“เอาต์ซอร์ซิ่ง” (Outsourcing ) เป็นคำที่ วิกิพีเดีย ให้ความหมายว่า เป็นกระบวนการที่องค์กรมอบหมายงานบางส่วนของตนให้กับบุคคลหรือหน่วยงานภายนอกมาดำเนินการแทน โดยทั้งผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างต้องบรรลุข้อตกลง เงื่อนไข ขอบเขตความรับผิดชอบ ค่าใช้จ่ายในการใช้และให้บริการดังกล่าว ในโลกเศรษฐกิจสมัยใหม่นั้น การ “เอาต์ซอร์ซ”ให้กับผู้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ ในขณะเดียวกัน การรับจ้างทำงานแทนนั้นเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อินซอร์ซิ่ง (Insourcing)
การพิจารณาให้หน่วยงานภายนอกมาทำงานแทน องค์กรจำเป็นต้องได้รับคุณประโยชน์ต่างๆ เช่น เพื่อประหยัดต้นทุน เพื่อมุ่งเน้นในธุรกิจหลัก เพื่อเข้าถึงองค์ความรู้จากแหล่งอื่น เพื่อบริการที่ดีจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เพื่อลดความเสี่ยงทางธุรกิจ เพื่อมาตรฐานและตรงตามเวลาตามข้อตกลง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน หรือแม้กระทั่งเพื่อประโยชน์สูงสุดจากความแตกต่างของเวลากรณีที่ผู้รับจ้างอยู่คนละประเทศ ปัจจุบัน เอาต์ซอร์ซซิ่งเป็นธุรกิจที่สำคัญของประเทศอินเดีย จีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย อียิปต์ ฟิลิปปินส์ ชิลี จอร์แดน เวียดนาม รวมถึงประเทศไทยด้วย
แชร์เซอร์วิส (shared services) เป็นหัวใจสำคัญของผู้ประกอบการเอาท์ซอร์สซิ่ง นั่นคือการใช้ประโยชน์ร่วมกันจากทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดด้วยความรู้ ความชำนาญ และเทคโนโลยี เพราะโจทย์ธุรกิจของผู้ว่าจ้างก็คือ ต้องดีกว่า สะดวกกว่า รวดเร็วกว่า ประหยัดกว่า ประสิทธิภาพสูงกว่า เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของตนนั่นเอง
การเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศด้วยเครื่องบินนั้น สายการบินหรือผู้ประกอบการโรงแรมคือผู้ให้บริการเอาท์ซอร์สซิ่งชนิดหนึ่ง โดยสายการบินต้องลงทุนจัดหาเครื่องบินเพื่อให้บริการ “แชร์เซอร์วิส”กับผู้โดยสารอื่น ขณะที่เจ้าของโรงแรมลงทุนก่อสร้างโรงแรมเพื่อให้บริการแก่นักท่องเที่ยวในราคาที่เหมาะสม เป็นเรื่องที่ไม่คุ้มค่าและไม่สมเหตุสมผลที่นักท่องเที่ยวแต่ละคนจะต้องจัดหาเครื่องบิน หรือสร้างที่พักแรมในการเดินทางแต่ละครั้ง
ร้านอาหาร ศูนย์อาหาร หรือ “อาหารถุง”กลับบ้าน เป็นแชร์เซอร์วิสที่ผู้ใช้บริการยินดีจ่ายเงินในราคาเหมาะสมแลกกับความสะดวก รสชาติอร่อย สถานที่ หรือความประหยัดนั่นเอง นอกจากนี้ โรงพยาบาล โรงภาพยนตร์ สปอร์ตคลับ สนามกอล์ฟ นันทนาการ อาคารสำนักงาน คอมมิวนิตี้มอลล์ สาธารณูปโภคต่างๆ ล้วนเป็น“แชร์เซอร์วิส”ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตประจำวันเกือบทั้งสิ้น ทั้งนี้เพราะมีข้อจำกัดและไม่คุ้มค่าที่จะทำหรือสร้างทุกอย่างด้วยตนเอง อนึ่งความพึงพอใจในบริการที่ได้รับเป็นองค์ประกอบสำคัญต่อการกลับมาใช้บริการอีกในอนาคต เนื่องจากผู้ใช้บริการมีทางเลือกอื่นเพื่อเปรียบเทียบด้วย
ในทางธุรกิจ ผู้ประกอบการที่มีประสิทธิภาพสูงสุดจาก “แชร์เซอร์วิส” จะได้เปรียบและมีโอกาสสูงที่จะเป็น “ผู้ชนะ” ในธุรกิจนั้น อย่างไรก็ตาม การที่จะเป็น “ผู้ชนะที่แข็งแกร่งและยิ่งใหญ่” จำเป็นต้องมีความโดดเด่นในแต่ละองค์ประกอบสำคัญดังนี้ ข้อแรก อำนาจการต่อรองจากผู้บริโภค ขึ้นอยู่กับ การกระจุกตัวของผู้ซื้อ ปริมาณการซื้อ ความอ่อนไหวทางราคา ความจงรักภักดีต่อสินค้า ข้อที่สอง อำนาจการต่อรองจากผู้ขายหรือซับพลายเออร์ เกิดจากจำนวนผู้ขายวัตถุดิบ ปริมาณและจำนวนในการจัดซื้อ ความแตกต่างและการทดแทนของวัตถุดิบ ข้อที่สาม อุปสรรคการเข้าสู่อุตสาหกรรมของผู้เล่นรายใหม่ ขึ้นอยู่กับขนาดของคู่แข่ง ความแตกต่างของสินค้า ความเท่าเทียมของยี่ห้อสินค้า โครงสร้างต้นทุนและราคา ข้อที่สี่ การคุกคามของสินค้าทดแทน ขึ้นอยู่กับคุณภาพ ราคา เงื่อนไข และข้อสุดท้าย สภาวะการแข่งขันในอุตสาหกรรม ขึ้นอยู่กับ การเติบโตของอุตสาหกรรม จำนวนและศักยภาพของคู่แข่ง ดีมานและซับพลาย ที่กล่าวมาทั้งหมดคือ พลังทั้งห้าที่ไมเคิล อี พอร์เตอร์ แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาดได้กล่าวไว้ตั้งแต่ปี 1979 และยังใช้ได้ถึงปัจจุบัน
