บทความต่างๆที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม
-
Thai VI Article
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1593
- ผู้ติดตาม: 2
|0 คอมเมนต์
โค้ด: เลือกทั้งหมด
ผู้ที่เคยติดตามอ่านเรื่องราวชีวิตและการลงทุนของ “วอร์เรน บัฟเฟตต์” อาจจะเคยผ่านตากับชื่อ “วิลเลี่ยม รูแอน” หรือ “บิล รูแอน” มาบ้าง
เขาผู้นี้เป็นเพื่อนสนิทคนหนึ่งของ “บัฟเฟตต์” ชื่อเต็มของเขาคือ “วิลเลี่ยม เจ. รูแอน” (William J. Ruane) เป็นผู้บริหารกองทุน Sequoia ซึ่งเป็นกองทุนที่ใช้กลยุทธ์การลงทุนแบบเน้นคุณค่าที่มีชื่อเสียงกองทุนหนึ่งของสหรัฐอเมริกา
แรกทีเดียว “รูแอน” จบการศึกษาทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้าจากมหาวิทยาลัยมินเนโซตา และเข้าทำงานตำแหน่งวิศวกรในบริษัทเจเนอรัล อิเลคตริค แต่เขาพบว่านี่ไม่ใช่งานที่เขาถนัด จึงได้ลาออกและเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด และเบนเข็มสู่วอลสตรีทเป็นนักวิเคราะห์หลักทรัพย์และก้าวสู่การเป็นผู้จัดการกองทุนในที่สุด
ครั้งหนึ่ง “รูแอน” ทราบข่าวว่า “เบนจามิน เกรแฮม” อาจารย์ด้านการลงทุนแห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบียเปิดโอกาสให้คนจากภายนอกเข้าร่วมวิชาสัมมนาในชั้นเรียนของเขาได้ “รูแอน” จึงสมัครเข้าร่วม ซึ่งในชั้นเรียนดังกล่าวมี “วอร์เรน บัฟเฟตต์” เรียนอยู่ด้วย นั่นจึงเป็นครั้งแรกที่ทั้งคู่ได้พบกัน
“รูแอน” ให้ความเห็นเกี่ยวกับสัมมนาครั้งนั้นว่า “มันเป็นประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยม การสัมมนาได้สร้างความน่าทึ่งเป็นอย่างยิ่งจากการโต้ตอบกันระหว่างเบน (เกรแฮม) กับวอร์เรน บัฟเฟตต์ ทั้งคู่ทำให้เกิดประกายความคิดที่สว่างไสว”
หลังจากที่ได้พบกันในคราวนั้น ทั้ง “รูแอน” และ “บัฟเฟตต์” ต่างก็คบหาเป็นเพื่อนกันมาอย่างยาวนาน แม้จะไม่ได้เป็นเพื่อนคู่หูที่ทำงานร่วมกันเหมือนอย่าง “ชาร์ลี มังเกอร์” แต่ก็มีโอกาสได้พบปะและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอยู่เสมอๆ ในฐานะที่เป็นสาวกของ “เบนจามิน เกรแฮม” ด้วยกัน
เมื่อคราวที่ “บัฟเฟตต์” ตัดสินใจยุติห้างหุ้นส่วนด้านการลงทุน Buffett Partnership ลงด้วยเหตุผลว่า ตลาดหุ้นในเวลานั้นไต่ระดับขึ้นมาสูงจนเขารู้สึกว่าไม่มีอะไรน่าลงทุนอีกต่อไปแล้ว เขาจึงจัดสรรเงินลงทุนคืนให้กับบรรดาหุ้นส่วนของเขา ตอนนั้นมีบริษัทด้านการลงทุนติดต่อขอซื้อรายชื่อผู้ที่เป็นหุ้นส่วนของ Buffett Partnership แต่ “บัฟเฟตต์” ตอบปฏิเสธไป มีเพียงบุคคลเดียวเท่านั้นที่เขาแนะนำให้หุ้นส่วนของเขานำเงินไปลงทุนด้วยถ้าหากยังต้องการลงทุนอยู่ บุคคลผู้นั้นก็คือ “รูแอน”
นั่นสะท้อนให้เห็นว่า “วอร์เรน บัฟเฟตต์” เชื่อมั่นในฝีมือด้านการลงทุนของ “วิลเลี่ยม รูแอน” อยู่ไม่น้อย บทความในตอนหน้า เราจะมาติดตามเรื่องราวของ “วิลเลี่ยม รูแอน” กันต่อครับ
