คุณเคน ในกรุงเทพธุรกิจ => ผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 2 RS
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
คุณเคน ในกรุงเทพธุรกิจ => ผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 2 RS
โพสต์ที่ 1
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... B8%99.html
http://bit.ly/mgXJCK
ธุรกิจ : BizWeek
วันที่ 28 มิถุนายน 2554 01:00
'โสรัตน์ วณิชวรากิจ' จาก 'พ่อค้า' สู่ 'พอร์ตหุ้นพันล้าน'
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
'เคน' โสรัตน์ วณิชวรากิจ จากพ่อค้าแผ่นพลาสติกอะคริลิก สู่เส้นทาง 'วิถีแห่งเซียน' ไล่กวาดหุ้น RS ขึ้นแท่นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 2
ความแตกต่างระหว่างคนที่ "ล้มเหลว" กับคนที่ "สำเร็จ" ในนิยามของ "เคน" โสรัตน์ วณิชวรากิจ คนนั้นต้องกล้าตัดสินใจ มีความรับผิดชอบ และการทำสิ่งใดๆ ให้สำเร็จต้องมีองค์ประกอบของข้อมูลที่มากพอ และมีเวลาสำหรับการขบคิดอย่างสงบ เพื่อทำให้เกิดการตัดสินใจที่ดีที่สุด
"เคน" เลือกที่จะยืนข้างความสำเร็จทั้งบทบาท "นักธุรกิจ" และบทบาท "นักลงทุน" ในตลาดหุ้น แม้ "ความล้มเหลว" จะเคยมาเยือนเขาถึงขั้น "เจ๊งย่อยยับ" ถึง 2 รอบ แต่ก็ลุกขึ้นมาได้โดย "ใหญ่กว่าเก่า" ทุกครั้ง
"เคน" โสรัตน์ จัดเป็นนักลงทุนรายใหญ่พอร์ตระดับ "พันล้านบาท" เขาได้รับการขนานนามในกลุ่มเพื่อนแวดวงแวลูอินเวสเตอร์ (วีไอ) ว่า "ฟอร์มเยอะ จัดหนัก" วินาทีนี้เจ้าของนามแฝง Ken Sorat ในเว็บบอร์ด Thaivi กำลังเป็นจุดสนใจของนักลงทุนในวงกว้างมากขึ้น เมื่อมีชื่อเขาปรากฏเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อาร์เอส (RS) จำนวน 120.94 ล้านหุ้น สัดส่วน 13.70% มูลค่ากว่า 420 ล้านบาท เป็นรองแค่ "เฮียฮ้อ" สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ เจ้าของบริษัทเพียงคนเดียว
ไม่เพียงเท่านั้นนักลงทุนหนุ่มใหญ่วัย 38 ปีรายนี้ ยังถือหุ้นใหญ่อีกหลายบริษัท ประกอบด้วย ถือหุ้น HTECH อันดับ 2 จำนวน 25.24 ล้านหุ้น สัดส่วน 10.52% ถือหุ้น SALEE อันดับ 3 จำนวน 16.88 ล้านหุ้น สัดส่วน 6.87% ถือหุ้น PREB อันดับ 5 จำนวน 10.25 ล้านหุ้น สัดส่วน 5.01% ถือหุ้น SAMART อันดับ 8 จำนวน 35.20 ล้านหุ้น สัดส่วน 3.59% ถือหุ้น SAMTEL อันดับ 5 จำนวน 11.08 ล้านหุ้น สัดส่วน 1.84% ถือหุ้น PTL อันดับ 5 จำนวน 9.76 ล้านหุ้น สัดส่วน 1.22% และถือหุ้น SVI อันดับ 16 จำนวน 10 ล้านหุ้น สัดส่วน 0.52% เป็นต้น
ในอีกบทบาทโสรัตน์จัดเป็นนักธุรกิจหนุ่มที่ประสบความสำเร็จ มีอาณาจักรธุรกิจภายใต้การบริหารมูลค่านับ "พันล้านบาท" ปัจจุบันเขาเป็นเจ้าของ บริษัท แพนเอเชีย อุตสาหกรรม บริษัทมีทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาท เป็นผู้ผลิตแผ่นพลาสติกอะคริลิกรายใหญ่ มียอดขายปีละกว่า 600 ล้านบาท โรงงานตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง
นอกจากนี้ โสรัตน์ยังมีบริษัทในเครืออีก 5 บริษัท ได้แก่ บริษัท วี.อาร์.เค.เอ็นจิเนียริ่ง ผลิตอุปกรณ์รถยนต์ บริษัท โซโย่ อินเตอร์เนชั่นแนล ส่งออกแผ่นพลาสติก และเศษพลาสติก บริษัท โพลีเฟล็กซ์ มีเดีย ผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์พลาสติกทุกชนิด บริษัท สไมล์ คอร์ปอเรชั่น ทำธุรกิจประเภทไม้ เหล็ก และอะลูมิเนียม และบริษัท เอแอนด์เอฟ ทำธุรกิจซื้อมาขายไปเกี่ยวกับอุปกรณ์เสริมของบริษัทในเครือ ซึ่งบริษัททั้ง 6 แห่ง มีทุนจดทะเบียนรวมกันประมาณ 300 ล้านบาท มียอดขายรวมกันปีละประมาณ 1,000 ล้านบาท
วันนี้เขาเรียกองค์กรของเขาว่า "Ken Dragonization" วัฒนธรรมองค์กรแบบของ "มังกรเคน" ก็คือ ทำงานเชิงรุก, ใฝ่รู้ทุกลมหายใจ, ทำงานเป็นทีม, ยิ้มรับการเปลี่ยนแปลง และดำเนินธุรกิจด้วยจริยธรรม ไม่แปลกที่จะเห็นพนักงานแพนเอเชียถูกเรียกออกมารวมตัวเต้นแอโรบิก หรือถูกจับให้มานั่งเรียนหนังสือ (เทรนนิ่ง) โดยมีเถ้าแก่เคนเป็นคุณครูใหญ่ แม้แต่การส่งข่าวสารจากผู้นำถึงพนักงานยังทำผ่านคลิปวีดีโอเผยแพร่ผ่านทาง YouTube
เคนเล่าว่า ตัวเขาเป็นทายาทคนที่ 3 มีพี่ชายสองคน คือ โยธิน วณิชวรากิจ อายุ 43 ปี พี่ชายคนกลาง ชัยทัต วณิชวรากิจ อายุ 41 ปี ตอนอายุ 22 ปี รับอาสาพี่น้องเข้ามาช่วยดำเนินกิจการของครอบครัวโดยเริ่มงานในตำแหน่งฝ่ายขายและฝ่ายจัดซื้อ ช่วงนั้นบริษัทมียอดขายเพียงปีละ 50 ล้านบาท
แต่ทางเดินไม่ได้โปรยด้วยกลีบกุหลาบหลังเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ (ลอยตัวค่าเงินบาท) ปี 2540 กิจการของแพนเอเชีย "เกือบล้มละลาย" มีหนี้สินเพิ่มพูนจาก 50-60 ล้านบาท เป็น 100 ล้านบาท สุดท้ายต้องตัดสินใจปรับโครงสร้างหนี้ และปรับตัวครั้งใหญ่จนสามารถกอบกู้กิจการไว้สำเร็จ หลังจากนั้นมา 7 ปีก็สามารถเปลี่ยนสถานะจาก "ผู้กู้" เป็นบริษัท "ปลอดหนี้" ปัจจุบันไม่มีหนี้สินแม้แต่บาทเดียว และบริษัทมียอดขายเติบโตเฉลี่ย 20% ต่อปี ทุกวันนี้ถือว่ากิจการเริ่มอยู่ตัวแล้วจึงอยากใช้เวลาต่อจากนี้ไปลงทุนในตลาดหุ้น และทำอย่างอื่นบ้าง
สำหรับเส้นทางสู่ตลาดหุ้น โสรัตน์ กล่าวว่า เริ่มเข้าสู่ตลาดหุ้นครั้งแรกตอนอายุประมาณ 16-17 ปี ตอนนั้นมุ่งมั่นมากบวกกับมั่นใจเกินร้อยคิดว่าตัวเอง "เก่ง" เพราะเป็นคนสนใจใฝ่หาความรู้เกี่ยวกับการเงิน ชอบการค้าขาย และเป็นคนเชื่อมั่นในตัวเอง สมัยเรียนอยู่ที่โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ เคยได้รับคัดเลือกให้เป็น "ประธานนักเรียน"
ช่วงที่เริ่มเล่นหุ้นใหม่ๆ กำลังจะเข้าเรียนปี 1 คณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (เอแบค) ก่อนหน้านั้นชีวิตก็วนเวียนอยู่ในอาชีพค้าขายมาตลอด ด้วยเหตุนี้จึงทำให้มีความมั่นใจในตัวเองว่าสามารถทำเงิน 100,000 บาท งอกเงยเป็นหลายแสนหรือหลายล้านบาทได้ในเวลาไม่นาน เงินที่เอามาเล่นหุ้นเป็นเงิน “แต๊ะเอีย” ได้จากการเก็บสะสมจากที่ญาติๆ ให้
"ช่วงนั้นเล่นหุ้นสั้นมากๆ ซื้อหุ้น 1-2 วัน ก็ปล่อยออก จำได้ว่าชอบเล่นแต่หุ้นแบงก์ (สมัยนั้น บง.เอกธนกิจ กำลังบูม) เชื่อมั้ย! เงินในพอร์ตเคยขึ้นไปแตะ 300,000 บาท ตอนนั้นดีใจสุดๆ คิดเลยว่าต้องเล่นให้ได้เงิน 1 ล้านบาท แต่ผ่านมาไม่กี่เดือนเหลือเงิน 30,000 บาท"
โสรัตน์ สรุปว่า ประสบการณ์ครั้งแรกที่ "เจ๊งย่อยยับ" เป็นเพราะ "อายุน้อย-ไร้ประสบการณ์-ขาดทฤษฎี"
"จำได้ว่าผมหาความรู้เรื่องหุ้นจากการอ่านหนังสือพิมพ์เศรษฐกิจทุกฉบับ แต่การสั่งซื้อขายหุ้นจะเชื่อตามคำแนะนำของมาร์เก็ตติ้งเพียงอย่างเดียว โดยไม่สนใจอ่านบทวิเคราะห์ เขาบอกอะไร "เชื่อเขาหมด" เขาบอกว่าซื้อหุ้นตัวนี้สิ! ขาใหญ่กำลังจะเข้าก็ซื้อตาม"
สุดท้าย "เจ๊งสนิท" เลยตัดสินใจ "ปิดพอร์ต-เลิกเล่น" เปิดไว้กี่โบรกฯ ตอนนั้นสั่งปิดหมด เขาบอกว่า ตอนนั้นคิดจะเลิกเล่นหุ้นถาวร ถ้าจำไม่ผิดช่วงนั้นอายุน่าจะประมาณ 18 ปี พอเวลาผ่านไปถึงกลับมาคิดได้ว่าโดนมาร์เก็ตติ้งหลอกฟันค่าคอมมิชชั่น ยิ่งเราซื้อขายมากเท่าไร เขาก็ได้ค่าคอมฯ มากเท่านั้น
โสรัตน์คุณพ่อลูก 2 ย้อนอดีตให้ฟังต่อว่าหลังจาก "เจ็บ" จากตลาดหุ้นก็มาทุ่มเทช่วยเหลือกิจการของครอบครัวเลิกเล่นหุ้นไปนาน 12 ปี กลับมาอีกครั้งตอนอายุประมาณ 30 ปี คราวนี้ไม่ได้มีทุน 100,000 บาทแล้ว แต่กำเงินมาเล่นหุ้น 10 ล้านบาท ค่อยๆ สะสมหุ้น ไทยสตีลเคเบิล (TSC) หุ้น ปตท.(PTT) หุ้นปูนซิเมนต์ไทย (SCC) ,หุ้นธนาคารกสิกรไทย (KBANK) และหุ้นแลนด์แอนด์เฮ้าส์ (LH)
"หุ้นที่ซื้อไว้ผ่านมา 5-6 ปี เชื่อหรือไม่! เงินในพอร์ตเพิ่มเป็น 100-150 ล้านบาท ที่พอร์ตโตเร็วส่วนหนึ่งเป็นเพราะเล่นมาร์จิน และรู้สึกว่าตัวเองมีความกล้ากับความมั่นใจมากขึ้น หลังจากประสบความสำเร็จในการบริหารธุรกิจมาแล้วระดับหนึ่ง ตอนนั้นเรียกได้ว่ามีเงินเท่าไรเทหมดหน้าตัก เงินเดือน เงินเก็บ แม้กระทั่งเงินปันผล ผมก็เอาไปเล่นหุ้นหมด"
สำหรับเทคนิคการเล่นหุ้นตอนนั้นจะเน้น "ปัจจัยพื้นฐาน" ไม่สนวิเคราะห์ทางเทคนิค ถ้าจะอธิบายเป็นข้อๆ ก็คือ หนึ่ง..ผมจะเน้นดูตลาดอุตสาหกรรมต่างๆ เพราะรู้สึกว่าเริ่มวิเคราะห์เก่งขึ้น สอง..ฟังมาร์เก็ตติ้งแนะนำแค่ 10% แต่ดูข้อมูลเอง 90% ตรงกันข้ามกับตอนอายุ 16-17 ปี ที่ฟังมาร์เก็ตติ้งแนะนำ 100%
