ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร First Class ใช้ชีวิต Economy
- bigshow
- Verified User
- โพสต์: 730
- ผู้ติดตาม: 0
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร First Class ใช้ชีวิต Economy
โพสต์ที่ 1
คนชอบเข้าใจผิดว่า Value Investor ต้องใช้ของถูก จริงๆแล้วเข้าใจผิด เรามองทุกอย่างที่ความคุ้มค่าของเงิน และประโยชน์ที่ได้รับกลับมา โดยจะไม่จ่ายอะไรที่แพงเกินความจำเป็น เพราะฉะนั้น "การใช้จ่าย" เพื่อซื้อความสุข สำหรับ Value Investor จึงไม่ใช่ความสุขที่แท้จริง
----------------------------------
การเล่นหุ้นขาดไม่ได้จะต้องมีความสุขกับมัน เพราะความสุขจะเป็น "ทุน" สร้างผลตอบแทน มันเป็น "เหตุ" ที่สร้างผลลัพธ์ของ "กำไร"
----------------------------------
ถ้าคุณบินตั๋วชั้น "เฟิร์สคลาส" ความสุขคุณเพิ่มขึ้นมานิดหน่อย แต่คุณต้องจ่ายเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่า คุณขับรถญี่ปุ่นกับขับรถเบนซ์ ไปถึงที่หมายเหมือนกัน แต่คุณต้องจ่ายเพิ่ม 3-4 เท่า นี่เป็นตัวอย่างให้เห็นว่าของทุกอย่าง 90% ของความสุข คุณซื้อได้ด้วยเงินนิดเดียว
----------------------------------
Value Investor พันธุ์แท้จะต้องมองที่ "คุณค่า" ของเงินที่จ่าย และไม่ซื้อหุ้นเพราะเห็นว่าหุ้นมี "ราคาถูก" แต่ต้องซื้อหุ้นเพราะว่ามัน "ดี" แล้วจ่ายเงินซื้อในราคาที่ "ยุติธรรม"
---------------------------------
ผมเชื่อมาตลอดว่า "การเดินทาง" สำคัญกว่า "เป้าหมาย" อยากบอกนักลงทุนทุกคนว่าอย่าไปกังวลกับเป้าหมาย แต่ควรใส่ใจใน "เส้นทาง" ที่เรากำลังเดิน ถ้าเราทำดีที่สุด และมีความสุขในเส้นทางของเราทุกวัน ในที่สุดเราก็จะไปถึงเป้าหมายนั้นเอง
----------------------------------
ผศ.ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร เล่าให้ฟังว่า ทุกวันนี้เขายังไม่มีบ้านเป็นของตัวเอง
"บ้านผมมีห้องเดียวนะ เป็นบ้านที่อยู่ตั้งแต่สมัยที่ไม่มีตังค์เลย ตอนแต่งงานใหม่ๆ ชีวิตทำงานกินเงินเดือน ก็ไม่ได้มีตังค์มาก ทุกวันนี้ก็ยังอยู่บ้านหลังเดิม"
บ้านของดอกเตอร์เป็นบ้านชั้นเดียวเล็กๆ บนเนื้อที่ไม่กี่ตารางวา ย่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิของแม่ยาย ทุกคนอยู่รวมกัน เห็นหน้ากันทุกวัน ไม่มีพื้นที่สำหรับความเป็นส่วนตัว ไม่มีคนรับใช้ แต่บ้านหลังนี้ไม่เคยปราศจากไออุ่นของทุกคน
"ความสะดวกสบายในบ้านจริงๆมีน้อย บ้านหลังเล็กมาก แต่ผมไม่ได้ต้องการอะไรมากกว่านี้ เพราะมาคิดดูอีกทีถามว่าไปอยู่บ้านหลังใหญ่ๆโตๆได้มั้ย มันก็ได้ แต่บ้านใหญ่โตไม่ได้ให้ความสุขกับเรามากไปกว่าบ้านหลังเล็ก ทุกคนใกล้ชิดกัน เจอหน้ากันทั้งวัน"
ดร.นิเวศน์เล่าว่า ตัวเองเคยซื้อบ้านราคานับสิบล้านบาทด้วย "กิเลส" ที่มันซุกอยู่ภายในเหมือนกับคนทั่วๆไป ในที่สุดค้นพบว่าไม่ใช่การลงทุนที่คุ้มค่าเลย
ท้ายที่สุด จึงขายบ้านหลังนั้นทิ้งไป
ทุกวันนี้ดร.นิเวศน์ได้รับบทเรียนจากการไปซื้ออสังหาริมทรัพย์ราคาแพง และได้ข้อสรุปเป็นข้อจดจำว่า ถึงจะมีเงินเยอะก็จะไม่เอาไปซื้อบ้านราคาแพง หรือเอาไปสะสมที่ดินอีกแล้ว เพราะนั่นคือ สิ่งที่ไม่คุ้มค่าในแง่ของการลงทุน (ในมุมมองของดอกเตอร์)
"ตอนที่ผมยังไม่มีความคิดแบบ Value Investor เคยสนใจซื้อที่ดินเหมือนกัน เห็นเลยว่าที่ดินมันก็อยู่ที่เก่า มันไม่เคยจ่ายปันผลให้เรา ราคาก็ไม่ได้ไปไหน 10 ปีที่ผ่านมาถ้าขายราคาเดิมได้ ผมขาย แต่มันขายไม่ได้ เพราะฉะนั้น ผมเข้าใจแล้วว่าตัวเองไม่ชำนาญทางด้านนี้ ให้ซื้อเพื่อเก็งกำไรคงไม่ทำอีกแน่"
เมื่อได้มีโอกาสนั่งคุยกัน ก็ยิ่งเข้าถึงทางเดินความคิด ของ "Value Investor" หมายเลข 1 ผู้นี้ ทั้งเรียบง่าย สมถะ ตั้งแต่วิธีคิดไปจนถึงวิถีการดำเนินชีวิต