[/size]
-
kjarrung
- Verified User
- โพสต์: 262
- ผู้ติดตาม: 0
|0 คอมเมนต์
Sequoia fund ยังบริหารจนถึงทุกวันนี้นับจากปี 1970 - 2015 มีผลตอบแทนประมาณ ร้อยละ 15 ต่อปี ทบต้นครับ
-
ลูกหิน
- Verified User
- โพสต์: 1217
- ผู้ติดตาม: 0
|0 คอมเมนต์
ขอบคุณมากครับ
-
Seattle
- Verified User
- โพสต์: 1119
- ผู้ติดตาม: 0
|0 คอมเมนต์
รู้จัก “วิลเลี่ยม รูแอน” ตอนที่ 2 / ประภาคาร ภราดรภิบาล
จากบทความในตอนที่แล้ว ที่เล่าถึงว่า “วิลเลี่ยม รูแอน” เป็นหนึ่งในสาวกของ “เบนจามิน เกรแฮม” - บิดาแห่งการลงทุนแบบเน้นคุณค่า เช่นเดียวกับ “วอร์เรน บัฟเฟตต์”
นอกจากนี้ “วิลเลี่ยม รูแอน” ยังเป็นผู้จัดการกองทุนคนเดียวที่ “วอร์เรน บัฟเฟตต์” แนะนำให้หุ้นส่วนของเขานำเงินไปลงทุนด้วยถ้าหากยังต้องการลงทุนอยู่หลังจากที่ “บัฟเฟตต์” ตัดสินใจยุติห้างหุ้นส่วนด้านการลงทุน Buffett Partnership ลง
ฝีมือด้านการลงทุนของ “วิลเลี่ยม รูแอน” ในฐานะผู้จัดการกองทุน Sequoia นั้น มีการบันทึกไว้ว่า ถ้าลงทุน 10,000 เหรียญกับกองทุน Sequoia ในปี 1970 เงินจะเพิ่มมูลค่าเป็น 1,315,850 เหรียญตอนสิ้นปี 2000
“รูแอน” เล่าว่า เขาเคยได้รับคำแนะนำดี ๆ จาก “ฮัลเบิร์ต เฮททิงเจอร์” ผู้ที่เขายกย่องว่าเป็นนักลงทุนชั้นยอดคนหนึ่งถึงแม้จะไม่ได้มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่รู้จักมากนัก “รูแอน” บอกว่านี่เป็นกฎ 4 ข้อของ “เฮททิงเจอร์” ที่เขาจดจำได้ขึ้นใจ ไม่เคยลืม
1. อย่าใช้มาร์จิน ถ้าคุณฉลาด คุณไม่จำเป็นต้องยืมเงินเพื่อทำเงิน แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าคุณไม่ฉลาดพอ คุณอาจหมดตัวได้
2. ซื้อหุ้น 6-7 ตัว ที่คุณรู้จักมันดี จัดพอร์ตโฟลิโอแบบมุ่งเน้น แต่อย่ามีหุ้นเพียง 1-2 ตัวซึ่งน้อยเกินไป
3. ไม่ต้องสนใจกับการขึ้นลงของดัชนีตลาดหุ้น ให้มุ่งเน้นเฉพาะหุ้นเป็นรายตัวไป
4. ราคาหุ้นและตลาดหุ้น สามารถเหวี่ยงตัวไปได้อย่างสุดโต่งทั้งขาขึ้นและขาลง ดังนั้นจงลงทุนด้วยความระมัดระวัง
“วิลเลี่ยม รูแอน” เสียชีวิตในวัย 79 ปีเศษ ในปี 2005 แต่กองทุน Sequoia ซึ่งเขาเคยฝากฝีมือในการบริหารไว้อย่างยอดเยี่ยมก็ยังคงเปิดดำเนินการอยู่จนถึงปัจจุบัน
-
ทศพร29
- Verified User
- โพสต์: 306
- ผู้ติดตาม: 0
|0 คอมเมนต์
ในภาวะปกติผมก็จะใช้เงินสดซื้อเหมือนกัน
แต่ในบางช่วงที่ตลาดหุ้นทรุดหนักจริงๆจนหุ้นที่เราสนใจมีราคาถูกมากอย่างไม่น่าเชื่อ ผมก็จะใช้มาร์จิ้นเข้าซื้อครับ
ล่าสุดที่ผมใช้มาร์จิ้นซื้อก็ช่วงก่อนรัฐประหาร เหตุการณ์ม็อบปิดกรุงเทพ หุ้น CPN ราคาร่วงจาก 50 กว่าบาท เหลือ 30 กว่าบาท ผมนั่งดูกระดานหุ้นผมยังนึกว่าผมฝันไปที่เห็น CPN ราคาถูกขนาดนี้ ก็เลยใช้มาร์จิ้นจนเต็ม 50% เลยครับ