Value Way ฉบับวันที่ 21 กันยายน 2552
โดยวิบูลย์ พึงประเสริฐ
คิดอย่างวอร์เรน บัฟเฟต
วอร์เรน บัฟเฟตใฟ้สัมภาษณ์ล่าสุดเมื่อวันที่ 15 กันยายนที่ผ่านมาเกี่ยวกับมุมมองต่อภาวะปัจจุบันของวิกฤติเศรษฐกิจ เป็นสิ่งที่น่าสนใจติดตามว่าเขามีความคิดเห็นอย่างไรบ้างในช่วงเวลานี้
ถาม: ตอนนี้หลายคนบอกว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยของสหรัฐอเมริกาได้จบลงแล้ว คุณมีความคิดเห็นว่าอย่างไรบ้าง
บัฟเฟต: ผมคงไม่รู้คำตอบของคำถามนี้ เพราะผมไม่ใช่กูรูทางด้านเศรษฐศาสตร์ ที่แท้จริงผมไม่ค่อยได้กังวลในเรื่องของเศรษฐกิจสักเท่าไหร่ จริงๆแล้วเราเพิ่งซื้อหุ้นเมื่อเช้านี้เอง แต่เราซื้อหุ้นไม่ใช่เพราะคิดว่าเรากำลังจะหลุดจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในอีกสามเดือนหกเดือนหรือหนึ่งปีข้างหน้า เราซื้อหุ้นเพราะมันมีมูลค่าที่ดีในระยะยาว ผมว่าข้อผิดพลาดของนักลงทุนส่วนใหญ่คือมักจะสนใจในการทำนายผลประกอบการของบริษัทมากกว่าสนใจในมูลค่าที่แท้จริง สำหรับธุรกิจของเบริคไชน์แล้ว เรายังมองไม่เห็นการฟื้นตัวของธุรกิจ แต่ขณะเดียวกันก็ไม่มีสัญญานของการถดถอยเพิ่มขึ้น
ถาม: แสดงว่าคุณยังไม่เห็นสัญญานการฟื้นตัวของธุรกิจของเบริ์คไชน์ตั้งแต่ธุรกิจเสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์จนถึงธุรกิจประกันใช่ไหม
บัฟเฟต: ใช่ เรายังไม่เห็นการฟื้นตัวของธุรกิจเหล่านี้ยกเว้นตลาดของอสังหาริมทรัพย์ ยอดขายของธุรกิจอื่นๆยังไม่ได้เพิ่มขึ้นแต่อย่างใด
ถาม: คุณคิดว่าเรากำลังอยู่ในช่วงเศรษฐกิจทรงตัวใช่ไหม
บัฟเฟต: เราไม่รู้หรอกว่าเมื่อไหร่เศรษฐกิจจะฟื้นตัวขึ้นมากกว่านี้ ตลาดอสังหาตอนนี้ดูดีกว่าปีที่แล้ว ยอดขายพรมของเราดีขึ้น แต่ยอดขายเฟอร์นิเจอร์ไม่ได้กระเตื้องขึ้นเลย
ถาม: วันนี้เป็นวันครบรอบหนึ่งปีที่เลห์แมน บราเดอร์ล้มละลาย คุณคิดว่าเราได้บทเรียนอะไรจากวิกฤติคราวนี้บ้าง
บัฟเฟต: เราประสบปัญหาฟองสบู่ขนาดยักษ์ในตลาดอสังหาริมทรัพย์์และส่งผลกระทบไปทั่วโลก ผู้คนอยู่ในความเพ้อฝันที่ว่าราคาบ้านมีแต่จะเพิ่มขึ้น รวมถึงคนในวงการธนาคารและประกันด้วย แต่ก่อนเราเคยคิดกันว่าเมื่อสถาบันการเงินขนาดใหญ่สักแห่งล้มลงจะเกิดปรากฏการณ์โดมิโน และปีที่แล้วเหตุการณ์โดมิโนได้เกิดขึ้นจริงๆ และเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมาก ดังนั้นในอนาคตเราควรจะมีระบบที่คอยควบคุมให้ผู้บริการสถาบันการเงินเหล่านั้นต้องรับผิดชอบด้วยถ้าการบริหารเงินทุนเกิดผลเสียต่อบริษัท ไม่ใช่ได้ประโยชน์แต่อย่างเดียว
