ชัยชนะของมวยรอง / คนขายของ
- คนขายของ
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 788
- ผู้ติดตาม: 0
ชัยชนะของมวยรอง / คนขายของ
โพสต์ที่ 1
ชัยชนะของมวยรอง / โดย คนขายของ
โดยปกตินักลงทุนแบบเน้นคุณค่าจะเน้นการลงทุนในกิจการที่เป็น “ที่หนึ่ง” ในอุตสาหกรรมนั้นๆ
เช่น ถ้าเป็นอุตสาหกรรมน้ำอัดลม Coca-Cola ก็จะขึ้นเป็นตัวเลือกอันดับแรก สาเหตุที่ นักลงทุนแนว VI ให้น้ำหนักกับผู้ชนะอันดับหนึ่งในอุตสาหกรรมนั้นๆ อาจเป็นเพราะว่า โดยมาก ผู้นำในอุตสากรรมมักมีสิ่งที่เรียกว่า “ความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืน” มากกว่ากิจการ ที่เป็นที่สอง หรือ ที่สาม การลงทุนในกิจการที่เรียกได้ว่าเป็นเบอร์หนึ่งของตลาดนั้น มีโอกาสที่จะนำมา ซึ่งผลตอบแทนที่มากกว่ากิจการที่อยู่ในระดับรองลงไป แต่ว่าบทสรุปนี้ จะเป็นจริงทุกกรณีหรือไม่ ในบทความนี้ผมขอยกกรณีศึกษาของกิจการเสื้อผ้า และรองเท้ากีฬา ในประเทศอเมริกา มาเล่าสู่กันฟัง
ในปี คศ 1996 บริษัทยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมเสื้อผ้ากีฬาอย่าง NIKE มีมูลค่ากิจการ (Market Cap) สูงถึง 15,000 ล้านเหรียญ และมียอดขายประมาณ 6,500 ล้านเหรียญ ในปีนั้นเอง กิจการเสื้อผ้ากีฬาขนาดเล็ก ชื่อ “Under Armour” ก็ได้ถูกก่อตั้งขึ้นโดยนักกีฬา อเมริกันฟุตบอลที่ชื่อ “Kelvin Plank” เคลวินเป็นนักกีฬาที่มีเหงื่อเยอะมาก ทำให้เขา ไม่พอใจเสื้อกีฬาที่ทำจากผ้าฝ้ายเพราะผ้าจะอุ้มน้ำทำให้การเคลื่อนไหวไม่ถนัด เขาได้เริ่มค้นคว้า วิจัยเนื้อผ้าต่างๆ ที่ไม่อุ้มน้ำ แห้งไว และ มีน้ำหนักเบา ในที่สุดเคลวิน ก็มาได้ไอเดียโดยการนำ เอาผ้าชนิดหนึ่งสำหรับทำชุดชั้นในของผู้หญิง มาประยุกต์ใช้ทำเป็นชุดกีฬา ในปีแรก (1996) ที่เคลวินเริ่มทำธุรกิจ บริษัทมียอดขายเพียง 17,000 เหรียญ หรือต่างจากยอดขายของ NIKE ถึง เกือบ 400,000 เท่า
กิจการ Under Armour (UA) เจริญรุ่งเรืองไปด้วยดี ลูกค้าประทับใจในตัวสินค้ามาก จนช่วยกันบอกต่อ ยอดขายของบริษัทเติบโตและกลายเป็นบริษัทจดทะเบียนในปี 2005 มูลค่าของกิจการในปีแรกอยู่ที่ 1,800 ล้านเหรียญ เพื่อที่ประสบความสำเร็จ บริษัทได้ให้ ความสำคัญกับนวัตกรรม ใหม่ๆ เช่นผ้าที่ใช่แล้วเย็น (สำหรับเมืองร้อน) ผ้าที่เก็บความร้อนได้ดี (สำหรับเมืองหนาว) และซิปที่สามารถรูดได้โดยใช้มือเดียว บริษัทมุ่งเน้นในการทำงานร่วมกับ นักกีฬาเพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ ในส่วนของการกระจายสินค้า เน้นเพิ่มจุดขายของบริษัทเอง ลดการขายผ่านตัวแทนจำหน่ายทำให้ใกล้ชิดลูกค้ามากขึ้น และเป็นการเพิ่ม marginไปด้วย
หากเราวิเคราะห์หุ้น UA ผ่านอัตราส่วนทางการเงินต่างๆ เช่น PE, PBV และ DIV Yield เทียบกับกิจการอย่าง NIKE โดยไม่ให้น้ำหนักกับการวิเคราะห์ “เชิงคุณภาพ” และศักยภาพที่ บริษัทจะสามารถเติบโตได้ในอนาคต ผมเชื่อว่านักลงทุนหลายท่านคงตัดสินใจซื้อ NIKE ในปี 2005 ซึ่งในปีนั้น NIKE มี PE=17, PBV=3.6 และ DIV Yield= 1.23%
ส่วน UA มี PE=83, PBV=11 และ DIV Yield=0% นอกจากอัตราส่วน ทางการเงิน ที่ดูน่าดึงดูดใจกว่า ในปี 2005 คนทั่วโลกไม่ว่าจะเป็น ผู้จัดการกองทุน โบรกเกอร์ และ นายธนาคาร ล้วนรู้จัก NIKE กันเป็นอย่างดี แต่คนที่รู้จัก UA คงมีไม่มากนัก ดังนั้นหุ้น NIKE จึงน่าเป็นที่นิยมมากกว่า แต่กลายเป็นว่านักลงทุนที่ซื้อหุ้น UA ในวันที่เทรดวันแรก และถือมา จนถึงตอนนี้ เขาจะได้ผลตอบแทน (Capital Gain) ประมาณ 10 เท่า แต่หากเขา เปลี่ยนใจไปซื้อ NIKE ในวันเดียวกันและถือมาถึงตอนนี้ เขาจะได้ผลตอยแทนเพียง 2.6 เท่า
“Under Armour” เป็นตัวอย่างหนึ่งของกิจการขนาดเล็ก ที่มีกลยุทธ์ที่ชัดเจน มีการดำเนินงาน ที่ดีเยี่ยม และใส่ใจในรายละเอียดกับลูกค้า จะว่าไปก็คล้ายๆกับ “APPLE” ของวงการเสื้อผ้ากีฬา ทางบริษัทเพิ่งประกาศผลประกอบการ 2Q14 เมื่อเร็วๆนี้ พบว่าสามารถทำกำไรเติบโตมากกว่า 20% ติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 17 บริษัทแบบนี้สามารถสร้างความมั่งคั่งให้กับผู้ถือหุ้น ได้เป็นอย่างดี แต่ทั้งนี้ไม่ใช่ทุกบริษัทขนาดเล็ก จะสามารถทำได้แบบนี้ กิจการอย่าง AOL (American Online) ซึ่งเคยมีคนคาดว่า บริษัทนี้จะขึ้นมาเป็นคู่ต่อกรกับ Microsoft ของ บิล เกตส์ ด้วยการควบรวมกิจการกับบริษัทสื่อยักษ์ใหญ่อย่าง Time Warner แต่ปรากฎ ว่าการควบรวมครั้งนั้นล้มเหลว และไม่สามารถสร้างความสามารถในการแข่งขันได้ จนในที่สุดชื่อของ AOL ก็ได้หายไปจากความทรงจำ ดังนั้นนักลงทุนที่ดีควรตระหนักถึงทั้ง “โอกาส” และ “ความเสี่ยง” ของกิจการไม่ว่าจะเป็นประเภท “มวยหลัก”หรือ“มวยรอง” ให้ดีก่อนตัดสินใจลงทุน
