การลงทุนแบบดันโด

บทความต่างๆที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม
wj
Verified User
โพสต์: 1255
ผู้ติดตาม: 0

Re: การลงทุนแบบดันโด

โพสต์ที่ 31

โพสต์

ขอบคุณอาจารย์sun_cisa2 ที่ให้ความรู้ และชี้แนะเพิ่มเติม
ทำให้มีความรู้เพิ่มอย่างมาก และถูกต้องครับ
Broadway Capital
Verified User
โพสต์: 545
ผู้ติดตาม: 0

Re: การลงทุนแบบดันโด

โพสต์ที่ 32

โพสต์

สำหรับดันโดสิ่งที่ผมชอบอีกข้อหนึ่งคือการทำให้เห็นการประเมินมูลค่าแบบ DCF อย่างง่ายครับ

ส่วนข้อที่อยากพิสูจน์คือเรื่องการถือหุ้นต้องอย่างน้อย 3 ปีถึงขาย
kraikria
Verified User
โพสต์: 1161
ผู้ติดตาม: 0

Re: การลงทุนแบบดันโด

โพสต์ที่ 33

โพสต์

ขอบคุณ อาจารย์ sun_cisa2 ที่ชี้แนะให้เข้าใจเพิ่มขึ้นครับ เรื่องความเสี่ยงกับความไม่แน่นอนเป็นเรื่องเดียวกันหรือไม่ผมก็ยังไม่เข้าใจนักครับ จากที่อาจารย์อธิบายคือ ถ้าในมุมมองหรือศัพท์แสงทางการเงินการลงทุนจะถือว่าเป็นเรื่องเดียวกัน แต่ถ้าในเชิงการลงทุนแบบดันโดจะให้นิยามความหมายที่ต่างออกไปใช่ไหมครับ?

ผมอ่านหนังสือดันโดมาและพยายามคิดตาม ผมคิดเอาเองว่าผู้แต่งพยายามอธิบายว่าความไม่แน่นอนก็คือ Range ของผลตอบแทนซึ่งมีได้ตั้งแต่ขาดทุนหมดตัว ไปจนถึงกำไรหลายเท่าตัว (หลายเด้ง) ในช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ ในขณะที่ความเสี่ยงจะถูกนิยามโดยความน่าจะเป็นที่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว

สิ่งที่ถูกแนะนำคือ ให้เลือกความเสี่ยงต่ำก็คือ โอกาส(ความน่าจะเป็น)ที่จะขาดทุนน้อยมาก ขณะที่โอกาสที่กำไรมากๆนั้นมีสูง และให้เลือกความไน่นอนสูง คือมี Range ของผลตอบแทนกว้างมาก คือขาดทุนหมดตัวได้ (แต่โอกาสน้อย) และ กำไรได้หลายเท่า (โอกาสสูงมาก)

ถ้าการวิเคราะห์ความเสี่ยง เท่ากับการคาดการณ์โอกาสหรือความน่าจะเป็น ดังนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ผมคิดออกตอนนี้คือ ความสำคัญของข้อมูลที่ถูกต้องจะทำให้เราทราบความน่าจะเป็นได้แม่นยำที่สุด ถ้าเปรียบกับการพนันก็เหมือนกับการทราบหน้าไพ่ของคู่แข่งนั่นเอง ผมคิดว่า 1 ใน 100 หรือน้อยกว่านั้นที่ประสบความสำเร็จในการลงทุนเช่น บัฟเฟตต์ หรือ ดร.นิเวศน์ ต่างก็ทำการบ้านหนักเพื่อให้รู้หรือวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างถูกต้อง

สุดท้ายนี้ขอขอบคุณอาจารย์ sun_cisa2 อีกคร้งสำหรับแง่คิดและคำเตือนครับ ผมจะจดจำเพื่อเตือนตัวเองครับ
ไม่ควรลงทุนอะไร ถ้าไม่รู้สึกสบายใจในสิ่งนั้น
sun_cisa2
Verified User
โพสต์: 121
ผู้ติดตาม: 0

