จดหมายถึงนายกฯ ฟื้นฟูเศรษฐกิจชาติด้วยวิธีเพิ่มมูลค่าอสังหาริ
-
- Verified User
- โพสต์: 96
- ผู้ติดตาม: 0
จดหมายถึงนายกฯ ฟื้นฟูเศรษฐกิจชาติด้วยวิธีเพิ่มมูลค่าอสังหาริ
โพสต์ที่ 1
จดหมายถึงนายกฯ ฟื้นฟูเศรษฐกิจชาติด้วยวิธีเพิ่มมูลค่าอสังหาริมทรัพย์
10 ถ.นนทรี ยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120
Email: [email protected]
12 พฤษภาคม 2552
เรื่อง ฟื้นฟูเศรษฐกิจชาติด้วยวิธีการเพิ่มมูลค่าอสังหาริมทรัพย์
กราบเรียน นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี
เนื่องด้วยรัฐบาลมีนโยบายฟื้นฟูเศรษฐกิจชาติที่กำลังตกต่ำในปัจจุบัน กระผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง และจึงทำหนังสือนี้มาเสนอแนวคิดการฟื้นฟูเศรษฐกิจชาติด้วยวิธีการเพิ่มมูลค่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อโปรดพิจารณา ดังรายละเอียดต่อไปนี้:
1. การจัดเก็บภาษีทรัพย์สิน {1}
ตามที่รัฐบาลมีแนวคิดจัดเก็บภาษีทรัพย์สิน กระผมเห็นว่าเป็นแนวคิดที่ดี เป็นสากล และแทบไม่ส่งผลกระทบต่อเจ้าของที่อยู่อาศัย เพราะภาษีทรัพย์สินมีอัตราการจัดเก็บต่ำมาก โดยในประเทศตะวันตกจัดเก็บในอัตราปีละ 1-2% ของมูลค่าตลาดของทรัพย์สิน แต่ในกรณีประเทศไทยอาจเริ่มต้นจัดเก็บในอัตราเพียง 0.5% และหากที่อยู่อาศัยหน่วยหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานครมีราคาเฉลี่ยประมาณ 2 ล้านบาท ก็จะจัดเก็บเพียง 833 บาทต่อเดือน ซึ่งเป็นจำนวนเงินใกล้เคียงกับค่าจัดเก็บขยะหรือดูแลชุมชนเท่านั้น {2}
จะสังเกตได้ว่า ในเขตเมืองมีแปลงที่ดินเปล่าที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ เป็นจำนวนมาก ที่ดินเหล่านี้ควรนำมาเสียภาษีทรัพย์สิน ทั้งนี้เป็นไปตามหลักการที่ชัดเจนเช่นเดียวกับกรณีของห้องชุดซึ่งแม้เจ้าของไม่ได้เข้าอยู่อาศัย กฎหมายก็บังคับให้เจ้าของต้องเสียค่าใช้จ่ายส่วนกลาง หากไม่เสีย ก็ไม่สามารถจำหน่ายจ่ายโอนได้ ดังนั้นที่ดินเปล่าที่ไม่ใช้ประโยชน์ใด ๆ แต่กลับมีมูลค่าเพิ่มจากการพัฒนาสาธารณูปโภคของรัฐ จึงสมควรเสียภาษีเป็นอย่างยิ่ง
มาตรการภาษีทรัพย์สิน จะกระตุ้นให้เจ้าของทำการพัฒนาที่ดิน เพื่อให้เมืองไม่มีช่องว่างมากเกินไป การใช้สาธารณูปโภคในเมืองจะมีประสิทธิภาพสูงขึ้น หรือในอีกทางหนึ่งหากการพัฒนาในเมืองเข้มข้น สาธารณูปโภคราคาแพง ก็ไม่จำเป็นต้องขยายตัวออกไปอย่างไม่สิ้นสุด เป็นการช่วยประหยัดต้นทุนทางสังคมอีกด้วย นอกจากนี้ยังอาจกล่าวได้ว่าภาษีทรัพย์สินให้ประโยชน์ต่อทุกฝ่าย เพราะภาษีที่เสียก็เพื่อนำมาพัฒนาท้องถิ่น และยิ่งท้องถิ่นพัฒนา ก็ย่อมทำให้ที่ดินของเจ้าของทั้งหลายยิ่งมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอีก
กระผมเคยศึกษาพบว่า ที่อยู่อาศัยทุกประเภทและที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมในประเทศไทย มีมูลค่ารวมกันประมาณ 47.533 ล้านล้านบาท ณ พ.ศ.2550 {3} หากเก็บภาษีทรัพย์สิน ณ อัตรา 0.5% ก็จะเป็นเงินถึง 237,668 ล้านบาทต่อปี ทั้งนี้ยังไม่รวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอุตสาหกรรมและเพื่อการพาณิชย์ หากนำมารวมด้วย ก็คาดว่าจะสามารถจัดเก็บภาษีทรัพย์สินได้ถึงราว 300,000 ล้านบาท
ยิ่งกว่านั้นภาษีทรัพย์สินนี้เก็บและใช้สอยเฉพาะในท้องถิ่น ท้องถิ่นย่อมมีความรู้สึกเป็นเจ้าของ โอกาสที่จะเกิดการทุจริตย่อมมีน้อยลง ประชาชนในท้องถิ่นจะหวงแหนทรัพยากรของตนเองมากขึ้น ผู้มีความรู้ความสามารถจะหันมาทำงานการเมืองเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของท้องถิ่น และการที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการเสียภาษีทรัพย์สินเช่นนี้จึงเป็นรากฐานการพัฒนาประชาธิปไตยให้มั่นคงอย่างแท้จริง
2. การสร้างมูลค่าเพิ่มของระบบถนน
ถนนนำความเจริญไปสู่ท้องถิ่นต่าง ๆ ทุกวันนี้ ประเทศต้องเสียเงินค่าก่อสร้างถนนและสาธารณูปโภคต่าง ๆ นับแสนล้านบาทต่อปี ทั้ง ๆ ที่ความจริงสามารถสร้างได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เป็นที่พอใจของทุกฝ่าย และยังอาจได้กำไรไว้พัฒนาประเทศอีกต่างหาก
แผนภูมิแนวคิดการซื้อที่ดินริมถนนตัดใหม่เพื่อเพิ่มมูลค่า
โดยปกติเมื่อมีถนนใหม่เกิดขึ้น ที่ดินริมถนนที่แต่เดิมเป็นที่ว่างเปล่า รกร้าง ที่ตาบอด ที่ในซอยแคบ ที่ปลายหรือสุดซอย จะมีมูลค่าสูงขึ้นมาก จากการศึกษาของกระผมเรื่องการจัดรูปที่ดินบริเวณถนนประชาอุทิศ ห้วยขวาง เมื่อปี 2533 พบว่า การตัดถนนใหม่เข้าไปในที่ดินย่านนั้น ทำให้ราคาที่ดินเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากตารางวาละ 14,000 บาท เป็น 38,000 บาท หรือประมาณ 2.71 เท่า {4} และการศึกษาของกระผมอีกครั้งหนึ่งเพื่อการจัดรูปที่ดินบึงบัวมน รามอินทรา กม.8 พ.ศ.2534 ก็พบว่า ราคาที่ดินเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากตารางวาละ 8,675 เป็น 20,228 บาท หรือประมาณ 2.33 เท่า {5} โดยสรุปแล้วจึงอนุมานว่า ภายหลังการตัดถนน ราคาที่ดินจะเพิ่มขึ้นถึง 2.5 เท่า
จากแผนภูมิที่แสดงไว้ข้างต้น ต้นทุนถนนเส้นหนึ่งเท่ากับค่าก่อสร้างถนนกับค่าค่าเวนคืน โดยหากสมมติให้ค่าก่อสร้างถนนเท่ากับ 1 ต้นทุนค่าเวนคืนที่ดินมาสร้างถนนจะประมาณ 3, 2 หรือ 1 เท่าของค่าก่อสร้างถนนในเขตในเมือง เขตต่อเมือง และเขตชานเมืองตามลำดับ
ดังนั้น ในกรณีตัดถนนในเขตเมืองที่ต้องลงทุน 4,000 ล้าน (เป็นค่าก่อสร้าง 1,000 ล้าน และค่าเวนคืน 3,000 ล้านบาท ตามสัดส่วน 1:3) หากทางราชการเวนคืนที่ดินสองฝั่งถนนเพิ่มอีกสองเท่าของตัวถนน เช่น ถนนกว้าง 40 เมตร ก็เวนคืนอีกข้างละ 40 เมตรแล้ว ต้นทุนก็จะเพิ่มขึ้นเป็น 10,000 ล้านบาท (ค่าสร้างถนน 1,000 ล้านบาท, ค่าเวนคืนที่ดินที่เป็นถนน 3,000 ล้านบาท และค่าเวนคืนที่ดินเพิ่มอีก 2 ฝั่งถนนขนาดเท่าตัวถนน อีก 6,000 ล้านบาท) และเมื่อก่อสร้างถนนแล้วเสร็จ ต้นทุนที่ดินสองฝั่งถนน 6,000 ล้านบาทนี้ก็จะกลายเป็น 15,000 ล้าน (หรือเพิ่มขึ้น 2.5 เท่าตามที่ประมาณการไว้ข้างต้น) ซึ่งสูงกว่าต้นทุนทั้งโครงการ (10,000 ล้านบาท) ถึง 5,000 ล้าน ซึ่งเท่ากับสามารถสร้างถนนได้โดยไม่เสียงบประมาณแผ่นดิน อีกทั้งยังได้ กำไร ไว้บำรุงชาติอีกต่างหาก
โดยหลักการนี้ ต่อไปรัฐบาลก็ไม่ต้องจำกัดงบประมาณในการจ่ายค่าเวนคืนที่ดินในราคาต่ำ ๆ และก็ยังสามารถสร้างถนนได้ทั่วไป ถือเป็นโครงการประเภทที่เป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย (win-win) คือ
1. ราชการก็ไม่เสียงบประมาณแผ่นดิน สามารถนำงบประมาณไปช่วยประชาชนที่ขาดแคลนทางอื่นดีกว่า
2. เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนก็ยินดี เพราะได้รับการเวนคืนในราคาที่เป็นธรรม
3. ประชาชนทั่วไปก็มีถนนหนทางไว้สัญจรเพิ่มมากขึ้น
4. สังคมโดยรวมก็มีความสุข เพราะสองข้างทางแทนที่จะต้องแบ่งขายกลายเป็นตึกแถวมากมายจนเสียทัศนียภาพ รัฐบาลอาจเอาพื้นที่บางส่วนมาทำเป็นสวนสาธารณะ เมืองก็จะมีการวางแผนและผังที่ดี
โดยสรุปแล้ว หัวใจสำคัญของความเป็นไปได้นี้ก็คือ ถนนเป็นตัวสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ที่ดินได้อย่างมหาศาล ในประเทศไทยยังมีถนนไม่เพียงพอ เมื่อใดที่มีการสร้างถนน ราคาที่ดินสองข้างทาง ก็จะเพิ่มขึ้นไม่ว่าจะเป็นในกรณีที่ดินใจกลางเมือง ที่ดินเขตต่อเมือง ที่ดินชานเมือง หรือแม้แต่ที่ดินชนบทก็ตาม {6}
