การประเมินกำไรในอนาคต (ตอน 1)/ Road to Billion

บทความต่างๆที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม

โพสต์ โพสต์
Thai VI Article
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1593
ผู้ติดตาม: 2

การประเมินกำไรในอนาคต (ตอน 1)/ Road to Billion

โพสต์ที่ 1

โพสต์

โค้ด: เลือกทั้งหมด

การรู้จักการประเมินกำไรล่วงหน้าอย่างถูกต้องจะช่วยให้เราตัดสินใจลงทุนได้ดีขึ้น เพราะนอกจากจะสามารถประเมินอัตราการเติบโตและความถูกแพงของหุ้นได้ถูกต้องแม่นยำขึ้นแล้ว การมีโมเดลในการประเมินกำไรจะเป็น “เครื่องจับโกหก” ชั้นดีที่เราสามารถนำไปใช้ในการประเมินความเป็นไปได้ของสิ่งที่ผู้บริหารพูดหรือสิ่งที่นักวิเคราะห์เขียนไว้ในบทวิจัย การที่เราสามารถใช้เครื่องมือตรงนี้ได้อย่างแม่นยำจะทำให้เราได้เปรียบนักลงทุนทั่วๆไปที่ไม่มีเครื่องมือตรงนี้ 

แต่ก่อนที่จะเริ่มประมาณการผลกำไร เราต้องเข้าใจคุณภาพของธุรกิจก่อน เราต้องสามารถวิเคราะห์ได้ว่าธุรกิจมี "จุดตาย" หรือ "ข้อควรระวัง" อยู่ตรงไหน และอะไรเป็นประเด็นที่สำคัญ เช่น ธุรกิจเกษตรจะมีราคาขายผันผวนตามสภาวะตลาด ซึ่งจะมีผลต่อการเติบโตของยอดขายและอัตรากำไรขั้นต้น ธุรกิจโรงแรมจะมีความผันผวนตามฤดูกาล เพราะฉะนั้นงบในไตรมาส 1 และ 4 จะสูงกว่าอีกสองไตรมาสมาก การวิเคราะห์ประเด็นเหล่านี้จะทำได้ถ้าเราเข้าใจความเสี่ยงและโครงสร้างรายได้และต้นทุนของกิจการ การประเมินโดยขาดความเข้าใจในคุณภาพของกิจการจะทำให้เกิด Garbage In, Garbage Out (ขยะเข้า ขยะออก) หรือถ้าพูดง่ายๆคือความถูกต้องของการประเมินกำไรในอนาคตจะขึ้นอยู่กับคุณภาพของการประเมินธุรกิจ ซึ่งในบทความนี้ผมจะไม่กล่าวถึงการวิเคราะห์เชิงคุณภาพแต่จะบอกว่าการวิเคราะห์เชิงคุณภาพจะทำให้เรารู้ว่า "สมมติฐาน" ข้อไหนมีความสำคัญต่อการประเมินกำไรในอนาคตของเรา 

หลังจากประเมินมูลค่าเชิงคุณภาพแล้วเราก็สามารถเริ่มต้นทำการประมาณการกำไรได้ โดยแบ่งเป็น 5 ขั้นตอนง่ายๆดังนี้