โดยปกตินักลงทุนแบบเน้นคุณค่าจะเน้นการลงทุนในกิจการที่เป็น “ที่หนึ่ง” ในอุตสาหกรรมนั้นๆ
เช่น ถ้าเป็นอุตสาหกรรมน้ำอัดลม Coca-Cola ก็จะขึ้นเป็นตัวเลือกอันดับแรก สาเหตุที่ นักลงทุนแนว VI ให้น้ำหนักกับผู้ชนะอันดับหนึ่งในอุตสาหกรรมนั้นๆ อาจเป็นเพราะว่า โดยมาก ผู้นำในอุตสากรรมมักมีสิ่งที่เรียกว่า “ความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืน” มากกว่ากิจการ ที่เป็นที่สอง หรือ ที่สาม การลงทุนในกิจการที่เรียกได้ว่าเป็นเบอร์หนึ่งของตลาดนั้น มีโอกาสที่จะนำมา ซึ่งผลตอบแทนที่มากกว่ากิจการที่อยู่ในระดับรองลงไป แต่ว่าบทสรุปนี้ จะเป็นจริงทุกกรณีหรือไม่ ในบทความนี้ผมขอยกกรณีศึกษาของกิจการเสื้อผ้า และรองเท้ากีฬา ในประเทศอเมริกา มาเล่าสู่กันฟัง
ในปี คศ 1996 บริษัทยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมเสื้อผ้ากีฬาอย่าง NIKE มีมูลค่ากิจการ (Market Cap) สูงถึง 15,000 ล้านเหรียญ และมียอดขายประมาณ 6,500 ล้านเหรียญ ในปีนั้นเอง กิจการเสื้อผ้ากีฬาขนาดเล็ก ชื่อ “Under Armour” ก็ได้ถูกก่อตั้งขึ้นโดยนักกีฬา อเมริกันฟุตบอลที่ชื่อ “Kelvin Plank” เคลวินเป็นนักกีฬาที่มีเหงื่อเยอะมาก ทำให้เขา ไม่พอใจเสื้อกีฬาที่ทำจากผ้าฝ้ายเพราะผ้าจะอุ้มน้ำทำให้การเคลื่อนไหวไม่ถนัด เขาได้เริ่มค้นคว้า วิจัยเนื้อผ้าต่างๆ ที่ไม่อุ้มน้ำ แห้งไว และ มีน้ำหนักเบา ในที่สุดเคลวิน ก็มาได้ไอเดียโดยการนำ เอาผ้าชนิดหนึ่งสำหรับทำชุดชั้นในของผู้หญิง มาประยุกต์ใช้ทำเป็นชุดกีฬา ในปีแรก (1996) ที่เคลวินเริ่มทำธุรกิจ บริษัทมียอดขายเพียง 17,000 เหรียญ หรือต่างจากยอดขายของ NIKE ถึง เกือบ 400,000 เท่า
กิจการ Under Armour (UA) เจริญรุ่งเรืองไปด้วยดี ลูกค้าประทับใจในตัวสินค้ามาก จนช่วยกันบอกต่อ ยอดขายของบริษัทเติบโตและกลายเป็นบริษัทจดทะเบียนในปี 2005 มูลค่าของกิจการในปีแรกอยู่ที่ 1,800 ล้านเหรียญ เพื่อที่ประสบความสำเร็จ บริษัทได้ให้ ความสำคัญกับนวัตกรรม ใหม่ๆ เช่นผ้าที่ใช่แล้วเย็น (สำหรับเมืองร้อน) ผ้าที่เก็บความร้อนได้ดี (สำหรับเมืองหนาว) และซิปที่สามารถรูดได้โดยใช้มือเดียว บริษัทมุ่งเน้นในการทำงานร่วมกับ นักกีฬาเพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ ในส่วนของการกระจายสินค้า เน้นเพิ่มจุดขายของบริษัทเอง ลดการขายผ่านตัวแทนจำหน่ายทำให้ใกล้ชิดลูกค้ามากขึ้น และเป็นการเพิ่ม marginไปด้วย
หากเราวิเคราะห์หุ้น UA ผ่านอัตราส่วนทางการเงินต่างๆ เช่น PE, PBV และ DIV Yield เทียบกับกิจการอย่าง NIKE โดยไม่ให้น้ำหนักกับการวิเคราะห์ “เชิงคุณภาพ” และศักยภาพที่ บริษัทจะสามารถเติบโตได้ในอนาคต ผมเชื่อว่านักลงทุนหลายท่านคงตัดสินใจซื้อ NIKE ในปี 2005 ซึ่งในปีนั้น NIKE มี PE=17, PBV=3.6 และ DIV Yield= 1.23%
ส่วน UA มี PE=83, PBV=11 และ DIV Yield=0% นอกจากอัตราส่วน ทางการเงิน ที่ดูน่าดึงดูดใจกว่า ในปี 2005 คนทั่วโลกไม่ว่าจะเป็น ผู้จัดการกองทุน โบรกเกอร์ และ นายธนาคาร ล้วนรู้จัก NIKE กันเป็นอย่างดี แต่คนที่รู้จัก UA คงมีไม่มากนัก ดังนั้นหุ้น NIKE จึงน่าเป็นที่นิยมมากกว่า แต่กลายเป็นว่านักลงทุนที่ซื้อหุ้น UA ในวันที่เทรดวันแรก และถือมา จนถึงตอนนี้ เขาจะได้ผลตอบแทน (Capital Gain) ประมาณ 10 เท่า แต่หากเขา เปลี่ยนใจไปซื้อ NIKE ในวันเดียวกันและถือมาถึงตอนนี้ เขาจะได้ผลตอยแทนเพียง 2.6 เท่า