อย่างไรก็ตาม ยังมีอุปสรรคก็ตรงที่ว่า กฎหมายเวนคืนปัจจุบันไม่อนุญาตให้เวนคืนมาเพื่อการพาณิชย์ รัฐบาลเองก็ไม่มีหน่วยงานที่ดูแลการลงทุนหรือพัฒนาที่ดิน แต่กระผมเชื่อว่า รัฐบาลคงสามารถขจัดอุปสรรคเหล่านี้ให้หมดไปได้ เพื่อว่าประเทศไทยจะสามารถพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้ทรัพยากรให้น้อยและคุ้มค่าที่สุด และกรณีตัวอย่างประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซียก็สามารถเวนคืนที่ดินเพื่อการพาณิชย์ตราบเท่าที่จะเป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติโดยรวม
3. การนำที่ดินของรัฐใจกลางเมืองมาพัฒนาเชิงพาณิชย์
ที่ดินของรัฐใจกลางเมืองสามารถนำมาพัฒนาเชิงพาณิชย์เพื่อหารายได้ได้อย่างยั่งยืน {7} เช่น นำมาใช้ก่อสร้างเป็นศูนย์ธุรกิจใจกลางเมือง (Central Business District: CBD) แห่งใหม่ โดยให้มีอาคารสำนักงานขนาดใหญ่รวมกันในที่เดียว ทำให้เกิดพลังเกื้อหนุนกัน คล้ายบริเวณสีลม-สุรวงศ์-สาทร ซึ่งทำให้การดำเนินธุรกิจมีประสิทธิภาพ ไม่เสียเวลาเดินทาง ราคาค่าเช่าก็จะไม่ตกต่ำเช่นอาคารที่ตั้งอยู่โดด ๆ ตัวอย่างความสำเร็จใปประเทศอื่นก็ได้แก่การพัฒนาย่านมากาตี กลางกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์
ตัวอย่างที่ดินตามภาพต่อไปนี้น่าจะนำมาใช้เป็น CBD ใหม่ได้ ที่ดินแปลงนี้มีขนาดประมาณ 900 ไร่ เป็นที่ตั้งของราชการทหาร มีอาณาบริเวณตั้งแต่สนามเป้าถึงสโมสรกองทัพบก โดยด้านตะวันออกติดถนนวิภาวดีซึ่งมีดอนเมืองโทลเวย์และทางด่วนขั้นที่หนึ่ง ส่วนด้านตะวันตกก็ติดกับถนนพหลโยธินซึ่งมีรถไฟฟ้าบีทีเอสและทางด่วนขั้นที่ 2 ที่สามารถต่อเชื่อมเข้าแปลงที่ดินได้ ภายในที่ดินแปลงนี้ยังสามารถเพิ่มสาธารณูปโภค เช่น รถรางไฟฟ้าขนาดเล็กระหว่างอาคาร ทางด่วน และระบบโทรคมนาคมที่ทันสมัย ฯลฯ ซึ่งเป็นคุณสมบัติสำคัญของการเป็น CBD ทั้งนี้สิงคโปร์ก็เคยทำรถไฟฟ้าขนาดเล็กเชื่อมต่อพื้นที่จนสำเร็จแล้ว
อย่างไรก็ตามสิ่งหนึ่งที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษก็คือการจ่ายค่าชดเชยในการย้ายหน่วยราชการ ออกไป รวมทั้งความสูญเสียประโยชน์ในการอยู่ใจกลางเมืองของครอบครัวข้าราชการ ซึ่งคงต้องใช้เงินพอสมควรเพื่อให้สมเกียรติ แต่ก็คงไม่มากนักหากเทียบกับประโยชน์ที่ประเทศชาติจะได้รับ
การพัฒนาเมืองในเชิงรุกนี้ อาจถือเป็นการเกี่ยวร้อยการพัฒนาเศรษฐกิจ การพัฒนาเมือง การวางผังเมือง และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเชิงสร้างสรรค์ต่อประเทศชาติไปพร้อม ๆ กัน อันถือเป็นยุทธศาสตร์ใหม่ในการพัฒนาประเทศในอนาคต
ตัวอย่างที่ดินของรัฐที่สามารถนำมาพัฒนาเชิงพาณิชย์ใจกลางเมือง: กรณีที่ดินสนามเป้า
ที่ดินขนาด 900 ไร่ดังกล่าวนี้ หากนำที่ดิน 40% ไปพัฒนาเป็นสาธารณูปโภค ยังเหลือที่ดินเพื่อการพัฒนาเชิงพาณิชย์ถึง 540 ไร่ และสามารถตั้งอาคารสำนักงานขนาดใหญ่ เช่น ธนาคารกรุงเทพ สำนักงานใหญ่ที่สีลมซึ่งมีขนาดประมาณ 8 ไร่ ได้ถึงประมาณ 68 อาคาร สำหรับความเป็นไปได้ทางการเงินเบื้องต้นโดยสังเขปของการพัฒนาที่ดินแสดงไว้ในตารางท้ายนี้ ซึ่งชี้ให้เห็นว่า ที่ดินแปลงดังกล่าวมีมูลค่าประมาณ 73,122.9 ล้านบาท หรือเป็นเงินตารางวาละประมาณ 203,119 บาท ที่สำคัญก่อให้เกิดการพัฒนาที่มีมูลค่ารวมถึง 311,821 ล้านบาท อันช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศได้มากทีเดียว
ตารางประมาณการมูลค่าที่ดินของทางราชการใจกลางเมือง: กรณีที่ดินสนามเป้า
นอกจากที่ดินแปลงดังกล่าวข้างต้น ในเขตกรุงเทพมหานครยังมีที่ดินของทางราชการอีกเป็นจำนวนมากที่สามารถนำมาพัฒนาเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติโดยรวมได้ กระผมเคยนำเสนอไว้ในการเสนอที่ตั้งรัฐสภาแห่งใหม่ไว้นับสิบแห่ง {8} เช่น
1. ที่ดินกรมทหาร เขตดุสิต ซึ่งมีพื้นที่กว้างขวางหลายพันไร่
2. พื้นที่กรมทหาร ถ.โยธี พญาไท ซึ่งมีขนาดใหญ่และมีทั้งทางด่วนและรถไฟฟ้าผ่านเช่นกัน
3-4 สนามม้าทั้งสองแห่งในกรุงเทพมหานคร
5. โรงซ่อมรถไฟ บึงมักกะสัน ซึ่งมีทั้งทางด่วนและรถไฟฟ้าผ่านเช่นกัน
6. โรงงานยาสูบเดิม ถ.พระรามที่ 4 ซึ่งมีรถไฟฟ้าและทางด่วนผ่านบริเวณใกล้เคียง
7. ที่ดินคลังน้ำมัน ถ.พระราม 3 ติดแม่น้ำเจ้าพระยา
8. ที่ดินการรถไฟฯ ถ.เชื้อเพลิง ติดแม่น้ำเจ้าพระยา
9. ท่าเรือคลองเตยที่อาจจะย้ายไปแหลมฉะบัง
10. ที่ตั้งขององค์การแบตเตอรี่ผนวกกับองค์การแก้วเดิม
นอกจากนี้ยังมีที่ดินรถไฟชุมทางบางซื่อ ที่ดินที่ให้สถานทูตต่างประเทศเช่า ที่ดินของหน่วยราชการอื่น ฯลฯ ที่ดินเหล่านี้หากสามารถนำมาพัฒนาได้จริง ย่อมทำให้เกิดมูลค่าการพัฒนาไม่ต่ำกว่า 4 ล้านล้านบาท หรือมากกว่างบประมาณแผ่นดินไทยถึง 2 เท่าตัว ที่ผ่านมาประเทศเพื่อนบ้านก็ได้ทำการย้ายส่วนราชการออกนอกเมืองเป็นจำนวนมากทั้งในกรุงมะนิลาและนครโฮชิมินห์ซิตี้ เป็นต้น
4. การอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารความหนาแน่นสูง
ที่ผ่านมาทางราชการมักมีแนวคิดแบบที่ปฏิบัติตาม ๆ กันมา (Conventional Belief) ว่า ไม่ควรทำกรุงเทพมหานครหนาแน่น น่าจะเก็บรักษาที่ดินไว้เพื่อชนรุ่นหลัง กระผมว่าแนวคิดนี้ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง และกลับจะเป็นภัยต่อลูกหลานในอนาคตที่ต้องซื้อบ้านในย่านชานเมืองไกล ๆ กระผมจึงเห็นว่ารัฐบาลควรวางแผนให้กรุงเทพมหานครมีความหนาแน่นขึ้น ทำให้ที่ดินในเมืองได้รับการใช้สอยอย่างเข้มข้น ทรัพยากรต่าง ๆ ไม่ต้องขยายตัวออกสู่ชานเมืองอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เป็นการประหยัดภาษีของประชาชน
ในปัจจุบัน ผังเมืองกำหนดให้อัตราส่วนพื้นที่อาคารต่อพื้นที่ดิน (Floor Area Ratio: FAR) ต่ำมาก แต่เดิมกำหนดให้ทั่วกรุงเทพมหานครมีสัดส่วน 10:1 แต่ตามผังเมืองปัจจุบัน มีพื้นที่จำกัดที่ให้มีการพัฒนาในสัดส่วนดังกล่าว กระผมจึงขอเสนอให้แก้ไขผังเมืองให้สามารถพัฒนาที่ดินตาม FAR เป็น 10:1 หรือ 15:1 และให้ส่วนที่สามารถพัฒนาได้เพิ่มจากปัจจุบัน ต้องเสียภาษีเพิ่มเติม เพื่อรัฐบาลจะสามารถนำรายได้จากส่วนนี้มาใช้เพื่อการพัฒนาประเทศ
การนี้จะสามารถทำให้เกิดพื้นที่ก่อสร้างในเขตกรุงเทพมหานครเพิ่มขึ้น สมมติเป็น 1 ล้านตารางเมตรต่อปี และหากมูลค่าของพื้นที่เป็นเงินประมาณ 50,000 บาทต่อตารางเมตร ก็จะทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มขึ้นถึง 50,000 ล้านบาท
และหากมาตรการนี้เป็นจริง อาคารใจกลางเมืองที่มีการพัฒนาบนพื้นที่ที่มีความหนาแน่นน้อย ก็จะขออนุญาตพัฒนาใหม่ อันจะเป็นกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่ง ที่ดินใจกลางเมืองก็จะได้รับการใช้สอยอย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ภาษีที่ได้ก็จะสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศในทางอื่นนั่นเอง
5. การก่อสร้างรถไฟฟ้าใจกลางเมือง
ในขณะนี้รัฐบาลพยายามก่อสร้างรถไฟฟ้าออกไปชานเมืองจำนวนหลายสาย ซึ่งบางสายก็อาจมีความจำเป็น แต่บางสายก็อาจเป็นการสร้างความเข้าใจผิดแก่ประชาชน เช่น ประชาชนผู้มีรายได้ปานกลางอาจคิดว่าจะสามารถซื้อห้องชุดในโครงการอาคารชุดนอกเมืองได้ แต่หากรถไฟฟ้าชานเมืองแล้วเสร็จ ค่าโดยสารอาจเป็นประเด็นปัญหาสำคัญ เพราะผู้โดยสารต้องเสียค่ารถไฟฟ้าอีกเท่าตัว ทำให้ค่าใช้จ่ายในการเดินทางด้วยรถไฟฟ้าต่อวันอาจตกเป็นเงินถึง 150-200 บาท และเมื่อนั้นประชาชนก็จะตระหนักว่ารถไฟฟ้าชานเมืองบางสายไม่อาจประหยัดค่าเดินทางได้ ต่างจากทางด่วน ซึ่งยังมีรถประจำทางหรือรถตู้ขึ้นทางด่วนในราคาที่ถูกกว่า
