กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 211
[quote="deerfreedom"][quote="parporn"]แต่ในเรื่องของสัญญาเช่าระยะยาว รายได้รอรับรู้เป็นรายการที่บริษัทยังไม่ได้เงินเข้ามาจริง (เป็นการบันทึกเตือนความจำตามระบบบัญชีมากกว่ารายการจริง) ดังนั้น เมื่อแสดงในงบดุล บริษัทจึงต้องนำรายได้รอรับรู้มาหักจากลูกหนี้ แทนที่จะแสดงเป็นหนี้สิน[/quote]
1. ผมยังไม่เข้าใจประเด็นนี้นะครับ "การบันทึกเตือนความจำตามระบบบัญชี" รบกวนช่วยอธิบายเพิ่มเติมได้ไหมครับ
2. "แต่ในเรื่องของสัญญาเช่าระยะยาว รายได้รอรับรู้เป็นรายการที่บริษัทยังไม่ได้เงินเข้ามาจริง" ดังนั้น กรณีนี้ก็จะไม่ไปโผล่ใน งบกระแสเงินสดจากการดำเนินงานใช่ไหมครับ แต่จะส่งผลให้ยอดสินเชื่อรวมในงบดุลลดลง ใช่ไหมครับ[/quote]
1. สัญญาเช่าระยะยาว คือ สัญญาที่ผู้ให้เช่าส่งมอบสินทรัพย์ให้ผู้เช่าไปก่อน แล้วทยอยรับเงินทีหลังเป็นงวดๆ ดังนั้น ณ วันเริ่มสัญญาเช่า ผู้ให้เช่าจึงบันทึกลูกหนี้ไว้ทั้งจำนวน (ด้านขวาหรือเดบิต) ในขณะที่บันทึกด้านขวามือ (เครดิต) ด้วยการตัดสินทรัพย์ (หรือตั้งหนี้สิน) ด้วยจำนวนเท่ากับสินทรัพย์ที่ส่งมอบ (ซึ่งมีจำนวนน้อยกว่าลูกหนี้) จำนวนที่เขย่งกันระหว่างซ้ายกับขวา (เดบิตกับเครดิต) ทำให้บริษัทต้องบันทึกรายได้รอรับรู้ไว้ทางด้านขวามือ (เครดิต) แต่เนื่องจากเงินยังไม่ได้รับมาจริง รายได้รอรับรู้จึงมีลักษณะเป็นหนี้สินรอการตัดเป็นรายได้เมื่อรับเงิน
จะเห็นว่าการบันทึกบัญชีข้างต้น มีลักษณะเป็นการเตือนความจำเกี่ยวกับสัญญาเช่าระยะยาว โดยการตั้งลูกหนี้และเจ้าหนี้ในเวลาเดียวกัน (ภาษาบัญชีที่ถูกต้องน่าจะเรียกว่า "รายการที่ไม่ใช่เงินสด") ซึ่งทำให้งบดุลบวมขึ้นทั้ง 2 ข้าง เวลาแสดงรายการบริษัทจึงต้องนำรายได้รอรับรู้ไปลบจากลูกหนี้เพื่อไม่ให้การบันทึกบัญชีมีลักษณะเหมือนเป็นการอุปโลกสินทรัพย์และหนี้สินขึ้นมาลอยๆ อาจารย์เรียกการบันทึกบัญชีลักษณะนี้ว่า "การบันทึกบัญชีเตือนความจำ"
2. การบันทึกบัญชีสัญญาเช่าระยะยาวถือเป็น "รายการที่ไม่ใช่เงินสด" หรือ "รายการที่ไม่เป็นเงินสด" รายการเหล่านี้จะไม่ปรากฎในเนื้อในของงบกระแสเงินสด แต่จะเป็นรายการเปิดเผยข้อมูลต่อท้ายงบกระแสเงินสดค่ะ
1. ผมยังไม่เข้าใจประเด็นนี้นะครับ "การบันทึกเตือนความจำตามระบบบัญชี" รบกวนช่วยอธิบายเพิ่มเติมได้ไหมครับ
2. "แต่ในเรื่องของสัญญาเช่าระยะยาว รายได้รอรับรู้เป็นรายการที่บริษัทยังไม่ได้เงินเข้ามาจริง" ดังนั้น กรณีนี้ก็จะไม่ไปโผล่ใน งบกระแสเงินสดจากการดำเนินงานใช่ไหมครับ แต่จะส่งผลให้ยอดสินเชื่อรวมในงบดุลลดลง ใช่ไหมครับ[/quote]
1. สัญญาเช่าระยะยาว คือ สัญญาที่ผู้ให้เช่าส่งมอบสินทรัพย์ให้ผู้เช่าไปก่อน แล้วทยอยรับเงินทีหลังเป็นงวดๆ ดังนั้น ณ วันเริ่มสัญญาเช่า ผู้ให้เช่าจึงบันทึกลูกหนี้ไว้ทั้งจำนวน (ด้านขวาหรือเดบิต) ในขณะที่บันทึกด้านขวามือ (เครดิต) ด้วยการตัดสินทรัพย์ (หรือตั้งหนี้สิน) ด้วยจำนวนเท่ากับสินทรัพย์ที่ส่งมอบ (ซึ่งมีจำนวนน้อยกว่าลูกหนี้) จำนวนที่เขย่งกันระหว่างซ้ายกับขวา (เดบิตกับเครดิต) ทำให้บริษัทต้องบันทึกรายได้รอรับรู้ไว้ทางด้านขวามือ (เครดิต) แต่เนื่องจากเงินยังไม่ได้รับมาจริง รายได้รอรับรู้จึงมีลักษณะเป็นหนี้สินรอการตัดเป็นรายได้เมื่อรับเงิน