ในทางการลงทุน นอกจากมีมาร์เกตติ้งแนะนำการลงทุนและช่วยป้อนคำสั่งซื้อขายแล้ว แต่ละโบรคเกอร์ยังมีบทวิเคราะห์ให้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่นั้น มักกำหนดราคาเป้าหมายของหุ้นโดยให้ความสำคัญกับผลประกอบการล่วงหน้า 3-6 เดือนหรือเพียงหนึ่งปี มากกว่าการแนะนำกลยุทธ์ลงทุนระยะยาว 3-5 ปี ดังนั้นเราจึงเห็นการเปลี่ยนแปลงของราคาเป้าหมายบ่อยครั้งในเวลาไม่นานนัก สำหรับผู้เริ่มสนใจลงทุน หรือผู้ที่ต้องการเป็นนักลงทุนอาชีพนั้น การซื้อขายตามคำแนะนำของเซียนหุ้นที่เก่ง อาจทำให้ได้กำไรจากการลงทุนอย่างงาม แต่มีข้อเสียคือเราต้องขึ้นอยู่กับผู้อื่นอยู่ตลอดเวลา การ “เอาต์ซอร์ซ” นักวิเคราะห์หรือเซียนหุ้นในการลงทุนเพียงอย่างเดียวนั้น ทำให้ไม่มีการ “พัฒนา” การลงทุนในแนวทางที่ตน “ถนัด” และ “ตรง” กับความเป็นตัวตนของตนเอง และอาจจะไม่พบกับความสุขในการลงทุนเลย
ในฐานะ Value Investor พันธุ์แท้ เราจะต้องไม่ “เอาต์ซอร์ซ” หรือขึ้นกับผู้อื่นด้าน ความเข้าใจพื้นฐานของธุรกิจ ข้อได้เปรียบในการแข่งขัน ความแข็งแกร่งของกิจการ ผลประกอบการ สถานะทางการเงิน ปัจจัยเสี่ยงต่างๆ และต้องตัดสินใจลงทุนผ่านกระบวนการ คิด วิเคราะห์ แยกแยะ ของตนเองอย่างรอบคอบ นักลงทุนบางคนนำเครื่องมือทางเทคนิคบ่งชี้แนวต้านแนวรับมาใช้ในการตัดสินใจลงทุนหุ้นพื้นฐานบ้าง แต่หาก“เอาต์ซอร์ซ” เครื่องมือมาใช้บ่อยครั้งหรือทุกครั้ง ผมไม่กล้าฟันธงว่านั่นคือการลงทุนแบบเน้นคุณค่าหรือไม่ คงขึ้นอยู่กับแต่ละคนที่จะคิด
เอาต์ซอร์ซิ่ง/ธันวา เลาหศิริวงศ์
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1593
- ผู้ติดตาม: 2
เอาต์ซอร์ซิ่ง/ธันวา เลาหศิริวงศ์
โพสต์ที่ 1
-
- Verified User
- โพสต์: 732
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เอาต์ซอร์ซิ่ง/ธันวา เลาหศิริวงศ์
โพสต์ที่ 2
ผมอยากเป็นเจ้าของธุรกิจมี vision แต่บริหารงานไม่ได้เรื่อง ก็เลยเอาต์ซอร์ซิ่งงานที่ไม่ถนัดให้ CEO ไปปวดหัวแทนครับ ส่วนผมนั่งกระดิกนิ้วเท้ารอรับเงินปันผล ถ้าวันดีคืนดีมีคนมาเสนอซื้อหุ้นผมด้วยราคาที่น่าสนใจก็ขายครับ 

ลงทุนหุ้นดี มีสตอรี่ ราคาไม่แพง เดี๋ยวก็รวย
หนังสือเล่มสองผมครับ เจาะหุ้นร้อน สแกนหุ้นเด้ง การแคะหุ้นจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
หนังสือเล่มสองผมครับ เจาะหุ้นร้อน สแกนหุ้นเด้ง การแคะหุ้นจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
-
- Verified User
- โพสต์: 2141
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เอาต์ซอร์ซิ่ง/ธันวา เลาหศิริวงศ์
โพสต์ที่ 3
พี่เค้าใช้คำว่า outsource ทำให้ดูซะดีเลย
แถวบ้านผมเรียกว่าลอกโพย 55555
แถวบ้านผมเรียกว่าลอกโพย 55555
M aterial catalyst
A ttitude & Perception
D isclipine
A ttitude & Perception
D isclipine
- kabu
- Verified User
- โพสต์: 2149
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เอาต์ซอร์ซิ่ง/ธันวา เลาหศิริวงศ์
โพสต์ที่ 4
ขอบคุณสำหรับทุกๆบทความดีดีครับ
"หนทางเดียวที่จะก้าวพ้นขอบเขตของความเป็นไปได้ คือก้าวเข้าสู่ความเป็นไปไม่ได้", Arthur C. Clarke
สมุดบันทึก: http://kabuvi.wordpress.com/
สมุดบันทึก: http://kabuvi.wordpress.com/