กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน

sun_cisa2
Verified User
โพสต์: 121
ผู้ติดตาม: 0

Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน

โพสต์ที่ 31

โพสต์

cyber-shot เขียน:ในงบกำไร ขาดทุน ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่ายทั้งหมด จะรวมอยู่ใน กำไรขั้นต้น และ SG&A อยู่แล้วใช่มั้ยครับ แต่มันไม่ใ่ช่รายการที่จ่ายไปจริง จึงต้องบวกกลับในงบกระแสเงินสดครับ

เพราะ ว่า ตอนคำนวณ Free cash flow ต้อง ใช้ ebit หัก ภา๊ษีเงินได้ แล้วค่อยบวกDA กลับ แสดงว่าถ้าเป็นเช่นข้างบน ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย ก็โดนคำนวณรวมในการจ่ายภาษีด้วยใช่มั้ยครับ
ถูกต้องครับ ในทางการเงินและบัญชีวิธีหา การตั้งรูปแบบอาจแตกต่างกันแต่ผลลัพธ์เท่ากัน ในทางการเงินจะมีการบวก tax shield กลับด้วยครับ
Stock lover
Verified User
โพสต์: 448
ผู้ติดตาม: 0

Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน

โพสต์ที่ 32

โพสต์

อ่านไปอ่านมาแล้วชักสับสน ระหว่างค่าใ่้ช้จ่าย กับรายจ่ายนี้ต่างกันไงครับ หรือรายจ่ายคือ บริษัทจ่ายแล้ว เพื่อจะได้รับประโยชน์ในอานาคต จำไม่ค่อยได้แล้ว อย่างงี้รึเปล่า
ชอบศึกษาหุ้นเชิงวิชาการมาก
Stock lover
Verified User
โพสต์: 448
ผู้ติดตาม: 0

Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน

โพสต์ที่ 33

โพสต์

รบกวนถามอาจารย์อีกข้อครับ

สินทรัพย์ + ค่าใช้จ่าย = หนี้สิน + ทุน + รายได้ และ อีกสมการหนึ่ง สินทรัพย์ = หนี้สิน + ทุน + รายได้ - ค่าใช้จ่าย มันได้เท่ากันจริงๆเหรอครับ (ทุนใช้ทุนงวดก่อน ) ผมได้มากจาก รู้บัญชีมีประโยชน์ ของอาจารย์ ภาพร หน้า 58 ครับ
ผมลองทำกับงบปี BGH ปี 53 ได้ดังนี้ครับ

ปี 53 ปี52
รวมสินทรัพย์ 32,197,024,443 30,358,709,499

รวมหนี้สิน 15,914,119,909 15,611,587,184

รวมส่วนของผู้ถือหุ้น 16,282,904,534 14,747,122,315

รวมรายได้ 24,051,214,555 21,974,002,708


รวมค่าใช้จ่าย 20,607,026,766 19,202,575,853

สินทรัพย์ + ค่าใช้จ่าย = หนี้สิน + ทุน + รายได้ = 52804051209 และ 54712456779 มันได้ไม่เท่ากันอ่ะครับ

สินทรัพย์ = หนี้สิน + ทุน + รายได้ - ค่าใช้จ่าย = 32,197,024,443 และ 34105430013

ผมใช้ส่วนทุนตอนต้นงวดคือปี 52 นะครับ


ทำไมผมทำแล้วมันไม่เท่ากันครับ
ชอบศึกษาหุ้นเชิงวิชาการมาก
winnermax
Verified User
โพสต์: 38
ผู้ติดตาม: 0

Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน

โพสต์ที่ 34

โพสต์

รบกวนถามอาจารย์อีกข้อครับ

สินทรัพย์ + ค่าใช้จ่าย = หนี้สิน + ทุน + รายได้ และ อีกสมการหนึ่ง สินทรัพย์ = หนี้สิน + ทุน + รายได้ - ค่าใช้จ่าย มันได้เท่ากันจริงๆเหรอครับ (ทุนใช้ทุนงวดก่อน ) ผมได้มากจาก รู้บัญชีมีประโยชน์ ของอาจารย์ ภาพร หน้า 58 ครับ
ผมลองทำกับงบปี BGH ปี 53 ได้ดังนี้ครับ

ปี 53 ปี52
รวมสินทรัพย์ 32,197,024,443 30,358,709,499

รวมหนี้สิน 15,914,119,909 15,611,587,184

รวมส่วนของผู้ถือหุ้น 16,282,904,534 14,747,122,315

รวมรายได้ 24,051,214,555 21,974,002,708


รวมค่าใช้จ่าย 20,607,026,766 19,202,575,853

สินทรัพย์ + ค่าใช้จ่าย = หนี้สิน + ทุน + รายได้ = 52804051209 และ 54712456779 มันได้ไม่เท่ากันอ่ะครับ

สินทรัพย์ = หนี้สิน + ทุน + รายได้ - ค่าใช้จ่าย = 32,197,024,443 และ 34105430013

ผมใช้ส่วนทุนตอนต้นงวดคือปี 52 นะครับ


ทำไมผมทำแล้วมันไม่เท่ากันครับ
จากงบการเงินปี 2553 BGH ตัวเลขที่เก็บมายังขาด รายได้ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม 299.75 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายขาดไป 2 รายการ คือ ค่าใช้จ่ายทางการเงิน 584.35 ล้านบาท ภาษีเงินได้นิติบุคคล 779.38 ล้านบาท
และสำหรับทุน นั้นมีการเปลี่ยนแปลงในปี 53 จาก รายได้และค่าใช้จ่ายที่รับรู้โดยตรงในส่วนของผู้ถือหุ้น 1,028.81 ล้านบาท เงินปันผลจ่าย 1,840.05 ล้านบาท ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยลดลง 33.17 ล้านบาท
ลองกระทบยอดใหม่ได้ดังนี้ (หน่วย: ล้านบาท)
สินทรัพย์ + ค่าใช้จ่าย = หนี้สิน + ทุน + รายได้
32,197.02+20,607.03+584.35+779.39 = 15,914.12+14,747.12+24,051.21+299.75+1,028.81-1,840.05-33.17
54,167.79 = 54,167.79
ดังนั้น ทุนที่ใช้ของปี 52 ต้องนำรายการที่รับรู้โดยตรงในส่วนทุนมาด้วย และ รายการที่สำคัญอีกรายการหนึ่งคือ เงินปันผลจ่าย ครับ เมื่อจ่ายออกไป แล้วส่วนทุนจะลดลง ต้องนำมาคำนวณด้วยครับ
sun_cisa2
Verified User
โพสต์: 121
ผู้ติดตาม: 0

Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน

โพสต์ที่ 35

โพสต์

ถ้ารู้จักงบทดลอง (Trial Balance) ก็จะเข้าใจสมการได้ เดบิต = เครดิต เสมอ
Stock lover
Verified User
โพสต์: 448
ผู้ติดตาม: 0

Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน

โพสต์ที่ 36

โพสต์

เงินปันผลจ่าย 1,840.05 ล้านบาท อาจารย์เอามาจากไหนเหรอครับ


นี้เป็นยอดที่ผมเจอในงบกระแสเงินสดอ่ะครับ

เงินปันผลจ่าย ( 850,139,674) (728,693,907)
เงินปันผลจ่ายของบริษัทย่อยแก่ผู้ถือหุ้นส่วนน้อย ( 31,358,807) (27,189,797)



รายได้และค่าใช้จ่ายที่รับรู้โดยตรงในส่วนของผู้ถือหุ้น 1,028.81 ล้านบาท รายการนี้มันคืออะไรเหรอครับ ผมพึ่งเจอครั้งแรก ปกติ รายได้ ค่าใช้จ่ายมันอยู่ในงบกำไรขาดทุนไม่ใช่เหรอครับ แต่ผมเคยอ่านหนังสือ จำได้ว่า มีรายจ่ายบ้างรายการที่เขาให้พักไว้ในงบกำไรขาดดุล เช่นการด้อยค่าของสินทรัพย์อะไรสักอย่าง รอบริษัทขายสินทรัพย์นั้นก่อน จึงค่อยรับรู้ขาดทุน หรือกำไรจากสินทรัพย์นั้น แสดงว่า ค่าใช้จ่ายนี้เขาต้องรวมค่าใช้จ่ายในส่วนผู้ถือหุ้นด้วยใช่มั้ยครับ ไม่ใช่รวมแ่ต่ค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนอย่างเดียว
ชอบศึกษาหุ้นเชิงวิชาการมาก
Stock lover
Verified User
โพสต์: 448
ผู้ติดตาม: 0

Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน

โพสต์ที่ 37

โพสต์

ผมเจอ ยอด 1840.05 ละครับอยู่ใน
งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น (ต่อ)
เงินปันผลจ่าย 21 - - - - - - - - (1,840,052,510) (1,840,052,510) - (1,840,052,510) ผมเจอยอดนั้นแล้วครับ แต่

แต่ยอดนี้มันมากจากไหนเหรอครับ 1,840,05 เพราะในงบกระแสเงินสด มันรวมกันได้ไม่เท่า 1,840,05 ครับ

งบรวม งบเดียว
ปี 53 ปี 52 ปี 53 ปี 52
เงินปันผลจ่าย ( 850,139,674) (728,693,907) (850,139,674) ( 728,693,907)
เงินจ่ายซื้อเงินลงทุนในบริษัทย่อย
จากผู้ถือหุ้นส่วนน้อย ( 4,737,050) (109,305,904) - -
เงินปันผลจ่ายของบริษัทย่อย
แก่ผู้ถือหุ้นส่วนน้อย ( 31,358,807) (27,189,797) - -

21. เงินปันผลจ่าย
เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2552 ที่ประชุมสามัญของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ได้อนุมัติให้จ่ายเงินปันผลสำหรับ
หุ้นสามัญจำนวน 1,214,498,745 หุ้น (มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท) ในอัตราหุ้นละ 0.60 บาท รวมเป็น
เงินทั้งสิ้น 728.7 ล้านบาท บริษัทฯได้จ่ายเงินปันผลดังกล่าวแล้วในเดือนเมษายน 2552
เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2553 ที่ประชุมสามัญของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ได้อนุมัติให้จ่ายเงินปันผลสำหรับ
หุ้นสามัญจำนวน 1,214,498,745 หุ้น (มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท) ในอัตราหุ้นละ 0.70 บาท รวมเป็น
เงินทั้งสิ้น 850.1 ล้านบาท บริษัทฯได้จ่ายเงินปันผลดังกล่าวแล้วในเดือนเมษายน 2553
51
เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2553 ที่ประชุมคณะกรรมการของบริษัทฯ ได้อนุมัติให้จ่ายเงินปันผลระหว่างกาล
สำหรับหุ้นสามัญจำนวน 1,246,035,935 หุ้น (มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท) ในอัตราหุ้นละ 0.80 บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 996.8 ล้านบาท อย่างไรก็ตามบริษัทฯได้รับแจ้งจาก บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์
(ประเทศไทย) จำกัด ว่ามีผู้ถือหุ้นที่ไม่มีสิทธิได้รับเงินปันผลเป็นจำนวนประมาณ 6.9 ล้านบาท ดังนั้น
บริษัทฯ จึงบันทึกเงินปันผลค้างจ่ายจำนวน 989.9 ล้านบาท บริษัทฯได้จ่ายเงินปันผลดังกล่าวแล้วใน
เดือนมกราคม 2554

เพราะถ้าดู หมายเหตุประกอบงบการเงินที่ 21 แล้ว ก็รวมกันยังไงก็ไม่ได้ 1840.05 ขอบคุณครับ ขออภัยที่เยอะไปหน่อยครับ
ชอบศึกษาหุ้นเชิงวิชาการมาก
winnermax
Verified User
โพสต์: 38
ผู้ติดตาม: 0

Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน

โพสต์ที่ 38

โพสต์

21. เงินปันผลจ่าย
เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2552 ที่ประชุมสามัญของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ได้อนุมัติให้จ่ายเงินปันผลสำหรับ
หุ้นสามัญจำนวน 1,214,498,745 หุ้น (มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท) ในอัตราหุ้นละ 0.60 บาท รวมเป็น
เงินทั้งสิ้น 728.7 ล้านบาท บริษัทฯได้จ่ายเงินปันผลดังกล่าวแล้วในเดือนเมษายน 2552
เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2553 ที่ประชุมสามัญของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ได้อนุมัติให้จ่ายเงินปันผลสำหรับ
หุ้นสามัญจำนวน 1,214,498,745 หุ้น (มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท) ในอัตราหุ้นละ 0.70 บาท รวมเป็น
เงินทั้งสิ้น 850.1 ล้านบาท บริษัทฯได้จ่ายเงินปันผลดังกล่าวแล้วในเดือนเมษายน 2553

เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2553 ที่ประชุมคณะกรรมการของบริษัทฯ ได้อนุมัติให้จ่ายเงินปันผลระหว่างกาล
สำหรับหุ้นสามัญจำนวน 1,246,035,935 หุ้น (มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท) ในอัตราหุ้นละ 0.80 บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 996.8 ล้านบาท อย่างไรก็ตามบริษัทฯได้รับแจ้งจาก บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์
(ประเทศไทย) จำกัด ว่ามีผู้ถือหุ้นที่ไม่มีสิทธิได้รับเงินปันผลเป็นจำนวนประมาณ 6.9 ล้านบาท ดังนั้น
บริษัทฯ จึงบันทึกเงินปันผลค้างจ่ายจำนวน 989.9 ล้านบาท บริษัทฯได้จ่ายเงินปันผลดังกล่าวแล้วในเดือนมกราคม 2554

เงินปันผลจ่าย = 850.1+989.9 = 1840.0 ล้านบาท
รายได้และค่าใช้จ่ายที่รับรู้โดยตรงในส่วนของผู้ถือหุ้น จะเป็นข้อยกเว้นตามข้อกำหนดของมาตรฐานการบัญชี ตัวอย่าง เช่น ปรับมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนประเภทเผื่อขาย ผลต่างจากการแปลงค่างบการเงินสำหรับการดำเนินงานในต่างประเทศ ครับ
Stock lover
Verified User
โพสต์: 448
ผู้ติดตาม: 0

Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน

โพสต์ที่ 39

โพสต์

ผมเริ่มจะเข้าใจละ อาจารย์ สมการพวกนี้สำัคัญมากมั้ยครับ ผมจะได้ลองคำนวณดูสักอีก 10 20 บริษัท น่าจะช่วยให้จำได้ครับ


ถ้ารู้จักงบทดลอง (Trial Balance) ก็จะเข้าใจสมการได้ เดบิต = เครดิต เสมอ ไม่รู้จักครับ มันสำคัญมากมั้ยครับสำหรับนักลงทุน
ชอบศึกษาหุ้นเชิงวิชาการมาก
sun_cisa2
Verified User
โพสต์: 121
ผู้ติดตาม: 0

Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน

โพสต์ที่ 40

โพสต์

'งบทดลองคือ การที่เอาทุกบัญชี (แยกประเภท) มาแสดงรวมกัน ซึ่งทุกบัญชีก็คือรายการ สินทรัพย์ หนี้สิน ทุน รายได้ ค่าใช้จ่าย ทั้งหมด ที่ เดบิต เครดิต ระหว่างงวด รวมทั้งยอดยกมา นั่นคือที่มาของ สมการบัญชี สินทรัพย์ + ค่าใช้จ่าย = หนี้สิน + ทุน + รายได้ เมื่อย้ายข้าง สินทรัพย์ = หนี้สิน + ทุน + รายได้ - ค่าใช้จ่าย สมการย่อมคงเดิมเสมอ ถามว่าสำคัญมั๊ยกับนักลงทุน ก็บอกว่าไม่สำคัญหรอกครับ แต่เห็นว่า ถามทำไม่เอาตรงนั้นตรงนี้ ปีนั้นปีนี้มาบวกแล้วไม่เท่ากัน ก็เลยบอกเพื่อให้ทราบที่มา ที่ทำแล้วไม่ตรง ไม่ใช่รายงานผิดครับ แต่เพราะคนอ่านงบเอามาไม่หมดจึงไม่ตรงเท่านั้น สมการจึงไม่ตรง เพียงแต่จะบอกว่า ไม่ต้องกังวลว่าเขาจะทำงบแบบเดบิตไม่เท่าเครดิต ที่น่ากลัวคือ ตั้งใจจัดประเภทผิด และนำเสนอผิดที่มากกว่า เช่น ไม่ลงรายการสินทรัพย์เลย ย่อมแสดงว่า หนี้สินหาย ส่วนทุนหาย ราได้หาย หรือ ลงเป็นค่าใช้จ่ายแทน สมการคงเดิม แต่งบการเงินจะบิดเบี้ยว ทีนี้จะเห็นว่าการพิสูจน์บวกเดบิต เท่ากับเครดิต ไม่บอกอะไรมากนัก แต่การเจสมการว่า อะไรที่เพิ่มหรือหาย ย่อมทำให้อีกฝั่งเพิ่มหรือหายตามด้วยตัวเลขที่เท่ากัน การวิเราะห์อัตราส่วนทาสงการเงินโดยการพิจารณา หลายๆปีต่อเนื่องกัน (ผมมักใช้ต่ำสุด 4 ปี) จะมองหรืออ่านบางอย่างที่ผิดปกติได้ สองปีหรือสองงวดน้อยไปครับ นอกจากนี้ต้องเข้าใจเรื่องวงจรธุรกิจ/อุตสาหกรรม (business/Industrial cycle) จะยิ่งช่วยการวิเคราะห์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย
winnermax
Verified User
โพสต์: 38
ผู้ติดตาม: 0

Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน

โพสต์ที่ 41

โพสต์

0
UpvoteDownvote
ผมเริ่มจะเข้าใจละ อาจารย์ สมการพวกนี้สำัคัญมากมั้ยครับ ผมจะได้ลองคำนวณดูสักอีก 10 20 บริษัท น่าจะช่วยให้จำได้ครับ


ถ้ารู้จักงบทดลอง (Trial Balance) ก็จะเข้าใจสมการได้ เดบิต = เครดิต เสมอ ไม่รู้จักครับ มันสำคัญมากมั้ยครับสำหรับนักลงทุน