กระผมจึงใคร่ขอเสนอให้เพิ่มความสำคัญของการก่อสร้างระบบรถไฟฟ้าใจกลางเมือง เช่น ที่ครั้งหนึ่งรัฐบาลจะสร้างรถไฟฟ้าจากบางซื่อผ่านถนนสามเสนเข้าเมืองจนถึงหัวลำโพง และควรดำเนินการในพื้นที่ใจกลางเมืองบริเวณอื่น ๆ ทั้งเขตพระนคร สัมพันธวงศ์ ยานนาวา ลาดพร้าว ฯลฯ การสร้างรถไฟฟ้ายังอาจใช้การก่อสร้างระบบรางเบา อย่างไรก็ตามระบบรถด่วนประจำทาง (Bus Rapit Transit: BRT) ไม่ควรสร้างเพราะทำให้เสียช่องทางจราจรไป 1 ช่องทาง และจากประสบการณ์ที่กระผมเคยไปเป็นที่ปรึกษากระทรวงการคลัง อินโดนีเซีย พบว่า ระบบนี้ซึ่งกรุงจาการ์ตาใช้มาก่อนไทยนั้น ไม่มีประสิทธิผลเพียงพอและกลายเป็นปัญหาในระยะยาว {9}
ในการก่อสร้างรถไฟฟ้าใจกลางเมืองนั้น อาจมีข้อสงสัยว่า จะเป็นการจัดสรรงบประมาณให้เฉพาะผู้อยู่อาศัยในกรุงเทพมหานครหรือไม่ กระผมเห็นว่าข้อนี้ไม่ใช่การมุ่งประโยชน์เฉพาะกลุ่ม เพราะการลงทุนนี้จะสามารถคืนทุนโดยไม่เสียภาษีอากรของประชาชน และที่สำคัญยังจะสามารถช่วยให้นครหลวงแห่งนี้สามารถทำการหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อประโยชน์ต่อประเทศชาติโดยยิ่งขึ้น และหากมีระบบรถไฟฟ้าที่ดียิ่งขึ้น อาคารต่าง ๆ ใจกลางเมืองก็ไม่จำเป็นต้องมีที่จอดรถมากมายเช่นในปัจจุบัน สามารถนำพื้นที่ไปใช้เพื่อการพัฒนาที่เป็นประโยชน์ได้มากขึ้น เพราะการใช้รถส่วนตัวจะลดลง ทำให้ความต้องการใช้ที่จอดรถจะลดลงตามไปด้วย
ตัวอย่างอาคารโรงแรมแม็กซ์ พระราม 9 ซึ่งมีพื้นที่จอดรถจำนวนมากเทียบกับอาคารในนครนิวยอร์กที่มีสัดส่วนที่จอดรถน้อยกว่า
6. การจัดตั้งองค์การบริหารการพัฒนาที่ดินแห่งชาติ
อาจกล่าวได้ว่าการใช้ที่ดินในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ตลอดจนเมืองใหญ่ทั่วประเทศยังขาดประสิทธิภาพเท่าที่ควร ในสมัยที่กระผมทำการศึกษาการใช้ที่ดินเมืองตามงบประมาณของธนาคารโลก ได้แปรภาพถ่ายทางอากาศพบว่า ในอดีตที่ผ่านมา ที่อยู่อาศัยหลักในเขตกรุงเทพมหานครก็คือ ที่ดินจัดสรร {10} ซึ่งในภายหลังถูกปล่อยทิ้งร้างไว้มากมาย เพราะไม่มีผู้เข้าอยู่อาศัยเพียงพอ ทำให้เกิดความสูญเปล่าทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ยังมีบ้านหรือโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่ทิ้งร้างไว้อีกจำนวนมาก หากนำมาพัฒนาจะทำให้เกิดการเพิ่มมูลค่าขึ้นมหาศาล {11}
ในขณะเดียวกันการพัฒนาที่ดินของภาคเอกชนก็ขึ้นอยู่กับความสามารถในการรวบรวมที่ดิน ซึ่งมักใช้เวลานาน เจ้าของที่ดินบางส่วนก็ไม่ยินยอมขาย ทำให้ที่ดินในเขตเมืองไม่ได้รับการพัฒนา และเป็นการกีดขวางการพัฒนาเมือง เมืองก็จำต้องขยายตัวในแนบราบอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ทำให้เมืองยิ่งขาดระเบียบยิ่งขึ้นต่อไป
โดยปกติ การจะซื้อ-ขายอสังหาริมทรัพย์ ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของผู้ซื้อและผู้ขาย แต่ในกรณีเพื่อการพัฒนาเมืองและการวางผังเมืองในเชิงรุก แนวคิดใหม่ที่ควรพิจารณาก็คือทางราชการโดยองค์การพิเศษหนึ่งสามารถบังคับจัดซื้อบนพื้นฐานราคาตลาดหรืออาจกำหนดให้ซื้อได้สูงกว่าราคาตลาด 30% เพื่อจูงใจให้ผู้ขายยินดีขาย เพื่อนำที่ดินมาพัฒนาให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมได้อย่างทันการ
ภาพถ่ายทางอากาศแสดงโครงการที่ดินจัดสรรที่มักมีผู้เข้าอยู่อาศัยน้อยมาก
แม้จะจัดสรรมาประมาณ 40 ปีแล้ว (ตัวอย่างบริเวณถนนติวานนท์)
ภาพกรณีการรวบรวมที่ดินซึ่งไม่มีประสิทธิภาพ (บางแปลงไม่ยินยอมขาย)
ซึ่งส่งผลเสียต่อทุกฝ่ายทั้งผู้ประกอบการ เจ้าของที่ดินและสังคมโดยรวม
องค์การบริหารการพัฒนาที่ดินแห่งชาติ ควรเป็นหน่วยลงทุนที่เป็นองค์การมหาชนมีหน้าที่รวบรวมจัดการพัฒนาที่ดินในเขตเมือง หรือ ในเขตชานเมืองเพื่อการพัฒนาเมือง และควรมีหน้าที่สำคัญคือ การจัดหาที่ดินเพื่อการพัฒนาเมือง โดยการซื้อที่ดินภาคเอกชนมาดำเนินการ หรือนำที่ดินของทางราชการมาจัดประโยชน์ ทั้งนี้สามารถดำเนินการประสานกับทางกรมโยธาธิการและผังเมือง เพื่อให้การพัฒนาที่ดินเป็นไปตามผังเมืองรวมหรือผังเมืองเฉพาะ
การสร้างอุปทานที่ดินเพื่อการพัฒนาเมือง หมายรวมถึงการจัดหาที่ดินเพื่อให้โครงการหมู่บ้านจัดสรร ที่อยู่อาศัย อาคารสำนักงาน ศูนย์การค้า นิคมอุตสาหกรรม ฯลฯ เช่น การจัดหาที่ดินพร้อมสาธารณูปโภคในย่านชานเมือง ประมาณ 5,000 ไร่ เพื่อจัดสรรให้โครงการที่อยู่อาศัยหลายประเภทไปซื้อเพื่อพัฒนาโครงการขายแก่ผู้ซื้อบ้านต่อไป
การจัดหาที่ดินขององค์การนี้ไม่ได้จัดขึ้นเพื่อมุ่งขายให้กับผู้ซื้อรายย่อย จึงไม่เป็นการแข่งขันกับภาคเอกชน การที่เจ้าของโครงการภาคเอกชนสามารถจัดหาที่ดินได้ในเวลาอันรวดเร็วจากการซื้อที่ดินจากองค์การนี้ ย่อมดีกว่าที่จะไปทยอยรวมซื้อแปลงที่ดินเอง ทำให้ต้นทุนและเวลาลดลง อันจะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคด้วย
กระผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า แนวคิดข้างต้นจะเป็นประโยชน์ต่อรัฐบาลในการบริหารราชการแผ่นดิน และหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารัฐบาลจะให้ความกรุณาพิจารณาเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมต่อไป
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา
ขอแสดงความนับถือ
(นายโสภณ พรโชคชัย)*
* วิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต ที่ดินที่อยู่อาศัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย มีอาชีพเป็นผู้ประเมินค่าทรัพย์สินและนักวิจัยด้านอสังหาริมทรัพย์ แต่ไม่ทำงานด้านการเป็นนายหน้าหรือพัฒนาที่ดินเอง เพื่อความเป็นกลางโดยเคร่งครัด ปัจจุบันนี้เป็นประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าทรัพย์สิน AREA ประธานกรรมการ มูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย ผู้แทน FIABCI ใน UN-ESCAP ผู้แทนสมาคมประเมินค่าทรัพย์สินนานาชาติ IAAO ประจำประเทศไทย และที่ปรึกษา the Appraisal Foundation ซึ่งเป็นองค์กรควบคุมวิชาชีพประเมินค่าทรัพย์สินที่จัดตั้งโดยสภาคองเกรสแห่งสหรัฐอเมริกา
อ้างอิง:
{1} โปรดดูรายละเอียดเพิ่มเติมจากบทความเรื่อง ภาษีทรัพย์สิน เพื่อประโยชน์ของทุกคน วารสาร ThaiAppraisal ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม กุมภาพันธ์ 2552 หน้า 18-19 http://www.thaiappraisal.org/Thai/Market/Market228.htm
{2} เช่นบ้านหลังหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร มีราคาเฉลี่ยประมาณ 2 ล้านบาท หากรัฐบาลตั้งใจจะจัดเก็บเพียง 0.5% ดังที่แถลง ก็จะเป็นเงินเพียงปีละ 1,000 บาท หรือเดือนละ 833 บาท
{3} โปรดอ่านผลการศึกษาเรื่อง การเปลี่ยนแปลงมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ประเทศไทยและภัยความมั่นคงต่อมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ http://www.thaiappraisal.org/pdfNew/Res ... 5-land.pdf
{4} Pornchokchai, Sopon (1992). Bangkok Slums: Review and Recommendations. Bangkok: Agency for Real Estate Affairs (p.179).