สาม..ดูงบการเงินมากขึ้น โดยเฉพาะ "งบดุล" บริษัทนั้นมีหนี้เยอะหรือไม่, ลูกหนี้เป็นใคร, มีโอกาสเก็บเงินได้หรือเปล่า, กำไรขาดทุนเป็นอย่างไร, ผู้บริหารเคยบอก (ให้ข่าว) ว่า บริษัทจะเติบโตเท่านั้นเท่านี้ที่ผ่านมาทำได้หรือไม่, ต้นทุนการทำธุรกิจสูงมั้ย, บริษัทมีทรัพย์สินจริงๆ เท่าไร
"เรียกได้ว่าไล่ดูพื้นฐานหมดทุกอย่าง ผมจะใช้ความรู้จากการทำงานมาเล่นหุ้น ตอนนั้นคิดว่าทำธุรกิจครอบครัวเติบโตมากขนาดนี้แล้ว ทำไม!จะทำให้เงินในพอร์ตโตไม่ได้..สุดท้ายผมก็ “หัวใจสลาย” อีกครั้ง"
โสรัตน์ กล่าวว่า เมื่อเจอแฮมเบอร์เกอร์ไครซีส (ซับไพร์ม) ตอนปี 2551 ฝรั่งขายหุ้นออกทุกราคาทำให้พอร์ตลงทุนหดลงไป 70% ด้วยความที่ตอนนั้นมีราคาเป้าหมายอยู่ในใจ "หุ้นตกก็ไม่ยอมขาย" กะว่าเดี๋ยวมันต้องขึ้น จนหุ้นเริ่มลง 30% ทำให้โดนโบรกเกอร์บังคับขาย เพราะช่วงนั้นอัดมาร์จินเกือบเต็มพอร์ต
ประสบการณ์เมื่อปี 2551 โสรัตน์ถึงกับเอ่ยปากว่า "มันเป็นความผิดพลาดครั้งยิ่งใหญ่" ช่วงนั้นคิดในใจกับตัวเองว่า "(กู) ไม่น่าเล่นมาร์จินเลยถ้าเล่นเงินสด ก็คงไม่ขาดทุนย่อยยับถึงขนาดนี้" เพราะหุ้นแต่ละตัวที่ถืออยู่ล้วนแล้วแต่เป็นหุ้นมาร์เก็ตแคปขนาดใหญ่ที่เป็นเป้าหมายการถล่มขายของต่างชาติ...โสรัตน์คิดถูกว่าเมื่อมรสุมผ่านไปเดี๋ยวราคาหุ้นก็จะกลับมาเอง แต่เหตุการณ์เฉพาะหน้าของ "ตลาดขาลง" การเล่นมาร์จิน "ยิ่งถือนาน..ยิ่งเจ๊ง"
"ผมต้องขอบคุณความผิดพลาดครั้งนั้นที่ทำให้ผม “ฉลาด” ขึ้น รู้ว่าไม่ควรเล่นมาร์จินอีกต่อไป"
หลัง "เจ็บลึก" รอบนี้ Ken Dragon หายหน้าจากวงการหุ้นไป "หนึ่งปีเต็ม" ก่อนที่จะกลับมาอีกครั้งพร้อมเงินสดก้อนใหม่ 100 ล้านบาท (ครั้งแรกเริ่มด้วยเงิน 100,000 บาท กลับมาครั้งที่สองกำเงินสดมาเล่น 10 ล้านบาท ครั้งที่สาม 100 ล้านบาท)
"คราวนี้ผมไประดมเงินทุนจากบรรดาญาติๆ บางคนเขาก็กลัวเพราะผมเคยขาดทุนจากตลาดหุ้นมาแล้วจะทำให้มันงอกเงยได้จริงหรือ! ผมก็บอกไปว่า นั่นคือ "บทเรียนชั้นยอด" ที่สำคัญที่ผ่านมาผมสามารถกอบกู้ธุรกิจครอบครัวได้สำเร็จ จากยอดขายปีละ 60-70 ล้านบาท วันนี้ 1,000 ล้านบาท..ก็ไม่ธรรมดานะ และวันนี้ผมมีเทคนิคการลงทุนที่ละเอียดมากขึ้น (น้ำเสียงมั่นใจสุดๆ) เพราะมันเป็นเงินของคนอื่นไม่ใช่ของผมคนเดียว ฉะนั้นต้องมีหลักการมากกว่าเดิม"
เรื่องราวของ Ken Dragon เซียนหุ้นผู้เคย "เจ๊งหุ้น" มาแล้วถึง 2 รอบ "ยังไม่จบ" เขากลับมาคราวนี้พอร์ตใหญ่ขึ้นระดับ "พันล้านบาท" สัปดาห์หน้าติดตามทฤษฎีการเล่นหุ้น และต้นแบบการลงทุนที่ไม่เหมือนใคร กับลูกเล่นที่ไม่มีใครเหมือน...ห้ามพลาด!! ด้วยประการทั้งปวง
http://bit.ly/mgXJCK
ธุรกิจ : BizWeek
วันที่ 28 มิถุนายน 2554 01:00
'โสรัตน์ วณิชวรากิจ' จาก 'พ่อค้า' สู่ 'พอร์ตหุ้นพันล้าน'
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
'เคน' โสรัตน์ วณิชวรากิจ จากพ่อค้าแผ่นพลาสติกอะคริลิก สู่เส้นทาง 'วิถีแห่งเซียน' ไล่กวาดหุ้น RS ขึ้นแท่นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 2
ความแตกต่างระหว่างคนที่ "ล้มเหลว" กับคนที่ "สำเร็จ" ในนิยามของ "เคน" โสรัตน์ วณิชวรากิจ คนนั้นต้องกล้าตัดสินใจ มีความรับผิดชอบ และการทำสิ่งใดๆ ให้สำเร็จต้องมีองค์ประกอบของข้อมูลที่มากพอ และมีเวลาสำหรับการขบคิดอย่างสงบ เพื่อทำให้เกิดการตัดสินใจที่ดีที่สุด
"เคน" เลือกที่จะยืนข้างความสำเร็จทั้งบทบาท "นักธุรกิจ" และบทบาท "นักลงทุน" ในตลาดหุ้น แม้ "ความล้มเหลว" จะเคยมาเยือนเขาถึงขั้น "เจ๊งย่อยยับ" ถึง 2 รอบ แต่ก็ลุกขึ้นมาได้โดย "ใหญ่กว่าเก่า" ทุกครั้ง
"เคน" โสรัตน์ จัดเป็นนักลงทุนรายใหญ่พอร์ตระดับ "พันล้านบาท" เขาได้รับการขนานนามในกลุ่มเพื่อนแวดวงแวลูอินเวสเตอร์ (วีไอ) ว่า "ฟอร์มเยอะ จัดหนัก" วินาทีนี้เจ้าของนามแฝง Ken Sorat ในเว็บบอร์ด Thaivi กำลังเป็นจุดสนใจของนักลงทุนในวงกว้างมากขึ้น เมื่อมีชื่อเขาปรากฏเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อาร์เอส (RS) จำนวน 120.94 ล้านหุ้น สัดส่วน 13.70% มูลค่ากว่า 420 ล้านบาท เป็นรองแค่ "เฮียฮ้อ" สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ เจ้าของบริษัทเพียงคนเดียว
ไม่เพียงเท่านั้นนักลงทุนหนุ่มใหญ่วัย 38 ปีรายนี้ ยังถือหุ้นใหญ่อีกหลายบริษัท ประกอบด้วย ถือหุ้น HTECH อันดับ 2 จำนวน 25.24 ล้านหุ้น สัดส่วน 10.52% ถือหุ้น SALEE อันดับ 3 จำนวน 16.88 ล้านหุ้น สัดส่วน 6.87% ถือหุ้น PREB อันดับ 5 จำนวน 10.25 ล้านหุ้น สัดส่วน 5.01% ถือหุ้น SAMART อันดับ 8 จำนวน 35.20 ล้านหุ้น สัดส่วน 3.59% ถือหุ้น SAMTEL อันดับ 5 จำนวน 11.08 ล้านหุ้น สัดส่วน 1.84% ถือหุ้น PTL อันดับ 5 จำนวน 9.76 ล้านหุ้น สัดส่วน 1.22% และถือหุ้น SVI อันดับ 16 จำนวน 10 ล้านหุ้น สัดส่วน 0.52% เป็นต้น
ในอีกบทบาทโสรัตน์จัดเป็นนักธุรกิจหนุ่มที่ประสบความสำเร็จ มีอาณาจักรธุรกิจภายใต้การบริหารมูลค่านับ "พันล้านบาท" ปัจจุบันเขาเป็นเจ้าของ บริษัท แพนเอเชีย อุตสาหกรรม บริษัทมีทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาท เป็นผู้ผลิตแผ่นพลาสติกอะคริลิกรายใหญ่ มียอดขายปีละกว่า 600 ล้านบาท โรงงานตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง
นอกจากนี้ โสรัตน์ยังมีบริษัทในเครืออีก 5 บริษัท ได้แก่ บริษัท วี.อาร์.เค.เอ็นจิเนียริ่ง ผลิตอุปกรณ์รถยนต์ บริษัท โซโย่ อินเตอร์เนชั่นแนล ส่งออกแผ่นพลาสติก และเศษพลาสติก บริษัท โพลีเฟล็กซ์ มีเดีย ผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์พลาสติกทุกชนิด บริษัท สไมล์ คอร์ปอเรชั่น ทำธุรกิจประเภทไม้ เหล็ก และอะลูมิเนียม และบริษัท เอแอนด์เอฟ ทำธุรกิจซื้อมาขายไปเกี่ยวกับอุปกรณ์เสริมของบริษัทในเครือ ซึ่งบริษัททั้ง 6 แห่ง มีทุนจดทะเบียนรวมกันประมาณ 300 ล้านบาท มียอดขายรวมกันปีละประมาณ 1,000 ล้านบาท
วันนี้เขาเรียกองค์กรของเขาว่า "Ken Dragonization" วัฒนธรรมองค์กรแบบของ "มังกรเคน" ก็คือ ทำงานเชิงรุก, ใฝ่รู้ทุกลมหายใจ, ทำงานเป็นทีม, ยิ้มรับการเปลี่ยนแปลง และดำเนินธุรกิจด้วยจริยธรรม ไม่แปลกที่จะเห็นพนักงานแพนเอเชียถูกเรียกออกมารวมตัวเต้นแอโรบิก หรือถูกจับให้มานั่งเรียนหนังสือ (เทรนนิ่ง) โดยมีเถ้าแก่เคนเป็นคุณครูใหญ่ แม้แต่การส่งข่าวสารจากผู้นำถึงพนักงานยังทำผ่านคลิปวีดีโอเผยแพร่ผ่านทาง YouTube
เคนเล่าว่า ตัวเขาเป็นทายาทคนที่ 3 มีพี่ชายสองคน คือ โยธิน วณิชวรากิจ อายุ 43 ปี พี่ชายคนกลาง ชัยทัต วณิชวรากิจ อายุ 41 ปี ตอนอายุ 22 ปี รับอาสาพี่น้องเข้ามาช่วยดำเนินกิจการของครอบครัวโดยเริ่มงานในตำแหน่งฝ่ายขายและฝ่ายจัดซื้อ ช่วงนั้นบริษัทมียอดขายเพียงปีละ 50 ล้านบาท
แต่ทางเดินไม่ได้โปรยด้วยกลีบกุหลาบหลังเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ (ลอยตัวค่าเงินบาท) ปี 2540 กิจการของแพนเอเชีย "เกือบล้มละลาย" มีหนี้สินเพิ่มพูนจาก 50-60 ล้านบาท เป็น 100 ล้านบาท สุดท้ายต้องตัดสินใจปรับโครงสร้างหนี้ และปรับตัวครั้งใหญ่จนสามารถกอบกู้กิจการไว้สำเร็จ หลังจากนั้นมา 7 ปีก็สามารถเปลี่ยนสถานะจาก "ผู้กู้" เป็นบริษัท "ปลอดหนี้" ปัจจุบันไม่มีหนี้สินแม้แต่บาทเดียว และบริษัทมียอดขายเติบโตเฉลี่ย 20% ต่อปี ทุกวันนี้ถือว่ากิจการเริ่มอยู่ตัวแล้วจึงอยากใช้เวลาต่อจากนี้ไปลงทุนในตลาดหุ้น และทำอย่างอื่นบ้าง
สำหรับเส้นทางสู่ตลาดหุ้น โสรัตน์ กล่าวว่า เริ่มเข้าสู่ตลาดหุ้นครั้งแรกตอนอายุประมาณ 16-17 ปี ตอนนั้นมุ่งมั่นมากบวกกับมั่นใจเกินร้อยคิดว่าตัวเอง "เก่ง" เพราะเป็นคนสนใจใฝ่หาความรู้เกี่ยวกับการเงิน ชอบการค้าขาย และเป็นคนเชื่อมั่นในตัวเอง สมัยเรียนอยู่ที่โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ เคยได้รับคัดเลือกให้เป็น "ประธานนักเรียน"
