Stock Selection is not Everything./นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์

บทความต่างๆที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม

โพสต์ โพสต์
ily
Verified User
โพสต์: 266
ผู้ติดตาม: 0

Stock Selection is not Everything./นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์

โพสต์ที่ 1

โพสต์

Settrade Blog นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์ (สุมาอี้)
Wednesday, 4 February 2009
0089 : Stock Selection is not Everything.

คุณว่าความสามารถในการเลือกหุ้นให้ถูกตัวมีความสำคัญมากแค่ไหนต่อผลงานการลงทุน?

หลายคนจะเชื่อว่าสำคัญที่สุดเลยทีเดียว เวลาที่เราคิดอย่างนี้ เราจะไม่กล้าเลือกหุ้นด้วยตัวเอง เพราะเรามีความรู้สึกว่าเราเลือกหุ้นไม่เก่ง ผิดบ่อย เราจะเริ่มหาที่พึ่งพิงภายนอก เราจะมองหาใครสักคนที่มีอะไรสักอย่างที่ทำให้เราเชื่อว่าคนๆ นี้น่าจะเป็นที่พึ่งของเราเรื่องการเลือกหุ้นได้ จากนั้นเราก็จะเริ่ม shutdown สมองของเราเอง แล้วหันไปซื้อตาม "กูรูหุ้น" แทน

เวลาคุณเล่นหมากรุกกับแชมป์โลก โอกาสที่คุณจะชนะแชมป์โลกนั้นแทบจะไม่มีเลย แต่สำหรับการลงทุนแล้ว ต่อให้คนที่เชี่ยวที่สุดก็ยังทำผลงานได้ไม่ดีนัก กูรูหุ้นระดับตำนานเลือกหุ้นถูกต้องได้เพียง 60-65% เท่านั้น เพราะการวิเคราะห์การลงทุนเป็นศาสตร์ที่มีความไม่แน่นอนมาเกี่ยวข้องสูงมาก ในเวลาเดียวกัน คนธรรมดาทั่วไปจะเลือกหุ้นได้ถูกต้องในระดับ 45-55% (ถ้าต่ำกว่านี้จะถือว่าเก่งมาก เพราะแค่ทำตรงข้ามกับที่คิดก็จะรวยไม่รู้เรื่องได้) การเลือกหุ้นเป็นศาสตร์ที่คนเก่งที่สุดกับคนที่แย่ที่สุดไม่ได้ต่างกันอย่างชัดเจน

ตั้งแต่เกิดมาผมยังไม่เคยพบใครที่เลือกหุ้นได้ถูกต้องตลอดเวลาเลย (ยกเว้นคนที่ชอบคุยทีหลังว่าทายถูก) ต่อให้เรามองได้เก่งแค่ไหนก็มักจะมีอะไรที่ไม่คาดฝันเข้ามาอยู่เสมอ วอเรน บัฟเฟต เพิ่งจะพลาด เพราะประเมินวิกฤตสถาบันการเงินต่ำไป ช่วงแรกๆ เขาบอกว่า ตลาด"คิดไปเอง"ว่าสถาบันการเงินจะมีปัญหารุนแรง แต่ตอนนี้เขาก็ออกมายอมรับแล้วว่าวิกฤตครั้งนี้จะรุนแรงมาก จิม โรเจอร์ ก็พลาดหนักเพราะบอกว่าคอมโมดิตี้จะยังไปได้อีกสิบเท่า ส่วน จอร์จ โซรอส แม้ว่าจะทายถูกว่าปัญหาซับไพร์มทำจะทำให้เกิด Global Recession แต่เขาก็เพิ่งจะขาดทุนหนักจากการเข้าไปเก็งกว่าดอลล่าร์จะอ่อนลงเรื่อยๆ จะเห็นได้ว่าคนที่ประสบความสำเร็จในการลงทุนมากๆ ไม่ได้เป็นคนที่คิดถูกตลอดเวลา

ที่จริงแล้วมีอะไรบางอย่างที่มีผลต่อความสำเร็จมากกว่าการเลือกหุ้นมาก ตัวอย่างเช่น คนที่เลือกหุ้นถูกแค่ 4 ใน 10 ครั้งอาจจะได้ผลตอบแทนสูงกว่าคนที่เลือกหุ้นถูก 6 ใน 10 ครั้งก็ได้ เพราะถ้าคนที่เลือกหุ้นถูก 4 ใน 10 ครั้งเลือกจัดสรรเงินส่วนใหญ่ของเขาไว้ในตัวที่เขาเลือกได้ถูก เขาขาดทุนน้อยไปกับตัวที่เขาคิดผิด ในขณะที่ คนที่เลือกหุ้นถูก 6 ใน 10 ครั้งแต่มีนิสัยชอบซื้อเฉลี่ยขาลง เลยทำให้เงินส่วนใหญ่ของเขาจมอยู่ในหุ้น 4 ตัวที่เลือกผิดเพราะราคาหุ้นเหล่านั้นร่วงลงไปเรื่อยๆ เป็นต้น จะเห็นได้ว่า นิสัยในการลงทุนก็มีอิทธิพลต่อผลตอบแทนของเรามาก ที่สำคัญ "นิสัยการลงทุน" เป็นเรื่องที่ฝึกฝนได้และมีความแน่นอนมากกว่า คนที่มีนิสัยการลงทุนที่ดีจะเอาตัวรอดจากการขาดทุนใหญ่ๆ ได้ทุกครั้ง ต่างกับคนที่มีนิสัยการลงทุนที่ไม่ดี (ตัวอย่างนิสัยการลงทุนที่ไม่ดีก็เช่น chasing stock price, ชอบซื้อเฉลี่ยขาลง, ทุ่มสุดตัวกับหุ้นตัวเดียว, ขายหมูเร็วบ่อยๆ  เป็นต้น) คนที่ประสบความสำเร็จในการลงทุนส่วนใหญ่มักเป็นคนที่มีนิสัยการลงทุนที่ดีมากกว่าที่จะเป็นคนเลือกหุ้นได้ถูกต้อง พวกเขาเหล่านี้ค่อยๆ บ่มเพาะนิสัยการลงทุนที่ดีของตัวเองขึ้นมาด้วยประสบการณ์และการนำข้อผิดพลาดในอดีตของตัวเองมาปรับปรุงนิสัยอยู่เสมอ

ถ้าเราเชื่อว่า Stock Selection is Everything เราก็จะเลิกนิสัยวิ่งตามเซียนของเราเสียได้ ผมเคยเห็นคนมากมายที่อุทิศชีวิตให้กับการสืบว่าเซียนซื้อหุ้นอะไรอยู่ พวกเขาใช้ความพยายามสูงมาก แต่ผมก็ยังไม่เคยเห็นคนเหล่านั้นประสบความสำเร็จเลย พวกเขาอาจได้กำไรในบางครั้ง แต่รวมๆ แล้วมักไม่ประสบความสำเร็จทั้งที่เขาซื้อหุ้นตัวเดียวกันกับเซียนทุกตัว ผมสังเกตว่าคนที่ประสบความสำเร็จในการลงทุนมีแนวคิดที่ต่างกันหลายแบบแต่ "ทุกคน" กลับมีลักษณะที่เหมือนกันอยู่อย่างหนึ่งคือ เป็นคนที่มีความคิดเป็นของตัวเอง พวกเขาชอบเลือกหุ้นด้วยตัวเองไม่ลอกเลียนแบบใครทั้งนั้น ส่วนใหญ่พวกเขาก็เลือกหุ้นผิดบ้างถูกบ้างเหมือนๆ กับเรานั่นแหละ แต่ "นิสัยการลงทุน" ของเขาต่างหากที่ดีกว่าเราพวกเขาจึงประสบความสำเร็จ ผมชอบคำพูดของ Ken Heebner ที่บอกว่า "ผมไม่ได้ประสบความสำเร็จเพราะคิดถูกบ่อยกว่าคนอื่น แต่จุดแข็งของผมอยู่ที่ ผมสามารถยอมรับความผิดพลาดของตัวเองได้อย่างรวดเร็ว และไม่เคยถล่ำลึกลงไปในความผิดนั้น" ไม่มีใครที่เลือกหุ้นได้ถูกตลอดเวลา เขาประสบความสำเร็จโดยอาศัยการมีนิสัยการลงทุนที่ดี

ถ้าคุณพยายามเลือกหุ้นเองให้ดีที่สุด และลงทุนในหุ้นหลายตัว ผมรับรองว่า ความไม่แน่นอนของหุ้นจะช่วยทำให้ผลงานการเลือกหุ้นของคุณไม่แตกต่างไปจากของกูรูหุ้นมากนักแน่นอนครับ เลือกหุ้นเองดีกว่าครับ สิ่งที่สำคัญมากกว่าการเลือกหุ้นคือ นิสัยการลงทุนของตัวคุณเอง
ภาพประจำตัวสมาชิก
sathaporne
Verified User
โพสต์: 1657
ผู้ติดตาม: 0

Stock Selection is not Everything./นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์

โพสต์ที่ 2

โพสต์

มีใครช่วยขยายความหน่อยได้ไหมครับ
ผมไม่เข้าใจว่าซื้อเฉลี่ยขาลงมันไม่ดียังไงเหรอครับ
ถ้าเรามองว่า (เข้าใจไปเองว่า) ธุรกิจของเรามันยังดีอยู่แต่ราคามันลงไปเอง
และเมื่อเราไม่เห็นว่าหุ้นตัวอื่นให้ผลตอบแทนดีกว่านี้แล้ว
มันก็น่าจะเป็นโอกาสในการซื้อเพิ่มไม่ใช่เหรอครับ
หรือว่าเราต้องเลือกหาหุ้นแล้วตัดสินใจซื้อทีเดียวเลย แล้วไม่ยุ่งกับมันอีกเลย (ซื้อเพิ่ม)
มันจะเสียโอกาสไหมครับที่เราจะได้ซื้อเพิ่มในราคาที่ถูกลง
ผมเข้าใจดีครับว่าถ้าราคามันลงเนื่องจากว่าตัวธุรกิจมันแย่ลงโดยราคาของหุ้นลงนำไปก่อน
การซื้อในราคาที่ลดลงตอนนี้ก็อาจจะไม่มีโอกาสได้เห็นมันกลับขึ้นมาอีกเลยและก็ทำให้ขาดทุนได้
แต่ใครจะรู้ล่ะครับว่ามันลงเพราะพื้นฐานตัวธุรกิจมันแย่จริงๆและเราก็วิเคราะห์ผิดว่ามันยังดีอยู่
หรือมันลงเนื่องจากเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวกับพื้นฐานของตัวธุรกิจ และเราก็วิเคราะห์ถูก
นั่นแปลว่าเราควรจะอยู่เฉยๆไม่ลงทุนเพิ่มเหรอครับ
แต่ผมว่าไม่น่าจะใช่นะ เราก็น่าจะลองลงทุนเพิ่มตามที่เราได้วิเคราะห์ไปแล้ว
แต่แน่นอนมันก็อาจมีความเสี่ยงว่าเราอาจจะวิเคราะห์ผิด แต่ถ้าเราไม่ได้ทุ่มในหุ้นตัวเดียวก็น่าจะลดความเสียงได้
หรือผมเข้าใจอะไรผิดไปครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3227
ผู้ติดตาม: 4

Stock Selection is not Everything./นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ตอบคุณ sathaporne นะครับ

สำหรับผม การซื้อเฉลี่ยขาลงสำหรับผมมันเป็นแบบนี้...

จะเป็นการเข้าลงทุนตอนที่ธุรกิจยังดีอยู่ ผ่านไปสักระยะ เกิดเหตุการณ์อะไรบางอย่างขึ้น และเรานั่งคิดไปคิดมาว่ามันกระทบกับพื้นฐานขนาดไหน

แล้วก็ดำริออกมาได้ว่า มันกระทบธุรกิจของเรา แต่คงไม่กระทบมาก (มั้ง) ก็เลยถือต่อ ในขณะที่คนอื่นเริ่มขาย...