{5} Pornchokchai, Sopon (1995). Innovative Land Readjustment in Thailand Where Public and Private Benefits Meet. Paper presented at the International Congress on Real Estate, April 24-26, 1995 organized by National University of Singapore and American Real Estate and Urban Economics Association.
{6} โปรดดูบทความเรื่อง เชื่อหรือไม่ สร้างถนนได้โดยรัฐไม่เสียเงินสักบาท ในผู้จัดการรายวัน ปีที่ 14 ฉบับที่ 4229 (4227) 1 กรกฎาคม 2547 หน้า 32 หรือที่ http://www.thaiappraisal.org/Thai/Market/Market46.htm
{7} โปรดอ่าน วางผัง-สร้างเมืองเชิงรุก: สร้าง CBD ใน CBD ดร.โสภณ พรโชคชัย. หนังสือ อสังหาริมทรัพย์เรื่องสำคัญของชีวิต หน้า 107-112
{8} โปรดอ่าน โสภณ พรโชคชัย. 12 พื้นที่สร้างรัฐสภาใจกลางกรุง นิตสารตลาดบ้าน ฉบับที่ 253 / สิงหาคม 2551 หน้า 150 และ ฐานเศรษฐกิจ 17-19 เมษายน 2551 หน้า 37 หรือที่ http://www.thaiappraisal.org/Thai/Market/Market179.htm
{9} โปรดอ่านเกี่ยวกับโครงการ BRT ของกรุงจาการ์ตา ซึ่งเรียกว่า TransJakarta ได้ที่ http://en.wikipedia.org/wiki/TransJakarta
{10} โปรดดูได้ที่ Sopon Pornchokchai and Shlomo Angel. Working Paper No.5: The Informal Land Subdivision Market in Bangkok: A Preliminary Investigation. Bangkok: Bangkok Land Management Study (An ADB Project), Mar. 1987, 23 pp.
{11} โปรดดูรายละเอียดที่ โสภณ พรโชคชัย. องค์การบริหาร-พัฒนาที่ดินแห่งชาติ. หนังสือพิมพ์บิสิเนสไทย ปีที่ 5 ฉบับที่ 245 วันที่ 22-28 พฤษภาคม 2549 หน้า 23 หรือที่ http://www.thaiappraisal.org/Thai/Market/Market109.htm
หรือดูรายละเอียดทั้งหมดได้ที่นี่:
http://www.thaiappraisal.org/Thai/letter/letter16.htm
10 ถ.นนทรี ยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120
Email: [email protected]
12 พฤษภาคม 2552
เรื่อง ฟื้นฟูเศรษฐกิจชาติด้วยวิธีการเพิ่มมูลค่าอสังหาริมทรัพย์
กราบเรียน นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี
เนื่องด้วยรัฐบาลมีนโยบายฟื้นฟูเศรษฐกิจชาติที่กำลังตกต่ำในปัจจุบัน กระผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง และจึงทำหนังสือนี้มาเสนอแนวคิดการฟื้นฟูเศรษฐกิจชาติด้วยวิธีการเพิ่มมูลค่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อโปรดพิจารณา ดังรายละเอียดต่อไปนี้:
1. การจัดเก็บภาษีทรัพย์สิน {1}
ตามที่รัฐบาลมีแนวคิดจัดเก็บภาษีทรัพย์สิน กระผมเห็นว่าเป็นแนวคิดที่ดี เป็นสากล และแทบไม่ส่งผลกระทบต่อเจ้าของที่อยู่อาศัย เพราะภาษีทรัพย์สินมีอัตราการจัดเก็บต่ำมาก โดยในประเทศตะวันตกจัดเก็บในอัตราปีละ 1-2% ของมูลค่าตลาดของทรัพย์สิน แต่ในกรณีประเทศไทยอาจเริ่มต้นจัดเก็บในอัตราเพียง 0.5% และหากที่อยู่อาศัยหน่วยหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานครมีราคาเฉลี่ยประมาณ 2 ล้านบาท ก็จะจัดเก็บเพียง 833 บาทต่อเดือน ซึ่งเป็นจำนวนเงินใกล้เคียงกับค่าจัดเก็บขยะหรือดูแลชุมชนเท่านั้น {2}
จะสังเกตได้ว่า ในเขตเมืองมีแปลงที่ดินเปล่าที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ เป็นจำนวนมาก ที่ดินเหล่านี้ควรนำมาเสียภาษีทรัพย์สิน ทั้งนี้เป็นไปตามหลักการที่ชัดเจนเช่นเดียวกับกรณีของห้องชุดซึ่งแม้เจ้าของไม่ได้เข้าอยู่อาศัย กฎหมายก็บังคับให้เจ้าของต้องเสียค่าใช้จ่ายส่วนกลาง หากไม่เสีย ก็ไม่สามารถจำหน่ายจ่ายโอนได้ ดังนั้นที่ดินเปล่าที่ไม่ใช้ประโยชน์ใด ๆ แต่กลับมีมูลค่าเพิ่มจากการพัฒนาสาธารณูปโภคของรัฐ จึงสมควรเสียภาษีเป็นอย่างยิ่ง
มาตรการภาษีทรัพย์สิน จะกระตุ้นให้เจ้าของทำการพัฒนาที่ดิน เพื่อให้เมืองไม่มีช่องว่างมากเกินไป การใช้สาธารณูปโภคในเมืองจะมีประสิทธิภาพสูงขึ้น หรือในอีกทางหนึ่งหากการพัฒนาในเมืองเข้มข้น สาธารณูปโภคราคาแพง ก็ไม่จำเป็นต้องขยายตัวออกไปอย่างไม่สิ้นสุด เป็นการช่วยประหยัดต้นทุนทางสังคมอีกด้วย นอกจากนี้ยังอาจกล่าวได้ว่าภาษีทรัพย์สินให้ประโยชน์ต่อทุกฝ่าย เพราะภาษีที่เสียก็เพื่อนำมาพัฒนาท้องถิ่น และยิ่งท้องถิ่นพัฒนา ก็ย่อมทำให้ที่ดินของเจ้าของทั้งหลายยิ่งมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอีก
กระผมเคยศึกษาพบว่า ที่อยู่อาศัยทุกประเภทและที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมในประเทศไทย มีมูลค่ารวมกันประมาณ 47.533 ล้านล้านบาท ณ พ.ศ.2550 {3} หากเก็บภาษีทรัพย์สิน ณ อัตรา 0.5% ก็จะเป็นเงินถึง 237,668 ล้านบาทต่อปี ทั้งนี้ยังไม่รวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอุตสาหกรรมและเพื่อการพาณิชย์ หากนำมารวมด้วย ก็คาดว่าจะสามารถจัดเก็บภาษีทรัพย์สินได้ถึงราว 300,000 ล้านบาท
ยิ่งกว่านั้นภาษีทรัพย์สินนี้เก็บและใช้สอยเฉพาะในท้องถิ่น ท้องถิ่นย่อมมีความรู้สึกเป็นเจ้าของ โอกาสที่จะเกิดการทุจริตย่อมมีน้อยลง ประชาชนในท้องถิ่นจะหวงแหนทรัพยากรของตนเองมากขึ้น ผู้มีความรู้ความสามารถจะหันมาทำงานการเมืองเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของท้องถิ่น และการที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการเสียภาษีทรัพย์สินเช่นนี้จึงเป็นรากฐานการพัฒนาประชาธิปไตยให้มั่นคงอย่างแท้จริง
2. การสร้างมูลค่าเพิ่มของระบบถนน
ถนนนำความเจริญไปสู่ท้องถิ่นต่าง ๆ ทุกวันนี้ ประเทศต้องเสียเงินค่าก่อสร้างถนนและสาธารณูปโภคต่าง ๆ นับแสนล้านบาทต่อปี ทั้ง ๆ ที่ความจริงสามารถสร้างได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เป็นที่พอใจของทุกฝ่าย และยังอาจได้กำไรไว้พัฒนาประเทศอีกต่างหาก
แผนภูมิแนวคิดการซื้อที่ดินริมถนนตัดใหม่เพื่อเพิ่มมูลค่า
โดยปกติเมื่อมีถนนใหม่เกิดขึ้น ที่ดินริมถนนที่แต่เดิมเป็นที่ว่างเปล่า รกร้าง ที่ตาบอด ที่ในซอยแคบ ที่ปลายหรือสุดซอย จะมีมูลค่าสูงขึ้นมาก จากการศึกษาของกระผมเรื่องการจัดรูปที่ดินบริเวณถนนประชาอุทิศ ห้วยขวาง เมื่อปี 2533 พบว่า การตัดถนนใหม่เข้าไปในที่ดินย่านนั้น ทำให้ราคาที่ดินเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากตารางวาละ 14,000 บาท เป็น 38,000 บาท หรือประมาณ 2.71 เท่า {4} และการศึกษาของกระผมอีกครั้งหนึ่งเพื่อการจัดรูปที่ดินบึงบัวมน รามอินทรา กม.8 พ.ศ.2534 ก็พบว่า ราคาที่ดินเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากตารางวาละ 8,675 เป็น 20,228 บาท หรือประมาณ 2.33 เท่า {5} โดยสรุปแล้วจึงอนุมานว่า ภายหลังการตัดถนน ราคาที่ดินจะเพิ่มขึ้นถึง 2.5 เท่า
จากแผนภูมิที่แสดงไว้ข้างต้น ต้นทุนถนนเส้นหนึ่งเท่ากับค่าก่อสร้างถนนกับค่าค่าเวนคืน โดยหากสมมติให้ค่าก่อสร้างถนนเท่ากับ 1 ต้นทุนค่าเวนคืนที่ดินมาสร้างถนนจะประมาณ 3, 2 หรือ 1 เท่าของค่าก่อสร้างถนนในเขตในเมือง เขตต่อเมือง และเขตชานเมืองตามลำดับ
ดังนั้น ในกรณีตัดถนนในเขตเมืองที่ต้องลงทุน 4,000 ล้าน (เป็นค่าก่อสร้าง 1,000 ล้าน และค่าเวนคืน 3,000 ล้านบาท ตามสัดส่วน 1:3) หากทางราชการเวนคืนที่ดินสองฝั่งถนนเพิ่มอีกสองเท่าของตัวถนน เช่น ถนนกว้าง 40 เมตร ก็เวนคืนอีกข้างละ 40 เมตรแล้ว ต้นทุนก็จะเพิ่มขึ้นเป็น 10,000 ล้านบาท (ค่าสร้างถนน 1,000 ล้านบาท, ค่าเวนคืนที่ดินที่เป็นถนน 3,000 ล้านบาท และค่าเวนคืนที่ดินเพิ่มอีก 2 ฝั่งถนนขนาดเท่าตัวถนน อีก 6,000 ล้านบาท) และเมื่อก่อสร้างถนนแล้วเสร็จ ต้นทุนที่ดินสองฝั่งถนน 6,000 ล้านบาทนี้ก็จะกลายเป็น 15,000 ล้าน (หรือเพิ่มขึ้น 2.5 เท่าตามที่ประมาณการไว้ข้างต้น) ซึ่งสูงกว่าต้นทุนทั้งโครงการ (10,000 ล้านบาท) ถึง 5,000 ล้าน ซึ่งเท่ากับสามารถสร้างถนนได้โดยไม่เสียงบประมาณแผ่นดิน อีกทั้งยังได้ กำไร ไว้บำรุงชาติอีกต่างหาก
