รวบรวมทุกวิกฤตการณ์ของ ตลาดหุ้นไทย
- vichit
- Verified User
- โพสต์: 15833
- ผู้ติดตาม: 0
รวบรวมทุกวิกฤตการณ์ของ ตลาดหุ้นไทย
โพสต์ที่ 1
รวบรวมทุกวิกฤตการณ์ของ ตลาดหุ้นไทย
วิกฤตการณ์ของตลาดหุ้นไทย (2522-ปัจจุบัน)
วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2518 ตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย (ชื่อภาษาอังกฤษในขณะนั้นคือ The Securities Exchange of Thailand) ได้เปิดทำการซื้อขายขึ้นอย่างเป็น ทางการครั้งแรกและได้ทำการเปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษเป็น The Stock Exchange of Thailand (SET) เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2534
ปี 2522-กลางปี 2525 วิกฤตเศรษฐกิจ/วิกฤติราคาน้ำมัน
ในช่วงต้นปี 2522 ได้เกิดวิกฤตการณ์ราคาน้ำมัน ส่งผลให้เกิดอัตราเงินเฟ้อภายในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากกลุ่มโอเปคได้ขึ้นราคาน้ำมันถึง 30%
นอกจากนี้ยังมีปัญหาการขาดดุล บัญชีเดินสะพัดในระดับสูงมาก ภาวะเงินตึงตัวทวีความรุนแรงการลงทุนภาคเอกชนซบเซาอย่างหนัก การขาดดุลการค้ายังเป็นผลให้ เงินทุนสำรองระหว่างประเทศร่อยหรอลงจนถึงระดับวิกฤติ ในที่สุดรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ต้องตัดสินใจลดค่าเงินบาทลง 9% เมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2524
ในช่วงต้นปี 2522 ยังได้เกิดวิกฤตการณ์ ราชาเงินทุน ที่สร้างความตื่นตระหนกให้กับนักลงทุน วิกฤติที่รุมเร้าทั้งภายในและภายนอกทำให้ตลาดหุ้นซบเซายาวนานถึง 4 ปี ปริมาณการซื้อขายหุ้นทั้งปีหดหายไปอย่างรวดเร็วจาก 22,533 ล้านบาท ในปี 2522 เหลือเพียง 2,898 ล้านบาท ในปี 2524 นักเล่นหุ้นทุกคนอยู่ในอาการที่สิ้นหวัง
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ตกต่ำจากระดับ 259.82 จุด เมื่อต้นปี 2522 เหลือ 149.40 จุด ณ ปลายปี ในปี 2523 ดัชนียังคงตกต่ำต่อเนื่องปิดที่ 124.67 จุด และลดลงเหลือ 106.62 จุดเมื่อปลายปี 2524 คิดเป็นการปรับตัวลงเกือบ 60%
ปี 2526-2528 วิกฤติทรัสต์ล้ม/ลดค่าเงินบาท
หลังวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ ข่าวสถาบันการเงินมีฐานะง่อนแง่นก็เกิดขึ้นมาตลอด เริ่มจากข่าวการสั่งถอนใบอนุญาตราชาเงินทุนเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2522 หลังจากนั้นตลาดหุ้นก็ไม่ว่างเว้นจากข่าวการสั่งปิดทรัสต์ แชร์ล้ม แบงก์มีฐานะการเงินอ่อนแอ
รวมแล้ววิกฤตการณ์ของบริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ทำให้บริษัทต่างๆ ถูกถอนใบอนุญาตในช่วงปี 2526-2528 มากถึง 20 บริษัท
และในเดือนพฤศจิกายน 2527 ได้มีการประกาศลดค่าเงินบาทลงอีก 17.3%
ตลาดหุ้นไทยในช่วงปี 2526-2528 ทรงตัวยาวนานถึง 3 ปีเต็มๆ ดัชนีในปี 2526 ปิดที่ 134.47 จุด มีปริมาณการซื้อขายทั้งปี 9,323 ล้านบาท ในปี 2527 ดัชนีปิดที่ระดับ 142.29 จุด วอลุ่มการซื้อขายทั้งปีกระเตื้องขึ้นเป็น 10,595 ล้านบาท และในปี 2528 ดัชนีปิดที่ 134.95 จุด มีวอลุ่มทั้งปี 15,333 ล้านบาท
ปี 2530 เหตุการณ์Black Monday
วิกฤตการณ์ที่ร้ายแรงที่สุดของตลาดหุ้นไทยอีกครั้งหนึ่ง ก็คือ เหตุการณ์ วันจันทร์ทมิฬ (Black Monday) วันที่ 19 ตุลาคม 2530 ส่งผลให้ตลาดหุ้นในตลาดสำคัญๆ ของโลกปรับตัวลดลงอย่างรุนแรง และรวดเร็ว
วิกฤตการณ์ครั้งนี้มีจุดกำเนิดที่ตลาดหุ้นของสหรัฐอเมริกาดิ่งลงมากที่สุดใน ประวัติศาสตร์ 508.32 จุด หรือคิดเป็น 22.60% มาปิดตลาดที่ระดับ 1,738.74 จุด
เพียงวันเดียว ความมั่งคั่งของคนอเมริกันหายไปประมาณ 5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ
สำหรับตลาดหุ้นไทยในวันนั้น ดัชนีปรับตัวลดลง 36.64 จุด หรือ 8% จากระดับ 459.01 จุด ในวันที่ 19 ต.ค.2530 มาปิดต่ำสุดที่ 243.97 จุด ในวันที่ 11 ธ.ค. 2530
