นักลงทุนเน้นภาพสะท้อน : การตะหนักรู้ในตนเอง

บทความต่างๆที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม

โพสต์ โพสต์
humdrum
Verified User
โพสต์: 1961
ผู้ติดตาม: 0

นักลงทุนเน้นภาพสะท้อน : การตะหนักรู้ในตนเอง

โพสต์ที่ 1

โพสต์

รูปภาพ
"ชาวยิวตอบคำถามด้วยการตั้งคำถาม            

                         คัมภีร์ทาลมุด



     
GEORGE SOROS,
รูปภาพ

 STEVEN COHEN ,

รูปภาพ

PAUL TUDOR JONES
รูปภาพ
 
        คุณสมบัติที่ผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคลหรือ HEDGE FUND MANAGER สไตน์ RISE AVERSE อย่าง GEORGE SOROS,  STEVEN COHEN ,   PAUL JONES    มีอยู่คล้ายกันคืออะไร?

          คำตอบ คือ  ?

   
     รูปภาพ


        ความสำคัญที่แท้จริงของพวกเขา  คือ มีนิสัยที่เปลี่ยนแปลงสมมุติฐานที่เป็นพื้นฐานของความคิดและความเชื่อที่มีอยู่ก่อนแล้ว   ตั้งใจท้าทายทัศนะที่ครอบงำอยู่โดยใช้หลักการ invertire  หรือ การคิดยอกย้อนทัศนะคติของตัวเอง หรือ ที่เรียกว่า..
                       self actualization

         อาจารย์โซรอสประจักษ์ว่าการรับรู้ของคน (อคติ) หรือความคิดที่มีอยู่ก่อนทำให้เกิดความยุ่งเยิงต่าง ๆ   เขาบอกว่า  ประสบการณ์ไม่เคยผิดพลาด มีแต่การตัดสินใจของคนเท่านั้นที่ผิดพลาดเพราะไปคาดการณ์ไว้ล่วงหน้า ถ้าไม่คาดการณ์ ความไม่แน่นอนก็จะไม่มีตัวตนอยู่เลย  

      ตัวกำหนดที่มีความสำคัญต่อการเอาตัวรอดในเกมการลงทุน คือ ความยึดหยุ่น การตะหนักรู้ตัวเอง และ อารมณ์ขัน
                                           
                                นักลงทุนนิรนาม
           
 

รูปภาพ
   
 ตลกยิว

      ชาวยิว และ คนที่ไม่ใช่ยิว อยู่บนรถไฟ ขณะที่ชาวยิว กับคนที่ไม่ใช่ยิวกำลังนั่งรถไฟอยู่ จู่ๆคนที่ไม่ใช่ยิว ก็ถามชาวยิวว่า ทำไม พวกคุณชาวยิวจึงฉลาดนัก เคล็ดลับคืออะไร ? ชาวยิวไม่ปล่อยให้เสียโอกาสจึงตอบกลับไปว่า เพราะเรากินหัวปลา จริงเหรอครับ คนที่ไม่ใช่ยิวรู้สึกทึ่ง แล้วผมจะหาหัวปลาได้ที่ไหนล่ะ เอ้อ .. บังเอิญผมมีปลาอยู่ตัวหนึ่ง ในถุงอาหารมื้อเที่ยงวันนี้ ชาวยิวเอาปลาออกจากถุงแล้ววางบนโต๊ะ คุณสนใจจะขายเฉพาะหัวปลาให้ผมมั้ยครับ คนที่ไม่ใช่ยิวถาม ได้เลย ให้ผมยี่สิบรูเบิลก็พอ คนที่ไม่ใช่ยิวจ่ายให้ชาวยิวตามราคาที่ตกลงกันแล้วเริ่มกินหัวปลา ไม่กี่นาทีต่อมาหลังจากคนที่ไม่ใช่ยิวกินหัวปลาหมดแล้ว และกำลังเลียนิ้วมืออยู่ เขาก็หันมาทางชาวยิวแล้วถามว่า ทำไมหัวปลาราคายี่สิบรูเบิล ในเมื่อปลาทั้งตัวราคาเพียงสิบห้า ชาวยิวยิ้มและตอบว่า เห็นมั้ยล่ะ ได้ผลแล้ว
           
      ผมจำได้ว่าอ่านใน SOROSs LECTURE มีตอนหนึ่งเขียนว่า

   ปฏิกริยาภาพสะท้อนเป็นต้นเหตุของความไม่แน่นอน
 

    ความไม่แน่นอน คืออะไร?

        เหตุการณ์ที่เป็นเชื้อไฟนำไปสู่ ความไม่แน่นอนในโลก  นั้นเกิดขึ้นเมื่อใด?