จะเห็นว่าการบันทึกบัญชีข้างต้น มีลักษณะเป็นการเตือนความจำเกี่ยวกับสัญญาเช่าระยะยาว โดยการตั้งลูกหนี้และเจ้าหนี้ในเวลาเดียวกัน (ภาษาบัญชีที่ถูกต้องน่าจะเรียกว่า "รายการที่ไม่ใช่เงินสด") ซึ่งทำให้งบดุลบวมขึ้นทั้ง 2 ข้าง เวลาแสดงรายการบริษัทจึงต้องนำรายได้รอรับรู้ไปลบจากลูกหนี้เพื่อไม่ให้การบันทึกบัญชีมีลักษณะเหมือนเป็นการอุปโลกสินทรัพย์และหนี้สินขึ้นมาลอยๆ อาจารย์เรียกการบันทึกบัญชีลักษณะนี้ว่า "การบันทึกบัญชีเตือนความจำ"
2. การบันทึกบัญชีสัญญาเช่าระยะยาวถือเป็น "รายการที่ไม่ใช่เงินสด" หรือ "รายการที่ไม่เป็นเงินสด" รายการเหล่านี้จะไม่ปรากฎในเนื้อในของงบกระแสเงินสด แต่จะเป็นรายการเปิดเผยข้อมูลต่อท้ายงบกระแสเงินสดค่ะ
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 212
[quote="deerfreedom"][quote="parporn"][quote="deerfreedom"]ถามหน่อยครับ
ต้นทุนโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ในงบดุลปกติอยู่ในส่วนของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน แต่ปีนี้มันย้ายมาอยู่ในสินค้าคงเหลือในสินทรัพย์หมุนเวียน
แสดงว่า โครงการอสังหาดังกล่าว เตรียมจะดอนหรือขายในปีนี้ใช่ไหม ???[/quote]
ต้นทุนโครงการพัฒนาน่าจะถือเป็นสินค้าคงเหลือซึ่งเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนมากกว่าที่จะถือเป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน แต่อาจมีต้นทุนโครงการพัฒนาบางรายการที่บริษัทเห็นว่ามีประโยชน์ระยะยาวจึงจัดไว้เป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน และเมื่อถึงเวลาที่ใกล้จะมีประโยชน์ในระยะใกล้จึงจัดประเภทใหม่กลายมาเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน แต่ไม่ใช่เหตุการณ์ที่น่าจะปกติเท่าไร การจัดเป็นสินค้าคงเหลือน่าจะปกติกว่า[/quote]
กรณีนี้เป็นไปได้ไหมครับ ที่ว่าต้นทุนโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์นี้แต่เดิมเป็น Asset ของบริษัทที่ได้ประโยชน์จากการให้เช่ามายาวนาน โดยไม่มีแนวคิดจะขายออก เช่น ศูนย์ประชุม เป็นต้น จึงจัดให้ต้นทุนโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวอยู่ในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
แต่ต่อมาทางบริษัทมีนโยบายจะขาย Asset ตัวนี้ เข้ากองทุนอสังหาริมทรัพย์ หรือเข้าระดมทุนขายผ่านตลาดหลักทรัพย์ จึงได้ย้ายต้นทุนโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์นี้มาอยู่ในสินค้าคงเหลือซึ่งเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน แทน
ไม่ทราบว่าผมเข้าใจถูกไหมครับ
ขอบคุณอาจารย์ล่วงหน้านะครับ ^^[/quote]
ต้นทุนโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ในงบดุลปกติอยู่ในส่วนของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน แต่ปีนี้มันย้ายมาอยู่ในสินค้าคงเหลือในสินทรัพย์หมุนเวียน
แสดงว่า โครงการอสังหาดังกล่าว เตรียมจะดอนหรือขายในปีนี้ใช่ไหม ???[/quote]
