบแคลงสงสัย และท่านทั้งหลายเกิดความเคลือบแคลงสงสัยในฐานะที่ควรแล้ว มาเถิดท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย
- อย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา (บทว่า มา อนุสฺสเวน ได้แก่ อย่าเชื่อถือ แม้โดยถ้อยคำตามที่ได้ฟังมา.)
- อย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำสืบๆ กันมา (บทว่า มา ปรมฺปราย ได้แก่ อย่าเชื่อถือ แม้โดยถ้อยคำที่นำสืบๆ กันมา.)
- อย่าได้ยึดถือโดยตื่นข่าวว่า ได้ยินอย่างนี้ (บทว่า มา อิติกิริยาย ได้แก่ อย่าเชื่อถือว่า ได้ยินว่าข้อนี้เป็นอย่างนี้.)
- อย่าได้ยึดถือโดยอ้างตำรา (บทว่า มา ปิฏกสมฺปทาเนน ได้แก่ อย่าเชื่อถือ ข้อความนี้ สมกับตำราของเราบ้าง.)
- อย่าได้ยึดถือโดยเดาเอาเอง (บทว่า มา ตกฺกเหตุ ได้แก่ อย่าเชื่อถือ แม้โดยการถือเอาตามที่ตรึกไว้.)
- อย่าได้ยึดถือโดยคาดคะเน (บทว่า มา นยเหตุ ได้แก่ อย่าเชื่อถือ แม้โดยการถือเอาตามนัย.)
- อย่าได้ยึดถือโดยความตรึกตามอาการ (บทว่า มา อาการปริวิตกฺเกน ได้แก่ อย่าเชื่อถือ แม้โดยการตรึกตามเหตุการณ์อย่างนี้ว่า เหตุนี้ดี.)
- อย่าได้ยึดถือโดยชอบใจว่าต้องกันกับทิฐิของตัว (บทว่า ทิฏฺฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา ได้แก่ อย่าเชื่อถือว่า ข้อนี้สมกับความเห็นที่พวกเราพินิจพิจารณา ทนต่อการพิสูจน์ จึงถือเอา.)
- อย่าได้ยึดถือโดยเชื่อว่าผู้พูดสมควรจะเชื่อได้ (บทว่า มา ภพฺพรูปตาย ได้แก่ อย่าเชื่อถือ โดยคิดว่า ภิกษุนี้เหมาะสม ควรเชื่อถือถ้อยคำของภิกษุนี้ได้.)
- อย่าได้ยึดถือโดยความนับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา (บทว่า มา สมโณ โน ครุ ได้แก่ อย่าเชื่อถือว่า พระสมณะรูปนี้เป็นครูของเรา ควรเชื่อถือถ้อยคำของพระสมณะรูปนี้ได้.)

....
(แล้วอะไรล่ะที่ควรเชื่อ) พระพุทธเจ้าตรัสต่อว่า
...

เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศลธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ผู้รู้ติเตียน ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้วเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายควรละธรรมเหล่านั้นเสีย
...
...
...
เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้สรรเสริญ ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อสุข เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายควรเข้าถึงธรรมเหล่านั้นอยู่
...
...
...

ส่วนที่คุณ sakkaphan หาได้จากอินเตอร์เน็ต
sakkaphan เขียน:วันแรกแห่งปีมังกร ขอเสนอหลัก กาลามสูตร ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ให้แก่พุทธศาสนิกชน ไม่ให้เชื่อสิ่งใด ๆ อย่างงมงายโดยไม่ใช้ปัญญา

1. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามๆ กันมา
2. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสืบๆ กันมา
3. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ
4. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์
5. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก
6. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะการอนุมาน
7. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล
8. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว
9. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้
10. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้ เป็นครูของเรา

หวังว่าคงมีประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย ขอขอบคุณ google สำหรับข้อมูล
สวัสดีปีใหม่ครับ