“Under Armour” เป็นตัวอย่างหนึ่งของกิจการขนาดเล็ก ที่มีกลยุทธ์ที่ชัดเจน มีการดำเนินงาน ที่ดีเยี่ยม และใส่ใจในรายละเอียดกับลูกค้า จะว่าไปก็คล้ายๆกับ “APPLE” ของวงการเสื้อผ้ากีฬา ทางบริษัทเพิ่งประกาศผลประกอบการ 2Q14 เมื่อเร็วๆนี้ พบว่าสามารถทำกำไรเติบโตมากกว่า 20% ติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 17 บริษัทแบบนี้สามารถสร้างความมั่งคั่งให้กับผู้ถือหุ้น ได้เป็นอย่างดี แต่ทั้งนี้ไม่ใช่ทุกบริษัทขนาดเล็ก จะสามารถทำได้แบบนี้ กิจการอย่าง AOL (American Online) ซึ่งเคยมีคนคาดว่า บริษัทนี้จะขึ้นมาเป็นคู่ต่อกรกับ Microsoft ของ บิล เกตส์ ด้วยการควบรวมกิจการกับบริษัทสื่อยักษ์ใหญ่อย่าง Time Warner แต่ปรากฎ ว่าการควบรวมครั้งนั้นล้มเหลว และไม่สามารถสร้างความสามารถในการแข่งขันได้ จนในที่สุดชื่อของ AOL ก็ได้หายไปจากความทรงจำ ดังนั้นนักลงทุนที่ดีควรตระหนักถึงทั้ง “โอกาส” และ “ความเสี่ยง” ของกิจการไม่ว่าจะเป็นประเภท “มวยหลัก”หรือ“มวยรอง” ให้ดีก่อนตัดสินใจลงทุน
อดทนไว้ กำไรยั่งยืน
-
- Verified User
- โพสต์: 37
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ชัยชนะของมวยรอง / คนขายของ
โพสต์ที่ 3
แล้วพี่ชาย พอจะบอกว่าอะไรเป็นสัญญาณความแน่นอนของมวยรองที่จะอยู่รอด และเติบโตได้มั้ยครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1284
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ชัยชนะของมวยรอง / คนขายของ
โพสต์ที่ 4
มาช่วยกันแชร์ ผมว่ามวยรองต้องทำอะไรที่แตกต่างกับเจ้าตลาด ต้องมีนวัตกรรมใหม่ ๆ ก่อนเจ้าตลาด ออกสินค้าได้ไวกว่า ปรับเปลี่ยนกลยุทธไวกว่า เข้าใจตลาดได้ดีกว่า
ใช้สื่อสมัยใหม่อย่าง Social Media ในการเข้าถึงลูกค้าได้เก่งกว่า
ยกตัวอย่าง เช่น Ichiton VS Oishi, Zara VS Gap, เถ้าแก่น้อย VS Frito Lay, Big Cola VS Coke, Google VS Yahoo, Apple VS Nokia, Amazon VS Walmart, Tesla VS Toyota, Samsung VS Sony, Liverpool VS Man U เป็นต้น 555
มวยรองที่เก่ง สุดท้ายก็สามารถชนะได้ ถ้าเปรียบเทียบกับการแข่งม้า หากเราแทงม้ารองแล้วเข้าวิน ผลตอบแทนจะมากกว่าแทงตัวเต็ง มหาศาล
ทั้งนี้ หากนิยมเล่นมวยรอง เราต้องเข้าใจม้ารองของเราเป็นอย่างดี เพราะโดยมากมวยรองมักแพ้ แต่ที่น่าสนใจคือ สมัยนี้ คนเก่งที่มี idea ดี ๆ สามารถเอาชนะเจ้าตลาดได้ เพราะโลกเปลี่ยนไว คนที่ปรับตัวเก่ง มีโอกาส ส่วนคนที่ใหญ่ รวย ขี้เกียจ นับวันมีแต่ถอยครับ
ใช้สื่อสมัยใหม่อย่าง Social Media ในการเข้าถึงลูกค้าได้เก่งกว่า
ยกตัวอย่าง เช่น Ichiton VS Oishi, Zara VS Gap, เถ้าแก่น้อย VS Frito Lay, Big Cola VS Coke, Google VS Yahoo, Apple VS Nokia, Amazon VS Walmart, Tesla VS Toyota, Samsung VS Sony, Liverpool VS Man U เป็นต้น 555
มวยรองที่เก่ง สุดท้ายก็สามารถชนะได้ ถ้าเปรียบเทียบกับการแข่งม้า หากเราแทงม้ารองแล้วเข้าวิน ผลตอบแทนจะมากกว่าแทงตัวเต็ง มหาศาล
ทั้งนี้ หากนิยมเล่นมวยรอง เราต้องเข้าใจม้ารองของเราเป็นอย่างดี เพราะโดยมากมวยรองมักแพ้ แต่ที่น่าสนใจคือ สมัยนี้ คนเก่งที่มี idea ดี ๆ สามารถเอาชนะเจ้าตลาดได้ เพราะโลกเปลี่ยนไว คนที่ปรับตัวเก่ง มีโอกาส ส่วนคนที่ใหญ่ รวย ขี้เกียจ นับวันมีแต่ถอยครับ
In search of super stocks
-
- Verified User
- โพสต์: 158
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ชัยชนะของมวยรอง / คนขายของ
โพสต์ที่ 6
ตอนนี้ผมกำลังอ่านหนังสือเรื่อง "หลักคิดเรื่องกลยุทธ์และการแข่งขัน" ซึ่งจะอธิบายหลักการของ Porter เขียนโดย Joan Magretta ก็เขียนไว้ว่าบริษัทที่น่าสนใจจริงๆ คือบริษัทที่เน้นการสร้างคุณค่าแบบที่เป็นเอกลักษณ์ต่างหาก สามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้าที่บริษัทเจาะจง ไม่ใช้บริษัทที่เน้นการเป็นบริษัทที่ดีที่สุด เพราะลูกค้าอาจจะไม่ได้มีความต้องการสิ่งที่ดีที่สุดเสมอไป
-
- Verified User
- โพสต์: 1980
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ชัยชนะของมวยรอง / คนขายของ
โพสต์ที่ 8
ไม่รู้นะ แต่ผมชอบ Under Armour มากกว่ามากๆ
เพราะเหงื่อเยอะเหมือนกัน
และในอเมริกาตอนนี้ UA มีคนใส่มากกว่าไนกี้เยอะครับ เดินเข้ายิมไปนี่เห็นชัดมากเลย
น่าเสียดายที่ไม่มี Shop ในไทย
เพราะเหงื่อเยอะเหมือนกัน
และในอเมริกาตอนนี้ UA มีคนใส่มากกว่าไนกี้เยอะครับ เดินเข้ายิมไปนี่เห็นชัดมากเลย
น่าเสียดายที่ไม่มี Shop ในไทย
The mother of all evils is speculation, leverage debt. Bottom line, is borrowing to the hilt. And I hate to tell you this, but it's a bankrupt business model. It won't work. It's systemic, malignant, and it's global, like cancer.