ช่วงที่เริ่มเล่นหุ้นใหม่ๆ กำลังจะเข้าเรียนปี 1 คณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (เอแบค) ก่อนหน้านั้นชีวิตก็วนเวียนอยู่ในอาชีพค้าขายมาตลอด ด้วยเหตุนี้จึงทำให้มีความมั่นใจในตัวเองว่าสามารถทำเงิน 100,000 บาท งอกเงยเป็นหลายแสนหรือหลายล้านบาทได้ในเวลาไม่นาน เงินที่เอามาเล่นหุ้นเป็นเงิน “แต๊ะเอีย” ได้จากการเก็บสะสมจากที่ญาติๆ ให้
"ช่วงนั้นเล่นหุ้นสั้นมากๆ ซื้อหุ้น 1-2 วัน ก็ปล่อยออก จำได้ว่าชอบเล่นแต่หุ้นแบงก์ (สมัยนั้น บง.เอกธนกิจ กำลังบูม) เชื่อมั้ย! เงินในพอร์ตเคยขึ้นไปแตะ 300,000 บาท ตอนนั้นดีใจสุดๆ คิดเลยว่าต้องเล่นให้ได้เงิน 1 ล้านบาท แต่ผ่านมาไม่กี่เดือนเหลือเงิน 30,000 บาท"
โสรัตน์ สรุปว่า ประสบการณ์ครั้งแรกที่ "เจ๊งย่อยยับ" เป็นเพราะ "อายุน้อย-ไร้ประสบการณ์-ขาดทฤษฎี"
"จำได้ว่าผมหาความรู้เรื่องหุ้นจากการอ่านหนังสือพิมพ์เศรษฐกิจทุกฉบับ แต่การสั่งซื้อขายหุ้นจะเชื่อตามคำแนะนำของมาร์เก็ตติ้งเพียงอย่างเดียว โดยไม่สนใจอ่านบทวิเคราะห์ เขาบอกอะไร "เชื่อเขาหมด" เขาบอกว่าซื้อหุ้นตัวนี้สิ! ขาใหญ่กำลังจะเข้าก็ซื้อตาม"
สุดท้าย "เจ๊งสนิท" เลยตัดสินใจ "ปิดพอร์ต-เลิกเล่น" เปิดไว้กี่โบรกฯ ตอนนั้นสั่งปิดหมด เขาบอกว่า ตอนนั้นคิดจะเลิกเล่นหุ้นถาวร ถ้าจำไม่ผิดช่วงนั้นอายุน่าจะประมาณ 18 ปี พอเวลาผ่านไปถึงกลับมาคิดได้ว่าโดนมาร์เก็ตติ้งหลอกฟันค่าคอมมิชชั่น ยิ่งเราซื้อขายมากเท่าไร เขาก็ได้ค่าคอมฯ มากเท่านั้น
โสรัตน์คุณพ่อลูก 2 ย้อนอดีตให้ฟังต่อว่าหลังจาก "เจ็บ" จากตลาดหุ้นก็มาทุ่มเทช่วยเหลือกิจการของครอบครัวเลิกเล่นหุ้นไปนาน 12 ปี กลับมาอีกครั้งตอนอายุประมาณ 30 ปี คราวนี้ไม่ได้มีทุน 100,000 บาทแล้ว แต่กำเงินมาเล่นหุ้น 10 ล้านบาท ค่อยๆ สะสมหุ้น ไทยสตีลเคเบิล (TSC) หุ้น ปตท.(PTT) หุ้นปูนซิเมนต์ไทย (SCC) ,หุ้นธนาคารกสิกรไทย (KBANK) และหุ้นแลนด์แอนด์เฮ้าส์ (LH)
"หุ้นที่ซื้อไว้ผ่านมา 5-6 ปี เชื่อหรือไม่! เงินในพอร์ตเพิ่มเป็น 100-150 ล้านบาท ที่พอร์ตโตเร็วส่วนหนึ่งเป็นเพราะเล่นมาร์จิน และรู้สึกว่าตัวเองมีความกล้ากับความมั่นใจมากขึ้น หลังจากประสบความสำเร็จในการบริหารธุรกิจมาแล้วระดับหนึ่ง ตอนนั้นเรียกได้ว่ามีเงินเท่าไรเทหมดหน้าตัก เงินเดือน เงินเก็บ แม้กระทั่งเงินปันผล ผมก็เอาไปเล่นหุ้นหมด"
สำหรับเทคนิคการเล่นหุ้นตอนนั้นจะเน้น "ปัจจัยพื้นฐาน" ไม่สนวิเคราะห์ทางเทคนิค ถ้าจะอธิบายเป็นข้อๆ ก็คือ หนึ่ง..ผมจะเน้นดูตลาดอุตสาหกรรมต่างๆ เพราะรู้สึกว่าเริ่มวิเคราะห์เก่งขึ้น สอง..ฟังมาร์เก็ตติ้งแนะนำแค่ 10% แต่ดูข้อมูลเอง 90% ตรงกันข้ามกับตอนอายุ 16-17 ปี ที่ฟังมาร์เก็ตติ้งแนะนำ 100%
สาม..ดูงบการเงินมากขึ้น โดยเฉพาะ "งบดุล" บริษัทนั้นมีหนี้เยอะหรือไม่, ลูกหนี้เป็นใคร, มีโอกาสเก็บเงินได้หรือเปล่า, กำไรขาดทุนเป็นอย่างไร, ผู้บริหารเคยบอก (ให้ข่าว) ว่า บริษัทจะเติบโตเท่านั้นเท่านี้ที่ผ่านมาทำได้หรือไม่, ต้นทุนการทำธุรกิจสูงมั้ย, บริษัทมีทรัพย์สินจริงๆ เท่าไร
"เรียกได้ว่าไล่ดูพื้นฐานหมดทุกอย่าง ผมจะใช้ความรู้จากการทำงานมาเล่นหุ้น ตอนนั้นคิดว่าทำธุรกิจครอบครัวเติบโตมากขนาดนี้แล้ว ทำไม!จะทำให้เงินในพอร์ตโตไม่ได้..สุดท้ายผมก็ “หัวใจสลาย” อีกครั้ง"
โสรัตน์ กล่าวว่า เมื่อเจอแฮมเบอร์เกอร์ไครซีส (ซับไพร์ม) ตอนปี 2551 ฝรั่งขายหุ้นออกทุกราคาทำให้พอร์ตลงทุนหดลงไป 70% ด้วยความที่ตอนนั้นมีราคาเป้าหมายอยู่ในใจ "หุ้นตกก็ไม่ยอมขาย" กะว่าเดี๋ยวมันต้องขึ้น จนหุ้นเริ่มลง 30% ทำให้โดนโบรกเกอร์บังคับขาย เพราะช่วงนั้นอัดมาร์จินเกือบเต็มพอร์ต
ประสบการณ์เมื่อปี 2551 โสรัตน์ถึงกับเอ่ยปากว่า "มันเป็นความผิดพลาดครั้งยิ่งใหญ่" ช่วงนั้นคิดในใจกับตัวเองว่า "(กู) ไม่น่าเล่นมาร์จินเลยถ้าเล่นเงินสด ก็คงไม่ขาดทุนย่อยยับถึงขนาดนี้" เพราะหุ้นแต่ละตัวที่ถืออยู่ล้วนแล้วแต่เป็นหุ้นมาร์เก็ตแคปขนาดใหญ่ที่เป็นเป้าหมายการถล่มขายของต่างชาติ...โสรัตน์คิดถูกว่าเมื่อมรสุมผ่านไปเดี๋ยวราคาหุ้นก็จะกลับมาเอง แต่เหตุการณ์เฉพาะหน้าของ "ตลาดขาลง" การเล่นมาร์จิน "ยิ่งถือนาน..ยิ่งเจ๊ง"
"ผมต้องขอบคุณความผิดพลาดครั้งนั้นที่ทำให้ผม “ฉลาด” ขึ้น รู้ว่าไม่ควรเล่นมาร์จินอีกต่อไป"
หลัง "เจ็บลึก" รอบนี้ Ken Dragon หายหน้าจากวงการหุ้นไป "หนึ่งปีเต็ม" ก่อนที่จะกลับมาอีกครั้งพร้อมเงินสดก้อนใหม่ 100 ล้านบาท (ครั้งแรกเริ่มด้วยเงิน 100,000 บาท กลับมาครั้งที่สองกำเงินสดมาเล่น 10 ล้านบาท ครั้งที่สาม 100 ล้านบาท)
"คราวนี้ผมไประดมเงินทุนจากบรรดาญาติๆ บางคนเขาก็กลัวเพราะผมเคยขาดทุนจากตลาดหุ้นมาแล้วจะทำให้มันงอกเงยได้จริงหรือ! ผมก็บอกไปว่า นั่นคือ "บทเรียนชั้นยอด" ที่สำคัญที่ผ่านมาผมสามารถกอบกู้ธุรกิจครอบครัวได้สำเร็จ จากยอดขายปีละ 60-70 ล้านบาท วันนี้ 1,000 ล้านบาท..ก็ไม่ธรรมดานะ และวันนี้ผมมีเทคนิคการลงทุนที่ละเอียดมากขึ้น (น้ำเสียงมั่นใจสุดๆ) เพราะมันเป็นเงินของคนอื่นไม่ใช่ของผมคนเดียว ฉะนั้นต้องมีหลักการมากกว่าเดิม"
เรื่องราวของ Ken Dragon เซียนหุ้นผู้เคย "เจ๊งหุ้น" มาแล้วถึง 2 รอบ "ยังไม่จบ" เขากลับมาคราวนี้พอร์ตใหญ่ขึ้นระดับ "พันล้านบาท" สัปดาห์หน้าติดตามทฤษฎีการเล่นหุ้น และต้นแบบการลงทุนที่ไม่เหมือนใคร กับลูกเล่นที่ไม่มีใครเหมือน...ห้ามพลาด!! ด้วยประการทั้งปวง
- MO101
- Verified User
- โพสต์: 3226
- ผู้ติดตาม: 0
Re: คุณเคน ในกรุงเทพธุรกิจ => ผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 2 RS
โพสต์ที่ 2
ต้องตามต่อภาคสอง
เดียวนี้บทความเขียนเหมือนนิยายกำลังภายในเลยนะ
เดียวนี้บทความเขียนเหมือนนิยายกำลังภายในเลยนะ
- KGYF
- Verified User
- โพสต์: 399
- ผู้ติดตาม: 0
Re: คุณเคน ในกรุงเทพธุรกิจ => ผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 2 RS
โพสต์ที่ 4
ขอบคุณครับ
" สัพพะทานัง ธัมมะทานัง ชินาติ = การให้ธรรมะเป็นทาน ย่อมชนะการให้ทั้งปวง "
" ทุกข์มี เพราะยึด ทุกข์ยืด เพราะอยาก ทุกข์มาก เพราะพลอย ทุกข์น้อย เพราะหยุด ทุกข์หลุด เพราะปล่อย"
" ทุกข์มี เพราะยึด ทุกข์ยืด เพราะอยาก ทุกข์มาก เพราะพลอย ทุกข์น้อย เพราะหยุด ทุกข์หลุด เพราะปล่อย"
- killyX
- Verified User
- โพสต์: 223
- ผู้ติดตาม: 0
Re: คุณเคน ในกรุงเทพธุรกิจ => ผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 2 RS
โพสต์ที่ 6
ผมชอบความคิดนี้ครับ เหมือนกับแอปเปิ้ลที่มีวัฒนธรรมที่แตกต่างจากบริษัทส่วนมากIi'8N เขียน:"Ken Dragonization" วัฒนธรรมองค์กรแบบของ "มังกรเคน" ก็คือ ทำงานเชิงรุก, ใฝ่รู้ทุกลมหายใจ, ทำงานเป็นทีม, ยิ้มรับการเปลี่ยนแปลง และดำเนินธุรกิจด้วยจริยธรรม
การลงทุนมีความเสียว โปรดใช้วิจารณญาณในการลอก
-
- Verified User
- โพสต์: 365
- ผู้ติดตาม: 0
Re: คุณเคน ในกรุงเทพธุรกิจ => ผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 2 RS
โพสต์ที่ 7
หลังจากติดตามอ่านข้อมูลเวปไซต์ของคุณเคนมาสักพัก ขอชื่นชมคุณเคนมากๆในด้านการบริหาร โดยเฉพาะเรื่องวัฒนธรรมองค์กร การดูแล เอาใจใส่ลูกน้อง
ดูแล้วเรื่องจำนวนเงินในหุ้น นี่ถือเป็นเรื่องเล็กน้อยเลยครับถ้าเทียบกับความแนวคิดดีๆในการบริหารและพัฒนาองค์กรของคุณเคน
ดูแล้วเรื่องจำนวนเงินในหุ้น นี่ถือเป็นเรื่องเล็กน้อยเลยครับถ้าเทียบกับความแนวคิดดีๆในการบริหารและพัฒนาองค์กรของคุณเคน
-
- Verified User
- โพสต์: 1230
- ผู้ติดตาม: 0
Re: คุณเคน ในกรุงเทพธุรกิจ => ผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 2 RS
โพสต์ที่ 8
ดีครับ เป็นตัวอย่างที่ดี สร้างทั้งงาน ทั้งเงิน ทำประโยชน์ให้ประเทศชาติ เชื่อมั่นครับว่ากิจการจะเจริญรุ่งเรืองตลอดไปkillyX เขียน:ผมชอบความคิดนี้ครับ เหมือนกับแอปเปิ้ลที่มีวัฒนธรรมที่แตกต่างจากบริษัทส่วนมากIi'8N เขียน:"Ken Dragonization" วัฒนธรรมองค์กรแบบของ "มังกรเคน" ก็คือ ทำงานเชิงรุก, ใฝ่รู้ทุกลมหายใจ, ทำงานเป็นทีม, ยิ้มรับการเปลี่ยนแปลง และดำเนินธุรกิจด้วยจริยธรรม
-
- Verified User
- โพสต์: 210
- ผู้ติดตาม: 0
Re: คุณเคน ในกรุงเทพธุรกิจ => ผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 2 RS
โพสต์ที่ 11
สุดยอดเลยครับ !