โดยหลักการนี้ ต่อไปรัฐบาลก็ไม่ต้องจำกัดงบประมาณในการจ่ายค่าเวนคืนที่ดินในราคาต่ำ ๆ และก็ยังสามารถสร้างถนนได้ทั่วไป ถือเป็นโครงการประเภทที่เป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย (win-win) คือ
1. ราชการก็ไม่เสียงบประมาณแผ่นดิน สามารถนำงบประมาณไปช่วยประชาชนที่ขาดแคลนทางอื่นดีกว่า
2. เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนก็ยินดี เพราะได้รับการเวนคืนในราคาที่เป็นธรรม
3. ประชาชนทั่วไปก็มีถนนหนทางไว้สัญจรเพิ่มมากขึ้น
4. สังคมโดยรวมก็มีความสุข เพราะสองข้างทางแทนที่จะต้องแบ่งขายกลายเป็นตึกแถวมากมายจนเสียทัศนียภาพ รัฐบาลอาจเอาพื้นที่บางส่วนมาทำเป็นสวนสาธารณะ เมืองก็จะมีการวางแผนและผังที่ดี
โดยสรุปแล้ว หัวใจสำคัญของความเป็นไปได้นี้ก็คือ ถนนเป็นตัวสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ที่ดินได้อย่างมหาศาล ในประเทศไทยยังมีถนนไม่เพียงพอ เมื่อใดที่มีการสร้างถนน ราคาที่ดินสองข้างทาง ก็จะเพิ่มขึ้นไม่ว่าจะเป็นในกรณีที่ดินใจกลางเมือง ที่ดินเขตต่อเมือง ที่ดินชานเมือง หรือแม้แต่ที่ดินชนบทก็ตาม {6}
อย่างไรก็ตาม ยังมีอุปสรรคก็ตรงที่ว่า กฎหมายเวนคืนปัจจุบันไม่อนุญาตให้เวนคืนมาเพื่อการพาณิชย์ รัฐบาลเองก็ไม่มีหน่วยงานที่ดูแลการลงทุนหรือพัฒนาที่ดิน แต่กระผมเชื่อว่า รัฐบาลคงสามารถขจัดอุปสรรคเหล่านี้ให้หมดไปได้ เพื่อว่าประเทศไทยจะสามารถพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้ทรัพยากรให้น้อยและคุ้มค่าที่สุด และกรณีตัวอย่างประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซียก็สามารถเวนคืนที่ดินเพื่อการพาณิชย์ตราบเท่าที่จะเป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติโดยรวม
3. การนำที่ดินของรัฐใจกลางเมืองมาพัฒนาเชิงพาณิชย์
ที่ดินของรัฐใจกลางเมืองสามารถนำมาพัฒนาเชิงพาณิชย์เพื่อหารายได้ได้อย่างยั่งยืน {7} เช่น นำมาใช้ก่อสร้างเป็นศูนย์ธุรกิจใจกลางเมือง (Central Business District: CBD) แห่งใหม่ โดยให้มีอาคารสำนักงานขนาดใหญ่รวมกันในที่เดียว ทำให้เกิดพลังเกื้อหนุนกัน คล้ายบริเวณสีลม-สุรวงศ์-สาทร ซึ่งทำให้การดำเนินธุรกิจมีประสิทธิภาพ ไม่เสียเวลาเดินทาง ราคาค่าเช่าก็จะไม่ตกต่ำเช่นอาคารที่ตั้งอยู่โดด ๆ ตัวอย่างความสำเร็จใปประเทศอื่นก็ได้แก่การพัฒนาย่านมากาตี กลางกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์
ตัวอย่างที่ดินตามภาพต่อไปนี้น่าจะนำมาใช้เป็น CBD ใหม่ได้ ที่ดินแปลงนี้มีขนาดประมาณ 900 ไร่ เป็นที่ตั้งของราชการทหาร มีอาณาบริเวณตั้งแต่สนามเป้าถึงสโมสรกองทัพบก โดยด้านตะวันออกติดถนนวิภาวดีซึ่งมีดอนเมืองโทลเวย์และทางด่วนขั้นที่หนึ่ง ส่วนด้านตะวันตกก็ติดกับถนนพหลโยธินซึ่งมีรถไฟฟ้าบีทีเอสและทางด่วนขั้นที่ 2 ที่สามารถต่อเชื่อมเข้าแปลงที่ดินได้ ภายในที่ดินแปลงนี้ยังสามารถเพิ่มสาธารณูปโภค เช่น รถรางไฟฟ้าขนาดเล็กระหว่างอาคาร ทางด่วน และระบบโทรคมนาคมที่ทันสมัย ฯลฯ ซึ่งเป็นคุณสมบัติสำคัญของการเป็น CBD ทั้งนี้สิงคโปร์ก็เคยทำรถไฟฟ้าขนาดเล็กเชื่อมต่อพื้นที่จนสำเร็จแล้ว
อย่างไรก็ตามสิ่งหนึ่งที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษก็คือการจ่ายค่าชดเชยในการย้ายหน่วยราชการ ออกไป รวมทั้งความสูญเสียประโยชน์ในการอยู่ใจกลางเมืองของครอบครัวข้าราชการ ซึ่งคงต้องใช้เงินพอสมควรเพื่อให้สมเกียรติ แต่ก็คงไม่มากนักหากเทียบกับประโยชน์ที่ประเทศชาติจะได้รับ
การพัฒนาเมืองในเชิงรุกนี้ อาจถือเป็นการเกี่ยวร้อยการพัฒนาเศรษฐกิจ การพัฒนาเมือง การวางผังเมือง และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเชิงสร้างสรรค์ต่อประเทศชาติไปพร้อม ๆ กัน อันถือเป็นยุทธศาสตร์ใหม่ในการพัฒนาประเทศในอนาคต
ตัวอย่างที่ดินของรัฐที่สามารถนำมาพัฒนาเชิงพาณิชย์ใจกลางเมือง: กรณีที่ดินสนามเป้า
ที่ดินขนาด 900 ไร่ดังกล่าวนี้ หากนำที่ดิน 40% ไปพัฒนาเป็นสาธารณูปโภค ยังเหลือที่ดินเพื่อการพัฒนาเชิงพาณิชย์ถึง 540 ไร่ และสามารถตั้งอาคารสำนักงานขนาดใหญ่ เช่น ธนาคารกรุงเทพ สำนักงานใหญ่ที่สีลมซึ่งมีขนาดประมาณ 8 ไร่ ได้ถึงประมาณ 68 อาคาร สำหรับความเป็นไปได้ทางการเงินเบื้องต้นโดยสังเขปของการพัฒนาที่ดินแสดงไว้ในตารางท้ายนี้ ซึ่งชี้ให้เห็นว่า ที่ดินแปลงดังกล่าวมีมูลค่าประมาณ 73,122.9 ล้านบาท หรือเป็นเงินตารางวาละประมาณ 203,119 บาท ที่สำคัญก่อให้เกิดการพัฒนาที่มีมูลค่ารวมถึง 311,821 ล้านบาท อันช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศได้มากทีเดียว
ตารางประมาณการมูลค่าที่ดินของทางราชการใจกลางเมือง: กรณีที่ดินสนามเป้า
นอกจากที่ดินแปลงดังกล่าวข้างต้น ในเขตกรุงเทพมหานครยังมีที่ดินของทางราชการอีกเป็นจำนวนมากที่สามารถนำมาพัฒนาเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติโดยรวมได้ กระผมเคยนำเสนอไว้ในการเสนอที่ตั้งรัฐสภาแห่งใหม่ไว้นับสิบแห่ง {8} เช่น
1. ที่ดินกรมทหาร เขตดุสิต ซึ่งมีพื้นที่กว้างขวางหลายพันไร่
2. พื้นที่กรมทหาร ถ.โยธี พญาไท ซึ่งมีขนาดใหญ่และมีทั้งทางด่วนและรถไฟฟ้าผ่านเช่นกัน
3-4 สนามม้าทั้งสองแห่งในกรุงเทพมหานคร
5. โรงซ่อมรถไฟ บึงมักกะสัน ซึ่งมีทั้งทางด่วนและรถไฟฟ้าผ่านเช่นกัน
6. โรงงานยาสูบเดิม ถ.พระรามที่ 4 ซึ่งมีรถไฟฟ้าและทางด่วนผ่านบริเวณใกล้เคียง
7. ที่ดินคลังน้ำมัน ถ.พระราม 3 ติดแม่น้ำเจ้าพระยา
8. ที่ดินการรถไฟฯ ถ.เชื้อเพลิง ติดแม่น้ำเจ้าพระยา
9. ท่าเรือคลองเตยที่อาจจะย้ายไปแหลมฉะบัง
10. ที่ตั้งขององค์การแบตเตอรี่ผนวกกับองค์การแก้วเดิม
นอกจากนี้ยังมีที่ดินรถไฟชุมทางบางซื่อ ที่ดินที่ให้สถานทูตต่างประเทศเช่า ที่ดินของหน่วยราชการอื่น ฯลฯ ที่ดินเหล่านี้หากสามารถนำมาพัฒนาได้จริง ย่อมทำให้เกิดมูลค่าการพัฒนาไม่ต่ำกว่า 4 ล้านล้านบาท หรือมากกว่างบประมาณแผ่นดินไทยถึง 2 เท่าตัว ที่ผ่านมาประเทศเพื่อนบ้านก็ได้ทำการย้ายส่วนราชการออกนอกเมืองเป็นจำนวนมากทั้งในกรุงมะนิลาและนครโฮชิมินห์ซิตี้ เป็นต้น
4. การอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารความหนาแน่นสูง
ที่ผ่านมาทางราชการมักมีแนวคิดแบบที่ปฏิบัติตาม ๆ กันมา (Conventional Belief) ว่า ไม่ควรทำกรุงเทพมหานครหนาแน่น น่าจะเก็บรักษาที่ดินไว้เพื่อชนรุ่นหลัง กระผมว่าแนวคิดนี้ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง และกลับจะเป็นภัยต่อลูกหลานในอนาคตที่ต้องซื้อบ้านในย่านชานเมืองไกล ๆ กระผมจึงเห็นว่ารัฐบาลควรวางแผนให้กรุงเทพมหานครมีความหนาแน่นขึ้น ทำให้ที่ดินในเมืองได้รับการใช้สอยอย่างเข้มข้น ทรัพยากรต่าง ๆ ไม่ต้องขยายตัวออกสู่ชานเมืองอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เป็นการประหยัดภาษีของประชาชน
ในปัจจุบัน ผังเมืองกำหนดให้อัตราส่วนพื้นที่อาคารต่อพื้นที่ดิน (Floor Area Ratio: FAR) ต่ำมาก แต่เดิมกำหนดให้ทั่วกรุงเทพมหานครมีสัดส่วน 10:1 แต่ตามผังเมืองปัจจุบัน มีพื้นที่จำกัดที่ให้มีการพัฒนาในสัดส่วนดังกล่าว กระผมจึงขอเสนอให้แก้ไขผังเมืองให้สามารถพัฒนาที่ดินตาม FAR เป็น 10:1 หรือ 15:1 และให้ส่วนที่สามารถพัฒนาได้เพิ่มจากปัจจุบัน ต้องเสียภาษีเพิ่มเติม เพื่อรัฐบาลจะสามารถนำรายได้จากส่วนนี้มาใช้เพื่อการพัฒนาประเทศ
การนี้จะสามารถทำให้เกิดพื้นที่ก่อสร้างในเขตกรุงเทพมหานครเพิ่มขึ้น สมมติเป็น 1 ล้านตารางเมตรต่อปี และหากมูลค่าของพื้นที่เป็นเงินประมาณ 50,000 บาทต่อตารางเมตร ก็จะทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มขึ้นถึง 50,000 ล้านบาท
และหากมาตรการนี้เป็นจริง อาคารใจกลางเมืองที่มีการพัฒนาบนพื้นที่ที่มีความหนาแน่นน้อย ก็จะขออนุญาตพัฒนาใหม่ อันจะเป็นกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่ง ที่ดินใจกลางเมืองก็จะได้รับการใช้สอยอย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ภาษีที่ได้ก็จะสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศในทางอื่นนั่นเอง