- คนขายของ
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 788
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ชัยชนะของมวยรอง / คนขายของ
โพสต์ที่ 9
จากบทความล่าสุดเรื่อง "ชัยชนะของ มวยรอง" ผมได้ลองใช้ YCHART แสดงผลของการซื้อหุ้น 5 ตัวในช่วงที่ Under Armour ออก IPO ตอนปลายปี 2005 ปรากฎว่า กิจการเสื้อผ้า รองเท้ากีฬา ขนาดเล็กอย่าง UA สามารถทำ Capital Gain นอกจากจะชนะ NIKE ที่เป็นคู่แข่งหลักแล้ว ยังชนะกิจการ Blue Chip อย่าง IBM และ GE และยังชนะกิจการ e-commerce ที่ร้อนแรงอย่าง AMAZON อีกด้วย
เรื่องนี้ตอกย้ำว่าหุ้นขนาดเล็ก หรือ Small Cap สามารถให้ผลตอบแทนได้ดีกว่า Large Cap แต่ทั้งนี้นักลงทุนควรตระหนักด้วยว่าการลงทุนใน Small Cap นั้นเป็นลักษณะ High Risk High Return มีหลายกิจการที่เป็น Small Cap ที่ไม่สามารถดำรงอยู่ได้ ล้มหายตายไป และก็เหมือนหลายๆเรื่องในประวัติศาสตร์ที่ผู้แพ้มักไม่ถูกกล่าวถึง
เรื่องนี้ตอกย้ำว่าหุ้นขนาดเล็ก หรือ Small Cap สามารถให้ผลตอบแทนได้ดีกว่า Large Cap แต่ทั้งนี้นักลงทุนควรตระหนักด้วยว่าการลงทุนใน Small Cap นั้นเป็นลักษณะ High Risk High Return มีหลายกิจการที่เป็น Small Cap ที่ไม่สามารถดำรงอยู่ได้ ล้มหายตายไป และก็เหมือนหลายๆเรื่องในประวัติศาสตร์ที่ผู้แพ้มักไม่ถูกกล่าวถึง
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
อดทนไว้ กำไรยั่งยืน
-
- Verified User
- โพสต์: 34
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ชัยชนะของมวยรอง / คนขายของ
โพสต์ที่ 11
ขอบคุณครับสำหรับบทความดีๆ
สรุป คือ ความรู้นั้นต้องมี แต่ไม่พอ ต้องมีความกล้าที่มากับโชคด้วย
ในตอนนั้นระหว่าง NIKE vs UA ใครไม่เลือก NIKE ถ้ามีคนรู้คงถูกประนามว่าเลือกมาได้อย่างไร เพราะเรามีฐานความคิดมาจากข้อมูลตัวเลขในอดีต และเราไม่อาจทำนายอนาคต
ส่วน AOL นั้น เป็นเรื่องน่าเศร้า เหมือนจะเป็นดาวรุ่งพุ่งแรง แหวกฟ้ามาถ้าชนยักษ์ใหญ่ บนความคาดหวังของใครๆ แต่ก็ไปไม่ถึงดวงดาว
สรุป คือ ความรู้นั้นต้องมี แต่ไม่พอ ต้องมีความกล้าที่มากับโชคด้วย
ในตอนนั้นระหว่าง NIKE vs UA ใครไม่เลือก NIKE ถ้ามีคนรู้คงถูกประนามว่าเลือกมาได้อย่างไร เพราะเรามีฐานความคิดมาจากข้อมูลตัวเลขในอดีต และเราไม่อาจทำนายอนาคต
ส่วน AOL นั้น เป็นเรื่องน่าเศร้า เหมือนจะเป็นดาวรุ่งพุ่งแรง แหวกฟ้ามาถ้าชนยักษ์ใหญ่ บนความคาดหวังของใครๆ แต่ก็ไปไม่ถึงดวงดาว
.. รักเมีย อยากให้เมียสบาย ต้องลงทุนให้ได้ผลดี ..
-
- Verified User
- โพสต์: 31
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ชัยชนะของมวยรอง / คนขายของ
โพสต์ที่ 12
ขอบคุณมากครับ
สำหรับผมการที่จะวัดดวงกับหุ้นมวยรอง นอกเหนือจากเรื่องกลยุทธ์ทางธุรกิจต่างๆ ของมวยรองที่พี่คนขายของได้กล่าวมาแล้ว
สิ่งที่ผมอยากจะให้ความสำคัญรองลงมาน่าจะเป็นเรื่องของผู้บริหารครับ
เขามี Passion กับสิ่งที่ทำแค่ไหน ?
ถ้าเขามี Passion กับมัน.. เขาก็จะหมกมุ่นกับมัน.. และทำมันจนได้แหละครับ ไม่วันใดก็วันหนึ่ง
สำหรับผมการที่จะวัดดวงกับหุ้นมวยรอง นอกเหนือจากเรื่องกลยุทธ์ทางธุรกิจต่างๆ ของมวยรองที่พี่คนขายของได้กล่าวมาแล้ว
สิ่งที่ผมอยากจะให้ความสำคัญรองลงมาน่าจะเป็นเรื่องของผู้บริหารครับ
เขามี Passion กับสิ่งที่ทำแค่ไหน ?