ตลาดหุ้นไทยซบเซาอยู่ประมาณ 2 เดือน ปรับตัวลดลงประมาณ 46% ก่อนที่จะฟื้นตัวเข้าสู่ภาวะปกติ เพราะมีการจัดตั้งกองทุนร่วมพัฒนา (อายุโครงการ 6 ปี) มูลค่า 1,000 ล้านบาท เริ่มเข้ามาซื้อหุ้นเมื่อวันที่ 26 พ.ย. 2530(1987)
ปี 2533 สงครามอ่าวเปอร์เซีย
เมื่อตลาดหุ้นไทยกลับมาบูมในปี 2531-2532 ในปีถัดมา 2533 ได้มีเหตุการณ์สำคัญที่ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นอย่างมาก คือเหตุการณ์อิรักบุกเข้ายึดครองคูเวต เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2533 ซึ่งก่อให้เกิดสงครามอ่าวเปอร์เซียอย่างเต็มรูปแบบ
ก่อนหน้านั้น ตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นไปซื้อขายสูงสุดที่ระดับ 1,143.75 จุดเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2533 แต่เพียง 3 สัปดาห์ ดัชนีดิ่งลงมากถึง 39% ต่ำสุดที่ระดับ 695.81 จุดก่อนที่จะกระเตื้องดีขึ้นในช่วงปลายเดือนสิงหาคม
ตลาดหุ้นไทยต้องตกอยู่ในพะวังและความไม่ชัดเจนของสงครามถึง 3 เดือนเต็ม กว่าที่ดัชนีจะทำจุดต่ำสุดที่ระดับ 544.30 จุดเมื่อวันที่ 30 พ.ย. 2533 คิดเป็นการปรับตัวลดลงของดัชนีทั้งสิ้น 598 จุด หรือ 52% (จุดสูงสุด-จุดต่ำสุด)
ปี 2535 เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ
เหตุการณ์พฤษภาทมิฬเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 17-19 พฤษภาคม 2535 เป็นอีกเหตุการณ์หนึ่งที่ตลาดหุ้นไทยต้องสะดุดตัวเองอย่างแรง เหตุการณ์นี้สืบต่อมาจากเหตุการณ์เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 รสช.เข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลพล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ตลาดหุ้นตกไปทันที 40.63 จุด และวันถัดมาตกลงอีก 57.40 จุด
จนกระทั่งเดือนพฤษภาคม 2535 ก็เกิดเหตุความไม่สงบขึ้น ครั้งนี้เกิดเหตุการณ์เสียเลือดเสียเนื้อของประชาชนจำนวนมาก ตลาดหุ้นตอบรับทางลบอย่างรุนแรง ดัชนีตกลงทันที 65 จุดเหลือเพียง 667.84 จุด ก่อนจะดีดกลับ 61 จุดในวันที่ 21 พ.ค. 2535
หลังเหตุการณ์ความไม่สงบตลาดหุ้นก็ตกอยู่ในภาวะซบเซาอย่างหนัก วอลุ่มเฉลี่ยต่อวันลดลงจาก 7,337 ล้านบาท ในไตรมาสแรกเหลือเพียง 4,871 ล้านบาท ในไตรมาสที่ 2
เมื่อเหตุการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติในเดือนกันยายน 2535 ในช่วงนี้เองก็ปรากฏชื่อของ เสี่ยสอง หรือนายสอง วัชรศรีโรจน์ เข้ามาทำเงินจากวิกฤตการณ์ตลาดหุ้น และตลาดกลับมาคึกคักจนลืมอดีตเหตุการณ์นองเลือดลงอย่างสิ้นเชิง
ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. มีมติให้ดำเนินการกล่าวโทษเสี่ยสอง กับพวกในข้อหาปั่นหุ้นธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ หรือบีบีซี ทันทีที่ตลาดหุ้นเริ่มมีอาการซวนเซ ในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2535 กระทรวงการคลังก็ประกาศจัดตั้งกองทุน 5,000 ล้านบาท โดยใช้เงินจากธนาคารกรุงไทยเข้ามาพยุงหุ้น และยังขอความร่วมมือจากโบรกเกอร์ 40 รายลงขันจัดตั้งกองทุนพยุงหุ้นอีก 10,000 ล้านบาท เข้ามาซื้อหุ้น
ปี 2540 ประกาศลอยตัวค่าเงินบาท
ก่อนที่จะประกาศลอยตัวค่าเงินบาทเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 ตลาดหุ้นตกต่ำอย่างไม่โงหัวขึ้นเลย เป็นการตีตั๋ว ขาลง ขาเดียว มาตั้งแต่เดือนมกราคม 2539 จากระดับ 1,410.33 จุด ดิ่งลงมาตลอดต่ำสุดที่ระดับ 457.97 จุด ในเดือนมิถุนายน 2540 ลดลง 953 จุด หรือ 67% ภายในระยะเวลา 17 เดือน
นับเป็นช่วงที่เลวร้ายที่สุดของตลาดหุ้นไทย เพราะเป็นการตกต่ำที่หนักหน่วงยาวนาน ต่างจากวิกฤตการณ์ทุกครั้งที่ตกต่ำเพียงไม่กี่เดือนก็มักจะฟื้นตัว และเป็นจุดเริ่มต้นของวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจครั้งร้ายแรงที่สุดในประวัติ ศาสตร์เศรษฐกิจของไทย