แม้จะได้ชื่อว่าเป็นนักเฟ้นหุ้นระดับ "เฟิร์สคลาส" ตรงกันข้าม ดอกเตอร์กลับไม่เคยใช้ชีวิตฟุ่มเฟือย เพราะยึดถือในหลักการดำเนินชีวิตที่อิงอยู่กับความ "คุ้มค่า" กับของทุกชิ้นที่แลกมาด้วยน้ำพักน้ำแรง
"คนชอบเข้าใจผิดว่า Value Investor ต้องใช้ของถูก จริงๆแล้วเข้าใจผิดกันหมด เรามองทุกอย่างที่ความคุ้มค่าของเงิน และประโยชน์ที่ได้รับกลับมา โดยจะไม่จ่ายอะไรที่แพงเกินความจำเป็น เพราะฉะนั้น การใช้จ่ายเพื่อซื้อความสุข สำหรับ Value Investor จึงไม่ใช่ความสุขที่แท้จริง
ผมไม่ได้เป็นคนประหยัด หรือขี้เหนียวสุดๆ แต่เราใช้จ่ายเท่าที่เราคิดว่ามันเพียงพอ ทำให้เรามีความสุข ผมเชื่อว่า 90% ของความสุขในชีวิตของทุกๆคน คุณซื้อได้ด้วยเงินนิดเดียว เวลาที่คุณต้องการความสุขเพิ่มขึ้นมาอีก 10% (ครบ 100%) คุณอาจจะต้องใช้เงินมากขึ้นไปอีกหลายเท่า ซึ่งตรงนี้ผมไม่พร้อมจะจ่าย เพราะถ้าจ่ายไปก็ไม่มีความสุข"
ดอกเตอร์ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณบินตั๋วชั้น "เฟิร์สคลาส" ความสุขคุณเพิ่มขึ้นมานิดหน่อย แต่คุณต้องจ่ายเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่า คุณขับรถญี่ปุ่นกับขับรถเบนซ์ ไปถึงที่หมายเหมือนกัน แต่คุณต้องจ่ายเพิ่ม 3-4 เท่า
นี่เป็นตัวอย่างให้เห็นว่าของทุกอย่าง 90 เปอร์เซนต์ของความสุข คุณซื้อได้ด้วยเงินนิดเดียว
"ทุกวันนี้กิจกรรมที่ผมทำอยู่จริงๆชีวิตมันมีความสุขอยู่แล้ว การออกกำลังกายเป็นความสุขยิ่งใหญ่ ผมไม่ต้องใช้เงินเลย มีรองเท้าคู่เดียว ถามว่าไปฟิตเนสมันดีกว่ามั้ย สำหรับผมวิ่งในสวน สาธารณะ มันสดชื่นไปอีกแบบหนึ่ง ผมกำลังจะบอกว่าพื้นฐานความคิดของ Value Investor 'เงิน' มันไม่ใช่โจทย์ของ 'ความสุข' เสมอไป ตรงกันข้ามกับการเลือกหุ้น คุณต้องเลือกหุ้นที่คิดว่า 'ดีเยี่ยม'หรือเฟิร์สคลาสเท่านั้น"
ดร.นิเวศน์ อธิบายแนวคิดให้ฟังว่า จริงๆแล้ว Value Investor เวลาเลือกหุ้นก็แบบเดียวกัน หาหุ้นที่ "ดีมาก" แต่ใช้เงิน "นิดเดียว" (ซื้อตอนที่ราคายังไม่แพง) แล้วถือไปตลอด
เหมือนกับการใช้ชีวิต เราสามารถค้นหาสิ่งดีๆให้กับชีวิตได้มากมาย ด้วยเงินเพียงนิดเดียว
"ถ้าศึกษาวิธีคิดของ Value Investor มันเกี่ยวข้องกับชีวิตคน ถ้าคุณจ่ายเงินซื้อรถเบนซ์โก้หรู ผมยังไม่ค่อยเห็น ถ้าคุณคิดแบบนั้นคุณก็ไม่ใช่ Value Investor พันธุ์แท้ ไม่มี Value Investor พันธุ์แท้คนไหน ใช้ชีวิตอย่างฟุ่มเฟือยแล้วประสบความสำเร็จในการเล่นหุ้น"
ดอกเตอร์บอกว่า คนที่บอกว่าตัวเองเป็น Value Investor เอาเงินไปซื้อรถเบนซ์ ไปใช้จ่ายเพื่อความสุข "เขาไม่ผิดหรอก" แต่ที่เห็นมาส่วนใหญ่ รวมทั้ง "วอร์เรน บัฟเฟตต์" ด้วย พอเป็น Value Investor ทั้งชีวิตและจิตใจ จะไม่มีความสุขกับการใช้เงินมาบำเรอความสุข
"ความสุขทั้งหมดของบัฟเฟตต์จะไปอยู่ที่การลงทุน เห็นราคาหุ้นเติบโตขึ้นอย่างมั่นคง แต่เอาไปซื้อบ้านราคาแพง ไปซื้อรถเบนซ์ ของพวกนี้ใช้แล้วมันหายไป Value Investor พันธุ์แท้จะไม่ชอบ"
Value Investor พันธุ์แท้ในมุมมองของดร.นิเวศน์ จะต้องมองที่ "คุณค่า" ของเงินที่จ่าย
นั่นหมายความว่า คุณอย่าซื้อหุ้นเพราะเห็นว่าหุ้นมี "ราคาถูก" แต่ต้องซื้อหุ้นเพราะว่ามัน "ดี" แล้วจ่ายเงินซื้อในราคาที่ "ยุติธรรม"
"ผมไม่เคยซื้อหุ้นราคา 3 บาท 5 บาท ผมชอบซื้อหุ้นที่คนพูดว่า 'แพง' ในด้านราคา แต่ 'ถูก' ในแง่ของ 'Value' ถ้าสังเกตุดูหุ้นในพอร์ตของผม ราคา 100 บาทขึ้นไปทั้งนั้น หรือราคาหลายสิบบาท ที่พาร์บาทเดียวก็มี เช่น STANLY, SE-ED, IRC, APRINT, MATI, TMD, SSC, และ HMPRO หุ้นของผมราคาสูงหมดนะ แต่มันคุ้มค่า มันสร้างผลตอบแทนให้เราดีมาก"
การค้นหาหุ้นของ ดร.นิเวศน์ แท้ที่จริงแล้วไม่ได้ซับซ้อนอะไรเลย แต่จะมองสินค้าที่ผ่านเข้ามาในชีวิตประจำวัน ทำความเข้าใจกับสินค้านั้นทุกวัน จนกลายเป็นความเชื่อมั่นในศักยภาพของหุ้นตัวนั้น
"เราเห็นมันบ่อยๆ เนื่องจากการใช้ชีวิตของเรา ผมจะเลือกซื้อหุ้นพวกนี้ก่อน"