พอมันลงไปสักพัก เราก็เริ่มกลัวเพราะเห็นราคามันลง แต่ก็มาวิเคราะห์อีกรอบว่า มันกระทบจริงๆ รึเปล่า... นั่งประเมินมูลค่าออกมา เห็นว่ามูลค่าในระยะยาวก็ลดลงไปไม่มากเท่าไหร่นี่นา ราคาตอนนี้ undervalue สุดยอดจริงๆ ขายรถขายบ้านมาซื้อหุ้นดีกว่า (แหะๆ) แล้วก็เริ่มซื้อเฉลี่ย

จนกระทั่งลงไปเรื่อยๆ เฉลี่ยไปเรื่อยๆ... งบก็ออกมา... เฮ้ย... มันแย่กว่าที่คิดนี่หว่า... แล้วก็เริ่มจ๋อย... แล้วก็เริ่มเสียดายโอกาสที่ไม่ขายทิ้งไปซื้อตัวอื่น...

นั่งคิดไปคิดมา... แล้วก็รู้สึกเจ็บๆ คันๆ.... เพราะ ข่าวออกมามากขึ้นเรื่อยๆ แล้วก็รู้สึกว่ามันอาจเลวร้ายมากกว่าที่คิดนะ... (ขนาดนักเศรษฐศาสตร์ ยังประเมินกันไม่ถูกเลยมันจะเลวร้ายขนาดไหน)

นั่งคิดไปคิดมา... แล้วก็เริ่มถามตัวเองว่า... เราลงทุนผิดวิธีรึเปล่า?

พอถึงจุดนี้... บางคนก็อาจจะปิดจอ ไม่ดูมันอีกแล้ว

พอถึงจุดนี้... บางคนก็บอกว่าเราลงทุนผิด cut-loss แล้วเปลี่ยนวิธีลงทุน

พอถึงจุดนี้... บางคนอาจจะยังกดฟันสู้ต่อ อดทนต่อความหวาดกลัว แล้วพยายามบอกกับตัวเองว่ามูลค่าที่แท้จริงมันอยู่ตรงไหน ราคาตอนนี้เทียบเท่ากับผลตอบแทนเท่าไหร่


ผมไม่ทราบเหมือนกันนะครับว่าคุณ sathaporne เคยผ่านประสบการณ์มาแล้วหรือไม่ กับการซื้อเฉลี่ยขาลงของคุณ sathaporne...

แต่สำหรับผม... ผมคงจะไม่สามารถมองเห็นแต่ข้อดีกับการซื้อเฉลี่ยขาลงได้ เพราะว่าใจผมไม่แข็งพอ แม้ว่าข้อดีจากการซื้อเฉลี่ย คือ ถ้าเราคิดถูกเราจะได้ผมตอบแทนเพิ่มขึ้น แต่ถ้าเราคิดผิดล่ะ... และที่สำคัญมันมีผลกระทบต่อสภาพจิตใจของเรามากพอสมควรเลย

ตอนนี้ผมกำลังพยายามเอาชนะความหวาดกลัวของผม ด้วยการคิดทบทวนมูลค่าที่แท้จริงของกิจการอยู่ทุกๆ วัน และพยายามหาโอกาสการลงทุนที่ดีที่สุดอยู่เสมอ

ปล. จริงๆ แล้ว... การ cut-loss แต่เนิ่นๆ มันสบายใจกว่ากันเยอะ จนทำให้บางทีผมนั่งอิจฉานักเทคนิค หรือ VI ที่ตัดสินใจเร็ว... ไม่ต้องมานั่งหวาดกลัว หรือมานั่งน้ำลายไหลมองคนอื่นแบบนี้... แหะๆ  :lol:  :lol:
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3227
ผู้ติดตาม: 4

Stock Selection is not Everything./นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์

โพสต์ที่ 4

โพสต์

อ้อ... อีกอย่างครับ...

ขนาดของพอร์ต เมื่อเทียบกับ wealth โดยรวม ก็ยิ่งมีผลต่อสภาพจิตใจเหมือนกันนะครับ...

ถ้า wealth หลัก คือการลงทุน และไม่มีรายได้อื่น... การมานั่งดู mark-to-market loss เยอะๆ จากการเฉลี่ยขาลงนี่... มันสนุกยิ่งกว่าดูหนังสยองขวัญดีๆ สักเรื่องเลยครับ

:lol:  :lol:  :lol:
Tao_PK
Verified User
โพสต์: 146
ผู้ติดตาม: 0

Stock Selection is not Everything./นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์

โพสต์ที่ 5

โพสต์

โดยส่วนตัว ไม่ค่อยเห็นด้วยครับ โดยส่วนตัว ถ้าคิดว่าซื้อในราคาที่เหมาะสม แล้วราคาลดลงไปเยอะโดย พื้นฐานไม่เปลี่ยน แล้วสัดส่วนใหพอร์ตไม่มากเกินไปก็ซื้อจนครบตามสัดส่วนในพอร์ตที่วางไว้ เพราะสำหรับผมบ่อยครั้งที่ซื้อแล้วหุ้นลงต่อ แรกๆก้ตกใจcut loss ไป แต่เวลาผ่านไปถ้าเลือกหุ้นดีแล้ว ช่วยได้เยอะ งั้นถัวเฉลี่ยขาลง หรือซื้อเพิ่มขาขึ้น ขึ้นอยูสไตล์แต่ละคน ไม่มีสูตรตายตัวนะผมว่า ปรับให้เหมาะสมก็แล้วกัน เลือกหุ้นถูกตัวราคาเหมาะสมแล้วอย่างอื่นก็เป็นส่วนประกอบ
ภาพประจำตัวสมาชิก
กาวตราช้าง
Verified User
โพสต์: 179
ผู้ติดตาม: 0

Stock Selection is not Everything./นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์

โพสต์ที่ 6

โพสต์

[quote="picatos"]
ถ้า wealth หลัก คือการลงทุน และไม่มีรายได้อื่น... การมานั่งดู mark-to-market loss เยอะๆ จากการเฉลี่ยขาลงนี่... มันสนุกยิ่งกว่าดูหนังสยองขวัญดีๆ สักเรื่องเลยครับ
:lol:
out look
Verified User
โพสต์: 57
ผู้ติดตาม: 0

Stock Selection is not Everything./นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ส่วนตัวแล้วเวลาจะซื้อเฉลี่ยขาลง (ขึ้น) หรือไม่นั้น
จะคิดเสียว่าเราไม่ได้ถือหุ้นตัวนั้นมาก่อน แล้ววิเคราะห์พื้นฐานใหม่ เทียบกับราคาณ.ขณะนั้นว่าน่าสนใจหรือเปล่า

หากราคามันลง (ขึ้น) ไปมากๆเมื่อเทียบกับพื้นฐานแล้ว ยังน่าสนใจ ก็จะเก็บเพิ่ม แต่ถ้าแพงมากก็จะไม่เก็บเพิ่มครับ
เพราะใครจะรู้ว่า Mr.Market ประเมินมูลค่าหุ้นต่ำเกินไปหรือมากเกินไปเมื่อเทียบกับสิ่งที่บริษัทเป็นณ.เวลาใดเวลาหนึ่ง

ดังนั้นความน่าสนใจไม่ได้อยู่ที่การซื้อเฉลี่ยขาลงหรือขาขึ้น แต่เป็นราคาเมื่อเทียบกับมูลค่า เพราะท้ายที่สุดราคาจะเป็นสิ่งที่กำหนดผลตอบแทนเสมอ
ภาพประจำตัวสมาชิก
SunShine@Night
Verified User
โพสต์: 2196
ผู้ติดตาม: 0

Stock Selection is not Everything./นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ผมซื้อเฉลี่ยขาลงเป็นประจำครับ

เจ็บตัวมั้ง

ไม่เจ็บตัวมั้ง

อยู่ที่ว่ามองระยะยาวแค่ไหน :)
VI ฝึกหัด สำนักปีเตอร์ ลินช์

หวังผลต่อแทนทบต้นมากกว่า 15% ต่อปี :)
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11443
ผู้ติดตาม: 0

Stock Selection is not Everything./นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์

โพสต์ที่ 9

โพสต์

เลือกหุ้นได้ถูกต้อง
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
humdrum
Verified User
โพสต์: 1961
ผู้ติดตาม: 0

Stock Selection is not Everything./นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์

โพสต์ที่ 10

โพสต์

ผมเห็นด้วยกับท่านแม่ทัพ
  theme ของเรื่องอยู่ที่ "การบริโภคคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญอาจเป็นปัญหากับสุขภาพพอร์ตของท่าน"
   
    ผมไปเดินงานกะเสดแฟวันก่อน ในฐานะ merchant investor เพราะปีนี้จับฉลากกับเขาไม่ได้ ไปเดินหา non-equilibrium เดินไปพาพกสายตานักล้วงว่าถ้าเราเป็นพวกเขา เราจะล้วงใคร ที่ไหน ตรงไหนดี  นั่นเหยื่อผมมาแล้วครับ  

      reality--> มีผู้หญิงสัก 50 กว่า เดินนำผูกข้อมือเชือกจูงเด็กสัก 6-7 ขวบ เดินตาม เชือกยาว 1 ฟุต เดินไปไหนสายคล้องเห็นชัดว่าติดกัน เดินไปตามฝูงคน expectation ตามมาติด ๆ เชื่อกนี้ทำให้ผมนึกถึง options ที่ทำหน้าที่เป้น insurance ป้องกันความเสี่ยงในกรณีที่เกิด critical mass เพราะถ้าเป็น market events ในลักษณะเช่นนี้ มันหมายถึงเป็นโอกาสสำหรับ critical point มันสามารถเกิด variations ขึ้นได้ทั้งนั้น

     reality--> เดินไปสักพัก หายไปไหนฝูงที่ยังไม่เกิด mass  ผมเดินตามไปติด ๆ เห็นหัวอาร์ตตัวแม่หยิกเดินไปอย่างช้า ๆตาม กระแสฝูงชน ตัวลูกไม่เห้นแล้ว แต่ expectation บอกว่า--->แม่ไปด้วย ลูกก็ติดไปด้วย ผมเริ่ม predict  ว่าควรจะเป็นอย่างนั้น เพราะเชือกดันไปมี function ที่เรียกว่า correlation ที่ผมใช้ predict เชื่อมโยงเหตุการณ์ทีเกิดขึ้นในอดีตกับอนาคต  ผมคิดในใจเห้นแม่กับลุกเดินตรงนั้น ตอนนี้ไม่เห็นลุก เห้นแต่แม่ ถ้าเดินไปที่โล่งๆสักหน่อยก็จะเห็นลูกเดินอยู่เอง ผมคำนวณเสร็จสรรพ

       reality--> แม่เดินไปหยุดหน้าร้านบะหมี่ซีอ่าง คนขายเอามือหยิบบะหมี่ใส่จาน expectation--->  น่ากินชมัด คนมุงดูเพราะ social validation กับ scarcity กฎสองข้อในตลาดหุ้นมีให้เห้นบ่อย ๆ แต่พ่อค้าอย่างผมเห็นทุกงาน events จนชินตา มันคือ outdoor website ดีๆ นี่เอง ถ้าเป้น indoor  บางที่มีให้เงินถุงก่อนแล้วค่อยจับเหยื่อ อย่างนี้เรียก reciprocation เอา commitment มาหลอก ผสม social validation เติม liking ในตัวบุคลเข้าไปหน่อย บางคนใช้ authority กล่อมเข้าไปอีก ในที่สุดคนที่เคยต่าง ก็คืดเหมือน  indoor website ที่ว่า เกิด efficient market ขนาดย่อม ๆ อย่างนี้ก็เกิด corelaton function กลายเป็นเชือกดีๆ เส้นหนึ่ง เหมือนแม่ดึงเด็กไปทางไหน เด็กก้ไปทางนั้น
 
     แต่ outdoor website อย่างร้านบะหมี่ คนมุงสักพัก ไม่มุงสักพัก สลับกันไป คนขายมีเชือกมาดึงให้ตลาดมันเป็น inefficient ได้ไม่นาน แต่พอนานหน่อยๆ ขายไม่ทัน คนที่คอยนานข้างหลัง มีเวลาคิดขึ้นอีกหน่อย พอคิดได้ว่ามันคือบะหมี่แห้งที้ใช้มือหยิบ กูรมายืนมุงทำไมฟะะ ไม่เห็นแปลกตรงไหน คิดได้แล้วก็เดินเดินจากไป กลายเป็น efficient market พอคนบางตา คนขาย ก็จับบะหมี่พันไปพันมา ท่าทางเหมือนกางฟูวัดเส้าหลิน คนที่ผ่านมาหน้าใหม่ก็มุงดูเช่นเดิม กลายเป้น inefficient อีกครั้ง

       เห็น uncertainty อย่างนี้มาจนชินตา พอสรุปไว้เป้นวิชาติดตัวได้ว่า กลุ่ม Indoor  (รวมถึงเครือค่าย MLM ) จัดไว้เป้นกลุ่มวิชา fundamental เป็นแกนหลัก ตลาดจะต้องเป็น efficient เพื่อใช้อดีต correlate อนาคต  เวลาเป้น inefficient  อนาคตมองยาก  ข้ามไปอีกฝากเป็นกลุ่ม outdoor เป้น nothing fundamental  (รวมถึงกลุ่ม Technical ) ตลาดจะต้องเป็น inefficient  เพื่อใช้ข้อมูลจากอดีตเพื่อทำนายอนาคต แต่ถ้าเป้น efficient อนาคตเป็นเรื่องของ God ล้วน ๆ

      Hey!  God doesn't play dice.

