Venture Capital ไหมล่ะคุณ? / คนขายของ
- คนขายของ
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 788
- ผู้ติดตาม: 0
Venture Capital ไหมล่ะคุณ? / คนขายของ
โพสต์ที่ 1
Venture Capital ไหมล่ะคุณ? / โดย คนขายของ
ทุนที่ใช้ในการก่อตั้งบริษัทแบบดั้งเดิม มักเริ่มด้วยการใช้เงินออมของผู้ก่อตั้ง หรือไม่ก็มีบางกรณีที่ ผู้ก่อตั้งใช้ทั้งเงินส่วนตัว และเงินกู้จากธนาคารในการเริ่มต้นกิจการ คำว่า “Venture Capital” (VC) นั้น เพิ่งมาเป็นที่รู้จักกันจริงจังหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นชื่อเรียก “การระดมทุนเพื่อการร่วมลงทุน” ซึ่งโดยมากเน้นลงทุนในธุรกิจที่เพิ่งก่อตั้ง (Startup) โดยกลุ่มทุนนี้จะคอยสนับสนุนเงินทุนให้แก่ ผู้ก่อตั้งบริษัท พร้อมทั้งคอยให้คำแนะนำในการทำธุรกิจ และใช้สายสัมพันธ์ที่มีอยู่ช่วยเกื้อหนุน เพื่อแลกกับการเป็นหุ้นส่วนของบริษัท โดยกลุ่มทุนนี้มักจะรอคอยจนถึงวันที่บริษัทเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แล้วค่อยขายทำเงิน หรือไม่ก็รอถึงวันที่บริษัทขนาดใหญ่มาซื้อไป
Instagram เป็น application เพื่อการแชร์รูปถ่ายทางโทรศัพท์มือถือ ก่อตั้งโดยนักศึกษา Standford สองคนนาม Kevin Systrom และ Mike Krieger ในเดือนตุลาคม ปี 2010 ภายใน 3 เดือนมีผู้ใช้งานถึง 1 ล้านคน และกลายเป็น 15 ล้านคนในเดือนมกราคม 2012 เว็ปไซด์ crunchbase.com ได้รวบรวมข้อมูลการระดมทุนของ Instagram ตั้งแต่ก่อตั้งว่ามีอยู่ด้วยกัน 3 รอบ รอบแรกในปี 2010 ได้เงิน 500,000 เหรียญ รอบสองในปี 2011 ได้เงินไป 7 ล้านเหรียญ และรอบสุดท้ายในปี 2012 ได้เงินไป 50 ล้านเหรียญ รวมสาม รอบบริษัทระดมทุนไป 57.5 ล้านเหรียญ หลังจากนั้นไม่นาน Facebookได้ประกาศซื้อกิจการ Instagram ไปเป็นเงินถึง 1 พันล้านเหรียญ สร้างผลตอบแทนจำนวนมหาศาลให้กับ Venture Capital อย่าง Baseline Ventures ซึ่งร่วมลงทุนมาตั้งแต่รอบแรก
Rob Hayes หนึ่งในหุ้นส่วนของ “First Round Capital” รู้จัก “Uber” (application เรียกรถแท็กซี่ทางโทรศัพท์มือถือ) โดยบังเอิญเพราะเห็นข้อความที่ Garrett Camp ผู้ก่อตั้ง Uber ได้ทวีตไว้ หลังจากนั้นเขาได้ศึกษากิจการของ Uber มากขึ้นและเป็นกลุ่มแรกๆที่ร่วม ลงทุนกับ Garrett โดยเงินก้อนแรกที่ กองทุน “First Round Capital” ใส่ลงไปมีมูลแค่ 5 แสนเหรียญในปี 2010 นิตยสาร Fortune ประเมินในเดือน มิถุนายน 2014 ว่าเงินตั้งต้น ของผู้ร่วมลงทุนใน Uber โตขึ้นมาถึง 2000 เท่า ซึ่งในตอนนี้ Uber เป็นที่รู้จักกันกว้างขวาง มีผู้ร่วมลงทุนชื่อดัง ถือหุ้นกันมากมาย เช่น Jeff Bezos ผู้ก่อตั้ง Amazon.com, Google Ventures, Microsoft และ Baidu ของจีน