เริ่มจากปัญหาหนี้เสียในระบบสถาบันการเงิน จนผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ขาดความเชื่อมั่น ค่าเงินบาทถูกโจมตีอย่างหนัก แบงก์ชาติสู้จนเงินหมดหน้าตัก ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 จึงตัดสินใจปล่อยให้ค่าเงินบาทลอยตัวแบบ Managed Float รวมทั้งต้องประกาศปิดสถาบันการเงิน 56 แห่งอย่างถาวร
ตลาดหุ้นตกต่ำเป็นประวัติการณ์ ดัชนีดิ่งลงไปสู่จุดต่ำสุดที่ระดับ 207 จุดในเดือนกัยยายน 2541 เป็นช่วงขาลงยาวนานที่สุดถึง 33 เดือน นับแต่ต้นปี 2539 ดัชนีปรับตัวลดลง 1,203 จุด คิดการปรับตัวลดลง 85% มูลค่าตลาดรวม (Market Capitalization) ลดลงจาก 3,969,804 ล้านบาท ลดลงเหลือเพียง 759,451 ล้านบาท
ความมั่งคั่งของคนไทยหายวับไปต่อหน้าต่อตา 3,210,353 ล้านบาท
ปี 2544 เหตุการณ์วินาศกรรมสหรัฐ
เหตุการณ์บึ้มสหรัฐครั้งนั้น สร้างความเสียหายค่อนข้างมาก แม้ว่าเหตุการณ์ผู้ก่อการร้ายจี้เครื่องบินพุ่งชนตึกเวิลด์เทรด จะเกิดขึ้นที่สหรัฐอเมริกา แต่วิถีความเสียหายกลับแผ่ไปทั่ว มาร์เก็ตแค็ปของตลาดหุ้นไทย 6 วันทำการ (11-20 ก.ย.2544) สูญไปแล้วกว่า 2.51 แสนล้านบาท เป็นความเสียหายชนิดเฉียบพลันอย่างที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน
ก่อนเกิดโศกนาฏกรรมในสหรัฐตลาดหุ้นไทยปิดที่ระดับ 330 จุด มีมูลค่าตลาดรวม (มาร์เก็ตแค็ป) อยู่ที่ 1.607 ล้านล้านบาท หลังเกิดเหตุการณ์ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงมาปิดที่ระดับ 266 จุด คิดเป็นการปรับตัวลดลงประมาณ 19% ตลาดหุ้นซึมอยู่นานกว่า 2 เดือน ก่อนจะดีดตัวกลับ และเป็นขาขึ้นครั้งใหญ่
ปี 2549 มาตรการแบ็งค์ชาติ 108 จุด
เป็นเหตุการณ์แบ็งค์ชาติออกมาตรการสะกัดกั้นเงินบาทแข็ง เป็นผลจากความกังวลที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ประกาศใช้มาตรการสำรอง 30% สำหรับการนำเข้า เงินทุนระยะสั้น
การประกาศออกมาในเย็นวันที่ 18 ธค 2549 หลังตลาดหุ้นปิดแบ็งค์ชาติประกาศออกมาตรการ 30% หุ้นปิด ลบ 5.74 จุด
จากนั้นเช้าวันที่ 19 ธค 2549 ตลาดเปิดหุ้นดิ่งทันที ลบกว่า100จุด ก่อนจะหยุดพักการซื้อขาย 30 นาที และทำการซื้อขายต่อราวเที่ยงกว่าๆ ตลาดปิดภาคเช้า ลบ 83 จุด
ในภาคบ่ายตลาดรูดลงไปมากสุดถึง -142.63 จุด และปิดตลาดที่ระดับ 622.14 ลดลง 108.41 จุด หรือ 14.84%
ซึ่งดัชนีปิดต่ำสุดในรอบกว่า 2 ปี นับจากระดับ 621.57 เมื่อ 28 ต.ค.47 ซึ่งเป็นผลกระทบจากมาตรการสกัดเก็งกำไรค่าเงินบาทของธนาคารแห่งประเทศไทย ส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติเทขายหุ้นออกมามาก โดยต้องหยุดพักซื้อขายชั่วคราว 30 นาทีระหว่าง 11.29-11.59 น. เนื่องจากดัชนีปรับลงถึงระดับ 10%
ณ. วันนั้นวันเดียวเงินในตลาดหุ้นลดลงกว่า 5แสนล้านบาท
ปี 2551 วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์
วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์รุนแรงใกล้ตัวและลามมาเร็วกว่าที่คาดกันไว้มาก จากโลกซีกอเมริกาลุกลามไปสู่ยุโรป เข้าถึงเอเชีย และวิ่งต่อไปยังตะวันออกกลาง เรียกว่าวินาทีนี้ทุกส่วนของโลกโดนพิษวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์กันถ้วนหน้า ความเชื่อมโยงถึงกันเหมือนดังปัญหาที่เกิดขึ้นกับตลาดเงินและกระทบถึงตลาด ทุน ซึ่งในวันนั้รเข้าขั้นวิกฤติหนักไม่แพ้การล้มละลายของสถาบันการเงินหลายแห่ง ในต่างชาติ อันมีต้นเหตุจากปัญหาซัพไพร์ม
ความจริงนักลงทุนต่างชาติจับสัญญาณได้ถึงปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้น ทำให้ตั้งแต่ต้นปี 2551 ต่างชาติเริ่มเทขายหุ้นในภูมิภาคเอเชียทิ้ง เพื่อนำเงินกลับไปพยุงบริษัทแม่ที่ใกล้ล้มละลาย บางส่วนก็นำไปเติมสภาพคล่องกรณีที่เกิดการไถ่ถอนหน่วยลงทุนก่อนกำหนด เพราะความวิตกกังวลในปัญหา เรียกได้ว่าทำทุกวิธีทางเพื่อความอยู่รอด แต่ในท้ายแล้วการเทขายหุ้นออกไปก็ยังไม่สามารถรั้งชีวิตบางบริษัทได้จนต้อ ปล่อยให้ล้มละลายไป