      EXperts doesn't play dice, either!
      They play with you!  

     :lol:  55555555
ภาพประจำตัวสมาชิก
sai
Verified User
โพสต์: 4090
ผู้ติดตาม: 2

Stock Selection is not Everything./นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์

โพสต์ที่ 11

โพสต์

[quote="chatchai"]เลือกหุ้นได้ถูกต้อง
Small Details Make a Big Difference
ภาพประจำตัวสมาชิก
Paul VI
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 10538
ผู้ติดตาม: 0

Stock Selection is not Everything./นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์

โพสต์ที่ 12

โพสต์

[quote=".^O-O^"]ผมเห็นด้วยกับท่านแม่ทัพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
naris
Verified User
โพสต์: 6726
ผู้ติดตาม: 0

Stock Selection is not Everything./นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์

โพสต์ที่ 13

โพสต์

บ้านหลังเดียวกัน มองกันคนละด้าน

ความเห็นของผม ถูกทุกคน เพราะท่านอยู่ฝั่งไหน ก็ถูกในฝั่งของท่าน แต่การจะไปตัดสินว่าคนอื่นผิดนี่คงจะไม่เหมาะสมสักเท่าไหร่ และต้องกลับมาถามความสามารถของเราว่า เราสามารถมองอะไรได้ชัดเจนมากขนาดไหน มองบริษัทและธุรกิจของเรา เหมือนอยู่ในซานติก้าตอนไฟใหม้หรือเปล่า(อีกฟุตเดียวอยู่หน้าประตูก็ยังตายได้)

ถ้าสมมุติ เรารู้จักธุรกิจเราดีมากพอ และรู้ว่าระยะยาวปัจจัยพื้นฐานไม่เปลี่ยน เราควรซื้อเฉลี่ยไปเรื่อยๆเท่าที่เราอยากจะลงทุน(แต่ต้องไม่เคลียดนะ) แต่ถ้าเราไม่รู้จริง การซื้อเฉลี่ยอาจจะทำให้เราขาดทุนในระยะยาวได้

สรุปความเหมาะสมในการซื้อเฉลี่ยขึ้นอยู่กับ นิสัยการลงทุน+ความต้องการผลตอบแทน+ความสามารถของตัวเรา+สายป่านที่เรามี=ผลตอบแทนที่ดีหรือไม่ดีในระยะยาว
ราคาระยะสั้นตามข่าว--ราคาระยะยาวตามผลกำไร
ภาพประจำตัวสมาชิก
สามัญชน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 5162
ผู้ติดตาม: 0

Stock Selection is not Everything./นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์

โพสต์ที่ 14

โพสต์

อ่านรอบแรกแล้วไม่เห็นด้วย

บอกว่า การเลือกหุ้นไม่สำคัญ

ผมไม่เห็นด้วยเด็ดขาด  
เพราะการเลือกหุ้นนี่แหละสำคัญสุดๆ
อาจจะไม่สำคัญเต็มร้อยเปอร์เซนต์
แต่อย่างน้อยๆก็สำคัญไม่ต่ำกว่า 80%

ที่เหลือที่สำคัญเช่นเดียวกันก็เช่น

1. จิตใจของนักลงทุน รวมถึงอุปนิสัยใจคอและการควบคุมอารมณ์ ว่ากันว่า EQ  ก็สำคัญไม่น้อยกว่า IQ เท่าไหร่  

2. จังหวะเวลา  ก็สำคัญ เพียงแต่เรื่องนี้ยากที่จะบอกได้ชัดว่าจังหวะไหนเหมาะสุดๆ ซื้อราคาไหนจึงจะต่ำที่สุด

ดังนั้น

stock selection is nothing

จึงไม่เห็นด้วยอย่างแรง

แต่พอมาอ่านรอบสอง
อ้าว.........
เขาไม่ได้บอกว่า stock selection is nothing

แต่เขาบอกว่า Stock Selection is not Everything.
ผมก็เกือบหน้าแตกหมอไม่รับเย็บ ฮ่า ๆ ๆ

กฎทุกกฎ  ทฤษฎีทุกทฤษฎีย่อมมีข้อยกเว้นอยู่แล้ว
เพราะไม่มีอะไรร้อยเปอร์เซนต์ใน medicine  
อย่าว่าแต่ตลาดหุ้นเลย :lol:
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
...
Verified User
โพสต์: 1817
ผู้ติดตาม: 0

Stock Selection is not Everything./นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์

โพสต์ที่ 15

โพสต์

.^O-O^ เขียน:theme ของเรื่องอยู่ที่ "การบริโภคคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญอาจเป็นปัญหากับสุขภาพพอร์ตของท่าน"
เห็นด้วยครับ

เรื่อง วินัย หรือ Money Management เป็นประเด็นเสริมที่ชี้ให้เห็นว่าการเลือกหุ้นให้ถูกเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถทำให้คุณประสบความสำเร็จได้
แมงเม่าบินเข้ากลางใจ
setmaker
Verified User
โพสต์: 215
ผู้ติดตาม: 0

Stock Selection is not Everything./นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์

โพสต์ที่ 16

โพสต์

สิ่งที่ผมไม่เข้าใจในลักษณะการลงทุน แบบซื้อ แล้วก็ต้อง "อดทน" นั้นก็คือ ทำไมเราต้อง "ทนเจ็บ" ด้วย

ที่พูดไม่ได้หมายถึงให้มีพฤติกรรม ในลักษระเข้าเร็วออกเร็ว แบบนักพนันในตลาดทั่วไป

แต่นี่มันวิกฤติ ที่เกิดขึ้นเด่นชัด ซึ่งทุกคนก็รู้ว่าโลกกำลังเจอกับวิกฤติเศรษฐกิจครั้งยิ่งใหญ่

ในเมื่อเราเห็นอยู่แล้ว ว่า ฟ้ากำลังจะผ่าลงมากลางเรือ หากฝืนวิ่งต่อไป
ทำไมเรา ไม่กระโดด ออกมาก่อน โดยแลกกับการยอมเสียค่า คอมมิชชั่น เพียงเล็กน้อย ดีกว่ารอให้เกิด book loss ถึง -50% หรือมากกว่า
แล้วมาทึกทักเอาว่า มันสมเหตุสมผล ที่เราได้อดทนมาถึงเพียงนี้

ในภาวะตลาดหมี ที่เด่นชัดแบบนี้ มันคุ้ม มากที่จะเสี่ยง
               เพราะว่า............................
หากว่าเราคิดผิด ทันทีที่เรา stop loss แล้วระบบเศรษฐกิจเกิดพลิกฟื้นขึ้น ทันที ทุกอย่างกำลังกลับมา
เราก็แค่ ซื้อหุ้นของเราเข้าไปใหม่ ขาดทุนแค่ค่าคอมมิชชั่น เท่านั้น

ไม่มีใคร มากีดกัน ไม่ให้เรากลับเข้าตลาด ไปใหม่อีกรอบ
.............................................ไม่เห็นมี

แต่หากเราคิดถูก เราจะเป็นผู้กำเงินสด
และมีสิทธิ์ได้ เก็บหุ้นในราคาต่ำๆ
ซึ่งจะให้ผลตอบแทนจะน่าประทับใจมาก

===========
ขออภัยที่คิดแตกต่าง ครับ  :D
ภาพประจำตัวสมาชิก
dome@perth
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4740
ผู้ติดตาม: 0

Stock Selection is not Everything./นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์

โพสต์ที่ 17

โพสต์

เข้ามาอ่าน แต่ยังไม่บังอาจออกความเห็น :D  ได้มุมมองเยอะเลย
"ไม่มีสุตรสำเร็จ ไม่มีทางลัด ไม่ใช่แค่โชค
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง
"
humdrum
Verified User
โพสต์: 1961
ผู้ติดตาม: 0

Stock Selection is not Everything./นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์

โพสต์ที่ 18

โพสต์

มาตอบท่านพอลครับ

     ระหว่างที่อ่านกระทู้นี้ ผมกำลังอ่านประวัติเจม ดีน ตรงวันเกิดในวันนี้พอดี และพึ่งทราบว่าถ้าไม่มีเจม ดีน ก็คงไม่มีวง The Beatles เกิดขึ้น  มองไปอีกเล่มที่มือซ้าย  ประวัติ Albert Einstein  อ้า....ขณะที่ลูกคนเล็กกำลังปีนขึ้นหัวไหล่ซ้าย คนโตกำลังดึงขาขวา ตาผมกำลังอ่านประโยคที่เขาพูดไว้ว่า..
 
  "Make everything as simple as possible, but not simpler."
 
   ผมอ่านคำถามท่านพอลอีกครั้ง...                                                      
 
   ในใจนึกตอบไปว่า...
   
    What is wanted is not the will to believe, but the will to find out
                            which is the exact opposite
   
   เรื่องที่ท่านสุมาอี้เขียนเป็น expectation ที่ถูกสะท้อนมาจาก reality
           
          ?  ---------->  expectation

      แต่ reality ของท่านสุมาอี้เป้นอย่างไร ต้องรอให้ท่านมาตอบเอง

   แต่ตอนนี้ reality ขึ้นอยู่กับคนอ่าน แต่ไม่ได้หมายถึงว่า expectation ถูกสะท้อนกลับกลายเป็น reality เสียเอง ที่เราอ่านเป็นแค่เพียง expectation หนึ่งเท่านั้น  และสามารถเป้นได้ทั้ง real/false expectation  
                             
เหมือนกับที่ผมมี expectation ที่ว่า...

   value investing (Theory of price)  
   
                                        reflex
                fundamental  ----------------->  price

  แต่ fundamental ที่ว่าต้องมาจาก efficient market ที่คิดเหมือน ไม่ใช่คิดต่าง  ถึงทำให้เกิด expected value ได้

  หรือเรื่อง margin of safety ที่ผมไปอ่านประวัติ Pascal แล้วมี expectation ไว้ว่า....

