30 กลยุทธ์หุ้นเปลี่ยนชีวิต/วีระพงษ์ ธัม

บทความต่างๆที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม

โพสต์ โพสต์
Thai VI Article
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1593
ผู้ติดตาม: 2

30 กลยุทธ์หุ้นเปลี่ยนชีวิต/วีระพงษ์ ธัม

โพสต์ที่ 1

โพสต์

โค้ด: เลือกทั้งหมด

    การลงทุนคือหัวใจสำคัญที่จะอยู่รอดในโลกยุคนี้ ในยุคที่สินทรัพย์มีราคาเพิ่มขึ้นเร็วกว่าความสามารถในการหารายได้ของคนทั่วไป สำหรับคนยุคก่อน เงินล้านคือความฝันทั้งชีวิต แต่ปัจจุบันเงินล้านแทบจะซื้อบ้านเล็ก ๆ ซักหลังหรือรถขนาดกลางหนึ่งคันไม่ได้ ดังนั้นตำราที่บอกว่าให้ทำงานหนักขึ้น เพื่อหารายได้มากขึ้น และเก็บออมไว้เกษียณ อาจจะใช้ได้ดีในยุค Baby Boomer แต่ไม่ใช่ทางเลือกที่ดีสำหรับยุคปัจจุบัน และยิ่งเรามีความตื่นตัวเรื่องการลงทุน ก็ยิ่งทำให้ราคาสินทรัพย์ลงทุนเกือบทุกชนิดรวมถึงหุ้นมีราคาแพงขึ้น ดังนั้นการลงทุน ที่เป็นทางออกสำหรับชีวิตยุคนี้ก็เป็นทางที่อันตรายที่สุดในเวลาเดียวกัน ตอนนี้หนังสือหุ้นเปลี่ยนชีวิตครบ 3 ปีเต็ม ผมอยากจะเพิ่มกลยุทธ์การลงทุน 30 ข้อที่น่าจะเอาไว้ใช้ในยุคที่เราต้องเอาตัวรอดจากการลงทุนในหุ้นครับ

    1. หัวใจของการลงทุนหุ้นอยู่ที่การซื้อธุรกิจที่ “แข็งแรง” “มีการเติบโต” และ “ราคาต่ำกว่ามูลค่า” การลงทุนในบริษัทที่ “ไม่แข็งแรง” เป็นสิ่งแรกที่ควร “หลีกเลี่ยง” เพราะการแข็งขันในธุรกิจมักจะสร้างปัญหาให้บริษัทที่อ่อนแอที่สุด คล้าย ๆ กับสารคดีที่บอกว่า ในทุก ๆ วัน กวางที่วิ่งช้าที่สุดจะตกเป็นเหยื่อของสิงโต นอกจากนั้นธุรกิจต้องมีการ “เติบโต” อย่างน้อยก็มากกว่าเงินเฟ้อหรือ GDP ประเทศ เพราะนี่คือปราการสำคัญสำหรับการคงมูลค่าเงินลงทุน สุดท้ายแล้วราคาที่เราซื้อ “ไม่ควรจะแพง” จนเกินไป สามสิ่งนี้ช่วยป้องกันปัญหาการลงทุนประเภท “ขาดทุนถาวร” ซึ่งเป็นสิ่งที่อันตรายที่สุดในการลงทุน

    2. หุ้นที่ดีจะต้องมีพัฒนาการเชิงบวกที่ดีกว่าตลาดคาดการณ์ นักลงทุนจะได้รับผลตอบแทนที่ยอดเยี่ยม จากการลงทุนหากสามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้า และเป็นแรงจูงใจให้นักลงทุนมักเสาะแสวงหาพัฒนาการเชิงบวก เช่น หาบริษัทที่การลงทุนใหม่ ๆ ที่น่าตื่นเต้น (หุ้นเติบโตสูง) การเปลี่ยนผู้บริหาร หรือการแก้ปัญหาที่เรื้อรังของธุรกิจ (หุ้น Turn Around) การเปลี่ยนแนวโน้มของอุตสาหกรรมที่ตกต่ำ (หุ้นวัฎจักร) อย่างไรก็ดีเราควรจะยึดหลักสำคัญข้อแรกไว้ก่อน ว่าการลงทุนควรจะหลีกเลี่ยงการขาดทุนถาวร ก่อนที่จะมุ่งหาผลตอบแทนและมองหา “ข่าวดี” เหล่านี้

