เรื่องของแต้มต่อ/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

บทความต่างๆที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม

โพสต์ โพสต์
Thai VI Article
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1593
ผู้ติดตาม: 2

เรื่องของแต้มต่อ/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 1

โพสต์

โค้ด: เลือกทั้งหมด

    การได้แชมป์พรีเมียร์ลีกอังกฤษของทีมฟุตบอลเลสเตอร์ซิตี้ต้องถือว่าเป็นอีกปรากฏการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก  คงมีคนที่จะ “วิเคราะห์” และพูดถึงเหตุการณ์นี้จำนวนมาก  คนที่อยู่ในแวดวงฟุตบอลทั่วโลกคงจะพูดถึงเรื่องของการ “ทำทีม” ที่ประสบความสำเร็จอย่างน่าทึ่งของเลสเตอร์ซิตี้ที่สามารถนำชัยชนะทั้ง ๆ  ที่ไม่ได้มีดาราระดับซุปเปอร์สตาร์ที่โดดเด่นเลย  บางคนโดยเฉพาะที่เป็นคนไทยก็อาจจะเชื่อว่าความสำเร็จที่เกิดขึ้นนั้นน่าจะเกี่ยวข้องกับ  “สิ่งศักดิ์สิทธ์” ที่เจ้าของสโมสรใช้ “ช่วย” ในการแข่งขันซึ่งก็มักจะเป็น “ปัจจัยสำคัญ” สำหรับคนไทยที่เชื่อในเรื่องเหล่านี้มากกว่าอีกหลาย ๆ  สังคมอยู่แล้ว  เหตุผลก็เพราะว่าก่อนเริ่มฤดูการแข่งขันนั้น  ทีมเลสเตอร์ซิตี้ถูกมองว่าเป็นทีม  “รองบ่อน”  ที่แทบไม่มีโอกาสจะชนะเลยมองจากตัวผู้เล่น  ผลงานในอดีตและอื่น ๆ  ว่าที่จริงปีก่อนหน้านี้ทีมยังแทบจะ “เอาตัวไม่รอด”  จากการที่จะยังสามารถเล่นอยู่ในลีกระดับสูงสุดนี้   ตัวเลขการ “ต่อรอง”  สำหรับคนที่ต้องการพนันว่าเลสเตอร์จะชนะก็คือ  5000-1 ซึ่งก็คล้าย ๆ  กับว่ามีเพียงคนเดียวที่คิดว่าเลสเตอร์จะชนะจาก “ผู้เชี่ยวชาญ” เรื่องฟุตบอล 5000 คน

    ผมไม่มีความรู้เกี่ยวกับฟุตบอลมากนัก  แต่ผมรู้จัก  “แต้มต่อ” ของการพนัน  เพราะเรื่องของแต้มต่อนั้น  เป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากถึงมากที่สุดในการที่จะกำหนดว่าเราจะชนะหรือแพ้พนัน—ในระยะยาว   จริงอยู่ที่ผม  “ไม่เล่นการพนัน”  แต่นั่นคือการพนันในความหมายที่คนทั่วไปเข้าใจเช่น  การเล่นไพ่หรือการเล่นพนันต่าง ๆ  ในคาสิโน  การเล่นม้า  การเล่นพนันฟุตบอล  หรือแม้แต่การเล่นหวยหรือล็อตเตอรี่ ซึ่งสิ่งต่าง  ๆ  เหล่านี้ผมไม่เล่นอยู่แล้ว  เหตุผลก็คือ  ในเกม “พนัน”  เหล่านี้  คนที่เข้าไปเล่นนั้นมักจะแพ้เสมอในระยะยาวโดยเฉพาะคนที่ไม่มีความรู้  ส่วนคนที่ชนะนั้นก็มักจะเป็น  “เจ้ามือ”  ที่เป็นคนกำหนด  “แต้มต่อ”  ของการพนัน  เช่น  เจ้ามือหวยที่กำหนดว่าแทงถูกเลขท้าย 2 ตัวจะจ่าย 60 บาท แต่ถ้าแทงผิดจะถูกกิน  ซึ่งในระยะยาวแล้ว  เจ้ามือก็มักจะกำไร 40 บาทโดยเฉลี่ย  เพราะโอกาสที่จะถูกนั้นอยู่ที่ 1 ใน 100  คนแทง 100 คนจะถูกเพียง 1 คน  ดังนั้นเจ้ามือก็จะกินเงิน 100 บาท แต่จ่ายให้กับคนเพียงคนเดียวที่แทงถูกจำนวน 60 บาท  นี่เป็นเรื่องของสถิติโดยแท้  เพราะตัวเลขหวยที่ออกนั้นไม่มีใครทำนายได้ไม่ว่าจะเป็น “เกจิอาจารย์” สำนักไหน