Re: การลงทุนแบบดันโด

โพสต์ที่ 34

โพสต์

ความเสี่ยงขอวนักลงทุนทั่วไป (ที่ไม่ใช่ทางวิชาการหรือทฤษฎีการเงิน) มักจะหมายถึงการขาดทุน ที่ถามมานั้นถูกครับคือแตกต่างกัน ในทางการเงินหมายถึงความไม่แน่นอนครับ ข้ออันตรายข้อหนึ่งของการประเมินราคาหุ้นคือ การประมาณการณ์การเติบโต รายได้ ค่าใช้จ่ายในอนาคต มูลค่าสินทรัพย์ต่างๆ ที่มีอยู่ในงบทั้งในปัจจุบันและอนาคต ตัวอย่างอัตราการเติบโต จะใช้กี่เปอร์เซนดี เช่นบริษัทให้บริการทางอินเตอร์เน็ต เราคาดการณ์ 1 ปีพอได้ พอยาวๆไปละ 5 ปี 15 ปี 15 ปี 20 ปี... long term growth ใช้กี่เปอร์เซนดี บางบริษัทมี track record นานๆ นับ 10-20 ปี ก็ใช้ค่าเฉลี่ยพอไหว แต่บางบริษัทมีข้อมูลแค่ 2-3ปี หรือบางทีปีเดียว จะหา growth จากอะไร จะเท่าอุตสาหกรรมไหม ถ้าสูงจะดะรงอยู่ได้กี่ปี และสูงเท่าไร และไม่มีบริษัทไหนสูงกว่าอุตสาหกรรมได้ตลอดกาล เพราะเมื่อกิจการโตขึ้น การเติบโคในอัตราสูงๆ ก็ยิ่งยาก นี่คือ growth ด้าน volume (ปริมาณ) ส่วนราคาขาย คงที่ในระดับปัจุบันไหม ถ้าใช่ ยอดขายก็โตเท่า volume ถ้าไม่ จะให้มีGrowth หรือไม่ สินค้าที่มีการแข่งขันสูง ยากที่จะขายราคาเท่าเดิมได้ตลอด เพราะระยะยาวราคาจะลดลงด้วยสาเหตุหลักๆ คือ การแข่งขันด้านราคา และ นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เข้าตลาด ทำให้สินค้าเดิมด้อยราคาลง ต้องขายราคาต่ำลง) ถ้าบริษัทจะมีค่าใช้จ่าย R&D ต้องใช้ในอนาคตอย่างไรเท่าไร งบการเงินบริษัทในไทยมักไม่มี หรือไม่ได้เปิดเผยเพียงพอ (เพราะตัวกิจการเองก็ยังไม่รู้) ด้านรายจ่ายจะโตเท่าไร คงที่คงไม่ใช่ โตเท่ายอดขายก็ไม่ใช่ ดอกเบี้ยอาจใช้อัตราดอกเบี่ยปัจจุบัน แต่หนี้เงินกู้จะคงสัดส่วน D/E ใกล้เคียงเดิมไหม .... อีกมากมายตัวแปร ประมาณการ 1-2 ปีข้างหน้าไม่ยากแต่พอยาวๆเป็น infinite จะมีตัวแปรที่ไม่รู้แน่นอนยาก ที่กล่าวมานั่นแหละคือ risk บางกิจการยอดขายผันผวนมาก เช่น A มีขาย 8 ปี ย้อนหลังคือ 100 150 130 160 180 140 130 150 ค่าเฉลี่ยยอดขายเท่ากับ 143 ส่วน B มีขาย 8 ปี ย้อนหลังคือ 100 120 130 160 160 165 155 150 ค่าเฉลี่ยยอดขายเท่ากับ 143 ทั้งสองบริษัทมียอดขายระยะยาวเฉลี่ยเท่ากัน ปีล่าสุดยอดขายก็เท่ากัน 150 ทั้งคู่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน คำถามที่เราต้องถามตัวเองคือ ยอดขายวันข้างหน้า A และ B จะประมาณการอย่างไร ถ้าดูจากstandard diviation ของ yearly growth ของ A คือ 24.7% และ ของ B คือ 11.3% หมายความว่าระยะยาวการประมาณค่ายอดขายทางสถิติของ A จะผันผวน +/- ได้ 24.7 เช่นค่าเฉลี่ยการเติบโตอุตสาหกรรม 10% บางปีอาจสูงถึง 34.7% หรือ -14.7% ส่วน B จะผันผวน +/- ได้ 11.3 ค่าเฉลี่ยการเติบโตอุตสาหกรรมเดียวกันที่ 10% บางปี 21.3% หรือ -1.3% หุ้น A บางปีจะมีโอกาสขึ้นสูงมาก และบางปีตกมากได้ ต่างกับหุ้น B และอย่าลืมว่าในแง่การประมาณ DCF ปัจจุบันอาจมีราคาแตกต่างกันได้มากเพราะ นี่แหละคือความเสี่ยงตามนิยามทางการเงิน ลงทุน B ยาวๆ นอนหลับง่ายกว่า แต่ฮกาสทำกำไรไรเด้งแรงๆ อาจม่มาก ส่วน A นอนสะดุ้งบ่อยกว่า แต่โออาสเด้งแรงๆ ทำกำไรมากกว่าก็มี ความเสี่ยงทางการเงินขึ้นกับการคาดการ์อนาคต ถ้าแน่นอนและทุกคนก็รู้ก็เห็น ก็จะหาราคาถูกยาก แต่ถ้าหุ้นนั้นไม่แน่นอนแต่เรา (คิดเอาว่า..อาจใช่หรือไม่ก็ได้) และเราซื้อ (ก็ไม่ต่างกับการ bet ว่าเราจะคาดหรือทำนายหรือไม่) ถ้ามันตรงเราก็รวยถ้ามันพลาด ก็.....