    3.สิ่งที่ต้องรู้คือ นักลงทุนจำนวนมากต่างพยายามใช้วิธีเดียวกันเพื่อให้ได้ผลลัพท์ที่ดีที่สุดเช่นเดียวกับเรา นี่คือการแข่งขันที่รุนแรง และถึงเราจะอ่านตำราลงทุนแบบบัฟเฟตต์จนจบ เราก็อาจจะเป็นบัฟเฟตต์ไม่ได้ ส่วนที่สำคัญมากคือ “ประสบการณ์” ที่ต้องใช้ “ระยะเวลาสั่งสม” ท่ามกลางความไม่แน่นอนในตลาดหุ้น สิ่งที่แน่นอนที่สุดคือ ความผิดพลาดจะต้องเกิดขึ้นกับนักลงทุนทุกคน เราไม่ได้พยายามหลีกหนีความผิดพลาดและมองหาความสมบูรณ์แบบจาการลงทุน แต่เราพยายามจะจำกัดความเสี่ยงมัน และเรียนรู้จากความผิดพลาด เพราะนี่คือ “ประสบการณ์ที่มีคุณค่าสูง”

    4.ความเป็นอิสระต่อฝูงชน นักลงทุนที่ดีจะต้องมีความคิดเป็นอิสระจากคนอื่น นี่คือสิ่งที่น่าอึดอัดสำหรับสัญชาติญาณมนุษย์ เรามีแนวโน้มที่จะสบายใจที่จะถ้าทำตามคนอื่น จากประสบการณ์ของผมความรู้สึกอึดอัดใจในเวลาซื้อหุ้น จะให้ผลลัพท์ที่ดีกว่า นักลงทุนต้องทนความรู้สึกโดดเดี่ยวและไม่สบายใจได้ เพราะหุ้นจะขึ้นในขณะที่นักลงทุนไต่กำแพงแห่งความกังวล และหุ้นจะตกลงอย่างหนักหลังจากที่ทุกคนรู้สึกสบายใจและปลอดภัย

    5.เราจำเป็นต้องพัฒนา “ไอเดียการลงทุน” ไม่ว่าจะเป็นการ “เปิดใจ” รับฟังไอเดียใหม่ ๆ ตลอดเวลา การอ่าน สังเกต คิด วิเคราะห์จึงเป็นส่วนสำคัญ เพราะนักลงทุนควรจะพยายามนำความคิดและข้อมูลต่าง ๆ ตกผลึกเป็นไอเดียดี ๆ ในการลงทุน นักลงทุนที่ชนะตลาดได้ มักจะมีข้อมูลในเชิงคุณภาพและปริมาณของบริษัท หรืออุตสาหกรรมที่ตัวเองลงทุนเหนือกว่าค่าเฉลี่ยของคนทั่วไป ในทางกลับกันผู้ที่เสียหายหนัก คือนักลงทุนที่รู้น้อยที่สุด

    6.จงระวังการหาข้อมูลในการลงทุน เรามักจะมีแนวโน้มหาข้อมูลด้านบวกเพื่อสนับสนุนแนวคิดตัวเอง และละเลยมองข้ามข้อมูลเชิงลบที่ขัดแย้งกับความเชื่อของเรา การที่เรากำไรจากหุ้นจะยิ่งทำให้เราคิดเข้าข้างตัวเองมากขึ้น บางครั้งหุ้นขึ้นหรือลงได้โดยไร้เหตุผล ซึ่งจะทำให้ความโชคดี แปรเปลี่ยนไปเป็นความโชคร้าย เมื่อเราประมาทและมองความเสี่ยงน้อยลง