จะเห็นว่า กาลามสูตรที่คนที่ยกๆ กันมานั้นไม่ตรงกับพระพุทธพจน์ทั้งหมด โดยเฉพาะข้อที่ 5-9 ซึ่งสร้างความสับสนให้กับคนอื่น จนหลายๆ คนพออ่านกาลามสูตรจบ แล้วก็ถามว่า แล้วเราจะเชื่ออะไรล่ะ ใช้เหตุใช้ผลคิด มีตรรก มีทฤษฎีพิจารณาอย่างดีแล้วก็ไม่ให้เชื่อเนี่ยนะ? ซึ่งจริงๆ แล้วในข้อ 5-9 พระสูตรจะเป็นอีกเรื่องหนึ่งเลยทีเดียว ดังนั้นในการอ่านธรรมะที่คนยกๆ มากันนี้ ผมจะไม่เชื่อในทันที แต่จะย้อนกลับไปตรวจสอบที่พระไตรปิฎกว่าข้อความที่ยกมาทั้งหมดนี้ถูกต้องหรือไม่ บริบทเป็นอย่างไรกันแน่ เจตนาของพระพุทธพจน์นี้เพื่อสั่งสอนอะไร ซึ่งหลายๆ ครั้งก็พบกว่าก็พบว่าการย้อนกลับไปอ่านพระไตรปิฎกได้สารที่ครบถ้วนมากกว่า การอ่านสิ่งที่คนตีความมาแล้ว ซึ่งบางทีก็ตีความไปอย่างผิดๆ ก็มีบ่อยครั้งไป

ทีนี้พอคนอ่านกาลามสูตรจบถามว่าอะไรควรเชื่อ... หลายๆ คนก็บอกว่าให้โยนิโสมนสิการ พอถามว่าโยนิโสมนิสการ ก็อธิบายยาวไปเรื่อย... ซึ่งจริงๆ แล้วในพระสูตรก็บอกเอาไว้ชัดแล้ว ซึ่งที่เราควรเชื่อก็ คือ
- ถ้าเรารู้เห็นด้วยตนเองว่าสิ่งใดเป็นอกุศล เป็นสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ เป็นสิ่งที่เป็นโทษ เป็นสิ่งที่ควรติเตียน ย่อลงเหลือ โลภะ โทสะ โมหะ ก็ควรละเสีย
- ในขณะที่สิ่งที่เป็นกุศล สิ่งที่เป็นประโยชน์ สิ่งที่ควรสรรเสริญ ย่อลงเหลือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ ก็ควรที่จะสมาทานรักษาไว้ให้มั่น

สรุป ในความรู้สึกของผม หลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า บางที่ก็ยกมา apply ใช้กับชีวิตทางโลก จนความหมายถูกบิดเบือนไปเยอะจากเจตนาดั้งเดิมพอสมควร ซึ่งในการศึกษาธรรมะ ก็ควรใช้หลักกาลามสูตรเป็นอย่างยิ่งครับ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3227
ผู้ติดตาม: 4

Re: ผมมีคำแนะนำทีมีค่าอย่างยิ่ง

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ส่วนให้ประเด็นหลักของพี่ humdrum ที่ยกเรื่องอัตตาขึ้นมาอภิปราย เกี่ยวกับการตัดสินใจ การเชื่อ/ไม่เชื่อ นั้น พี่ humdrum บอกว่าการจะตัดสินใจ การเชื่อ/ไม่เชื่อ จะสะท้อนจากอัตตาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ในมุมมองของผม... ผมไม่เห็นด้วยในแนวคิดนี้... เพราะ สามัญลักษณะของทุกสิ่งทุกอย่างในโลก คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ดังนั้นความเป็นจริงและธรรมชาติของสิ่งต่างๆ มันเป็นอนัตตาด้วยตัวมันเองอยู่แล้ว แต่ความบิดเบี้ยวผิดเพี้ยนจากอคติของเราเองที่เกิดจากอวิชชา บดบังความเป็นจริง ทำเป็นเราเห็นสิ่งต่างๆ อย่างที่เราอยากที่จะเห็นจึงมองสิ่งที่ไม่สวยงามว่าสวยงาม มองความไม่เที่ยงเป็นความเที่ยง มองความทุกข์เป็นความสุข และมองสิ่งที่ไม่เป็นตัวเป็นตนเป็นตัวตน (สุภะ นิจจัง สุขขัง อัตตา - สัญญาวิปลาส)

ดังนั้นถ้าเรามีสติรู้เท่าทันอคติของเรา เราก็สามารถมองสิ่งต่างๆ ได้ตามความเป็นจริงยิ่งขึ้น กระบวนการตัดสินใจ การวิเคราะห์ หรือ ความเชื่อ/ไม่เชื่อ ก็สามารถทำโดยปราศจากอัตตา หรือมีอัตตาที่น้อยลงได้