ถ้าเขามี Passion กับมัน.. เขาก็จะหมกมุ่นกับมัน.. และทำมันจนได้แหละครับ ไม่วันใดก็วันหนึ่ง
-
- Verified User
- โพสต์: 2686
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ชัยชนะของมวยรอง / คนขายของ
โพสต์ที่ 13
ก่อนอื่น
ขอขอบคุณ บความคุณภาพสูง
ติดตามเสมอๆ
-----
พอดีกำลังอ่าน
เรื่อง
GROWTH revenue
while EXPANDING net margin
:ซึ่งแปลว่าโตแข็งแรง เพราะเพิ่ม market share ได้โดยกำไรก็โต
...
ก็เลยไปเจอ CMG ดูเหมือนจะเข้ากันกับ
เรื่องนี้ได้
เลยมาให้ compare ตัวหนึ่ง
Market Value
5y ไป 6x แพ้
UA นิดหน่อย (UA 5y ไป 9x)
ส่วน
5y Rev Growth%
UA=26.9 , CMG=21.5
....
source:
http://www.marketwatch.com/investing/st ... style=1013
............... source:
http://www.gurufocus.com/compare.php?ti ... it=Compare
~~~
แต่
net margin% expanding นั้น
CMG ปี 2008=5.87 ปี2013=10.19
http://financials.morningstar.com/ratios/r.html?t=CMG
UA ปี 2008=5.27 ปี2013=6.96
http://financials.morningstar.com/ratios/r.html?t=ua
....
เอาไว้ศึกษากันต่อไป...
-----
ขอขอบคุณ บความคุณภาพสูง
ติดตามเสมอๆ
-----
พอดีกำลังอ่าน
เรื่อง
GROWTH revenue
while EXPANDING net margin
:ซึ่งแปลว่าโตแข็งแรง เพราะเพิ่ม market share ได้โดยกำไรก็โต
...
ก็เลยไปเจอ CMG ดูเหมือนจะเข้ากันกับ
เรื่องนี้ได้
เลยมาให้ compare ตัวหนึ่ง
Market Value
5y ไป 6x แพ้
UA นิดหน่อย (UA 5y ไป 9x)
ส่วน
5y Rev Growth%
UA=26.9 , CMG=21.5
....
source:
http://www.marketwatch.com/investing/st ... style=1013
............... source:
http://www.gurufocus.com/compare.php?ti ... it=Compare
~~~
แต่
net margin% expanding นั้น
CMG ปี 2008=5.87 ปี2013=10.19
http://financials.morningstar.com/ratios/r.html?t=CMG
UA ปี 2008=5.27 ปี2013=6.96
http://financials.morningstar.com/ratios/r.html?t=ua
....
เอาไว้ศึกษากันต่อไป...
-----
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
-
- Verified User
- โพสต์: 2686
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ชัยชนะของมวยรอง / คนขายของ
โพสต์ที่ 14
more good notes
on High Growth...
http://pages.stern.nyu.edu/~adamodar/Ne ... growth.htm
on High Growth...
source:Growth in Revenues
Many high growth firms, while reporting losses, also show large increases in revenues from period to period. The first step in forecasting cash flows is forecasting revenues in future years, usually by forecasting a growth rate in revenues each period. In making these estimates, there are five points to keep in mind.
� The rate of growth in revenues will decrease as the firm�s revenues increase. Thus, a ten-fold increase in revenues is entirely feasible for a firm with revenues of $2 million but unlikely for a firm with revenues of $2 billion.
� Compounded growth rates in revenues over time can seem low, but appearances are deceptive. A compounded growth rate in revenues of 40% over ten years will result in a 40-fold increase in revenues over the period.
� While growth rates in revenues may be the mechanism that you use to forecast future revenues, you do have to keep track of the dollar revenues to ensure that they are reasonable, given the size of the overall market that the firm operates in. If the projected revenues for a firm ten years out would give it a 90% or 100% share (or greater) of the overall market in a competitive market place, you clearly should reassess the revenue growth rate.
� Assumptions about revenue growth and operating margins have to be internally consistent. Firms can post higher growth rates in revenues by adopting more aggressive pricing strategies but the higher revenue growth will then be accompanied by lower margins.
In coming up with an estimate of revenue growth, you have to make a number of subjective judgments about the nature of competition, the capacity of the firm that you are valuing to handle the revenue growth and the marketing capabilities of the firm.
http://pages.stern.nyu.edu/~adamodar/Ne ... growth.htm
-
- Verified User
- โพสต์: 2686
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ชัยชนะของมวยรอง / คนขายของ
โพสต์ที่ 15
ช่วยแปลไทย
หน่อยแล้วกัน
(ผิดถูกไม่ว่ากัน)
1. อัตราการเติบโตของรายได้จะลดลงเมื่อขนาดของบริษัทนั้นใหญ่ขึ้น
บ. ขนาด $2 ล้าน โต10เท่าได้ ง่ายกว่า บ. $2พันล้าน
2. ภาพลวงของอัตราเติบโตแบบทบต้น40% (เช่นเราซื้อหุ้นPE40เท่าเพราะคาดว่าจะโตซัก40%)
(นั้นยากที่จะคงไว้อย่างยาวนานได้) เหตุเพราะอัตราเติบโตทบต้น40%ต่อเนื่อง10ปี บ.ต้องมียอดรายได้โตถึง40เท่า
3. เวลาเราประเมินอัตราเติบโตของบ.(เช่นโตสัก40%) ต้องดู้ด้วยว่าไม่ใช่ใส่ตัวเลขแล้วมันโตกว่าขนาดของทั้งตลาด
4. สมมติฐานของอัตราการเติบโตกับอัตราการทำกำไรนั้นควรจะสม่ำเสมอ(และไปทางเดียวกัน)
การโตแบบลดราคาหนักๆจะำทำให้อัตราการทำกำไรน้อยลง(ซึ่งไม่น่าจะเป็นผลดีและไม่น่าจะทำให้โตต่อเนื่องได้)
5. ปัจจัยต่างๆเช่นสถานะของการแข่งขัน(ตลาดแข่งขันสูง-ต่ำ)กำลังผลิตของบ.เป็นปัจจัยพื้นๆที่ต้องรวมในการให้สมมติฐาน
อัตราการเติบโตของบ.ในข้างหน้า
...