    7.อดีตไม่ได้บอกอะไรมากไปกว่าบอกว่ามันคือสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว มันใช้บอกอนาคตได้ในบางสถานการณ์เท่านั้น ถ้าเราตัดสินใจการลงทุนโดยการมองตัวเลขงบการเงิน เหมือนขับรถโดยมองแค่กระจกหลัง ในทางคณิตศาสตร์ ถ้าเราเห็นเลข 2 4 6 เราก็จะเดาว่าตัวเลขต่อไปคือ 8 แต่สำหรับการลงทุน มันอาจจะเป็นอะไรก็ได้ทั้งนั้น

    ติดตามต่อได้ในตอนถัดไปครับ
[/size]
RnD-VI
Verified User
โพสต์: 2187
ผู้ติดตาม: 0

Re: 30 กลยุทธ์หุ้นเปลี่ยนชีวิต/วีระพงษ์ ธัม

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ขอบคุณมากครับ
เราลงรายละเอียดระดับไหน + แผนการ + วินัยในการแบ่งและใช้เวลาในแต่ละวัน
Mister_Ban
Verified User
โพสต์: 5
ผู้ติดตาม: 0

Re: 30 กลยุทธ์หุ้นเปลี่ยนชีวิต/วีระพงษ์ ธัม

โพสต์ที่ 3

โพสต์

Thai VI Article เขียน:

โค้ด: เลือกทั้งหมด

    การลงทุนคือหัวใจสำคัญที่จะอยู่รอดในโลกยุคนี้ ในยุคที่สินทรัพย์มีราคาเพิ่มขึ้นเร็วกว่าความสามารถในการหารายได้ของคนทั่วไป สำหรับคนยุคก่อน เงินล้านคือความฝันทั้งชีวิต แต่ปัจจุบันเงินล้านแทบจะซื้อบ้านเล็ก ๆ ซักหลังหรือรถขนาดกลางหนึ่งคันไม่ได้ ดังนั้นตำราที่บอกว่าให้ทำงานหนักขึ้น เพื่อหารายได้มากขึ้น และเก็บออมไว้เกษียณ อาจจะใช้ได้ดีในยุค Baby Boomer แต่ไม่ใช่ทางเลือกที่ดีสำหรับยุคปัจจุบัน และยิ่งเรามีความตื่นตัวเรื่องการลงทุน ก็ยิ่งทำให้ราคาสินทรัพย์ลงทุนเกือบทุกชนิดรวมถึงหุ้นมีราคาแพงขึ้น ดังนั้นการลงทุน ที่เป็นทางออกสำหรับชีวิตยุคนี้ก็เป็นทางที่อันตรายที่สุดในเวลาเดียวกัน ตอนนี้หนังสือหุ้นเปลี่ยนชีวิตครบ 3 ปีเต็ม ผมอยากจะเพิ่มกลยุทธ์การลงทุน 30 ข้อที่น่าจะเอาไว้ใช้ในยุคที่เราต้องเอาตัวรอดจากการลงทุนในหุ้นครับ

    1. หัวใจของการลงทุนหุ้นอยู่ที่การซื้อธุรกิจที่ “แข็งแรง” “มีการเติบโต” และ “ราคาต่ำกว่ามูลค่า” การลงทุนในบริษัทที่ “ไม่แข็งแรง” เป็นสิ่งแรกที่ควร “หลีกเลี่ยง” เพราะการแข็งขันในธุรกิจมักจะสร้างปัญหาให้บริษัทที่อ่อนแอที่สุด คล้าย ๆ กับสารคดีที่บอกว่า ในทุก ๆ วัน กวางที่วิ่งช้าที่สุดจะตกเป็นเหยื่อของสิงโต นอกจากนั้นธุรกิจต้องมีการ “เติบโต” อย่างน้อยก็มากกว่าเงินเฟ้อหรือ GDP ประเทศ เพราะนี่คือปราการสำคัญสำหรับการคงมูลค่าเงินลงทุน สุดท้ายแล้วราคาที่เราซื้อ “ไม่ควรจะแพง” จนเกินไป สามสิ่งนี้ช่วยป้องกันปัญหาการลงทุนประเภท “ขาดทุนถาวร” ซึ่งเป็นสิ่งที่อันตรายที่สุดในการลงทุน

