การค้นหาหุ้น Surprise

บทความต่างๆที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
bremner
Verified User
โพสต์: 437
ผู้ติดตาม: 0

การค้นหาหุ้น Surprise

โพสต์ที่ 1

โพสต์

Money Game : วิศิษฐ์ องค์พิพัฒน์กุล

หุ้นที่มีผลประกอบการที่ดีกว่าที่ตลาดหรือนักวิเคราะห์คาดหวัง หรือที่ภาษานักวิเคราะห์เรียกว่ามี Earnings Surprise ซึ่งมักจะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนมุมมองของผลประกอบการให้ดีขึ้น มีกำไรต่อหุ้นสูงขึ้น (Earnings per share) และมีราคาต่อหุ้น หาร กำไรต่อหุ้น หรือ P/E ที่ลดลง กลยุทธ์เราเรียกว่า การค้นหาหุ้นที่มี Earnings Revising หรือหุ้นที่นักวิเคราะห์เปลี่ยนมุมมองในทางบวกอย่างฉับพลัน

หุ้นในลักษณะนี้ มักจะเป็นหุ้นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าปกติ (Abnormal Returns) มีตัวอย่างมากมายเลยครับ

แต่ผมขออนุญาตยกมาแค่หนึ่งตัวอย่าง เช่น หุ้นในกลุ่ม MAI ตัวหนึ่งที่มีผลการดำเนินงานดีขึ้นอย่างฉับพลัน โดยเปลี่ยนธุรกิจจากทำวิจัยมาเป็นงานที่ปรึกษาทางการเงิน (Investment banking) ซึ่งทำให้ราคาหุ้นได้มีการปรับฐานราคาซื้อขายจากในอดีตที่ 0.5-0.6 บาทต่อหุ้น มาสู่ระดับ 0.9-1.2 บาทต่อหุ้น ต่างๆ เหล่านี้เป็นต้น

การเปลี่ยนมุมมองเป็นบวกอย่างฉับพลัน อาจนำไปประยุกต์ใช้ในการคาดการณ์ทิศทางของราคาหุ้นหรือดัชนีได้ กล่าวคือ เมื่อใดก็ตามที่นักวิเคราะห์ได้ทยอยการปรับมุมมองที่เป็นบวกของผลดำเนินงานของหุ้นที่มี Market Capitalization ขนาดใหญ่เมื่อใด ดัชนีหุ้นก็จะเดินหน้าเป็นบวกได้เลย (อันนี้เป็นกลยุทธ์สำหรับคนที่ชอบลงทุนในตลาดอนุพันธ์นะครับ)

ผมเคยมีโอกาสศึกษาผลของการปรับมุมมองในทางบวกของผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนที่มีผลต่อราคาหุ้น ซึ่งเรื่องต่างๆ เหล่านี้เป็นลักษณะการศึกษา Micro Trading Strategy ในวิชา Behavior Finance ครับ และมีเรื่องที่อยากนำมาเล่าสู่กันฟังดังนี้ครับ

กรณีที่หนึ่ง : ราคาของหุ้นที่มี Market Capitalization ขนาดเล็ก จะตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของกำไรได้ดีกว่าหุ้นที่มี Market Cap ขนาดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หุ้น Dog (หุ้นที่ไม่มีใครอยากได้) ถ้ามีการประกาศ Earnings Surprise หุ้นจะกระโดดในทางบวกทันที

กรณีที่สอง: หุ้นที่มีจำนวนนักวิเคราะห์ทำการวิเคราะห์จำนวนน้อย ถ้าหุ้นตัวนั้นมี Earning Surprise ราคาหุ้นตัวนั้นจะตอบสนองต่อข่าวได้เร็วกว่าหุ้นที่มีจำนวนที่นักวิเคราะห์ทำการวิเคราะห์จำนวนมาก เนื่องจากข่าวดีเกี่ยวกับผลประกอบการยังไม่ได้ถูกคาดการณ์ไว้ในราคาหุ้น (Good news has not been priced in) ซึ่งเราเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า Under Coverage Effect

ฉะนั้น ถ้านักลงทุนเห็นราคาหุ้นบางตัวที่วิ่งขึ้นหรือวิ่งลงก่อนหน้าการประกาศผลประกอบการ สัก 1-2 สัปดาห์ ก็สามารถคาดเดาว่าอาจจะมีข่าวเรื่องผลประกอบการซ่อนอยู่ (ทั้งในทางดีและทางร้าย)

กรณีที่สาม :หุ้นที่มีการเปลี่ยนแปลง ในปริมาณการซื้อขาย (Trading Volume) และราคา รวมถึงการแกว่งตัว (Volatility) ในรอบระยะเวลา 1 เดือนก่อนหน้านั้น ราคาหุ้นนั้นจะตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของข่าวดีที่เกิดจากผลประกอบการได้ดีกว่าหุ้นโดยปกติ

กรณีที่สี่ : หุ้นที่มีราคา Price/ Book Value ที่ต่ำ จะตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของผลประกอบการที่ Surprise มากกว่าหุ้นที่มี Price/ Book Value ที่สูง

กรณีที่ห้า : หุ้นที่มี P/E ต่ำ จะตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของผลประกอบการที่ Surprise มากกว่าหุ้นที่มี P/E สูง

กรณีที่หก : หุ้นที่มีการกระจายตัวที่กว้างของคาดการณ์ผลดำเนินงาน (Earnings Dispersion) คือมีบวกบ้างลบบ้าง จะมีการตอบสนองของ Earnings Revision มากกว่าหุ้นที่นักวิเคราะห์ได้คาดการณ์ผลดำเนินงานในทางใกล้เคียงกัน

กล่าวโดยสรุป การสังเกตพฤติกรรมราคาหุ้น อาจนำไปสู่การค้นพบหุ้นที่ให้ผลตอบแทนสูงได้

http://www.bangkokbizweek.com/
"What seems too high and risky to the majority generally goes higher and what seems low and cheap generally goes lower."
ภาพประจำตัวสมาชิก
doodeemak
Verified User
โพสต์: 411
ผู้ติดตาม: 0

การค้นหาหุ้น Surprise

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ขอบคุณสำหรับบทความดีๆครับ  :cool:

อ้อ...ถ้ามีตัวอย่างหุ้นในอนาคตประกอบเป็นข้อๆไปจะดีมากเลยครับ  :twisted:
Inactive investor
โพสต์โพสต์