ความแรงของการเทขายยังมีอย่างต่อเนื่องเพราะความวิตกจากนักลงทุน โดยเมื่อวันที่ 27 ต.ค. 51 ตลาดหลักทรัพย์หยุดทำการซื้อขายหลักทรัพย์เป็นการชั่วคราวเนื่องด้วยดัชนี ราคาหลักทรัพย์ปรับตัวลดลงจากดัชนีราคาปิดวันทำการก่อนหน้า 43.29 จุด คิดเป็น 10.00% อาศัยอำนาจตามความในข้อ 15 ของข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง การซื้อขาย การชำระราคาและการส่งมอบหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2542 ซึ่งกำหนดให้หยุดทำการซื้อขายหลักทรัพย์
การปรับตัวลงของตลาดหุ้นไทยดังกล่าว ส่งผลให้ตลาดหลักทรัพย์ต้องประกาศใช้เซอร์กิต เบรกเกอร์ เพื่อพักการซื้อขายหุ้นชั่วคราวในช่วงเดือนต.ค.ปีนั้นถึง 2 ครั้ง หลังดัชนีหุ้นไทยร่วงลงแรง 10% ในวันเดียว
ปี 2551 เป็นปีที่มีข่าวหนาหู และปรากฏเป็นจริงที่สถาบันการเงินในสหรัฐอเมริกาล้มระเนระนาด ต้องเพิ่มทุน ถูกเทกโอเวอร์ และล้มละลาย จนมาถึง เลแมน บราเดอร์ส และ เอไอจี
ตลาดหุ้นของไทยได้ซึมซับรับพิษไปอย่างเบ็ดเสร็จมาแตะในระดับต่ำสุด 380.05 จุด ในวันที่ 26 เดือนพฤศจิกายน ทั้งที่ในต้นปีเดียวกันนั้น ณ วันที่ 2 มกราคม 2008 ดัชนีตลาดหุ้นปิดที่ 842.97 จุด เป็นดัชนีที่ลดลงต่ำพอๆ กับปี 2532และเป็นดัชนีที่ใกล้เคียงกับช่วงก่อนเกิดวิกฤตต้มยำกุ้งเมื่อปี 2540
จบ
Credit : เงินเย็น
ที่มา : http://www.stock2morrow.com/forums/show ... php?t=5202
วิกฤตการณ์ของตลาดหุ้นไทย (2522-ปัจจุบัน)
วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2518 ตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย (ชื่อภาษาอังกฤษในขณะนั้นคือ The Securities Exchange of Thailand) ได้เปิดทำการซื้อขายขึ้นอย่างเป็น ทางการครั้งแรกและได้ทำการเปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษเป็น The Stock Exchange of Thailand (SET) เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2534
ปี 2522-กลางปี 2525 วิกฤตเศรษฐกิจ/วิกฤติราคาน้ำมัน
ในช่วงต้นปี 2522 ได้เกิดวิกฤตการณ์ราคาน้ำมัน ส่งผลให้เกิดอัตราเงินเฟ้อภายในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากกลุ่มโอเปคได้ขึ้นราคาน้ำมันถึง 30%
นอกจากนี้ยังมีปัญหาการขาดดุล บัญชีเดินสะพัดในระดับสูงมาก ภาวะเงินตึงตัวทวีความรุนแรงการลงทุนภาคเอกชนซบเซาอย่างหนัก การขาดดุลการค้ายังเป็นผลให้ เงินทุนสำรองระหว่างประเทศร่อยหรอลงจนถึงระดับวิกฤติ ในที่สุดรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ต้องตัดสินใจลดค่าเงินบาทลง 9% เมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2524
ในช่วงต้นปี 2522 ยังได้เกิดวิกฤตการณ์ ราชาเงินทุน ที่สร้างความตื่นตระหนกให้กับนักลงทุน วิกฤติที่รุมเร้าทั้งภายในและภายนอกทำให้ตลาดหุ้นซบเซายาวนานถึง 4 ปี ปริมาณการซื้อขายหุ้นทั้งปีหดหายไปอย่างรวดเร็วจาก 22,533 ล้านบาท ในปี 2522 เหลือเพียง 2,898 ล้านบาท ในปี 2524 นักเล่นหุ้นทุกคนอยู่ในอาการที่สิ้นหวัง
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ตกต่ำจากระดับ 259.82 จุด เมื่อต้นปี 2522 เหลือ 149.40 จุด ณ ปลายปี ในปี 2523 ดัชนียังคงตกต่ำต่อเนื่องปิดที่ 124.67 จุด และลดลงเหลือ 106.62 จุดเมื่อปลายปี 2524 คิดเป็นการปรับตัวลงเกือบ 60%
ปี 2526-2528 วิกฤติทรัสต์ล้ม/ลดค่าเงินบาท
หลังวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ ข่าวสถาบันการเงินมีฐานะง่อนแง่นก็เกิดขึ้นมาตลอด เริ่มจากข่าวการสั่งถอนใบอนุญาตราชาเงินทุนเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2522 หลังจากนั้นตลาดหุ้นก็ไม่ว่างเว้นจากข่าวการสั่งปิดทรัสต์ แชร์ล้ม แบงก์มีฐานะการเงินอ่อนแอ
รวมแล้ววิกฤตการณ์ของบริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ทำให้บริษัทต่างๆ ถูกถอนใบอนุญาตในช่วงปี 2526-2528 มากถึง 20 บริษัท