เช่นการไปเดินช้อปปิ้งที่ห้างมาบุญครอง (MBK) ดื่มน้ำอัดลมเป๊บซี่ (SSC) เข้าร้านหนังสือนายอินทร์ (APRINT) ไปซื้อหนังสือที่ร้านซีเอ็ด (SE-ED) เห็นรถยนต์ส่วนใหญ่ใช้หลอดไฟของไทยสแตนเลย์ (STANLY) ที่ขายดีอันดับ 1 เขาผลิตให้กับฮอนด้า และโตโยต้า หรือผู้ผลิตยางรถจักรยานยนต์ที่ขายดีที่สุด (IRC)
สินค้าที่ดอกเตอร์เลือกจะต้องมี "แบรนด์" ที่แข็งแกร่ง และต้องมีจุดเด่นยากที่คู่แข่งขันจะเข้ามาแย่งแชร์ตลาดไปครองได้ง่ายๆ
"ทุกครั้งที่เห็นสินค้า เราอ่านหนังสือเจอ ทุกอย่างมันจะเชื่อมเข้ามาที่เรื่องของหุ้น มันเข้ามาเองอัตโนมัติ"
แต่สิ่งที่ดอกเตอร์ย้ำเสมอว่า การเล่นหุ้นขาดไม่ได้จะต้องมีความสุขกับมัน เพราะความสุขจะเป็น "ทุน" สร้างผลตอบแทน มันเป็น "เหตุ" ที่สร้างผลลัพธ์ของ "กำไร"
"จริงๆผมมีความสุขกับการได้ซื้อหุ้นที่เราพอใจมากๆ ดีมากๆ น่าสนใจมากๆ แล้วเก็บมากขึ้นๆ จนวันหนึ่งเรากลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท"
ความเร้นลับของ "กำไร" และ "ความสุข" สำหรับ ดร.นิเวศน์ สะท้อนออกมาในแง่มุมของการ "เลือกหุ้น" ซึ่งเหมือนกับการเลือก "คู่แต่งงาน"
คุณต้องคิดเสมอว่า ต้องหาคู่ที่ดีที่สุดและเหมาะสมที่สุดกับคุณ เพื่อจะครองคู่กันไปจนแก่เฒ่า โดยเน้นย้ำว่า Value Investor จะไม่เลือกหุ้นแบบ "ฉาบฉวย" ซื้อแล้วหวังกำไรทันที
"ผมจะซื้อหุ้นที่ตัวเองรู้สึกพอใจมากๆ แล้วอยากจะเก็บมันไว้นานๆ"
ดร.นิเวศน์คิดถึงขนาดที่ว่า สักวันหนึ่งหุ้นที่เขาซึ่งเป็น "พ่อ" ถือ จะถูกส่งต่อไปให้ "ลูก" เพื่อเป็น"มรดก"ด้วยซ้ำ
"หุ้นที่ผมซื้อส่วนใหญ่สามารถส่งต่อเป็นมรดกได้ เช่น SSC แต่ไม่รู้ว่าถ้าเวลาผ่านไปนานๆ ปัจจัยบางอย่างเปลี่ยนไป เราอาจต้องเปลี่ยนหุ้นตัวอื่น แต่ทุกกิจการที่ลงทุน จะตั้งต้นจากวิธีคิดที่ว่าหุ้นตัวนั้นสามารถถือไปจนถึงลูก ถึงหลานได้..
ถ้าผมซื้อหุ้นของกิจการที่ดีเยี่ยม ในราคาที่ค่อนข้างต่ำ มีผู้บริหารดี ในที่สุดราคาหุ้นจะสูงขึ้นไปเรื่อยๆ เราก็มีความสุขกับ Score ที่เพิ่มขึ้น แต่เป็นคนละส่วนกับการเอากำไรมาซื้อความสุขนะ"
ดร.นิเวศน์ย้ำและอธิบายว่า Score หรือผลตอบแทนแห่งความสุข หมายถึง เมื่อเราซื้อไปแล้วราคาหุ้นเพิ่มขึ้น จ่ายปันผลมาเราก็ "ทบต้น" ขึ้นไป นำดอกผลไปลงทุนต่อ แล้วเห็นผลตอบแทนแต่ละปีที่ผ่านไปดีกว่าตลาดโดยรวม รู้สึกพอใจเมื่อเห็นมันเติบโตขึ้นเรื่อยๆ
"จนวันหนึ่งเราสามารถบอกได้ว่า ตอนนี้เราก็มีฐานะ มีความมั่นคง และเป็นอิสระพอที่จะไม่ต้องทำอะไรเลยก็ได้ สามารถมีปันผลที่เลี้ยงเราตลอดชีวิตไปจนถึงลูกถึงหลานได้ นี่คือ ความสุขของผม"
วันนี้ Score แห่งความสุขของดอกเตอร์ได้ทะยานผ่านพรมแดนแห่งคำว่า "อิสระภาพทางการเงิน" ที่หมายถึงรายรับจากเงินลงทุน มากกว่ารายจ่ายประจำนานแล้ว แต่วัฏจักรแห่งความจริงของ Value Investor เช่นดอกเตอร์ คือการเลี้ยงชีพจาก "ดอกผล" และใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย
"ถ้าผมยังทำงานเงินเดือนก็พอใช้อยู่แล้ว เพราะเราไม่ได้ใช้เยอะ ส่วนกำไร และเงินปันผลที่ได้มาจากการลงทุนก็ทบต้นไปเรื่อยๆ แต่ถามว่าถ้าไม่มีรายได้จากการทำงาน อยู่ได้มั้ย ทุกวันนี้มันอยู่ได้แล้ว เพราะเงินปันผลที่ได้รับแต่ละปีค่อนข้างมาก วันนี้ผมมีอิสระภาพทางการเงินแล้ว"
ดร.นิเวศน์ อธิบายถึงคำว่า "Spending" หรือ การใช้เงินสำหรับตัวเอง ว่า ไม่ใช่ "คนขี้เหนียว" เขายังมีความตั้งใจจะส่งลูกสาวคนเดียวคือด.ญ.พิสชา เหมวชิรวรากร วัย15-16ปี ไปเรียนเมืองนอกด้วย เพราะการให้การศึกษาที่ดีที่สุดกับลูก ก็เหมือนกับการ "ลงทุน" อย่างหนึ่ง
"ผมจะสอนลูกไม่ให้ใช้เงินฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็น บ้านก็มีเท่าที่พออยู่ เพราะบ้านที่ใหญ่โตเกินไปย่อมมีภาระให้ต้องดูแลมาก ค่าใช้จ่ายก็เพิ่มขึ้น แทนที่เราจะเอาเงินตรงนั้นไปลงทุนให้งอกเงย"
0 0 0
วิธีคิดของ Value Investor ในการเลี้ยงลูกก็น่าสนใจ
