Panic/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

บทความต่างๆที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม

โพสต์ โพสต์
Thai VI Article
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1593
ผู้ติดตาม: 2

Panic/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 1

โพสต์

โค้ด: เลือกทั้งหมด

โลกในมุมมองของ Value Investor          13 ตุลาคม 55

ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

Panic
 
   ​นักลงทุนที่อยู่ในตลาดหุ้นมานานสิ่งหนึ่งที่เขาจะต้องพบก็คือ ตลาดหุ้นเกิด “Panic” ซึ่งถ้าแปลตรงตัวก็คือ ตลาดหุ้นเกิดอาการ “ตกใจกลัว” หรือ “อกสั่นขวัญหาย” มันเป็นอาการที่ราคาหุ้นทั้งตลาดหรือหุ้นในกลุ่มอุตสาหกรรมหรือหุ้นตัวใดตัวหนึ่งตกลงมาอย่างหนักในระยะเวลาอันสั้น เช่น ภายในวันเดียวดัชนีตลาดหุ้นตกลงมาถึง 5% หรือถึง 10% และทำให้ตลาดหุ้นต้องพักการซื้อขายเพื่อให้คน “หายตกใจ” และมีเวลาพินิจพิจารณาว่าราคาหุ้นนั้นเหมาะสมกับมูลค่าที่แท้จริงหรือไม่และนักลงทุนควรที่จะขายหรือจะซื้อโดยอิงจากเหตุผลไม่ใช่อารมณ์ที่เกิดจากจิตวิทยาหมู่

   ​Panic ของตลาดหุ้นทุกครั้งนั้น แม้ว่าในระยะสั้นๆ สิ่งที่เหมือนกันก็คือ ดัชนีตลาดหุ้นตกลงมาอย่างแรงและรวดเร็ว แต่สาเหตุก็มักจะแตกต่างกันออกไป และที่สำคัญก็คือ การปรับตัวของดัชนีหลังจากนั้นก็อาจจะแตกต่างกันมาก ลองมาดูธรรมชาติของ Panic แต่ละแบบว่าเป็นอย่างไร การเรียนรู้นี้จะช่วยทำให้เราสามารถเอาตัวรอด “หนีตาย” ได้ทัน หรือไม่ก็อาจจะสามารถทำกำไรได้งดงามอย่างไม่น่าเชื่อ โดยเฉพาะในกรณีที่ราคาหุ้นปรับตัวกลับขึ้นไปอย่างรวดเร็วหลังจากนั้น

   ​Panic แบบแรกคือสิ่งที่เรียกว่า “Panic เก๊” นี่คือ Panic ที่เกิดจากสาเหตุหรือเหตุการณ์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับพื้นฐานของการดำเนินงานของตลาดหรือผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน พูดอีกทางหนึ่งก็คือ มันไม่ได้กระทบกับเศรษฐกิจหรือกระทบน้อยมาก แต่อาจจะเกี่ยวกับเรื่องทางการเมืองการปกครองซึ่งอาจจะรวมถึงความวิตกเรื่องของสงครามหรือความรุนแรงทางสังคมที่ทำให้คน “ตกใจ” และอาจจะ “จินตนาการ” ไปไกล และเทขายหุ้นโดยไม่คิดถึงพื้นฐานที่แท้จริงของกิจการและตลาดหุ้นโดยรวม จริงอยู่ นักลงทุนส่วนหนึ่งซึ่งอาจจะเป็นคนส่วนใหญ่ด้วยซ้ำที่อาจจะ “ไม่กลัว” แต่พวกเขาก็คิดว่า ถ้าคนอื่นกลัวและขายหุ้นอย่างหนัก หุ้นก็จะต้องลงแรง ดังนั้น  พวกเขาก็จำเป็นต้องรีบขายหุ้นก่อนเหมือนกัน ผลก็คือ ตลาดก็ “ถล่ม” กลายเป็น Panic ที่ “เก๊” เพราะเมื่อหุ้นตกลงไปมากพอ คนที่มีเหตุผลและคนที่หายตกใจแล้วก็จะกลับมาซื้อหุ้นที่มีราคาถูก “คุ้มค่า” ส่งผลให้ราคาหุ้นวิ่งกลับมาอย่างรวดเร็ว บางทีสูงกว่าตอนก่อน Panic ด้วยซ้ำ