และในเดือนพฤศจิกายน 2527 ได้มีการประกาศลดค่าเงินบาทลงอีก 17.3%
ตลาดหุ้นไทยในช่วงปี 2526-2528 ทรงตัวยาวนานถึง 3 ปีเต็มๆ ดัชนีในปี 2526 ปิดที่ 134.47 จุด มีปริมาณการซื้อขายทั้งปี 9,323 ล้านบาท ในปี 2527 ดัชนีปิดที่ระดับ 142.29 จุด วอลุ่มการซื้อขายทั้งปีกระเตื้องขึ้นเป็น 10,595 ล้านบาท และในปี 2528 ดัชนีปิดที่ 134.95 จุด มีวอลุ่มทั้งปี 15,333 ล้านบาท
ปี 2530 เหตุการณ์Black Monday
วิกฤตการณ์ที่ร้ายแรงที่สุดของตลาดหุ้นไทยอีกครั้งหนึ่ง ก็คือ เหตุการณ์ วันจันทร์ทมิฬ (Black Monday) วันที่ 19 ตุลาคม 2530 ส่งผลให้ตลาดหุ้นในตลาดสำคัญๆ ของโลกปรับตัวลดลงอย่างรุนแรง และรวดเร็ว
วิกฤตการณ์ครั้งนี้มีจุดกำเนิดที่ตลาดหุ้นของสหรัฐอเมริกาดิ่งลงมากที่สุดใน ประวัติศาสตร์ 508.32 จุด หรือคิดเป็น 22.60% มาปิดตลาดที่ระดับ 1,738.74 จุด
เพียงวันเดียว ความมั่งคั่งของคนอเมริกันหายไปประมาณ 5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ
สำหรับตลาดหุ้นไทยในวันนั้น ดัชนีปรับตัวลดลง 36.64 จุด หรือ 8% จากระดับ 459.01 จุด ในวันที่ 19 ต.ค.2530 มาปิดต่ำสุดที่ 243.97 จุด ในวันที่ 11 ธ.ค. 2530
ตลาดหุ้นไทยซบเซาอยู่ประมาณ 2 เดือน ปรับตัวลดลงประมาณ 46% ก่อนที่จะฟื้นตัวเข้าสู่ภาวะปกติ เพราะมีการจัดตั้งกองทุนร่วมพัฒนา (อายุโครงการ 6 ปี) มูลค่า 1,000 ล้านบาท เริ่มเข้ามาซื้อหุ้นเมื่อวันที่ 26 พ.ย. 2530(1987)
ปี 2533 สงครามอ่าวเปอร์เซีย
เมื่อตลาดหุ้นไทยกลับมาบูมในปี 2531-2532 ในปีถัดมา 2533 ได้มีเหตุการณ์สำคัญที่ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นอย่างมาก คือเหตุการณ์อิรักบุกเข้ายึดครองคูเวต เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2533 ซึ่งก่อให้เกิดสงครามอ่าวเปอร์เซียอย่างเต็มรูปแบบ
ก่อนหน้านั้น ตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นไปซื้อขายสูงสุดที่ระดับ 1,143.75 จุดเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2533 แต่เพียง 3 สัปดาห์ ดัชนีดิ่งลงมากถึง 39% ต่ำสุดที่ระดับ 695.81 จุดก่อนที่จะกระเตื้องดีขึ้นในช่วงปลายเดือนสิงหาคม
ตลาดหุ้นไทยต้องตกอยู่ในพะวังและความไม่ชัดเจนของสงครามถึง 3 เดือนเต็ม กว่าที่ดัชนีจะทำจุดต่ำสุดที่ระดับ 544.30 จุดเมื่อวันที่ 30 พ.ย. 2533 คิดเป็นการปรับตัวลดลงของดัชนีทั้งสิ้น 598 จุด หรือ 52% (จุดสูงสุด-จุดต่ำสุด)
ปี 2535 เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ
เหตุการณ์พฤษภาทมิฬเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 17-19 พฤษภาคม 2535 เป็นอีกเหตุการณ์หนึ่งที่ตลาดหุ้นไทยต้องสะดุดตัวเองอย่างแรง เหตุการณ์นี้สืบต่อมาจากเหตุการณ์เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 รสช.เข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลพล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ตลาดหุ้นตกไปทันที 40.63 จุด และวันถัดมาตกลงอีก 57.40 จุด
จนกระทั่งเดือนพฤษภาคม 2535 ก็เกิดเหตุความไม่สงบขึ้น ครั้งนี้เกิดเหตุการณ์เสียเลือดเสียเนื้อของประชาชนจำนวนมาก ตลาดหุ้นตอบรับทางลบอย่างรุนแรง ดัชนีตกลงทันที 65 จุดเหลือเพียง 667.84 จุด ก่อนจะดีดกลับ 61 จุดในวันที่ 21 พ.ค. 2535
หลังเหตุการณ์ความไม่สงบตลาดหุ้นก็ตกอยู่ในภาวะซบเซาอย่างหนัก วอลุ่มเฉลี่ยต่อวันลดลงจาก 7,337 ล้านบาท ในไตรมาสแรกเหลือเพียง 4,871 ล้านบาท ในไตรมาสที่ 2
เมื่อเหตุการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติในเดือนกันยายน 2535 ในช่วงนี้เองก็ปรากฏชื่อของ เสี่ยสอง หรือนายสอง วัชรศรีโรจน์ เข้ามาทำเงินจากวิกฤตการณ์ตลาดหุ้น และตลาดกลับมาคึกคักจนลืมอดีตเหตุการณ์นองเลือดลงอย่างสิ้นเชิง
ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. มีมติให้ดำเนินการกล่าวโทษเสี่ยสอง กับพวกในข้อหาปั่นหุ้นธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ หรือบีบีซี ทันทีที่ตลาดหุ้นเริ่มมีอาการซวนเซ ในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2535 กระทรวงการคลังก็ประกาศจัดตั้งกองทุน 5,000 ล้านบาท โดยใช้เงินจากธนาคารกรุงไทยเข้ามาพยุงหุ้น และยังขอความร่วมมือจากโบรกเกอร์ 40 รายลงขันจัดตั้งกองทุนพยุงหุ้นอีก 10,000 ล้านบาท เข้ามาซื้อหุ้น
ปี 2540 ประกาศลอยตัวค่าเงินบาท
ก่อนที่จะประกาศลอยตัวค่าเงินบาทเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 ตลาดหุ้นตกต่ำอย่างไม่โงหัวขึ้นเลย เป็นการตีตั๋ว ขาลง ขาเดียว มาตั้งแต่เดือนมกราคม 2539 จากระดับ 1,410.33 จุด ดิ่งลงมาตลอดต่ำสุดที่ระดับ 457.97 จุด ในเดือนมิถุนายน 2540 ลดลง 953 จุด หรือ 67% ภายในระยะเวลา 17 เดือน
นับเป็นช่วงที่เลวร้ายที่สุดของตลาดหุ้นไทย เพราะเป็นการตกต่ำที่หนักหน่วงยาวนาน ต่างจากวิกฤตการณ์ทุกครั้งที่ตกต่ำเพียงไม่กี่เดือนก็มักจะฟื้นตัว และเป็นจุดเริ่มต้นของวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจครั้งร้ายแรงที่สุดในประวัติ ศาสตร์เศรษฐกิจของไทย
เริ่มจากปัญหาหนี้เสียในระบบสถาบันการเงิน จนผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ขาดความเชื่อมั่น ค่าเงินบาทถูกโจมตีอย่างหนัก แบงก์ชาติสู้จนเงินหมดหน้าตัก ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 จึงตัดสินใจปล่อยให้ค่าเงินบาทลอยตัวแบบ Managed Float รวมทั้งต้องประกาศปิดสถาบันการเงิน 56 แห่งอย่างถาวร
ตลาดหุ้นตกต่ำเป็นประวัติการณ์ ดัชนีดิ่งลงไปสู่จุดต่ำสุดที่ระดับ 207 จุดในเดือนกัยยายน 2541 เป็นช่วงขาลงยาวนานที่สุดถึง 33 เดือน นับแต่ต้นปี 2539 ดัชนีปรับตัวลดลง 1,203 จุด คิดการปรับตัวลดลง 85% มูลค่าตลาดรวม (Market Capitalization) ลดลงจาก 3,969,804 ล้านบาท ลดลงเหลือเพียง 759,451 ล้านบาท
ความมั่งคั่งของคนไทยหายวับไปต่อหน้าต่อตา 3,210,353 ล้านบาท
ปี 2544 เหตุการณ์วินาศกรรมสหรัฐ
เหตุการณ์บึ้มสหรัฐครั้งนั้น สร้างความเสียหายค่อนข้างมาก แม้ว่าเหตุการณ์ผู้ก่อการร้ายจี้เครื่องบินพุ่งชนตึกเวิลด์เทรด จะเกิดขึ้นที่สหรัฐอเมริกา แต่วิถีความเสียหายกลับแผ่ไปทั่ว มาร์เก็ตแค็ปของตลาดหุ้นไทย 6 วันทำการ (11-20 ก.ย.2544) สูญไปแล้วกว่า 2.51 แสนล้านบาท เป็นความเสียหายชนิดเฉียบพลันอย่างที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน
ก่อนเกิดโศกนาฏกรรมในสหรัฐตลาดหุ้นไทยปิดที่ระดับ 330 จุด มีมูลค่าตลาดรวม (มาร์เก็ตแค็ป) อยู่ที่ 1.607 ล้านล้านบาท หลังเกิดเหตุการณ์ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงมาปิดที่ระดับ 266 จุด คิดเป็นการปรับตัวลดลงประมาณ 19% ตลาดหุ้นซึมอยู่นานกว่า 2 เดือน ก่อนจะดีดตัวกลับ และเป็นขาขึ้นครั้งใหญ่
ปี 2549 มาตรการแบ็งค์ชาติ 108 จุด
เป็นเหตุการณ์แบ็งค์ชาติออกมาตรการสะกัดกั้นเงินบาทแข็ง เป็นผลจากความกังวลที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ประกาศใช้มาตรการสำรอง 30% สำหรับการนำเข้า เงินทุนระยะสั้น
การประกาศออกมาในเย็นวันที่ 18 ธค 2549 หลังตลาดหุ้นปิดแบ็งค์ชาติประกาศออกมาตรการ 30% หุ้นปิด ลบ 5.74 จุด
จากนั้นเช้าวันที่ 19 ธค 2549 ตลาดเปิดหุ้นดิ่งทันที ลบกว่า100จุด ก่อนจะหยุดพักการซื้อขาย 30 นาที และทำการซื้อขายต่อราวเที่ยงกว่าๆ ตลาดปิดภาคเช้า ลบ 83 จุด
ในภาคบ่ายตลาดรูดลงไปมากสุดถึง -142.63 จุด และปิดตลาดที่ระดับ 622.14 ลดลง 108.41 จุด หรือ 14.84%
ซึ่งดัชนีปิดต่ำสุดในรอบกว่า 2 ปี นับจากระดับ 621.57 เมื่อ 28 ต.ค.47 ซึ่งเป็นผลกระทบจากมาตรการสกัดเก็งกำไรค่าเงินบาทของธนาคารแห่งประเทศไทย ส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติเทขายหุ้นออกมามาก โดยต้องหยุดพักซื้อขายชั่วคราว 30 นาทีระหว่าง 11.29-11.59 น. เนื่องจากดัชนีปรับลงถึงระดับ 10%
ณ. วันนั้นวันเดียวเงินในตลาดหุ้นลดลงกว่า 5แสนล้านบาท