พรุ่งนี้ท่านอาจรู้ว่าจะพบอะไร แต่อีก 1 สัปดาห์ 6 เดือน 1 ปี 5 ปี 15 ปี 20 ปี จะยากเลือนลางขึ้นเรื่อยๆ แต่นักลงทุนก็ต้องคาดการณ์หลีกเลี่ยงไม่ได้ ต้องรู้ว่าจะจัดการและประเมินสิ่งที่ไม่แน่นอนอย่างไร
kraikria
Verified User
โพสต์: 1161
ผู้ติดตาม: 0

Re: การลงทุนแบบดันโด

โพสต์ที่ 35

โพสต์

ขอบคุณสำหรับคำชี้แนะครับ
ไม่ควรลงทุนอะไร ถ้าไม่รู้สึกสบายใจในสิ่งนั้น
sun_cisa2
Verified User
โพสต์: 121
ผู้ติดตาม: 0

Re: การลงทุนแบบดันโด

โพสต์ที่ 36

โพสต์

มีคำอยู่ 3 คำในโลกการเงิน การลงทุน ที่ด้านวิชาการ คนทำงานด้านการเงิน นักลงทุนทั่วไป return หรือ required rate of return (ผลตอบแทนที่ต้องการ) หรือ expected return (ผลตอบแทนที่คาดหวัง) หรือ discount rate (อัตราคิดลด)
cost of capital (ต้นทุนเงินลงทุน) opportunity cost of capital (ต้นทุนเสียโอกาสของทุน) หลายๆครั้ง คือสิ่งเดียวกัน เพียแต่มองคนละมุม return โดยทั่วไปมักจะหมายถึงอัราผลตอบแทนที่ได้รับ ในแง่นี้คือ history record คือเกิดผลแล้วจึงวัด ต่างกับ required rate of return (ผลตอบแทนที่ต้องการ) หรือ expected return (ผลตอบแทนที่คาดหวัง) หรือ discount rate (อัตราคิดลด) ที่กล่าวมานักการเงินจะหมายถึงสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น เพียงแต่คาดหวังเท่านั้น หรือพูดง่ายๆ คืออนาคต ดังนั้นที่พูดเรื่อง high risk high return นั้น ในโลกการเงินจึงหมายถึงการลงทุนในสิ่งใดก็ตามหากสิ่ง (สินทรัพย์) ที่ลงทุนพิจารณาแล้วมีความเสี่ยง (ดู/อ่าน บทความคุณธันวา เลาหศิริวงศ์) ยิ่งมากนักลงทุนยิ่งคาดหวังผลตอบแทนการลงทุนยิ่งมากตามไปด้วย หุ้นที่เด้งแรงๆ (ปรับราคาขึ้นมากๆ) ไม่ใช่เพราะราคาต่ำจนคิดว่าน่าจะเสียงต่ำ เมื่อลงทุนโอกาสขาดทุนน้อย แต่เวลาเด้งขึ้มแรงแล้วได้กไรมากๆ หมายถึง retun