   ​ตัวอย่างของ Panic เก๊ นั้นมีมากมาย บางทีมากกว่า Panic จริงด้วยซ้ำ เช่น ในอเมริกานั้น เวลาประธานาธิบดีตายหรืออาจจะป่วยรุนแรงเป็นตายเท่ากันนั้น ราคาหุ้นก็จะดิ่งเป็น Panic แต่ทุกครั้งก็จะปรับตัวกลับมาอย่างรวดเร็ว เพราะเรื่องแบบนี้เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจน้อย ตัวอย่างเช่น ตอนที่ประธานาธิบดีเคนเนดี้ถูกลอบยิงเสียชีวิตนั้น ดัชนีหุ้นตกลงไปถึง 3% ในวันเดียว แต่พอวันรุ่งขึ้น ดัชนีกลับปรับขึ้น 4.5% และหลังจากนั้นหุ้นก็วิ่งต่อไป ในเมืองไทยเองก็มี Panic เก๊ อยู่เรื่อยๆ เช่นเมื่อปีก่อนที่เกิดเหตุเรื่องน้ำท่วมหรืออะไรบางอย่างที่ผมก็จำไม่ได้แล้ว ดัชนีตลาดหุ้นตกลงไปเกือบ 10% โดยที่ดูไปแล้วบริษัทจดทะเบียนโดยเฉพาะที่มีขนาดใหญ่เกือบทั้งหมดแทบจะไม่ได้รับผลกระทบเลย ดังนั้น เมื่อเวลาผ่านไปเพียงไม่กี่วันหรือไม่กี่เดือน ดัชนีหุ้นก็วิ่งกลับขึ้นมาและสูงกว่าก่อนเกิด Panic มาก

   ​Panic แบบที่สองเรียกว่า “Panic ฟองสบู่แตก” นี่คือกรณีที่หุ้นขึ้นไปสูงมากเป็นฟองสบู่ด้วยเหตุที่เศรษฐกิจหรือธุรกิจบางอย่างเช่น อสังหาริมทรัพย์หรืออย่างในอเมริกาช่วงปีทศวรรษ 1990 ของหุ้นไอที มีความเฟื่องฟูมากส่งผลให้คนเข้ามาเก็งกำไรกันอย่าง “บ้าคลั่ง” ราคาหุ้นขึ้นไปเกินพื้นฐานเป็นเวลาต่อเนื่องยาวนาน Panic ฟองสบู่นั้นจะเกิดขึ้นในช่วงปลายของ “ยุค” ซึ่งอาจจะกินเวลาเป็นสิบปีเลยก็ได้ เมื่อฟองสบู่ “แตก” ซึ่งอาจจะเกิดจากเหตุการณ์บางอย่างที่รุนแรงเกี่ยวข้องกับหุ้นในกลุ่มนั้น ราคาก็จะตกลงแรงเป็น Panic ในวันแรกๆ และหลังจากนั้น หุ้นในกลุ่มก็จะตกลงไปเรื่อยๆ ทั้งๆ ที่ถ้าดูจากผลการดำเนินงานหรือตัวอุตสาหกรรมแล้วก็ยังเติบโตต่อไป เพียงแต่ไม่หวือหวาเหมือนอดีต ราคาหุ้นที่ลดลงนั้นทำให้ค่า PE ของหุ้นลดลงจากที่เคยสูงลิ่ว พื้นฐานของกิจการนั้นอาจจะไม่เปลี่ยน แต่ความคิดและความเชื่อรวมถึง “ความโลภ” ของคนนั้นเปลี่ยนไป  ​ตัวอย่างของฟองสบู่แตกที่ทำให้ตลาดหุ้นเกิด Panic ก็มีมากมาย ไล่ไปตั้งแต่สมัยฟองสบู่ “ดอกทิวลิบ” ในดัทช์หรือเนเธอร์แลนด์เมื่อ 370 ปีก่อน หรือฟองสบู่ “ทะเลใต้” ในอังกฤษเมื่อ 300 ปีที่แล้ว และเมื่อเร็วๆ นี้ในปี 2001 ก็ฟองสบู่ “ดอทคอม” ในอเมริกา เมืองไทยเองก็น่าจะมีฟองสบู่ของอสังหาริมทรัพย์ในช่วง 3-4 ปีก่อนปีวิกฤติ 2540 เป็นต้น