ถาม: แล้วคุณคิดว่าจะทำอย่างที่คุณว่าได้จริงๆหรือ
บัฟเฟต: ผมคิดว่ามันคงไม่ใช่เรื่องง่าย แต่สิ่งที่น่าจะเปลี่ยนได้คือการทำให้ผู้บริการสถาบันการเงินเหล่านั้นดำเนินธุรกิจให้ดีขึ้น โดยมองถึงผลบวกและผลลบของการตัดสินใจในการทำธุรกิจ ไม่ใช่ดูแต่ด้านบวกเพียงอย่างเดียว เราได้บทเรียนจากการแห่ตามกันของฝูงชนมาแล้ว ทุกคนคิดว่าราคาบ้านมีแต่จะเพิ่มขึ้น ทุกคนมองแต่ด้านดีโดยไม่ได้นึกว่าผลลบของมันเป็นอย่างไร เราทำตามเพื่อนบ้านหรือคนอื่นๆที่ทำเงินได้มากมายอย่างง่ายๆ พวกเราสร้างฟองสบู่ลูกนี้ขึ้นมาเอง และเรื่องราวการตามฝูงชนแบบนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่อะไรเลย.ไม่ใช่เรื่องใหม่เลย
คิดอย่างวอร์เรน บัฟเฟต:ValueWay วิบูลย์ พึงประเสริฐ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 795
- ผู้ติดตาม: 0
คิดอย่างวอร์เรน บัฟเฟต:ValueWay วิบูลย์ พึงประเสริฐ
โพสต์ที่ 1
Miracle Happens Everyday !
"ปาฎิหารย์คือการเดินบนผืนดินและมีความสุขในทุกย่างก้าว"
"ปาฎิหารย์คือการเดินบนผืนดินและมีความสุขในทุกย่างก้าว"
-
- Verified User
- โพสต์: 2545
- ผู้ติดตาม: 0
คิดอย่างวอร์เรน บัฟเฟต:ValueWay วิบูลย์ พึงประเสริฐ
โพสต์ที่ 2
ราซื้อหุ้นไม่ใช่เพราะคิดว่าเรากำลังจะหลุดจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในอีกสามเดือนหกเดือนหรือหนึ่งปีข้างหน้า เราซื้อหุ้นเพราะมันมีมูลค่าที่ดีในระยะยาว ผมว่าข้อผิดพลาดของนักลงทุนส่วนใหญ่คือมักจะสนใจในการทำนายผลประกอบการของ บริษัทมากกว่าสนใจในมูลค่าที่แท้จริง
Circle of competence
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
- centrady
- Verified User
- โพสต์: 243
- ผู้ติดตาม: 0
คิดอย่างวอร์เรน บัฟเฟต:ValueWay วิบูลย์ พึงประเสริฐ
โพสต์ที่ 4
:lol: :lol:
-
- Verified User
- โพสต์: 1961
- ผู้ติดตาม: 0
คิดอย่างวอร์เรน บัฟเฟต:ValueWay วิบูลย์ พึงประเสริฐ
โพสต์ที่ 6