1. สร้างโมเดลในการประเมิน (Creating a Model) 
สามารถทำได้โดยทำการป้อนข้อมูลตัวเลขทางการเงินย้อนหลัง (จากงบการเงิน) เราจะกรอกข้อมูลย้อนหลังลงในไฟล์ Excel อย่างน้อย 3 ปี (ถ้าอยากเห็นแนวโน้มของธุรกิจมากขึ้น ผมแนะนำ 5 ปี) โดยที่เราจะกรอกตัวเลขแต่ละบรรทัดและทำการคำนวณกำไรสุทธิออกมา (เราจะไม่กรอกกำไรสุทธิลงไปตรงๆ) เราจะนำกำไรสุทธิที่คำนวณได้ไปเปรียบเทียบกับตัวเลขในงบการเงิน ถ้าตรงก็แล้วไป แต่ถ้าไม่ตรงแสดงว่า 1) สูตรผิด 2) ตัวเลขที่เรากรอกไม่ถูกต้อง เราต้องหาจนเจอจุดผิด (ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องที่น่ารำคาญมากๆสำหรับคนที่พึ่งจะเริ่มทำโมเดลใหม่ๆ) เพราะไม่งั้นการประมาณการเราจะผิดทั้งหมด แต่ถ้าเราทำได้แล้วเราก็จะมีโมเดลที่พร้อมแล้วสำหรับการการประเมินกำไรต่อไป 

2. กำหนดสมมติฐาน (Set Assumptions) 
สามารถทำได้โดยดูแนวโน้มของการเติบโตของยอดขาย อัตราการทำกำไรย้อนหลัง และนำข้อมูลมาเปรียบเทียบกับข้อมูลที่ผู้บริหารให้มา หลังจากเปรียบเทียบแล้วเราจะทราบว่าผู้บริหารให้ Guidance ต่ำหรือสูงเกินไป เช่น ถ้าธุรกิจมีรายได้เติบโตแค่ปีละ 3% ตลอด 5 ปีที่ผ่านมาแต่ปีนี้ผู้บริหารให้เป้า 20% เราต้องสงสัยแล้วว่าจะมีปัจจัยอะไรที่ทำให้บริษัทเติบโตได้ขนาดนั้น หลังจากนั้นเราก็ต้องทำการ “เลือกเชื่อ” ว่าเราจะนำตัวเลขไหนมาใช้ในการประเมินกำไร 

3. ประเมินกำไรจากสมมติฐาน (Forecasting)
โดยนำตัวเลขสมมติฐานที่ได้มาทำการประมาณการกำไร ตัวเลขเหล่านี้ควรรวมถึง (แต่อาจจะมีมากกว่านี้) อัตราการเติบโตของยอดขาย อัตรากำไรขั้นต้น ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารเมื่อเทียบเป็นสัดส่วนของยอดขายรวม อัตราภาษี ค่าใช้จ่ายทางการเงิน ในบางธุรกิจอาจจะมี กำไร(ขาดทุน)จากอัตราแลกเปลี่ยน ค่าใช้จ่ายจากการขายสินทรัพย์ และอื่นๆ ซึ่งวิธีการประเมินอาจจะขึ้นอยู่กับว่ารายการนั้นมีนัยสำคัญต่อการประเมินของเราหรือไม่ ถ้าไม่มีก็สามารถตัดทิ้งได้ แต่ถ้ามีเราอาจจะต้องศึกษาเพิ่มเติม

4. เปรียบเทียบตัวเลขที่ทำได้กับแหล่งอ้างอิงอื่นๆ (Benchmarking)
นำตัวเลขที่ได้มาเปรียบเทียบกับสิ่งที่ผู้บริหารให้ไว้ รวมถึงเปรียบเทียบตัวเลขกับบทวิเคราะห์ว่าผลกำไรที่เราประเมินได้มากหรือน้อยกว่าอย่างไร อยากให้ตั้งข้อสังเกตว่าการที่ได้ตัวเลขใกล้เคียงกับนักวิเคราะห์อาจจะไม่ได้แปลว่ามันถูกต้องเสมอไป การได้ตัวเลขที่น้อยกว่าหรือมากกว่ามากๆบางครั้งอาจจะถูกก็ได้ เพราะสุดท้ายแล้วขึ้นอยู่สมมติฐานของเรา สิ่งที่สำคัญกว่าคือเราต้องตอบให้ได้ว่า “ทำไม” ตัวเลขเราถึงแตกต่างกับคนอื่นๆ