- vi_tal signs
- Verified User
- โพสต์: 631
- ผู้ติดตาม: 0
Re: คุณเคน ในกรุงเทพธุรกิจ => ผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 2 RS
โพสต์ที่ 12
เข้ามาเก็บประสบการณ์ครับ
มันจะมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
-
- Verified User
- โพสต์: 340
- ผู้ติดตาม: 0
Re: คุณเคน ในกรุงเทพธุรกิจ => ผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 2 RS
โพสต์ที่ 13
สุดยอดครับ รออ่านภาคสองอาทิตยหน้าครับ
- thaloengsak
- Verified User
- โพสต์: 2716
- ผู้ติดตาม: 0
Re: คุณเคน ในกรุงเทพธุรกิจ => ผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 2 RS
โพสต์ที่ 14
ขอบคุณสำหรับบทความดีๆครับ
อยากติดตามตอนต่อไปแล้วสิ
อยากติดตามตอนต่อไปแล้วสิ
ลงทุนเพื่อชีวิต
- VSนักลงทุนอริยะ
- Verified User
- โพสต์: 349
- ผู้ติดตาม: 0
Re: คุณเคน ในกรุงเทพธุรกิจ => ผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 2 RS
โพสต์ที่ 17
ขอบคุณครับและตอบคำถามคุณ la z boy นะครับบ
ผมจะมุ่งมั่นในการรักษาชีวิตแห่งพรหมวิหารสี่ ต่อไปครับ
อย่างน้อย ก็ต้องไม่ทำให้ใครเดือดร้อนจากการกระทำของเราครับ ผมว่า ถ้าเรามิได้คิดร้ายกับคนอื่น ความเข้าใจผิดวันหนึ่งย่อมต้องถูกเฉลยครับ ^^
แต่สิ่งที่ต้องการคือ การเดินทางสายการลงทุนที่มีแต่มิตร ไม่มีศัตรู และอยากจะเห็นกิจการที่เราร่วมลงทุนนั้นๆสำเร็จโดยที่เราได้ศึกษาจากท่านผู้บริหารเหล่านั้น และมีส่วนผสมของความคิดเห็นเราเข้าไปด้วยครับ
สำหรับผมแล้ว กำไรจากปัญญาและความภาคภูมิใจในการมีส่วนร่วมในกิจการ ย่อมสำคัญกว่ากำไรเป็นเงินอีกนะครับ และหลายๆครั้ง ผมจะเรียนรู้จากท่านผู้บริหารเหล่านั้น เราปรับปรุงกิจการของผมอย่างสนุกสนานและมีความสุขครับ
การได้พูดคุยกับผู้บริหาร จึงเป็นรางวัลแห่งชีวิตการลงทุนของผมครับ ^^
ผมจะมุ่งมั่นในการรักษาชีวิตแห่งพรหมวิหารสี่ ต่อไปครับ
อย่างน้อย ก็ต้องไม่ทำให้ใครเดือดร้อนจากการกระทำของเราครับ ผมว่า ถ้าเรามิได้คิดร้ายกับคนอื่น ความเข้าใจผิดวันหนึ่งย่อมต้องถูกเฉลยครับ ^^
แต่สิ่งที่ต้องการคือ การเดินทางสายการลงทุนที่มีแต่มิตร ไม่มีศัตรู และอยากจะเห็นกิจการที่เราร่วมลงทุนนั้นๆสำเร็จโดยที่เราได้ศึกษาจากท่านผู้บริหารเหล่านั้น และมีส่วนผสมของความคิดเห็นเราเข้าไปด้วยครับ
สำหรับผมแล้ว กำไรจากปัญญาและความภาคภูมิใจในการมีส่วนร่วมในกิจการ ย่อมสำคัญกว่ากำไรเป็นเงินอีกนะครับ และหลายๆครั้ง ผมจะเรียนรู้จากท่านผู้บริหารเหล่านั้น เราปรับปรุงกิจการของผมอย่างสนุกสนานและมีความสุขครับ
การได้พูดคุยกับผู้บริหาร จึงเป็นรางวัลแห่งชีวิตการลงทุนของผมครับ ^^
ความสุขสงบและมีประโยชน์ต่อผู้อื่น คือคุณค่าในชีวิตของผมครับ
- Jazzman
- Verified User
- โพสต์: 388
- ผู้ติดตาม: 0
Re: คุณเคน ในกรุงเทพธุรกิจ => ผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 2 RS
โพสต์ที่ 18
เยี่ยมไปเลยครับคุณเคน ผมติดตามผลงานมานานล่ะ ในเรื่องวัฒนธรรมองค์กรผมชอบมากฺ
จริงๆการมีธุรกิจของตัวเองถือว่าเราได้เปรียบกว่าคนอื่นอย่างหนึ่งในเรื่องของ เครื่องปั้มเงินมาลงทุนต่อยอด และ ยังได้แนวคิดในการบริหารธุระกิจมาต่อยอดในการลงทุนอีก.
จะรอติดตามนะครับ
ปลฺ บริษัทได้ไปออกบูทเมืองทอง thaifex รึเปล่าครับ ผมเห็นแวบๆ ไม่รู้ใช่รึเปล่า
จริงๆการมีธุรกิจของตัวเองถือว่าเราได้เปรียบกว่าคนอื่นอย่างหนึ่งในเรื่องของ เครื่องปั้มเงินมาลงทุนต่อยอด และ ยังได้แนวคิดในการบริหารธุระกิจมาต่อยอดในการลงทุนอีก.
จะรอติดตามนะครับ
ปลฺ บริษัทได้ไปออกบูทเมืองทอง thaifex รึเปล่าครับ ผมเห็นแวบๆ ไม่รู้ใช่รึเปล่า
ลงทุนในสิ่งที่เพิ่ม " ค่า " ไปเรื่อยๆ
- << New >>
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1145
- ผู้ติดตาม: 0
Re: คุณเคน ในกรุงเทพธุรกิจ => ผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 2 RS
โพสต์ที่ 20
+1 เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งครับ ผมว่า CEO คือหัวใจหลักที่สำคัญของธุรกิจเลยครับ บริษัทมีCEO อย่างพี่เคนเป็นหัวนำวัฒนธรรมองค์กร กิจการคงเจริญรุ่งเรืองตลอดไปแน่ๆเลยครับกาละมัง เขียน:ดีครับ เป็นตัวอย่างที่ดี สร้างทั้งงาน ทั้งเงิน ทำประโยชน์ให้ประเทศชาติ เชื่อมั่นครับว่ากิจการจะเจริญรุ่งเรืองตลอดไปkillyX เขียน:ผมชอบความคิดนี้ครับ เหมือนกับแอปเปิ้ลที่มีวัฒนธรรมที่แตกต่างจากบริษัทส่วนมากIi'8N เขียน:"Ken Dragonization" วัฒนธรรมองค์กรแบบของ "มังกรเคน" ก็คือ ทำงานเชิงรุก, ใฝ่รู้ทุกลมหายใจ, ทำงานเป็นทีม, ยิ้มรับการเปลี่ยนแปลง และดำเนินธุรกิจด้วยจริยธรรม
อยากสูงต้องเขย่ง อยากเก่งต้องขยัน
- VSนักลงทุนอริยะ
- Verified User
- โพสต์: 349
- ผู้ติดตาม: 0
Re: คุณเคน ในกรุงเทพธุรกิจ => ผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 2 RS
โพสต์ที่ 21
ขอบคุณมากครับ
ขอเพียงบางความคิดและการกระทำ กระตุกสิ่งดีๆให้เกิดขึ้นในสังคมนักธุรกิจและนักลงทุน ผมก็สุขใจแล้วครับ
อ่านความคิดผ่าน www.ceoken.com ได้นะครับ
จะพากเพียรด้วยใจบริสุทธ์ต่อไปครับ
เข้มข้นกับการสร้างเหตุ ปล่อยว่างกับผลที่ได้รับครับ ^^
ขอเพียงบางความคิดและการกระทำ กระตุกสิ่งดีๆให้เกิดขึ้นในสังคมนักธุรกิจและนักลงทุน ผมก็สุขใจแล้วครับ
อ่านความคิดผ่าน www.ceoken.com ได้นะครับ
จะพากเพียรด้วยใจบริสุทธ์ต่อไปครับ
เข้มข้นกับการสร้างเหตุ ปล่อยว่างกับผลที่ได้รับครับ ^^
ความสุขสงบและมีประโยชน์ต่อผู้อื่น คือคุณค่าในชีวิตของผมครับ
- simpleBE
- Verified User
- โพสต์: 2333
- ผู้ติดตาม: 0
Re: คุณเคน ในกรุงเทพธุรกิจ => ผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 2 RS
โพสต์ที่ 22
รออ่านตอนต่อไปครับ
- VSนักลงทุนอริยะ
- Verified User
- โพสต์: 349
- ผู้ติดตาม: 0
Re: คุณเคน ในกรุงเทพธุรกิจ => ผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 2 RS
โพสต์ที่ 24
ขอบคุณพี่หมอครับ
ความเห็นผม SALEE เด่นกว่าครับคุณ Spartacus เพราะ
ปีนี้กำไรโตเยอะ
ส่วนปีหน้ามี 2 project ใหญ่มากรออยู่ครับ รับรองกำไรจะเติบโตกว่าปีนี้อีก
ปีที่สาม จะเกิดข่าวดีใหญ่ที่ SALEE PAGO ครับ
ด้วยสภาพกิจการที่ไม่มีหนี้เลย แถมยังเหลือเงินสด ผมว่า การเติบโตของ SALEE จะไม่ก่อหนี้มากมายอะไร แถมการขยายกิจการยังใช้เงินอย่างชาญฉลาดด้วยครับ
รวมถึงธรรมภิบาลที่ดีมากบริษัทหนึ่งในตลาดเลยครับ
วางเงินไว้ นอกจากสบายใจแล้ว ยังเติบโตอย่างต่อเนื่องๆๆๆไปพร้อมกับกิจการอีกด้วยครับ
ความเห็นผม SALEE เด่นกว่าครับคุณ Spartacus เพราะ
ปีนี้กำไรโตเยอะ
ส่วนปีหน้ามี 2 project ใหญ่มากรออยู่ครับ รับรองกำไรจะเติบโตกว่าปีนี้อีก
ปีที่สาม จะเกิดข่าวดีใหญ่ที่ SALEE PAGO ครับ
ด้วยสภาพกิจการที่ไม่มีหนี้เลย แถมยังเหลือเงินสด ผมว่า การเติบโตของ SALEE จะไม่ก่อหนี้มากมายอะไร แถมการขยายกิจการยังใช้เงินอย่างชาญฉลาดด้วยครับ
รวมถึงธรรมภิบาลที่ดีมากบริษัทหนึ่งในตลาดเลยครับ
วางเงินไว้ นอกจากสบายใจแล้ว ยังเติบโตอย่างต่อเนื่องๆๆๆไปพร้อมกับกิจการอีกด้วยครับ
ความสุขสงบและมีประโยชน์ต่อผู้อื่น คือคุณค่าในชีวิตของผมครับ
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: คุณเคน ในกรุงเทพธุรกิจ => ผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 2 RS
โพสต์ที่ 25
ผมว่า คุณเคนคงเป็นคนที่พี่ครรชิต คงเอาไปเผย port สำหรับหุ้นที่ถือหุ้นใหญ่ต่อไป
และคงเป็นแขกรับเชิญท่านต่อๆ ไปของรายการ Money Talk
แค่คาดเดานะครับ
แต่ยังไง .... เตรียมตัวซ้อมถ่ายทอดวรยุทธนะครับ จะรอชมครับ
และคงเป็นแขกรับเชิญท่านต่อๆ ไปของรายการ Money Talk
แค่คาดเดานะครับ
แต่ยังไง .... เตรียมตัวซ้อมถ่ายทอดวรยุทธนะครับ จะรอชมครับ
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: คุณเคน ในกรุงเทพธุรกิจ => ผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 2 RS
โพสต์ที่ 28
nanoVI เขียน: ขอบคุณพี่เคนมากครับ..พอร์ตพันล้านได้มาเพราะฝีมือจริงๆ
ไม่เชื่อ ว่าพอร์ตพันล้าน ... เพราะว่ากันว่า อย่าเชื่อจนกว่าจะได้เห็น
งั้น...ใช้วิธีเดียวกับพี่ครรชิต เอามาคำนวณดูเลย...