PASCAL's RULE :  PROBABILITY ( so called MARGIN OF SAFETY)      
                                   God does exist                  God does not exist  

Proability (p)                        p                                      1 - p
Believe                             Saved                              Inconvenience
Don't believe                  Damned                             Normal life


Expected value of believe  = p (the value of being saved) + (1-p)(the cost of inconvenience)

Expected value of not believing =  p (the cost of being damned) + (1-p) (the value of living a normal life)

   เรื่องนี้ นอกจาก expected value แล้วยังมี expected utility เข้ามาเกี่ยวข้องอยู่ด้วย

   expected utility นี้อยู๋ในตัวเราทุกคน  เพราะมนุษย์มีแนวโน้มที่จะตัดสินใจตามคำแนะนำของกูรู เรามีนิสัยที่จะหาที่ยึด ความเชื่อ ในบางสิ่ง เราหาที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ  เวลาเจอ guru เรามักมีแนวโน้มเชื่อจาก  " ใจ มากกว่าเชื่อจาก สมอง  wishing thinking อยู่ในตัวเราทุกคน

      เคยผ่าน ราชประสงค์ คนยกมือไหว้ พระพรหม เพราะคนเชื่อเป็นสิ่งศักสิทธิ์  วันหนึ่ง  ผ่านประตูน้ำ  ถ้าคน ยกมือไหว้ตึกใบหยก  ที่นั่นก็สิ่ง ศักสิทธิ์ เหมือนกัน 555555   การเล่นหุ้น เราซื้อเพราะเรามี  "ความเชื่อ  ว่าวิธีที่เราซื้อมัน ศักสิทธิ์     ถ้ามัน  ศักสิทธิ์ แล้ว ทุกอย่างกลายเป็น fundamental ของคนคนนั้น   คนไหว้เพราะความเชื่อ หุ้นขึ้นก็เพราะความเชื่อ

      Value investing กลายเป็น fundamental
       Technical ก้เป้น   fundamental            
        FUND FLOW
       REFLEXIVITY  
       BEHAVIOR
       เป้น   fundamental กันหมด
     ถ้าเชื่อแล้ว "ต้นมะขาม"   ก็กลายเป็น fundamental  ของคนคนนั้น

 ----------------        
 
        Soros เข้าใจเรื่องนี้ดี

   ลองดูผังที่ผมได้จากการอ่านประวัติ Soros เรื่อง REFLEXIVITY

                                           reflex    
    fundamental<----->bias <--------->judgement <--------->price
                                                                /\
                                                               /  \
                                                  reality <----->  expectation
                                                         divergence
                                                                |
                                                                |
                                                            F L A W  
                                                            /   |    \
                                                           /    |     \
                                                  WHAT  HOW   WHEN

                                                         \      |      /
                                                          \     |     /
                                                           \    |    /
                                                            \   |   /
                                                             \  |  /
                                                              \ | /
                                                               \|/
                                                         DECODING  
                                                               /\
                                                              /  \
                                                      BOOM    BUST

   
     Expert does't play stocks.
    They play with those who play stocks

    คนขายบะหมี่ ไม่ได้ขายบะหมี่
    เขาเล่นกับคนดูที่มาซื้อบะหมี่

   
-----------------------------

    ลองอ่าน "มวลวิกฤต"  ของอาจารย์ ประภาส ดูครับ ยาวหน่อย แต่อ่านสนุกครับ และได้มุมมองเกี่ยวกับ expert  ขึ้นเยอะเลย

   Expert เป็นแค่ส่วนหนึ่งเล็กของตลาดเท่านั้นเอง นอกจากเสียว่าเขากำหนดตลาดให้เป้น efficient market ได้ เมื่อนั้นละครับ เตรียมเห้นงาน Expo ได้เลย 55555

     ลักษณะของงาน Expo อย่างหนึ่งคือเรื่องของ มวลวิกฤต เรี่องนี้เป้นงานของ Max Planck บิดาของทฤษฎีควอนตัม ฟิสิกส์ ครับ
     
     สถานการณ์บ้านเมืองในขณะนี้ทำให้ผมนึกถึงคำคำหนึ่งขึ้นมา ผมเคยเขียนถึงไว้ครั้งหนึ่งเมื่อต้นปีที่แล้ว มวลวิกฤตนะครับ ไม่ใช่ มวลชนวิกฤต

   เรื่องที่เขียนไว้เมื่อปีที่แล้วชื่อตอน  "ลิงกับข้าวโพดหวาน"  เป็นเรื่องเกี่ยว
กับการทดลองทางพฤติกรรมมวลชนของสัตว์สังคมว่า  อะไรทำให้เกิด หรือเมื่อไรจะเกิดกระแสการตัดสินใจไปในทางเดียวกันทั้งสังคม ผมตั้งชื่อเป็นไทยๆ คราวนั้นว่าทฤษฎีไม้กระดก เพราะนึกตามแล้วเห็นภาพเป็นไม้กระดกตามสนามเด็กเล่นทุกที  ศัพท์แสงทางวิชาการเรียกว่า มวลวิกฤต โดยแปลมาจากคำว่า Critical Mass คำคำนี้พบได้ทั้งวิชาเศรษฐศาสตร์และฟิสิกส์

  ขออนุญาตเล่าย่อๆ อีกครั้งสำหรับคนที่ยังไม่ได้อ่าน

   สี่สิบปีก่อน นักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งได้ไปที่เกาะโคชิมา ประเทศญี่ปุ่น ซึ่ง
เป็นเกาะที่มีลิงอาศัยอยู่จำนวนมากเพื่อหาข้อสนับสนุนทฤษฎีไม้กระดกที่ว่า
การทดลองเริ่มขึ้นโดยนักวิทยาศาสตร์นำเม็ดข้าวโพดหวานไปหว่านไว้บนพื้นทราย เจอของโปรดอย่างนี้ ฝูงลิงก็พากันมาเก็บเม็ดข้าวโพดกินกันอย่างเอร็ดอร่อย จุดน่าสนใจอยู่ตรงที่นักวิทยาศาสตร์จะหว่านเม็ดข้าวโพดไว้บริเวณที่มีทรายเท่านั้น เพื่อให้เม็ดข้าวโพดเปรอะเปื้อนทราย เวลาจะกินแต่ละที ลิงก็ต้องคอยเอามือปัดออก หรือไม่ก็ต้องคอยบ้วนทรายออก แล้วก็มีลิงอยู่ตัวหนึ่งอายุประมาณหนึ่งขวบที่ไม่ทำอย่างตัวอื่นเขา ทุกครั้งที่เจ้าลิงน้อยเก็บเม็ดข้าวโพดที่เปื้อนทรายได้ มันจะนำไปล้างน้ำที่ลำธารใกล้ๆ ก่อนแล้วจึงนำมากิน ไม่ต้องบ้วนไม่ต้องปัด

  นักวิทยาศาสตร์ยังคงจับตาดูพฤติกรรมของลิงทั้งฝูงต่อไปว่าจะมีลิงตัวไหนเอาอย่างบ้าง แล้วพวกเขาก็เริ่มเห็นพี่น้องและเพื่อนลิงตัวน้อยๆ บางตัวเริ่มทำตาม  ที่ลิงทั้งฝูงไม่ยอมเปลี่ยนพฤติกรรมมาทำอย่างเจ้าลิงน้อยนั้นนักวิทยาศาสตร์วิเคราะห์กันว่า อาจเป็นเพราะวิธีนี้มันก็ไม่ถึงกับเห็นได้ชัดว่าดีกว่าวิธี
เก่า นั่นคือถึงแม้จะไม่ต้องบ้วนไม่ต้องปัดทรายออกจากข้าวโพด แต่ก็ต้องเสียเวลาเดินไปยังลำธารอยู่ดี

    เวลาผ่านไปหลายเดือน

   มีลิงเพิ่มเพียงวันละตัวสองตัวเท่านั้นที่เปลี่ยนพฤติกรรมมาล้างข้าวโพด แล้วก็ไม่ใช่ว่าลิงทั้งฝูงจะไม่เห็นวิธีที่เจ้าลิงน้อยกับเพื่อนๆ ทำนะครับ เห็นครับ แต่ไม่ทำตาม

    การทดลองดำเนินไปอย่างนี้อยู่เป็นปี นักวิทยาศาสตร์ก็ยังคงเอาเม็ดข้าวโพดไปหว่านไว้บริเวณที่มีทรายทุกวันไม่มีขาด ฝูงลิงก็ยังคงมาเก็บข้าวโพดกินอย่างสม่ำเสมอ และถ้ามองด้วยสายตาก็สามารถแบ่งลิงออกเป็นสองกลุ่ม คือกลุ่มที่ล้างเม็ดข้าวโพด กับกลุ่มที่ไม่ล้าง แม้ปริมาณลิงที่ล้างข้าวโพดจะเพิ่มจำนวนขึ้นจนเริ่มใกล้เคียงกับพวกที่ไม่ล้าง แต่ลิงที่เหลือก็ยังสมัครใจที่จะกินข้าวโพดด้วยวิธีเดิมๆ

   แล้ววันหนึ่งเหตุการณ์ที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์ประหลาดใจก็เกิดขึ้น
มันเกิดขึ้นภายในวันเดียว โดยไม่รู้จะอธิบายด้วยตรรกะง่ายๆ อย่างไรดี เช้าวัน
นั้นมีลิงวัยรุ่นตัวหนึ่ง เปลี่ยนพฤติกรรมไปล้างเม็ดข้าวโพดอย่างเจ้าลิงน้อย
เข้า แล้วบ่ายวันนั้นลิงทั้งฝูงก็เปลี่ยนพฤติกรรมมาล้างเม็ดข้าวโพดกันหมด

  นักวิทยาศาสตร์สงสัยทันทีว่าเจ้าลิงตัวที่เปลี่ยนพฤติกรรมในเช้านั้น มันมีความสำคัญขนาดไหนกัน หลังจากที่ดูจากบันทึกและตรวจสอบอย่างละเอียดก็พบว่ามันก็เป็นแค่ลิงธรรมดาตัวหนึ่ง ไม่ได้เป็นจ่าฝูงหรือเป็นลิงที่แข็งแรงดุร้ายกว่าตัวอื่นอย่างใด (non-expert)

 แล้วทำไมฝูงลิงจึงเปลี่ยนพฤติกรรมไปหมด?

 เจ้าของทฤษฎีนี้มีคำอธิบายครับ ลองฟังเขาดู
เมื่อในสังคมเกิดภาวะมวลวิกฤต (Critical Mass) และเกิดจำนวนวิกฤต (Critical Number) ซึ่งไม่มีใครสามารถตอบได้ว่าเป็นจำนวนเท่าไรของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของ สังคม สังคมก็จะเริ่มยอมรับในพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง และก็จะเกิดการตัดสินใจปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปในกลุ่มที่เหลือทั้งหมด

  อย่างที่บอก ถ้าให้ผมนึกตามง่ายๆ ผมก็คงนึกถึงไม้กระดกที่เด็กๆ เขาเล่นกัน เวลาที่ฝั่งหนึ่งมีจำนวนเด็กมากกว่าจนมีน้ำหนักมากกว่าอีกฝั่ง ฝั่งที่น้อยกว่านอกจากจะกระดกลอยสูงแล้ว บางครั้งเราก็อาจจะเห็นเด็กฝั่งที่น้อยไหลมาสู่ฝั่งที่มาก จนกลายเป็นมาอยู่ฝั่งเดียวกันได้

   ผมว่าพวกเราก็คงจะเคยเจอสภาพเช่นนี้ เพื่อนฝูงหกเจ็ดคนหาร้านอาหารจะไปกินกัน แรกๆ ก็ถกเถียงว่าร้านเจ๊อ้อยบ้าง ร้านอาโกบ้าง เถียงกันอยู่สักพักแล้วก็มีคน หนึ่งที่ไม่ได้คิดว่าจะไปกินร้านไหนเลยพูดขึ้นว่าไปกินเจ๊อ้อยดีกว่า จู่ๆ ทุกคน ก็กลายเป็นเปลี่ยนมาเทใจให้กับร้านเจ๊อ้อยกันหมด
แล้วผมก็ตั้งคำถามครับ น้ำหนักสุดท้ายที่ย้ายข้างนี่ ผมชักอยากรู้ว่ามันจำเป็น
ต้องหนักกว่าอีกข้างหนึ่งไหม


  ทฤษฎีนี้ตอบว่า  ไม่เกี่ยวกับการเอียงข้าง (ของ Expert---expert doesn't exist.)