    แต่จริง ๆ  แล้วผมเป็น  “นักการพนัน”  ตัวยงก็ว่าได้  เพราะผมลงทุนในตลาดหลักทรัพย์  ผม “พนัน” ว่าหุ้นที่ผมซื้อไว้ในราคาหนึ่งนั้น  จะมีราคาเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปนานพอ  อัตราการเพิ่มขึ้นรวมถึงการจ่ายปันผลจะสูงในระดับที่น่าพอใจเช่นปีละ 10-15% โดยเฉลี่ยแบบทบต้นในอีกไม่น้อยกว่า 5 ปีข้างหน้า  โดยที่ผมกล้าพนันแบบนั้นก็เพราะว่าผมวิเคราะห์แล้วผมเชื่อว่าบริษัทจะมีผลประกอบการที่ดีต่อเนื่องไปอีก 5 ปี กำไรของบริษัทจะเติบโตขึ้นเร็วถึงปีละ 10%  แบบทบต้น  และบริษัทจะเข้มแข็งที่ทำให้บริษัทอื่นไม่สามารถแย่งธุรกิจไปจากบริษัทได้  เป็นต้น

    คำถามก็คือ  แล้วใครมา “พนัน” กับผม  คำตอบก็คือ  “ตลาดหุ้น”  ซึ่งก็คือนักลงทุนหรือนักเล่นหุ้นคนอื่นทั้งหมดรวมกัน  คนทุกคนที่เข้ามาซื้อขายหุ้นในตลาดนั้น  จริง ๆ  แล้วเขากำลัง “พนัน” กับคนทั้งตลาดว่าสิ่งที่เขาคิดนั้นถูกต้องกว่าคนอื่น ๆ  ทั้งหมดรวมกัน  คนเล่นหุ้นหรือลงทุนนั้นมักคิดว่าเขา  “เก่ง”  และ  “รู้ดีกว่า”  คนอื่น ๆ  ทั้งหมดที่ “ร่วมกัน” มาเล่นหุ้นแข่งกับเขา  เพียงแต่ว่าคนที่รวมกันเหล่านั้นไม่ได้ปรึกษากันเป็นทางการ   พวกเขาใช้วิธี  “โหวต”  ผ่านระบบการซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์  โดยที่แต่ละคนนั้นก็มีข้อมูลความรู้และความเข้าใจต่อตัวหุ้นที่หลากหลาย  บางทีก็ขัดแย้งกัน  แต่สุดท้ายแล้วเมื่อ  “นับเสียง”  ของแต่ละคนก็จะได้ข้อสรุปว่าหุ้นตัวนั้นพวกเขาให้ราคาเท่าไร  พูดอย่างย่อและเข้าใจง่ายที่สุดก็คือ  เมื่อเราเข้ามาซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ก็เท่ากับว่าเราเข้ามา  “พนัน” กับคนอื่นทุกคนว่าหุ้นตัวนั้นจะขึ้นหรือลงในอนาคต  คำถามต่อมาก็คือ  “แต้มต่อ”  อยู่ตรงไหน?