สูงๆ นั่นไม่ใช่ความหมายทางทฤษฎีการเงินของคำว่า high risk high return แต่การหาหุ้นที่ราคาปรับตัวลงมามากๆ จากราคาปัจจัยพื้นฐานที่ควรเป็น คือสิ่งที่ VI ควรแสวงหา แต่อย่าหลงประเด็นว่านั่นคือบริษัท low risk ความเสี่ยงบริษัทนั้นอาจยังสูงอยู่เนื่องมาจากลักษณะธุรกิจ เพียงแต่ราคาของหุ้นนั้นปรับตัวลงมามากเกินกว่าราคาพื้นฐานที่ควรเป็น

คราวนี้หากหุ้นที่ลักษณะการประกอบธุรกิจมีความเสี่ยงสูง เมื่อเราประเมินกำไร หรือกระแสเงินสดในอนาคตออกมาแล้ว การประเมินหามูลค่ากิจการต้องหารด้วยอัตาคิดลด ตรงนี้ครับที่ถ้ากิจการนั้นมีความเสี่ยงมาก discount rate (อัตราคิดลด) หรือrequired rate of return (ผลตอบแทนที่ต้องการ) หรือ expected return (ผลตอบแทนที่คาดหวัง) ก็ต้องสูงด้วยจะใช้ตัวคิดลดหรือ expected return เพียง 12% อาจไม่พอเพราะจะได้มูลค่าพื้นฐานที่ควรเป็นสูงเกินไป อาจต้องคิดลดด้วยอัตราผลตอบแทน 18-20% ดังนั้นคำว่า high risk high return จึงมีความหมายดังที่กล่าวมานี้

ส่วนอีกคำหนึ่ง cost of capital (ต้นทุนเงินลงทุน) และ opportunity cost of capital (ต้นทุนเสียโอกาสของทุน) ในโลกทางวิชาการคือสิ่งเดียวกันในหนังสือด้าน VI หลายๆตำรามีการพูดถึง EPV (Earning Power Value) ทีหารด้วยการนำเอารายได้ที่ปรับปรุง Adjusted Earning หารด้วย ต้นทุนเงินลงทุน ต้นทุนนี้ไม่ใช่ว่าไปกู้มา 6% แล้ว ต้นทุนคือ 6% แต่ในโลกการเงินจะดูว่า เงินก้อนเดียวกันนี้ถ้ามีโอกาสเลือกลงทุนในสินทรัพย์ใดๆก็ได้ ที่มีความเสี่ยงเหมือนๆกัน ผลตอบแทนที่จะได้รับคือเท่าไร นั่นคือต้นทุนเงินทุนนั้น เช่น การลงทุนในหุ้น A ต้นทุนที่จะใช้คำนวณ EPV ควรใช้เท่าไร ถ้าเงินก้อนเดียวกันสามารถลงทุนในสินทรัพย์ B ที่มีความเสี่ยงพอๆกัน และได้ผลตอบแทนการลงทุน 15% ต้นทุนเงินลงทุนของ A ที่นำมาใช้คำนวณจะเท่ากับ 15%