5. การก่อสร้างรถไฟฟ้าใจกลางเมือง
ในขณะนี้รัฐบาลพยายามก่อสร้างรถไฟฟ้าออกไปชานเมืองจำนวนหลายสาย ซึ่งบางสายก็อาจมีความจำเป็น แต่บางสายก็อาจเป็นการสร้างความเข้าใจผิดแก่ประชาชน เช่น ประชาชนผู้มีรายได้ปานกลางอาจคิดว่าจะสามารถซื้อห้องชุดในโครงการอาคารชุดนอกเมืองได้ แต่หากรถไฟฟ้าชานเมืองแล้วเสร็จ ค่าโดยสารอาจเป็นประเด็นปัญหาสำคัญ เพราะผู้โดยสารต้องเสียค่ารถไฟฟ้าอีกเท่าตัว ทำให้ค่าใช้จ่ายในการเดินทางด้วยรถไฟฟ้าต่อวันอาจตกเป็นเงินถึง 150-200 บาท และเมื่อนั้นประชาชนก็จะตระหนักว่ารถไฟฟ้าชานเมืองบางสายไม่อาจประหยัดค่าเดินทางได้ ต่างจากทางด่วน ซึ่งยังมีรถประจำทางหรือรถตู้ขึ้นทางด่วนในราคาที่ถูกกว่า
กระผมจึงใคร่ขอเสนอให้เพิ่มความสำคัญของการก่อสร้างระบบรถไฟฟ้าใจกลางเมือง เช่น ที่ครั้งหนึ่งรัฐบาลจะสร้างรถไฟฟ้าจากบางซื่อผ่านถนนสามเสนเข้าเมืองจนถึงหัวลำโพง และควรดำเนินการในพื้นที่ใจกลางเมืองบริเวณอื่น ๆ ทั้งเขตพระนคร สัมพันธวงศ์ ยานนาวา ลาดพร้าว ฯลฯ การสร้างรถไฟฟ้ายังอาจใช้การก่อสร้างระบบรางเบา อย่างไรก็ตามระบบรถด่วนประจำทาง (Bus Rapit Transit: BRT) ไม่ควรสร้างเพราะทำให้เสียช่องทางจราจรไป 1 ช่องทาง และจากประสบการณ์ที่กระผมเคยไปเป็นที่ปรึกษากระทรวงการคลัง อินโดนีเซีย พบว่า ระบบนี้ซึ่งกรุงจาการ์ตาใช้มาก่อนไทยนั้น ไม่มีประสิทธิผลเพียงพอและกลายเป็นปัญหาในระยะยาว {9}
ในการก่อสร้างรถไฟฟ้าใจกลางเมืองนั้น อาจมีข้อสงสัยว่า จะเป็นการจัดสรรงบประมาณให้เฉพาะผู้อยู่อาศัยในกรุงเทพมหานครหรือไม่ กระผมเห็นว่าข้อนี้ไม่ใช่การมุ่งประโยชน์เฉพาะกลุ่ม เพราะการลงทุนนี้จะสามารถคืนทุนโดยไม่เสียภาษีอากรของประชาชน และที่สำคัญยังจะสามารถช่วยให้นครหลวงแห่งนี้สามารถทำการหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อประโยชน์ต่อประเทศชาติโดยยิ่งขึ้น และหากมีระบบรถไฟฟ้าที่ดียิ่งขึ้น อาคารต่าง ๆ ใจกลางเมืองก็ไม่จำเป็นต้องมีที่จอดรถมากมายเช่นในปัจจุบัน สามารถนำพื้นที่ไปใช้เพื่อการพัฒนาที่เป็นประโยชน์ได้มากขึ้น เพราะการใช้รถส่วนตัวจะลดลง ทำให้ความต้องการใช้ที่จอดรถจะลดลงตามไปด้วย
ตัวอย่างอาคารโรงแรมแม็กซ์ พระราม 9 ซึ่งมีพื้นที่จอดรถจำนวนมากเทียบกับอาคารในนครนิวยอร์กที่มีสัดส่วนที่จอดรถน้อยกว่า
6. การจัดตั้งองค์การบริหารการพัฒนาที่ดินแห่งชาติ
อาจกล่าวได้ว่าการใช้ที่ดินในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ตลอดจนเมืองใหญ่ทั่วประเทศยังขาดประสิทธิภาพเท่าที่ควร ในสมัยที่กระผมทำการศึกษาการใช้ที่ดินเมืองตามงบประมาณของธนาคารโลก ได้แปรภาพถ่ายทางอากาศพบว่า ในอดีตที่ผ่านมา ที่อยู่อาศัยหลักในเขตกรุงเทพมหานครก็คือ ที่ดินจัดสรร {10} ซึ่งในภายหลังถูกปล่อยทิ้งร้างไว้มากมาย เพราะไม่มีผู้เข้าอยู่อาศัยเพียงพอ ทำให้เกิดความสูญเปล่าทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ยังมีบ้านหรือโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่ทิ้งร้างไว้อีกจำนวนมาก หากนำมาพัฒนาจะทำให้เกิดการเพิ่มมูลค่าขึ้นมหาศาล {11}
ในขณะเดียวกันการพัฒนาที่ดินของภาคเอกชนก็ขึ้นอยู่กับความสามารถในการรวบรวมที่ดิน ซึ่งมักใช้เวลานาน เจ้าของที่ดินบางส่วนก็ไม่ยินยอมขาย ทำให้ที่ดินในเขตเมืองไม่ได้รับการพัฒนา และเป็นการกีดขวางการพัฒนาเมือง เมืองก็จำต้องขยายตัวในแนบราบอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ทำให้เมืองยิ่งขาดระเบียบยิ่งขึ้นต่อไป
โดยปกติ การจะซื้อ-ขายอสังหาริมทรัพย์ ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของผู้ซื้อและผู้ขาย แต่ในกรณีเพื่อการพัฒนาเมืองและการวางผังเมืองในเชิงรุก แนวคิดใหม่ที่ควรพิจารณาก็คือทางราชการโดยองค์การพิเศษหนึ่งสามารถบังคับจัดซื้อบนพื้นฐานราคาตลาดหรืออาจกำหนดให้ซื้อได้สูงกว่าราคาตลาด 30% เพื่อจูงใจให้ผู้ขายยินดีขาย เพื่อนำที่ดินมาพัฒนาให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมได้อย่างทันการ
ภาพถ่ายทางอากาศแสดงโครงการที่ดินจัดสรรที่มักมีผู้เข้าอยู่อาศัยน้อยมาก
แม้จะจัดสรรมาประมาณ 40 ปีแล้ว (ตัวอย่างบริเวณถนนติวานนท์)
ภาพกรณีการรวบรวมที่ดินซึ่งไม่มีประสิทธิภาพ (บางแปลงไม่ยินยอมขาย)
ซึ่งส่งผลเสียต่อทุกฝ่ายทั้งผู้ประกอบการ เจ้าของที่ดินและสังคมโดยรวม
องค์การบริหารการพัฒนาที่ดินแห่งชาติ ควรเป็นหน่วยลงทุนที่เป็นองค์การมหาชนมีหน้าที่รวบรวมจัดการพัฒนาที่ดินในเขตเมือง หรือ ในเขตชานเมืองเพื่อการพัฒนาเมือง และควรมีหน้าที่สำคัญคือ การจัดหาที่ดินเพื่อการพัฒนาเมือง โดยการซื้อที่ดินภาคเอกชนมาดำเนินการ หรือนำที่ดินของทางราชการมาจัดประโยชน์ ทั้งนี้สามารถดำเนินการประสานกับทางกรมโยธาธิการและผังเมือง เพื่อให้การพัฒนาที่ดินเป็นไปตามผังเมืองรวมหรือผังเมืองเฉพาะ
การสร้างอุปทานที่ดินเพื่อการพัฒนาเมือง หมายรวมถึงการจัดหาที่ดินเพื่อให้โครงการหมู่บ้านจัดสรร ที่อยู่อาศัย อาคารสำนักงาน ศูนย์การค้า นิคมอุตสาหกรรม ฯลฯ เช่น การจัดหาที่ดินพร้อมสาธารณูปโภคในย่านชานเมือง ประมาณ 5,000 ไร่ เพื่อจัดสรรให้โครงการที่อยู่อาศัยหลายประเภทไปซื้อเพื่อพัฒนาโครงการขายแก่ผู้ซื้อบ้านต่อไป
การจัดหาที่ดินขององค์การนี้ไม่ได้จัดขึ้นเพื่อมุ่งขายให้กับผู้ซื้อรายย่อย จึงไม่เป็นการแข่งขันกับภาคเอกชน การที่เจ้าของโครงการภาคเอกชนสามารถจัดหาที่ดินได้ในเวลาอันรวดเร็วจากการซื้อที่ดินจากองค์การนี้ ย่อมดีกว่าที่จะไปทยอยรวมซื้อแปลงที่ดินเอง ทำให้ต้นทุนและเวลาลดลง อันจะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคด้วย
กระผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า แนวคิดข้างต้นจะเป็นประโยชน์ต่อรัฐบาลในการบริหารราชการแผ่นดิน และหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารัฐบาลจะให้ความกรุณาพิจารณาเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมต่อไป
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา
ขอแสดงความนับถือ
(นายโสภณ พรโชคชัย)*
* วิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต ที่ดินที่อยู่อาศัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย มีอาชีพเป็นผู้ประเมินค่าทรัพย์สินและนักวิจัยด้านอสังหาริมทรัพย์ แต่ไม่ทำงานด้านการเป็นนายหน้าหรือพัฒนาที่ดินเอง เพื่อความเป็นกลางโดยเคร่งครัด ปัจจุบันนี้เป็นประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าทรัพย์สิน AREA ประธานกรรมการ มูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย ผู้แทน FIABCI ใน UN-ESCAP ผู้แทนสมาคมประเมินค่าทรัพย์สินนานาชาติ IAAO ประจำประเทศไทย และที่ปรึกษา the Appraisal Foundation ซึ่งเป็นองค์กรควบคุมวิชาชีพประเมินค่าทรัพย์สินที่จัดตั้งโดยสภาคองเกรสแห่งสหรัฐอเมริกา
อ้างอิง:
{1} โปรดดูรายละเอียดเพิ่มเติมจากบทความเรื่อง ภาษีทรัพย์สิน เพื่อประโยชน์ของทุกคน วารสาร ThaiAppraisal ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม กุมภาพันธ์ 2552 หน้า 18-19 http://www.thaiappraisal.org/Thai/Market/Market228.htm
{2} เช่นบ้านหลังหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร มีราคาเฉลี่ยประมาณ 2 ล้านบาท หากรัฐบาลตั้งใจจะจัดเก็บเพียง 0.5% ดังที่แถลง ก็จะเป็นเงินเพียงปีละ 1,000 บาท หรือเดือนละ 833 บาท
{3} โปรดอ่านผลการศึกษาเรื่อง การเปลี่ยนแปลงมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ประเทศไทยและภัยความมั่นคงต่อมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ http://www.thaiappraisal.org/pdfNew/Res ... 5-land.pdf
{4} Pornchokchai, Sopon (1992). Bangkok Slums: Review and Recommendations. Bangkok: Agency for Real Estate Affairs (p.179).