    2. หุ้นที่ดีจะต้องมีพัฒนาการเชิงบวกที่ดีกว่าตลาดคาดการณ์ นักลงทุนจะได้รับผลตอบแทนที่ยอดเยี่ยม จากการลงทุนหากสามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้า และเป็นแรงจูงใจให้นักลงทุนมักเสาะแสวงหาพัฒนาการเชิงบวก เช่น หาบริษัทที่การลงทุนใหม่ ๆ ที่น่าตื่นเต้น (หุ้นเติบโตสูง) การเปลี่ยนผู้บริหาร หรือการแก้ปัญหาที่เรื้อรังของธุรกิจ (หุ้น Turn Around) การเปลี่ยนแนวโน้มของอุตสาหกรรมที่ตกต่ำ (หุ้นวัฎจักร) อย่างไรก็ดีเราควรจะยึดหลักสำคัญข้อแรกไว้ก่อน ว่าการลงทุนควรจะหลีกเลี่ยงการขาดทุนถาวร ก่อนที่จะมุ่งหาผลตอบแทนและมองหา “ข่าวดี” เหล่านี้

    3.สิ่งที่ต้องรู้คือ นักลงทุนจำนวนมากต่างพยายามใช้วิธีเดียวกันเพื่อให้ได้ผลลัพท์ที่ดีที่สุดเช่นเดียวกับเรา นี่คือการแข่งขันที่รุนแรง และถึงเราจะอ่านตำราลงทุนแบบบัฟเฟตต์จนจบ เราก็อาจจะเป็นบัฟเฟตต์ไม่ได้ ส่วนที่สำคัญมากคือ “ประสบการณ์” ที่ต้องใช้ “ระยะเวลาสั่งสม” ท่ามกลางความไม่แน่นอนในตลาดหุ้น สิ่งที่แน่นอนที่สุดคือ ความผิดพลาดจะต้องเกิดขึ้นกับนักลงทุนทุกคน เราไม่ได้พยายามหลีกหนีความผิดพลาดและมองหาความสมบูรณ์แบบจาการลงทุน แต่เราพยายามจะจำกัดความเสี่ยงมัน และเรียนรู้จากความผิดพลาด เพราะนี่คือ “ประสบการณ์ที่มีคุณค่าสูง”

    4.ความเป็นอิสระต่อฝูงชน นักลงทุนที่ดีจะต้องมีความคิดเป็นอิสระจากคนอื่น นี่คือสิ่งที่น่าอึดอัดสำหรับสัญชาติญาณมนุษย์ เรามีแนวโน้มที่จะสบายใจที่จะถ้าทำตามคนอื่น จากประสบการณ์ของผมความรู้สึกอึดอัดใจในเวลาซื้อหุ้น จะให้ผลลัพท์ที่ดีกว่า นักลงทุนต้องทนความรู้สึกโดดเดี่ยวและไม่สบายใจได้ เพราะหุ้นจะขึ้นในขณะที่นักลงทุนไต่กำแพงแห่งความกังวล และหุ้นจะตกลงอย่างหนักหลังจากที่ทุกคนรู้สึกสบายใจและปลอดภัย