   ​Panic แบบที่สามคือ “Panic ติดเชื้อ” นี่คือ Panic ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการลุกลามมาจากที่อื่นโดยเฉพาะจากประเทศหรือตลาดขนาดใหญ่เช่นตลาดหุ้นสหรัฐ หรือตลาดหุ้นที่อยู่ในย่านหรือประเทศที่มีความเกี่ยวข้องกันใกล้ชิดเช่นเป็นตลาดหุ้นเกิดใหม่ในเอเซีย เป็นต้น Panic ติดเชื้อนี้ ถ้าไม่ได้มีอะไรที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจที่ “ติดเชื้อ” ไปด้วย นั่นก็คือ ประเทศที่เกิดPanic มีปัญหาทางเศรษฐกิจและปัญหานั้นลุกลามไปยังประเทศอื่นซึ่งทำให้ประเทศนั้นมีปัญหาไปด้วย ในกรณีแบบนี้ Panic ติดเชื้อก็น่าจะ “หาย” เร็ว และตลาดหุ้นก็น่าจะกลับมาได้เร็ว เพราะปัญหามันไม่ได้เกิดจากพื้นฐาน แต่เกิดจากการที่คนกลัวและเป็นเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างตลาดหุ้นที่มักขึ้นหรือลงตามกันอันเป็นผลสำคัญจากการไหลของเม็ดเงินที่เป็นโลกานุวัตร

   ​ตัวอย่างของ Panic ติดเชื้อที่เห็นชัดเจนก็คือกรณีของตลาดหุ้นวิกฤติครั้งใหญ่ในสหรัฐในปี 1929 กรณีแบล็กมันเดย์ในเดือนตุลาคม ปี 1987 และ ปี 2008 กรณีซับไพร์ม ในเอเชียที่ติดเชื้อก็คือ ในปี 2540 ที่ตลาดหุ้นไทยเกิดวิกฤติและลามไปในตลาดหุ้นเกิดใหม่เกือบทุกประเทศในเอเชีย

   ​สุดท้ายก็คือ “Panic ที่แท้จริง” นี่คือ Panic ที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์จริงที่มีผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจและหรือตลาดหุ้น มันทำให้เกิดการถดถอยหรือตกต่ำทางเศรษฐกิจซึ่งส่งผลต่อผลประกอบการและฐานะของบริษัทจดทะเบียนอย่างรุนแรง บางครั้งทำให้เกิดการล้มละลายอย่างเป็นระบบ และนี่เป็นสิ่งที่นักลงทุนทุกคนจะต้องตระหนักและเข้าใจว่ามูลค่าของกิจการจะต้องลดลงมาก ในกรณีอย่างนี้ การตกลงมาอย่างแรงของหุ้นเป็นเรื่องที่มีเหตุผล และอาจจะต้องใช้เวลายาวมากกว่าที่ดัชนีหุ้นจะปรับตัวกลับขึ้นมาอีก ยิ่งไปกว่านั้น บ่อยครั้งเราไม่รู้ว่าหุ้นจะตกลงไปถึงไหน บ่อยครั้งมันใช้เวลาหลายปีกว่าที่หุ้นจะตกถึงพื้น   และหุ้นอาจจะนิ่งอยู่อย่างนั้นเป็นเวลานานจนกว่าเศรษฐกิจจะมีทางออก ตัวอย่างก็คือ กรณีของวิกฤติตลาดหุ้นครั้งใหญ่ๆ ของโลกทั้งหลายรวมถึงตลาดหุ้นในยูโรโซนหลายๆ ประเทศในช่วงนี้

   ​ผมแบ่งแบบของ Panic ออกเป็น 4 แบบ แต่ความเป็นจริงก็คือ หลายๆ ครั้งมันก็มีลักษณะผสมผสานคาบเกี่ยวกัน อย่างเช่น Panic ส่วนใหญ่ก็มีลักษณะติดเชื้อด้วย หรือ Panic หลายๆ แบบก็มีองค์ประกอบของเรื่องความถดถอยของเศรษฐกิจอยู่ด้วย ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ว่าเราจะต้องบอกได้ชัดเจนว่า Panic นั้นเป็นแบบไหนตายตัว แต่อยู่ที่ว่าเรารู้ว่า Panic ที่กำลังเกิดขึ้นนั้น มันจะยือเยื้อยาวนานไปแค่ไหน และเราควรจะทำอย่างไรกับการลงทุนของเรา หลักสำคัญก็คือ เราต้องวิเคราะห์ให้ออกว่าผลประกอบการและฐานะทางการเงินของกิจการหรือตลาดหุ้นจะเป็นอย่างไร และนั่นจะทำให้เรารู้ว่า Panic นั้น เป็นภัยคุกคาม หรือ เป็นโอกาส
[/size][/size]
ภาพประจำตัวสมาชิก
ดำ
Verified User
โพสต์: 4214
ผู้ติดตาม: 0