เอามาให้เผื่อเป็น motivation ให้ชาว VI
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: คุณเคน ในกรุงเทพธุรกิจ => ผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 2 RS
โพสต์ที่ 30
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... B8%99.html
http://bit.ly/kwKY8S
ธุรกิจ : BizWeek
วันที่ 5 กรกฎาคม 2554 01:00
'โสรัตน์ วณิชวรากิจ' ตำรารวย 'เซียนหุ้นพันล้าน'
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
เจาะลึกเทคนิคพิชิตหุ้น 'หลักปฏิบัติ 8 ข้อ' โสรัตน์ วณิชวรากิจ หุ้นทุกตัวที่ลงทุนต้องสามารถนำมา 'ต่อยอด' ธุรกิจของครอบครัว
ภายใต้คำจำกัดความ 'Value Business Synergy'
หลังจากเจ๊งหุ้นไป 2 รอบ การกลับ "ครั้งที่สาม" โสรัตน์ มีสไตล์การลงทุนซึ่งไม่ต่างไปจากการ "เล่นหุ้นแบบพ่อค้า" นำเอาแนวคิดของ "นักลงทุน" และ "นักธุรกิจ" มาผสมผสานกัน
เขามองว่าหุ้นทุกตัวที่ลงทุนควรสามารถนำมา "ต่อยอด" ธุรกิจของครอบครัวได้ ภายใต้คำจำกัดความ Value Business Synergy โสรัตน์ อธิบายคำจำกัดความสไตล์การลงทุนของตัวเองว่า เป็นการลงทุนแบบ Value Investor (วีไอ) บวกกับ Business Synergy แตกต่างจากสมัย "วัยรุ่น" (ลงทุนครั้งแรก) ที่เน้นเล่นหุ้นเก็งกำไรระยะสั้นๆ อย่างเดียว ขณะที่ "วัยทำงาน" (กลับมาครั้งที่สอง) จะเล่นแบบแวลูอินเวสเตอร์
โมเดลการลงทุนแบบ Value Business Synergy ของโสรัตน์ คือ การเข้าไปถือหุ้นในบริษัทใดบริษัทหนึ่งที่ "ธุรกิจกำลังเติบโต" ในจำนวนหุ้นที่ "มากพอสมควร" หลังจากนั้นก็งัดบทบาทของนักธุรกิจไป "ปิดการขาย" สินค้า (แผ่นอะครีลิค) ของตนเองในฐานะ "พันธมิตรทางธุรกิจ" นี่คือ "Win-Win Game" ที่ต่างคนต่างได้
"เมื่อเราขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่แล้ว ผมก็จะพยายามนำธุรกิจของตัวเองไป "Synergy" กับเขา เพราะนอกจากต้นทุนของบริษัท (ที่เข้าไปซื้อหุ้น) จะลดลงแล้ว เพราะผมคงไม่ขายสินค้าให้เขาแพง ส่วนบริษัทครอบครัวของผมก็จะได้งาน (มียอดขาย) มากขึ้นด้วย ยกตัวอย่างกรณี RS ผมก็ขายแผ่นอะครีลิคให้เขา (เฮียฮ้อ) นำไปใช้ในงานด้านต่างๆ" โสรัตน์ อธิบาย ซึ่งก็รวมถึงหุ้น SAMART และ HTECH ที่ใช้กลยุทธ์ Business Synergy ด้วย
อย่างไรก็ตาม โสรัตน์ก็ไม่ได้ทิ้งแนวทางการลงทุนแบบ Value Investor โดยมีบุคคลต้นแบบคือ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร และบุคคลต้นแบบทางฝั่ง Business Synergy คือ ทวีฉัตร จุฬางกูร เจ้าของพอร์ตหุ้น "หลายพันล้านบาท" ทายาทอาณาจักรธุรกิจหมื่นล้าน "ซัมมิทกรุ๊ป"
"ตอนนี้ผมมีบุคคลต้นแบบการลงทุนอยู่ 2 คน ซึ่งผมจะนำเทคนิคต่างๆ มาผสมผสานกัน ฝั่ง Value Investor ต้องยกให้ ดร.นิเวศน์ ส่วนใหญ่จะนำมุมมองเกี่ยวกับกิจการต่างๆ มาใช้ในการลงทุน โดยเฉพาะวิธีการตีมูลค่าหุ้น ที่สำคัญจะนำหลักการความอดทน และความมีวินัยทางการเงินมาใช้...ผมบอกตัวเองเสมอว่า ห้ามใช้มาร์จินเพื่อเบิล (เพิ่ม) พอร์ตเด็ดขาด เข็ดไปจนตาย ส่วนฝั่ง Business Synergy ผมมี ทวีฉัตร จุฬางกูร เป็นแบบอย่าง"
จากการตรวจสอบโครงสร้างผู้ถือหุ้นพบว่า โสรัตน์ ถือหุ้น RS อันดับ 2 สัดส่วน 13.70% เป็นรองแค่ "เฮียฮ้อ" สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ เจ้าของบริษัทเพียงคนเดียว ถือหุ้น HTECH อันดับ 2 สัดส่วน 10.52% รองเพียง พีท ริมชลา ถือหุ้น SALEE อันดับ 3 ของบริษัท สัดส่วน 6.87% ถือหุ้น SAMTEL อันดับ 5 สัดส่วน 1.84% ถือหุ้น SAMART อันดับ 8 สัดส่วน 3.59% ถือหุ้น PREB อันดับ 5 สัดส่วน 5.01% ถือหุ้น SVI อันดับ 16 สัดส่วน 0.52% และถือหุ้น PTL อันดับ 5 สัดส่วน 1.22%
โดยหุ้น PTL โสรัตน์จะใช้วิธี "เทรด" ขายไป..แล้วซื้อกลับ โดยเจ้าตัวบอกว่าปัจจุบันพอร์ตลงทุนมีมูลค่าระดับ "พันล้านบาท" แต่ไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดว่าการกลับมา "ครั้งที่สาม" จากเงินที่ไประดมทุน (ยืม) จากญาติพี่น้องมาอีก "ร้อยล้านบาท" ภายในระยะเวลา 2 ปี พอร์ตโตขึ้นมาเป็นระดับ "พันล้าน" ได้อย่างไร
นักลงทุนหนุ่มใหญ่วัย 38 ปีรายนี้ ยอมที่จะเปิดเผยเหตุผลการเข้าซื้อหุ้นบางตัว กรณีหุ้น RS เข้าลงทุนช่วงกลางปี 2553 วิเคราะห์ว่าอาร์เอสกำลัง "มูฟ" ตัวเองไปสู่ธุรกิจโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ซึ่งเป็นเทรนด์ใหม่ทางธุรกิจที่กำลังมาแรง และมีอนาคต
"ผมมองว่าเฮียฮ้อ (สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์) เป็น "คนเก่ง" มีอะไรเหนือคู่แข่งหลายอย่าง คิดดูสิ! เขาสามารถผ่านจุด “เกือบเจ๊ง” มาได้ (เหมือนที่ผมเคยผ่านมาได้) จากนั้นเขาก็แข็งแกร่งขึ้นเรื่อยๆ ผมมองอนาคต 3 ปีข้างหน้า (2554-2556) ธุรกิจของอาร์เอสจะสวยงามมากในแง่ของกำไรสุทธิ น่าจะเติบโตได้ปีละ 30%" โสรัตน์ ออกโรงเชียร์
เขาบอกว่า ตอนแรกตั้งใจจะซื้อหุ้น RS แค่ 10 ล้านหุ้น พอได้ศึกษาเห็นว่าธุรกิจดีเกินคาดเลยอดใจไม่ไหวเก็บมาเรื่อยๆ ตอนนี้มี 120.94 ล้านหุ้น ถามว่าจะซื้อเพิ่มอีกหรือไม่..? ถ้ามีจังหวะก็จะเก็บเพิ่ม ส่วนตัวมองว่าวันนี้ราคาหุ้นยังต่ำกว่าพื้นฐาน แต่ซื้อยังไงก็ไม่ให้เกินหน้าเฮียแน่นอน (ปัจจุบันเฮียฮ้อถือ 202 ล้านหุ้น สัดส่วน 22.89%)
"จริงๆ ผมสนิทกับเฮียฮ้อมากเหมือนเราผูกพันกันมานาน เราจะคุยกันทุกเดือน ฉะนั้นต่อให้ราคาหุ้น RS ถึงเป้าหมายที่ตั้งใจไว้..ผมก็คงไม่ขายง่ายๆ ส่วนเหตุผลที่ซื้อหุ้น SAMTEL กับหุ้น SAMART ก็จะคล้ายๆ กับหุ้น RS คือผมสนิทกับเจ้าของบริษัท คุณวัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ เรียกได้ว่าเข้ากันได้ดี"
กลุ่มสามารถของคุณวัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ ช่วงปี 2540 เขาก็ "เกือบตาย" เหมือนกัน (กับผม) หนี้สินเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว แต่สุดท้ายก็สามารถผ่านมันมาได้วันนี้ธุรกิจแข็งแกร่งขึ้นมาก อย่างในปี 2554 กำไรสุทธิน่าจะโต 50% เพราะได้ธุรกิจ 3จี หนุน
“ตอนนี้ราคาหุ้น SAMART ยังไม่ถึงเป้าหมาย เพราะในช่วง 3 ปีข้างหน้าบริษัทมีโอกาสขยายตัวได้ต่อเนื่อง ต้นทุนหุ้นตัวนี้ผมได้มาประมาณ 8 บาท ตอนนี้มีอยู่ 40 ล้านหุ้น”
การพิชิตหุ้นด้วย 'หลักปฏิบัติ 8 ข้อ'
สำหรับหลักการพิชิตหุ้น โสรัตน์ กล่าวว่า ก่อนจะลงทุนหุ้นตัวใดตัวหนึ่ง (หนักๆ) จะมีหลักปฏิบัติอยู่ 8 ข้อ ดังนี้คือ 1.เพื่อให้ได้ข้อมูลมาประกอบการตัดสินใจให้มากที่สุด ผมจะเปิดพอร์ตลงทุนกับ 5 โบรกเกอร์ เพื่อรับข้อมูลข่าวสารในแต่ละวัน รวมถึงบทวิเคราะห์หุ้นตัวที่อยากได้ 2.คุยกับนักวิเคราะห์ที่เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมนั้นๆ ให้มากที่สุด ไม่เลือกค่าย รวมทั้งคุยหาข้อมูลกับนักลงทุนกลุ่มแวลูอินเวสเตอร์ (วีไอ) ด้วย รวมทั้งค้นหาข้อมูลของบริษัทมาประกอบการลงทุน 3. เมื่อได้ข้อมูลมาแล้ว (ทั้งอ่านและคุยกับผู้เชี่ยวชาญ) จะนั่งคนเดียว 3-4 ชั่วโมงทุกวัน เพื่อทบทวนข้อมูลที่หามาได้