ปี 2551 วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์
วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์รุนแรงใกล้ตัวและลามมาเร็วกว่าที่คาดกันไว้มาก จากโลกซีกอเมริกาลุกลามไปสู่ยุโรป เข้าถึงเอเชีย และวิ่งต่อไปยังตะวันออกกลาง เรียกว่าวินาทีนี้ทุกส่วนของโลกโดนพิษวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์กันถ้วนหน้า ความเชื่อมโยงถึงกันเหมือนดังปัญหาที่เกิดขึ้นกับตลาดเงินและกระทบถึงตลาด ทุน ซึ่งในวันนั้รเข้าขั้นวิกฤติหนักไม่แพ้การล้มละลายของสถาบันการเงินหลายแห่ง ในต่างชาติ อันมีต้นเหตุจากปัญหาซัพไพร์ม
ความจริงนักลงทุนต่างชาติจับสัญญาณได้ถึงปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้น ทำให้ตั้งแต่ต้นปี 2551 ต่างชาติเริ่มเทขายหุ้นในภูมิภาคเอเชียทิ้ง เพื่อนำเงินกลับไปพยุงบริษัทแม่ที่ใกล้ล้มละลาย บางส่วนก็นำไปเติมสภาพคล่องกรณีที่เกิดการไถ่ถอนหน่วยลงทุนก่อนกำหนด เพราะความวิตกกังวลในปัญหา เรียกได้ว่าทำทุกวิธีทางเพื่อความอยู่รอด แต่ในท้ายแล้วการเทขายหุ้นออกไปก็ยังไม่สามารถรั้งชีวิตบางบริษัทได้จนต้อ ปล่อยให้ล้มละลายไป
ความแรงของการเทขายยังมีอย่างต่อเนื่องเพราะความวิตกจากนักลงทุน โดยเมื่อวันที่ 27 ต.ค. 51 ตลาดหลักทรัพย์หยุดทำการซื้อขายหลักทรัพย์เป็นการชั่วคราวเนื่องด้วยดัชนี ราคาหลักทรัพย์ปรับตัวลดลงจากดัชนีราคาปิดวันทำการก่อนหน้า 43.29 จุด คิดเป็น 10.00% อาศัยอำนาจตามความในข้อ 15 ของข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง การซื้อขาย การชำระราคาและการส่งมอบหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2542 ซึ่งกำหนดให้หยุดทำการซื้อขายหลักทรัพย์
การปรับตัวลงของตลาดหุ้นไทยดังกล่าว ส่งผลให้ตลาดหลักทรัพย์ต้องประกาศใช้เซอร์กิต เบรกเกอร์ เพื่อพักการซื้อขายหุ้นชั่วคราวในช่วงเดือนต.ค.ปีนั้นถึง 2 ครั้ง หลังดัชนีหุ้นไทยร่วงลงแรง 10% ในวันเดียว
ปี 2551 เป็นปีที่มีข่าวหนาหู และปรากฏเป็นจริงที่สถาบันการเงินในสหรัฐอเมริกาล้มระเนระนาด ต้องเพิ่มทุน ถูกเทกโอเวอร์ และล้มละลาย จนมาถึง เลแมน บราเดอร์ส และ เอไอจี
ตลาดหุ้นของไทยได้ซึมซับรับพิษไปอย่างเบ็ดเสร็จมาแตะในระดับต่ำสุด 380.05 จุด ในวันที่ 26 เดือนพฤศจิกายน ทั้งที่ในต้นปีเดียวกันนั้น ณ วันที่ 2 มกราคม 2008 ดัชนีตลาดหุ้นปิดที่ 842.97 จุด เป็นดัชนีที่ลดลงต่ำพอๆ กับปี 2532และเป็นดัชนีที่ใกล้เคียงกับช่วงก่อนเกิดวิกฤตต้มยำกุ้งเมื่อปี 2540
จบ
Credit : เงินเย็น
ที่มา : http://www.stock2morrow.com/forums/show ... php?t=5202
-
- Verified User
- โพสต์: 187
- ผู้ติดตาม: 0
รวบรวมทุกวิกฤตการณ์ของ ตลาดหุ้นไทย
โพสต์ที่ 3
มีเหตุการณ์ที่สมควรกล่าวถึงอยู่เรื่องหนึ่งคือ 30 เมษายน 2518 ซึ่งเป็นเปิดตลาดหุ้นไทย เป็นวันเดียวกับที่กรุงไซ่ง่อนของเวียดนามใต้แตก เป็นที่กริ่งเกรงกันว่าทฤษฎีโดมิโนที่โลกสังคมนิยมจะค่อยๆล้มลงมาทับโลกทุนนิยมไปเรื่อยๆ และไทยเราก็เป็นเป้าหมายในตอนนั้นด้วย เน้นในตอนนั้นนะครับ ไม่ใช่ตอนนี้
- กล้วยไม้ขาว
- Verified User
- โพสต์: 1074
- ผู้ติดตาม: 0
รวบรวมทุกวิกฤตการณ์ของ ตลาดหุ้นไทย
โพสต์ที่ 6
ขอบคุณครับ :D
- Jazzman
- Verified User
- โพสต์: 388
- ผู้ติดตาม: 0
รวบรวมทุกวิกฤตการณ์ของ ตลาดหุ้นไทย
โพสต์ที่ 7
ขอบคุณที่แบ่งปันคับ ผมเอง ก็พยายามคิดอยู่จนถึงทุกวันนี้ ว่าถ้าเกิดวิกฤติ ผมจะเอาชีวิตรอดออกมาได้หรือไม่
พยายามสร้างสมมุติฐานตลอดเวลา ว่าเรือที่เราเลือกลง นั้นสามารถผ่านพายุได้หรือไม่
ชาว VI ที่ลงทุนมาเป็นเวลานาน คงชิวๆ แต่น้องๆใหม่อย่างผมนี่ ก็คงต้องพยายามหาแนวทางยึดเหนี่ยว .. พี่ๆ ที่ผ่านช่วง ปี 40 มาได้ ยังไงก็ช่วยมาแชร์แนวทางรอดชีวิตให้ฟังหน่อยนะคับ เห็ฯกราฟ ที่ลงตอนนั้นแล้ว ผมยังนึกไม่ออกเลย ถ้าเป็นผมคงไม่รอด VI ในตอนนั้นขายหุ้น กันรึเปล่าคับ ?