กระบวนการที่จะคิดและกระทำสิ่งต่างๆ โดยปราศจากอัตตา เป็นเรื่องที่ไม่ได้ยากอย่างที่คิด ศาสตร์อย่างวิทยาศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่ปราศจากอัตตา เรียกได้ว่าเป็น อนัตตา โดยสมบูรณ์ เป็นศาสตร์แห่ง objective ไม่ใช่ subjective เราจึงเห็น 1+1=2 กฎทางฟิสิกส์ ไม่ว่าจะให้ใครที่มีอัตตาของแต่ละคนแตกต่างกันมาคำนวณค่า ก็ได้ผลลัพธ์เท่าๆ กัน หรือการวิเคราะห์สถานการณ์หนึ่งๆ หากเรามองแบบคนนอก แบบที่เราเป็น pure observer โดยไม่มีผลกระทบอะไรกับเหตุการณ์ เราก็สามารถที่จะวิเคราะห์แบบที่ไม่มีอัตตาได้

ส่วนเรื่องที่พี่บอกว่าการกระทำโดยที่ไม่มีอัตตาเป็นเรื่องยาก อันนี้ผมเห็นด้วยว่ายาก แต่ไม่ใช่ว่าเราจะพัฒนา ขัดเกลาให้อัตตาน้อยลงไม่ได้ การมีทัศนคติ มีความเพียรพยายาม ที่จะทำสิ่งต่างๆ ตามเหตุปัจจัย โดยไม่มีอัตตา ไม่เลือกที่รัก มักที่ชัง ทำสิ่งต่างๆ ตามเหตุผลอย่างแท้จริง สามารถเกิดขึ้นได้ ตามกำลังของสติ สมาธิ และปัญญา ที่เราพยายามพัฒนาขึ้น

ทีนี้ถ้าอธิบายในทางปฏิบัติว่าจะลงทุนอย่างไรโดยไม่มีอัตตา ผมก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน แต่ผมคิดว่าการที่จะลงทุนให้ไม่มีอัตตา คือ เราต้องทำความเข้าใจ และยอมรับธรรมชาติของการลงทุน ที่มีขึ้นมีลง มีถูกมีผิด มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด ซึ่งต้องมีการวางแผนรับมือเหตุการณ์ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากความไม่รู้ของเราเอง และที่สำคัญ คือ เราต้องทำใจยอมรับความผิดพลาดที่เกิดขึ้น พอๆ กับที่เราไม่ควรหลงระเริงกับความสำเร็จที่เกิดขึ้นเพียงชั่วครู่ชั่วยาม และพยายามวิเคราะห์สิ่งต่างๆ อย่างปราศจากอคติ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
ภาพประจำตัวสมาชิก
chukieat30
Verified User
โพสต์: 3531
ผู้ติดตาม: 0

Re: ผมมีคำแนะนำทีมีค่าอย่างยิ่ง

โพสต์ที่ 8

โพสต์

กระทู้ที่ยอดเยี่ยมจริงๆครับ ศาสนากับการลงทุน แทบจะไปด้วยกันแบบ แยกไม่ออก

ได้อ่าน ที่พี picatos เขียนไว้ เขียนได้ดีมากๆจริงครับ


ผมได้เปิดหูเปิดตา กับ กาลมาสูตรแล้ว เหมือนได้มีดวิเศษ ใส่หลังไว้อีกเล่ม ขอบคุณครับ
ถ้าคุณตีลูกตามไทเกอร์ คุณก้ไม่มีทางจะเหนือกว่า ไทเกอร์ จงนำวงสวิงของไทเกอร์มาปรับใช้ให้เหมาะกับคุณ

หวิ่งชุนหวอซาน หวิ่งชุนยิปมันจีทคุดโด้ พื้นฐานก้มาจากหวิ่งชุน แม้ชื่อจะต่าง
แต่หวิ่งชุนก้คือ หวิ่งชุน
ทำวันนี้ให้ดี ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่า และทำวันข้างหน้าให้ดีที่สุด
sakkaphan
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1111
ผู้ติดตาม: 0

Re: ผมมีคำแนะนำทีมีค่าอย่างยิ่ง

โพสต์ที่ 9

โพสต์

picatos เขียน:ที่มาของกาลามสูตรมาจาก เกสปุตตสูตร กล่าวถึง ชาวกาลามะ แห่งนิคมเกสปุตตะ ที่สงสัยว่ามีคนมาเผยแพร่ลัทธิ ศาสานา ความเชื่อต่างๆ บ้างก็บอกว่าของตนดีอย่างนู้นอย่างดี บอกว่าของคนอื่นไม่ดีอยู่นู้นอย่างนี้ จนสร้างความสับสนเคลือบแคลงว่าใครพูดจริง ใครพูดเท็จ พระพุทธเจ้าจึงตรัสสั่งสอนชาวกาลามะ ตามพระสูตรในข้างต้น