หลักการพิชิตหุ้น 3 ข้อแรกของโสรัตน์ เป็นการค้นหา "ข้อมูลจากภายนอก" (บทวิเคราะห์+ผู้เชี่ยวชาญ) ทำให้เขามีหุ้นเป้าหมายอยู่ในใจแล้ว หลังจากนั้นก็เข้าสู่กระบวนการ "ค้นหาข้อมูลจากภายใน" ผ่านการทำ Company Visit (สัมภาษณ์+เยี่ยมชมกิจการ) ด้วยตนเอง
4.เมื่ออ่านข้อมูลแล้วโอเค ผมก็จะเริ่มเข้าไปคุยกับฝ่าย IR (นักลงทุนสัมพันธ์) หรือผู้บริหารของบริษัทนั้น เอานักวิเคราะห์ประจำตัวไปด้วย 5.หลังกลับมาจากการเยี่ยมชมกิจการ ผมก็จะคุยกับนักวิเคราะห์ต่ออีกประมาณ 1 ชั่วโมงว่าหุ้นตัวนี้โอเคหรือไม่โอเค
6. "ถ้าชอบ" ก็จะถามนักวิเคราะห์ว่าพอมีลูกค้า (รายใหญ่) ที่ซื้อหุ้นตัวนี้อยู่แล้วหรือเปล่า ถ้ามีจะขอนัดเข้าไปคุยด้วย 7.เมื่อมั่นใจ (สุดๆ) ก็จะทยอยเก็บหุ้นตัวนั้นทันที "ไม่รอช้า" 8. ข้อสุดท้าย..เมื่อซื้อหุ้นจนกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่แล้วจะนัดหมายเข้าเยี่ยมชมกิจการ (คุยกับผู้บริหาร) ของบริษัท "ไตรมาสละ 1 ครั้ง"
โสรัตน์ บอกว่า ในขั้นตอนการ "สะสมหุ้น" (ขั้นที่ 7) ส่วนใหญ่ใช้เวลาในการทยอยเก็บหุ้นเพื่อให้ได้จำนวนตามเป้าหมาย "ไม่เกิน 2 สัปดาห์" ขณะที่กระบวนการคัดสรรหุ้นทั้งหมดจะใช้เวลาค่อนข้างนานประมาณ 2-3 เดือนเพื่อให้มั่นใจที่สุดว่า "เลือกหุ้นไม่พลาด"
"การเล่นหุ้นของผมไม่นิยมดูกราฟ ไม่เคยคิดจะดู เพราะไม่มีความชำนาญ แต่จะพิจารณาจากปัจจัยพื้นฐานเพียงอย่างเดียว เพราะผมเติบโตมาจากการทำธุรกิจ ไม่ได้มาจากสายมาร์เก็ตติ้ง”
ก่อนจะตัดสินใจซื้อหุ้นตัวใดตัวหนึ่งหนักๆ (เป็นร้อยล้านบาท) โสรัตน์จะใช้เวลาอยู่เงียบๆ คนเดียว ก่อนจะซื้อ มักเดินทางไปต่างจังหวัด 2-3 วัน ไป "ทบทวนสิ่งที่ตัวเองกำลังจะทำ" ว่าคิดดีแล้วหรือยัง เพราะเงินที่จะซื้อเป็นเงินจำนวนมาก
"ผมมีความเชื่อส่วนตัวว่านิสัยการลงทุนที่ดีเกิดจากมีพฤติกรรมที่ดี ผมจะบอก(เตือน)ตัวเองเสมอว่า เราต้องมีหลัก "5 วิ" เสมอในการลงทุนหรือทำธุรกิจ คือ วิจัย, วิเคราะห์, วินัย, วิริยะ (ความเพียร) และ วิมังสา (ความพิจารณา) หากเราพิจารณาดีแล้ว หุ้นตัวนั้นต้องสร้างผลตอบแทนที่ดี และในแง่ธุรกิจต้องพึ่งพิง (Synergy) กันได้”
กฎเหล็กซื้อขายหุ้น 10 ประการ
โสรัตน์ หยิบกระดาษโน้ตบนโต๊ะทำงานที่เตรียมไว้ เพื่อบอกเล่า “กฎเหล็กซื้อขาย 10 ประการ” ของตนเอง โดยขอเริ่มจาก "กฎการซื้อหุ้น 5 ข้อ"
หุ้นแบบไหนที่ผมจะซื้อ ข้อ 1 ดูว่าบริษัทนั้นมีความสามารถ และความยั่งยืนเพียงใด โดยจะวิเคราะห์จากอุตสาหกรรมว่า "เทรนด์ธุรกิจ" กำลัง "ขึ้น" หรือ "ลง" ธุรกิจนั้นมีความโดดเด่นเหนือคู่แข่งหรือเปล่า! ฐานะการเงินเป็นอย่างไร โดยเฉพาะในแง่ของหนี้สินต้องไม่สูง กำไรธุรกิจต้องดี สินทรัพย์ต้องไม่เยอะจนเกินไป
ข้อ 2 ผมจะดูว่าบริษัทนั้นมีผู้บริหารเก่งหรือไม่เก่ง ตรงนี้สำคัญ และดูว่าเขามีความสุขในการทำงานมั้ย! ข้อ 3 ธุรกิจนั้นต้องมีผลประกอบการขยายตัวในช่วง 3 ปี เติบโตขึ้นอย่างน้อย 100% ข้อ 4 บริษัทต้องจ่ายเงินปันผล 5% ต่อปี และ ข้อ 5 หุ้นตัวนั้นต้องมีส่วนต่างความปลอดภัย (Margin of safety) หรือ ราคาตลาดถูกกว่ามูลค่ากิจการ ถ้ามีค่าส่วนต่างมากๆ ก็จะทำให้เราสามารถ "ลดความเสี่ยง" ในการซื้อหุ้น และ "เพิ่มโอกาส" ที่จะได้รับผลตอบแทนที่สูง
"กฎการซื้อหุ้น 5 ข้อ ต้องสอดคล้องกับกฎอีก 2 ข้อ คือ 1.ธุรกิจนั้นต้องสามารถ Synergy กับธุรกิจของครอบครัวได้ และ 2.ธุรกิจนั้นต้องมีการกำกับดูแลกิจการที่ดี (CG) รับผิดชอบต่อสังคม (CSR) และบริหารลูกค้าสัมพันธ์ (CRM) ที่ดี ถ้าไม่มีข้อเหล่านี้ก็ไม่เอา"
สำหรับ "กฎการขายหุ้น 3 ข้อ" ของโสรัตน์ คือ ข้อ 1 ถ้าพื้นฐานหุ้นเปลี่ยนจะขายทันที ข้อ 2 ถ้าถึงราคาเป้าหมายจะขายทันที เว้นแต่บางกิจการอาจถือต่อ และ ข้อ 3 หากเจอกิจการที่น่าสนใจกว่าจะขายเพื่อสลับมาซื้อตัวใหม่
ผ่านหลัก 'พันล้าน' วิธีคิดการลงทุนเปลี่ยน
ตอนพอร์ตยังไม่ถึง "พันล้านบาท" โสรัตน์ เล่าว่า รู้สึกหัวใจเต้นแรงตอนพอร์ตกำลังขึ้นหลักพันล้านบาท เมื่อถามถึงเป้าหมายการลงทุนหลังจากนี้ เจ้าตัวบอกว่า วันนี้ไม่เคยฝันว่าอยากมีพอร์ตลงทุนเพิ่มขึ้นเป็นเท่าไร "มันเลยจุดตื่นเต้นที่สุดมาแล้ว" ตอนนี้มุมมองเปลี่ยนไปว่าหากชอบกิจการตัวไหนจริงๆ จะไม่ขายหุ้นแต่พร้อมจะเติบโตไปกลับเขา แต่ต้องเอาธุรกิจของเราไป Synergy กับเขาได้ด้วย
"ฝันของผมในวันนี้ มันไม่เหมือนตอนอายุน้อยๆ อีกแล้ว สมัยก่อนพอร์ตเราเล็กคิดแต่ว่าทำอย่างไรให้มีเงินในพอร์ตมากๆ คิดว่าพรุ่งนี้จะช้อนหุ้นตัวไหนดี วันนี้ไม่ได้มองตรงนั้นแล้ว พอมีเงินถึงระดับหนึ่งรู้สึกว่าอยากทำอะไรเพื่อสังคมมากกว่า"
"วันนี้ผมไม่ต้องการมีเงินมากๆ และไม่ต้องการขึ้นชื่อว่าร่ำรวยจากตลาดหุ้น แต่อยากขึ้นชื่อว่าประสบความสำเร็จจากการทำธุรกิจมากกว่า บอกตรงๆ (เงิน) เท่าที่มีตอนนี้ก็เพียงพอแล้ว มีทั้งเงินเดือน เงินปันผล เชื่อมั้ย! วันๆ แทบไม่ได้ใช้เงิน ข้าวก็ไม่เคยซื้อกินเองมีแม่ครัวหามาให้ทาน ผมจะต้องการมีเงินไปทำไมอีกเยอะแยะ"
โสรัตน์ วางแผนคร่าวๆ ว่า จะนำเงินที่ได้จากเงินปันผลทุกปีไปลงทุนมูลนิธิ เพื่อหาความสุขทางใจมากกว่า ตอนนี้กำลังหาพันธมิตรมาร่วมกันทำกิจกรรม CSR เพื่อตอบแทนสังคม
เซียนหุ้นพันล้าน ให้แง่คิดทิ้งท้ายว่า คนเราต้องกล้าเปลี่ยนแปลง ตราบใดที่เราคิดว่าเดินมาถูกทางก็อย่าได้แคร์สายตาใคร ที่สำคัญต้องซื่อสัตย์ รู้คุณคน และต้องทำความดีทุกวันนิดหน่อยก็ต้องทำ "แล้ววันหนึ่งคุณจะประสบความสำเร็จเหมือนผม"
บัญญัติ 10 ประการในการทำธุรกิจ
เขาเล่าว่า ชีวิตค่อนข้างมีแบบแผน (มีการวางแผนตลอด) โดยเฉพาะการทำงานจะมีบัญญัติ 10 ประการในการทำธุรกิจให้เป็นสุดยอด SME
ข้อแรก ต้องชนะด้วย 5 พลังของผู้นำ คือ ต้องมีแรงกาย, มีแรงใจ, ความคิด, ความรัก และศรัทธา ข้อ 2 ต้องชนะด้วยลูกน้องที่ดี, ที่เก่ง, กล้า และมีความสุข ข้อ 3 ต้องสร้าง Speed Ownership คือ เติบโตแล้วต้องแตกเป็นยูนิต ข้อ 4ต้องใช้ทฤษฎี “ปลาน้ำตื้น“ สินค้าไม่ต้องฮิต แต่ต้องกำไรงาม ไม่เหมือนของใคร
ข้อ 5 ต้องทำกิจกรรมต่างๆ ด้วยตนเอง ข้อ 6 แท็กทีม 360 องศา สินค้าตัวไหนดี เราก็ไปรวมพลังกับคนอื่น ไม่ต้องทำคนเดียว เพราะจะลงทุนมากไม่คุ้ม ข้อ 7 สร้างแผนประชาสัมพันธ์เชิงรุก ด้วยการมีโปรโมชั่นใหม่ๆ ต่อเนื่อง ออกแนวลั่นกลองรบไม่หยุด ข้อ 8 ทำธุรกิจให้ต้นทุนต่ำที่สุด อย่าติดหรู
ข้อ 9 ต้องมีโครงการดีๆ และ ข้อ 10 ต้องกระจายกำไร เช่น มีกำไร 100% ต้องแบ่งให้พนักงาน 10% ปรับปรุงงาน 10% ทำ R&D 5% ทำ CRM 5% ที่เหลือต้องเก็บเป็นเงินสด เพื่อนำไปลงทุนต่อ หรือใช้ยามฉุกเฉิน
"กฎเหล็กการใช้ชีวิต...ผมก็มีอีกนะ ข้อแรก เราต้องรู้จักตัวเอง จงใช้เวลาคิดทุกเรื่องวันละ 1 ชั่วโมง ถือเป็นงานอย่างหนึ่งที่ต้องทำทุกวัน ข้อ 2 ต้องวางเป้าหมายแบบทำแล้วต้องรู้ผลทันที ข้อ 3 ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน โดยเฉพาะอาหารจานหลัก พวกขนมเรียนรู้นิดหน่อยก็พอ...ผมมีหนังสือที่อ่านประจำในห้องสมุดของออฟฟิศ (ห้องสมุดติดกับห้องทำงานชื่อว่า "แสงเทียน") หนังสือเกี่ยวกับการบริหาร, การลงทุน เช่น หนังสือของ ดร.นิเวศน์, ตำราพิชัยสงคราม, ศาสนา ปรัชญา และสุขภาพ อ่านได้แบบนี้ทุกวันชีวิตก็แฮปปี้"