ถึงแม้ตัวเลขผลตอบแทนจะดูน่าเย้ายวนมาก แต่จากการศึกษา VC โดยอาจารย์ Shikar Ghosh ของมหาวิทยาลัย Harvard ซึ่งทำการศึกษาบริษัท Startup 1,000 บริษัทที่ได้รับเงินอย่างต่ำ 1 ล้านเหรียญจาก VC ในช่วง 2004-2010พบว่าการลงทุนใน Startup นั้นล้มเหลวถึง 75% Diane Mulcahy ได้เขียนบทความเกี่ยวกับ VC ลงใน Harvard Business Review ระบุว่าจากศึกษาการลงทุนของ Kauffman Foundation ที่ลงทุนใน 100 กองทุน VC ในรอบ 20 ปีพบว่า มีถึง 62 กองที่แพ้การลงทุนในดัชนีหุ้นขนาดเล็ก (Small-Cap) แต่ถึงกระนั้นก็ตาม มหาเศรษฐีของโลก เช่น Bill Gates, Richard Branson เจ้าของ Virgin Group และ
Jack Ma ผู้ก่อตั้ง Alibaba.com ก็ล้วนแต่มีการลงทุนใน VCทั้งสิ้น
ก่อนที่จะลงทุนใน VC นักลงทุนควรทำความเข้าใจก่อนว่าการลงทุนใน VC นั้นเป็นประเภท เสี่ยงสูง และให้ผลตอบแทนสูง จากผลการศึกษาการลงทุนใน Startup มีถึงประมาณ 30-40% ที่ผู้ลงทุน ต้องสูญเสียเงินลงทุนทั้งหมดไปแบบไม่ได้คืน เรื่องกรณีประสบความสำเร็จก็พอมีให้เห็นอยู่ แต่ที่ให้ผล ตอบแทนแบบเป็นร้อยเป็นพันเท่านั้นคิดเป็นเปอร์เซนต์มีไม่มาก หลายบริษัทมีเรื่องราวมีกลยุทธ์เล่า กันได้เป็นวัน แต่เพิ่มทุนหลายรอบและไม่มีกำไรสักที นักลงทุนต้องทนกับการขาดสภาพคล่องเพราะ หุ้นไม่อยู่ในตลาด จะขายต่อก็ยาก ดังนั้นหากท่านใดสนใจลงทุนแนวนี้ก็ขอให้ศึกษาเกี่ยวกับบริษัท ที่ VC ของท่านจะไปลงทุนให้มาก มี Startup หลายบริษัทที่ผู้ก่อตั้งขึ้นเวทีบรรยายแผนงานทางธุรกิจให้แก่นักลงทุนฟัง ถ้าเป็นไปได้ควรเข้าร่วม แต่ถ้าท่านจะลงทุนแบบเสี่ยงโชค ไม่ศึกษาหาข้อมูล ไม่ติดตามข่าวสารการลงทุนของ VC ถ้าเป็นแบบนั้นคงไม่เรียกว่า “การลงทุน” แต่ออกแนวเป็น “การพนัน” มากกว่า
ทุนที่ใช้ในการก่อตั้งบริษัทแบบดั้งเดิม มักเริ่มด้วยการใช้เงินออมของผู้ก่อตั้ง หรือไม่ก็มีบางกรณีที่ ผู้ก่อตั้งใช้ทั้งเงินส่วนตัว และเงินกู้จากธนาคารในการเริ่มต้นกิจการ คำว่า “Venture Capital” (VC) นั้น เพิ่งมาเป็นที่รู้จักกันจริงจังหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นชื่อเรียก “การระดมทุนเพื่อการร่วมลงทุน” ซึ่งโดยมากเน้นลงทุนในธุรกิจที่เพิ่งก่อตั้ง (Startup) โดยกลุ่มทุนนี้จะคอยสนับสนุนเงินทุนให้แก่ ผู้ก่อตั้งบริษัท พร้อมทั้งคอยให้คำแนะนำในการทำธุรกิจ และใช้สายสัมพันธ์ที่มีอยู่ช่วยเกื้อหนุน เพื่อแลกกับการเป็นหุ้นส่วนของบริษัท โดยกลุ่มทุนนี้มักจะรอคอยจนถึงวันที่บริษัทเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แล้วค่อยขายทำเงิน หรือไม่ก็รอถึงวันที่บริษัทขนาดใหญ่มาซื้อไป