บัฟเฟต: ผมคิดว่ามันคงไม่ใช่เรื่องง่าย แต่สิ่งที่น่าจะเปลี่ยนได้คือการทำให้ผู้บริการสถาบันการเงินเหล่านั้นดำเนินธุรกิจให้ดีขึ้น โดยมองถึงผลบวกและผลลบของการตัดสินใจในการทำธุรกิจ ไม่ใช่ดูแต่ด้านบวกเพียงอย่างเดียว เราได้บทเรียนจากการแห่ตามกันของฝูงชนมาแล้ว ทุกคนคิดว่าราคาบ้านมีแต่จะเพิ่มขึ้น ทุกคนมองแต่ด้านดีโดยไม่ได้นึกว่าผลลบของมันเป็นอย่างไร เราทำตามเพื่อนบ้านหรือคนอื่นๆที่ทำเงินได้มากมายอย่างง่ายๆ พวกเราสร้างฟองสบู่ลูกนี้ขึ้นมาเอง และเรื่องราวการตามฝูงชนแบบนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่อะไรเลย.ไม่ใช่เรื่องใหม่เลย
รบกวนท่านวิบูลย์ ขอ source ได้ไหมครับ
:lol:
ผมฟัง BUFFETT พุดเกือบทุกวัน แต่ไม่ได้ฟังพูดทุกงาน
ผมไม่เคยได้ยินเขาพุดซ้ำ
" ไม่ใช่เรืองใหม่อะไร ...ไม่ใช่เรื่องใหม่อะไร"
ผมอาจผิดก้ได้ครับ ผมตั้งสมมุติฐานว่ามันผิดปกติเท่านั้น
ไม่มีอะไรมากครับ แค่สงสัยครับ
เห้นท่านวิบูลย์เขียนเรื่อง Mr.Market ไว้นานแล้ว
วันนี้ถือโอกาสขอบคุณมากครับ ผมอ่านทุกวันละครับ
เพราะผมติดไว้ข้างโต๊ะทำงานครับ
วันนี้ขอนุญาติท่านมาแปะให้เพื่อนอ่านบ้างครับ
-----------------------
Mr.Market
อาทิตย์ที่แล้วคุณมนตรีได้กล่าวถึง นายตลาด หรือ Mr.Market ไปคร่าวๆ บทความคราวนี้เรามาดูกันว่า นายตลาด มีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง
นายตลาด หรือ Mr.Market เป็นคำที่อาจารย์เบนจามิน เกรแฮม บิดาแห่งการลงทุนแบบเน้นคุณค่าได้บัญญัติขึ้นมาในหนังสือนักลงทุนผู้ชาญฉลาด (Intelligent Investor) ที่เขียนขึ้นเมื่อกว่าห้าสิบปีมาแล้ว
ในหนังสือคลาสสิกเล่มนี้ อ.เกรแฮม เขียนเอาไว้ในบทที่เกี่ยวกับความผันผวนของตลาดไว้ว่า ลองสมมติว่าคุณเป็นเจ้าของหุ้นในบริษัทส่วนตัวบริษัท และคุณมีหุ้นส่วนคนหนึ่งชื่อ นายตลาด ทุกๆ วันเขาจะมาเสนอซื้อหรือเสนอขายหุ้นให้กับคุณ
บางครั้งความคิดของเขาเกี่ยวกับราคาหุ้นที่เขาบอกมานั้นก็ดูมีเหตุมีผล แต่ในบางครั้ง ราคาหุ้นที่เขาเสนอมาดูเหมือนจะเป็นราคาที่ดูโง่เขลาในสายตาของคุณ
นักลงทุนที่แท้จริงจะสามารถหาประโยชน์จากราคาซื้อขายหุ้นรายวันของนายตลาด หรืออาจจะปล่อยไว้เฉยๆ ก็ได้ แล้วแต่ความเข้าใจและวิจารณญาณของตนเอง
โดยทั่วไปแล้ว ความผันผวนของราคาหุ้นมีความหมายเพียงอย่างเดียวสำหรับนักลงทุนที่แท้จริง นั่นก็คือเป็นโอกาสที่จะซื้อหุ้นเมื่อราคาลดลง และเป็นโอกาสในการขายหุ้นเมื่อราคาเพิ่มขึ้นอย่างมาก
โดยส่วนใหญ่แล้ว นักลงทุนจะทำผลตอบแทนได้ดีขึ้น ถ้าเขาเลิกสนใจตลาดหุ้น และหันไปให้ความสนใจกับเงินปันผลและผลประกอบการของบริษัทมากกว่า