    นี่ก็ต้องกลับไปที่การเลือกหุ้นที่จะลงทุนซื้อข้างต้น   นั่นคือ  ผมอาจจะคาดการณ์ถูกต้องว่ากำไรของบริษัทก็เติบโตเป็นไปตามคาด  แต่ราคาหุ้นแทนที่จะขึ้นไปและให้ผลตอบแทน 10-15% ต่อปีนั้นกลับไม่ไปไหน  เหตุผลก็เพราะว่าหุ้นตัวนั้นมีค่า PE ในขณะที่ผมซื้อที่ 50 เท่า เวลาที่ผ่านไปนั้นแม้ว่ากำไรบริษัทจะเพิ่มขึ้นจริงแต่ค่า PE ของหุ้นกลับลดลงส่งผลให้ราคาหุ้นไม่ปรับตัวขึ้น  เป็นแบบนี้ไปเรื่อย ๆ  จนครบ 5 ปี  ค่า PE อาจจะลดลงมาจนเหลือ 20 เท่าโดยที่ราคาหุ้นไม่ขึ้นเลยแม้ว่าผลประกอบการจะดีขึ้นโดยตลอด  และนี่ก็คือสิ่งที่วงการหุ้นมักพูดว่า  แม้บริษัทจะดีมากแต่ถ้าซื้อในราคาที่แพงเกินไป (PE 50 เท่า) คุณก็  “แพ้”  เพราะ  “แต้มต่อ”  ในกรณีนี้ก็ต้องเรียกว่า  “ต่ำมาก”

    ตรงกันข้าม  หุ้นบางตัวนั้นกิจการดูแล้ว  “แย่”  โอกาสทำกำไรเท่าที่เราดูแล้วต่ำมาก  บริษัทคู่แข่งก็มีเพียบแถมเก่งกว่า  โอกาสชนะในธุรกิจของบริษัทน้อยมาก  แต่ราคาหุ้นตัวนี้ถูกมาก  คิดเป็นค่า PE แล้วก็แค่ 5 เท่า  หรือเรียกว่า  “แต้มต่อ” สูงมาก  นี่ก็อาจจะคล้าย ๆ  กับทีมฟุตบอลลีกรองบ่อนที่ไม่มีคนสนใจและไม่มีใครคิดว่าจะชนะได้  ในกรณีแบบนี้  ถ้าเรามีข้อมูลและมีความสามารถวิเคราะห์ได้ว่าบริษัทจะดีขึ้นอย่างโดดเด่นในอนาคต  เราก็อาจจะ  “พนัน” กับ “ตลาด” ที่มองว่าบริษัทนั้นไม่ดีและมีโอกาสชนะน้อยได้

    โดยทั่วไปแล้ว  ในตลาดหุ้นที่  “พัฒนาแล้ว”  ตลาดจะมีความสามารถสูงมากในการ  “พนัน”  เหตุผลก็เพราะว่าตลาดนั้นประกอบไปด้วย  “ผู้เชี่ยวชาญ” จำนวนมากที่เอาข้อมูลและความสามารถในการวิเคราะห์มา “ร่วมกัน” กำหนดแต้มต่อของหุ้นแต่ละตัว   ราคาหุ้นที่จะ “รับพนัน”  กับเราจึงมักเป็นราคาที่ตลาดจะทำกำไรได้มากกว่าเรา  ตลาดนั้นรู้ว่าบริษัทไหนมีความสามารถในการทำธุรกิจสูงและได้กำไรดีและรู้ด้วยว่า  “แต้มต่อ” หรือราคาหุ้นที่เหมาะสมควรจะเป็นเท่าไร  อย่างไรก็ตาม  ในตลาดที่ยังไม่พัฒนามาก  หรือในหุ้นที่มีขนาดเล็กที่ตลาดยังไม่สนใจที่จะลงทุน  ราคาหุ้นที่ตลาด  “รับพนัน”  ก็อาจจะมี “แต้มต่อ”  ที่ผิดพลาด  และอาจจะทำให้เราที่อาจจะ “รู้มากกว่า”  สามารถทำกำไรจากการพนันในตลาดหรือตัวหุ้นได้