ดร.นิเวศน์ เล่าให้ฟังว่า เขาเลี้ยงลูกให้สมถะเหมือนพ่อ ไม่ใช้จ่ายเงินฟุ่มเฟือย โดยจะพยายามปลูกฝังว่าอะไร "ถูก" อะไร "แพง" ในแง่ของ "คุณค่า" เมื่อเทียบกับเงินที่เราจ่าย และจะบอกลูกเสมอว่าอะไรคือกิจการของพ่อบ้าง เพื่อให้เขาภาคภูมิใจ
เกือบ 10 ปีที่ลงทุนในแนวทางนี้ เขาได้พิสูจน์แล้วว่ามันประสบความสำเร็จ
"ยังจำได้ว่าวันแรกที่ผมลงทุนตามแนวคิด Value Investor หนี้สินผมมากกว่าสินทรัพย์สภาพคล่อง สมัยนั้นผมคิดว่า อยากจะมีบ้านหลังใหญ่ที่สุดเท่าที่จะทำได้ ก็ไปก่อหนี้ขึ้นมา 10 กว่าล้านบาท แต่โชคดียังพอมีเงินสดเหลืออยู่ แม้จะน้อยกว่าหนี้ ผมเอาเงินก้อนนั้นไปลงทุนจนถึงวันนี้เงินก้อนนั้นเติบโตขึ้นมากว่า 20 เท่าตัว
"ผมได้แง่คิดว่า ถ้าเราไม่คิดที่จะซื้อความสุข เอาเงินก้อนที่ซื้อบ้านก้อนนั้นมาลงทุน ป่านนี้ เงินจะยิ่งพอกพูนขึ้นมากกว่านี้อีกหลายเท่า เพราะฉะนั้นผมจึงตั้งปณิธานไว้เลยว่า ต่อจากนี้ไปจะไม่นำเงินไปซื้ออสังหาริมทรัพย์ และไม่สะสมของมีค่าอย่างอื่น จะสะสมอย่างเดียว คือหุ้นดีๆเข้าพอร์ต"
รางวัลในชีวิตของอาจารย์นิเวศน์ จึงแตกต่างจากคนทั่วไป
"รางวัลของชีวิตก็คือ สิ่งที่ผมทำอยู่ทุกๆวัน"
คำๆหนึ่งที่ดร.นิเวศน์พูดและน่าสนใจอย่างยิ่ง นั่นคือ คำว่า "การเดินทาง" กับ "เป้าหมาย" ในชีวิตของคนทุกคน
"ผมเชื่อมาตลอดว่าการเดินทางสำคัญกว่าเป้าหมาย อยากบอกนักลงทุนทุกคนว่า อย่าไปกังวลกับเป้าหมาย แต่ควรใส่ใจในเส้นทางที่เรากำลังเดิน ถ้าเราทำดีที่สุด และมีความสุขในเส้นทางของเราทุกวัน ในที่สุดเราก็จะไปถึงเป้าหมายนั้นเอง" ดร.นิเวศน์เชื่อเช่นนี้ตลอด
"ผมตั้งเป้าหมายว่าจะมีเงิน 1,000 ล้านบาท ถ้าไม่ได้ก็ไม่ใช่จะเป็นจะตาย เรามีเป้าหมายเพื่อกำหนดเส้นทางไม่ให้เราไขว้เขว ถ้าเราแน่วแน่ ผลลัพธ์ที่ออกมามันจะสอดคล้องกันทั้งหมด"
ถามดอกเตอร์ว่า สมมุติทำเงินถึง 1,000 ล้านบาท จริงๆ เป้าหมายต่อไปคืออะไร?
"ถ้าตัดเรื่องเงินออกไป เป้าหมายของผมก็ยังต้องการเป็นนักลงทุนและใช้ชีวิตสมถะเช่นนี้ตลอดไป คนเราอย่าไปคิดว่ามีเงิน 1,000 ล้านแล้วจะใช้จ่ายฟุ่มเฟือย คนที่คิดก่อนแล้วว่าจะทิ้งวิถี ดั้งเดิมของตัวเองก่อนจะไปถึงเส้นชัย ผมคิดว่าเขาคงไม่มีวันไปถึงเส้นชัยนั้น"
วันนี้ฐานะทางการเงินของ ดร.นิเวศน์ อาจเข้าขั้น "เศรษฐี" และ "ไม่มีหนี้สิน" แม้จะยังมีเงินไม่ถึง 1,000 ล้านบาท ตามเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ แต่ดอกเตอร์ก็มีเงินมากพอที่จะใช้ชีวิตอย่างมีความสุขไปตลอดชั่วชีวิต
นี่คือ "แก่นแท้" แห่งวิถีการลงทุนของลูกผู้ชายที่ชื่อ "ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร"
----------------------------------
การเล่นหุ้นขาดไม่ได้จะต้องมีความสุขกับมัน เพราะความสุขจะเป็น "ทุน" สร้างผลตอบแทน มันเป็น "เหตุ" ที่สร้างผลลัพธ์ของ "กำไร"
----------------------------------
ถ้าคุณบินตั๋วชั้น "เฟิร์สคลาส" ความสุขคุณเพิ่มขึ้นมานิดหน่อย แต่คุณต้องจ่ายเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่า คุณขับรถญี่ปุ่นกับขับรถเบนซ์ ไปถึงที่หมายเหมือนกัน แต่คุณต้องจ่ายเพิ่ม 3-4 เท่า นี่เป็นตัวอย่างให้เห็นว่าของทุกอย่าง 90% ของความสุข คุณซื้อได้ด้วยเงินนิดเดียว
----------------------------------
Value Investor พันธุ์แท้จะต้องมองที่ "คุณค่า" ของเงินที่จ่าย และไม่ซื้อหุ้นเพราะเห็นว่าหุ้นมี "ราคาถูก" แต่ต้องซื้อหุ้นเพราะว่ามัน "ดี" แล้วจ่ายเงินซื้อในราคาที่ "ยุติธรรม"
---------------------------------
ผมเชื่อมาตลอดว่า "การเดินทาง" สำคัญกว่า "เป้าหมาย" อยากบอกนักลงทุนทุกคนว่าอย่าไปกังวลกับเป้าหมาย แต่ควรใส่ใจใน "เส้นทาง" ที่เรากำลังเดิน ถ้าเราทำดีที่สุด และมีความสุขในเส้นทางของเราทุกวัน ในที่สุดเราก็จะไปถึงเป้าหมายนั้นเอง
----------------------------------