รูปภาพ

     มองมุมไหนละครับ ผมแบบคนที่เรียนเศรษศาสตร์ในบริบทของประวัติศาสตร์ ก็ต้องตอบว่า..โน้นห้าร้อยปีกว่าหรือปล่าว ?    ผมจำได้ว่า ตอนศตวรรษที่ 14 เกิดกาฬโรคระบาดไปทั่วยุโรป คนตายอย่างกะทันหันและต่อกันเป็นทอดๆ  เกือบครึ่งทวีปตายกันหมด ไม่ว่าพระ ขุนนาง อัศวิน ชาวนา  ทาสเก่าเต่าเลี้ยง หญิงงาม พ่อค้า    โรคระบาดได้สั่นคลอนความศัทธาในพระเจ้าของประชาชนไปหมดสิ้น  หลังจากโรคระบาด การสนับสนุนการศึกษาจึงค่อย ๆ เกิดขึ้นอย่างช้าๆ  นั่นเป็นการแสวงหาเลือกครั้งแรกในรอบหลายร้อยปีที่อยู่นอกเหนือไปจากการสวดมนต์ต่อพระเจ้า พลังอำนาจที่อยู่กับศาสนาจักรมานานับพันปีถูกทำลายลงด้วยโรคระบาดนั่นเองครับ
 
  แล้วหลังจากนั้นละ?  
 
      หลังจากนั้นห้าร้อยกว่าปีต่อมา ปี 2010 พวกเราได้เคลื่อนที่ย้ายจากโลกที่ทุกสิ่งคือความแน่นอนและทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไม่ได้ มาสู่โลกที่ไม่มีอะไรแน่นอนและทุกสิ่งเปลี่ยนแปลงได้ด้วยเหตุการณ์ของโรคระบาดในครั้งนั้นนั่นเอง

        ผมเดาเอานะครับ จากมุมมองของอคติตัวเอง

      จะว่าไป.

      เดี๋ยวนี้  ประชากรโลกเชื่อมต่อจากทุกมุมโลกอย่างรวดเร็วด้วยการช่วยเหลือจากระบอบทุนนิยมและโลกแห่งอินเตอเนต   การเปลี่ยนแปลงจากครั้งกระโน้นได้กระตุ้นการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น   และมันได้เพิ่มความสามาถของคนที่จะเรียนรู้ ปรับตัว และคิดอย่างเป็นอิสระ  ผมไม่คิดว่าเราทำอะไรกันได้นอกจากสังเกตว่าการเปลี่ยนแปลงกำลังเกิดขึ้นในอัตราเร่งที่เร็วขนาดไหน  ไม่มีใครเดาได้ออกว่าการเปลี่ยนแปลงนี้จะกระทบต่อสมาชิกครอบครัวพวกเราในอนาคตอย่างไร

   
รูปภาพ

 การลงทุนกับจิตวิทยาเป็นเรื่องเดียวกัน  มันไม่ใช่เกมที่เป็นวิทยาศาสตร์แต่เป็นเกมทางสังคมศาสตร์ต่างหาก                  
                                   โซรอส


           ความรู้สึกอย่างนี้  อาจเป็นเช่นเดียวกันกับประชาชนเมื่อห้าร้อยปีก่อนตอนที่พวกเขาเผชิญโรคระบาด ทั้งเขาและเราต้องเจอกับความกดดันต่างๆ รอบทิศ ต่างกันที่สามัญชนสมัยโน้นไมได้ถูกควบคลุมเวลาเหมือนพวกเรา และข้อมูลข่าวสารและหนังสือในสมัยเขามีอยู่เพียงน้อยนิด ถึงมีก็เขียนเป็นภาษาละตินซึ่งมีแต่ชนชั้นสูงเท่านั้นที่อ่านออก   มันอยู่ที่ว่าพวกเขาไม่ยอมให้ฝ่ายศาสนาจักรมาคิดแทนพวกเขา  แล้วพวกเราละมีความคิดเป็นของตัวเองหรือปล่าว หรือว่าเวลาเทรดหุ้น ความคิดไม่เคยเป็นของเราเลย มันมีคนคลุมเกมไว้ทั้งหมด

         ตอนนี้ท่านคงรู้แล้วว่าทำไม self actualization ถึงสำคัญอย่างมาก
   
     วันหนึ่งผมตั้งหัวข้อ  การตะหนักรู้ในตนเอง แล้วตั้งคำถาม

   
    ท่านเคยถูกความคิดเห็นของตัวเองหลอกบ้างไหม?   ความคิดเห็นของท่านและความเชื่อของท่านมันเป็นของท่านจริงๆ หรือครับ?  ลองใช้เวลานั่งพิจารณาสิ่งพวกนี้ว่าเราเปลี่ยนแปลงความเชื่อที่เรายึดติดกับตัวเองอย่างเหนียวแน่นครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่?   แล้วรู้สุกอย่างไรตอนเปลี่ยนความคิดเหล่านั้น?

    เราเต็มใจรับความผิดพลาดเพราะอะไร?    มีคนเห็นว่าเรายอมรับจากสิ่งที่เราทำผิด เขาแนะนำอย่างไร?      เรียนรู้จากความผิดพลาดและไม่ทำผิดอีกครั้งที่สองอย่างไร?