Instagram เป็น application เพื่อการแชร์รูปถ่ายทางโทรศัพท์มือถือ ก่อตั้งโดยนักศึกษา Standford สองคนนาม Kevin Systrom และ Mike Krieger ในเดือนตุลาคม ปี 2010 ภายใน 3 เดือนมีผู้ใช้งานถึง 1 ล้านคน และกลายเป็น 15 ล้านคนในเดือนมกราคม 2012 เว็ปไซด์ crunchbase.com ได้รวบรวมข้อมูลการระดมทุนของ Instagram ตั้งแต่ก่อตั้งว่ามีอยู่ด้วยกัน 3 รอบ รอบแรกในปี 2010 ได้เงิน 500,000 เหรียญ รอบสองในปี 2011 ได้เงินไป 7 ล้านเหรียญ และรอบสุดท้ายในปี 2012 ได้เงินไป 50 ล้านเหรียญ รวมสาม รอบบริษัทระดมทุนไป 57.5 ล้านเหรียญ หลังจากนั้นไม่นาน Facebookได้ประกาศซื้อกิจการ Instagram ไปเป็นเงินถึง 1 พันล้านเหรียญ สร้างผลตอบแทนจำนวนมหาศาลให้กับ Venture Capital อย่าง Baseline Ventures ซึ่งร่วมลงทุนมาตั้งแต่รอบแรก
Rob Hayes หนึ่งในหุ้นส่วนของ “First Round Capital” รู้จัก “Uber” (application เรียกรถแท็กซี่ทางโทรศัพท์มือถือ) โดยบังเอิญเพราะเห็นข้อความที่ Garrett Camp ผู้ก่อตั้ง Uber ได้ทวีตไว้ หลังจากนั้นเขาได้ศึกษากิจการของ Uber มากขึ้นและเป็นกลุ่มแรกๆที่ร่วม ลงทุนกับ Garrett โดยเงินก้อนแรกที่ กองทุน “First Round Capital” ใส่ลงไปมีมูลแค่ 5 แสนเหรียญในปี 2010 นิตยสาร Fortune ประเมินในเดือน มิถุนายน 2014 ว่าเงินตั้งต้น ของผู้ร่วมลงทุนใน Uber โตขึ้นมาถึง 2000 เท่า ซึ่งในตอนนี้ Uber เป็นที่รู้จักกันกว้างขวาง มีผู้ร่วมลงทุนชื่อดัง ถือหุ้นกันมากมาย เช่น Jeff Bezos ผู้ก่อตั้ง Amazon.com, Google Ventures, Microsoft และ Baidu ของจีน
ถึงแม้ตัวเลขผลตอบแทนจะดูน่าเย้ายวนมาก แต่จากการศึกษา VC โดยอาจารย์ Shikar Ghosh ของมหาวิทยาลัย Harvard ซึ่งทำการศึกษาบริษัท Startup 1,000 บริษัทที่ได้รับเงินอย่างต่ำ 1 ล้านเหรียญจาก VC ในช่วง 2004-2010พบว่าการลงทุนใน Startup นั้นล้มเหลวถึง 75% Diane Mulcahy ได้เขียนบทความเกี่ยวกับ VC ลงใน Harvard Business Review ระบุว่าจากศึกษาการลงทุนของ Kauffman Foundation ที่ลงทุนใน 100 กองทุน VC ในรอบ 20 ปีพบว่า มีถึง 62 กองที่แพ้การลงทุนในดัชนีหุ้นขนาดเล็ก (Small-Cap) แต่ถึงกระนั้นก็ตาม มหาเศรษฐีของโลก เช่น Bill Gates, Richard Branson เจ้าของ Virgin Group และ
Jack Ma ผู้ก่อตั้ง Alibaba.com ก็ล้วนแต่มีการลงทุนใน VCทั้งสิ้น