ผศ.ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร เล่าให้ฟังว่า ทุกวันนี้เขายังไม่มีบ้านเป็นของตัวเอง
"บ้านผมมีห้องเดียวนะ เป็นบ้านที่อยู่ตั้งแต่สมัยที่ไม่มีตังค์เลย ตอนแต่งงานใหม่ๆ ชีวิตทำงานกินเงินเดือน ก็ไม่ได้มีตังค์มาก ทุกวันนี้ก็ยังอยู่บ้านหลังเดิม"
บ้านของดอกเตอร์เป็นบ้านชั้นเดียวเล็กๆ บนเนื้อที่ไม่กี่ตารางวา ย่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิของแม่ยาย ทุกคนอยู่รวมกัน เห็นหน้ากันทุกวัน ไม่มีพื้นที่สำหรับความเป็นส่วนตัว ไม่มีคนรับใช้ แต่บ้านหลังนี้ไม่เคยปราศจากไออุ่นของทุกคน
"ความสะดวกสบายในบ้านจริงๆมีน้อย บ้านหลังเล็กมาก แต่ผมไม่ได้ต้องการอะไรมากกว่านี้ เพราะมาคิดดูอีกทีถามว่าไปอยู่บ้านหลังใหญ่ๆโตๆได้มั้ย มันก็ได้ แต่บ้านใหญ่โตไม่ได้ให้ความสุขกับเรามากไปกว่าบ้านหลังเล็ก ทุกคนใกล้ชิดกัน เจอหน้ากันทั้งวัน"
ดร.นิเวศน์เล่าว่า ตัวเองเคยซื้อบ้านราคานับสิบล้านบาทด้วย "กิเลส" ที่มันซุกอยู่ภายในเหมือนกับคนทั่วๆไป ในที่สุดค้นพบว่าไม่ใช่การลงทุนที่คุ้มค่าเลย
ท้ายที่สุด จึงขายบ้านหลังนั้นทิ้งไป
ทุกวันนี้ดร.นิเวศน์ได้รับบทเรียนจากการไปซื้ออสังหาริมทรัพย์ราคาแพง และได้ข้อสรุปเป็นข้อจดจำว่า ถึงจะมีเงินเยอะก็จะไม่เอาไปซื้อบ้านราคาแพง หรือเอาไปสะสมที่ดินอีกแล้ว เพราะนั่นคือ สิ่งที่ไม่คุ้มค่าในแง่ของการลงทุน (ในมุมมองของดอกเตอร์)
"ตอนที่ผมยังไม่มีความคิดแบบ Value Investor เคยสนใจซื้อที่ดินเหมือนกัน เห็นเลยว่าที่ดินมันก็อยู่ที่เก่า มันไม่เคยจ่ายปันผลให้เรา ราคาก็ไม่ได้ไปไหน 10 ปีที่ผ่านมาถ้าขายราคาเดิมได้ ผมขาย แต่มันขายไม่ได้ เพราะฉะนั้น ผมเข้าใจแล้วว่าตัวเองไม่ชำนาญทางด้านนี้ ให้ซื้อเพื่อเก็งกำไรคงไม่ทำอีกแน่"
เมื่อได้มีโอกาสนั่งคุยกัน ก็ยิ่งเข้าถึงทางเดินความคิด ของ "Value Investor" หมายเลข 1 ผู้นี้ ทั้งเรียบง่าย สมถะ ตั้งแต่วิธีคิดไปจนถึงวิถีการดำเนินชีวิต
แม้จะได้ชื่อว่าเป็นนักเฟ้นหุ้นระดับ "เฟิร์สคลาส" ตรงกันข้าม ดอกเตอร์กลับไม่เคยใช้ชีวิตฟุ่มเฟือย เพราะยึดถือในหลักการดำเนินชีวิตที่อิงอยู่กับความ "คุ้มค่า" กับของทุกชิ้นที่แลกมาด้วยน้ำพักน้ำแรง
"คนชอบเข้าใจผิดว่า Value Investor ต้องใช้ของถูก จริงๆแล้วเข้าใจผิดกันหมด เรามองทุกอย่างที่ความคุ้มค่าของเงิน และประโยชน์ที่ได้รับกลับมา โดยจะไม่จ่ายอะไรที่แพงเกินความจำเป็น เพราะฉะนั้น การใช้จ่ายเพื่อซื้อความสุข สำหรับ Value Investor จึงไม่ใช่ความสุขที่แท้จริง
ผมไม่ได้เป็นคนประหยัด หรือขี้เหนียวสุดๆ แต่เราใช้จ่ายเท่าที่เราคิดว่ามันเพียงพอ ทำให้เรามีความสุข ผมเชื่อว่า 90% ของความสุขในชีวิตของทุกๆคน คุณซื้อได้ด้วยเงินนิดเดียว เวลาที่คุณต้องการความสุขเพิ่มขึ้นมาอีก 10% (ครบ 100%) คุณอาจจะต้องใช้เงินมากขึ้นไปอีกหลายเท่า ซึ่งตรงนี้ผมไม่พร้อมจะจ่าย เพราะถ้าจ่ายไปก็ไม่มีความสุข"
ดอกเตอร์ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณบินตั๋วชั้น "เฟิร์สคลาส" ความสุขคุณเพิ่มขึ้นมานิดหน่อย แต่คุณต้องจ่ายเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่า คุณขับรถญี่ปุ่นกับขับรถเบนซ์ ไปถึงที่หมายเหมือนกัน แต่คุณต้องจ่ายเพิ่ม 3-4 เท่า
นี่เป็นตัวอย่างให้เห็นว่าของทุกอย่าง 90 เปอร์เซนต์ของความสุข คุณซื้อได้ด้วยเงินนิดเดียว
"ทุกวันนี้กิจกรรมที่ผมทำอยู่จริงๆชีวิตมันมีความสุขอยู่แล้ว การออกกำลังกายเป็นความสุขยิ่งใหญ่ ผมไม่ต้องใช้เงินเลย มีรองเท้าคู่เดียว ถามว่าไปฟิตเนสมันดีกว่ามั้ย สำหรับผมวิ่งในสวน สาธารณะ มันสดชื่นไปอีกแบบหนึ่ง ผมกำลังจะบอกว่าพื้นฐานความคิดของ Value Investor 'เงิน' มันไม่ใช่โจทย์ของ 'ความสุข' เสมอไป ตรงกันข้ามกับการเลือกหุ้น คุณต้องเลือกหุ้นที่คิดว่า 'ดีเยี่ยม'หรือเฟิร์สคลาสเท่านั้น"