5. ติดตามและอัพเดทงบรายไตรมาส (Earning Review)
ทุกครั้งที่งบออก เราจะป้อนข้อมูลงบล่าสุดเทียบกับประมาณการที่เราทำไว้สำหรับทั้งปี เช่นถ้ายอดขาย 6 เดือนแรกโต 50% แต่เราทำประมาณการไว้ 10% แสดงว่าเราอาจจะต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมหรืออาจจะต้องศึกษาดูว่ากำไรที่โตเยอะมากเกิดจากเหตุการณ์พิเศษอะไรรึเปล่า แล้วเราก็ควรจะปรับโมเดลตามข้อมูลใหม่ที่เราได้รับมา 
ช่วงที่ผมเป็นนักวิเคราะห์กองทุนใหม่ๆผมมักจะเจออาการ “โดนหลอก” เป็นประจำ เพราะผมเชื่อ 100% ในสิ่งที่ผมได้ยินได้ฟังมาทำให้ตัวเลขที่ได้บางครั้งก็สูงเกินไป (ทำให้เราไม่ได้ระวังตัว) บางครั้งก็ต่ำเกินไป (ทำให้เราไม่กล้าซื้อ) เพราะฉะนั้นการประเมินกำไรให้ได้แม่นยำ ต้องอาศัยความอดทน ความพยายาม ความช่างสังเกต ประสบการณ์ในการลองผิดลองถูก แต่สิ่งที่ได้รับคือเครื่องมือที่ทรงพลังที่สุดชิ้นหนึ่งในการเป็นนักลงทุนแบบเน้นคุณค่า

อ่านจบแล้วก็อย่าลืมหยิบงบการเงินของหุ้นตัวโปรดแล้วมาลองทำการประเมินกำไรดูครับ การอธิบายเป็นคำพูดอาจจะมีข้อจำกัด เพราะฉะนั้นถ้ามีข้อสงสัยหรือคำแนะนำตรงไหนก็ถามกันได้ครับ 

ตอนหน้าผมจะมาพูดถึงวิธีการวิเคราะห์และการประเมินงบในแต่ละบรรทัดว่าเราจะทำการประเมินได้อย่างไร และมีข้อควรระวังอะไร มาวิเคราะห์แบบเจาะลึกไปเลย ติดตามอ่านกันได้ 
[/size]
tigerroad197
Verified User
โพสต์: 390
ผู้ติดตาม: 0

Re: การประเมินกำไรในอนาคต (ตอน 1)/ Road to Billion

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ขอบคุณมากครับ. เป็นบทความที่ดีมากครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Highway_Star
Verified User
โพสต์: 440
ผู้ติดตาม: 0

Re: การประเมินกำไรในอนาคต (ตอน 1)/ Road to Billion

โพสต์ที่ 3

โพสต์

รอตอนต่อไปอยู่นะครับ
หมอวิ
Verified User
โพสต์: 272
ผู้ติดตาม: 0

Re: การประเมินกำไรในอนาคต (ตอน 1)/ Road to Billion

โพสต์ที่ 4

โพสต์

สุดยอด เห็นภาพเลยครับ เดี๋ยวจะลองดูครับ
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 0

Re: การประเมินกำไรในอนาคต (ตอน 1)/ Road to Billion

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ขอบคุณมากๆครับสำหรับบทความดีๆ

-----------------------------------------
รวยด้วยรัก

http://www.thorfun.com/story/view/URtOR67rWaF3ABtA
roek09
Verified User
โพสต์: 147
ผู้ติดตาม: 0

Re: การประเมินกำไรในอนาคต (ตอน 1)/ Road to Billion

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ขอบคุณครับ รออ่านตอน2
dsdumrong
Verified User
โพสต์: 530
ผู้ติดตาม: 0

Re: การประเมินกำไรในอนาคต (ตอน 1)/ Road to Billion

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ต้องรอตอน2ซินะ
stuffInvester
Verified User
โพสต์: 5
ผู้ติดตาม: 0