หน่อยแล้วกัน
(ผิดถูกไม่ว่ากัน)
1. อัตราการเติบโตของรายได้จะลดลงเมื่อขนาดของบริษัทนั้นใหญ่ขึ้น
บ. ขนาด $2 ล้าน โต10เท่าได้ ง่ายกว่า บ. $2พันล้าน
2. ภาพลวงของอัตราเติบโตแบบทบต้น40% (เช่นเราซื้อหุ้นPE40เท่าเพราะคาดว่าจะโตซัก40%)
(นั้นยากที่จะคงไว้อย่างยาวนานได้) เหตุเพราะอัตราเติบโตทบต้น40%ต่อเนื่อง10ปี บ.ต้องมียอดรายได้โตถึง40เท่า
3. เวลาเราประเมินอัตราเติบโตของบ.(เช่นโตสัก40%) ต้องดู้ด้วยว่าไม่ใช่ใส่ตัวเลขแล้วมันโตกว่าขนาดของทั้งตลาด
4. สมมติฐานของอัตราการเติบโตกับอัตราการทำกำไรนั้นควรจะสม่ำเสมอ(และไปทางเดียวกัน)
การโตแบบลดราคาหนักๆจะำทำให้อัตราการทำกำไรน้อยลง(ซึ่งไม่น่าจะเป็นผลดีและไม่น่าจะทำให้โตต่อเนื่องได้)
5. ปัจจัยต่างๆเช่นสถานะของการแข่งขัน(ตลาดแข่งขันสูง-ต่ำ)กำลังผลิตของบ.เป็นปัจจัยพื้นๆที่ต้องรวมในการให้สมมติฐาน
อัตราการเติบโตของบ.ในข้างหน้า
...
-
- Verified User
- โพสต์: 1254
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ชัยชนะของมวยรอง / คนขายของ
โพสต์ที่ 16
สิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดบนโลกใบนี้คือความว่างเปล่า สูงจากว่างเปล่าคือก่อเกิดเปลี่ยนแปลง
http://www.fungdham.com/sound/popup-sou ... up-75.html
http://goo.gl/VjQ4cG
http://www.fungdham.com/sound/popup-sou ... up-75.html
http://goo.gl/VjQ4cG
-
- Verified User
- โพสต์: 459
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ชัยชนะของมวยรอง / คนขายของ
โพสต์ที่ 17
ชอบมากเลยครับพี่
มีคำถามนิดนึงคับว่า หากในปี 2005 นั้น นักลงทุนเห็น PE PBV และ DIV ของ UA แล้วจะซื้อก็กะไรอยู่หรือไม่ครับ (UA มี PE=83, PBV=11 และ DIV Yield=0%)
หากเป็นอย่างนั้น เวลาที่ดีที่ควรซื้อ UA ควรจะเป็นเวลาไปในระหว่างปี 2005 - 2014 หรือไม่เอ่ย
เราควรทำอย่างไรในกรณีนี้ครับ
ขอบคุณครับ ^^
มีคำถามนิดนึงคับว่า หากในปี 2005 นั้น นักลงทุนเห็น PE PBV และ DIV ของ UA แล้วจะซื้อก็กะไรอยู่หรือไม่ครับ (UA มี PE=83, PBV=11 และ DIV Yield=0%)
หากเป็นอย่างนั้น เวลาที่ดีที่ควรซื้อ UA ควรจะเป็นเวลาไปในระหว่างปี 2005 - 2014 หรือไม่เอ่ย
เราควรทำอย่างไรในกรณีนี้ครับ
ขอบคุณครับ ^^
"The Winners .... never Quit, The Quitters .... never Win"
- คนขายของ
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 788
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ชัยชนะของมวยรอง / คนขายของ
โพสต์ที่ 18
ผมขอพูดเป็นกรณีทั่วไปไม่ใช้เฉพาะกรณี Under Armour นะครับdonnyvi เขียน:ชอบมากเลยครับพี่
มีคำถามนิดนึงคับว่า หากในปี 2005 นั้น นักลงทุนเห็น PE PBV และ DIV ของ UA แล้วจะซื้อก็กะไรอยู่หรือไม่ครับ (UA มี PE=83, PBV=11 และ DIV Yield=0%)
หากเป็นอย่างนั้น เวลาที่ดีที่ควรซื้อ UA ควรจะเป็นเวลาไปในระหว่างปี 2005 - 2014 หรือไม่เอ่ย
เราควรทำอย่างไรในกรณีนี้ครับ
ขอบคุณครับ ^^
กิจการประเภท"เล็กพริกขี้หนู" ต้องอาศัยมุมมองทางธุรกิจมาช่วย จะดูแต่ในแง่ Finance อย่างเดียวไม่ได้ กรณีแบบนี้ โดยปกติผมจะดูว่า Accessible Market Size (ขนาดของตลาดที่บริษัทสามารถเจาะเข้าไปได้) ใหญ่ขนาดไหน และ บริษัทมีกลยุทธ์ทางธุรกิจ และ ผลิตภัณฑ์หรือบริการ ดีพอที่จะโตในตลาดนั้นๆหรือไม่
อย่าง UA ตอนปี 2005 มี Revenue แค่ 281 M$ ซึ่งเล็กมากเมื่อเทียบกับตลาดเสื้อผ้าและรองเท้ากีฬาในอเมริกา เราก็ต้องมาลองดูว่า Product ของ UA ดีจริงไหม ผู้บริหารทำอะไร make sense ทางธุรกิจหรือเปล่า เรื่องแบบนี้ผมว่าต้องใช้จินตนาการประกอบกับต้องอ่าน case study ทางธุรกิจ หรือ ผ่านร้อนผ่านหนาวในการทำงานมามากๆก็จะช่วยได้ครับ
รายได้ของ UA โตเฉลี่ย 30% ต่อปีตั้งแต่ IPO และ Operating Income โต 28% ต่อปีตั้งแต่ IPO ก่อนเข้าตลาดก็โตสูงมาโดยตลอด ผมว่าจังหวะดีทีจะลงทุนใน UA คือช่วง Hamberger Crisis ช่วงนั้น PE ลงมาเหลือ 17-18 เท่า จากปกติอยู่ที่ 30-40 ครับ
อดทนไว้ กำไรยั่งยืน
-
- Verified User
- โพสต์: 2686
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ชัยชนะของมวยรอง / คนขายของ
โพสต์ที่ 20
ในเชิงคุณภาพ(เทียบกับเชิงปริมาณเช่น rev growth%)
นั้นมีบทความเก่าในปี(1997-2004)
ตีพิมม์ใน hbr ของ กลุ่ม insead
เรื่อง
Value Innovation: The Strategic Logic of High Growth
by W. Chan Kim and Renée Mauborgne
http://hbr.org/2004/07/value-innovation ... rowth/ar/1
...............