นักลงทุนควรมองตลาดหุ้นเหมือน นายตลาด ผู้ที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ ราคาที่เขาเสนอซื้อหรือเสนอขายในตลาดหุ้นทุกวันนั้น จะเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาตามแรงกรรมของความโลภและความกลัว วันไหนที่ นายตลาด อารมณ์ดีก็จะมาให้ราคาหุ้นในราคาที่สูง วันไหนที่เขาอารมณ์ไม่ดี เขาก็จะเทขายหุ้นอย่างกับไม่มีวันพรุ่งนี้
ดังนั้น นักลงทุนสามารถหาประโยชน์จากนายตลาดได้ ไม่ใช่ให้นายตลาดมาชี้นำเรา
ถ้ามาดู นายตลาด ให้ใกล้ๆ ก็จะพบว่า นายตลาดมักจะมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
หนึ่ง อารมณ์แปรปวน
นายตลาด มักจะมีอารมณ์ไม่ค่อยคงที่ สาเหตุอาจจะเนื่องมาจากเป็นคนไม่อยู่กับร่องกับรอย ส่วนใหญ่มักจะมีอารมณ์ฉุนเฉียว เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย แปรเปลี่ยนไปตามอารมณ์ แต่ถ้าวันไหนอารมณ์ดีๆ ก็จะมาให้ราคาหุ้นสูงๆ ราวกับว่ากลัวจะไม่มีของให้ซื้อ
ถ้าสังเกตดูตลาดหุ้นจะพบกับความแปรปรวนของนายตลาดได้เป็นอย่างดี บางวันตลาดก็ผันผวนไปมา บางวันดัชนีก็ลดลงทะลุแนวต้านไปเฉยๆ บางวันก็พุ่งขึ้นเหมือนกระดี่ได้น้ำ
ใครอยู่ใกล้ นายตลาด บ่อยๆ จะเริ่มเคยชินและมีนิสัยเหมือนนายตลาดเข้าไปทุกที สุดท้ายก็จะกลายเป็นพวกของนายตลาดเสียอีก
วิธีสังเกตง่ายๆ ว่า ใครเป็นสาวกของ นายตลาด บ้างก็สังเกตได้ง่ายๆ คือ ถ้าวันไหนตลาดหุ้นดีก็จะอารมณ์ดีเป็นพิเศษ
แต่ถ้าวันไหนตลาดหุ้นตก จะหน้านิ่วคิ้วขมวด ไม่อยากให้ใครเข้าใกล้ ใครพูดจาไม่เข้าหูอาจถูกตะเพิดออกมาได้
ใครมีอาการดังกล่าวแสดงว่าถูกนายตลาดชักจูงไปเรียบร้อยแล้ว
สอง ไม่สนใจในมูลค่า
สิ่งสำคัญที่สุดในความเห็นของนายตลาดก็คือ ราคาหุ้น ดังนั้นถ้าวันไหน นายตลาดอารมณ์ดีก็จะมาให้ราคาหุ้นในราคาสูง แต่ถ้าวันไหนอารมณ์ไม่ดีก็จะขายหุ้นให้ในราคาถูกๆ
นายตลาดไม่ค่อยได้สนใจใน มูลค่าหุ้น มากนัก เพราะนายตลาดมักจะมี สายตาสั้น มองแค่ใกล้ๆ เพียงแค่ไม่กี่ชั่วโมง ไม่กี่วัน ดังนั้น มูลค่า ของนายตลาดก็คือ ราคาหุ้น ที่อยู่บนกระดานนั่นเอง
สาม ตกใจง่าย
คุณสมบัติอีกประการหนึ่งของนายตลาดก็คือ ขี้ตกใจ เป็นคนขวัญอ่อน เห็นอะไรก็ตกใจไปหมด ไม่ว่าจะเป็นราคาน้ำมันขึ้น ราคาน้ำมันลง จีดีพีเพิ่ม จีดีพีลด เงินเฟ้อ เงินฝืด ฯลฯ เรียกว่า มีข่าวอะไรก็มีผลกระทบกับจิตใจ นายตลาด ทั้งนั้นเลย
สังเกตดูจะพบว่า บางครั้งข่าวที่เกิดขึ้นอาจจะไม่ค่อยมีสาระเท่าไหร่ นายตลาดก็ยังเอาไปขวัญผวาได้บ่อยๆ ทั้งๆ ที่ไม่ได้เกี่ยวกับธุรกิจสักเท่าไหร่เลย