ดร.นิเวศน์ อธิบายแนวคิดให้ฟังว่า จริงๆแล้ว Value Investor เวลาเลือกหุ้นก็แบบเดียวกัน หาหุ้นที่ "ดีมาก" แต่ใช้เงิน "นิดเดียว" (ซื้อตอนที่ราคายังไม่แพง) แล้วถือไปตลอด
เหมือนกับการใช้ชีวิต เราสามารถค้นหาสิ่งดีๆให้กับชีวิตได้มากมาย ด้วยเงินเพียงนิดเดียว
"ถ้าศึกษาวิธีคิดของ Value Investor มันเกี่ยวข้องกับชีวิตคน ถ้าคุณจ่ายเงินซื้อรถเบนซ์โก้หรู ผมยังไม่ค่อยเห็น ถ้าคุณคิดแบบนั้นคุณก็ไม่ใช่ Value Investor พันธุ์แท้ ไม่มี Value Investor พันธุ์แท้คนไหน ใช้ชีวิตอย่างฟุ่มเฟือยแล้วประสบความสำเร็จในการเล่นหุ้น"
ดอกเตอร์บอกว่า คนที่บอกว่าตัวเองเป็น Value Investor เอาเงินไปซื้อรถเบนซ์ ไปใช้จ่ายเพื่อความสุข "เขาไม่ผิดหรอก" แต่ที่เห็นมาส่วนใหญ่ รวมทั้ง "วอร์เรน บัฟเฟตต์" ด้วย พอเป็น Value Investor ทั้งชีวิตและจิตใจ จะไม่มีความสุขกับการใช้เงินมาบำเรอความสุข
"ความสุขทั้งหมดของบัฟเฟตต์จะไปอยู่ที่การลงทุน เห็นราคาหุ้นเติบโตขึ้นอย่างมั่นคง แต่เอาไปซื้อบ้านราคาแพง ไปซื้อรถเบนซ์ ของพวกนี้ใช้แล้วมันหายไป Value Investor พันธุ์แท้จะไม่ชอบ"
Value Investor พันธุ์แท้ในมุมมองของดร.นิเวศน์ จะต้องมองที่ "คุณค่า" ของเงินที่จ่าย
นั่นหมายความว่า คุณอย่าซื้อหุ้นเพราะเห็นว่าหุ้นมี "ราคาถูก" แต่ต้องซื้อหุ้นเพราะว่ามัน "ดี" แล้วจ่ายเงินซื้อในราคาที่ "ยุติธรรม"
"ผมไม่เคยซื้อหุ้นราคา 3 บาท 5 บาท ผมชอบซื้อหุ้นที่คนพูดว่า 'แพง' ในด้านราคา แต่ 'ถูก' ในแง่ของ 'Value' ถ้าสังเกตุดูหุ้นในพอร์ตของผม ราคา 100 บาทขึ้นไปทั้งนั้น หรือราคาหลายสิบบาท ที่พาร์บาทเดียวก็มี เช่น STANLY, SE-ED, IRC, APRINT, MATI, TMD, SSC, และ HMPRO หุ้นของผมราคาสูงหมดนะ แต่มันคุ้มค่า มันสร้างผลตอบแทนให้เราดีมาก"
การค้นหาหุ้นของ ดร.นิเวศน์ แท้ที่จริงแล้วไม่ได้ซับซ้อนอะไรเลย แต่จะมองสินค้าที่ผ่านเข้ามาในชีวิตประจำวัน ทำความเข้าใจกับสินค้านั้นทุกวัน จนกลายเป็นความเชื่อมั่นในศักยภาพของหุ้นตัวนั้น
"เราเห็นมันบ่อยๆ เนื่องจากการใช้ชีวิตของเรา ผมจะเลือกซื้อหุ้นพวกนี้ก่อน"
เช่นการไปเดินช้อปปิ้งที่ห้างมาบุญครอง (MBK) ดื่มน้ำอัดลมเป๊บซี่ (SSC) เข้าร้านหนังสือนายอินทร์ (APRINT) ไปซื้อหนังสือที่ร้านซีเอ็ด (SE-ED) เห็นรถยนต์ส่วนใหญ่ใช้หลอดไฟของไทยสแตนเลย์ (STANLY) ที่ขายดีอันดับ 1 เขาผลิตให้กับฮอนด้า และโตโยต้า หรือผู้ผลิตยางรถจักรยานยนต์ที่ขายดีที่สุด (IRC)
สินค้าที่ดอกเตอร์เลือกจะต้องมี "แบรนด์" ที่แข็งแกร่ง และต้องมีจุดเด่นยากที่คู่แข่งขันจะเข้ามาแย่งแชร์ตลาดไปครองได้ง่ายๆ
"ทุกครั้งที่เห็นสินค้า เราอ่านหนังสือเจอ ทุกอย่างมันจะเชื่อมเข้ามาที่เรื่องของหุ้น มันเข้ามาเองอัตโนมัติ"
แต่สิ่งที่ดอกเตอร์ย้ำเสมอว่า การเล่นหุ้นขาดไม่ได้จะต้องมีความสุขกับมัน เพราะความสุขจะเป็น "ทุน" สร้างผลตอบแทน มันเป็น "เหตุ" ที่สร้างผลลัพธ์ของ "กำไร"
"จริงๆผมมีความสุขกับการได้ซื้อหุ้นที่เราพอใจมากๆ ดีมากๆ น่าสนใจมากๆ แล้วเก็บมากขึ้นๆ จนวันหนึ่งเรากลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท"
ความเร้นลับของ "กำไร" และ "ความสุข" สำหรับ ดร.นิเวศน์ สะท้อนออกมาในแง่มุมของการ "เลือกหุ้น" ซึ่งเหมือนกับการเลือก "คู่แต่งงาน"
คุณต้องคิดเสมอว่า ต้องหาคู่ที่ดีที่สุดและเหมาะสมที่สุดกับคุณ เพื่อจะครองคู่กันไปจนแก่เฒ่า โดยเน้นย้ำว่า Value Investor จะไม่เลือกหุ้นแบบ "ฉาบฉวย" ซื้อแล้วหวังกำไรทันที
"ผมจะซื้อหุ้นที่ตัวเองรู้สึกพอใจมากๆ แล้วอยากจะเก็บมันไว้นานๆ"
ดร.นิเวศน์คิดถึงขนาดที่ว่า สักวันหนึ่งหุ้นที่เขาซึ่งเป็น "พ่อ" ถือ จะถูกส่งต่อไปให้ "ลูก" เพื่อเป็น"มรดก"ด้วยซ้ำ
"หุ้นที่ผมซื้อส่วนใหญ่สามารถส่งต่อเป็นมรดกได้ เช่น SSC แต่ไม่รู้ว่าถ้าเวลาผ่านไปนานๆ ปัจจัยบางอย่างเปลี่ยนไป เราอาจต้องเปลี่ยนหุ้นตัวอื่น แต่ทุกกิจการที่ลงทุน จะตั้งต้นจากวิธีคิดที่ว่าหุ้นตัวนั้นสามารถถือไปจนถึงลูก ถึงหลานได้..