คงจะทำให้หลายๆคนได้เข้าใจหลักการมากขึ้น การหาหุ้นราคาต่ำโอกาสลงต่อมีน้อย โอกาสขึ้นทากมีสูง คือสิ่งที่เป็นหัวใจของนักลงทุน แต่นั่ไม่ม่ใช่เรื่องขัดแย้งกับหลัก high risk high return คำว่า low risk คือลงทุนแล้วโอกาสขาดทุนน้อย แต่ไม่ใช่ว่าบริทนั้นๆ มีความเสี่ยงในการทำธุรกิจน้อย
jupiterwin
Verified User
โพสต์: 154
ผู้ติดตาม: 0

Re: การลงทุนแบบดันโด

โพสต์ที่ 37

โพสต์

อ่านที่ถกกัน ทำให้เข้าใจได้ลึกขึ้น ขอบคุณครับ
sun_cisa2
Verified User
โพสต์: 121
ผู้ติดตาม: 0

Re: การลงทุนแบบดันโด

โพสต์ที่ 38

โพสต์

แนวคิดดันโดดีครับ แต่การนำไปใช้ต้องรู้ความหมายใต้ตัวอักษร (ความรู้ทางการเงิน เศรษฐศาสตร์ บัญชี) ก็จะมีประสิทธิผลชัดเจนมากขึ้น เพราะที่ดันโขยนนั้นคือข้อสรุปของประสบการณ์การลงทุน เหมือนเราอ่านเล็คเชอร์ย่อของคนสอบได้ที่ 1 ถ้าเราไม่รู้เรื่องเลย เข้าสอบยังไงก็ตก เพราะเขียนตอบไม่ได้อยู่ดี แต่ถ้าพอรู้เรื่องมาบ้าง การอ่านเล็คเชอร์ย่อจะมีประโยชน์มาก
tigerroad197
Verified User
โพสต์: 390
ผู้ติดตาม: 0

Re: การลงทุนแบบดันโด

โพสต์ที่ 39

โพสต์

ขอบคุณ ทุก ๆ ความคิดเห็น ครับ

เท่าที่ผมอ่านหนังสือ การลงทุนแบบดันโด มีความรู้สึกเหมือนกับ คนจีนที่เข้ามาในผืนแผ่นดินไทย ยุคก่อนหน้านี้ แบบเสื่อผืนหมอนใบ

ช่วงแรก ๆ ก็ใช้ อาศัยหยาดเหงื่อแรงกาย เข้าแลกกับ ค่าจ้าง ที่เรียกกันว่า จับกัง

จากนั้นด้วยความขยัน ประหยัด อดออม ก็เก็บเล็กผสมน้อย เป็นทุนรอน หาเซ้งที่เปิดกิจการค้าเล็ก ๆ

ในช่วงแรก กิจการเล็ก ๆ ก็ทำกันเองในครอบครัว เรียกว่า ระบบกงสี ถึงเวลาทานข้าว ก็ทานพร้อมหน้าพร้อมตากัน เพื่อประหยัดเวลา และไม่สิ้นเปลือง

พอเก็บเงินได้เป็นกอบเป็นกำ ก็หาซื้อที่ดินเอาไว้ ถ้าซื้อเองไม่ได้ ก็ใช้ชื่อภรรยาที่เป็นคนไทยซื้อ

หรือบางคน สบโอกาส ก็เปลี่ยน ชื่อ แซ่ มาเป็น สัญชาติไทย เพื่อจะได้สะดวกในการซื้ออสังหาริมทรัพย์
tigerroad197
Verified User
โพสต์: 390
ผู้ติดตาม: 0