    กรณีของทีมเลสเตอร์ซิตี้นั้น  ในมุมมองของ “การพนัน” ผมไม่คิดว่าจะมีอะไรมหัศจรรย์  ผมเองไม่แน่ใจว่าจะมีใครหรือเม็ดเงินมากแค่ไหนที่พนันเลสเตอร์ตั้งแต่ต้นฤดูการแข่งขันที่มีแต้มต่อ 5000-1  แต่คิดว่าคงมีน้อยมาก  และผมก็ไม่คิดว่าจะมีใครที่จะรวยจากการแทงเลสเตอร์ด้วยเพราะคงไม่มีใครกล้าลงเงินมาก ๆ  เพราะโอกาสที่จะชนะนั้นต่ำมากและโอกาสที่จะสูญเงินมีสูง  อย่างไรก็ตาม  โอกาสนั้นก็เกิดขึ้นแล้ว  แต่นี่ไม่ได้หมายความว่าในอนาคตมันจะมีโอกาสเกิดสูงขึ้น  ทีมเลสเตอร์เองในฤดูกาลหน้าแต้มต่อก็คงลดลงมาก  อาจจะเหลือแค่ 4 หรือ 5 ต่อ 1 ซึ่งก็อาจจะทำให้ไม่คุ้มที่จะเสี่ยง

    ในตลาดหุ้นเองนั้น  หุ้นที่อาจจะมีแต้มต่อสูง ๆ หรือสูงลิ่วก็มีอยู่ตลอดเวลา  เช่นหุ้นของบริษัทที่เข้าข่าย “ใกล้ล้มละลาย”  หรือกิจการไม่สามารถทำธุรกิจต่อไปได้ที่  “แต้มต่อ” สูงลิ่วเป็นประเภท  “100-1”  คิดจากราคาหุ้นที่อาจจะเหลือต่ำกว่า 3-4 สตางค์ต่อหุ้นและ Market Cap. เหลือไม่ถึง 100 ล้านบาท  จากธุรกิจที่เคยทำเป็น 1,000 ล้านบาท  แต่แล้ว  “ปาฏิหาริย์”  ก็เกิดขึ้น  บริษัทฟื้นตัวและราคาหุ้นกลับมามีราคาเพิ่มขึ้นหลายสิบเท่าในเวลาเพียงไม่กี่ปีส่งผลให้คนที่กล้าเข้าไปซื้อและถือต่อเนื่องร่ำรวยขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ  บางคนก็กลายเป็น  “เซียนหุ้น Turnaround”  อย่างไรก็ตาม  หลายคนนั้นอาจจะเข้าใจว่าเป็นเรื่องของความสามารถและไม่ใช่ปาฏิหาริย์  เขาอาจจะ  “เล่นต่อ”  และก็พบว่าโอกาสที่หุ้นหรือการพนันที่มีแต้มต่อสูงมากจะ “ชนะ”  นั้น  มันน้อยจริง ๆ  และทำให้เขาเสียหายอย่างหนัก  และดังนั้น  เราจึงไม่ควรจะ “เล่น” หรือเล่นมาก   ผมเองคิดว่าถ้าอยากจะเล่น  เราควรจะทำคล้าย ๆ  เอาเงินไปซื้อลอตเตอรี่รางวัลแจ็คพ็อตหรือโยกสล็อตแมชินที่เราพร้อมเสียเงินเพื่อ “ความบันเทิง” เท่านั้น
[/size]
ภาพประจำตัวสมาชิก
Nevercry.boy
Verified User
โพสต์: 4626
ผู้ติดตาม: 0

Re: เรื่องของแต้มต่อ/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ยินดีกับจิ้งจอกสยาม มาก ๆ ครับ

ปาฏิหารเกิดจากการทำลายข้อจำกัด ของคนที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจจริง

เหนือสิ่งอื่นใด นั่นก็คือ

รูปภาพ
เด็กผู้ชายไม่ร้องไห้
http://nevercry-boy.blogspot.com/
ภาพประจำตัวสมาชิก
kongkiti
Verified User
โพสต์: 5830
ผู้ติดตาม: 2

Re: เรื่องของแต้มต่อ/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 3

โพสต์

In the 1960s, an MIT math professor, Ed Thorp, used MIT’s computers to run a variety of calculations
and came up with optimized blackjack play. Thorp named the optimal play of cards Basic Strategy.
He wrote the best-selling book, Beat the Dealer. It is, even today, regarded as a classic work, and blackjack players the world over rely on Basic Strategy to optimize their card play.