ก่อนที่จะลงทุนใน VC นักลงทุนควรทำความเข้าใจก่อนว่าการลงทุนใน VC นั้นเป็นประเภท เสี่ยงสูง และให้ผลตอบแทนสูง จากผลการศึกษาการลงทุนใน Startup มีถึงประมาณ 30-40% ที่ผู้ลงทุน ต้องสูญเสียเงินลงทุนทั้งหมดไปแบบไม่ได้คืน เรื่องกรณีประสบความสำเร็จก็พอมีให้เห็นอยู่ แต่ที่ให้ผล ตอบแทนแบบเป็นร้อยเป็นพันเท่านั้นคิดเป็นเปอร์เซนต์มีไม่มาก หลายบริษัทมีเรื่องราวมีกลยุทธ์เล่า กันได้เป็นวัน แต่เพิ่มทุนหลายรอบและไม่มีกำไรสักที นักลงทุนต้องทนกับการขาดสภาพคล่องเพราะ หุ้นไม่อยู่ในตลาด จะขายต่อก็ยาก ดังนั้นหากท่านใดสนใจลงทุนแนวนี้ก็ขอให้ศึกษาเกี่ยวกับบริษัท ที่ VC ของท่านจะไปลงทุนให้มาก มี Startup หลายบริษัทที่ผู้ก่อตั้งขึ้นเวทีบรรยายแผนงานทางธุรกิจให้แก่นักลงทุนฟัง ถ้าเป็นไปได้ควรเข้าร่วม แต่ถ้าท่านจะลงทุนแบบเสี่ยงโชค ไม่ศึกษาหาข้อมูล ไม่ติดตามข่าวสารการลงทุนของ VC ถ้าเป็นแบบนั้นคงไม่เรียกว่า “การลงทุน” แต่ออกแนวเป็น “การพนัน” มากกว่า
อดทนไว้ กำไรยั่งยืน
-
- Verified User
- โพสต์: 82
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Venture Capital ไหมล่ะคุณ? / คนขายของ
โพสต์ที่ 4
ขอบคุณพี่คนขายของสำหรับ บทความVenture Capital ครับ
ความเห็นส่วนตัวผมคิดว่า
Venture Capital มี Risk มากกว่า IPO single stock
เพราะสิ่งที่จะบอกว่า start upจะไปรอดหรือเปล่ามีเพียงแผนธุรกิจเท่านั้น ( หรืออาจจะมีงบด้วย?)
แต่หากว่าเป็น IPO จะมีงบย้อนหลังให้ศึกษาและมี yield ,PE เปรียบเทียบในธุรกิจเดียวกันประกอบด้วย
ทำให้เราพอจะประมาณการได้ว่าราคาหุ้นที่เปิด IPO ราคาถูกหรือแพง
ในบ้านเราพอจะมี Venture Capital ที่ประสบความสำเร็จในอดีตให้เราศึกษาบ้างไหมครับ
ความเห็นส่วนตัวผมคิดว่า
Venture Capital มี Risk มากกว่า IPO single stock
เพราะสิ่งที่จะบอกว่า start upจะไปรอดหรือเปล่ามีเพียงแผนธุรกิจเท่านั้น ( หรืออาจจะมีงบด้วย?)
แต่หากว่าเป็น IPO จะมีงบย้อนหลังให้ศึกษาและมี yield ,PE เปรียบเทียบในธุรกิจเดียวกันประกอบด้วย
ทำให้เราพอจะประมาณการได้ว่าราคาหุ้นที่เปิด IPO ราคาถูกหรือแพง
ในบ้านเราพอจะมี Venture Capital ที่ประสบความสำเร็จในอดีตให้เราศึกษาบ้างไหมครับ
- leaderinshadow
- Verified User
- โพสต์: 1765
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Venture Capital ไหมล่ะคุณ? / คนขายของ
โพสต์ที่ 5
ที่อาจจะดูเหมือนประสบความสำเร็จ ก็มีของ intuch ครับ ที่ลงทุนในอุ๊คบี
intuch ได้หุ้น 20-30% ใช้เงินประมาณ 50 ล้าน ล่าสุด เพิ่มทุนให้กองทุนของญี่ปุ่น 200 ล้าน โดยขายหุ้นเพิ่มทุนอีก 10%
ถ้าคำนวณตรงดีลล่าสุด ก็กำไร 10 เท่าในเวลา 2 ปี หน่อยๆครับ
แต่ถ้าถามว่าประสบความสำเร็จแล้วยัง โดยมุมมองคนทั่วไปถือว่าประสบความสำเร็จครับ แต่โดยส่วนตัวยังตอบไม่ได้เพราะ intuch ยังไม่ได้ exit มูลค่าของ อุ๊คบี อาจจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หรือ ล้มหายตายจากไป ก็คงต้องให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์