จุดที่น่าสนใจในพระพุทธพจน์ คือ

....
ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ก็ควรแล้วที่ท่านทั้งหลายจะเคลือบแคลงสงสัย และท่านทั้งหลายเกิดความเคลือบแคลงสงสัยในฐานะที่ควรแล้ว มาเถิดท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย
- อย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา (บทว่า มา อนุสฺสเวน ได้แก่ อย่าเชื่อถือ แม้โดยถ้อยคำตามที่ได้ฟังมา.)
- อย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำสืบๆ กันมา (บทว่า มา ปรมฺปราย ได้แก่ อย่าเชื่อถือ แม้โดยถ้อยคำที่นำสืบๆ กันมา.)
- อย่าได้ยึดถือโดยตื่นข่าวว่า ได้ยินอย่างนี้ (บทว่า มา อิติกิริยาย ได้แก่ อย่าเชื่อถือว่า ได้ยินว่าข้อนี้เป็นอย่างนี้.)
- อย่าได้ยึดถือโดยอ้างตำรา (บทว่า มา ปิฏกสมฺปทาเนน ได้แก่ อย่าเชื่อถือ ข้อความนี้ สมกับตำราของเราบ้าง.)
- อย่าได้ยึดถือโดยเดาเอาเอง (บทว่า มา ตกฺกเหตุ ได้แก่ อย่าเชื่อถือ แม้โดยการถือเอาตามที่ตรึกไว้.)
- อย่าได้ยึดถือโดยคาดคะเน (บทว่า มา นยเหตุ ได้แก่ อย่าเชื่อถือ แม้โดยการถือเอาตามนัย.)
- อย่าได้ยึดถือโดยความตรึกตามอาการ (บทว่า มา อาการปริวิตกฺเกน ได้แก่ อย่าเชื่อถือ แม้โดยการตรึกตามเหตุการณ์อย่างนี้ว่า เหตุนี้ดี.)
- อย่าได้ยึดถือโดยชอบใจว่าต้องกันกับทิฐิของตัว (บทว่า ทิฏฺฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา ได้แก่ อย่าเชื่อถือว่า ข้อนี้สมกับความเห็นที่พวกเราพินิจพิจารณา ทนต่อการพิสูจน์ จึงถือเอา.)
- อย่าได้ยึดถือโดยเชื่อว่าผู้พูดสมควรจะเชื่อได้ (บทว่า มา ภพฺพรูปตาย ได้แก่ อย่าเชื่อถือ โดยคิดว่า ภิกษุนี้เหมาะสม ควรเชื่อถือถ้อยคำของภิกษุนี้ได้.)
- อย่าได้ยึดถือโดยความนับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา (บทว่า มา สมโณ โน ครุ ได้แก่ อย่าเชื่อถือว่า พระสมณะรูปนี้เป็นครูของเรา ควรเชื่อถือถ้อยคำของพระสมณะรูปนี้ได้.)

....
(แล้วอะไรล่ะที่ควรเชื่อ) พระพุทธเจ้าตรัสต่อว่า
...

เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศลธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ผู้รู้ติเตียน ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้วเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายควรละธรรมเหล่านั้นเสีย
...
...
...
เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้สรรเสริญ ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อสุข เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายควรเข้าถึงธรรมเหล่านั้นอยู่
...
...
...

ส่วนที่คุณ sakkaphan หาได้จากอินเตอร์เน็ต
sakkaphan เขียน:วันแรกแห่งปีมังกร ขอเสนอหลัก กาลามสูตร ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ให้แก่พุทธศาสนิกชน ไม่ให้เชื่อสิ่งใด ๆ อย่างงมงายโดยไม่ใช้ปัญญา

1. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามๆ กันมา
2. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสืบๆ กันมา
3. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ
4. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์
5. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก
6. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะการอนุมาน
7. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล
8. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว
9. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้
10. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้ เป็นครูของเรา

หวังว่าคงมีประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย ขอขอบคุณ google สำหรับข้อมูล
สวัสดีปีใหม่ครับ