In the 1960s, casinos offered single-deck blackjack and dealt the entire deck.
Thorp calculated that players who counted cards and scaled their bets based on the residual cards left
in the deck had an edge over the casinos. He used the Kelly Formula to figure out how much
of your bankroll you ought to bet each time based on how favorable the odds were.
For example, if the deck had an overrepresentation of tens and aces, that was good for the player.
If the odds were 52:48 in the favor of the player, the Kelly Formula suggested that the player bet
4 percent of his bankroll. That’s what Thorp would endeavor to do with every hand.

For Thorp, this wasn’t an academic exercise. He started frequenting the Nevada casinos and cleaned up.
The casinos didn’t understand why he was consistently winning, but, with the mob running the casinos,
they didn’t wait to understand. They simply showed him the door and made it very clear that if he ever returned,
the reception wouldn’t be so civil.

When Thorp published Beat the Dealer, players the world over started cleaning up.
Casino owners also read Thorp’s book and began to make changes to the game.
Over the past four decades, the game has gone through numerous changes.
Each time the casinos made a change, some smart gambler would figure out a way to beat the system.
Then the casinos would figure it out and make another change.
Today, most casinos deal from a shoe of six to eight decks.
They don’t play the last couple of decks and pit bosses watch the action like hawks.
In some casinos, auto shufflers recycle the used cards back in real time—ensuring that
the card pool never has an over- or under representation of any specific cards.

Thorp reflected on this changing reality (along with the onerous threats) and decided that
he’d be far better off if he applied his talents to a casino where:

There were no table limits.
The offered odds were vastly better.
The house was civil about taking large losses.
The mob wasn’t running the casino.


He found that such a casino existed, and it was the New York Stock Exchange (NYSE)
and the fledgling options market.
Rumor has it that Thorp figured out something along
the lines of the Black-Scholes formula years before Black and Scholes did.
He decided not to publish his findings. The Black-Scholes formula is, effectively,
Basic Strategy for the options market. It dictates what a specific option ought to be priced at.
Because he was one of the only players armed with this knowledge, Thorp could buy underpriced options
and sell overpriced ones—making a killing in the process.

Thorp set up a hedge fund, Princeton-Newport Partners. Over a 20-year span, the professor delivered
20 percent annualized returns to his investors with ultra-low volatility.
One of his potential investors was actor Paul Newman.
Newman once asked Thorp how much he could make playing blackjack full-time.
Thorp could still beat the casinos with his skilled card counting and replied that it would be
about $300,000 a year. Newman then asked him why he wasn’t pursuing it.
Thorp looked at him and said that the NYSE and options market “casinos” made him over $6 million
a year with miniscule risk. Why pursue $300,000 and take on added risk to life and limb?

In investing, there is no such thing as a sure bet.
Even the most blue-chip business on the planet has a probability of not being in business tomorrow.
Investing is all about the odds—just like blackjack.

Thorp is the most vivid example of a human who has mastered these concepts fully.
He has repeatedly played the odds on the Strip and Wall Street over the decades and won handsomely
on both fronts—creating a huge fortune for himself and his investors.
When an investor approaches the equity markets,
it has to be with the same mind-set that Thorp had when he played blackjack:
if the odds are overwhelmingly in your favor, bet heavily.

From : Dhandho Investor
“Its like a finger pointing away to the moon. Don't concentrate on the finger
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee

FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
โพสต์โพสต์