Re: การประเมินกำไรในอนาคต (ตอน 1)/ Road to Billion

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ขอบคุณครับ สำหรับบทความดีๆ
ครับผม ><
Noinar
Verified User
โพสต์: 135
ผู้ติดตาม: 0

Re: การประเมินกำไรในอนาคต (ตอน 1)/ Road to Billion

โพสต์ที่ 9

โพสต์

เห็นภาพเลย..ขอบคุณมากครับ
The future4
Verified User
โพสต์: 17
ผู้ติดตาม: 0

Re: การประเมินกำไรในอนาคต (ตอน 1)/ Road to Billion

โพสต์ที่ 10

โพสต์

ขอบคุณครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
piyasak_b
Verified User
โพสต์: 39
ผู้ติดตาม: 0

Re: การประเมินกำไรในอนาคต (ตอน 1)/ Road to Billion

โพสต์ที่ 11

โพสต์

ขอบคุณมากครับ จะลองไปฝึกทำดูครับ
paoz
Verified User
โพสต์: 91
ผู้ติดตาม: 0

Re: การประเมินกำไรในอนาคต (ตอน 1)/ Road to Billion

โพสต์ที่ 12

โพสต์

ขอบคุณมากครับ
lovemalody
Verified User
โพสต์: 5
ผู้ติดตาม: 0

Re: การประเมินกำไรในอนาคต (ตอน 1)/ Road to Billion

โพสต์ที่ 13

โพสต์

ขอบคุณนะคะ กำลังคิดอยู่เลยว่าจะประเมินอย่างไร
Sabye
Verified User
โพสต์: 10
ผู้ติดตาม: 0

Re: การประเมินกำไรในอนาคต (ตอน 1)/ Road to Billion

โพสต์ที่ 14

โพสต์

ขอบคุณครับ
รออ่านตอนที่สองนะครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
JUMP
Verified User
โพสต์: 175
ผู้ติดตาม: 0

Re: การประเมินกำไรในอนาคต (ตอน 1)/ Road to Billion

โพสต์ที่ 15

โพสต์

ตอน 2 การวิเคราะห์และการประเมินงบฯ มีต่อหรือเปล่าครับ?
หมอวิ
Verified User
โพสต์: 272
ผู้ติดตาม: 0

Re: การประเมินกำไรในอนาคต (ตอน 1)/ Road to Billion

โพสต์ที่ 16

โพสต์

อ่านสองรอบแล้ว มีประโยชน์มากครับ แต่เมื่อไหร่ตอนสองจะมาครับ
ขอบคุณมากๆครับ
IM_VI
Verified User
โพสต์: 95
ผู้ติดตาม: 0

Re: การประเมินกำไรในอนาคต (ตอน 1)/ Road to Billion

โพสต์ที่ 17

โพสต์

เยี่ยมมากๆครับ แต่จะกรอกกำไรจากอะไรครับ ยอดขาย-ต้นทุนต่างๆในงบการเงินเลย ใช่ไหมครับ
My House
Verified User
โพสต์: 1311
ผู้ติดตาม: 0

Re: การประเมินกำไรในอนาคต (ตอน 1)/ Road to Billion

โพสต์ที่ 18

โพสต์

ขอบคุณครับ
Seattle
Verified User
โพสต์: 1119
ผู้ติดตาม: 0

Re: การประเมินกำไรในอนาคต (ตอน 1)/ Road to Billion

โพสต์ที่ 19

โพสต์

การประเมินกำไรในอนาคต (ตอน 2 ) / Road to Billion

ในบทความ “การประเมินกำไรในอนาคต ตอนที่ 1” เราได้พูดถึงขั้นตอนในการประเมินกำไรทั้ง 5 ขั้นตอนแล้ว http://www.thaivi.org/การประเมินกำไรในอนาคต-ต/ ในบทความนี้เราจะลงในรายละเอียด โดยจะกล่าวปัจจัยที่มีผลต่อกำไรอย่างละเอียดมากขึ้น