_________________
Simon Dhando

สมการข้างต้น เป็นหัวใจของระบบบัญชีคู่ (double entry) ซึ่งเป็นนวัตกรรมในการบันทึกบัญชีที่เกิดขึ้นประมาณคริสตศตวรรษที่ 15 โดยนักบวชชาวอิตาลี โดยรายการทางธุรกิจที่เกิดขึ้น จะต้องบันทึก เดบิต เครดิต ซึ่งประโยชน์ก็คือ ข้อมูลตัวเลขสามารถสอบยันยอดในงบทดลอง ที่ยอดดุลด้านเดบิต กับด้านเครดิต ต้องเท่ากัน ซึ่งระบบบัญชีเดี่ยวไม่สามารถทำได้
หากเราเข้าใจสมการพื้นฐาน จะช่วยให้เราเห็นความเชื่อมโยงของข้อมูล ระหว่างงบแสดงฐานะการเงิน และงบกำไรขาดทุน อันเป็นบันไดไปสู่การอ่านงบการเงินได้ จึงมีผู้เปรียบว่าการบัญชีคือ ภาษาทางธุรกิจ ดังจะเห็นว่ามาตรฐานการบัญชี ซึ่งเป็นหลักที่นักบัญชีใช้เป็นเกณฑ์ในการบันทึกรายการ และเปิดเผยข้อมูล หลายฝ่ายจึงพยายามลดความแตกต่างที่เกิดชึ้นในระหว่างประเทศ โดยการผลักดันให้ประเทศต่าง ๆ มาใช้มาตรฐานการรายงานการเงินระหว่างประเทศเป็นเกณฑ์ เพื่อให้ภาษาธุรกิจ(งบการเงิน)เป็นภาษาสากล ผู้ใช้งบไม่ต้องมาปวดหัวกับเกณฑ์การบันทึกบัญชีที่แตกต่างกัน หรือที่เรียกว่า accounting Babel ถึงตรงนี้คนที่เคยอ่านพระคัมภีร์ไบเบิลฉบับพันธสัญญาเดิมคงร้องอ้อ ตอนนั้นมนุษย์อหังการมาก พยายามสร้างหอบาเบลให้สูงเสียดฟ้า พระเจ้าจึงพิโรธหอบาเบลทลายลง หลังจากนั้นมนุษย์จึงพูดกันหลายภาษา สับสนอลหม่านไม่สามารถสื่อสารกันได้อย่างถูกต้อง นอกเรื่องไปมากแล้วครับ
ผมคิดว่าอย่าไปเสียเวลากระทบตัวเลขในงบเลยครับ เพราะหน้าที่อันแสนน่าเบื่อ งานไม่น่าพิสมัยนี้ปล่อยให้นักบัญชีทำ ผู้สอบบัญชีตรวจสอบดีกว่า เราฐานะผู้ใช้อ่านงบการเงินให้เป็นดีกว่าครับ หากเปรียบงบการเงินเป็นภาษา นักบัญชีก็เป็นเพียงอาลักษณ์ผู้ส่งสาร ผู้ใช้ในฐานะผู้รับสารมีหน้าที่แปลความหมายให้ออก งบการเงินเป็นตัวเลขในอดีต เป็นเหมือนโหง้วเฮ้งของบริษัท อดีตแม้ผ่านไปแล้วแต่ก็มีประโยชน์ให้เราคาดคะเนอนาคตได้ เปรียบเหมือนสารถีที่ขับรถไปข้างหน้า โดยดูกระจกมองหลัง เพื่อการมุ่งหน้าอย่างปลอดภัยครับ
ราตรีสวัสดิ์ หากมีปัญหายินดีตอบทุกคำถามครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
beethoven
Verified User
โพสต์: 7
ผู้ติดตาม: 0

Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน

โพสต์ที่ 42

โพสต์

ขอบคุณครับ สำหรับหนังสือแนะนำ
Stock lover
Verified User
โพสต์: 448
ผู้ติดตาม: 0

Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน

โพสต์ที่ 43

โพสต์

ขอบคุณอาจารย์มากครับ
ชอบศึกษาหุ้นเชิงวิชาการมาก
Stock lover
Verified User
โพสต์: 448
ผู้ติดตาม: 0

Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน

โพสต์ที่ 44

โพสต์

แล้วfinancial ratio ที่อาจารย์ใ้ช้ดูย้อนหลังหลายๆ ปี ปกติอาจารย์ใช้financial ratio อะไรบ้างครับ
คือปกติผมดู แต่ROE ROA D/E asset turnover และก็รายได้กำไร ย้อนหลัง แล้วก็วิเคาะห์เชิงคุณภาพของธุรกิจอีกนิดหน่อยอ่ะครับ
ชอบศึกษาหุ้นเชิงวิชาการมาก
sun_cisa2
Verified User
โพสต์: 121
ผู้ติดตาม: 0

Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน

โพสต์ที่ 45

โพสต์

cyber-shot เขียน:แล้วfinancial ratio ที่อาจารย์ใ้ช้ดูย้อนหลังหลายๆ ปี ปกติอาจารย์ใช้financial ratio อะไรบ้างครับ
คือปกติผมดู แต่ROE ROA D/E asset turnover และก็รายได้กำไร ย้อนหลัง แล้วก็วิเคาะห์เชิงคุณภาพของธุรกิจอีกนิดหน่อยอ่ะครับ
อัตราส่วนการเงินทุกตัวมีความหมายในตัวเองและสัมพันธ์กัน แต่การนำไปใช้ขึ้นกับว่าเราต้องการมองในส่วนใด การดู ROE ROA D/E asset turnover และก็รายได้กำไร ย้อนหลัง ก็ได้ครับ แต่อัตราส่วนที่บอกมานั้นบ่งชี้เน้นไปที่ ภาพรวมความสามารถในการทำกำไร แต่อาจไม่ได้เน้นถึง ประสิทธิภาพในการบริหารงาน และความสามารถในการอยู่รอดที่อาจส่งผลในระยะสั้น ตัวอย่างง่ายๆ เช่น D/E เป็นอัตราส่วนในกลุ่มใช้วัดเรื่อง leverage หรือ solvency แต่อัตราส่วนนี้สามารถมองภาพความอยู่รอดในระยะยาว หรือถ้าในมุมของการเกิด bankruptcy ทางการเงินมีการเกิดได้สองรูปแบบคือ permanent bankruptcy (Asset<Debt หรือ equit < 0) และ temporary bankruptcy คือการเกิดปัญหาขาดสภาพคล่องโดยฉับพลันระยะสั้น ดังเช่น เอนรอน อัตราส่วนระยะยาวก็ดูดีหมด แต่จู่ๆ ก็ประกาศล้มละลาย ปัญหาคือขาดสภาพคล่องระยะสั้น (ชี้ปัญหาเกี่ยวพันกับการปกปิดรายการทางบัญชี) แต่เมื่อผมเอางบการเงิยย้อนหลังหลายปีและทำอัตราส่วนทั้งหมด (common size, trend, liquidity, efficiieny (turnover), profitability, solvency) หรือแม้แต่การใช้ bankruptcy model ของ Altman (Z score model)พบว่ามีหลายๆค่าบ่งช้ว่ามีความผิดปกติล่วงหน้ามาก่อนหน้า สองปีแล้ว และทั้งหมดต้องดูและอ่านสัญญาณความสันพันธ์ของอัตราส่วนให้เป็น ซึ่งต้องใช้เวลาและฝึกฝนเรื่อย

อัตราส่วนต่างๆ นี้หลายคนบอกว่าเยอะมาก แต่ปัจจุบันมี excel ช่วย ผมจะทำเป็นสูตรมาตรฐานไว้ เมื่อได้งบมาแล้วทำไม่นานก็เส็จอ่านได้ทั้งหมด อาสัยใช้เครื่องคิดเลขจิ้มคงทำแต่ละบริษัทเป็นวันๆ

อย่างไรก็ตามจากที่บอกมาว่าใช้ ROE ROA D/E asset turnover ได้ครับส่วนตัวผมก็ใช้ครับแต่อาจจะคนละรูปแบบคือ ผมใช้เป็นเครื่องมือคัดกรอง เช่นROE ต่ำกว่า 10% ไม่สนใจเลย เกินกว่า 20% จะอยู่ใน check list ที่จะลงมือวิเคราะห์ละเอียดลงไป เพราะอย่าลืมว่า มีบริษัทใน listed มากกว่า 3-400 บริษัท สนใจทุกตัวคงไม่ไหว หรือถ้าสนใจบริษัท A แต่ไม่เลือกวิเคราะห์ B ควรจะตอบตัวเองอย่างตรงไปตรงมาไม่มีอคติ ไมอิงข่าวลือได้ว่าทำไมจึงเลือก A

การคัดกรองหุ้นสำคัญมากในการลงทุนแบบ portfolio วิธีที่ดีคือใช้แนวคิด topdown approach คือมองภาพใหญ่ทางเศรษฐกิจ แล้วเลือกอุตสาหกรรมแล้วเลือก หุ้นในอุตสาหกรรม บริษัทไหนที่ไม่อยู่ใน line ที่เข้าเกณฑ์จะไม่สนใจ ส่วนอีกวิธีคือใช้แนวคิดแบบ bottom up approach คือดูจากแต่ละบริษัท วิธีนี้ก็ต้องเลือกอัตราส่วนหลักๆ เพื่อคัดกรองก่อน แล้วค่อยลงรายละเอียดทุกอัตราส่วน เบื้องต้นเอาเท่านี้นะครับคงพอเป็นแนวคิดได้
Stock lover
Verified User
โพสต์: 448
ผู้ติดตาม: 0

Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน

โพสต์ที่ 46

โพสต์

ถ้า roe ต่ำกว่า 10 ไม่น่าสนใจเลย roe นี้ปกติอาจารย์ใช้ค่าเฉลี่ยรึเปล่าครับ หรือว่าเอาปีที่แย่ที่สุดไม่ควรมีroe ต่ำกว่า 10 คือroe ย้อนหลังไม่มีปีไหนต่ำกว่า 10 ถ้าอย่างงี้ก็แปลว่าปกติอาจารย์ไม่เล่นหุ้นturn around ใช่มั้ยครับ แล้วfinancial ratio ต่างๆ มันจะได้รับผลกระทบอะไรมั้ยถ้าครับ นโยบายการบันทึกบัญชีของบริษัทเปลี่ยนครับ
ชอบศึกษาหุ้นเชิงวิชาการมาก
sun_cisa2
Verified User
โพสต์: 121
ผู้ติดตาม: 0

Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน

โพสต์ที่ 47

โพสต์

cyber-shot เขียน:ถ้า roe ต่ำกว่า 10 ไม่น่าสนใจเลย roe นี้ปกติอาจารย์ใช้ค่าเฉลี่ยรึเปล่าครับ หรือว่าเอาปีที่แย่ที่สุดไม่ควรมีroe ต่ำกว่า 10 คือroe ย้อนหลังไม่มีปีไหนต่ำกว่า 10 ถ้าอย่างงี้ก็แปลว่าปกติอาจารย์ไม่เล่นหุ้นturn around ใช่มั้ยครับ แล้วfinancial ratio ต่างๆ มันจะได้รับผลกระทบอะไรมั้ยถ้าครับ นโยบายการบันทึกบัญชีของบริษัทเปลี่ยนครับ
ถ้าใช้หลักการวิเคราะห์ทางทฤษฎีจริงๆ ผมใช้ค่าเฉลี่ยถูกต้องครับ และดูประกอบกับค่าเบี่ยงเบน (standard deviation) ด้วยในการ ranking เช่น ตัวอย่าง
YEAR ROE A ROE B
1 12.0% 12.4%
2 15.1% 9.0%
3 10.0% 8.0%
4 8.0% 16.0%
5 11.2% 11.0%
average 11.3% 11.3%
SD 2.6% 3.1%
ทั้ง A และ B ต่างมีค่าเฉลี่ยเท่ากันคือ 11.3% แต่ B มีความผันผวนมากกว่า (SD สูง) ค่าเฉลี่ยหาร SD อันไหนสูงกว่าย่อมเสี่ยงน้อยกว่า เป็นต้น ถ้าต้องเลือก เพียง 1ตัว แนวโน้มจะเลือก A มากกว่า (ทั้งคู่อยู่อุตสาหกรรมเดียวกัน) ถ้าอยู่ต่างอุตสาหกรรมกัน หากใช้แนวคิด Topdown approach จะถูกกรองแต่แรกแล้วว่าเลือกอุตสาหกรรมใดก่อน

แต่ในคมจริงอาจเลือกวิเคราะห์ทั้งคู่ แล้วดูอัตราส่วนอื่นประกอบการพิจารณาไปด้วย แต่การหา SD จะช่วยบ่งบอกนัยแต่แรกว่า B บริหารงานมีความเสี่ยงในการดำเนินงานในตัวเอง (เพราะค่า ROE แกว่ง) อัตราส่วนอื่นๆ จะช่วยย้ำว่า การแกว่งเกิดจากิไร เช่น อัตรากำไรขั้นต้นแกว่ง ค่าใช้จ่ายตลาดและบริหารแกว่ง รอบการจัดเก็บเงิน สินค้า ค่อนข้างผันผวน เป็นต้นสิ่งเหล่านี้จะทำให้เราป้องกันความเสี่ยงในการลงทุนในระดับหนึ่ง แต่คนชอบเสี่ยง (Bet) อาจไม่สนใจก็ได้ เพราะแล้วแต่สไตล์การลงทุน

ถ้า cnservative มากก็อาจใช้แบบหลังที่ว่ามาคือ ไม่เอาหุ้นที่เคยมี ROE < 10% เลยก็ได้ เหตุผลนี้ก็คือ เมื่อบริษัทในรอบ 5 ปี 10 ปี เตยได้ต่ำก็ถ้าหากยังเป็นคนเดิมหรือแนวคิด (vision&mission เดิมๆ) ก็ย่อมมีโอกาสทำต่ำสิบได้

หลักการลงทุนไม่ตายตัวเสมอ แต่หลักการมักไม่เปลี่ยน แนวคิดหลักของอีกรื่องหนึ่งในการตัดสินใจลงทุนของผมคือ High risk High return เป็นจริงเสมอในระยะยาว ในมุมผมไม่มีอะไรที่ high return ตลอดกาลยาวนาน อย่างที่ถามผมว่า ไม่สนใจหุ้น turn around หรือ สนใจเหมือนครับ แต่ส่วนใหญ่หุ้นพวกนี้จะวิเคราะห์ลึกและเอียดมาก เพราะเคยล้มเหลวมาก่อน หากจะลงทุนต้องดูดีๆ เพราะถ้าเข้ไปลงทุนเอา capital gain ช่วงสั้น ผมบอกตรงๆ ดูกราฟดีกว่า เพราะถ้าจะลงทุนถือสัก 5 ปี 10 ปีไปแบบวอร์เรน บัฟเฟ็ต เอากำไรสั้นๆ แบบตีหัวเข้าบ้าน วิเคราะห์พื้นฐานอาจจะไม่ได้ตามเป้า ประสงค์และถ้าลงทุนยาวๆได้ 5 ปี 10 ปี ค่อยว่ากัน

การเรียนรู้บัญชีมีประโยชน์ที่ช่วยในการอ่านงบการเงิน แต่ยังมีอะไรทีลึกกว่าเพียงอ่านงบการเงิน ต้องเข้าใจเรื่องอัตราส่วนด้วย ซึ่งเรื่องนี้ไม่ใช่แค่รู้สูตรคูณหารเป็นเท่านั้น แต่ต้องมองความสัมพันธ์ทั้งหมดพร้อมกับการเข้าใจงบ จึงจะทำให้การวิเคราะห์งบการเงินมีประสิทธิภาพ ผมเรียนบัญชีทำงานสอบบัญชี แต่ชีวิตทำงานในแวดวงการเงินการลงทุนมาตลอด จึงมองงบเข้าใจได้แบบนักบัญชี แต่ใช้แบบนักลงทุน จะต่างจากนักบัญชีมองงบแบบนักบัญชี ทุกๆคน ทำความเข้าใจนั้นถูกต้องดีแล้ว แตระวังอย่าสนใจรายละเอียดปลกย่อยมากเกินไปเพราะบางครั้ง เป็นเพียงเรื่องนักบัญชีที่แค่แยกประเภทรายการ แต่หัวเรื่องยังอยู่กลุ่มเดิม เช่น บางรายการอาจเป็นการแยกรายละเอียดภายใต้หัวข้อสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น เราแค่ดูว่ามูลค่ามีนัยกระทบต่อภาพรวมไหม เพราะไม่ว่ามันคืออะไร สุดท้ายก็นำไปใช้ในอัตราส่วนทุนหมุนเวียนอยู่ดี ถ้าก้อนมูลค่ามันใหญ่มากๆ อาจราวสัก 10% ของสินทัพย์หมุนเวียนรวมหรือสินทรัพย์รวม เราค่อยมาแกะดูนัยยของมันว่าเป็นอย่างไร ไปมาอย่างไร
sun_cisa2
Verified User
โพสต์: 121
ผู้ติดตาม: 0

Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน

โพสต์ที่ 48

โพสต์

แก้ข้างต้นเล็กน้อยพิมพ์เร็วไปเลยพลาด "การลงทุนแบบวอร์เรน บัฟเฟ็ต จะลงทุนยาวๆ 5 ปี 10 ปี จะลงทุนสั้นๆ แค่ เอา capital gain ดูกราฟจะดีกว่า....." การลงทุนแบบวอร์เรน บัฟเฟ็ต เน้นลงทุนยาวๆ เน้นมูลค่าเพิ่มระยะยาว ส่วนต่างไม่ใช่ได้ 15% 20% ขายครับ แต่ถือไปจนเห็นว่าไม่น่าจะไปต่อคุ้มการลงทุนก็ขาย
Stock lover
Verified User
โพสต์: 448
ผู้ติดตาม: 0

Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน

โพสต์ที่ 49

โพสต์

ไม่ทราบว่าค่าSD นี้อาจารย์คำนวณยังไงเหรอครับ
ชอบศึกษาหุ้นเชิงวิชาการมาก
sun_cisa2
Verified User
โพสต์: 121
ผู้ติดตาม: 0

Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน

โพสต์ที่ 50

โพสต์

cyber-shot เขียน:ไม่ทราบว่าค่าSD นี้อาจารย์คำนวณยังไงเหรอครับ

สูตรจริงทางสถิติยาวจำยาก ใช้ finction ของ excel ช่วยครับ แป๊บเดียวเสร็จ เดี่ยวนี้การคำนวณค่าทางสถิติ และการเงินใช้ finction ของ excel ทำให้ไม่ยาก ขอเพียงมีข้อมูลดิบที่อยู่ใน format ของ excel อย่างการหาค่า beta ของหุ้น อุตสาหกรรม คำนวณอัตราส่วนการเงิน หาราคาหุ้นจะด้วย DCF (discount cash flow) DDM (dividend discount model) เยอะแยะมากมาย ในโลกการเงิน ถ้าใช้ function เป็น เขียนสูตรได้ ก็ทำได้หมดครับ
Stock lover
Verified User
โพสต์: 448
ผู้ติดตาม: 0

Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน

โพสต์ที่ 51

โพสต์

งั้น การคำนวณ SD กับ bankruptcy model ของ Altman หาอ่านได้จากหนังสือเล่มไหนเหรอครับอาจารย์ จะได้เอามาเก็บเข้าคลังที่บ้านไว้ก่อนครับ
ชอบศึกษาหุ้นเชิงวิชาการมาก
sun_cisa2
Verified User
โพสต์: 121
ผู้ติดตาม: 0

Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน

โพสต์ที่ 52

โพสต์

cyber-shot เขียน:งั้น การคำนวณ SD กับ bankruptcy model ของ Altman หาอ่านได้จากหนังสือเล่มไหนเหรอครับอาจารย์ จะได้เอามาเก็บเข้าคลังที่บ้านไว้ก่อนครับ
การคำนวณหา standard deviation ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีในตำราสถิติทุกเล่มโดยเฉพาะสถิติขั้นต้น
ส่วน bankruptcy model ของ Altman หาอ่านได้ในตำรา finance management ครับ

Model:
Z-Score = sum(Coefficient * Value of ratio) = 1.2*(1) + 1.4*(2) + 3.3*(3) + 0.6*(4) + 1.0*(5)
= Liquidity + Cumulative Profitability +Profitability + Leverage + Efficiency
1. Liquidity Ratio = Net Working Capital /Total assets
2. Cumulative Profitability Ratio = Retained Earning / Total assets
3. Profitability Ratio = EBIT / Total assets
4. Leverage Ratio = Market value of equity / Total debts
5. Efficiency Ratio = Sales / Total assets
ในงานวิจัยของ Altman ระบุว่าค่าที่คำนวณได้ (Z-Score) ถ้าต่ำกว่า 2.99 แสดงถึงกิจกาจมีโอกาสจะเกิดภาวะล้มละลายสูง
sun_cisa2
Verified User
โพสต์: 121
ผู้ติดตาม: 0

Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน

โพสต์ที่ 53

โพสต์

bankruptcy model ของ Altman นั้นผมเคยนำมาใช้ทดสอบบริษัทต่างๆ โดยเฉพาะอสังหาริมทรัพย์ ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เกือบทั้งหมด พบว่าสงสัญญาณล่วงหน่าไม่น้อยกว่า 2 ปี ก่อนเกิดวิกฤติในปี 40 ทั้งสิ้น หมายความว่า บริษัทที่ล้มละลาย ปรับโครงสร้างหนี้มีปัญหาในตัวเองอยู่แล้วไช่เกิดปัญหาจากวิกฤติ ส่วนบริษัทที่รอดแม้จะมีผลประกอบการย่ำแย่จากภาวะเศรษฐกิจ ล้วนมีอัตราส่วนของ Z-score สูงๆ ทั้งสิ้น
Stock lover
Verified User
โพสต์: 448
ผู้ติดตาม: 0

Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน

โพสต์ที่ 54

โพสต์

Liquidity + Cumulative Profitability +Profitability + Leverage + Efficiency ค่าที่ได้ควรมากกว่า 2.99 ใช่มั้ยครับ


1.2*(1) + 1.4*(2) + 3.3*(3) + 0.6*(4) + 1.0*(5) แล้วคูณ 1 * 2 * 3 * 4 *5 นี้คืออะไรเหรอครับอาจารย์
ขอบคุณอาจารย์มากนะครับที่สรุปมาให้
ชอบศึกษาหุ้นเชิงวิชาการมาก
sun_cisa2
Verified User
โพสต์: 121
ผู้ติดตาม: 0

Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน

โพสต์ที่ 55

โพสต์

cyber-shot เขียน:Liquidity + Cumulative Profitability +Profitability + Leverage + Efficiency ค่าที่ได้ควรมากกว่า 2.99 ใช่มั้ยครับ


1.2*(1) + 1.4*(2) + 3.3*(3) + 0.6*(4) + 1.0*(5) แล้วคูณ 1 * 2 * 3 * 4 *5 นี้คืออะไรเหรอครับอาจารย์
ขอบคุณอาจารย์มากนะครับที่สรุปมาให้
อันบนถูกครับ อันล่างน่าจะเกิดจากการผิดพลาด format ที copy จาก file มาแปะไว้เวลา post เลยบิดเบี้ยวอย่างที่บอกแต่แรกครับว่าเวลาอ่านอาจจะงง ความจริงมีเรื่องการวิเคราะมาก แต่ไม่ค่อยกล้าโพสต์เพราะมันเพี้ยนนะครับ เอาอันบนไปใช้ บวกทุกค่าเข้าด้วยกัน > 2.99 ปลอดภัย แต่ต่ำกว่า 2.99 ใช่ว่าจะล้มเลยนะครับ แต่บ่งชี้ว่า บริษัทมีโอกาสไปได้ง่ายยิ่งต่ำยิ่งเสี่ยงมาก นั่นคือสภวะแวดล้อมทางธุรกิจเปลี่ยนแปลงจะมีความสามารถในการอยู่รอดต่ำ ขาดทุนถึงล้มละลายได้
sun_cisa2
Verified User
โพสต์: 121
ผู้ติดตาม: 0

Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน

โพสต์ที่ 56

โพสต์

sun_cisa2 เขียน:
cyber-shot เขียน:Liquidity + Cumulative Profitability +Profitability + Leverage + Efficiency ค่าที่ได้ควรมากกว่า 2.99 ใช่มั้ยครับ


1.2*(1) + 1.4*(2) + 3.3*(3) + 0.6*(4) + 1.0*(5) แล้วคูณ 1 * 2 * 3 * 4 *5 นี้คืออะไรเหรอครับอาจารย์
ขอบคุณอาจารย์มากนะครับที่สรุปมาให้
อันบนถูกครับ อันล่างน่าจะเกิดจากการผิดพลาด format ที copy จาก file มาแปะไว้เวลา post เลยบิดเบี้ยวอย่างที่บอกแต่แรกครับว่าเวลาอ่านอาจจะงง ความจริงมีเรื่องการวิเคราะมาก แต่ไม่ค่อยกล้าโพสต์เพราะมันเพี้ยนนะครับ เอาอันบนไปใช้ บวกทุกค่าเข้าด้วยกัน > 2.99 ปลอดภัย แต่ต่ำกว่า 2.99 ใช่ว่าจะล้มเลยนะครับ แต่บ่งชี้ว่า บริษัทมีโอกาสไปได้ง่ายยิ่งต่ำยิ่งเสี่ยงมาก นั่นคือสภวะแวดล้อมทางธุรกิจเปลี่ยนแปลงจะมีความสามารถในการอยู่รอดต่ำ ขาดทุนถึงล้มละลายได้
1, 2, 3, 4, 5 คือค่าที่คำนวณจากสุตรที่บอกมา
1 Liquidity
2 Cumulative Profitability
3 Profitability
4 Leverage
5 Efficiency
ส่วนตัวเลขข้างหน้า เช่น 1.2, 1.4, 3.3, 0.6, 1.0 คือค่าคงที่ที่นำไปคูณหน้า ค่าต่างๆ ที่คำนวณมาได้ เช่น
1 Liquidity =0.25
2 Cumulative Profitability = 0.3
3 Profitability = 0.15
4 Leverage = 1.2
5 Efficiency = 1.1

Z score = 1.2*(1) + 1.4*(2) + 3.3*(3) + 0.6*(4) + 1.0*(5)
= 1.2*(0.25) + 1.4*(0.3) + 3.3*(0.15) + 0.6*(1.2) + 1.0*(1.1) = 3.04
Stock lover
Verified User
โพสต์: 448
ผู้ติดตาม: 0

Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน

โพสต์ที่ 57

โพสต์

อย่างงี้แล้ว 1.2, 1.4, 3.3, 0.6, 1.0 เขาเอามาจากไหนเหรอครับอาจารย์ เหมือนตัวเลขมหัศจรรย์บอกว่าบริษัทไหนจะมีปัญหา หรือไม่มีปัญหา เสี่ยงต่อการล่ม ซะงั้น
ชอบศึกษาหุ้นเชิงวิชาการมาก
torpongpak
Verified User
โพสต์: 2595
ผู้ติดตาม: 0

Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน

โพสต์ที่ 58

โพสต์

เเวะมาคาระวะ อาจารย์ครับ ยังรู้สึกขอบคุณเสมอที่ช่วยตอบเรื่องWarrantครับ
ตอนนี้ผมกลับมาอ่านหนังสือเกี่ยวกับการตีความงบการเงิน หากมีข้อสงสัยขออนุญาติรบกวนถามอาจารย์อีกนะครับ :D
คนเราจะมีความสุข มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่ามีเท่าไร เเต่ขึ้นกับว่า เราพอเมื่อไร
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
sun_cisa2
Verified User
โพสต์: 121
ผู้ติดตาม: 0

Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน

โพสต์ที่ 59

โพสต์

torpongpak เขียน:เเวะมาคาระวะ อาจารย์ครับ ยังรู้สึกขอบคุณเสมอที่ช่วยตอบเรื่องWarrantครับ
ตอนนี้ผมกลับมาอ่านหนังสือเกี่ยวกับการตีความงบการเงิน หากมีข้อสงสัยขออนุญาติรบกวนถามอาจารย์อีกนะครับ :D
ยินดีอย่างยิ่งครับ โดยเฉพพาะการวิเคราะห์เพื่อการหามูลค่าในการลงทุน เน้นครับว่าเพื่อการประเมินการลงทุน เพราะโดยส่วนตัว เรียนบัญชีทั้งตรีทั้งโท แต่ไม่ดูและอ่านงบการเงินแบบนักบัญชีเท่าไร แต่อ่านงบแบบนักการเงินเพื่อการลงทุน และการตัดสินใจทางการบริหาร
sun_cisa2
Verified User
โพสต์: 121
ผู้ติดตาม: 0

Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน

โพสต์ที่ 60

โพสต์

cyber-shot เขียน:อย่างงี้แล้ว 1.2, 1.4, 3.3, 0.6, 1.0 เขาเอามาจากไหนเหรอครับอาจารย์ เหมือนตัวเลขมหัศจรรย์บอกว่าบริษัทไหนจะมีปัญหา หรือไม่มีปัญหา เสี่ยงต่อการล่ม ซะงั้น
สัมประสิทธิที่คูณอยู่ข้างหน้านั้นได้มาจากการทำวิจัยครับ ไม่ได้มาโดยการคิดเอา ผมเคยอ่านงานวิจัยเขา แต่บังเอิญไม่ได้เก็บและจดไว้ หนามาก คณิตศาสตร์และสถิติชั้นสูงล้วนๆ ตัวอย่างหลายร้อยกิจการ ในหลายปี กว่าจะได้ตัวเลขนี้ แต่ตัวอย่างคือบรษัทที่อยู่ในสหรัฐที่ถือว่าเศรษฐกิจอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ สูตรนี้จึงมีการใช้เรียนศึกษากัน ไม่ใช่การยกมาเฉยๆ ไม่อย่างนั้นตำราการเงินขั้นสูงมหาวิทยาลัยดังๆจะไม่เอามาสอนใน MBA กัน ส่วนตัวผมทุกอัตราส่วนทางการเงินผมเอามาวิเคราะห์ใช้งานและอ่านผลจริง แม้แต่สูตรนี้ก็เช่นกัน ใช้ได้ในระดับหนึ่ง บริษัททั่วไปก็นำไปใช้เพื่อตรวจสอบร่วมกับค่าอัตราส่วนอื่นๆ เพื่อหาสัญญาณการอยู่รอด อยากเรียนให้ราบกันอย่างหนึ่งว่า อัตราส่วนการเงินต่างๆ ไม่ใช่ตีค่ากันตรงๆ ง่ายๆอย่างที่คิด เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ศาสตร์คือสูตร ศิลป์คือการอ่านตีความ การใช้อัตราส่วนต้องมองหลายมิติ และอ่านร่วมกันหลายๆตัว ดูแยกส่วนที่ละตัวอาจหลงทางผิดพลาดได้