มีเนื้อหาน่าสนใจ(แม้น ต.ย. จะเก่าไป)
{ซึ่งผมเอาไปเก็บในnote-checklist-การลงทุนแล้ว}
เช่น
1. Pioneers=Business that represent value innovation (พวก super high growth=apple,google,tesla)
2. Migrators=Business with value improvements
3. Settlers=Business that offer me too products and services
....
....
more good notes at: เขาทำตารางสรุปอย่างดี
http://maaw.info/ArticleSummaries/ArtSu ... rgne97.htm
...
นั้นมีบทความเก่าในปี(1997-2004)
ตีพิมม์ใน hbr ของ กลุ่ม insead
เรื่อง
Value Innovation: The Strategic Logic of High Growth
by W. Chan Kim and Renée Mauborgne
http://hbr.org/2004/07/value-innovation ... rowth/ar/1
...............
มีเนื้อหาน่าสนใจ(แม้น ต.ย. จะเก่าไป)
{ซึ่งผมเอาไปเก็บในnote-checklist-การลงทุนแล้ว}
เช่น
1. Pioneers=Business that represent value innovation (พวก super high growth=apple,google,tesla)
2. Migrators=Business with value improvements
3. Settlers=Business that offer me too products and services
....
....
more good notes at: เขาทำตารางสรุปอย่างดี
http://maaw.info/ArticleSummaries/ArtSu ... rgne97.htm
...
-
- Verified User
- โพสต์: 2686
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ชัยชนะของมวยรอง / คนขายของ
โพสต์ที่ 21
ส่วน
How to Find 10-Baggers
http://www.fool.com/investing/high-growth/
By Jeremy Bowman |
September 14, 2012
http://www.fool.com/investing/high-grow ... gers-.aspx
....
เขาให้ไว้ 3 ข้อ
1. Mass appeal (มี ต.ย. ใหม่ๆ GMCR, UA,LULU)
2. Growth potential
3. Size
ลอง
อ่านดูเช้าวันเสาร์
..
GMCR ไว้มาทำกราฟดูกัน
..
How to Find 10-Baggers
http://www.fool.com/investing/high-growth/
By Jeremy Bowman |
September 14, 2012
http://www.fool.com/investing/high-grow ... gers-.aspx
....
เขาให้ไว้ 3 ข้อ
1. Mass appeal (มี ต.ย. ใหม่ๆ GMCR, UA,LULU)
2. Growth potential
3. Size
ลอง
อ่านดูเช้าวันเสาร์
..
GMCR ไว้มาทำกราฟดูกัน
..
-
- Verified User
- โพสต์: 2686
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ชัยชนะของมวยรอง / คนขายของ
โพสต์ที่ 22
GMCR และ TSLA
(อาจจะมี
ผิดลองตามlinkไปดูต้นทางด้วย)
GMCR http://www.marketwatch.com/investing/st ... rowdates=0
..
TSLA http://www.marketwatch.com/investing/st ... style=1013
(อาจจะมี
ผิดลองตามlinkไปดูต้นทางด้วย)
GMCR http://www.marketwatch.com/investing/st ... rowdates=0
..
TSLA http://www.marketwatch.com/investing/st ... style=1013
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
-
- Verified User
- โพสต์: 2686
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ชัยชนะของมวยรอง / คนขายของ
โพสต์ที่ 23
http://www.marketwatch.com/investing/st ... trycode=SG
ลองดูตลาดใกล้บ้านบ้าง
sg:u77 (5y ประมาณ 9x)
+
http://www.sharesinv.com/articles/2013/ ... tocks-sti/
more
...
(ipad ยัง up รูปไม่เป็น)
ลองดูตลาดใกล้บ้านบ้าง
sg:u77 (5y ประมาณ 9x)
+
http://www.sharesinv.com/articles/2013/ ... tocks-sti/
more
...
(ipad ยัง up รูปไม่เป็น)
-
- Verified User
- โพสต์: 2686
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ชัยชนะของมวยรอง / คนขายของ
โพสต์ที่ 24
http://sarin.listedcompany.com/highlights.rev
รายได้2009-2013 โตจาก21-76
แต่ net margin%
จาก 7.1-34.7
แปลว่าโตทั้งสูงทั้งอ้วน
...น่าศึกษา model เขาว่ามีอะไรดี
รายได้2009-2013 โตจาก21-76
แต่ net margin%
จาก 7.1-34.7
แปลว่าโตทั้งสูงทั้งอ้วน
...น่าศึกษา model เขาว่ามีอะไรดี
-
- Verified User
- โพสต์: 276
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ชัยชนะของมวยรอง / คนขายของ
โพสต์ที่ 25
ขอบคุณพี่คนขายของสำหรับบทความมากครับ
รบกวนถามพี่คนขายของเรื่องปรับพอร์ตเพิ่มเติมนิดนึงนะครับ
สมมติว่า ถ้าพี่ซื้อหุ้น UA ตั้งแต่ออก IPO แล้วถือมาถึงต้นปี 2014 หรือมี Return ประมาณ 900% ถ้าเกิดว่าช่วงต้นปี 2014เจอหุ้นอีกตัวหนึ่ง (สมมติชื่อ A) ที่เป็น กิจการขนาดเล็ก ที่มีกลยุทธ์ที่ชัดเจน มีการดำเนินงาน ที่ดีเยี่ยม และใส่ใจในรายละเอียดกับลูกค้า คล้ายๆ กับ UA จะถามว่า
1. พี่จะขาย UA มาซื้อ A ไหมครับ (UA มีโอกาสขึ้นไปได้อีก)
2. ถ้าตัดสินใจขาย UA ซื้อ A พี่จะขาย UA สักสัดส่วนประมาณเท่าไรครับ (สมมติไม่มีเงินเติมแล้ว ต้องขายถึงซื้อได้ครับ)
ถามเผื่อไว้ก่อนนะครับ เผื่อในอนาคตจะมีโอกาสแบบนี้กับเขาบ้างนะครับ ขอบคุณครับ
รบกวนถามพี่คนขายของเรื่องปรับพอร์ตเพิ่มเติมนิดนึงนะครับ
สมมติว่า ถ้าพี่ซื้อหุ้น UA ตั้งแต่ออก IPO แล้วถือมาถึงต้นปี 2014 หรือมี Return ประมาณ 900% ถ้าเกิดว่าช่วงต้นปี 2014เจอหุ้นอีกตัวหนึ่ง (สมมติชื่อ A) ที่เป็น กิจการขนาดเล็ก ที่มีกลยุทธ์ที่ชัดเจน มีการดำเนินงาน ที่ดีเยี่ยม และใส่ใจในรายละเอียดกับลูกค้า คล้ายๆ กับ UA จะถามว่า
1. พี่จะขาย UA มาซื้อ A ไหมครับ (UA มีโอกาสขึ้นไปได้อีก)
2. ถ้าตัดสินใจขาย UA ซื้อ A พี่จะขาย UA สักสัดส่วนประมาณเท่าไรครับ (สมมติไม่มีเงินเติมแล้ว ต้องขายถึงซื้อได้ครับ)
ถามเผื่อไว้ก่อนนะครับ เผื่อในอนาคตจะมีโอกาสแบบนี้กับเขาบ้างนะครับ ขอบคุณครับ
The best way to predict your future is to create it.