รายได้

หุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่งและอยู่ในอุตสาหกรรมที่กำลังขยายตัว มักจะมีการเติบโตของรายได้ที่สม่ำเสมอ การประเมินรายได้ของหุ้นพวกนี้อาจจะใช้อัตราการเติบโตในอดีตได้ แต่สำหรับหุ้นที่มีรายได้ในอดีตไม่สม่ำเสมอ ได้รับผลกระทบจากวัฏจักรเศรษฐกิจ หรือบริษัทที่มีผู้บริหาร ผลิตภัณฑ์ หรือหน่วยธุรกิจใหม่ๆ การใช้ตัวเลขในอดีตอาจจะไม่ใช่วิธีการที่ดีที่สุด เราอาจจะต้องอาศัยข้อมูลการจากทางผู้บริหารประกอบ อย่างไรก็ตามเราต้องระมัดระวังความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของรายได้ โดยเฉพาะบริษัทที่มีลูกค้าน้อยราย หรือบริษัทที่ไม่มีลูกค้าประจำหรือไม่สามารถกำหนดราคาขายแน่นอนได้ บริษัทเหล่านี้เราต้องมี “ส่วนเผื่อสำหรับข้อผิดพลาด” ไว้บ้าง

การประมาณการอัตราการทำกำไร

ต้นทุนของธุรกิจหลักๆมีสองส่วนคือ ต้นทุนในการขาย (Cost of Good Sold หรือ COGS) และค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหาร (Sale, General & Admin หรือ SG&A) ในการวิเคราะห์เราต้องมองให้ออกว่าทั้ง COGS และ SG&A มีส่วนไหนบ้างที่เป็นค่าใช้จ่ายคงที่ และส่วนไหนเป็นค่าใช้จ่ายทีแปรผันตามยอดขาย ธุรกิจโรงแรมจะมีค่าใช้จ่ายคงที่ค่อนข้างเยอะจากค่าเสื่อมราคา ทำให้การเพิ่มขึ้นของยอดขายในวัฏจักรขาขึ้นจะทำให้อัตราการทำกำไรเติบโต (รายได้เพิ่มขึ้น แต่ต้นทุนเพิ่มขึ้นในอัตราส่วนที่น้อยกว่า) แต่ในขณะที่ธุรกิจเกษตรอาจจะมีต้นทุนแปรผันเยอะ เพราะฉะนั้นการเพิ่มขึ้นของยอดขายอาจจะไม่ได้ถึงอัตราการทำกำไรที่ดีขึ้น (สำหรับธุรกิจนี้ ต้องมองกันที่ราคาขายและราคาของวัตถุดิบเป็นหลักๆ)

การใช้อัตราส่วนในอดีตจะสามารถใช้ได้แต่เราต้องดูผลกระทบที่บริษัทจะได้รับในปีปัจจุบัน ซึ่งอาจจะมาจากค่าเช่า ค่าสาธารณูปโภค หรือค่าแรงที่ปรับตัวขึ้น รวมถึงอัตราการใช้กำลังการผลิต (Capacity Utilization) ของธุรกิจ ส่วนมากแล้วทางบริษัทจะสามารถให้ข้อมูลได้ว่าแนวโน้มของอัตราการทำกำไรในปีนี้จะเป็นยังไง แต่ก็อย่าลืมถามถึง “เหตุผล” ที่จะเป็นอย่างนั้นด้วยนะครับ เราจะได้นำมาวิเคราะห์ต่อได้