    5.เราจำเป็นต้องพัฒนา “ไอเดียการลงทุน” ไม่ว่าจะเป็นการ “เปิดใจ” รับฟังไอเดียใหม่ ๆ ตลอดเวลา การอ่าน สังเกต คิด วิเคราะห์จึงเป็นส่วนสำคัญ เพราะนักลงทุนควรจะพยายามนำความคิดและข้อมูลต่าง ๆ ตกผลึกเป็นไอเดียดี ๆ ในการลงทุน นักลงทุนที่ชนะตลาดได้ มักจะมีข้อมูลในเชิงคุณภาพและปริมาณของบริษัท หรืออุตสาหกรรมที่ตัวเองลงทุนเหนือกว่าค่าเฉลี่ยของคนทั่วไป ในทางกลับกันผู้ที่เสียหายหนัก คือนักลงทุนที่รู้น้อยที่สุด

    6.จงระวังการหาข้อมูลในการลงทุน เรามักจะมีแนวโน้มหาข้อมูลด้านบวกเพื่อสนับสนุนแนวคิดตัวเอง และละเลยมองข้ามข้อมูลเชิงลบที่ขัดแย้งกับความเชื่อของเรา การที่เรากำไรจากหุ้นจะยิ่งทำให้เราคิดเข้าข้างตัวเองมากขึ้น บางครั้งหุ้นขึ้นหรือลงได้โดยไร้เหตุผล ซึ่งจะทำให้ความโชคดี แปรเปลี่ยนไปเป็นความโชคร้าย เมื่อเราประมาทและมองความเสี่ยงน้อยลง

    7.อดีตไม่ได้บอกอะไรมากไปกว่าบอกว่ามันคือสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว มันใช้บอกอนาคตได้ในบางสถานการณ์เท่านั้น ถ้าเราตัดสินใจการลงทุนโดยการมองตัวเลขงบการเงิน เหมือนขับรถโดยมองแค่กระจกหลัง ในทางคณิตศาสตร์ ถ้าเราเห็นเลข 2 4 6 เราก็จะเดาว่าตัวเลขต่อไปคือ 8 แต่สำหรับการลงทุน มันอาจจะเป็นอะไรก็ได้ทั้งนั้น

    ติดตามต่อได้ในตอนถัดไปครับ
[/size]
Mister_Ban
Verified User
โพสต์: 5
ผู้ติดตาม: 0

Re: 30 กลยุทธ์หุ้นเปลี่ยนชีวิต/วีระพงษ์ ธัม

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ขอบคุณครับ
Seattle
Verified User
โพสต์: 1119
ผู้ติดตาม: 0

Re: 30 กลยุทธ์หุ้นเปลี่ยนชีวิต/วีระพงษ์ ธัม

โพสต์ที่ 5

โพสต์

30 กลยุทธ์หุ้นเปลี่ยนชีวิต (2) / วีระพงษ์ ธัม

Posted: Fri Sep 02, 2016

ต่อเนื่องจากบทความที่แล้วซึ่งกลยุทธ์ที่ปูฐานความคิดหลัก ๆ ของการลงทุนในหุ้น กลยุทธ์ในตอนนี้จะเจาะจงที่การเริ่มต้นหา “ข้อมูลที่ถูกต้อง” ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการเป็นนักลงทุน ซึ่งหากปราศจากข้อมูลที่ถูกต้อง การวิเคราะห์ที่ดีจะเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ข้อมูลเหมือนวัตถุดิบชั้นดี ซึ่งจะนำไปปรุงรสโดยการวิเคราะห์ชั้นเลิศจากนักลงทุน เพื่อค้นหาหุ้นที่จะเปลี่ยนชีวิตคุณ