{5} Pornchokchai, Sopon (1995). Innovative Land Readjustment in Thailand Where Public and Private Benefits Meet. Paper presented at the International Congress on Real Estate, April 24-26, 1995 organized by National University of Singapore and American Real Estate and Urban Economics Association.
{6} โปรดดูบทความเรื่อง เชื่อหรือไม่ สร้างถนนได้โดยรัฐไม่เสียเงินสักบาท ในผู้จัดการรายวัน ปีที่ 14 ฉบับที่ 4229 (4227) 1 กรกฎาคม 2547 หน้า 32 หรือที่ http://www.thaiappraisal.org/Thai/Market/Market46.htm
{7} โปรดอ่าน วางผัง-สร้างเมืองเชิงรุก: สร้าง CBD ใน CBD ดร.โสภณ พรโชคชัย. หนังสือ อสังหาริมทรัพย์เรื่องสำคัญของชีวิต หน้า 107-112
{8} โปรดอ่าน โสภณ พรโชคชัย. 12 พื้นที่สร้างรัฐสภาใจกลางกรุง นิตสารตลาดบ้าน ฉบับที่ 253 / สิงหาคม 2551 หน้า 150 และ ฐานเศรษฐกิจ 17-19 เมษายน 2551 หน้า 37 หรือที่ http://www.thaiappraisal.org/Thai/Market/Market179.htm
{9} โปรดอ่านเกี่ยวกับโครงการ BRT ของกรุงจาการ์ตา ซึ่งเรียกว่า TransJakarta ได้ที่ http://en.wikipedia.org/wiki/TransJakarta
{10} โปรดดูได้ที่ Sopon Pornchokchai and Shlomo Angel. Working Paper No.5: The Informal Land Subdivision Market in Bangkok: A Preliminary Investigation. Bangkok: Bangkok Land Management Study (An ADB Project), Mar. 1987, 23 pp.
{11} โปรดดูรายละเอียดที่ โสภณ พรโชคชัย. องค์การบริหาร-พัฒนาที่ดินแห่งชาติ. หนังสือพิมพ์บิสิเนสไทย ปีที่ 5 ฉบับที่ 245 วันที่ 22-28 พฤษภาคม 2549 หน้า 23 หรือที่ http://www.thaiappraisal.org/Thai/Market/Market109.htm
หรือดูรายละเอียดทั้งหมดได้ที่นี่:
http://www.thaiappraisal.org/Thai/letter/letter16.htm
-
- Verified User
- โพสต์: 5
- ผู้ติดตาม: 0
จดหมายถึงนายกฯ ฟื้นฟูเศรษฐกิจชาติด้วยวิธีเพิ่มมูลค่าอสังหาริ
โพสต์ที่ 2
แนวคิดของท่านดร.ดีมากเลยครับ เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติมากเลยครับ
ผมดีใจนะครับที่ยังมีคนที่ไม่เสียชาติเกิดเพราะได้ช่วยชาติเหมือนผม
http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=38110
ผมดีใจนะครับที่ยังมีคนที่ไม่เสียชาติเกิดเพราะได้ช่วยชาติเหมือนผม
http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=38110
-
- Verified User
- โพสต์: 5
- ผู้ติดตาม: 0
จดหมายถึงนายกฯ ฟื้นฟูเศรษฐกิจชาติด้วยวิธีเพิ่มมูลค่าอสังหาริ
โพสต์ที่ 3
ไม่คิดเลยว่าจดหมายผมจะไปถึงท่านนายกจริงๆ ครับ (คิดว่าคงถึงเบื้องหลังของท่านด้วย)
ก่อนอื่นขอแสดงความยินดีที่ผมสามารถยุให้ท่านนายกทำลงมือทำอะไรซักอย่างกับสินค้าเกษตรที่เป็นวิกฤตอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งท่านก็ได้นำคณะไปเยือนจีนพร้อม รมว.พาณิชย์ ด้วยแล้ว กลับมาพร้อมกับ MOU มันสำปะหลังนับล้านตัน พร้อมแบ่งโควต้ามาให้ผู้ประกอบการไทยได้เข้าร่วมประมูลครั้งใหม่ (ผมเองไม่ได้เข้าประมูล และไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียอะไร แต่ผู้ประกอบการไทยก็น่าจะขอบคุณผมบ้าง ไม่ใช่หรือครับ) และการบอกลานโยบายการรับจำนำสินค้าเกษตรในอนาคตของรัฐบาล
เป็นเรื่องน่ายินดีอย่างยิ่ง เพียงแต่ว่ามันสายเกินไป สายน้ำไม่ไหลย้อนกลับ สิ่งต่างๆ บนโลกต้องอยู่ถูกที่ถูกเวลาครับ ถ้าผมทราบว่าจดหมายแบบนี้ไปถึงท่านนายกจริงๆ ผมคงเขียนไปตั้งแต่ครั้งแรกที่กรมฯ เชิญผมไปร่วมเจรจาที่กวางโจวซึ่งผมพลาดไปโดยสุดวิสัย ให้ท่านนายกดำเนินการ ก่อนเปิดการประมูลครั้งแรกครับ ซึ่งผลจากการเจรจาการค้ากลับมามีเพียงข่าวว่า "มีออเดอร์มันเส้นที่เมืองจีนรออยู่ 2 ล้านตัน" ถ้าเพียงเปลี่ยนคำว่าออร์เดอร์เป็น MOU ในตอนนั้น อะไรๆ ก็จะดีกว่านี้เยอะครับ ไม่เป็นต้นเหตุลามถึงสินค้าอื่นอีกด้วย
ขอย้อนถึงสาเหตุที่ผมจำเป็นต้องขวนขวายไปร่วมเจรจา ทั้งๆ ที่ตัวเองไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียอะไร MOU ล้านตันครั้งก่อนยอมให้เซ็นในนามสมาคมทั้งหมด ก็ไม่ได้ส่วนแบ่งออร์เดอร์แม้แต่กิโลกรัมเดียว แถมยังเป็นผลงานของสมาคมและรัฐมนตรี ทางสมาคมไม่ได้ช่วยเงินอะไรผมสักบาท ทั้งที่ผมเป็นต้นเหตุแห่งความสำเร็จของการเจรจาถึง 2 หน ส่วนทางราชการก็ไม่ต้องพูดถึง เอาเป็นว่าผมเข้าใจครับว่า มันสำปะหลังเป็นสินค้าเพียงหนึ่งชนิด จากรายการสินค้านับหมื่นที่กระทรวงพาณิชย์ต้องรับผิดชอบดูแล แต่เกษตรกรเขารบเร้า เพราะเขาเดือดร้อน ผมขัดไม่ได้ เตรียมตัวจะไปพบกับคณะที่เมืองจีนเหมือนครั้งก่อนก็แล้ว แต่สุดท้ายก็พลาด
จริงๆ แล้วมันสำปะหลังเดินถูกทางมาตั้งแต่แรกแล้ว ที่รัฐเข้ามารับจำนำ(รับซื้อ) แล้วจะปฏิวัติให้เป็นการค้าแบบ G2G แต่บังเอิญคนที่ influencer มากกว่าผม (influencest) ไปพูดว่าถ้าเปลี่ยนมันสำปะหลังเป็น G2G แล้วจะกระทบกับภาวะเศรษฐกิจ ก็เลยชะงัก ต้องเปลี่ยนมาแผน 2 ที่มากระทบกับผม แผน 2 ไม่สำเร็จ พร้อมกับการที่รัฐต้องรีบเปิดประมูล มาถึงแผน 3 ที่ผมเป็นผู้ปิดทองหลังพระ พร้อมกับการเปิดประมูลครั้งใหม่ตามมาในช่วงสองสามวันนี้ ไม่ทราบผลออกหัวหรือออกก้อย
สุดท้ายนี้ ขอกล่าวไปถึงท่านรองปลัด (ท่านเป็นผู้มีอิทธิพลต่อสินค้าเกษตรหลักท่านหนึ่งที่ผมนับถือ เหตุการณ์หลายอย่างที่ผ่านมาสดๆร้อนๆ ได้แสดงให้เห็นว่า ประเทศชาติขาดท่านไม่ได้ แต่ก็ขาดไปแล้ว เราจึงได้เห็นผลกัน แต่อย่างไรก็ตามผมก็ถือเป็น influencer เพราะถ้าครั้งนั้นท่านโทรมาหาผมโดยตรงและช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทางของผม ท่านก็จะไม่ต้องกลับมามือเปล่า อย่างไรเสียท่านรัฐมนตรีก็ไม่กล้าทางเลือนตำแหน่งท่านครับ)
ถ้าท่านรองปลัด ได้เออร์ลีรีไทร์ตามข่าวแล้ว ยังข้องใจสาเหตุที่แท้จริงของการปรับตำแหน่งก่อนเกษียณเพียงไม่กี่เดือน ผมเป็นผู้รู้จริงครับ (ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับสินค้าอื่นแต่ประการใด ตามที่นักข่าวบางสำนักคาดกัน แล้วก็ไม่ใช่เรื่องการเมืองที่ท่านว่าไม่อยากจบชีวิตราชการด้วยการสังเวยการเมืองอีกด้วย) ผมไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องนี้เลย ถ้าท่านต้องการทราบจริง มีทางเดียวคือโทรศัพท์ถึงผมได้โดยตรงตามเบอร์ที่ท่านมีครับ การประหยัดแค่ค่าโทรศัพท์เพียงไม่กี่บาทได้แสดงให้เห็นมาแล้วว่าเป็นเรื่อง "เสียน้อยเสียยาก เสียมากๆ ยิ่งเสียง่าย"