ต้นทุนทางการเงินและกระแสเงินสด

สองอย่างนี้ใกล้กันจนหลีกเลี่ยงกันไม่ได้ บริษัทที่มีกระแสเงินสดดีจะมีเงินเหลือไปจ่ายหนี้เพื่อลดภาระทางการเงิน แต่สำหรับบริษัทที่ต้องใช้Working Capitalหรือเงินลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนมาก อาจจะต้องอาศัยการกู้ยืมที่มากขึ้นถ้าธุรกิจจะต้องการเติบโต การวิเคราะห์โดยละเอียดจะทำได้ยากสำหรับคนที่ไม่ใช่นักวิเคราะห์มืออาชีพ แต่เราสามารถทำได้คร่าวๆโดยการวิเคราะห์งบกระแสเงินสด ถ้ากระแสเงินสดจากการดำเนินงานหักด้วยเงินที่ใช้ในการลงทุนติดลบมากๆ บริษัทจำเป็นต้องจัดหาเงินจากแหล่งอื่นๆ ซึ่งอาจจะหมายถึงการกู้เงินจากธนาคารหรือการเพิ่มทุนจากผู้ถือหุ้น สมมติว่าบริษัทต้องใช้

อัตราภาษี

ค่าใช้จ่ายบางประเภทไม่สามารถนำมาหักค่าใช้จ่ายเพื่อลดภาษีได้ เช่น การตั้งสำรองหนี้เสีย ทำให้อัตราการจ่ายภาษี (“ภาษีจ่าย” หารด้วย “กำไรก่อนหักภาษี”) มีอัตรามากกว่าปรกติ แต่ในบางกรณีบริษัทอาจจะจ่ายภาษีน้อยกว่าฐาน 20% เนื่องจากได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี เช่น BOI การประเมินภาษีทำได้ยาก ถ้าอัตราการจ่ายภาษีในอดีตไม่ได้ผันผวนมากผมก็จะใช้ตัวเลขเดิม แต่ถ้าผันผวนประเมินยาก ผมจะโทรถามข้อมูลส่วนนี้จากทางเจ้าหน้าที่นักลงทุนสัมพันธ์โดยตรงเลย ซึ่งจะแม่นยำกว่าการคาดเดาของเราแน่นอน

ผลกระทบจาก Dilution

การออก Warrant การเพิ่มทุน การจ่ายหุ้นปันผล จะทำให้จำนวนหุ้นเพิ่มขึ้น ซึ่งจะมีผลให้กำไรต่อหุ้นลดลง นักลงทุนหลายท่านประเมินมูลค่าโดยที่ยังไม่ได้นำหุ้นส่วนเพิ่มนี้มารวม ทำให้ได้ตัวเลขกำไรต่อหุ้น (EPS) ที่สูงเกินจริง สุดท้ายแล้วเราต้องไม่ลืมว่าการเติบโตของ EPS ในระยะยาวจะเป็นเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงและสร้างผลตอบแทนได้ดีที่สุด

สุดท้ายแล้วหุ้นแต่ละตัว ในแต่ละอุตสาหกรรมก็จะมีปัจจัยที่มีผลต่อรายได้และกำไรแตกต่างกัน เพราะฉะนั้นการประเมินกำไรให้แม่นยำ จำเป็นต้องอาศัยการสะสมประสบการณ์ (รวมถึงข้อผิดพลาด) ในการวิเคราะห์ธุรกิจและประเมินกำไรในอนาคต สิ่งที่สำคัญที่สุดคือกระบวนการทั้ง 5 ข้อที่ผมได้กล่าวถึงในบทความก่อนหน้านี้ http://www.thaivi.org/การประเมินกำไรในอนาคต-ต/ ถ้ากระบวนการถูกต้องแล้ว ในท้ายที่สุดเราจะได้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพึงพอใจ ถ้าเราผิดพลาดตรงไหนก็ค่อยๆปรับแก้ไป สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ต้องคอยประเมินตัวเองอยู่เสมอ ในบทความหน้า ผมจะมาพูดถึงข้อผิดพลาดในการประเมินกำไรในอนาคตที่นักลงทุนชอบทำกัน ติดตามกันได้ครับ
โพสต์โพสต์