ส่วนผลประการเป็นอย่างไร อืมๆๆ ขาดทุนเติบโตดีมากครับ กำลังรอวันที่กลับมามีกำไร
ส่วนกลยุทธทางธุรกิจเค้าตอนนี้คือ เน้นสร้างฐานผู้ใช้ให้มากที่สุดครับ
intuch ได้หุ้น 20-30% ใช้เงินประมาณ 50 ล้าน ล่าสุด เพิ่มทุนให้กองทุนของญี่ปุ่น 200 ล้าน โดยขายหุ้นเพิ่มทุนอีก 10%
ถ้าคำนวณตรงดีลล่าสุด ก็กำไร 10 เท่าในเวลา 2 ปี หน่อยๆครับ
แต่ถ้าถามว่าประสบความสำเร็จแล้วยัง โดยมุมมองคนทั่วไปถือว่าประสบความสำเร็จครับ แต่โดยส่วนตัวยังตอบไม่ได้เพราะ intuch ยังไม่ได้ exit มูลค่าของ อุ๊คบี อาจจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หรือ ล้มหายตายจากไป ก็คงต้องให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์
ส่วนผลประการเป็นอย่างไร อืมๆๆ ขาดทุนเติบโตดีมากครับ กำลังรอวันที่กลับมามีกำไร
ส่วนกลยุทธทางธุรกิจเค้าตอนนี้คือ เน้นสร้างฐานผู้ใช้ให้มากที่สุดครับ
- romee
- Verified User
- โพสต์: 1850
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Venture Capital ไหมล่ะคุณ? / คนขายของ
โพสต์ที่ 6
Startup เหมือนกระโดดลงจากเหว แล้วสร้างปีก ระหว่างกำลังตกลงมา”คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
You only live once, but if you do it right, once is enough.
- vim
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2748
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Venture Capital ไหมล่ะคุณ? / คนขายของ
โพสต์ที่ 7
บทความเขียนได้ดีมากครับ ขอบคุณครับ
ผมคิดว่าการลงทุนของ VC มันก็คล้ายกับที่เราลงทุนในตลาดหุ้น มีทั้งบริษัทที่พื้นฐานดี กับบริษัทที่สตอรี่ดี ใครจะลงทุนแบบไหนคงไปห้ามไม่ได้
ช่วงหลังๆมานี้ภาพลักษณ์ของคนที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจ Startup นั้นไม่ใช่ว่าสร้างธุรกิจที่สร้างกำไร แต่เป็นการสร้างธุรกิจแล้วขายทิ้งออกไปได้ราคาดี เหมือนเจ้าเข้ามาปั่นหุ้น สร้างสตอรี่ให้ดูดี แล้วก็ขายออกไป
แต่ถ้ามองในอีกมุม บริษัทขนาดเล็กที่มีการเติบโตที่ยั่งยืนก็มีอยู่มาก บริษัทพวกนี้ก็ได้รับอานิสงค์ที่ดีจากกระแสนี้ไปด้วยเหมือนกัน
โดยส่วนตัวผมชอบกองทุนที่สนับสนุนธุรกิจที่ยั่งยืนมากกว่า เช่นการสนับสนุนบริษัทเล็กๆ ที่มีแผนการสร้างกำไรชัดเจน ลงทุนกับธุรกิจที่มีการเติบโตอย่างพอดีตัว น่าจะเป็นประโยชน์แก่สังคมโดยรวมมากกว่า
ผมคิดว่าการลงทุนของ VC มันก็คล้ายกับที่เราลงทุนในตลาดหุ้น มีทั้งบริษัทที่พื้นฐานดี กับบริษัทที่สตอรี่ดี ใครจะลงทุนแบบไหนคงไปห้ามไม่ได้
ช่วงหลังๆมานี้ภาพลักษณ์ของคนที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจ Startup นั้นไม่ใช่ว่าสร้างธุรกิจที่สร้างกำไร แต่เป็นการสร้างธุรกิจแล้วขายทิ้งออกไปได้ราคาดี เหมือนเจ้าเข้ามาปั่นหุ้น สร้างสตอรี่ให้ดูดี แล้วก็ขายออกไป