   น่าสนใจนะครับประโยคนี้

   เขาเน้นไปที่จำนวนหนึ่งที่วิกฤต และไม่มีใครบอกได้ว่าเป็นสัดส่วนเท่าไรของสมาชิกทั้งหมด ไม่จำเป็นต้องมากกว่าครึ่งด้วย  จำนวนนี้นั่นแหละที่เขาเรียกกันว่า มวลวิกฤต  ( ใครอยากเป้น expert จะต้องพยายามสร้างจุด EXPO  ขึ้นมา 55555  )

   มีหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ Critical Mass : how one thing leads another ที่เขียนโดย ฟิลิป บอล (ขออนุญาตแปลว่า มวลวิกฤต วิถีที่แห่งการกระดก) ในเนื้อหาของหนังสือเล่มนี้พี่ฟิลิปแกสามารถอธิบายพฤติกรรมของการเลือกตั้งที่ชนะถล่มทลายได้ว่ามาจากอะไร พี่แกให้ความเห็นว่าลักษณะของการเลือกและการตัดสินใจลงคะแนนเสียงให้พรรคใดและใครนั้นไม่ได้มาจากเหตุผลอย่างเดียว เพราะถึงจุดหนึ่งเวลาที่ใกล้วันเลือกตั้ง คนจะหยุดคิด หยุดวิเคราะห์ แต่จะดูกระแสคนหมู่มากว่าจะไปทางไหนแล้วก็กระโจนตามกันไป ซึ่งเขาจะเรียกว่า มวลวิกฤต หรือ Critical Mass ที่น่าสนุกก็คือคุณพี่ฟิลิป แกใช้ทฤษฎีควอนตัมอธิบายได้อย่างชัดเจนและเป็นวิทยาศาสตร์

  นักเรียนที่เรียนเรื่องปฏิกิริยานิวเคลียร์ก็คงเห็นคำว่า มวลวิกฤต อยู่บ่อยๆ
อธิบายด้วยภาษาที่ง่ายที่สุดสำหรับคนที่ไม่รู้เรื่องนี้ก็คือ เชื้อเพลิงพวก
ยูเรเนียมจะถูกผ่านกระบวนการทำให้เข้มข้นอย่างมาก และจะถูกเก็บไว้ภายใต้สภาวะมวลใต้วิกฤต นั่นคือยังไม่วิกฤต แต่ใกล้มาก
และตรงตำแหน่งที่มันพร้อมจะแตกตัวแล้วส่งผ่านพลังงานอันมหาศาลออกมาเป็นระเบิดเป็นไฟฟ้า เป็นความร้อน ตำแหน่งนั้นแหละครับคือตำแหน่งเดียวกับที่ลิงทั้งฝูงเปลี่ยนวิธีกินข้าวโพด ตรงนั้นแหละครับ ตำแหน่งของมวลวิกฤต


  สมัยสงครามโลกครั้งที่สองก็มีการใช้คำพูดกันว่า ได้เกิดมวลวิกฤตของการย้ายถิ่นของนักวิทยาศาสตร์ นั่นคือนักวิจัยอัจฉริยะจำนวนมากมายนับพันคนพร้อมใจกันอพยพจากเยอรมนีและยุโรปไปอยู่ที่สหรัฐอเมริกา
ประเทศอินเดียก็เคยใช้กระบวนยุทธ์มวลวิกฤตเพื่อสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงด้านไอทีในประเทศของตน ซึ่งต้องยอมรับว่าเขาทำได้ผล เห็นผู้คนยากจนขนาดนั้น บางเมืองอย่างบังกาลอร์นี่ถือเป็นมหานครแห่งไอทีเลยนะครับ

   รัฐบาลเขาเน้น  การเชื่อมต่อ ระหว่างประชาชนกับอินเตอร์เน็ต โดยตั้งเป้าไว้ที่การเชื่อมต่อ 100 ล้านจุดภายในห้าปี และสำหรับคนที่ไม่มีปัญญาจะให้รัฐมาเชื่อมต่อที่บ้าน ก็สามารถที่จะเข้ามาเชื่อมต่ออย่างเป็นครั้งเป็นคราวได้ ตาม ไอทีจีฉ่อย หรือ IT Kiosks

   อินเดียเขาฝันจะพัฒนาประเทศให้เป็นมหาอำนาจทางไอทีของโลก (Global IT Superpower) ภายในห้าปีข้างหน้าให้ได้ เงี่ยหูฟังเขาบ้างก็ดีนะครับ ผมมองว่าทั้งเรื่องการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตเข้าบ้านและองค์กรให้มากที่สุด หรือ การสร้าง IT Kiosks ก็ดี ล้วนเป็นยุทธศาสตร์ที่จะเข้าถึงผู้คนตามทฤษฎี มวลวิกฤต นั่นคือเมื่อคนชั้นกลางของประเทศบริโภคไอทีเป็นอาหารหลักจนเป็นกระแสแล้ว ผู้คนทั้งประเทศก็จะเทใจเทชีวิตมาทางเดียวกันเอง

 ขอขอบคุณ www.geniuscreator.com

 -----------------------------------------------
Ent'
Verified User
โพสต์: 715
ผู้ติดตาม: 0

Stock Selection is not Everything./นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์

โพสต์ที่ 19

โพสต์

อ่านโพส ของคุณโหน่งแล้ว ชอบครับ อุตสาห์เขียนยาวๆ มาให้อ่านกัน ลุ่มลึกมาก ขอบคุณครับ


ที่ว่า Stock Selection is not everything  ผมเห็นด้วยนะครับ  อย่าง Quantum Fund ของ Soros ถึงแม้ว่า ในแต่ละปี อย่างเช่น ปี 2008 ที่แล้ว มีข่าวว่า เจ๊งหุ้น Lehman หรือหุ้นพวก สถาบันการเงินพวกนี้ แต่ปิดปีมาแล้ว Soros ยังเป็น fund manager ที่ได้ ผลตอบแทนที่อิงกับ performance ของกองทุนเป็นอันดับสอง ของ USA ปีที่แล้วเลย   Soros ก็ไม่ใช่้ Guru ที่ Long /Short แล้วถูกหมด แต่ว่า เวลาเค้า Win เค้า Win BIG  แต่เวลา Loss เค้า Limit Loss ได้

แต่อย่าง ที่พี่ Chatchai พูดก็ถูกอีกว่า Stock Selection จะพิสูจน์ว่า ถูกหรือผิด มันอยู่ที่ Time Frame ของแต่ละคน และอย่างที่พี่นริศว่า ว่ามันอยู่ที่พฤติกรรม และสายป่านของแต่ละคน ครับ

อย่างกรณีของ Buffett ก็ใช่ว่า เค้าจะไม่พลาดเลย แต่ด้วยคุณลักษณะเด่นของ Buffett ที่เค้ามี ทำให้เค้าเป็นผู้ชนะในระยะยาว อย่าง Berkshire Hathaway ตอนที่ Buffett ไปซื้อ ก็เป็นธุรกิจ Sunset ไปแล้ว แต่ Buffett เข้าไปแล้วเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจที่ทำมาเป็น holding company
ily
Verified User
โพสต์: 266
ผู้ติดตาม: 0

Stock Selection is not Everything./นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์

โพสต์ที่ 20

โพสต์

นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์ (สุมาอี้) จาก settrade blog
Sunday, 8 February 2009
0096: ซื้อเฉลี่ยขาลง???
&laquo; 0089 : Stock Selection is not Everything. | Main
เป็นธรรมชาติอยู่แล้วที่นักลงทุนจะชอบซื้อเฉลี่ยขาลง...

ถ้าซื้อหุ้น A ที่ราคา 10 บาท แล้ววันต่อมาหุ้นตกทันทีเหลือแค่ 9 บาท เราจะอยากซื้อเฉลี่ยขาลง เพราะเหมือนได้ซื้อของถูกกว่าเดิม ที่สำคัญ ต้นทุนเฉลี่ยของเราจะลดลงด้วยทำให้เราขาดทุนลดลงจาก 10% เหลือแค่ 5% แบบนี้ใครจะไม่อยากทำ

แต่เดี๋ยวก่อน โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี จริงอยู่ที่การซื้อเฉลี่ยขาลงทำให้เราขาดทุนน้อยลงเมื่อคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของต้นทุน แต่สิ่งที่เราต้องนำไปแลกคือ Risk Exposure ที่เพิ่มขึ้น พอร์ตของเรามี Exposure กับหุ้นตัวนั้น เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าตัว

ถ้าความซวยยังไม่หยุด หุ้น A ดันหล่นลงต่อไปเหลือแค่ 8 บาท คราวนี้เราจะมองเห็นได้ว่าเงินก้อนที่สองที่ใส่ลงไปไม่ได้ช่วยทำให้เงินก้อนแรกขาดทุนน้อยลงจริงอย่างที่เราคิด ตอนนี้กลายเป็นว่าเราขาดทุนทั้งเงินก้อนแรกและเงินก้อนที่สองด้วย แทนที่จะขาดทุนแค่ 2 บาทจากเงินก้อนแรกก้อนเดียวถ้าตัดใจไม่ซื้อเฉลี่ย ตอนนี้เรากลับต้องมาขาดทุนมากถึง 3 บาทแทน

เพราะฉะนั้น "การซื้อเฉลี่ยขาลงจึงเป็นการทำให้การขาดทุนเมื่อคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ลดลง แต่เมื่อคิดเป็นจำนวนเงินแล้วจะสูงขึ้น"

คนที่ชอบการซื้อเฉลี่ยขาลงมักจะแย้งว่า หุ้นดียิ่งตกเราต้องยิ่งซื้อ แต่พวกเขาลืมไปว่าตรรกนั้นจะเป็นจริงก็ต่อเมื่อ เราสามารถเลือกหุ้นได้ถูกต้องทุกครั้ง แต่อย่างที่บอกไปแล้วเมื่อครั้งก่อนว่าแม้แต่คนที่เก่งที่สุดยังเลือกหุ้นถูกแค่ 65% เท่านั้น การลงทุนและธุรกิจเป็นเรื่องที่มีความไม่แน่นอนสูงมาก การเลือกหุ้นทุกครั้งจึงต้องเผื่อใจเสมอว่า ตลาดอาจเป็นฝ่ายคิดถูกในขณะที่เราคิดผิดเองก็ได้ มีโอกาสเสมอที่หุ้นที่เราซื้อจะมีพื้นฐานที่แย่ลงเรื่อยๆ อย่าง"ถาวร" จึงไม่ควรเดิมพันกับหุ้นตัวใดตัวหนึ่งด้วยการซื้อเฉลี่ยขาลงแบบไร้ลิมิตเป็นอันขาด

ที่จริงแล้ว ถ้าคุณมั่นใจว่าราคาหุ้นที่คุณซื้อเป็นราคาที่ undervalued แน่ๆ สิ่งที่คุณควรทำมากกว่าการซื้อเฉลี่ยเมื่อหุ้นลงคือ การอยู่เฉยๆ เพราะถ้าหุ้นนั้น undervalued จริงๆ สุดท้ายมันจะต้องกลับขึ้นมาใหม่ได้ การซื้อเฉลี่ยขาลงกลับเป็นการเพิ่มความเสี่ยงที่คุณจะเสียหายหนักถ้าหากการวิเคราะห์ของคุณผิดพลาด บ่อยครั้งที่เราซื้อเฉลี่ยขาลงเพราะเราไม่ชอบที่คนอื่นสามารถซื้อหุ้นตัวนั้นได้ต่ำกว่าเรา (ก็เราเจอหุ้นเด็ดตัวนี้ก่อนพวกเขานี่หน่า) ทั้งที่ผลงานของคุณไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าผลงานของคนอื่นเป็นอย่างไรเลยสักนิด

ผมไม่ได้ถึงกลับบอกว่าห้ามซื้อเฉลี่ยขาลงเด็ดขาด แต่อยากให้เข้าใจว่าการซื้อเฉลี่ยขาลงไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาหุ้นตกได้อย่างที่คิด แต่เพิ่มโอกาสที่เราจะหมดตัวมากกว่า คุณอาจซื้อเฉลี่ยขาลงบ้างก็ได้ แต่ขอให้ set ลิมิตเอาไว้ทุกครั้งว่าเราสามารถขาดทุนกับหุ้นตัวเดียวได้มากที่สุดแค่ไหน ถ้าซื้อเกินลิมิตนี้แล้วหุ้นยังลงต่อไปอีก ต้องลดความต้องการที่จะเอาชนะลง ยอมรับความผิดพลาดครั้งนั้นเสีย และไม่ซื้อเฉลี่ยเพิ่มอีก คนที่ชอบซื้อเฉลี่ยขาลงส่วนหนึ่งมีความเชื่อว่าหุ้นที่ลงมากๆ แล้วสุดท้ายก็ต้องขึ้น แต่ในความเป็นจริง ไม่ได้มีกฏอย่างนั้นอยู่ในตลาดหุ้น

Don't buy into destitution!!