http://bit.ly/kwKY8S
ธุรกิจ : BizWeek
วันที่ 5 กรกฎาคม 2554 01:00
'โสรัตน์ วณิชวรากิจ' ตำรารวย 'เซียนหุ้นพันล้าน'
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
เจาะลึกเทคนิคพิชิตหุ้น 'หลักปฏิบัติ 8 ข้อ' โสรัตน์ วณิชวรากิจ หุ้นทุกตัวที่ลงทุนต้องสามารถนำมา 'ต่อยอด' ธุรกิจของครอบครัว
ภายใต้คำจำกัดความ 'Value Business Synergy'
หลังจากเจ๊งหุ้นไป 2 รอบ การกลับ "ครั้งที่สาม" โสรัตน์ มีสไตล์การลงทุนซึ่งไม่ต่างไปจากการ "เล่นหุ้นแบบพ่อค้า" นำเอาแนวคิดของ "นักลงทุน" และ "นักธุรกิจ" มาผสมผสานกัน
เขามองว่าหุ้นทุกตัวที่ลงทุนควรสามารถนำมา "ต่อยอด" ธุรกิจของครอบครัวได้ ภายใต้คำจำกัดความ Value Business Synergy โสรัตน์ อธิบายคำจำกัดความสไตล์การลงทุนของตัวเองว่า เป็นการลงทุนแบบ Value Investor (วีไอ) บวกกับ Business Synergy แตกต่างจากสมัย "วัยรุ่น" (ลงทุนครั้งแรก) ที่เน้นเล่นหุ้นเก็งกำไรระยะสั้นๆ อย่างเดียว ขณะที่ "วัยทำงาน" (กลับมาครั้งที่สอง) จะเล่นแบบแวลูอินเวสเตอร์
โมเดลการลงทุนแบบ Value Business Synergy ของโสรัตน์ คือ การเข้าไปถือหุ้นในบริษัทใดบริษัทหนึ่งที่ "ธุรกิจกำลังเติบโต" ในจำนวนหุ้นที่ "มากพอสมควร" หลังจากนั้นก็งัดบทบาทของนักธุรกิจไป "ปิดการขาย" สินค้า (แผ่นอะครีลิค) ของตนเองในฐานะ "พันธมิตรทางธุรกิจ" นี่คือ "Win-Win Game" ที่ต่างคนต่างได้
"เมื่อเราขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่แล้ว ผมก็จะพยายามนำธุรกิจของตัวเองไป "Synergy" กับเขา เพราะนอกจากต้นทุนของบริษัท (ที่เข้าไปซื้อหุ้น) จะลดลงแล้ว เพราะผมคงไม่ขายสินค้าให้เขาแพง ส่วนบริษัทครอบครัวของผมก็จะได้งาน (มียอดขาย) มากขึ้นด้วย ยกตัวอย่างกรณี RS ผมก็ขายแผ่นอะครีลิคให้เขา (เฮียฮ้อ) นำไปใช้ในงานด้านต่างๆ" โสรัตน์ อธิบาย ซึ่งก็รวมถึงหุ้น SAMART และ HTECH ที่ใช้กลยุทธ์ Business Synergy ด้วย
อย่างไรก็ตาม โสรัตน์ก็ไม่ได้ทิ้งแนวทางการลงทุนแบบ Value Investor โดยมีบุคคลต้นแบบคือ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร และบุคคลต้นแบบทางฝั่ง Business Synergy คือ ทวีฉัตร จุฬางกูร เจ้าของพอร์ตหุ้น "หลายพันล้านบาท" ทายาทอาณาจักรธุรกิจหมื่นล้าน "ซัมมิทกรุ๊ป"
"ตอนนี้ผมมีบุคคลต้นแบบการลงทุนอยู่ 2 คน ซึ่งผมจะนำเทคนิคต่างๆ มาผสมผสานกัน ฝั่ง Value Investor ต้องยกให้ ดร.นิเวศน์ ส่วนใหญ่จะนำมุมมองเกี่ยวกับกิจการต่างๆ มาใช้ในการลงทุน โดยเฉพาะวิธีการตีมูลค่าหุ้น ที่สำคัญจะนำหลักการความอดทน และความมีวินัยทางการเงินมาใช้...ผมบอกตัวเองเสมอว่า ห้ามใช้มาร์จินเพื่อเบิล (เพิ่ม) พอร์ตเด็ดขาด เข็ดไปจนตาย ส่วนฝั่ง Business Synergy ผมมี ทวีฉัตร จุฬางกูร เป็นแบบอย่าง"
จากการตรวจสอบโครงสร้างผู้ถือหุ้นพบว่า โสรัตน์ ถือหุ้น RS อันดับ 2 สัดส่วน 13.70% เป็นรองแค่ "เฮียฮ้อ" สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ เจ้าของบริษัทเพียงคนเดียว ถือหุ้น HTECH อันดับ 2 สัดส่วน 10.52% รองเพียง พีท ริมชลา ถือหุ้น SALEE อันดับ 3 ของบริษัท สัดส่วน 6.87% ถือหุ้น SAMTEL อันดับ 5 สัดส่วน 1.84% ถือหุ้น SAMART อันดับ 8 สัดส่วน 3.59% ถือหุ้น PREB อันดับ 5 สัดส่วน 5.01% ถือหุ้น SVI อันดับ 16 สัดส่วน 0.52% และถือหุ้น PTL อันดับ 5 สัดส่วน 1.22%
โดยหุ้น PTL โสรัตน์จะใช้วิธี "เทรด" ขายไป..แล้วซื้อกลับ โดยเจ้าตัวบอกว่าปัจจุบันพอร์ตลงทุนมีมูลค่าระดับ "พันล้านบาท" แต่ไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดว่าการกลับมา "ครั้งที่สาม" จากเงินที่ไประดมทุน (ยืม) จากญาติพี่น้องมาอีก "ร้อยล้านบาท" ภายในระยะเวลา 2 ปี พอร์ตโตขึ้นมาเป็นระดับ "พันล้าน" ได้อย่างไร
นักลงทุนหนุ่มใหญ่วัย 38 ปีรายนี้ ยอมที่จะเปิดเผยเหตุผลการเข้าซื้อหุ้นบางตัว กรณีหุ้น RS เข้าลงทุนช่วงกลางปี 2553 วิเคราะห์ว่าอาร์เอสกำลัง "มูฟ" ตัวเองไปสู่ธุรกิจโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ซึ่งเป็นเทรนด์ใหม่ทางธุรกิจที่กำลังมาแรง และมีอนาคต
"ผมมองว่าเฮียฮ้อ (สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์) เป็น "คนเก่ง" มีอะไรเหนือคู่แข่งหลายอย่าง คิดดูสิ! เขาสามารถผ่านจุด “เกือบเจ๊ง” มาได้ (เหมือนที่ผมเคยผ่านมาได้) จากนั้นเขาก็แข็งแกร่งขึ้นเรื่อยๆ ผมมองอนาคต 3 ปีข้างหน้า (2554-2556) ธุรกิจของอาร์เอสจะสวยงามมากในแง่ของกำไรสุทธิ น่าจะเติบโตได้ปีละ 30%" โสรัตน์ ออกโรงเชียร์
เขาบอกว่า ตอนแรกตั้งใจจะซื้อหุ้น RS แค่ 10 ล้านหุ้น พอได้ศึกษาเห็นว่าธุรกิจดีเกินคาดเลยอดใจไม่ไหวเก็บมาเรื่อยๆ ตอนนี้มี 120.94 ล้านหุ้น ถามว่าจะซื้อเพิ่มอีกหรือไม่..? ถ้ามีจังหวะก็จะเก็บเพิ่ม ส่วนตัวมองว่าวันนี้ราคาหุ้นยังต่ำกว่าพื้นฐาน แต่ซื้อยังไงก็ไม่ให้เกินหน้าเฮียแน่นอน (ปัจจุบันเฮียฮ้อถือ 202 ล้านหุ้น สัดส่วน 22.89%)
"จริงๆ ผมสนิทกับเฮียฮ้อมากเหมือนเราผูกพันกันมานาน เราจะคุยกันทุกเดือน ฉะนั้นต่อให้ราคาหุ้น RS ถึงเป้าหมายที่ตั้งใจไว้..ผมก็คงไม่ขายง่ายๆ ส่วนเหตุผลที่ซื้อหุ้น SAMTEL กับหุ้น SAMART ก็จะคล้ายๆ กับหุ้น RS คือผมสนิทกับเจ้าของบริษัท คุณวัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ เรียกได้ว่าเข้ากันได้ดี"
กลุ่มสามารถของคุณวัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ ช่วงปี 2540 เขาก็ "เกือบตาย" เหมือนกัน (กับผม) หนี้สินเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว แต่สุดท้ายก็สามารถผ่านมันมาได้วันนี้ธุรกิจแข็งแกร่งขึ้นมาก อย่างในปี 2554 กำไรสุทธิน่าจะโต 50% เพราะได้ธุรกิจ 3จี หนุน
“ตอนนี้ราคาหุ้น SAMART ยังไม่ถึงเป้าหมาย เพราะในช่วง 3 ปีข้างหน้าบริษัทมีโอกาสขยายตัวได้ต่อเนื่อง ต้นทุนหุ้นตัวนี้ผมได้มาประมาณ 8 บาท ตอนนี้มีอยู่ 40 ล้านหุ้น”
การพิชิตหุ้นด้วย 'หลักปฏิบัติ 8 ข้อ'
สำหรับหลักการพิชิตหุ้น โสรัตน์ กล่าวว่า ก่อนจะลงทุนหุ้นตัวใดตัวหนึ่ง (หนักๆ) จะมีหลักปฏิบัติอยู่ 8 ข้อ ดังนี้คือ 1.เพื่อให้ได้ข้อมูลมาประกอบการตัดสินใจให้มากที่สุด ผมจะเปิดพอร์ตลงทุนกับ 5 โบรกเกอร์ เพื่อรับข้อมูลข่าวสารในแต่ละวัน รวมถึงบทวิเคราะห์หุ้นตัวที่อยากได้ 2.คุยกับนักวิเคราะห์ที่เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมนั้นๆ ให้มากที่สุด ไม่เลือกค่าย รวมทั้งคุยหาข้อมูลกับนักลงทุนกลุ่มแวลูอินเวสเตอร์ (วีไอ) ด้วย รวมทั้งค้นหาข้อมูลของบริษัทมาประกอบการลงทุน 3. เมื่อได้ข้อมูลมาแล้ว (ทั้งอ่านและคุยกับผู้เชี่ยวชาญ) จะนั่งคนเดียว 3-4 ชั่วโมงทุกวัน เพื่อทบทวนข้อมูลที่หามาได้
หลักการพิชิตหุ้น 3 ข้อแรกของโสรัตน์ เป็นการค้นหา "ข้อมูลจากภายนอก" (บทวิเคราะห์+ผู้เชี่ยวชาญ) ทำให้เขามีหุ้นเป้าหมายอยู่ในใจแล้ว หลังจากนั้นก็เข้าสู่กระบวนการ "ค้นหาข้อมูลจากภายใน" ผ่านการทำ Company Visit (สัมภาษณ์+เยี่ยมชมกิจการ) ด้วยตนเอง