แต่ถ้ามองในอีกมุม บริษัทขนาดเล็กที่มีการเติบโตที่ยั่งยืนก็มีอยู่มาก บริษัทพวกนี้ก็ได้รับอานิสงค์ที่ดีจากกระแสนี้ไปด้วยเหมือนกัน
โดยส่วนตัวผมชอบกองทุนที่สนับสนุนธุรกิจที่ยั่งยืนมากกว่า เช่นการสนับสนุนบริษัทเล็กๆ ที่มีแผนการสร้างกำไรชัดเจน ลงทุนกับธุรกิจที่มีการเติบโตอย่างพอดีตัว น่าจะเป็นประโยชน์แก่สังคมโดยรวมมากกว่า
Vi IMrovised
-
- Verified User
- โพสต์: 334
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Venture Capital ไหมล่ะคุณ? / คนขายของ
โพสต์ที่ 8
ขอบคุณคุณคนขายของครับ ถ้าอยากจะรู้กับมุมมองของการลงทุนใน venture capital
ตอนนี้ก็มีหนังสือแปลเป็นไทยมาให้อ่านกันนะครับ คือ 0 ถึง 1 ของปีเตอร์ ธีล ที่เป็นคน
ลงทุนใน Pay Pal กับ Facebook กับหนังสืออัตชีวประวัติของ Jack Ma เจ้าของ Alibaba
ครับ ทั้งสองเล่มอ่านสนุกทีเดียว หนังสือของปีเตอร์ ธีล นี่จะมีเขียนเกี่ยวกับเรื่องมุมมองของอุตสาหกรรม Solar Cell ด้วยนะครับ ลองอ่านกันดูถ้าสนใจหรือลงทุนในอุตสาหกรรม
พลังงานทดแทนอยู่แล้ว
Start up นั้นหอมหวานเสมอ ต้องอดทน และอึดทน ครับ ถือหุ้นกันเป็น 10 -20 ปี และพร้อมที่จะสูญเสียเงินไปได้เลย ถ้าไม่สำเร็จ แต่ถ้าสำเร็จก็อาจจะเหมือนกับมาซาโยชิ ซัน เศรษฐีอันดับสองของญี่ปุ่น เจ้าของ Soft Bank รองจากยาไน ของ Uniqlo ก็ได้ ที่ลงทุนใน Yahoo กับ Alibaba ตั้งแต่แรกเริ่ม ชนิดที่มีหุ้นมากกว่าเจ้าของคือ Jerry Yang กับ Jack Ma ซะอีก
ตอนนี้ก็มีหนังสือแปลเป็นไทยมาให้อ่านกันนะครับ คือ 0 ถึง 1 ของปีเตอร์ ธีล ที่เป็นคน
ลงทุนใน Pay Pal กับ Facebook กับหนังสืออัตชีวประวัติของ Jack Ma เจ้าของ Alibaba
ครับ ทั้งสองเล่มอ่านสนุกทีเดียว หนังสือของปีเตอร์ ธีล นี่จะมีเขียนเกี่ยวกับเรื่องมุมมองของอุตสาหกรรม Solar Cell ด้วยนะครับ ลองอ่านกันดูถ้าสนใจหรือลงทุนในอุตสาหกรรม
พลังงานทดแทนอยู่แล้ว
Start up นั้นหอมหวานเสมอ ต้องอดทน และอึดทน ครับ ถือหุ้นกันเป็น 10 -20 ปี และพร้อมที่จะสูญเสียเงินไปได้เลย ถ้าไม่สำเร็จ แต่ถ้าสำเร็จก็อาจจะเหมือนกับมาซาโยชิ ซัน เศรษฐีอันดับสองของญี่ปุ่น เจ้าของ Soft Bank รองจากยาไน ของ Uniqlo ก็ได้ ที่ลงทุนใน Yahoo กับ Alibaba ตั้งแต่แรกเริ่ม ชนิดที่มีหุ้นมากกว่าเจ้าของคือ Jerry Yang กับ Jack Ma ซะอีก
-
- Verified User
- โพสต์: 334
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Venture Capital ไหมล่ะคุณ? / คนขายของ
โพสต์ที่ 9