Charles G.Watts สอนก็นักลงทุนว่า อย่าซื้อเฉลี่ยขาลง เพราะแม้ว่า 4 ใน 5 ครั้งหุ้นมักจะกลับมาได้ก็จริง แต่ถ้าเราถือคติยิ่งตกยิ่งซื้อ กำไรทั้งหมดที่ได้มาในสี่ครั้งแรกรวมทั้งทุนของเราจะหายไปกับครั้งที่ 5 แค่เพียงครั้งเดียว คนที่ไม่เคยซื้อเฉลี่ยขาลงจะไม่มีวันหมดตัว
surachaichia
Verified User
โพสต์: 600
ผู้ติดตาม: 0

Stock Selection is not Everything./นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์

โพสต์ที่ 21

โพสต์

ily wrote:
ที่จริงแล้ว ถ้าคุณมั่นใจว่าราคาหุ้นที่คุณซื้อเป็นราคาที่ undervalued แน่ๆ สิ่งที่คุณควรทำมากกว่าการซื้อเฉลี่ยเมื่อหุ้นลงคือ การอยู่เฉยๆ เพราะถ้าหุ้นนั้น undervalued จริงๆ สุดท้ายมันจะต้องกลับขึ้นมาใหม่ได้ การซื้อเฉลี่ยขาลงกลับเป็นการเพิ่มความเสี่ยงที่คุณจะเสียหายหนักถ้าหากการวิเคราะห์ของคุณผิดพลาด บ่อยครั้งที่เราซื้อเฉลี่ยขาลงเพราะเราไม่ชอบที่คนอื่นสามารถซื้อหุ้นตัวนั้นได้ต่ำกว่าเรา (ก็เราเจอหุ้นเด็ดตัวนี้ก่อนพวกเขานี่หน่า) ทั้งที่ผลงานของคุณไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าผลงานของคนอื่นเป็นอย่างไรเลยสักนิด  

      agree, and agree................................ :o
ภาพประจำตัวสมาชิก
hongvalue
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2703
ผู้ติดตาม: 0

Stock Selection is not Everything./นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์

โพสต์ที่ 22

โพสต์

มีคำถามขอถามหน่อยนะครับ

[quote=".^O-O^"]
ภาพประจำตัวสมาชิก
hongvalue
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2703
ผู้ติดตาม: 0

Stock Selection is not Everything./นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์

โพสต์ที่ 23

โพสต์

[quote=".^O-O^"]
humdrum
Verified User
โพสต์: 1961
ผู้ติดตาม: 0

Stock Selection is not Everything./นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์

โพสต์ที่ 24

โพสต์

ตอบท่านฮงนะครับ

   ที่ไหนมีไทยมุง ม๊อบ สนามม้า สนามมวย พันธมิตร ปฎิวัตร ที่ไหนร้านไหนมีคนมุงเยอะ ผมไปหมด แต่เมื่อวานช่างกลตีกัน ไมได้ไป เพราะไม่รู้ แต่ถ้ารู้ก็จะไป  I am not young enough to know everthing แล้ว ยิ่ง focus ลงในเรื่องที่เราสนใจแล้ว ยิ่งแก่ยิ่งโง่ เพราะยิ่ง focus มากเท่าไร จะรูว่าตัวเองยิ่งไม่รู้   555555  
     
ผมชอบไปดูพฤติกรรมคน ชอบหาเหาใส่หัว 55555  ไม่มีอะไรเป้นพิเศษครับ จะว่าไป....ในกระทู้แต่ละอัน ก็มี critical mass ได้นะครับ   :wink:  

     ขอบคุณครับ

 ปล. ผมเป้นแฟนกระทู้ท่านฮงกับท่านแม่ทัพ ชอบมากครับ ไว้เจอหน้าจะขอลายเซ็นต์เลย เขาว่าคนเก่งต้องดูที่คำถาม ท่านนี่เก่งจริงครับ ข้าน้อยขอคำนับเลย
:bow:  :bow:  :bow:
 -----------------

   เออ...ผมเขียนไว้นานแล้วนะครับ  กลับมาอ่านก็สนุกดีครับ ไม่รู้ว่าตอบคำถามท่านได้แค่ไหน...

 **** ตัวละคร สถานที่ จำลอง ถ้าล่วงล้ำเกินความรู้สึกท่านใด ผมขอกราบอภัย ณ ที่นี่ด้วยครับ


บทที่๓    

 
  อากาศเดือนเมษาในเมืองไทยที่ร้อนจัดลอดผ่านประตูร้านที่มีคนพึ่งเปิดเข้ามา ขณะนั่งลงที่เก้าอั้ในร้าน บัฟเฟทหยิบ นิตยสาร  TIME MAGAZINE ฉบับเดือนตุลาคม 2548 สภาพใหม่เอี่ยม ที่เขาติดมาจากบ้านขึ้นมาอ่าน เขาพลิกไปปกใน หน้าที่ลงบทความเกี่ยวกับบริษัทไทยบริษัทหนึ่งที่เขาสนใจจะซื้อ บริษัทที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืนที่เกิดจากการนำเสนอบริการที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ --- บริษัท ออกแบบไร่นา (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งดำเนินการและพัฒนาธุรกิจกาแฟของไทย ภายใต้คำว่า "บ้านไร่กาแฟ

             Time Global Adviser
                               
  ธุรกิจ บ้านไร่กาแฟ เริ่มจากการใช้ตัวอาคาร ทรงสูงสง่า เป็นสื่อถึงสินค้าคุณภาพ ด้วยการนำแนวคิดด้าน                                                        
สถาปัตยกรรมไทยมาพัฒนาให้กลมกลืนกับสินค้าคือกาแฟไทยสดจากไร่ โดยมีลักษณะเป็นตัวอาคารไม้ทั้งหลังทรงสูงรูปจั่วสามเหลี่ยมไม้ ตัดมุมกันคาดทับด้วยขื่อ มองดูคล้ายจั่วของบ้านซึ่งสะท้อนความเป็นไทยและโลกตะวันออก นอกจากนี้ในส่วนของภายในอาคารกรุผนังด้วยไม้เนื้ออ่อนสีขาวอมเหลือง ประดับด้วยรูปภาพครอบครัว พี่น้อง นิทานเรื่องเล่าต่าง ๆ และใช้แสงไฟสีเหลืองออกส้ม ให้ความรู้สึกอบอุ่นของบ้าน ที่พร้อมจะต้อนรับลูกค้า ส่วนภายนอกได้ใช้ความคิดเชิงสถาปัตยกรรมออกแบบ ให้มีน้ำไหลเป็นทางผ่านผนังกระจกใสมองเห็นได้จากภายใน ภายนอกมีเฉลียงไม้พร้อมม้านั่งยาว ใต้ร่มประดู่กิ่งอ่อน ให้บรรยากาศร่มรื่น และพลับพลึงที่ปลูก อยู่รอบอาคาร ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นการตอบสนองสุนทรียภาพของคอกาแฟ

   ในส่วนของวัตถุดิบ ทางบริษัทฯ ผลิตกาแฟเครื่องดื่มซึ่งเป็นสินค้าหลักของ บ้านใร่กาแฟ ซึ่งเป็นผลผลิตที่มาจากไร่บนดอยสูงของภาคเหนือ  ตั้งแต่ จังหวัดเชียงใหม่ขึ้นไป มีความสูงกว่าระดับน้ำทะเล ๘๐๐ เมตร  เป็นกาแฟสดคุณภาพแห่งหนึ่งของโลก มาทำการคั่ว โดยใช้เวลาและอุณหภูมิที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดรสและกลิ่นที่แตกต่างกันไปโดยสูตรของบ้านไร่ ภายใต้ชื่อที่เป็นเอกลักษณ์ของไทย คือ บ้านไร่ บอรก เบลนด์,    บางกอก บอรก เบลนด์ ,  ไทยปักษ์ใต้ บอรก เบลนด์   กาแฟจะถูกบรรจุลงในถุงขนาด ๒๕๐ กรัม เพื่อให้ใช้หมดในเวลาอันสั้นและหมุนเวียนเปลี่ยนทุก ๑๕ วัน ทำให้สดหอมยิ่ง ซึ่งลูกค้าสามารถเลือกเพื่อนำเมล็ดกาแฟมาบดและชงแก้วต่อแก้ว พร้อมเสิร์ฟด้วยแก้วดินเผา จาก อ. หินกอง จ.สระบุรี ที่ผ่านการต้มเพื่อให้คุณสมบัติในการเก็บความร้อน ซึ่งจะส่งผลในการรักษารสชาติและความหอมของกาแฟได้ดียิ่งขึ้น


เห็นได้ว่าที่นี่ ล้วนเกิดมาจากผลงานของคนไทยทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็นแนวคิด ในด้านการออกแบบ การนำเสนอในเรื่องของตัวอาคาร และผลผลิตที่เป็นกาแฟคุณภาพของไทยทั้งหมด นี่คือสิ่งที่ผมชอบ ความเข้มแข็งเชิงธุรกิจที่อยู่ภายใต้ขอบเขตความสามารถที่ผมเข้าใจ  ความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืนที่เกิดจากการนำเสนอบริการที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ  และผมคิดว่ามันจะดำรงอยู่ต่อไป เป็นตัวอย่างที่สมบูรณ์แบบ มันสร้างกำไรที่เป็นเงินสดมหาศาล และต้องการเงินลงทุนในสินทรัพย์ถาวรที่น้อย  บัฟเฟทพูดขณะหันมองรอบๆร้านอย่างละเอียดถี่ถ้วน ละเมียดละไม    

TIME  ๒๕๔๘ (หน้าปก) ๔๘

  ใช่เลย ใช่ บัพเฟทจริงๆ นั่นไง เขาหันมามองข้า  นัยน์ตาของเขาจับต้องอยู่ที่ต้นคอของฉัน  เขาเห็นข้าแล้ว  ข้าไม่ได้เตรียมตัวจะมาเจอเขา.....เป็นการพบกันที่แสนประหลาด---ที่ร้านกาแฟเล็กๆกระจอกงอกง่อยนี้   รอสโซ๋ครุ่นคิดชั่วขณะหนึ่ง และแล้วด้วยความคึกคะนองมากกว่าความจำเป็นของสถานการณ์  เขาลุกขึ้นพรึบ หมุนตัว เดินตรงเข้าไปหาบัฟเฟท
ชักมือขวาออกยื่นไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว แล้วพูดด้วยน้ำเสียงสบายอกสบายใจว่า

 โชคดีอะไรอย่างนี้ มหาโชคจริงๆเลย!!!! อ้า...ขอบเขตแห่งความสามารถ  รอสโซ่เล่นลิ้นเลียนแบบเสียงบัฟเฟท ฟิสเชอร์สอนคุณซินะ ผมนับถือคุณจริงๆ คุณบัฟเฟท  ความมีวินัยที่ไม่เคยข้ามเส้นมาอยู่ในโลกแบบผม ผมจะบอกอะไรให้ สิ่งที่ผมชอบ การลงทุนในเวลาที่สั้นที่สุดแต่ให้ผลตอบแทนสูงสุด ร้านที่นี่อยู่ในช่วงขยายตัว ความสำเร็จคงชั่วครู่ชั่วคราว มันยังไม่ได้ผ่านช่วงเวลาของการทดสอบเลย อย่างช้าที่สุดก็ต้นปีหน้า วิกฤติทางการเงินรอบใหม่จะเกิดในเร็วๆนี้ คุณหยุดผมไม่ได้หรอก

 บัฟเฟทนั่งอ้าปากค้างชะงักงันอยู่สองหรือสามวินาที ไม่พูดไม่จา รอสโซ่ได้แต่ส่ายหน้า เถอะน่า แสดงน้ำใจนักกีฬากันหน่อย!