รูปภาพ
 
    โห..ต้องใช้เวลาเป็นวัน ตอบคำถามเหล่านี้ แล้วท่านจะรู้ว่าประสบการณ์ในอดีตอะไรบ้างที่กำหนดทัศนคติและพฤติกรรมการลงทุนของเรา  
 
    ว่าก็ว่านะครับ อ่านข้อมูลตอนเช้าๆ.........
 
         พวกเราอาจไม่ได้ตะหนักคิดถึงแหล่งที่มาของข้อมูลต่างๆ ที่เราได้รับและตรวจสอบความถูกต้องต่างๆ เรารู้ตัวหรือปล่าวว่าขณะที่เราอ่าน เราก็มีความคิดเห็น สมมุติฐานและความเชื่อที่สร้างขึ้นมามากมาย  เราทราบหรือปล่าวว่า ความเชื่อที่เราสร้างขึ้นเกิดขึ้นได้อย่างไร?    ผมเชื่อว่าหุ้นตัวนี้มีพื้นฐานดีเพราะว่า..บา บา บา
     
   ผมเชื่อว่าพฤติกรรมของราคาสะท้อนปัจจัยพื้นฐานของหุ้นเพราะว่า..บา บา คลับเอ
 
   ผมเชื่ออย่างเหนียวแน่นเพราะอะไร?

    อะไรมีอิทธิพลกับผมในการซื้อหุ้น/ขายหุ้นมากที่สุด?

    อะไรทำให้ผมเกิดอารมณ์กลัวมากที่สุด?
     
 
       การจ้องจับผิดตัวเองอย่างนี้นั้น เป็นช่วงเวลาที่ไม่ค่อยอยากทำเลยครับ มันฝืนธรรมชาติของคนมาก แต่อาจารย์โซรอสทำได้ เราก็ต้องทำได้ อยากเก่งเหมือนท่านก็ต้องทำให้ได้
 
    คราวนี้.... ผมนั่งพิจารณาหัวข้อ ความผิดพลาด แล้วตั้งคำถาม

   โรงเรียนสอนผมอะไรบ้างเกี่ยวกับเรื่องการทำผิดพลาด?
   พ่อแม่สอนอะไรบ้างเกี่ยวกับการทำผิดพลาด ?
    อะไรคือความผิดพลาดในการลงทุนที่เคยทำ ?
    ผมเรียนรู้อะไรจากมันบ้าง ?
 ความผิดพลาดอะไรที่ทำซ้ำอีก ?
  ความกลัวที่จะขาดทุนมีบทบาทในชีวิตมากแค่ไหน ?
 ผมมีแนวโน้มที่จะทำผิดพลาดอีกเพราะอะไร ?
  คำถามนี้ผมชอบถามตัวเองบ่อยๆ ?
   ถ้าไม่กลัวการทำผิด ผมจะทำอะไรที่แตกต่างๆ ไปจากปัจจุบันบ้าง ?

  คำถามสุดท้าย

     เราสามารถคิดใหม่อีกครั้งในสิ่งที่เราได้สรุปไปแล้วเกี่ยวกับตัวเองได้หรือไม่?  

     ใช้เวลา อย่ารีบร้อน เก็บไว้ในใจ ค่อย ๆ คิด รอให้ตกผลึกเต็มที่จนสุกงอม

   
รูปภาพ


ในฐานะนักเรียนการลงทุนเน้นภาพสะท้อนคนหนึ่งนั้น คำถามข้างบนสำคัญมากทีเดียว  ไม่อย่างนั้นแล้ว การที่ท่านใช้เวลานั่งทบทวนมาทั้งหมดอาจสะท้อนกลับไปในทิศทางตจรงกันข้าม  ท่านนั่งทบทวนตัวเองเพราะท่านอยากเก่งขึ้นและสร้างกำไรที่มากขึ้น แต่ในขณะที่เราตอบคำถามเหล่านี้ เราไม่อาจกรองอคติของเราเองออกไปได้หมด ดังนั้นการนั่งทบทวนที่ผ่านมาทั้งหมดอาจสร้างผลลัพธ์ที่กลับตาลปัตร คือ ทำให้ท่านขาดทุนมากขึ้น เพราะท่านใช้เวลาไปกลับสิ่งเหล่านี้มากเสียจนจนขาดความสามารถในการเรียนรู้ขาดประสบการณ์จริง ไม่สามารถอ่านใจตัวเองได้อย่างถูกต้อง และมันอาจทำให้เราเก่งขึ้นได้.แต่เป้นเก่งไปทางด้านลบคือ เก่งที่จะสร้างการรับรู้อย่างผิด ๆ แทนที่จะเป็นการสร้างตะหนักรู้ที่ถูกต้อง
       
     ผู้จัดการกองทุนชั้นยอดและนักลงทุนเน้นภาพสะท้อนที่ดีต้องเข้าใจความยอกย้อนอย่างที่นี้ตลอดเวลาครับ......

 shalom........รูปภาพ
โพสต์โพสต์