4.เมื่ออ่านข้อมูลแล้วโอเค ผมก็จะเริ่มเข้าไปคุยกับฝ่าย IR (นักลงทุนสัมพันธ์) หรือผู้บริหารของบริษัทนั้น เอานักวิเคราะห์ประจำตัวไปด้วย 5.หลังกลับมาจากการเยี่ยมชมกิจการ ผมก็จะคุยกับนักวิเคราะห์ต่ออีกประมาณ 1 ชั่วโมงว่าหุ้นตัวนี้โอเคหรือไม่โอเค
6. "ถ้าชอบ" ก็จะถามนักวิเคราะห์ว่าพอมีลูกค้า (รายใหญ่) ที่ซื้อหุ้นตัวนี้อยู่แล้วหรือเปล่า ถ้ามีจะขอนัดเข้าไปคุยด้วย 7.เมื่อมั่นใจ (สุดๆ) ก็จะทยอยเก็บหุ้นตัวนั้นทันที "ไม่รอช้า" 8. ข้อสุดท้าย..เมื่อซื้อหุ้นจนกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่แล้วจะนัดหมายเข้าเยี่ยมชมกิจการ (คุยกับผู้บริหาร) ของบริษัท "ไตรมาสละ 1 ครั้ง"
โสรัตน์ บอกว่า ในขั้นตอนการ "สะสมหุ้น" (ขั้นที่ 7) ส่วนใหญ่ใช้เวลาในการทยอยเก็บหุ้นเพื่อให้ได้จำนวนตามเป้าหมาย "ไม่เกิน 2 สัปดาห์" ขณะที่กระบวนการคัดสรรหุ้นทั้งหมดจะใช้เวลาค่อนข้างนานประมาณ 2-3 เดือนเพื่อให้มั่นใจที่สุดว่า "เลือกหุ้นไม่พลาด"
"การเล่นหุ้นของผมไม่นิยมดูกราฟ ไม่เคยคิดจะดู เพราะไม่มีความชำนาญ แต่จะพิจารณาจากปัจจัยพื้นฐานเพียงอย่างเดียว เพราะผมเติบโตมาจากการทำธุรกิจ ไม่ได้มาจากสายมาร์เก็ตติ้ง”
ก่อนจะตัดสินใจซื้อหุ้นตัวใดตัวหนึ่งหนักๆ (เป็นร้อยล้านบาท) โสรัตน์จะใช้เวลาอยู่เงียบๆ คนเดียว ก่อนจะซื้อ มักเดินทางไปต่างจังหวัด 2-3 วัน ไป "ทบทวนสิ่งที่ตัวเองกำลังจะทำ" ว่าคิดดีแล้วหรือยัง เพราะเงินที่จะซื้อเป็นเงินจำนวนมาก
"ผมมีความเชื่อส่วนตัวว่านิสัยการลงทุนที่ดีเกิดจากมีพฤติกรรมที่ดี ผมจะบอก(เตือน)ตัวเองเสมอว่า เราต้องมีหลัก "5 วิ" เสมอในการลงทุนหรือทำธุรกิจ คือ วิจัย, วิเคราะห์, วินัย, วิริยะ (ความเพียร) และ วิมังสา (ความพิจารณา) หากเราพิจารณาดีแล้ว หุ้นตัวนั้นต้องสร้างผลตอบแทนที่ดี และในแง่ธุรกิจต้องพึ่งพิง (Synergy) กันได้”
กฎเหล็กซื้อขายหุ้น 10 ประการ
โสรัตน์ หยิบกระดาษโน้ตบนโต๊ะทำงานที่เตรียมไว้ เพื่อบอกเล่า “กฎเหล็กซื้อขาย 10 ประการ” ของตนเอง โดยขอเริ่มจาก "กฎการซื้อหุ้น 5 ข้อ"
หุ้นแบบไหนที่ผมจะซื้อ ข้อ 1 ดูว่าบริษัทนั้นมีความสามารถ และความยั่งยืนเพียงใด โดยจะวิเคราะห์จากอุตสาหกรรมว่า "เทรนด์ธุรกิจ" กำลัง "ขึ้น" หรือ "ลง" ธุรกิจนั้นมีความโดดเด่นเหนือคู่แข่งหรือเปล่า! ฐานะการเงินเป็นอย่างไร โดยเฉพาะในแง่ของหนี้สินต้องไม่สูง กำไรธุรกิจต้องดี สินทรัพย์ต้องไม่เยอะจนเกินไป
ข้อ 2 ผมจะดูว่าบริษัทนั้นมีผู้บริหารเก่งหรือไม่เก่ง ตรงนี้สำคัญ และดูว่าเขามีความสุขในการทำงานมั้ย! ข้อ 3 ธุรกิจนั้นต้องมีผลประกอบการขยายตัวในช่วง 3 ปี เติบโตขึ้นอย่างน้อย 100% ข้อ 4 บริษัทต้องจ่ายเงินปันผล 5% ต่อปี และ ข้อ 5 หุ้นตัวนั้นต้องมีส่วนต่างความปลอดภัย (Margin of safety) หรือ ราคาตลาดถูกกว่ามูลค่ากิจการ ถ้ามีค่าส่วนต่างมากๆ ก็จะทำให้เราสามารถ "ลดความเสี่ยง" ในการซื้อหุ้น และ "เพิ่มโอกาส" ที่จะได้รับผลตอบแทนที่สูง
"กฎการซื้อหุ้น 5 ข้อ ต้องสอดคล้องกับกฎอีก 2 ข้อ คือ 1.ธุรกิจนั้นต้องสามารถ Synergy กับธุรกิจของครอบครัวได้ และ 2.ธุรกิจนั้นต้องมีการกำกับดูแลกิจการที่ดี (CG) รับผิดชอบต่อสังคม (CSR) และบริหารลูกค้าสัมพันธ์ (CRM) ที่ดี ถ้าไม่มีข้อเหล่านี้ก็ไม่เอา"
สำหรับ "กฎการขายหุ้น 3 ข้อ" ของโสรัตน์ คือ ข้อ 1 ถ้าพื้นฐานหุ้นเปลี่ยนจะขายทันที ข้อ 2 ถ้าถึงราคาเป้าหมายจะขายทันที เว้นแต่บางกิจการอาจถือต่อ และ ข้อ 3 หากเจอกิจการที่น่าสนใจกว่าจะขายเพื่อสลับมาซื้อตัวใหม่
ผ่านหลัก 'พันล้าน' วิธีคิดการลงทุนเปลี่ยน
ตอนพอร์ตยังไม่ถึง "พันล้านบาท" โสรัตน์ เล่าว่า รู้สึกหัวใจเต้นแรงตอนพอร์ตกำลังขึ้นหลักพันล้านบาท เมื่อถามถึงเป้าหมายการลงทุนหลังจากนี้ เจ้าตัวบอกว่า วันนี้ไม่เคยฝันว่าอยากมีพอร์ตลงทุนเพิ่มขึ้นเป็นเท่าไร "มันเลยจุดตื่นเต้นที่สุดมาแล้ว" ตอนนี้มุมมองเปลี่ยนไปว่าหากชอบกิจการตัวไหนจริงๆ จะไม่ขายหุ้นแต่พร้อมจะเติบโตไปกลับเขา แต่ต้องเอาธุรกิจของเราไป Synergy กับเขาได้ด้วย
"ฝันของผมในวันนี้ มันไม่เหมือนตอนอายุน้อยๆ อีกแล้ว สมัยก่อนพอร์ตเราเล็กคิดแต่ว่าทำอย่างไรให้มีเงินในพอร์ตมากๆ คิดว่าพรุ่งนี้จะช้อนหุ้นตัวไหนดี วันนี้ไม่ได้มองตรงนั้นแล้ว พอมีเงินถึงระดับหนึ่งรู้สึกว่าอยากทำอะไรเพื่อสังคมมากกว่า"
"วันนี้ผมไม่ต้องการมีเงินมากๆ และไม่ต้องการขึ้นชื่อว่าร่ำรวยจากตลาดหุ้น แต่อยากขึ้นชื่อว่าประสบความสำเร็จจากการทำธุรกิจมากกว่า บอกตรงๆ (เงิน) เท่าที่มีตอนนี้ก็เพียงพอแล้ว มีทั้งเงินเดือน เงินปันผล เชื่อมั้ย! วันๆ แทบไม่ได้ใช้เงิน ข้าวก็ไม่เคยซื้อกินเองมีแม่ครัวหามาให้ทาน ผมจะต้องการมีเงินไปทำไมอีกเยอะแยะ"
โสรัตน์ วางแผนคร่าวๆ ว่า จะนำเงินที่ได้จากเงินปันผลทุกปีไปลงทุนมูลนิธิ เพื่อหาความสุขทางใจมากกว่า ตอนนี้กำลังหาพันธมิตรมาร่วมกันทำกิจกรรม CSR เพื่อตอบแทนสังคม
เซียนหุ้นพันล้าน ให้แง่คิดทิ้งท้ายว่า คนเราต้องกล้าเปลี่ยนแปลง ตราบใดที่เราคิดว่าเดินมาถูกทางก็อย่าได้แคร์สายตาใคร ที่สำคัญต้องซื่อสัตย์ รู้คุณคน และต้องทำความดีทุกวันนิดหน่อยก็ต้องทำ "แล้ววันหนึ่งคุณจะประสบความสำเร็จเหมือนผม"
บัญญัติ 10 ประการในการทำธุรกิจ
เขาเล่าว่า ชีวิตค่อนข้างมีแบบแผน (มีการวางแผนตลอด) โดยเฉพาะการทำงานจะมีบัญญัติ 10 ประการในการทำธุรกิจให้เป็นสุดยอด SME
ข้อแรก ต้องชนะด้วย 5 พลังของผู้นำ คือ ต้องมีแรงกาย, มีแรงใจ, ความคิด, ความรัก และศรัทธา ข้อ 2 ต้องชนะด้วยลูกน้องที่ดี, ที่เก่ง, กล้า และมีความสุข ข้อ 3 ต้องสร้าง Speed Ownership คือ เติบโตแล้วต้องแตกเป็นยูนิต ข้อ 4ต้องใช้ทฤษฎี “ปลาน้ำตื้น“ สินค้าไม่ต้องฮิต แต่ต้องกำไรงาม ไม่เหมือนของใคร
ข้อ 5 ต้องทำกิจกรรมต่างๆ ด้วยตนเอง ข้อ 6 แท็กทีม 360 องศา สินค้าตัวไหนดี เราก็ไปรวมพลังกับคนอื่น ไม่ต้องทำคนเดียว เพราะจะลงทุนมากไม่คุ้ม ข้อ 7 สร้างแผนประชาสัมพันธ์เชิงรุก ด้วยการมีโปรโมชั่นใหม่ๆ ต่อเนื่อง ออกแนวลั่นกลองรบไม่หยุด ข้อ 8 ทำธุรกิจให้ต้นทุนต่ำที่สุด อย่าติดหรู
ข้อ 9 ต้องมีโครงการดีๆ และ ข้อ 10 ต้องกระจายกำไร เช่น มีกำไร 100% ต้องแบ่งให้พนักงาน 10% ปรับปรุงงาน 10% ทำ R&D 5% ทำ CRM 5% ที่เหลือต้องเก็บเป็นเงินสด เพื่อนำไปลงทุนต่อ หรือใช้ยามฉุกเฉิน
"กฎเหล็กการใช้ชีวิต...ผมก็มีอีกนะ ข้อแรก เราต้องรู้จักตัวเอง จงใช้เวลาคิดทุกเรื่องวันละ 1 ชั่วโมง ถือเป็นงานอย่างหนึ่งที่ต้องทำทุกวัน ข้อ 2 ต้องวางเป้าหมายแบบทำแล้วต้องรู้ผลทันที ข้อ 3 ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน โดยเฉพาะอาหารจานหลัก พวกขนมเรียนรู้นิดหน่อยก็พอ...ผมมีหนังสือที่อ่านประจำในห้องสมุดของออฟฟิศ (ห้องสมุดติดกับห้องทำงานชื่อว่า "แสงเทียน") หนังสือเกี่ยวกับการบริหาร, การลงทุน เช่น หนังสือของ ดร.นิเวศน์, ตำราพิชัยสงคราม, ศาสนา ปรัชญา และสุขภาพ อ่านได้แบบนี้ทุกวันชีวิตก็แฮปปี้"