ต้นทุนโครงการพัฒนาน่าจะถือเป็นสินค้าคงเหลือซึ่งเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนมากกว่าที่จะถือเป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน แต่อาจมีต้นทุนโครงการพัฒนาบางรายการที่บริษัทเห็นว่ามีประโยชน์ระยะยาวจึงจัดไว้เป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน และเมื่อถึงเวลาที่ใกล้จะมีประโยชน์ในระยะใกล้จึงจัดประเภทใหม่กลายมาเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน แต่ไม่ใช่เหตุการณ์ที่น่าจะปกติเท่าไร การจัดเป็นสินค้าคงเหลือน่าจะปกติกว่า[/quote]
กรณีนี้เป็นไปได้ไหมครับ ที่ว่าต้นทุนโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์นี้แต่เดิมเป็น Asset ของบริษัทที่ได้ประโยชน์จากการให้เช่ามายาวนาน โดยไม่มีแนวคิดจะขายออก เช่น ศูนย์ประชุม เป็นต้น จึงจัดให้ต้นทุนโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวอยู่ในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
แต่ต่อมาทางบริษัทมีนโยบายจะขาย Asset ตัวนี้ เข้ากองทุนอสังหาริมทรัพย์ หรือเข้าระดมทุนขายผ่านตลาดหลักทรัพย์ จึงได้ย้ายต้นทุนโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์นี้มาอยู่ในสินค้าคงเหลือซึ่งเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน แทน
ไม่ทราบว่าผมเข้าใจถูกไหมครับ
ขอบคุณอาจารย์ล่วงหน้านะครับ ^^[/quote]
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 213
[quote="parporn"][quote="deerfreedom"][quote="parporn"][quote="deerfreedom"]ถามหน่อยครับ
ต้นทุนโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ในงบดุลปกติอยู่ในส่วนของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน แต่ปีนี้มันย้ายมาอยู่ในสินค้าคงเหลือในสินทรัพย์หมุนเวียน
แสดงว่า โครงการอสังหาดังกล่าว เตรียมจะดอนหรือขายในปีนี้ใช่ไหม ???[/quote]
ต้นทุนโครงการพัฒนาน่าจะถือเป็นสินค้าคงเหลือซึ่งเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนมากกว่าที่จะถือเป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน แต่อาจมีต้นทุนโครงการพัฒนาบางรายการที่บริษัทเห็นว่ามีประโยชน์ระยะยาวจึงจัดไว้เป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน และเมื่อถึงเวลาที่ใกล้จะมีประโยชน์ในระยะใกล้จึงจัดประเภทใหม่กลายมาเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน แต่ไม่ใช่เหตุการณ์ที่น่าจะปกติเท่าไร การจัดเป็นสินค้าคงเหลือน่าจะปกติกว่า[/quote]
กรณีนี้เป็นไปได้ไหมครับ ที่ว่าต้นทุนโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์นี้แต่เดิมเป็น Asset ของบริษัทที่ได้ประโยชน์จากการให้เช่ามายาวนาน โดยไม่มีแนวคิดจะขายออก เช่น ศูนย์ประชุม เป็นต้น จึงจัดให้ต้นทุนโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวอยู่ในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
แต่ต่อมาทางบริษัทมีนโยบายจะขาย Asset ตัวนี้ เข้ากองทุนอสังหาริมทรัพย์ หรือเข้าระดมทุนขายผ่านตลาดหลักทรัพย์ จึงได้ย้ายต้นทุนโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์นี้มาอยู่ในสินค้าคงเหลือซึ่งเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน แทน