 ภายใต้สถาณการณืเช่นนี้ จิตวิทยาของการตัดสินใจที่ผิดพลาด ของชาลี มังเจอร์  แถบจูงใจบัฟเฟทไม่ได้เลย  อย่างไรก็ตามเขาลุกขึ้นอย่างสง่าผ่าเผย ยิ้มย่องและกล่าวอย่างเย็นชาว่า

    นี่คือ ดร. นิกร  เพื่อนผมและว่าที่  CEO คนใหม่ของ The Berkshire Hathaway  คุณนิกร นี่ มิสเตอร์ จอส รอสโซ่


ดร. นิกร ตลึงนะจังงัง นัยน์ตาเบิ่งกว้าง  อ้าปากค้างแบ่งใบหน้าคุณหมออวบอูมเป็นสองส่วนโดยที่ผิวหนังเป็นมันเลื่อมเต่งตึงเหมือนผิวเปลือกมังคุด รายล้อมด้วยเส้นผมหยักโศกแข็งๆและหนวดเคราสั้นๆ ดูขมเข้มหนุ่มกว่าอายุ 50 แท้จริงของเขามาก
 
ประสบการณ์โดยตรงของผมแบบนั้นทำให้เกิดความเข้าใจลึกซึ้งได้ก็เฉพาะจากการกระทำเท่านั้น สมมุติคุณเป็นงูเห่า คุณ โรซอส ผมไม่สามารถอธิบายกับงูเห่าได้หรอกกว่ารู้สึกอย่างไรเวลาบินบนท้องฟ้า วันเดียวบนท้องฟ้ามีความหมายมากกว่า 100 ปี ของการอธิบายเกี่ยวกับมัน และหนึ่งวันในการลงทุนแบบ Value Investor ก็มีค่าแบบเดียวกัน นั่นคือสิ่งที่แยกนกอินทรีอย่างผมออกจากงูเห่าอย่างคุณ   บัฟเฟทยิ้มเยาะในน้ำเสียงมีแววประชด


คุณคงไม่น้อยใจถือสาเรื่องเก่าๆของเราหรอกนะ อย่าให้เรื่องที่ว่ามาเป็นอุปสรรคระหว่างเรา โอ้ ไม่....ผมไม่รู้ไม่เกี่ยวเลย หนังสือพิมพ์ พวกนั้นเขียนด่าคุณเองทั้งนั้น คุณกำลังเข้าใจผมผิด ผมต่างหากที่เป็นฝ่ายน้อยใจ ผมเจ้งไปเยอะ ไม่มีใครปลอบใจผมเลย  โรซอสพูดแล้วเดินอ้อมไปนั่งลงที่โต๊ะอีกตัวถัดจากโต๊ะที่บัฟเฟทนั่ง ห่างจากประตูเพียง 2 ก้าวเท่านั้น

 บัฟเฟทจับตามองโรซอส ดูว่าเขามีสิทธิจะยกย่องความกล้าบ้าบิ่นนี้หรือไม่ แต่บัฟเฟทยังไม่แจ้งแก่ใจ ทว่าหลังจากนั้นครู่หนึ่ง บัฟเฟทก็ตะโกนดัง

  หนูบริกรจ๊ะ

  ขา บริกรขานรับ

วิสกี้โซดาสอง เบียร์สอง

รอสโซ่หันกวับไปมองบัฟเฟท

 ผมหมายถึง expresso 2 capuchino 2 เขายิ้มมุมปากเขอะเขินนิดหน่อยแต่ยังรักษาฟอร์มนักลงทุนเน้นคุณค่าหมายเลขหนึ่งของโลกไว้

สัญญาสันติภาพถูกเซ็นขึ้น จนกว่าจะมีคำสั่งใหม่ เรียกว่าการหยุดปะทะดาบประลองยุทธ์กันชั่วคราว ไม่ช้าทั้ง4คน ก็มานั่งโต๊ะตัวเดียวกัน แล้วพูดคุยกันเบาๆ

  บัฟเฟท เป็นชายชราหัวหงอกผมยุ่งเหมือนไม่มีเวลาหวีผม ท่าทางใจดี ใส่แว่นประเภทที่ใครๆก็พบเห็นได้ทุกเมื่อเชื่อวัน ในเมืองโอมาฮา รัฐเนบลาสก้า เขามีรูปลักษณ์ที่เป็นปรากฏการณ์ปรีชาญาณ หยั่งรู้เหนือมนุษย์ สังเกตสังกา เจ้าความคิด ใครจะเชื่อว่า  ธรรมชาตินึกสนุกด้วยการเอาแก่นแท้นักลงทุนพิเศษสุดๆ  3 คน ได้แก่ เบนจามิน เกรแฮม , ฟิลลิป ฟิสเชอร์ และ ชาลี มังเจอร์   มารวมกันสร้างขึ้น เป็นนักลงทุนอีกคนที่มีแบบฉบับเฉพาะพิเศษกว่าเดิม และเหนือยิ่งกว่าเดิมด้วยซ้ำ เขาเป็นผลพลวงจากวิวัฒนาการ การหล่อหลอมแก่นแท้ของปรจารย์ทั้งสาม  เข้ามาเป็นคัมภีร์วิชากลยุทธ์ Buffetology หนึ่งเดียวอันลึกล้ำ  

     บัฟเฟทอายุราว 75 ปี เกิดปีเดียวกันกับคู่ต่อสู้ที่ทรงความสามารถฉกาจฉรรจ์ของเขา แม่ของเขาตั้งท้อง ขณะช่วยปู่ของเขาขายของในร้านขายของชำ ในช่วงภาวะตลาดหุ้นตกต่ำในปี 1929 ซึ่งทำให้บริษัทจัดการการลงทุนของพ่อเขาเกือบล้มละลาย วอเร็นให้ความสนใจกับเรื่องเงินทองตั้งแต่เด็ก ไม่ต่างจากเด็กทั่วไปในยุคนั้น ที่เติบโตขึ้นมาในครอบครัวที่มีปัญหาด้านการเงิน อันเนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ  ของเล่นสุดโปรดคือ เครื่องแลกเงิน ซึ่งเขานำติดตัวไปเล่นทุกๆที่ แต่ที่เขาหลงใหลมากคือการคำนวณทางคณิตศาสตร์เกี่ยวกับ ดอกเบี้ยทบต้น สิ่งที่ไอสไตน์เปรียบเปรยว่าเป็น สิ่งมหรรศจรรย์ของโลกอันดับที่แปด

   เขาเรียนรู้อย่างรวดเร็วที่จะร้คุณค่าของเงิน 1 ดอลล์ และที่สำคัญคือคุณค่าของการทำให้เงิน 1 ดอลล์นั้นงอกงามออกดอกออกผล ตอนอายุ 6 ขวบ  เขาเริ่มต้นทำธุรกิจส่วนตัว โดยขายโค๊กในงานวัด    7 ขวบเป็นเด็กส่งหนังสือพิมพ์ Washington Post  ตอน 8 ขวบ เดิน 10 กิโลไปสนามแข่งม้า ใช้เวลาเป็นชั่วโมงปัดกวาดพื้นที่ปกคลุมไปด้วยขี้เลื่อย มองหาต้นขั้วแทงม้าที่ถูกโยนทิ้ง โดยหวังว่าจะเจอตั๋วที่ชนะเงินรางวัล

    11 ขวบ เริ่มลงทุนซื้อหุ้น Cities Service ในตลาดหุ้น พออายุ 17 เขามีเงินเก็บประมาณ $6,000 ประมาณ 288,000 บาท แต่เป็นเงินเมื่อ 59 ปีที่แล้วในปี พ.ศ. 2490 เขาจบตรีเศรษฐศาสตร์ สมัครโทที่ Harvard แต่สอบเข้าไม่ได้ ขณะที่โคลัมเบียรับเขา
 ทุกคนม้กจะมีช่วงจังหวะชีวิตที่สำคัญในวัยเด็ก ซึ่งกำหนดทิศทางให้กับชีวิตในวันข้างหน้าต่อไป สำหรับวอเร็นแล้ว มันเกิดขึ้นที่นี่ ที่ มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ในชั้นเรียนที่สอนโดย เบนจามิน เกรแฮม ผู้ซึ่งเป็นตำนานของการลงทุนแบบเน้นคุณค่า วอเร็นและเกรแฮมเกิดความผูกพันทางสติปัญญาทันที อาจารย์ เกรแฮม บรรยายความหลังให้ฟ้งว่า วันแรกที่ผมเห็นเขา บอกได้ทันทีว่า เด็กคนนี้ไม่ใช่ธรรมดา ความเฉียบคมทางปัญญาของเขาบินว่อนไปทั่วห้อง ปะหนึ่งว่าเขารอผมคนเดียวมาเปิดผ้าคลุมตาเขาออก ผมเป็นเหมือนเทียนนำทางให้ลูกศิษย์พิเศษคนนี้โดยเฉพาะ


   
รอสโซ่ไม่รั้งรอถามบัฟเฟทผู้ลือเลื่อง ถึงระยะเวลาที่เขาจะพักอยุ่ในเมืองไทย เป็นการชักนำการสนทนาให้เล่นตามเกมเขา

 อันนั้นมันขึ้นอยู่กับคุณ รอสโซ่


  อ้อ  รอสโซ่หัวเราะ ถ้ามันขึ้นอยู่กับผม ทำไมคุณไม่รีบออกจากประเทศนี้ให้เร็วที่สุด คืนนี้เป็นไง

 คืนนี้ออกจะเร็วไปหน่อยนะ วันนี้เป็นวันเกิดผมและผมต้องการที่จะซื้อร้านที่นี บางทีคุณสายชล* อาจจะขายให้ผม  โอ้.. ผมพูดเล่นนะ ผมหวังว่าจะได้กลับโอมาฮาภายใน 30 วัน

โอ้...คุณรีบร้อนขนาดนั้นเชียว

ผมรู้คุณมีแผนโจมตีเงินบาทรอบสองอีก

ทุกอย่างถูกกำหนดไว้แล้ว หรือแค่อย่างสองอย่างที่ต้องทำแค่นั้นเอง เขาหยุดพูดแล้วหันไปมองเบเนเตส แกไปได้แล้ว
ขอรับท่านอาจารย์ เขาผละจากไป ยิ้มมุมปากสายตาดุร้ายจ้องมอง Buffet กะ ดร.กร แบบหาเรื่อง


ผมจะขัดขวางคุณให้ได้

ยาก.....ยากอยู่จริงๆ

แน่ละ ตอนนี้ผมยังไม่มีหลักฐานข้อเท็จจริงทั้งหมด แต่ผมเห็นอะไรบางอย่าง อาศัยวิชาการวิเคราะห์แบบมองทะลุทะลวงล้วงข้างใน เจาะลึกใน ทฤษฎีภาพสะท้อน ของคุณแล้ว มันทำให้เห็นภาพจิกซอลเป็นรูปเป็นร่างขึ้น

แน่นอนที่สุดเชียว ดร. นิกรสอดขึ้น เขาได้ทำอะไรมามากมายเพื่อชื่นชมเผยแผ่ชื่อเสียงเกียรติคุณของบัฟเฟท ทั้งพร้อมที่จะเสริมเติมความรุ่งโรจน์ลงในวีรกรรมที่จะสยบจอมมารเฮดฟันด์ ให้ได้ภายในสิบวัน

ฮ่า..มันจะเป็นการละลาบละล้วงหรือไม่ รอสโซ่อสถามด้วยสุ่มเสียงนอบน้อม ที่จะขอถามว่าอะไรที่คุณเห็นเป็นรูปเป็นร่างนั้น


มันช่างเร้าใจจริงๆ ชายสองคนนี้หันหน้าเข้าหาคุยกัน เอาศอกเท้าขอบโต๊ะ ถกเถียงกันอย่างเคร่งขรึม ราวกับทั้งคู่พยายามแก้ปัญหาที่ยากเย็นบางอย่าง หรือตกลงกันในประเด็นที่เห็นแย้งกันข้อหนึ่งข้อใด มันยังแฝงไปด้วยการเสียดสีเยาะเย้ยอย่างลึกซึ้งซึ่งทั้งคู่นำมาใช้ได้อย่างรื่นรมย์ที่สุดดุจดังศิลปินผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้ ดร.นิเวศน์ดูอิ่มเอมที่ได้อยู่ท่ามกลางรัศมีเรืองรองที่ฉายออกมาตอนนี้


---------------------------


  บทที่ ๔


  แมลงวันติดสารนิโคตินตัวหนึ่งกำลังตอมเศษขี้ยาเส้นที่บ้ฟเฟททำล่นไว้บนโต๊ะ เขาเติมยาเส้นยัดลงกล้องเข้าไปอีกอย่างช้าๆ แล้วอธิบายความคิดของตัวเอง

ผมคิดว่าเศรษฐกิจที่ไร้สมดุลกระทันหันนี้มีความซับซ้อนน้อยกว่าที่ผมรู้สึกในตอนแรกอยู่มากโข

ใช่ ใช่ เอาเข้าจริงแล้ว น้อยกว่านั้นมากๆ ดร. นิเวศน์ย้ำซ้า

ผมพูดถึงว่า ไร้สมดุล เพราะในความคิดผมมันมีแค่เรื่องเดียว ราคาทองคำ โลหะเงิน ทองแดง สังกะสี และน้ำมันที่ต่างมีราคาทะลุระดับสูงสุด กดดันการพุ่งขึ้นของสินค้าโภคภัณฑ์ล่วงหน้า, ความกังวลในสภาวะดอกเบี้ยและเงินเฟ้อ และ---ที่ผมไม่ลืม---ความลึกลับของเงินบาทที่แข็งค่าต่อเนื่อง ด้งนี้แล้ว ในความคิดของผม ทั้งหมดที่ต้องทำคือค้นให้พบสายโซ่ที่ร้อยเชื่อมภาคส่วนต่างๆให้เป็นเรืองเดียวกัน เป็นข้อเท็จริงที่จะพิสูจน์ความเป็นหนึ่งเดียวของแบบแผนวีธีการทั้งหมด การเผิกเฉยของคุณทิวาวงศ์ผู้บัญชาการการเงินการคลัง ซึ่งมีความคิดเห็นที่ออกจะผิวเผิน---มองเห็นความเป็นหนึ่งเดียวนี้ไปในเรื่องการผันผวนชั่วคราวตามปกติเพื่อเข้าจุดดุลยภาพใหม่ ทำให้ผมไม่พอใจ

แล้วที่นี้?