พยายามสร้างสมมุติฐานตลอดเวลา ว่าเรือที่เราเลือกลง นั้นสามารถผ่านพายุได้หรือไม่
ชาว VI ที่ลงทุนมาเป็นเวลานาน คงชิวๆ แต่น้องๆใหม่อย่างผมนี่ ก็คงต้องพยายามหาแนวทางยึดเหนี่ยว .. พี่ๆ ที่ผ่านช่วง ปี 40 มาได้ ยังไงก็ช่วยมาแชร์แนวทางรอดชีวิตให้ฟังหน่อยนะคับ เห็ฯกราฟ ที่ลงตอนนั้นแล้ว ผมยังนึกไม่ออกเลย ถ้าเป็นผมคงไม่รอด VI ในตอนนั้นขายหุ้น กันรึเปล่าคับ ?
ลงทุนในสิ่งที่เพิ่ม " ค่า " ไปเรื่อยๆ
-
- Verified User
- โพสต์: 467
- ผู้ติดตาม: 0
ปัญหาหนี้สาธารณะที่พุ่งสูงของประเทศในยูโรรวมถึงกรีซ
โพสต์ที่ 9
ขอถามความเห็นเพื่อนๆ vi ว่าในฐานะที่เป็นนักลงทุนคุณค่า เราควรจะให้น้ำหนักต่อปัญหาหนี้ที่กรีซและประเทศอื่นๆ ที่จะมีผลกระทบต่อการลงทุนโดยภาพรวมมากน้อยแค่ไหน เนื่องจากหากได้รับการช่วยเหลือไม่ทันหรือไม่เพียงพอ เศรษฐกิจที่กำลังเติบโตอาจสะดุดหงายหลังได้ และย่อมกระทบกับตลาดโลกไม่มากก็น้อย รวมถึงไทยที่หลายภาคส่วนยังเน้นไปที่การส่งออก โดยเฉพาะสินค้าอิเลคทรอนิก และ อื่นๆ
นักลงทุน vi ที่รอซื้อลงทุน ควรรอให้ปัญหานี้ได้รับการแก้ไขชัดเจนก่อนมั้ยครับ หรือว่า ไม่ควรสนใจ แล้วสนใจแต่มูลค่าหุ้น และราคา
ส่วนตัวผมยังค่อนข้างระมัดระวัง เผื่อเหลือเผื่อขาดเหมือนกัน
นักลงทุน vi ที่รอซื้อลงทุน ควรรอให้ปัญหานี้ได้รับการแก้ไขชัดเจนก่อนมั้ยครับ หรือว่า ไม่ควรสนใจ แล้วสนใจแต่มูลค่าหุ้น และราคา
ส่วนตัวผมยังค่อนข้างระมัดระวัง เผื่อเหลือเผื่อขาดเหมือนกัน
The miracle of compounding,
-
- Verified User
- โพสต์: 1254
- ผู้ติดตาม: 0
รวบรวมทุกวิกฤตการณ์ของ ตลาดหุ้นไทย
โพสต์ที่ 12
ทำให้ข้าน้อยเห็นภาพข้างหลังจากกระจกได้ชัดยิ่งขึ้นขอรับ
- sir.prince
- Verified User
- โพสต์: 263
- ผู้ติดตาม: 0
รวบรวมทุกวิกฤตการณ์ของ ตลาดหุ้นไทย
โพสต์ที่ 13
ขอบคุณ พี่ vichit นะครับ
ที่ทำให้คนเกิดช้าอย่างผมได้รู้จักเหตุการณ์ในตอนนั้นครับ
ที่ทำให้คนเกิดช้าอย่างผมได้รู้จักเหตุการณ์ในตอนนั้นครับ
SKY Line
FBเพจอ่านมาแชร์และลงทุน
FBเพจอ่านมาแชร์และลงทุน
- nata
- Verified User
- โพสต์: 141
- ผู้ติดตาม: 0
รวบรวมทุกวิกฤตการณ์ของ ตลาดหุ้นไทย
โพสต์ที่ 14
ผมเริ่มลงทุนอย่างจริงจังเมื่อต้นปี 51 ไม่อยากจะเชื่อว่าผ่านสถานการณ์ ปลายปี 51 มาได้ ด้วยการลงทุนแนว VI ไม่อย่างนั้นออกจากตลาดหุ้นไปนานแล้ว ผลตอบแทนก็ถือว่าใช้ได้นะครับ แต่คงไม่ได้ดีมากเหมือนกับชาว VI ส่วนใหญ่
สักวันหนึ่ง ผมจะเป็น next generation value