ผมขอพูดแค่นี้ครับ ไม่อยากถูกมองว่าเป็นคนใส่เสื้อสี
สุดท้ายอีกครั้งครับ
นายกและฝ่ายการเมืองเป็นเพียงเบื้องหน้า มีวาระคราวหนึ่งๆ เพียงไม่กี่ปี แต่เบื้องหลังของท่านมีวาระอย่างน้อยก็คือการเกษียณชีวิตราชการของแต่ละท่าน ผมจึงหวังว่าจดหมายฉบับจะยังไปถึงทั้งเบื้องหลังและเบื้องหลังเช่นเคยเพิ่อเป็นบทเรียนที่มีมูลค่าสูงมาก
ก่อนอื่นขอแสดงความยินดีที่ผมสามารถยุให้ท่านนายกทำลงมือทำอะไรซักอย่างกับสินค้าเกษตรที่เป็นวิกฤตอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งท่านก็ได้นำคณะไปเยือนจีนพร้อม รมว.พาณิชย์ ด้วยแล้ว กลับมาพร้อมกับ MOU มันสำปะหลังนับล้านตัน พร้อมแบ่งโควต้ามาให้ผู้ประกอบการไทยได้เข้าร่วมประมูลครั้งใหม่ (ผมเองไม่ได้เข้าประมูล และไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียอะไร แต่ผู้ประกอบการไทยก็น่าจะขอบคุณผมบ้าง ไม่ใช่หรือครับ) และการบอกลานโยบายการรับจำนำสินค้าเกษตรในอนาคตของรัฐบาล
เป็นเรื่องน่ายินดีอย่างยิ่ง เพียงแต่ว่ามันสายเกินไป สายน้ำไม่ไหลย้อนกลับ สิ่งต่างๆ บนโลกต้องอยู่ถูกที่ถูกเวลาครับ ถ้าผมทราบว่าจดหมายแบบนี้ไปถึงท่านนายกจริงๆ ผมคงเขียนไปตั้งแต่ครั้งแรกที่กรมฯ เชิญผมไปร่วมเจรจาที่กวางโจวซึ่งผมพลาดไปโดยสุดวิสัย ให้ท่านนายกดำเนินการ ก่อนเปิดการประมูลครั้งแรกครับ ซึ่งผลจากการเจรจาการค้ากลับมามีเพียงข่าวว่า "มีออเดอร์มันเส้นที่เมืองจีนรออยู่ 2 ล้านตัน" ถ้าเพียงเปลี่ยนคำว่าออร์เดอร์เป็น MOU ในตอนนั้น อะไรๆ ก็จะดีกว่านี้เยอะครับ ไม่เป็นต้นเหตุลามถึงสินค้าอื่นอีกด้วย
ขอย้อนถึงสาเหตุที่ผมจำเป็นต้องขวนขวายไปร่วมเจรจา ทั้งๆ ที่ตัวเองไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียอะไร MOU ล้านตันครั้งก่อนยอมให้เซ็นในนามสมาคมทั้งหมด ก็ไม่ได้ส่วนแบ่งออร์เดอร์แม้แต่กิโลกรัมเดียว แถมยังเป็นผลงานของสมาคมและรัฐมนตรี ทางสมาคมไม่ได้ช่วยเงินอะไรผมสักบาท ทั้งที่ผมเป็นต้นเหตุแห่งความสำเร็จของการเจรจาถึง 2 หน ส่วนทางราชการก็ไม่ต้องพูดถึง เอาเป็นว่าผมเข้าใจครับว่า มันสำปะหลังเป็นสินค้าเพียงหนึ่งชนิด จากรายการสินค้านับหมื่นที่กระทรวงพาณิชย์ต้องรับผิดชอบดูแล แต่เกษตรกรเขารบเร้า เพราะเขาเดือดร้อน ผมขัดไม่ได้ เตรียมตัวจะไปพบกับคณะที่เมืองจีนเหมือนครั้งก่อนก็แล้ว แต่สุดท้ายก็พลาด
จริงๆ แล้วมันสำปะหลังเดินถูกทางมาตั้งแต่แรกแล้ว ที่รัฐเข้ามารับจำนำ(รับซื้อ) แล้วจะปฏิวัติให้เป็นการค้าแบบ G2G แต่บังเอิญคนที่ influencer มากกว่าผม (influencest) ไปพูดว่าถ้าเปลี่ยนมันสำปะหลังเป็น G2G แล้วจะกระทบกับภาวะเศรษฐกิจ ก็เลยชะงัก ต้องเปลี่ยนมาแผน 2 ที่มากระทบกับผม แผน 2 ไม่สำเร็จ พร้อมกับการที่รัฐต้องรีบเปิดประมูล มาถึงแผน 3 ที่ผมเป็นผู้ปิดทองหลังพระ พร้อมกับการเปิดประมูลครั้งใหม่ตามมาในช่วงสองสามวันนี้ ไม่ทราบผลออกหัวหรือออกก้อย
สุดท้ายนี้ ขอกล่าวไปถึงท่านรองปลัด (ท่านเป็นผู้มีอิทธิพลต่อสินค้าเกษตรหลักท่านหนึ่งที่ผมนับถือ เหตุการณ์หลายอย่างที่ผ่านมาสดๆร้อนๆ ได้แสดงให้เห็นว่า ประเทศชาติขาดท่านไม่ได้ แต่ก็ขาดไปแล้ว เราจึงได้เห็นผลกัน แต่อย่างไรก็ตามผมก็ถือเป็น influencer เพราะถ้าครั้งนั้นท่านโทรมาหาผมโดยตรงและช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทางของผม ท่านก็จะไม่ต้องกลับมามือเปล่า อย่างไรเสียท่านรัฐมนตรีก็ไม่กล้าทางเลือนตำแหน่งท่านครับ)
ถ้าท่านรองปลัด ได้เออร์ลีรีไทร์ตามข่าวแล้ว ยังข้องใจสาเหตุที่แท้จริงของการปรับตำแหน่งก่อนเกษียณเพียงไม่กี่เดือน ผมเป็นผู้รู้จริงครับ (ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับสินค้าอื่นแต่ประการใด ตามที่นักข่าวบางสำนักคาดกัน แล้วก็ไม่ใช่เรื่องการเมืองที่ท่านว่าไม่อยากจบชีวิตราชการด้วยการสังเวยการเมืองอีกด้วย) ผมไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องนี้เลย ถ้าท่านต้องการทราบจริง มีทางเดียวคือโทรศัพท์ถึงผมได้โดยตรงตามเบอร์ที่ท่านมีครับ การประหยัดแค่ค่าโทรศัพท์เพียงไม่กี่บาทได้แสดงให้เห็นมาแล้วว่าเป็นเรื่อง "เสียน้อยเสียยาก เสียมากๆ ยิ่งเสียง่าย"
ผมขอพูดแค่นี้ครับ ไม่อยากถูกมองว่าเป็นคนใส่เสื้อสี
สุดท้ายอีกครั้งครับ
นายกและฝ่ายการเมืองเป็นเพียงเบื้องหน้า มีวาระคราวหนึ่งๆ เพียงไม่กี่ปี แต่เบื้องหลังของท่านมีวาระอย่างน้อยก็คือการเกษียณชีวิตราชการของแต่ละท่าน ผมจึงหวังว่าจดหมายฉบับจะยังไปถึงทั้งเบื้องหลังและเบื้องหลังเช่นเคยเพิ่อเป็นบทเรียนที่มีมูลค่าสูงมาก
-
- Verified User
- โพสต์: 112
- ผู้ติดตาม: 0
จดหมายถึงนายกฯ ฟื้นฟูเศรษฐกิจชาติด้วยวิธีเพิ่มมูลค่าอสังหาริ
โพสต์ที่ 4
ข้อมูลเข้มข้นมากๆ
อ่านแล้วรู้สึกตัวเองโง่ไปเลย
อ่านแล้วรู้สึกตัวเองโง่ไปเลย
ด้วยความเคารพ
suriya
suriya
-
- Verified User
- โพสต์: 590
- ผู้ติดตาม: 0
จดหมายถึงนายกฯ ฟื้นฟูเศรษฐกิจชาติด้วยวิธีเพิ่มมูลค่าอสังหาริ
โพสต์ที่ 5
ราคาที่ดินต่อค่าแรงในบ้านเราก็สูงมากแล้วนะครับ
ไทยราคาที่ดินแพงสุดตารางวะ 1,000,000 ค่าแรงขั้นต่ำวันละ 200 บาท 5000 เท่า
ออสราคาที่ดินแพงสุดตารางวาละประมาณ 5,000,000 ค่าแรงขั้นต่ำ 2000 บาท 2500 เท่า
ต้องลดราคาที่ดิน เพิ่มค่าแรงต่างหากครับ
ไทยราคาที่ดินแพงสุดตารางวะ 1,000,000 ค่าแรงขั้นต่ำวันละ 200 บาท 5000 เท่า
ออสราคาที่ดินแพงสุดตารางวาละประมาณ 5,000,000 ค่าแรงขั้นต่ำ 2000 บาท 2500 เท่า
ต้องลดราคาที่ดิน เพิ่มค่าแรงต่างหากครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 21
- ผู้ติดตาม: 0
จดหมายถึงนายกฯ ฟื้นฟูเศรษฐกิจชาติด้วยวิธีเพิ่มมูลค่าอสังหาริ
โพสต์ที่ 6
อ่านเเล้วรู้สึกว่า ตัวเองไม่มีความรู้เรื่องพวกนีเลยครับ เเย่จัง