ที่นี้ ในความคิดของผม บัฟเฟทตอบตรงไปตรงมา ลักษณะของเหตุการณ์ตื่นเต้นทั้งหมดเป็นฝีมือเฉพาะตัว การจงใจวางแผนของคุณ แม้จะยังไม่เป็นที่เข้าใจกัน---เพื่อสร้างเหตุการณ์นั้นขึ้นในสถานที่ซึ่งเห็นได้ชัดว่าคุณได้เลือกไว้แล้ว.....เรื่อง

เพื่อที่จะโผล่มาอีกครั้ง ในที่ที่พิลึกเช่นที่นี่ โรซอสหัวเราะ

เรื่องนี้มีสิ่งที่อยู่เหนือกว่าการวางแผนสิ่งนั้นคือความจำเป็น----เงื่อนไขอย่างหนึ่งซึ่งชี้ขาดความสำเร็จ

คุณจะไม่ลองสาธยายให้ฟังสักหน่อยหรือ

สบายมาก ถ้าคุณไม่ขัดจังหวะผมพูดอีก.....ก็อย่างเช่น ตั้งแต่แรกคุณรู้ว่านักเศรษฐศาสตร์อย่าง คุณทิวาวงศ์เป็นพวก Keynesianism ที่ใช้แบบจำลองเศรษฐมิติขนาดใหญ่เพื่อพยากรณ์ผลลัพธ์ของการดำเนินนโยบายการเงินการคลังว่า แบบจำลองเหล่านั้นถูกประมาณค่าจากข้อมูลที่เกิดขึ้นในอดีต และสมมุติว่าพฤติกรรมของคนในระบอบเศรษฐกิจจะเหมือนเดิม แต่แท้จริงแล้วพฤติกรรมของคนเปลี่ยนแปลงไปมากเนื่องจากนโยบายประชานิยมใช้จ่ายเกินตัว ที่รัฐบาลนี้นำออกมาใช้ การพยากรณ์โดยพึ่งพาแบบจำลองเศรษฐกิจอย่างเดียวจึงอาจให้ภาพที่บิดเบือน ผมอ่านใจคุณออก หลายปีที่ผ่านมา คุณพยายามเผยแพร่แนวความคิดของในหนังสือของคุณ แต่ในมุมมองของคุณทิวาวงศ์ ไม่ได้เห็นภาพนายโรซอสเป็นนักคิดที่น่าเลื่อมใสแต่ประการใด บัฟเฟท หยุดพูดแป๊ปหนึ่งเพื่อเกาปาก

    ขอโทษที่ต้องพูดแทงใจดำ แนวความคิดคุณแตกต่างจากทฤษฎี Efficient Market Hypothesis ซึ่งเป็นเสาหลักของการเงินยุคทักษิโณมิคมากเกินไป มันเรียกเสียง ยี้ จากนักเศรษฐศาสตร์ผู้เกรียงไกรอย่างเขาได้ไม่ยาก ทั้งๆที่คุณพยายามกระตุ้นให้เขาลองหันมาวิเคราะห์สนใจทฤษฎีของคุณบ้าง

ใช่ สิ ผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญคณิตศาสตร์ จึงไม่สามารถแสดงสูตรคณิตศาสตร์ให้คนอย่างนั้นตื่นตาตื่นใจได้ โรซอสยืนยันความเชื่อมั่นในทฤษฎีของเขา เพราะมันเป็นเคล็ดลับวิชาการทำเงินจากการลงทุนของเขา

บัฟเฟทติดลมบนยังไม่หยุด อธิบายต่อ

คุณเชื่อว่า Keynesian มีจุดบกพร่อง ชอบนำวิธีทางวิทยาศาสตร์มาใช้แยก ความจริงก็คือมนุษย์อึเหม็นอย่างคุณกะผม ออกจาก ตัวเลขทางเศรษฐกิจต่างๆ เช่นบัญชีเดินสะพัด คุณรู้ว่าพวกเขาภูมิใจสาขาของพวกเขาว่ามีความเป็นวิทยาศาสตร์มากที่สุด การศึกษาเกี่ยวกับคนเป็นการศึกษาทางสังคมศาสตร์ ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ คนมีความคิดทำให้ไม่สามารถแยกการศึกษาระหว่างตัวเลขเหล่านั้นออกจากคนได้ เพราะการรับรู้ถึงตัวเลขต่างๆที่ประกาศออกมา มีผลกระทบต่อจิตวิทยาของคนที่ปรากฏ ระบบเศรษฐกิจที่มีคนจำนวนเป็นล้านเป็นผู้เล่นอยู่จึงไม่สามารถเข้าสู่ดุลยภาพตามที่คุณทิวาวงศ์กล่าวอ้างได้ แต่มักจะอยู่ในภาวะไร้ดุลยภาพสลับไปสลับมาอยู่ตลอด ความจริงก็คือภาพสะท้อนนั้นไม่เคยเป็นภาพเดียวกัน อย่างที่คุณทิวาวงศ์เข้าใจ ความแตกต่างกันของภาพทั้งสองนี้เองที่คุณใช้เป็นเครื่องมือหาเงิน ถูกไหม

ฮ่า..ฮ่า...นับถือ ด้วยความคารวะจากผม

เชอะ! บัฟเฟทอุทานเมื่อได้รับการเยินยอ แค่ความคิดใคร่ครวญนิดๆ หน่อยๆเอง บัฟเฟทหน้าแดงปลาบปลื้ม

เมืองไทยนอกจากจะเป็นแหล่งหาเงินที่ หมู แล้วยังเป็นเสมือนห้องทดลองเพื่อทดสอบวิชาของผมอีกครั้งหนึ่ง แต่ที่สำคัญ ผมจะใช้วิชาภาพสะท้อนที่บรรลุขั้นสูงสุดของผม ลงโทษรัฐบาลไทยที่ประพฤติตรงข้ามดื้อดึงสู้หัวชนฝากับแนวความคิดผม ชักนำประเทศเข้าสู่วิกฤตหายนะอีกครั้ง ผมจะให้รางวัลแก่ประเทศที่เชื่อฟังผม อย่าง มาเลเชลีย ไงละ ครั้งก่อนผู้นำหัวรั้นอย่างมาหาเดะ ยังรู้จักประจบประแจงเชลียผม เพื่อเอาตัวรอด เขาฉลาดมากที่รู้จักเจรจาต่อรองกับผม คนอย่างทิวาวงศ์ไม่ต่างจากนักเศรษฐศาสตร์ที่พยายามขับรถไปข้างหน้า โดยชอบมองกระจกหลัง เขาขาดจินตนาการ เชื่อผิดๆว่าผมจะใช้รูปแบบยุทธวิธีเดิมๆเหมือนครั้งที่แล้วอีก ยิ่งมีความเชื่อมั่นในแบบจำลองไร้ชีวิตที่ปั่นตัวเลขออกมามากเท่าใด โอกาศที่เขาจะขับรถตกเขาก็มีมากเท่านั้น โรซอสดูเบิกบานแล้วพูดต่อ

ถึงแม้คุณถอดรหัสความคิดรู้เคล็ดลับวิชาผม แต่คุณไม่รู้กระบวนท่ากลยุทธ์การหาจังหวะโจมตีของผม ผมสาบานได้ว่าคุณเอาชนะ Untouchable อย่างผมไม่ได้หรอก ลาก่อนนะ ผมไม่มีเวลาจะเสียแม้แต่นาทีเดียว

ทำไมผมจะไม่รู้ มันง่ายมาก เป็นเพียงปัญหาอะไรเอ๋ยสำหรับทายเด็ก ป.4 เท่านั้น บัฟเฟทท้วงก่อนโรซอสจะผละจากไป กลยุทธ์ของคุณที่ทำคือจับ Trend ความปั่นป่วนให้ได้ก่อนคนอื่น แต่สิ่งที่แตกต่างคือคนอื่นที่อาจเห็น Trend เหมือนกันจะเริ่มทำกลยุทธ์อย่างละนิดอย่างละหน่อย เพราะไม่รู้ว่าเมื่อไรคนอื่นจะแห่ตามมา ซึ่งเป็นการหาจังหวะตลาดสิ่งที่ยากที่สุดสำหรับคุณ

ดังนั้น?....

ดังนั้น.... บัฟเฟทใช้เวลาคิดคำตอบราวกับว่าเขาพึ่งคิดออก ในที่สุดก็ลองเสี่ยงพูดว่า ดังนั้นคุณจะ ทุ่ม สุดตัวแบบบ้าคลั่ง คุณเชื่อว่าความคิดของคุณ เปลี่ยนตลาดได้ แต่คุณไม่ใช่ชาวสวน ทีชอบสวนตลาด คุณเป็นชาวไล่ต่างหาก คุณจะทั้งไล่ทั้งเร่งกระทืบเท้าให้การเก็งกำไรเกิดก่อนปกติ ทำกำไรมหาศาลจากการเข้าและออกจากตลาดก่อนคนอื่น นี่เองที่ทำให้คุณเป็นนักลงทุนที่ค่อนข้างสังคมรังเกลียดทั่วโลก เมื่อเทียบกับผม value investor no 1 ของโลก บัฟเฟทยิ้มเยาะ

ที่ชอบฉวยโอกาศช้อนหุ้นเก็บ โรซอสแทรกขึ้น เวลาตลาดตกต่ำจากการกระทำของผม คุณจะช้อนหุ้นเก็บ เป็นคนคอยอุ้มตลาด ทุกคนจะคิด ยกย่องคุณเป็นอัศวินม้าขาว คุณหลอกผมไม่ได้ มีแต่พวกโง่เขลาเบาปัญญา

หมายความว่า......? บัฟเฟทถาม


หมายความว่า.....คุณเข้ามาเก็บหุ้นนานแล้ว ตั้งแต่ปี2540 คุณให้ใครบางคนไปจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทที่ เกาะ บริติช เวอร์จิ้น จากนั้นก็ใช้ฃื่อบริษัทแปลกๆของคุณไปเปิดบัญชีกะโบรกเกอร์ต่างประเทศหลายบัญชี พร้อมกับตั้งตัวแทน ทรัสตี้ ขึ้นมาดุแลผลประโยชน์ ขบวนการต่อไปคุณโอนเงินไปพักไว้ที่สิงคโปร์ ผมรู้ กองทุนเทมาเสก มันไม่ใช่เงินของรัฐบาลทั้งหมดหรอก มันมีเงินของคุณด้วย จุดหมายปลายทางคือตลาดหุ้นไทย หุ้นนาย ก. มันเป็นของคุณตั้งแต่แรก ตอนนี้แค่ส่งมอบคืนเจ้าของที่แท้จริงเท่านั้น


นี่คุณมาเล่านิทานอะไรให้ผมฟัง ไม่มีใครเชื่อคุณเรื่องนี้หรอก


และคุณมาที่นี่ก็เพื่อปกป้องผลโยชน์ของคุณ ไม่ใช่มาเพื่อประเทศนี้อย่างที่คนอื่นเข้าใจ


   สายตาที่ชายสองคนมองกันและกันช่างดูลึกล้า เหมือนไก่เห็นตีนงู งูเห็นตีนไก่ เต็มไปด้วยการยั่วยุแบบเยือกเย็นและมุ่งมั่น มันเหมือนเสียงกระทบกันของดาบสองเล่ม ฟ้งกังวานชัดเจน

----------------------
zoftdev2
Verified User
โพสต์: 28
ผู้ติดตาม: 0

Stock Selection is not Everything./นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์

โพสต์ที่ 25

โพสต์

ท่านใดช่วยบอกได้บ้าง ทำไมคุณสุมาอี้ไม่เล่นที่นี่แล้วครับ?
ภาพประจำตัวสมาชิก
hongvalue
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2703
ผู้ติดตาม: 0

Stock Selection is not Everything./นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์

โพสต์ที่ 26

โพสต์

[quote=".^O-O^"]ตอบท่านฮงนะครับ
โพสต์โพสต์