ถ้าผมซื้อหุ้นของกิจการที่ดีเยี่ยม ในราคาที่ค่อนข้างต่ำ มีผู้บริหารดี ในที่สุดราคาหุ้นจะสูงขึ้นไปเรื่อยๆ เราก็มีความสุขกับ Score ที่เพิ่มขึ้น แต่เป็นคนละส่วนกับการเอากำไรมาซื้อความสุขนะ"
ดร.นิเวศน์ย้ำและอธิบายว่า Score หรือผลตอบแทนแห่งความสุข หมายถึง เมื่อเราซื้อไปแล้วราคาหุ้นเพิ่มขึ้น จ่ายปันผลมาเราก็ "ทบต้น" ขึ้นไป นำดอกผลไปลงทุนต่อ แล้วเห็นผลตอบแทนแต่ละปีที่ผ่านไปดีกว่าตลาดโดยรวม รู้สึกพอใจเมื่อเห็นมันเติบโตขึ้นเรื่อยๆ
"จนวันหนึ่งเราสามารถบอกได้ว่า ตอนนี้เราก็มีฐานะ มีความมั่นคง และเป็นอิสระพอที่จะไม่ต้องทำอะไรเลยก็ได้ สามารถมีปันผลที่เลี้ยงเราตลอดชีวิตไปจนถึงลูกถึงหลานได้ นี่คือ ความสุขของผม"
วันนี้ Score แห่งความสุขของดอกเตอร์ได้ทะยานผ่านพรมแดนแห่งคำว่า "อิสระภาพทางการเงิน" ที่หมายถึงรายรับจากเงินลงทุน มากกว่ารายจ่ายประจำนานแล้ว แต่วัฏจักรแห่งความจริงของ Value Investor เช่นดอกเตอร์ คือการเลี้ยงชีพจาก "ดอกผล" และใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย
"ถ้าผมยังทำงานเงินเดือนก็พอใช้อยู่แล้ว เพราะเราไม่ได้ใช้เยอะ ส่วนกำไร และเงินปันผลที่ได้มาจากการลงทุนก็ทบต้นไปเรื่อยๆ แต่ถามว่าถ้าไม่มีรายได้จากการทำงาน อยู่ได้มั้ย ทุกวันนี้มันอยู่ได้แล้ว เพราะเงินปันผลที่ได้รับแต่ละปีค่อนข้างมาก วันนี้ผมมีอิสระภาพทางการเงินแล้ว"
ดร.นิเวศน์ อธิบายถึงคำว่า "Spending" หรือ การใช้เงินสำหรับตัวเอง ว่า ไม่ใช่ "คนขี้เหนียว" เขายังมีความตั้งใจจะส่งลูกสาวคนเดียวคือด.ญ.พิสชา เหมวชิรวรากร วัย15-16ปี ไปเรียนเมืองนอกด้วย เพราะการให้การศึกษาที่ดีที่สุดกับลูก ก็เหมือนกับการ "ลงทุน" อย่างหนึ่ง
"ผมจะสอนลูกไม่ให้ใช้เงินฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็น บ้านก็มีเท่าที่พออยู่ เพราะบ้านที่ใหญ่โตเกินไปย่อมมีภาระให้ต้องดูแลมาก ค่าใช้จ่ายก็เพิ่มขึ้น แทนที่เราจะเอาเงินตรงนั้นไปลงทุนให้งอกเงย"
0 0 0
วิธีคิดของ Value Investor ในการเลี้ยงลูกก็น่าสนใจ
ดร.นิเวศน์ เล่าให้ฟังว่า เขาเลี้ยงลูกให้สมถะเหมือนพ่อ ไม่ใช้จ่ายเงินฟุ่มเฟือย โดยจะพยายามปลูกฝังว่าอะไร "ถูก" อะไร "แพง" ในแง่ของ "คุณค่า" เมื่อเทียบกับเงินที่เราจ่าย และจะบอกลูกเสมอว่าอะไรคือกิจการของพ่อบ้าง เพื่อให้เขาภาคภูมิใจ
เกือบ 10 ปีที่ลงทุนในแนวทางนี้ เขาได้พิสูจน์แล้วว่ามันประสบความสำเร็จ
"ยังจำได้ว่าวันแรกที่ผมลงทุนตามแนวคิด Value Investor หนี้สินผมมากกว่าสินทรัพย์สภาพคล่อง สมัยนั้นผมคิดว่า อยากจะมีบ้านหลังใหญ่ที่สุดเท่าที่จะทำได้ ก็ไปก่อหนี้ขึ้นมา 10 กว่าล้านบาท แต่โชคดียังพอมีเงินสดเหลืออยู่ แม้จะน้อยกว่าหนี้ ผมเอาเงินก้อนนั้นไปลงทุนจนถึงวันนี้เงินก้อนนั้นเติบโตขึ้นมากว่า 20 เท่าตัว
"ผมได้แง่คิดว่า ถ้าเราไม่คิดที่จะซื้อความสุข เอาเงินก้อนที่ซื้อบ้านก้อนนั้นมาลงทุน ป่านนี้ เงินจะยิ่งพอกพูนขึ้นมากกว่านี้อีกหลายเท่า เพราะฉะนั้นผมจึงตั้งปณิธานไว้เลยว่า ต่อจากนี้ไปจะไม่นำเงินไปซื้ออสังหาริมทรัพย์ และไม่สะสมของมีค่าอย่างอื่น จะสะสมอย่างเดียว คือหุ้นดีๆเข้าพอร์ต"
รางวัลในชีวิตของอาจารย์นิเวศน์ จึงแตกต่างจากคนทั่วไป
"รางวัลของชีวิตก็คือ สิ่งที่ผมทำอยู่ทุกๆวัน"
คำๆหนึ่งที่ดร.นิเวศน์พูดและน่าสนใจอย่างยิ่ง นั่นคือ คำว่า "การเดินทาง" กับ "เป้าหมาย" ในชีวิตของคนทุกคน
"ผมเชื่อมาตลอดว่าการเดินทางสำคัญกว่าเป้าหมาย อยากบอกนักลงทุนทุกคนว่า อย่าไปกังวลกับเป้าหมาย แต่ควรใส่ใจในเส้นทางที่เรากำลังเดิน ถ้าเราทำดีที่สุด และมีความสุขในเส้นทางของเราทุกวัน ในที่สุดเราก็จะไปถึงเป้าหมายนั้นเอง" ดร.นิเวศน์เชื่อเช่นนี้ตลอด
"ผมตั้งเป้าหมายว่าจะมีเงิน 1,000 ล้านบาท ถ้าไม่ได้ก็ไม่ใช่จะเป็นจะตาย เรามีเป้าหมายเพื่อกำหนดเส้นทางไม่ให้เราไขว้เขว ถ้าเราแน่วแน่ ผลลัพธ์ที่ออกมามันจะสอดคล้องกันทั้งหมด"
ถามดอกเตอร์ว่า สมมุติทำเงินถึง 1,000 ล้านบาท จริงๆ เป้าหมายต่อไปคืออะไร?