Re: การลงทุนแบบดันโด

โพสต์ที่ 40

โพสต์

ทีนี้ในส่วนของ หลักการลงทุนแบบ ดันโด ทั้ง 9 ข้อนั้น

• ลงทุนในธุรกิจที่มีการดำเนินงานอยู่แล้ว
• ลงทุนในธุรกิจที่เรียบง่าย
• ลงทุนในธุรกิจที่มีปัญหาในอุตสาหกรรมซึ่งกำลังอยู่ในภาวะยากลำบาก
• ลงทุนในธุรกิจที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันที่ยั่งยืน
• เดิมพันน้อยอย่าง เดิมพันหนักๆ ไม่เดิมพันบ่อยๆ
• มองหาโอกาสทำอาร์บิทราจ
• มีส่วนเผื่อเพี่อความปลอดภัยเสมอ
• ลงทุนในธุรกิจที่มีความเสี่ยงต่ำแต่มีความไม่แน่นอนสูง
• ลงทุนในพวกเลียนแบบ ไม่ใช่พวกสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ

ถ้าจะให้ดี ก็อย่ามองว่า ทั้ง 9 ข้อ ต้องเชื่อมโยงกัน

หากแต่ หยิบฉวย จุดเด่นของ ข้อใดข้อหนึ่ง มาใช้ในช่วงจังหวะหนึ่งของการลงทุน

เปรียบเสมือนกับ เรามีอาวุธทั้ง มีด ดาบ กระบอง ทวน ฯลฯ

แต่เรามีแค่ สองมือ จะไปฉวยคว้าอาวุธทุกอย่างมาฟาดฟันในคราวเดียวได้อย่างไร

ถ้าคิดแบบนี้แล้ว ก็จะช่วยบรรเทา เรื่องความขัดแย้งในหลักการลงได้เยอะทีเดียวครับ
tigerroad197
Verified User
โพสต์: 390
ผู้ติดตาม: 0

Re: การลงทุนแบบดันโด

โพสต์ที่ 41

โพสต์

และก็แฉกเช่นเดียวกับที่เราทราบกันดีว่า ตำราพิชัยสงครามของ ซุนวู มี 13 บท

แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ซุนวู ท่านจะต้องหยิบยกทั้ง 13 บท ออกมาใช้ในคราวเดียวกัน

หากแต่เป็นการเลือกแต่ละบทให้เข้ากับสถานการณ์ ซึ่งแน่นอนว่า ในแต่ละสมรภูมิ ย่อมมีสถานการณ์ที่แตกต่างกัน

ซึ่งผมว่า หลักการลงทุนแบบ ดันโด ก็เป็นเช่นเดียวกัน

เราอย่าไปหลงประเด็นว่า ต้องหยิบทั้ง 9 ข้อ มาเรียบร้อยเข้าด้วยกัน

หากแต่ ลองพินิจพิเคราะห์ในแต่ละข้อ แล้วเลือกใช้ให้เข้ากับโอกาส และสถานการณ์ครับ
sun_cisa2
Verified User
โพสต์: 121
ผู้ติดตาม: 0