8) การหาข้อมูลจากการลงทุนนั้น จำเป็นต้องหาแยก “ข้อมูล” กับ “ความคิดเห็น” ให้ได้อย่างเด็ดขาด หลายครั้งนักลงทุนมี “ข้อมูลที่น้อยเกินไป” และเติม “ความคิดตัวเอง” ทำให้ “ผลสรุป” ที่ได้นั้น “ห่าง” จากข้อเท็จจริงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจที่อยู่ไกลตัวตนเอง เช่น หุ้นที่ขายของให้ผู้หญิง แต่เราเป็นผู้ชาย หุ้นที่ขายของให้กับคนต่างชาติ แต่เราเป็นคนไทย หุ้นที่ขายของให้กับเด็ก แต่เราเป็นผู้ใหญ่ เป็นต้น เราควรพยายามสรุปข้อมูลในอดีตเป็นตัวเลข เพราะนี่คือข้อมูลที่น่าเชื่อถือ แต่สำหรับข้อมูลในอนาคตที่มาจากข้อคิดเห็น การคาดการณ์เป็นส่วนใหญ่ เราจำเป็นจะต้องมี “ขนาดตัวอย่างที่มากพอ” และ “มาจากแหล่งที่มีคุณภาพ” เพื่อให้เราสามารถสร้างเป็น “ข้อมูลที่ดี” ได้ เหมือนกับว่าถ้าเราถามว่าเที่ยวประเทศจีนเป็นยังไง คำตอบที่สรุปได้ ไม่ควรจะเป็น “ห้องน้ำสกปรก”

9) การมี “ข้อมูลมากเกินไป” ก็ทำให้เราพลาดโอกาสการลงทุนเช่นเดียวกัน สาเหตุคือ ข้อมูลมีแต่จะ “ล้าสมัย” เร็วขึ้นทุกวัน และข้อจำกัดของนักลงทุนคือ “เวลา” ข้อมูลแต่ละอย่างมีน้ำหนักความสำคัญไม่เท่ากัน การหมกมุ่นในข้อมูลบางอย่างมากเกินไป ทำให้เราพลาดข้อมูลที่เป็นโอกาสในอนาคตได้ เหมือนกับว่าเราไม่จำเป็นต้องเดินทั่วทุกซอกมุมของโรงงานเพื่อจะบอกได้ว่านี่คือโรงงานที่ดี เพราะตั้งแต่ที่เราเหยียบปากประตูโรงงาน ก็อาจจะสรุปอะไรบางอย่างได้แล้ว เราอาจจะใช้เวลาไปเดินโรงงานข้าง ๆ ดีกว่า

10) จงระวังการติดตามข้อมูลเศรษฐกิจมหภาค เช่น เงินเฟ้อ GDP สถานการณ์ตลาดหุ้นต่างประเทศ อัตราการว่างงาน อัตราแลกเปลี่ยน ข่าวการเมืองต่างประเทศ ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้มีผลกับตลาดหุ้นในระยะสั้นจริง แต่มีผล “น้อยมาก” ในระยะยาวโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับหุ้นรายตัว ยิ่งไปกว่านั้นโอกาสที่เราจะคาดการณ์ข้อมูลที่ “ใหญ่” ระดับโลกให้ถูกต้องนั้น “ต่ำมาก” ดังนั้นข้อมูลเศรษฐกิจมหภาคจึงมักมีประโยชน์ค่อนข้างน้อย นักลงทุนควรเจาะจงกับข้อมูลธุรกิจที่ตัวเองลงทุนอยู่มากกว่า ตลาดหุ้นคือสถานที่ ๆ คนรู้ข่าวทุกสิ่ง ราคาหุ้นทุกตัว แต่ไม่รู้มูลค่าและความเสี่ยงของหุ้นตัวเอง

11) ข้อมูลเศรษฐกิจที่ได้จาก “สื่อ” นั้น มีแนวโน้มที่จะเป็นข่าวร้ายมากกว่าข่าวดี เพราะข่าวร้าย “ขายได้” ข่าวต่าง ๆ จึงมักจะมีแนวโน้มเขียนในแง่ร้ายมากกว่าการเขียนในแง่ดี และกว่าจะมี “ข่าวดี” ชัดเจน ตลาดหุ้น มักจะวิ่งไปไกลแล้ว คล้าย ๆ กับวลีที่ว่า หุ้นขึ้นเหมือนเดินบันได เพราะตลาดใช้เวลาค่อย ๆ ซึมซับข่าวดีทางเศรษฐกิจ และตกลงเหมือนลงลิฟท์เพราะความกลัวข่าวร้ายที่ประดังเข้ามา แต่ในทางกลับกัน ข่าวที่เกี่ยวกับหุ้นมักจะมี “ข่าวดี” มากกว่า เพราะมีเหตุผลมากมายให้คนอยากให้หุ้นขึ้น ข่าวร้ายทางเศรษฐกิจขายได้ฉันใด ข่าวหุ้นขึ้นก็ “ขายได้” ฉันนั้น