จะเห็นว่า กาลามสูตรที่คนที่ยกๆ กันมานั้นไม่ตรงกับพระพุทธพจน์ทั้งหมด โดยเฉพาะข้อที่ 5-9 ซึ่งสร้างความสับสนให้กับคนอื่น จนหลายๆ คนพออ่านกาลามสูตรจบ แล้วก็ถามว่า แล้วเราจะเชื่ออะไรล่ะ ใช้เหตุใช้ผลคิด มีตรรก มีทฤษฎีพิจารณาอย่างดีแล้วก็ไม่ให้เชื่อเนี่ยนะ? ซึ่งจริงๆ แล้วในข้อ 5-9 พระสูตรจะเป็นอีกเรื่องหนึ่งเลยทีเดียว ดังนั้นในการอ่านธรรมะที่คนยกๆ มากันนี้ ผมจะไม่เชื่อในทันที แต่จะย้อนกลับไปตรวจสอบที่พระไตรปิฎกว่าข้อความที่ยกมาทั้งหมดนี้ถูกต้องหรือไม่ บริบทเป็นอย่างไรกันแน่ เจตนาของพระพุทธพจน์นี้เพื่อสั่งสอนอะไร ซึ่งหลายๆ ครั้งก็พบกว่าก็พบว่าการย้อนกลับไปอ่านพระไตรปิฎกได้สารที่ครบถ้วนมากกว่า การอ่านสิ่งที่คนตีความมาแล้ว ซึ่งบางทีก็ตีความไปอย่างผิดๆ ก็มีบ่อยครั้งไป

ทีนี้พอคนอ่านกาลามสูตรจบถามว่าอะไรควรเชื่อ... หลายๆ คนก็บอกว่าให้โยนิโสมนสิการ พอถามว่าโยนิโสมนิสการ ก็อธิบายยาวไปเรื่อย... ซึ่งจริงๆ แล้วในพระสูตรก็บอกเอาไว้ชัดแล้ว ซึ่งที่เราควรเชื่อก็ คือ
- ถ้าเรารู้เห็นด้วยตนเองว่าสิ่งใดเป็นอกุศล เป็นสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ เป็นสิ่งที่เป็นโทษ เป็นสิ่งที่ควรติเตียน ย่อลงเหลือ โลภะ โทสะ โมหะ ก็ควรละเสีย
- ในขณะที่สิ่งที่เป็นกุศล สิ่งที่เป็นประโยชน์ สิ่งที่ควรสรรเสริญ ย่อลงเหลือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ ก็ควรที่จะสมาทานรักษาไว้ให้มั่น

สรุป ในความรู้สึกของผม หลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า บางที่ก็ยกมา apply ใช้กับชีวิตทางโลก จนความหมายถูกบิดเบือนไปเยอะจากเจตนาดั้งเดิมพอสมควร ซึ่งในการศึกษาธรรมะ ก็ควรใช้หลักกาลามสูตรเป็นอย่างยิ่งครับ
ขอบคุณคุณ picatos ครับ ที่ช่วยแก้ไข
"ซึ่งในการศึกษาธรรมะ ก็ควรใช้หลักกาลามสูตรเป็นอย่างยิ่งครับ"
สรุป สำหรับผมผมเข้าใจแล้ว หลักกาลามสูตร ใช้ได้กับการศึกษาทุกอย่าง ไม่เว้นแม้แต่การศึกษาในที่สิ่งที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ ต่อให้เป็นสิ่งที่เล่าต่อกันมาจนผิดเพี้ยน หรือแม้จะฟังจากพระพุทธองค์โดยตรงเอง จนกว่าจะรู้เห็นด้วยตนเองว่า เป็นสิ่งที่เป็นกุศล ควรรักษาไว้ให้มั่นหรือไม่ หาไม่เช่นนั้นแล้ว การที่เราสักแต่ว่าศึกษาธรรมะ ก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร
ขอบคุณที่ช่วยเตือนสติครับ
ความยากจนในจิตใจ คือความยากจนที่แท้จริง
humdrum
Verified User
โพสต์: 1961
ผู้ติดตาม: 0