"ถ้าตัดเรื่องเงินออกไป เป้าหมายของผมก็ยังต้องการเป็นนักลงทุนและใช้ชีวิตสมถะเช่นนี้ตลอดไป คนเราอย่าไปคิดว่ามีเงิน 1,000 ล้านแล้วจะใช้จ่ายฟุ่มเฟือย คนที่คิดก่อนแล้วว่าจะทิ้งวิถี ดั้งเดิมของตัวเองก่อนจะไปถึงเส้นชัย ผมคิดว่าเขาคงไม่มีวันไปถึงเส้นชัยนั้น"
วันนี้ฐานะทางการเงินของ ดร.นิเวศน์ อาจเข้าขั้น "เศรษฐี" และ "ไม่มีหนี้สิน" แม้จะยังมีเงินไม่ถึง 1,000 ล้านบาท ตามเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ แต่ดอกเตอร์ก็มีเงินมากพอที่จะใช้ชีวิตอย่างมีความสุขไปตลอดชั่วชีวิต
นี่คือ "แก่นแท้" แห่งวิถีการลงทุนของลูกผู้ชายที่ชื่อ "ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร"
เป็นคนเลว ในสายตาคนอื่น ดีกว่าโกหกตัวเอง ให้เทิดทูนบูชา ติดกับมายาคติ ที่กะลาครอบ
- dunkphunkorn
- Verified User
- โพสต์: 161
- ผู้ติดตาม: 0
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร First Class ใช้ชีวิต Economy
โพสต์ที่ 8
ปัจจุบัน ท่านก็ยังทำประโยชน์เพื่อสังคมอยู่ น่านับถือนะครับ
นักลงทุนฝึกหัดครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 1296
- ผู้ติดตาม: 1
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร First Class ใช้ชีวิต Economy
โพสต์ที่ 9
แนวความคิดของผม ผมคิดว่าคนเราต้องใช้จ่ายให้เหมาะสมกับฐานะ
ชาว VI ถ้ามี 100 ล้านจะใข้รถ BENZ ก็ไม่เห็นแปลก ถ้าคนเราจะใช้เงิน
ทั้งทีแล้วมัวแต่คิดว่าคุ้มหรือไม่คุ้มกับเงินที่เสียไป ผมว่าชีวิตคงไม่มี
ความสุขนัก และถ้าความเป็นอยุ่ต่ำกว่าฐานะมากเกินไป เช่นนายศรัทธา
ของ ดร. นิเวศน์ ก็จะกลายเป็นคนขี้เหนียว
ชาว VI ถ้ามี 100 ล้านจะใข้รถ BENZ ก็ไม่เห็นแปลก ถ้าคนเราจะใช้เงิน
ทั้งทีแล้วมัวแต่คิดว่าคุ้มหรือไม่คุ้มกับเงินที่เสียไป ผมว่าชีวิตคงไม่มี
ความสุขนัก และถ้าความเป็นอยุ่ต่ำกว่าฐานะมากเกินไป เช่นนายศรัทธา
ของ ดร. นิเวศน์ ก็จะกลายเป็นคนขี้เหนียว
-
- Verified User
- โพสต์: 17
- ผู้ติดตาม: 0
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร First Class ใช้ชีวิต Economy
โพสต์ที่ 10
ผมไม่เห็นด้วยที่ว่าการขับรถ เบนซ์ หรือการใช้ของฟุ่มเฟือย จะเป็นเครื่องแสดงว่า อยู่อย่างสมฐานะ
และ ผมก็ไม่เห็นด้วยที่ว่าการใช้ชีวิตต่ำกว่าฐานะเป็นคนขี้เหนียว
เพราะความสุขของคนแต่ละคนคงไม่เหมือนกัน คุณศรัทธาอาจจะมีความสุขกับการใช้ชีวิตอย่างนี้ และเลือกเดินทางนี้อย่างเต็มใจ
และ ผมก็ไม่เห็นด้วยที่ว่าการใช้ชีวิตต่ำกว่าฐานะเป็นคนขี้เหนียว
เพราะความสุขของคนแต่ละคนคงไม่เหมือนกัน คุณศรัทธาอาจจะมีความสุขกับการใช้ชีวิตอย่างนี้ และเลือกเดินทางนี้อย่างเต็มใจ
-
- Verified User
- โพสต์: 404
- ผู้ติดตาม: 0
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร First Class ใช้ชีวิต Economy
โพสต์ที่ 12
ขอบคุณมากครับ ที่นำบทความดีๆมาฝาก
Becoming an Automatic Millionaire on Just a Few Bahts a Day..
My blog: http://nutsiri.bloggang.com
My blog: http://nutsiri.bloggang.com
- เม่าฝึกบิน
- Verified User
- โพสต์: 21
- ผู้ติดตาม: 0
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร First Class ใช้ชีวิต Economy
โพสต์ที่ 13
ให้แง่คิดที่ดี ทั้งต่อการลงทุนและชีวิตค่ะ
- leaderinshadow
- Verified User
- โพสต์: 1765
- ผู้ติดตาม: 0
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร First Class ใช้ชีวิต Economy
โพสต์ที่ 14
ขออนุญาต นำบทความดีๆนี้ ไปจัดทำเอกสารงานสัมมนา
เพื่อเป็นวิทยาทาน แก่นิสิต และผู้สนใจทั่วไปครับ
ขอบพระคุณครับ
เพื่อเป็นวิทยาทาน แก่นิสิต และผู้สนใจทั่วไปครับ
ขอบพระคุณครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 571
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร First Class ใช้ชีวิต Economy
โพสต์ที่ 16
Value Way of Life โดยแท้..
4 ปีก่อน อาจารย์ใช้ชีวิตเรียบง่ายเช่นไร ทุกวันนี้ซึ่ง port ทะลุเป้าไปเป็นเท่าตัว อาจารย์ก็ยังคงใช้ชีวิตเรียบง่ายเหมือนเดิม
เป็นตัวอย่างของการใช้จ่าย-ให้เวลากับสิ่งที่ 'คุ้มค่า' ได้อย่างดีเยี่ยมครับ
ปล.คุณ chowbe76 อย่าแย่งป๋มจิ^^
4 ปีก่อน อาจารย์ใช้ชีวิตเรียบง่ายเช่นไร ทุกวันนี้ซึ่ง port ทะลุเป้าไปเป็นเท่าตัว อาจารย์ก็ยังคงใช้ชีวิตเรียบง่ายเหมือนเดิม
เป็นตัวอย่างของการใช้จ่าย-ให้เวลากับสิ่งที่ 'คุ้มค่า' ได้อย่างดีเยี่ยมครับ
ปล.คุณ chowbe76 อย่าแย่งป๋มจิ^^