ไม่ทราบว่าผมเข้าใจถูกไหมครับ
ขอบคุณอาจารย์ล่วงหน้านะครับ ^^[/quote][/quote]
ที่คุณพูดมาว่าต้นทุนโครงการมีไว้ให้เช่านั้น ไม่มีหลักการบัญชีอะไรรองรับค่ะ เพราะคำว่าต้นทุนโครงการฯ หมายถึงงานก่อสร้างที่ยังทำไม่เสร็จ ถ้าไม่เสร็จแล้วจะให้เช่าได้อย่างไร แต่อาจเป็นไปได้ที่แต่ก่อนตั้งใจสร้างไว้ใช้งานเอง แต่ภายหลังเปลี่ยนใจตั้งใจจะนำสินทรัพย์ที่อยู่ระหว่างก่อสร้างนั้นออกมาขาย เลยจัดประเภทใหม่ให้เป็นสินค้าคงเหลือ (ตามปกติ ต้นทุนการก่อสร้างของบริษัทอสังหาริมทรัพย์คือ สินค้าคงเหลือประเภทงานระหว่างทำของบริษัท คำว่าสินค้าคงเหลือโดยธรรมชาติคือสินทรัพย์หมุนเวียน จะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ การจัดต้นทุนโครงการไปไว้เป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน หมายความว่าบริษัทไม่ได้จัดประเภทสินทรัพย์นั้นเป็นสินค้าคงเหลือ ซึ่งก็ไม่ make sense หากสร้างไว้เพื่อขาย จะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อบริษัทสร้างสินทรัพย์ไว้เพื่อใช้งานจึงจัดประเภทไว้เป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน แต่ก็ไม่ make sense อีก เพราะถ้าสินทรัพย์มีไว้ใช้งานจริง ทำไมจึงจัดประเภทไปเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนอีก)
อาจารย์ตอบคุณไม่ได้ว่าเหตุใดบริษัทปฏิบัติอย่างนั้น ขั้นต่อไป คุณต้องพยายามอ่านหมายเหตุประกอบงบการเงิน เพราะบริษัทควรเปิดเผยไว้ว่าทำไมบริษัทจึงปฏิบัติอย่างนั้น บริษัทอาจมีเหตุผลที่ make sense ซึ่งอาจเป็นไปตามข้อสันนิษฐานที่ว่า ตอนเริ่มสร้าง ตั้งใจสร้างไว้ใช้เอง ต่อมาเปลี่ยนใจจึงจัดประเภทใหม่เพื่อนำออกขาย แต่เหตุการณ์อย่างนี้ไม่ควรเกิดบ่อยๆ ถ้าเกิดเป็นประจำก็ไม่ make sense อีกเหมือนกันค่ะ เปลี่ยนใจอะไรกันทุกปี :)
เตือนนิดนึงค่ะ... จำนวนสินค้าคงเหลือมีผลกระทบกับการวิเคราะห์งบการเงิน ตามปกติ บริษัทไม่อยากแสดงสินค้าคงเหลือมากไป เพราะทำให้ ratios ไม่สวย
ต้นทุนโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ในงบดุลปกติอยู่ในส่วนของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน แต่ปีนี้มันย้ายมาอยู่ในสินค้าคงเหลือในสินทรัพย์หมุนเวียน
แสดงว่า โครงการอสังหาดังกล่าว เตรียมจะดอนหรือขายในปีนี้ใช่ไหม ???[/quote]
ต้นทุนโครงการพัฒนาน่าจะถือเป็นสินค้าคงเหลือซึ่งเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนมากกว่าที่จะถือเป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน แต่อาจมีต้นทุนโครงการพัฒนาบางรายการที่บริษัทเห็นว่ามีประโยชน์ระยะยาวจึงจัดไว้เป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน และเมื่อถึงเวลาที่ใกล้จะมีประโยชน์ในระยะใกล้จึงจัดประเภทใหม่กลายมาเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน แต่ไม่ใช่เหตุการณ์ที่น่าจะปกติเท่าไร การจัดเป็นสินค้าคงเหลือน่าจะปกติกว่า[/quote]