- คนขายของ
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 788
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ชัยชนะของมวยรอง / คนขายของ
โพสต์ที่ 26
Au Gratin เขียน:ขอบคุณพี่คนขายของสำหรับบทความมากครับ
รบกวนถามพี่คนขายของเรื่องปรับพอร์ตเพิ่มเติมนิดนึงนะครับ
สมมติว่า ถ้าพี่ซื้อหุ้น UA ตั้งแต่ออก IPO แล้วถือมาถึงต้นปี 2014 หรือมี Return ประมาณ 900% ถ้าเกิดว่าช่วงต้นปี 2014เจอหุ้นอีกตัวหนึ่ง (สมมติชื่อ A) ที่เป็น กิจการขนาดเล็ก ที่มีกลยุทธ์ที่ชัดเจน มีการดำเนินงาน ที่ดีเยี่ยม และใส่ใจในรายละเอียดกับลูกค้า คล้ายๆ กับ UA จะถามว่า
1. พี่จะขาย UA มาซื้อ A ไหมครับ (UA มีโอกาสขึ้นไปได้อีก)
2. ถ้าตัดสินใจขาย UA ซื้อ A พี่จะขาย UA สักสัดส่วนประมาณเท่าไรครับ (สมมติไม่มีเงินเติมแล้ว ต้องขายถึงซื้อได้ครับ)
ถามเผื่อไว้ก่อนนะครับ เผื่อในอนาคตจะมีโอกาสแบบนี้กับเขาบ้างนะครับ ขอบคุณครับ
ตอบข้อ 1) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ Visibility of Income คือผมมองกำไรในอนาคตของกิจการนั้นๆออกขนาดไหน ถ้าผมถือ A จนมันขึ้นมามากแล้ว ค่อยเจอ B ที่ยังไม่ขึ้น มี Earning Growth Potential สูงกว่า A มีปันผลมากกว่า A และผมมั่นใจในกำไรของ B ว่าจะโตต่อไปได้อีก 12 ไตรมาส ในขณะที่ A ผมมั่นใจแค่ 8 ไตรมาส ผมจะขาย A มาซื้อ B
ตอบข้อ 2) ตอบชัดเจนได้ยากว่าจะซื้อสัดส่วนเท่าใด ทั้งนี้ขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น สภาพคล่องของ port โดยรวม, ระดับความเสี่ยงของ port และ สภาวะแวดล้อมของการลงทุนในตอนนั้น เวลาผมตัดสินใจในเรื่องลงทุน ผมมองหลายปัจจัยที่จะมาเกี่ยวข้อง จึงยากที่จะชี้ชัดไปแบบฟันธงครับ
อดทนไว้ กำไรยั่งยืน
-
- Verified User
- โพสต์: 276
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ชัยชนะของมวยรอง / คนขายของ
โพสต์ที่ 27
คนขายของ เขียน:Au Gratin เขียน:ขอบคุณพี่คนขายของสำหรับบทความมากครับ
รบกวนถามพี่คนขายของเรื่องปรับพอร์ตเพิ่มเติมนิดนึงนะครับ
สมมติว่า ถ้าพี่ซื้อหุ้น UA ตั้งแต่ออก IPO แล้วถือมาถึงต้นปี 2014 หรือมี Return ประมาณ 900% ถ้าเกิดว่าช่วงต้นปี 2014เจอหุ้นอีกตัวหนึ่ง (สมมติชื่อ A) ที่เป็น กิจการขนาดเล็ก ที่มีกลยุทธ์ที่ชัดเจน มีการดำเนินงาน ที่ดีเยี่ยม และใส่ใจในรายละเอียดกับลูกค้า คล้ายๆ กับ UA จะถามว่า
1. พี่จะขาย UA มาซื้อ A ไหมครับ (UA มีโอกาสขึ้นไปได้อีก)
2. ถ้าตัดสินใจขาย UA ซื้อ A พี่จะขาย UA สักสัดส่วนประมาณเท่าไรครับ (สมมติไม่มีเงินเติมแล้ว ต้องขายถึงซื้อได้ครับ)
ถามเผื่อไว้ก่อนนะครับ เผื่อในอนาคตจะมีโอกาสแบบนี้กับเขาบ้างนะครับ ขอบคุณครับ
ตอบข้อ 1) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ Visibility of Income คือผมมองกำไรในอนาคตของกิจการนั้นๆออกขนาดไหน ถ้าผมถือ A จนมันขึ้นมามากแล้ว ค่อยเจอ B ที่ยังไม่ขึ้น มี Earning Growth Potential สูงกว่า A มีปันผลมากกว่า A และผมมั่นใจในกำไรของ B ว่าจะโตต่อไปได้อีก 12 ไตรมาส ในขณะที่ A ผมมั่นใจแค่ 8 ไตรมาส ผมจะขาย A มาซื้อ B
ตอบข้อ 2) ตอบชัดเจนได้ยากว่าจะซื้อสัดส่วนเท่าใด ทั้งนี้ขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น สภาพคล่องของ port โดยรวม, ระดับความเสี่ยงของ port และ สภาวะแวดล้อมของการลงทุนในตอนนั้น เวลาผมตัดสินใจในเรื่องลงทุน ผมมองหลายปัจจัยที่จะมาเกี่ยวข้อง จึงยากที่จะชี้ชัดไปแบบฟันธงครับ
ขอบคุณครับพี่คนขายของ
The best way to predict your future is to create it.