Re: Panic/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ช่วงนี้ อ.เขียนแต่เรื่องหวาดเสียวนะครับ
siwin
Verified User
โพสต์: 35
ผู้ติดตาม: 0

Re: Panic/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ผมเดาว่าอ.กำลังบอกใบ้อยู่ -.-"
ภาพประจำตัวสมาชิก
workart
Verified User
โพสต์: 312
ผู้ติดตาม: 0

Re: Panic/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 4

โพสต์

คงต้องติดตามกันต่อไป ช่วงเวลาที่น่ากลัวที่สุด คือช่วงเวลาที่ Happy ที่สุด เหอๆ
cruyff
Verified User
โพสต์: 15
ผู้ติดตาม: 0

Re: Panic/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ชอบงานเขียนของ ดร. ครับ
dayto
Verified User
โพสต์: 17
ผู้ติดตาม: 0

Re: Panic/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ขอบคุณมากครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
RabbitBluez
Verified User
โพสต์: 35
ผู้ติดตาม: 0

Re: Panic/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ขอบคุณครับ
sinapisom
Verified User
โพสต์: 44
ผู้ติดตาม: 0

Re: Panic/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ขอบคุณครับ
nut776
Verified User
โพสต์: 3350
ผู้ติดตาม: 0

Re: Panic/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 9

โพสต์

ผมมองว่า บางที มันเป็น chain reaction
คือถึงรู้แต่หยุดไม่ได้

เช่น ถ้าต่างชาติ ขายหนักๆ กองทุนก็จำเป็นต้องขาย
เพราะไม่มีเหตุอะไรที่ต้องเอาต้นทุนตัวเองไปพยุง
แม้รู้ว่าราคาจะกลับมา แต่ไม่มีใครบอกได้ว่า เมื่อไหร่
และอาจจะไม่คุ้มค่าเสียโอกาส
นักเทคนิคเห็นก็ต้องขาย เพราะถ้าฝืนtrend ตัวเองก็ขาดทุน
หรือย้อนมามองใกล้ตัวเราเองที่สุด
ถ้าเรารู้แน่ๆว่าต้องลง 100% ผมว่าน้อยคนจะไม่ขาย
แต่ส่วนใหญ่ไม่รู้มากกว่า
(ฝรั่ง กองทุนคงรู้แหละคับ เพราะเขา ขายเองด้วยเม็ดเงินมหาศาล)
ยังไม่นับ ผลที่ตามมาจาก force sell อีก
ไม่ค่อยต่างจากเรื่อง black monday

ถามว่าใครจะกล้าหยุด chain reaction นี้????
ก็คงเป็น ตัวตลาดเองแหละคับ หรืออาจจะเป็น timing ที่ยาวพอ
หรืออาจจะเป็นข้อมูลใหม่ๆที่เข้ามากระทบ

ตลาดหรือนักเทคนิคอลไม่ได้ ไม่มีเหตุผล หรือ panic เสมอไป
เพียงแต่ ความเข้าใจ หรือ กลยุทธ เค้าน่าจะต่างออกไปมากกว่า
ส่วน พวก fundamental คือ คนที่เอา เงินส่วนเกิน กับ ค่าเสียโอกาสไป matching
โดยยอมเสียเวลาในการถือครอง ที่มี asset turn overต่ำโดยแลกกับ upsideที่มากพอ
จะชดเชยความเสี่ยงกับค่าเสียโอกาส



ปล ผมบ่นไรเนี่ย
ภาพประจำตัวสมาชิก
dome@perth
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4740
ผู้ติดตาม: 0

Re: Panic/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 10

โพสต์

thank you krubb
"ไม่มีสุตรสำเร็จ ไม่มีทางลัด ไม่ใช่แค่โชค
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง
"
โพสต์โพสต์