Re: ผมมีคำแนะนำทีมีค่าอย่างยิ่ง

โพสต์ที่ 10

โพสต์

ตอนแรกเขียนก็ตั้งชื่อว่า
ผมมีคำแนะนำ ทีมีค่าอย่างยิ่ง
ต้องตั้งชื่อใหม่
ผมขอคำแนะนำที่มีค่าอย่างยิ่งหน่อยครับ.......
ขอบคุณสำหรับคำแนะนำอันมีค่าครับ
ขอบคุณ ทั้งท่าน sak
ขอบคุณท่าน ti ผมชอบคิดว่าเป้นท่าน mud
ท่าน pi ผมชอบคิดว่าเป็นพี่หมอ
:bow: :bow: :bow:
ภาพประจำตัวสมาชิก
halogen
Verified User
โพสต์: 78
ผู้ติดตาม: 0

Re: ผมมีคำแนะนำทีมีค่าอย่างยิ่ง

โพสต์ที่ 11

โพสต์

- อย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา (บทว่า มา อนุสฺสเวน ได้แก่ อย่าเชื่อถือ แม้โดยถ้อยคำตามที่ได้ฟังมา.)
- อย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำสืบๆ กันมา (บทว่า มา ปรมฺปราย ได้แก่ อย่าเชื่อถือ แม้โดยถ้อยคำที่นำสืบๆ กันมา.)
- อย่าได้ยึดถือโดยตื่นข่าวว่า ได้ยินอย่างนี้ (บทว่า มา อิติกิริยาย ได้แก่ อย่าเชื่อถือว่า ได้ยินว่าข้อนี้เป็นอย่างนี้.)
- อย่าได้ยึดถือโดยอ้างตำรา (บทว่า มา ปิฏกสมฺปทาเนน ได้แก่ อย่าเชื่อถือ ข้อความนี้ สมกับตำราของเราบ้าง.)
- อย่าได้ยึดถือโดยเดาเอาเอง (บทว่า มา ตกฺกเหตุ ได้แก่ อย่าเชื่อถือ แม้โดยการถือเอาตามที่ตรึกไว้.)
- อย่าได้ยึดถือโดยคาดคะเน (บทว่า มา นยเหตุ ได้แก่ อย่าเชื่อถือ แม้โดยการถือเอาตามนัย.)
- อย่าได้ยึดถือโดยความตรึกตามอาการ (บทว่า มา อาการปริวิตกฺเกน ได้แก่ อย่าเชื่อถือ แม้โดยการตรึกตามเหตุการณ์อย่างนี้ว่า เหตุนี้ดี.)
- อย่าได้ยึดถือโดยชอบใจว่าต้องกันกับทิฐิของตัว (บทว่า ทิฏฺฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา ได้แก่ อย่าเชื่อถือว่า ข้อนี้สมกับความเห็นที่พวกเราพินิจพิจารณา ทนต่อการพิสูจน์ จึงถือเอา.)
- อย่าได้ยึดถือโดยเชื่อว่าผู้พูดสมควรจะเชื่อได้ (บทว่า มา ภพฺพรูปตาย ได้แก่ อย่าเชื่อถือ โดยคิดว่า ภิกษุนี้เหมาะสม ควรเชื่อถือถ้อยคำของภิกษุนี้ได้.)
- อย่าได้ยึดถือโดยความนับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา (บทว่า มา สมโณ โน ครุ ได้แก่ อย่าเชื่อถือว่า พระสมณะรูปนี้เป็นครูของเรา ควรเชื่อถือถ้อยคำของพระสมณะรูปนี้ได้.


อันนี้อธิบายได้ชัดเจนขึ้นครับ ขอบคุณมากครับ :mrgreen:
ภาพประจำตัวสมาชิก
^^
Verified User
โพสต์: 519
ผู้ติดตาม: 0

Re: ผมมีคำแนะนำทีมีค่าอย่างยิ่ง

โพสต์ที่ 12

โพสต์

ขอบคุณครับได้ความรู้เรื่องธรรมะอย่างดียิ่งสำหรับคำแนะนำของทุกท่าน
ภาพประจำตัวสมาชิก
aiitee
Verified User
โพสต์: 71
ผู้ติดตาม: 0

Re: ผมมีคำแนะนำทีมีค่าอย่างยิ่ง

โพสต์ที่ 13

โพสต์

สมกับเป็นเว็ปคุณภาพจริงๆ มีการสนธนาธรรมกับกัลยานมิตรด้วย

ขออนุโมทนา และขอให้ทุกท่านมีสติรู้ทัน greed & fear ในทุกขณะจิตที่คิดจะลงทุนนะครับ
โพสต์โพสต์