Re: การลงทุนแบบดันโด

โพสต์ที่ 42

โพสต์

เห้นด้วยอย่างยิ่งครับ ทั้ง 9 แบบ ไม่สามารถนำมาใช้ร่วมกัน ทั้ง 9 แบบตัวอย่างอยู่จริงทั้งนั้น ในโลกตลาดทุนนั้นซับซ้อนมากขึ้น ยิ่งวันเวลาผ่านไปยิ่งซับซ้อน ถ้ายิ่งได้อ่านแนวคิดหลายๆคน จะพบว่ามีเทคนิคหลายร้อยวิธี แต่สุดท้ายการใช้วิธีใดนั้น ขึ้นกับความรู้ ความเข้าใจ สถานะการณ์เฉพาะเรื่อง หุ้นบางตัวอาจน่าลงทุนเพราะความเรียบง่าย บางตัวเพราะว่าบริษัทนั้นเกิดวิกฤต ประสบปัญหา บางตัวน่าลงทุนเพราะความมีนวัตกรรม แต่ในสิ่งเหล่านั้นหาได้นำไปใช้ได้กับทุกตัวทุกสถานการณ์ หลักของดันโดนั้นใช้ได้กับบางกิจการบางสถานการณ์ ที่เปิดประเด็นหัวข้อนี้เพราะมีหลายคนที่สอบถามและกล่าวถึงหลักของดันโด และนำไปใช้กันโดยที่บางคนผมเห็นว่า หลักการพื้นฐานบางอย่างยังขัดกับหลักคิดทางวิชาการ จึงอธิบายให้เข้าใจว่าตามหลักการคืออะไร เพราะถ้าหลักการแน่นดีพอ ก็จะเป็นเกราะคุ้มกันที่ดี เมื่ออ่านประสบการณ์การลงทุนของคนลงทุนหลายๆ คน จะได้สามารถเลือกใช้ได้ถูกที่ถูกเวลา ชอบครับที่เปรียบเทียบกับ 36 กลยุทธ์ กลยุทธ์การทำศึกไม่สามารถใช้ทั้งหมด แต่ในแต่ละกลยุทธ์มีความพอเหมาะพดีตามสถานการณ์ กลยุทธ์ที่เขาว่าคือสุดยอดกลยุธ์ คือหนี แต่การทำศึกถ้าเร่มต้นแล้วเอาแต่หนี ก็ไม่รู้จะจัดทัพออกศึกไปทำไม แต่ต้องรู้ว่าถ้าจะหนี ต้องเมื่อไร สถานการณ์คืออะไร คนทำศึกต้องรู้หลักการทำศึก หลักการต่อสู้ หลักการจัดทัพ หลักการนำทัพ และอีกหลายข้อ การใช้ 36 กลยุทธ์ ต้องเข้าใจ 13 บรรพของซุนวู หรืกถ้าได้ศึกษาหลักพิชัยสงครามของขงเบ้ง ก็จะยิ่งแจ่มชัดในแต่ละข้อของ 36 กลยุทธ์ นั่นละคือการอ่านเล็คเช่อร์ย่อของคนเก่งห้อง ดีไม่ดีสอบได้คะแนนดีกว่าคนเก่งซะอีก......
sun_cisa2
Verified User
โพสต์: 121
ผู้ติดตาม: 0

Re: การลงทุนแบบดันโด

โพสต์ที่ 43

โพสต์

ในตำราพิชัยสงคราม ทั้ง 13 บทของซุนวู คือ
บทที่ ๑ แผนศึก
บทที่ ๒ เตรียมศึก
บทที่ ๓ นโยบายศึก
บทที่ ๔ ศักย์สงคราม
บทที่ ๕ จลน์สงคราม
บทที่ ๖ หลอกล่อ
บทที่ ๗ การแข่งขัน
บทที่ ๘ เก้าเหตุการณ์
บทที่ ๙ เคลื่อนกำลัง
บทที่ ๑๐ ภูมิประเทศ
บทที่ ๑๑ เก้าสนามรบ
บทที่ ๑๒ ไฟ
บทที่ ๑๓ สายลับ
ทั้ง 13 บทนั้น มีบางเรื่องคือหลักการที่แม่ทัพต้องเข้าใจไม่ว่าอยู่ในสถานการณ์ใด บางบทคือกลยุทธ์ศึกโดยแท้จริง ดังนั้นบางบทต้องใช้ทุกครั้ง บางบทใช้ตามสถานการณ์ที่แตกต่างไป หลักการลงทุนก็เช่นกัน หลักการต้องแม่น คือพื้นฐานการเงินต้องดี การบัญชีต้องเข้าใจในระดับหนึ่งแต่ไม่ต้องรู้ลึกเหมือนนักบัญชีก็ได้ สมการบัญชีต้องลึกซึ้งจริงๆ (บางคน) คิดว่าง่ายๆ แต่ความจริงง่ายแต่หมือนไม่ง่าย) หลักพื้นฐานเศรษศาสตร์ต้องแม่น ก็ช่วยให้ตัดสินใจได้ระดับหนึ่ง จะอ่าน Graham, Buffet หรือ ดันโด หรือของอีกหลายคนก็จะเข้าใจได้ถูกต้อง