12) จำไว้ว่านักลงทุนมีข้อมูลน้อยกว่าข้อมูลของผู้บริหารนั้นเสมอ เราไม่มีทางมีข้อมูลดีกว่าผู้บริหารที่ดูแลบริษัทอยู่ทุก ๆ วัน และบ่อยครั้งที่ผู้บริหารจะพูดข้อมูลเชิงบวกในสิ่งที่เอื้อกับความความต้องการตัวเอง เช่นถ้าผู้บริหารเป็นมืออาชีพ ย่อมให้ข้อมูลในลักษณะต้องการเสถียรภาพ ความมั่นคงธุรกิจมากกว่า ส่วนผู้บริหารที่ถือหุ้น ก็อาจจะมีแรงจูงใจในด้านราคาหุ้นมากกว่า อย่างไรก็ดีหุ้นที่ผู้บริหารที่ถือหุ้นในสัดส่วนที่สูงมักจะให้ผลดีระยะยาวกับนักลงทุนรายย่อยมากกว่า กฏสำคัญที่สุดคือเราต้องวัดข้อมูลผู้บริหารจาก “การกระทำ” มากกว่า “คำพูด”


13) ข้อมูลโครงการใหม่ ๆ ของบริษัทเป็นสิ่งที่มีความเสี่ยงสูงกว่าที่เราคาดการณ์ไว้มาก ถ้าบริษัทจำเป็นต้องทำสิ่งใหม่ ๆ ที่ไม่เคยทำมาก่อน เราต้องระวังไว้ก่อน กว่าบริษัทจะเติบโตจนมาถึงทุกวันนี้ ย่อมต้องลองไอเดียต่าง ๆ มากมาย ดังนั้นไอเดียล่าสุดของบริษัท ไม่จำเป็นต้องเป็นไอเดียที่ดีที่สุด และบ่อยครั้งก็เป็นไอเดียที่ไม่ประสบความสำเร็จ

14) จงจำไว้ว่า ข้อมูลจากเซียนหุ้น หรือนักวิเคราะห์ ไม่ว่าจะถูกหรือผิด คุณเห็นด้วยหรือไม่ มันก็จะอยู่ในใจคุณเสมอ และมันจะมีผลต่อการตัดสินใจของคุณในอนาคตไม่มากก็น้อย นี่คือข้อเสียของการฟังข้อมูลจากผู้อื่น การห่างจากตลาดหุ้นและใกล้ชิดธุรกิจที่เราลงทุนอาจจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า

15) ข้อมูลที่เรียบง่ายนั้นดีที่สุด เราไม่ต้องการคณิตศาสตร์ชั้นสูง ข้อมูลที่ลึกลับซับซ้อน แต่เป็นข้อมูลที่เราใกล้ชิดและเข้าใจอย่างถ่องแท้ วลีทองเกี่ยวกับเรื่องนี้คือ “คำตอบที่คลาดเคลื่อนบ้างจากคำถามที่ถูกต้อง ดีกว่าคำตอบที่ถูกต้องจากคำถามที่ผิด” ดังนั้น “คำถาม” ที่ถูกต้องคือจุดเริ่มต้นของทุกสิ่ง ก่อนจะหาข้อมูล จงเริ่มต้นจากการตั้งคำถามที่ถูกต้องก่อน

ติดตามต่อตอนต่อไปครับ
โพสต์โพสต์