สี่ มีสัญชาตญาณหมู่
นายตลาด ไม่ชอบอยู่คนเดียว เรียกว่าเป็นคนชอบเข้าสังคม เพื่อนเฮไปไหนก็จะเฮไปนั่น ดูๆ ไปแล้วบางทีอาจจะเข้าข่ายชอบตามกระแส ไม่ค่อยได้ดูว่าทิศทางจะไปทางไหน จะไปดีไปร้ายไม่รู้ รู้แต่ว่าถ้า ขาใหญ่ ไปทางไหน จะตามไปทุกที่ ฝรั่งเขาเรียกกันว่า พวกหนูเลมมิ่ง ที่แห่ตามกันไปเรื่อย สุดท้ายก็ตกทะเลตายกันหมด ถึงแม้จะเห็นว่าเพื่อนกำลังกระโดดน้ำตาย เจ้าพวกเลมมิ่งก็ไม่กลัว เลยกระโดดน้ำตายตามเพื่อนไปด้วย
ทั้งอารมณ์แปรปรวน ตกใจง่าย ทำตามคนหมู่มาก รวมทั้งไม่สนใจในมูลค่าหุ้นล้วนเป็นคุณสมบัติของนายตลาด ดังนั้นหลังจากที่เราได้รู้จักคุณสมบัติของ นายตลาด ไปแล้ว บทความคราวหน้าเรามาดูว่าเราจะหาประโยชน์จาก นายตลาด ได้อย่างไร
หรือถ้าไม่อยากตกอยู่ใต้อำนาจของนายตลาดต้องทำอย่างไรบ้าง
-
- Verified User
- โพสต์: 1961
- ผู้ติดตาม: 0
คิดอย่างวอร์เรน บัฟเฟต:ValueWay วิบูลย์ พึงประเสริฐ
โพสต์ที่ 8
ขอบคุณครับพี่ ผมตามไปฟังแล้วครับ
เขาพูดต่อกันไปในแบบที่เขาพุดปกติ
ตอนแรกผมอ่านแล้วรอยปะที่พี่เว้นไว้ ผมอ่านแล้วคิดว่า เขาพุดเว้นจังหวะแบบ Richard Branson ซะอีก ฮ๋า ฮ่า คิดมากไปเองครับ
ถ้าพุดเว้นแบบนั้น อารมณ์การพุดมันต่างกันเลยนะครับ
เขาพูดต่อกันไปในแบบที่เขาพุดปกติ
ตอนแรกผมอ่านแล้วรอยปะที่พี่เว้นไว้ ผมอ่านแล้วคิดว่า เขาพุดเว้นจังหวะแบบ Richard Branson ซะอีก ฮ๋า ฮ่า คิดมากไปเองครับ
ถ้าพุดเว้นแบบนั้น อารมณ์การพุดมันต่างกันเลยนะครับ
- holidaytours
- Verified User
- โพสต์: 349
- ผู้ติดตาม: 0
คิดอย่างวอร์เรน บัฟเฟต:ValueWay วิบูลย์ พึงประเสริฐ
โพสต์ที่ 10
ยังยอดเยี่ยมเหมือนเคยคับ :D
สิ่งทั้งหลาย ขึ้นอยู่กับใจ มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จเพราะใจ - พุทธภาษิต
งาน อาชีพเสริมทำเงินล้าน สร้างรายได้ ธุรกิจส่วนตัว รวย!
งาน อาชีพเสริมทำเงินล้าน สร้างรายได้ ธุรกิจส่วนตัว รวย!
- dome@perth
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4740
- ผู้ติดตาม: 0
คิดอย่างวอร์เรน บัฟเฟต:ValueWay วิบูลย์ พึงประเสริฐ
โพสต์ที่ 11
There is nothing, really nothing new....nothing new!!!!!
"ไม่มีสุตรสำเร็จ ไม่มีทางลัด ไม่ใช่แค่โชค
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง"
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง"