หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4
- ziannoom
- Verified User
- โพสต์: 1041
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4
โพสต์ที่ 31
ขอบคุณครับถึงแม้จะงงมากถึงมากที่สุด ถ้ามีใครอธิบายเป็นตัวเลขง่ายๆจะเป็นพระคุณอย่างสูงเลยครับ
ขอบคุณอาจารย์ด้วยครับ ผมไปเรียนคอร์สเบสิคมาได้ความรู้เพิ่มเยอะเลยครับ
ขอบคุณอาจารย์ด้วยครับ ผมไปเรียนคอร์สเบสิคมาได้ความรู้เพิ่มเยอะเลยครับ
ซื้อเมื่อราคาต่ำกว่ามูลค่า ขายเมื่อมูลค่าต่ำกว่าราคา
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4
โพสต์ที่ 33
คุณ wj เข้าใจถูกค่ะ เพียงแต่คำศัพท์ที่ใช้ไม่เหมือนกัน เพราะคุณ wj เกริ่นให้ อาจารย์เลยอธิบายเพิ่มเติมในแง่บัญชีให้ฟังwj เขียน:ก็ MBK ไงครับ ที่บริษัทประเมินทรัพย์สินใหม่ ทำให้มีภาษีรอจ่ายDTA อาจไม่ได้เกิดจากการที่เราจ่ายภาษีให้กรมสรรพากรมากกว่าค่าใช้จ่ายภาษีในงบกำไรขาดทุนเพียงอย่างเดียว แต่อาจเกิดจากการที่บริษัทตีราคาสินทรัพย์เพิ่ม ทำให้เกิดผลกระทบกับสินทรัพย์ที่แสดงในงบดุลทั้งที่ยังไม่เกี่ยวกับการจ่ายภาษี
ผมก็มั่นใจนะครับว่า การประเมินทรัพย์สิน = ตีราคาสินทรัพย์ใหม่ หรือผมเข้าใจผิดมาตั้งนาน ช่วยชี้แนะด้วย
***ที่ผมใช้ทรัพย์สินไม่ใช้สินทรัพย์เพราะผมยึดตามคำศัพย์ในประมวลกฎหมายแพ่ง ม.138***ใครยังไมเข้าใจผมว่า ดูจากการลงบัญชีและเหตุผลจากหลายๆบริษัทได้ เช่น
MBK ได้ลงภาษีรอตัดบัญชีไว้ (เป็นพันล้าน) เป็นหนี้สินระยะยาว มันเกิดจากมูลค่าการประเมินทรัพย์สินสูงขึ้นกว่าในอดีต
-
- Verified User
- โพสต์: 223
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4
โพสต์ที่ 35
Defer tax เกิดจาก ส่วนต่าง จากการคำนวณภาษีที่ต้องจ่ายจริงๆ กับ ต้องจ่ายทางบัญชี ต่างกันครับ
โดยถ้า ภาษีที่ต้องจ่ายจริงๆ มากกว่า ภาษีทางบัญชี ก็จะบันทึกว่าเป็น Defer tax Asset บนงบ (แปลว่าจ่ายจริงๆไปแล้วมากกว่าที่บันทึกบนงบ)
ถ้าภาษีที่ต้องจ่ายจริงๆ น้อยกว่า ภาษีทางบัญชี ก็จะบันทึกว่าเป็น Defer tax liability บนงบ (แปลว่ายังมีภาษีที่ต้องจ่ายอีกในอนาคต)
ซึ่งโดยทั่วไป Account พวกนี้ จะหักล้างกันในที่สุดครับเมื่อเวลาผ่านไป (เป็น Temporary Difference)
ทีนี้การปรับลดภาษี จาก 30% เป็น 23% มันจะ Effect ทั้งคู่ คือ Account ทั้งสองอัน เปลี่ยนด้วย Rate เท่ากัน คือลดลงจาก 30% เป็น 23%
โดยการปรับนี้จะส่งผลให้ net income เพิ่มหรือลด ขึ้นอยู่กับว่า เดิมที บริษัท มี Defer tax แบบไหนมากกว่ากันครับ
เช่นถ้า เดิม มี Defer tax Asset จำนวนมากกว่า พอ ปรับแล้ว ก็จะทำให้ เกิด Loss ขึ้นใน Net income ครับ
(เพราะปรับลดลงด้วย Rate เท่ากัน แต่ Asset เราจะลดลงเป็นจำนวนเงินมากกว่า นั่นเองครับ)
แต่ต้องเข้าใจว่า การปรับลด Account พวกนี้ บน Balance Sheet ส่งผล แค่ Net income ไม่ได้เกี่ยวกับ Cash Flow นะครับ
โดยถ้า ภาษีที่ต้องจ่ายจริงๆ มากกว่า ภาษีทางบัญชี ก็จะบันทึกว่าเป็น Defer tax Asset บนงบ (แปลว่าจ่ายจริงๆไปแล้วมากกว่าที่บันทึกบนงบ)
ถ้าภาษีที่ต้องจ่ายจริงๆ น้อยกว่า ภาษีทางบัญชี ก็จะบันทึกว่าเป็น Defer tax liability บนงบ (แปลว่ายังมีภาษีที่ต้องจ่ายอีกในอนาคต)
ซึ่งโดยทั่วไป Account พวกนี้ จะหักล้างกันในที่สุดครับเมื่อเวลาผ่านไป (เป็น Temporary Difference)
ทีนี้การปรับลดภาษี จาก 30% เป็น 23% มันจะ Effect ทั้งคู่ คือ Account ทั้งสองอัน เปลี่ยนด้วย Rate เท่ากัน คือลดลงจาก 30% เป็น 23%
โดยการปรับนี้จะส่งผลให้ net income เพิ่มหรือลด ขึ้นอยู่กับว่า เดิมที บริษัท มี Defer tax แบบไหนมากกว่ากันครับ
เช่นถ้า เดิม มี Defer tax Asset จำนวนมากกว่า พอ ปรับแล้ว ก็จะทำให้ เกิด Loss ขึ้นใน Net income ครับ
(เพราะปรับลดลงด้วย Rate เท่ากัน แต่ Asset เราจะลดลงเป็นจำนวนเงินมากกว่า นั่นเองครับ)
แต่ต้องเข้าใจว่า การปรับลด Account พวกนี้ บน Balance Sheet ส่งผล แค่ Net income ไม่ได้เกี่ยวกับ Cash Flow นะครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 475
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4
โพสต์ที่ 36
อธิบายแบบนี้จะเข้าใจมั้ยเอ่ย
Asset
-Cash (100)
+DTA 40
P/L
+ Tax 60
พอลดภาษีนิติบุคคล ภาษีรอตัดจ่ายเลยน้อยลงด้วย
Asset
-Cash (100)
+DTA 40
-DTA (25)
P/L
+Tax 60
+Tax (DTA kick back) 25
เวลาจ่ายภาษี สมมติบริษัทจ่ายเต็มไป 100 บาท เป็น cash แต่ลงบัญชีเป็น tax จริงๆ 60 บาท (เพราะ สรรพากรจะให้หักหนี้สูญเป็นค่าใช้จ่ายเท่านั้น หนี้สงสัยจะสูญยังหักไม่ได้) ส่วนที่เหลือ 40 คือส่วน tax ที่ควรจะได้รับ benefit จากหนี้สงสัยจะสูญ
เมื่อหนี้สงสัยจะสูญนี้กลายเป็นหนี้สูญ ก็มา credit deferred tax ออก แล้วไป debit tax ใน P/L
คราวนี้เมื่อมีการเปลี่ยนฐานภาษีนิติบุคคลเช่นจาก 30> 23% > 20% เราก็ต้องคิดลบภาษีรอตัดจ่ายกลับไป เพราะเราเหลือภาษีรอตัดจ่ายน้อยลงในอนาคต พอ credit ภาษีรอตัดจ่ายใน asset ก็จะต้องบันทึกใน P/L ของปีที่มีการเปลี่ยนภาษี โดยไป debit ภาษีเพิ่ม แต่ตรงนี้เป็นการปรับทางบัญชีเท่านั้น
บางบริษัทที่ไม่ได้จ่ายภาษีล่วงหน้า หรือมีภาษีรอตัดจ่ายอยู่ในฝั่งหนี้สิน ก็จะทำตรงกันข้าม
debit liability
credit tax ในรอบบัญชีนั้นบริษัทดังกล่าวก็จะมีภาษีจ่ายน้อยกว่าปกติ
หุยทำเป็น snap shot มา แต่จริงๆแล้วตัว deferred tax ที่เค้าเอามาหักคือบริษัทได้คำนวนย้อนหลังจาก deferred tax ในปีก่อนๆที่เหลืออยู่ จากหนี้สงสัยจะสูญ - หนี้สูญ แล้ว ภาษีตัวนี้ ถ้าเกิดมีหนี้สูญเพิ่มขึ้นในอนาคต (จากหนี้สงสัยจะสูญก้อนเดิม) ก็จะมีการกลับรายการ
1. ถ้าหนี้สงสัยจะสูญนี้กลายเป็นหนี้สูญจริงๆ จะถูกบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายที่ลดภาษีในไตรมาสนั้น
Dr. Tax expense 40
Cr. Deferred Tax (asset) 40
2. หนี้สงสัยจะสูญที่บันทึกตอนแรก ได้โอนกลับ(สมมติได้โอนกลับเลยทั้งหมด)
Dr. Cash 40
Cr. Deferred Tax 40
ผิดถูกยังไงชี้แนะด้วยค่ะ
Asset
-Cash (100)
+DTA 40
P/L
+ Tax 60
พอลดภาษีนิติบุคคล ภาษีรอตัดจ่ายเลยน้อยลงด้วย
Asset
-Cash (100)
+DTA 40
-DTA (25)
P/L
+Tax 60
+Tax (DTA kick back) 25
เวลาจ่ายภาษี สมมติบริษัทจ่ายเต็มไป 100 บาท เป็น cash แต่ลงบัญชีเป็น tax จริงๆ 60 บาท (เพราะ สรรพากรจะให้หักหนี้สูญเป็นค่าใช้จ่ายเท่านั้น หนี้สงสัยจะสูญยังหักไม่ได้) ส่วนที่เหลือ 40 คือส่วน tax ที่ควรจะได้รับ benefit จากหนี้สงสัยจะสูญ
เมื่อหนี้สงสัยจะสูญนี้กลายเป็นหนี้สูญ ก็มา credit deferred tax ออก แล้วไป debit tax ใน P/L
คราวนี้เมื่อมีการเปลี่ยนฐานภาษีนิติบุคคลเช่นจาก 30> 23% > 20% เราก็ต้องคิดลบภาษีรอตัดจ่ายกลับไป เพราะเราเหลือภาษีรอตัดจ่ายน้อยลงในอนาคต พอ credit ภาษีรอตัดจ่ายใน asset ก็จะต้องบันทึกใน P/L ของปีที่มีการเปลี่ยนภาษี โดยไป debit ภาษีเพิ่ม แต่ตรงนี้เป็นการปรับทางบัญชีเท่านั้น
บางบริษัทที่ไม่ได้จ่ายภาษีล่วงหน้า หรือมีภาษีรอตัดจ่ายอยู่ในฝั่งหนี้สิน ก็จะทำตรงกันข้าม
debit liability
credit tax ในรอบบัญชีนั้นบริษัทดังกล่าวก็จะมีภาษีจ่ายน้อยกว่าปกติ
หุยทำเป็น snap shot มา แต่จริงๆแล้วตัว deferred tax ที่เค้าเอามาหักคือบริษัทได้คำนวนย้อนหลังจาก deferred tax ในปีก่อนๆที่เหลืออยู่ จากหนี้สงสัยจะสูญ - หนี้สูญ แล้ว ภาษีตัวนี้ ถ้าเกิดมีหนี้สูญเพิ่มขึ้นในอนาคต (จากหนี้สงสัยจะสูญก้อนเดิม) ก็จะมีการกลับรายการ
1. ถ้าหนี้สงสัยจะสูญนี้กลายเป็นหนี้สูญจริงๆ จะถูกบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายที่ลดภาษีในไตรมาสนั้น
Dr. Tax expense 40
Cr. Deferred Tax (asset) 40
2. หนี้สงสัยจะสูญที่บันทึกตอนแรก ได้โอนกลับ(สมมติได้โอนกลับเลยทั้งหมด)
Dr. Cash 40
Cr. Deferred Tax 40
ผิดถูกยังไงชี้แนะด้วยค่ะ
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
HOPE FAITH LOVE
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4
โพสต์ที่ 37
คำอธิบายเพิ่มเติมจากคุณ wj ก็เพื่ออธิบายให้เห็นว่า การกลับบัญชี DTA กับ DTL ไม่ได้มีผลกระทบกับ ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้เสมอไป ตามกฎแล้ว การกลับบัญชี DTA หรือ DTL จะมีผลกระทบโดยตรงกับรายการที่ทำให้ DTA หรือ DTL เกิดขึ้น
คุณจึงเห็นว่า ในกรณีของ MBK เมื่อบริษัทกลับรายการ DTL ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ในงบกำไรขาดทุนไม่ถูกกระทบ แต่กลับไปกระทบกำไรจากการตีราคาเพิ่มในงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ
ยิ่งอ่านยิ่งงงหรือเปล่า
information overload แน่เลย
อาจารย์จะขอจบการบรรยายเรื่องภาษีเงินได้รอตัดบัญชี แต่เพียงนี้ค่ะ
คุณจึงเห็นว่า ในกรณีของ MBK เมื่อบริษัทกลับรายการ DTL ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ในงบกำไรขาดทุนไม่ถูกกระทบ แต่กลับไปกระทบกำไรจากการตีราคาเพิ่มในงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ
ยิ่งอ่านยิ่งงงหรือเปล่า
information overload แน่เลย
อาจารย์จะขอจบการบรรยายเรื่องภาษีเงินได้รอตัดบัญชี แต่เพียงนี้ค่ะ
-
- Verified User
- โพสต์: 551
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4
โพสต์ที่ 38
ขอบคุณมากครับอาจารย์ ผมเข้าใจอย่างนี้ถูกหรือป่าวหนอ
ถ้าในงบดุลเป็น net DTA (DTA > DTL) จะกระทบกำไรขาดทุนท่อนบน (กำไรสุทธิ)
แต่ถ้าเป็น net DTL (DTA < DTL) จะไปกระทบกำไรขาดทุนท่อนล่างเท่านั้น (กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น)
ถ้าในงบดุลเป็น net DTA (DTA > DTL) จะกระทบกำไรขาดทุนท่อนบน (กำไรสุทธิ)
แต่ถ้าเป็น net DTL (DTA < DTL) จะไปกระทบกำไรขาดทุนท่อนล่างเท่านั้น (กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น)
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4
โพสต์ที่ 40
viim เขียน:ขอบคุณมากครับอาจารย์ ผมเข้าใจอย่างนี้ถูกหรือป่าวหนอ
ถ้าในงบดุลเป็น net DTA (DTA > DTL) จะกระทบกำไรขาดทุนท่อนบน (กำไรสุทธิ)
แต่ถ้าเป็น net DTL (DTA < DTL) จะไปกระทบกำไรขาดทุนท่อนล่างเท่านั้น (กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น)
พูดตามหลักการแล้ว จะดูแค่ net DTA หรือ net DTL ไม่ได้ แต่ต้องดูว่ารายการที่ทำให้เกิด DTA กับ DTL นั้นเป็นรายการที่กระทบกำไรท่อนบนหรือท่อนล่าง
บังเอิญว่า ในเมืองไทย DTA มักเกิดจากการเก็บภาษีล่วงหน้า พอ DTA เปลี่ยน ผลกระทบจึงเห็นชัดเจนที่กำไรท่อนบน ส่วน DTL ที่บริษัทบันทึก มักเกิดจากการตีราคาสินทรัพย์เพิ่ม พอ DTL ลด ผลกระทบก็เลยไปตกกับกำไรท่อนล่าง ซึ่งนักลงทุนไม่ค่อนสนใจ
สรุปว่่า จากโครงสร้างภาษีของเมืองไทย ถ้าบริษัทบันทึก DTA และ DTL ไว้ทั้งคู่ เมื่ออัตราภาษีลดลง เราจะเห็นผลกระทบกับกำไรทั้งท่อนบนและท่อนล่างในเวลาเดียวกัน (DTA-กระทบท่อนบน DTL-กระทบท่อนล่าง)
แต่นั่น..... ขึ้นอยู่กับโครงสร้างภาษีของแต่ละบริษัท
อย่างไรก็ตาม สูตรสำเร็จ net DTA, net DTL ที่คุณว่ามาข้างบนนั้น ใช้ไม่ได้ในทุกกรณีค่ะ.....
เสียใจด้วย
-
- Verified User
- โพสต์: 130
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4
โพสต์ที่ 42
ขอบพระคุณ อาจารย์ ดร.ภาพร ที่กรุณาอธิบายเพิ่มเติมสำหรับข้อมูลและข้อสงสัย บช.เป็นเรื่องยากจริงๆ ยิ่งภาษี ยิ่งเข้าใจยากขึ้น
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4
โพสต์ที่ 43
ถ้ายังไม่เข้าใจ ไม่ต้องกังวลค่ะ คุณมีผู้ร่วมขบวนการเยอะ
อ่านอีก 16 หน หรือฟังอีก 16 เที่ยวก็จะเข้าใจเอง
เรื่องนี้ แม้แต่นักบัญชีเองก็ยังไม่เข้าใจลึกซึ้ง นักบัญชีส่วนหนึ่งสามารถคำนวณออกมาได้ว่า DTA และ DTL เป็นเท่าไร แต่มองภาพไม่ออกว่าทำไมจึงต้องทำอย่่งนั้น
ส่วนนักบัญชีอีกส่วนใหญ่ก็งงเท่าๆ กับคุณนั่นแหละค่ะ :):)
อ่านอีก 16 หน หรือฟังอีก 16 เที่ยวก็จะเข้าใจเอง
เรื่องนี้ แม้แต่นักบัญชีเองก็ยังไม่เข้าใจลึกซึ้ง นักบัญชีส่วนหนึ่งสามารถคำนวณออกมาได้ว่า DTA และ DTL เป็นเท่าไร แต่มองภาพไม่ออกว่าทำไมจึงต้องทำอย่่งนั้น
ส่วนนักบัญชีอีกส่วนใหญ่ก็งงเท่าๆ กับคุณนั่นแหละค่ะ :):)
- jo7393
- Verified User
- โพสต์: 2486
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4
โพสต์ที่ 46
ขอบคุณ อ.มากครับ อ่านไป สามเที่ยวแล้วยัง งง อยู่ พอจะแนะนำหนังสือที่ อ.เขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ไหมครับ
“ถ้าราคาหุ้นแยกออกไปจากเส้นกำไร ไม่ช้าก็เร็วมันจะวิ่งกลับไปหาเส้นกำไรเสมอ”
เลือกบริษัทที่ดี ในราคาที่เหมาะสม และถือมันตราบที่มันยังเป็นกิจการที่ดีอยู่
อย่าอายที่จะถาม ไม่มีใครรู้ลึกทุก บ. ถ้าไม่รู้แล้วไม่ถามก็จะยิ่งไม่ฉลาด
เลือกบริษัทที่ดี ในราคาที่เหมาะสม และถือมันตราบที่มันยังเป็นกิจการที่ดีอยู่
อย่าอายที่จะถาม ไม่มีใครรู้ลึกทุก บ. ถ้าไม่รู้แล้วไม่ถามก็จะยิ่งไม่ฉลาด
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4
โพสต์ที่ 49
ทำไงดีจะเข้าใจ
เอาเป็นว่า สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี เป็นสินทรัพย์ชนิดหนึ่งของบริษัท เหตุผลที่บริษัทมีสินทรัพย์รายการนี้ก็เพราะบริษัทจ่ายภาษีเยอะเกิน บริษัทเลยบันทึกมันไว้เป็นสินทรัพย์ รอวันตัดเป็นค่าใช้จ่ายเมื่อนำมาใช้
เมื่ออัตราภาษีลดลง สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี เกิดการด้อยค่า บริษัทเลยต้องตัดสินทรัพย์ไปเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน ภายใต้รายการ "ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้" (แบบเดียวกับที่บริษัทตัดค่าเสื่อมราคาหรือบันทึกการด้อยค่าของสินทรัพย์)
เอาแค่นี้ พอไหวไหมคะ
เอาเป็นว่า สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี เป็นสินทรัพย์ชนิดหนึ่งของบริษัท เหตุผลที่บริษัทมีสินทรัพย์รายการนี้ก็เพราะบริษัทจ่ายภาษีเยอะเกิน บริษัทเลยบันทึกมันไว้เป็นสินทรัพย์ รอวันตัดเป็นค่าใช้จ่ายเมื่อนำมาใช้
เมื่ออัตราภาษีลดลง สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี เกิดการด้อยค่า บริษัทเลยต้องตัดสินทรัพย์ไปเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน ภายใต้รายการ "ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้" (แบบเดียวกับที่บริษัทตัดค่าเสื่อมราคาหรือบันทึกการด้อยค่าของสินทรัพย์)
เอาแค่นี้ พอไหวไหมคะ
-
- Verified User
- โพสต์: 130
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4
โพสต์ที่ 50
parporn เขียน:ถ้ายังไม่เข้าใจ ไม่ต้องกังวลค่ะ คุณมีผู้ร่วมขบวนการเยอะ
อ่านอีก 16 หน หรือฟังอีก 16 เที่ยวก็จะเข้าใจเอง
เรื่องนี้ แม้แต่นักบัญชีเองก็ยังไม่เข้าใจลึกซึ้ง นักบัญชีส่วนหนึ่งสามารถคำนวณออกมาได้ว่า DTA และ DTL เป็นเท่าไร แต่มองภาพไม่ออกว่าทำไมจึงต้องทำอย่่งนั้น
ส่วนนักบัญชีอีกส่วนใหญ่ก็งงเท่าๆ กับคุณนั่นแหละค่ะ :):)
555555 มีกำลังใจขึ้นเยอะเลยค่ะ
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4
โพสต์ที่ 51
เรื่องนี้เป็นเรื่องใหม่ ยังไม่เคยเขียนบทความออกมาเลยค่ะ แต่ตอนนี้รู้สึกว่ามีแรงบันดาลใจ เดี๋ยวพอว่างแล้วจะรีบเขียน แล้วแปะให้ download กันไปอ่านค่ะjo7393 เขียน:ขอบคุณ อ.มากครับ อ่านไป สามเที่ยวแล้วยัง งง อยู่ พอจะแนะนำหนังสือที่ อ.เขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ไหมครับ
- ปลาตัวเล็ก
- Verified User
- โพสต์: 767
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4
โพสต์ที่ 52
ภาษีเงินได้รอตัดบัญชี - การปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
เขียนโดย ผศ.ดร. วิศรุต ศรีบุญนาค (23 เมษายน 2554)
การประยุกต์มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 12 เรื่อง ภาษีเงินได้ ในสถานการณ์การปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
ตามที่สภาวิชาชีพบัญชีจัดทำร่างมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 12 เรื่อง ภาษีเงินได้ ในปี 2552 และมีมติให้ถือปฏิบัติกับงบการเงินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไปนั้น หลายบริษัทตัดสินใจเลือกนำมาตรฐานการบัญชีฉบับดังกล่าวมาถือปฏิบัติก่อนกำหนด การเลือกนำมาตรฐานการบัญชีมาใช้ก่อนกำหนดก่อให้เกิดการรับรู้สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัดบัญชีสำหรับหลายกิจการจำนวนมาก ที่ช่วยให้ภาษีเงินได้ที่ต้องรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายในกำไรขาดทุนลดลง และสำหรับบางกิจการที่มีหนี้สินภาษีเงินได้จำนวนมากที่ต้องรับรู้จะต้องรับรู้ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้สูงขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมา
เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2554 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบปรับลดอัตราการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก 30% เหลือ 23% ภายในปี 2555 และลดเหลือ 20% ในปี 2556 ตามข้อเสนอของกระทรวงการคลัง โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 เป็นต้นไป มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีข้างต้นจะมีผลทำให้สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัดบัญชีที่กิจรับรู้ไว้ด้วยจำนวนเงิน 30% ของผลต่างระหว่างมูลค่าตามบัญชีและฐานภาษีของรายการบัญชี จะก่อให้เกิดการประหยัดเงินสดเมื่อเกิดการกลับผลต่างได้เพียง 20% ถึง 23% เท่านั้น ส่วนกิจการที่รับรู้หนี้สินภาษีเงินได้รอตัดบัญชีไว้คงตระหนักถึงข่าวดีที่กิจการจะสามารถประหยัดภาษีที่จะต้องชำระในอนาคตไปได้อีกจำนวนหนึ่ง
มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 12 กำหนดให้กิจการต้องวัดมูลค่าสินทรัพย์หรือหนี้สินภาษีเงินได้ของงวดปัจจุบันและงวดก่อนตามจำนวนที่คาดว่าจะได้รับคืนหรือต้องชำระแก่หน่วยงานจัดเก็บภาษี โดยใช้อัตราภาษีสำหรับงวดที่กิจการคาดว่าจะได้รับประโยชน์จากสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัดบัญชี หรือในงวดที่กิจการคาดว่าจะชำระหนี้สินภาษีเงินได้รอตัดบัญชี โดยอัตราภาษีที่อ้างอิงเป็นอัตราภาษีที่บังคับใช้อยู่หรือที่คาดได้ค่อนข้างแน่ว่าจะมีผลบังคับใช้ภายในสิ้นรอบระยะเวลาที่รายงาน
เมื่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติปรับลดอัตราภาษีในปี 2555 และ 2556 กิจการต้องวัดมูลค่าของสินทรัพย์และหนี้สินภาษีเงินได้รอตัดบัญชีที่เปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากการปรับลดอัตราภาษี โดยรับรู้สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัดบัญชีเท่ากับจำนวนเงินที่คาดว่าเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่จะมีกำไรทางภาษีเพียงพอที่จะนำผลแตกต่างชั่วคราวนั้นมาใช้หักภาษีได้ และรับรู้จำนวนเงินที่เกิดจากการวัดมูลค่าของรายการใหม่ในกำไรขาดทุน (ดู TAS 12.60) โดยกิจการต้องประเมินจำนวนเงินผลต่างที่จะกลับรายการและก่อให้เกิดการประหยัดภาษี (หากเป็นสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัดบัญชี) หรือก่อให้เกิดการชำระภาษี (หากเป็นหนี้สินภาษีเงินได้รอตัดบัญชี) ในแต่ละปี ตามอัตราภาษีที่เกี่ยวข้อง (23% หรือ 20%)
ดังนั้นกิจการที่เลือกนำมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 12 มาใช้ก่อนกำหนด และก่อให้เกิดการรับรู้สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัดบัญชีจำนวนมาก คงต้องตระหนักแล้วว่าสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัดบัญชีที่รับรู้ไว้นั้น จะไม่ก่อให้เกิดการประหยัดภาษีในอนาคต การลดลงของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจดังกล่าวทำให้กิจการต้องรับรู้ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้จำนวนหนึ่งในกำไรขาดทุนสำหรับปีปัจจุบัน โดยปรับลดมูลค่าโดยตรงไปยังสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัดบัญชี ให้สะท้อนจำนวนเงินของผลแตกต่างชั่วคราวที่ใช้หักภาษีที่เป็นไปได้ค่อนข้างแน่ว่ากิจการจะมีกำไรทางภาษีเพียงพอที่จะนำผลแตกต่างชั่วคราวนั้นมาใช้หักภาษีได้ ส่วนกิจการที่ได้รับรู้หนี้สินภาษีเงินได้รอตัดบัญชีไว้แล้ว กิจการจะได้รับประโยชน์จากการปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่จะส่งผลให้ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ในงวดปัจจุบันลดลงจากการวัดมูลค่าของหนี้สินภาษีเงินได้รอตัดบัญชี
http://account.acc.chula.ac.th/index.ph ... tent_id=44
*สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัดบัญชี = Deferred tax asset
**หนี้สินภาษีเงินได้รอตัดบัญชี = Deferred tax liability
ตั้งใจอ่านย่อหน้าสุดท้าย เข้าใจแน่นอนครับ
เขียนโดย ผศ.ดร. วิศรุต ศรีบุญนาค (23 เมษายน 2554)
การประยุกต์มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 12 เรื่อง ภาษีเงินได้ ในสถานการณ์การปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
ตามที่สภาวิชาชีพบัญชีจัดทำร่างมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 12 เรื่อง ภาษีเงินได้ ในปี 2552 และมีมติให้ถือปฏิบัติกับงบการเงินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไปนั้น หลายบริษัทตัดสินใจเลือกนำมาตรฐานการบัญชีฉบับดังกล่าวมาถือปฏิบัติก่อนกำหนด การเลือกนำมาตรฐานการบัญชีมาใช้ก่อนกำหนดก่อให้เกิดการรับรู้สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัดบัญชีสำหรับหลายกิจการจำนวนมาก ที่ช่วยให้ภาษีเงินได้ที่ต้องรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายในกำไรขาดทุนลดลง และสำหรับบางกิจการที่มีหนี้สินภาษีเงินได้จำนวนมากที่ต้องรับรู้จะต้องรับรู้ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้สูงขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมา
เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2554 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบปรับลดอัตราการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก 30% เหลือ 23% ภายในปี 2555 และลดเหลือ 20% ในปี 2556 ตามข้อเสนอของกระทรวงการคลัง โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 เป็นต้นไป มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีข้างต้นจะมีผลทำให้สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัดบัญชีที่กิจรับรู้ไว้ด้วยจำนวนเงิน 30% ของผลต่างระหว่างมูลค่าตามบัญชีและฐานภาษีของรายการบัญชี จะก่อให้เกิดการประหยัดเงินสดเมื่อเกิดการกลับผลต่างได้เพียง 20% ถึง 23% เท่านั้น ส่วนกิจการที่รับรู้หนี้สินภาษีเงินได้รอตัดบัญชีไว้คงตระหนักถึงข่าวดีที่กิจการจะสามารถประหยัดภาษีที่จะต้องชำระในอนาคตไปได้อีกจำนวนหนึ่ง
มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 12 กำหนดให้กิจการต้องวัดมูลค่าสินทรัพย์หรือหนี้สินภาษีเงินได้ของงวดปัจจุบันและงวดก่อนตามจำนวนที่คาดว่าจะได้รับคืนหรือต้องชำระแก่หน่วยงานจัดเก็บภาษี โดยใช้อัตราภาษีสำหรับงวดที่กิจการคาดว่าจะได้รับประโยชน์จากสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัดบัญชี หรือในงวดที่กิจการคาดว่าจะชำระหนี้สินภาษีเงินได้รอตัดบัญชี โดยอัตราภาษีที่อ้างอิงเป็นอัตราภาษีที่บังคับใช้อยู่หรือที่คาดได้ค่อนข้างแน่ว่าจะมีผลบังคับใช้ภายในสิ้นรอบระยะเวลาที่รายงาน
เมื่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติปรับลดอัตราภาษีในปี 2555 และ 2556 กิจการต้องวัดมูลค่าของสินทรัพย์และหนี้สินภาษีเงินได้รอตัดบัญชีที่เปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากการปรับลดอัตราภาษี โดยรับรู้สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัดบัญชีเท่ากับจำนวนเงินที่คาดว่าเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่จะมีกำไรทางภาษีเพียงพอที่จะนำผลแตกต่างชั่วคราวนั้นมาใช้หักภาษีได้ และรับรู้จำนวนเงินที่เกิดจากการวัดมูลค่าของรายการใหม่ในกำไรขาดทุน (ดู TAS 12.60) โดยกิจการต้องประเมินจำนวนเงินผลต่างที่จะกลับรายการและก่อให้เกิดการประหยัดภาษี (หากเป็นสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัดบัญชี) หรือก่อให้เกิดการชำระภาษี (หากเป็นหนี้สินภาษีเงินได้รอตัดบัญชี) ในแต่ละปี ตามอัตราภาษีที่เกี่ยวข้อง (23% หรือ 20%)
ดังนั้นกิจการที่เลือกนำมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 12 มาใช้ก่อนกำหนด และก่อให้เกิดการรับรู้สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัดบัญชีจำนวนมาก คงต้องตระหนักแล้วว่าสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัดบัญชีที่รับรู้ไว้นั้น จะไม่ก่อให้เกิดการประหยัดภาษีในอนาคต การลดลงของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจดังกล่าวทำให้กิจการต้องรับรู้ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้จำนวนหนึ่งในกำไรขาดทุนสำหรับปีปัจจุบัน โดยปรับลดมูลค่าโดยตรงไปยังสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัดบัญชี ให้สะท้อนจำนวนเงินของผลแตกต่างชั่วคราวที่ใช้หักภาษีที่เป็นไปได้ค่อนข้างแน่ว่ากิจการจะมีกำไรทางภาษีเพียงพอที่จะนำผลแตกต่างชั่วคราวนั้นมาใช้หักภาษีได้ ส่วนกิจการที่ได้รับรู้หนี้สินภาษีเงินได้รอตัดบัญชีไว้แล้ว กิจการจะได้รับประโยชน์จากการปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่จะส่งผลให้ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ในงวดปัจจุบันลดลงจากการวัดมูลค่าของหนี้สินภาษีเงินได้รอตัดบัญชี
http://account.acc.chula.ac.th/index.ph ... tent_id=44
*สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัดบัญชี = Deferred tax asset
**หนี้สินภาษีเงินได้รอตัดบัญชี = Deferred tax liability
ตั้งใจอ่านย่อหน้าสุดท้าย เข้าใจแน่นอนครับ
- jo7393
- Verified User
- โพสต์: 2486
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4
โพสต์ที่ 53
อันนี้เข้าใจแล้วครับ ง่ายขึ้นมากครับ ขอบคุณ อ.มากครับparporn เขียน:ทำไงดีจะเข้าใจ
เอาเป็นว่า สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี เป็นสินทรัพย์ชนิดหนึ่งของบริษัท เหตุผลที่บริษัทมีสินทรัพย์รายการนี้ก็เพราะบริษัทจ่ายภาษีเยอะเกิน บริษัทเลยบันทึกมันไว้เป็นสินทรัพย์ รอวันตัดเป็นค่าใช้จ่ายเมื่อนำมาใช้
เมื่ออัตราภาษีลดลง สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี เกิดการด้อยค่า บริษัทเลยต้องตัดสินทรัพย์ไปเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน ภายใต้รายการ "ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้" (แบบเดียวกับที่บริษัทตัดค่าเสื่อมราคาหรือบันทึกการด้อยค่าของสินทรัพย์)
เอาแค่นี้ พอไหวไหมคะ
ขอบคุณ อ.อีกครั้งครับเรื่องนี้เป็นเรื่องใหม่ ยังไม่เคยเขียนบทความออกมาเลยค่ะ แต่ตอนนี้รู้สึกว่ามีแรงบันดาลใจ เดี๋ยวพอว่างแล้วจะรีบเขียน แล้วแปะให้ download กันไปอ่านค่ะ
“ถ้าราคาหุ้นแยกออกไปจากเส้นกำไร ไม่ช้าก็เร็วมันจะวิ่งกลับไปหาเส้นกำไรเสมอ”
เลือกบริษัทที่ดี ในราคาที่เหมาะสม และถือมันตราบที่มันยังเป็นกิจการที่ดีอยู่
อย่าอายที่จะถาม ไม่มีใครรู้ลึกทุก บ. ถ้าไม่รู้แล้วไม่ถามก็จะยิ่งไม่ฉลาด
เลือกบริษัทที่ดี ในราคาที่เหมาะสม และถือมันตราบที่มันยังเป็นกิจการที่ดีอยู่
อย่าอายที่จะถาม ไม่มีใครรู้ลึกทุก บ. ถ้าไม่รู้แล้วไม่ถามก็จะยิ่งไม่ฉลาด
- jo7393
- Verified User
- โพสต์: 2486
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4
โพสต์ที่ 54
สรุปตามความเข้าใจของผม คือ ในงบดุล บ.ไหนมี asset รายการ "สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี" มาก แปลว่าในงบกำไรขาดทุนจะโดนการด้อยค่า หรือพูดง่ายๆคือมี คชจ จากการด้อยค่าของ " สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี " มากขึ้น คือมี คชจ เพิ่มมากขึ้น ประมาณนี้ ^^
“ถ้าราคาหุ้นแยกออกไปจากเส้นกำไร ไม่ช้าก็เร็วมันจะวิ่งกลับไปหาเส้นกำไรเสมอ”
เลือกบริษัทที่ดี ในราคาที่เหมาะสม และถือมันตราบที่มันยังเป็นกิจการที่ดีอยู่
อย่าอายที่จะถาม ไม่มีใครรู้ลึกทุก บ. ถ้าไม่รู้แล้วไม่ถามก็จะยิ่งไม่ฉลาด
เลือกบริษัทที่ดี ในราคาที่เหมาะสม และถือมันตราบที่มันยังเป็นกิจการที่ดีอยู่
อย่าอายที่จะถาม ไม่มีใครรู้ลึกทุก บ. ถ้าไม่รู้แล้วไม่ถามก็จะยิ่งไม่ฉลาด
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4
โพสต์ที่ 55
jo7393 เขียน:สรุปตามความเข้าใจของผม คือ ในงบดุล บ.ไหนมี asset รายการ "สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี" มาก แปลว่าในงบกำไรขาดทุนจะโดนการด้อยค่า หรือพูดง่ายๆคือมี คชจ จากการด้อยค่าของ " สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี " มากขึ้น คือมี คชจ เพิ่มมากขึ้น ประมาณนี้ ^^
ก็ประมาณนั้น
แต่นั่น เรากำลังพูดถึง DTA ปีก่อนที่ตั้งไปแล้ว แล้วมูลค่าลดลง แต่เรายังไม่ได้พูดถึง DTA ตัวใหม่ที่ต้องตั้งในปีนี้ ที่อัตราภาษี 23% กับ 20%
ในภาพรวมของบางบริษัท เราจะเห็นว่า ค่าใช้จ่ายภาษีขึ้นไม่เยอะ ให้เราไปดู DTA เปรียบเทียบ 2 ปี เรามักจะเห็นว่า ในปี 2554 บริษัทบันทึก DTA เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นไปได้ เพราะแม้ DTA 53 จะด้อยค่าและตัดเข้ากำไรขาดทุน แต่ DTA 54 ก็เกิดขึ้นใหม่ (แถมเกิดมากกว่า) ทำให้ผลที่ออกมา counter effect กัน คือผลสุทธิเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับแรงดึงของแต่ละรายการ ตามสูตรนี้ค่ะ
ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ (งบกำไรขาดทุน) = ภาษีเงินได้ที่ต้องจ่ายให้กรมสรรพากรตามประมวล
+จำนวนที่ลดลงของ DTA
+จำนวนที่เพิ่มขึ้นของ DTL
-จำนวนที่เพิ่มขึ้นของ DTA
-จำนวนที่ลดลงของ DTL
สูตรนี้ใช้ได้กับรายการที่กระทบกับเงินภาษีเงินได้ที่จ่ายสรรพากรเท่านั้น และไม่รวมรายการที่เกิดจาก การตีมูลค่าสินทรัพย์เพิ่มหรือค่าความนิยม (ดังนัน เราจึงอาจไม่สามารถกระทบยอดรายการที่แสดงในงบการเงิน ตามสูตรที่ให้ได้เป๊ะๆ จนกว่าเราจะรู้ว่า DTA และ DTL ที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงนั้น กระทบบัญชีอะไรบ้าง)
อีกอย่างหนึ่ง การเพิ่มขึ้น/ลดลงของ DTA โดยยอดสุทธิแล้ว จะเกิดเพียงขาเดียว นั่นคือ ถ้าเพิ่มขึ้นก็จะไม่ลดลง ส่วน DTL ก็เหมือนกัน ดังนั้น เราอาจลดรูปสมการลงเป็น
ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ = ภาษีที่คำนวณตามประมวลรัษฎากร + การลดลงของ DTA หรือการเพิ่มขึ้นของ DTL
- การเพิ่มขึ้นของ DTA หรือการลดลงของ DTL
อ่านตามไปเรื่อย เราก็จะได้ความรู้ไปเรื่อย สักวันก็จะเข้าใจค่ะ
ขอบคุณทุกคนที่เข้ามาสวัสดี ดีใจที่มีคนแวะเข้ามาทักทาย
- Loby
- Verified User
- โพสต์: 1646
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4
โพสต์ที่ 57
ดีใจที่อาจารย์เข้ามาอยู่ในบอร์ดแห่งนี้ เพื่อเป็นที่ปรึกษาในการบัญชีและภาษี สำหรับการลงทุนในตลาดหุ้น ขอบคุณมากๆครับ ผมเองก็ติดตามหนังสือของอาจารย์เช่นกันครับ "อ่านงบการเงินให้เป็น"parporn เขียน:jo7393 เขียน:สรุปตามความเข้าใจของผม คือ ในงบดุล บ.ไหนมี asset รายการ "สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี" มาก แปลว่าในงบกำไรขาดทุนจะโดนการด้อยค่า หรือพูดง่ายๆคือมี คชจ จากการด้อยค่าของ " สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี " มากขึ้น คือมี คชจ เพิ่มมากขึ้น ประมาณนี้ ^^
ก็ประมาณนั้น
แต่นั่น เรากำลังพูดถึง DTA ปีก่อนที่ตั้งไปแล้ว แล้วมูลค่าลดลง แต่เรายังไม่ได้พูดถึง DTA ตัวใหม่ที่ต้องตั้งในปีนี้ ที่อัตราภาษี 23% กับ 20%
ในภาพรวมของบางบริษัท เราจะเห็นว่า ค่าใช้จ่ายภาษีขึ้นไม่เยอะ ให้เราไปดู DTA เปรียบเทียบ 2 ปี เรามักจะเห็นว่า ในปี 2554 บริษัทบันทึก DTA เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นไปได้ เพราะแม้ DTA 53 จะด้อยค่าและตัดเข้ากำไรขาดทุน แต่ DTA 54 ก็เกิดขึ้นใหม่ (แถมเกิดมากกว่า) ทำให้ผลที่ออกมา counter effect กัน คือผลสุทธิเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับแรงดึงของแต่ละรายการ ตามสูตรนี้ค่ะ
ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ (งบกำไรขาดทุน) = ภาษีเงินได้ที่ต้องจ่ายให้กรมสรรพากรตามประมวล
+จำนวนที่ลดลงของ DTA
+จำนวนที่เพิ่มขึ้นของ DTL
-จำนวนที่เพิ่มขึ้นของ DTA
-จำนวนที่ลดลงของ DTL
สูตรนี้ใช้ได้กับรายการที่กระทบกับเงินภาษีเงินได้ที่จ่ายสรรพากรเท่านั้น และไม่รวมรายการที่เกิดจาก การตีมูลค่าสินทรัพย์เพิ่มหรือค่าความนิยม (ดังนัน เราจึงอาจไม่สามารถกระทบยอดรายการที่แสดงในงบการเงิน ตามสูตรที่ให้ได้เป๊ะๆ จนกว่าเราจะรู้ว่า DTA และ DTL ที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงนั้น กระทบบัญชีอะไรบ้าง)
อีกอย่างหนึ่ง การเพิ่มขึ้น/ลดลงของ DTA โดยยอดสุทธิแล้ว จะเกิดเพียงขาเดียว นั่นคือ ถ้าเพิ่มขึ้นก็จะไม่ลดลง ส่วน DTL ก็เหมือนกัน ดังนั้น เราอาจลดรูปสมการลงเป็น
ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ = ภาษีที่คำนวณตามประมวลรัษฎากร + การลดลงของ DTA หรือการเพิ่มขึ้นของ DTL
- การเพิ่มขึ้นของ DTA หรือการลดลงของ DTL
อ่านตามไปเรื่อย เราก็จะได้ความรู้ไปเรื่อย สักวันก็จะเข้าใจค่ะ
ขอบคุณทุกคนที่เข้ามาสวัสดี ดีใจที่มีคนแวะเข้ามาทักทาย
คิดว่ามีประโยชน์และคุ้มค่าในทุกกาลเวลาครับ
- jo7393
- Verified User
- โพสต์: 2486
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4
โพสต์ที่ 58
ขอบคุณ อ. มากครับ
“ถ้าราคาหุ้นแยกออกไปจากเส้นกำไร ไม่ช้าก็เร็วมันจะวิ่งกลับไปหาเส้นกำไรเสมอ”
เลือกบริษัทที่ดี ในราคาที่เหมาะสม และถือมันตราบที่มันยังเป็นกิจการที่ดีอยู่
อย่าอายที่จะถาม ไม่มีใครรู้ลึกทุก บ. ถ้าไม่รู้แล้วไม่ถามก็จะยิ่งไม่ฉลาด
เลือกบริษัทที่ดี ในราคาที่เหมาะสม และถือมันตราบที่มันยังเป็นกิจการที่ดีอยู่
อย่าอายที่จะถาม ไม่มีใครรู้ลึกทุก บ. ถ้าไม่รู้แล้วไม่ถามก็จะยิ่งไม่ฉลาด
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4
โพสต์ที่ 60
มานั่งคิดดูว่าทำไมคุณถึงได้งงกัน
คิดว่าเหตุผลเป็นเพราะเรามาเริ่มเรื่องกันที่ปลายเหตุ ทำให้มองภาพไม่ออก
ลองย้อนกลับไปตอนตั้งค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้นิดหนึ่ง
สมมุติเป็นเรื่องลูกหนี้ ตามเดณฑ์คงค้าง เมื่อเกิดลูกหนี้ เราต้องตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเป็นค่าใช้จ่ายเลย (หมายถึง เราต้องประมาณว่าเราจะมีหนี้สูญเท่าไร หนี้ที่จะสูญหรือที่เรียกว่า หนี้สงสัยจะสูญ ต้องนำไปลดลูกหนี้ในงบดุล และตัดเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนทันที รอไม่ได้) การทำอย่างนั้นทำให้ลูกหนี้ของเราลดลง คือมูลค่าของลูกหนี้ตอนนี้มีน้อยกว่าที่ควรจะเป็น
มองต่อออกไปถึงกำไรขาดทุน ราจะเห็นว่า ลูกหนี้ที่ลดลงทำให้เกิดค่าใช้จ่ายหนี้สูญ ค่าใช้จ่ายมากขึ้น กำไรน้อยลง เมื่อกำไรน้อยลง ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ของเราก็น้อยลงไปด้วย
ย้ำนะคะว่าเรากำลังพูดถึงค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ ซึ่งแสดงในงบกำไรขาดทุนหลังดอกเบี้ยจ่าย เรียก "ภาษีเงินได้" ที่จริง มันคือค่าใช้จ่ายภาษีที่คิดตามวิธีการบัญชี ถ้าเราปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 12 เรื่อง ภาษีเงินได้ ซึ่งจะถึงกำหนดในปี 56
ทีนี้เราลองมาดูตัวอย่างกัน สมมุติเรามีลูกหนี้ 100 บาท บังเอิญลูกหนี้โชคร้ายไฟฟ้าดูดตายช่วงน้ำท่วม เราคิดว่าลูกหนี้จำนวนนี้คงเก็บเงินไม่ได้ทั้งจำนวน ในทางบัญชี เราจะถือว่า เรามีค่าใช้จ่ายหนี้สูญที่ต้องนำไปลบในงบกำไรขาดทุนทันที ค่าใช้จ่ายทำให้กำไรก่อนภาษีต่ำลง 100 บาท และทำให้เราประหยัดภาษีได้ 30% ของ 100 บาท คือ 30 บาท
ถึงตรงนี้ ตามทันไหมคะ
คิดว่าเหตุผลเป็นเพราะเรามาเริ่มเรื่องกันที่ปลายเหตุ ทำให้มองภาพไม่ออก
ลองย้อนกลับไปตอนตั้งค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้นิดหนึ่ง
สมมุติเป็นเรื่องลูกหนี้ ตามเดณฑ์คงค้าง เมื่อเกิดลูกหนี้ เราต้องตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเป็นค่าใช้จ่ายเลย (หมายถึง เราต้องประมาณว่าเราจะมีหนี้สูญเท่าไร หนี้ที่จะสูญหรือที่เรียกว่า หนี้สงสัยจะสูญ ต้องนำไปลดลูกหนี้ในงบดุล และตัดเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนทันที รอไม่ได้) การทำอย่างนั้นทำให้ลูกหนี้ของเราลดลง คือมูลค่าของลูกหนี้ตอนนี้มีน้อยกว่าที่ควรจะเป็น
มองต่อออกไปถึงกำไรขาดทุน ราจะเห็นว่า ลูกหนี้ที่ลดลงทำให้เกิดค่าใช้จ่ายหนี้สูญ ค่าใช้จ่ายมากขึ้น กำไรน้อยลง เมื่อกำไรน้อยลง ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ของเราก็น้อยลงไปด้วย
ย้ำนะคะว่าเรากำลังพูดถึงค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ ซึ่งแสดงในงบกำไรขาดทุนหลังดอกเบี้ยจ่าย เรียก "ภาษีเงินได้" ที่จริง มันคือค่าใช้จ่ายภาษีที่คิดตามวิธีการบัญชี ถ้าเราปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 12 เรื่อง ภาษีเงินได้ ซึ่งจะถึงกำหนดในปี 56
ทีนี้เราลองมาดูตัวอย่างกัน สมมุติเรามีลูกหนี้ 100 บาท บังเอิญลูกหนี้โชคร้ายไฟฟ้าดูดตายช่วงน้ำท่วม เราคิดว่าลูกหนี้จำนวนนี้คงเก็บเงินไม่ได้ทั้งจำนวน ในทางบัญชี เราจะถือว่า เรามีค่าใช้จ่ายหนี้สูญที่ต้องนำไปลบในงบกำไรขาดทุนทันที ค่าใช้จ่ายทำให้กำไรก่อนภาษีต่ำลง 100 บาท และทำให้เราประหยัดภาษีได้ 30% ของ 100 บาท คือ 30 บาท
ถึงตรงนี้ ตามทันไหมคะ