ของเมืองไทย ผมว่าที่เรียกว่าสำเร็จแล้วที่เห็นได้ชัดที่สุดก็คือกรณีของ EA นะครับ คนที่เชื่อมือคุณสมโภชน์และร่วมลงทุน EA ด้วยแรกๆ นี่ร่ำรวยกันหมดแล้ว Par แค่ 10 สตางค์ ดูตอนนี้ยัง Trade กันที่ 20 บาท เอง ไม่รู้กว่ากี่เท่า
-
- Verified User
- โพสต์: 34
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Venture Capital ไหมล่ะคุณ? / คนขายของ
โพสต์ที่ 10
ผมคิดว่า ในเมืองไทยน่าจะคล้ายๆในเวปนี้นะครับ
https://www.innobizmatching.org
https://www.innobizmatching.org
-
- Verified User
- โพสต์: 3350
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Venture Capital ไหมล่ะคุณ? / คนขายของ
โพสต์ที่ 11
ฟังเขามา เรื่อง angel investor (start up มองหา ก่อน vc)
ทุกวันจะมีคนมาขอทุน เฉลี่ย 10คน
ใน10คน จะได้คุยจริง ฟังแล้วเข้าท่า 3-5 คน
3-5คน คนต่อได้ทำจริง ครึ่งนึง
คนที่ไดทำจริง. ครึ่งนึง เจ๊ง
3/10 เสมอตัว. 1-2/10 จะกำไร
แต่คนที่กำไร จะมีคนที่กำไร ที มากๆ จนcover 9/10ที่เหลือ
ตัวเลขอาจคลาดเคลื่อนบ้าง แต่ไม่หลุดมาก
ผมฟังแล้ว. สะดุดใจ เลขมันคล้ายกัยผล การสร้างพอร์ต แบบ ลินช์ เลย
ใครสนใจ. ลอง หาหนังสือ ฝรั่งเรื่อง angel investor
ไม่กะไปฟังคนที่อ่านแล้วมาเล่า. search หา podcast changkhui + angel investor
ทุกวันจะมีคนมาขอทุน เฉลี่ย 10คน
ใน10คน จะได้คุยจริง ฟังแล้วเข้าท่า 3-5 คน
3-5คน คนต่อได้ทำจริง ครึ่งนึง
คนที่ไดทำจริง. ครึ่งนึง เจ๊ง
3/10 เสมอตัว. 1-2/10 จะกำไร
แต่คนที่กำไร จะมีคนที่กำไร ที มากๆ จนcover 9/10ที่เหลือ
ตัวเลขอาจคลาดเคลื่อนบ้าง แต่ไม่หลุดมาก
ผมฟังแล้ว. สะดุดใจ เลขมันคล้ายกัยผล การสร้างพอร์ต แบบ ลินช์ เลย
ใครสนใจ. ลอง หาหนังสือ ฝรั่งเรื่อง angel investor
ไม่กะไปฟังคนที่อ่านแล้วมาเล่า. search หา podcast changkhui + angel investor
show me money.
-
- Verified User
- โพสต์: 3350
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Venture Capital ไหมล่ะคุณ? / คนขายของ
โพสต์ที่ 12
ถ้าให้สรุปสั้นๆ. vc. or angel investor
มันกะลงทุนเปนพอร์ตฟอลิโอแหละ
prob และ return กะไม่หลุด range จากพอรตหุ้นเท่าไหร่
กำไรตัวที่เราเห็นมากๆ มันกะถูabsorb ไปกับ ตัวที่ขาดทุน
คนทำพวกนี้ เปนสกิลเฉพาะตัวมากๆนะ
เพราะเขารู้ว่าstart up แบบไหน burn rate เท่าไหร่
อย่างเราๆ. กว่าจะเข้าใจ คงหมดเยอะ ใช้เวลานาน
มันกะลงทุนเปนพอร์ตฟอลิโอแหละ
prob และ return กะไม่หลุด range จากพอรตหุ้นเท่าไหร่
กำไรตัวที่เราเห็นมากๆ มันกะถูabsorb ไปกับ ตัวที่ขาดทุน
คนทำพวกนี้ เปนสกิลเฉพาะตัวมากๆนะ
เพราะเขารู้ว่าstart up แบบไหน burn rate เท่าไหร่
อย่างเราๆ. กว่าจะเข้าใจ คงหมดเยอะ ใช้เวลานาน
show me money.