กรณีนี้เป็นไปได้ไหมครับ ที่ว่าต้นทุนโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์นี้แต่เดิมเป็น Asset ของบริษัทที่ได้ประโยชน์จากการให้เช่ามายาวนาน โดยไม่มีแนวคิดจะขายออก เช่น ศูนย์ประชุม เป็นต้น จึงจัดให้ต้นทุนโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวอยู่ในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
แต่ต่อมาทางบริษัทมีนโยบายจะขาย Asset ตัวนี้ เข้ากองทุนอสังหาริมทรัพย์ หรือเข้าระดมทุนขายผ่านตลาดหลักทรัพย์ จึงได้ย้ายต้นทุนโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์นี้มาอยู่ในสินค้าคงเหลือซึ่งเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน แทน
ไม่ทราบว่าผมเข้าใจถูกไหมครับ
ขอบคุณอาจารย์ล่วงหน้านะครับ ^^[/quote][/quote]
ที่คุณพูดมาว่าต้นทุนโครงการมีไว้ให้เช่านั้น ไม่มีหลักการบัญชีอะไรรองรับค่ะ เพราะคำว่าต้นทุนโครงการฯ หมายถึงงานก่อสร้างที่ยังทำไม่เสร็จ ถ้าไม่เสร็จแล้วจะให้เช่าได้อย่างไร แต่อาจเป็นไปได้ที่แต่ก่อนตั้งใจสร้างไว้ใช้งานเอง แต่ภายหลังเปลี่ยนใจตั้งใจจะนำสินทรัพย์ที่อยู่ระหว่างก่อสร้างนั้นออกมาขาย เลยจัดประเภทใหม่ให้เป็นสินค้าคงเหลือ (ตามปกติ ต้นทุนการก่อสร้างของบริษัทอสังหาริมทรัพย์คือ สินค้าคงเหลือประเภทงานระหว่างทำของบริษัท คำว่าสินค้าคงเหลือโดยธรรมชาติคือสินทรัพย์หมุนเวียน จะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ การจัดต้นทุนโครงการไปไว้เป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน หมายความว่าบริษัทไม่ได้จัดประเภทสินทรัพย์นั้นเป็นสินค้าคงเหลือ ซึ่งก็ไม่ make sense หากสร้างไว้เพื่อขาย จะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อบริษัทสร้างสินทรัพย์ไว้เพื่อใช้งานจึงจัดประเภทไว้เป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน แต่ก็ไม่ make sense อีก เพราะถ้าสินทรัพย์มีไว้ใช้งานจริง ทำไมจึงจัดประเภทไปเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนอีก)
อาจารย์ตอบคุณไม่ได้ว่าเหตุใดบริษัทปฏิบัติอย่างนั้น ขั้นต่อไป คุณต้องพยายามอ่านหมายเหตุประกอบงบการเงิน เพราะบริษัทควรเปิดเผยไว้ว่าทำไมบริษัทจึงปฏิบัติอย่างนั้น บริษัทอาจมีเหตุผลที่ make sense ซึ่งอาจเป็นไปตามข้อสันนิษฐานที่ว่า ตอนเริ่มสร้าง ตั้งใจสร้างไว้ใช้เอง ต่อมาเปลี่ยนใจจึงจัดประเภทใหม่เพื่อนำออกขาย แต่เหตุการณ์อย่างนี้ไม่ควรเกิดบ่อยๆ ถ้าเกิดเป็นประจำก็ไม่ make sense อีกเหมือนกันค่ะ เปลี่ยนใจอะไรกันทุกปี :)
เตือนนิดนึงค่ะ... จำนวนสินค้าคงเหลือมีผลกระทบกับการวิเคราะห์งบการเงิน ตามปกติ บริษัทไม่อยากแสดงสินค้าคงเหลือมากไป เพราะทำให้ ratios ไม่สวย
-
- Verified User
- โพสต์: 95
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 214
[quote="parporn"][quote="parporn"][quote="deerfreedom"][quote="parporn"][quote="deerfreedom"]ถามหน่อยครับ
ต้นทุนโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ในงบดุลปกติอยู่ในส่วนของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน แต่ปีนี้มันย้ายมาอยู่ในสินค้าคงเหลือในสินทรัพย์หมุนเวียน
แสดงว่า โครงการอสังหาดังกล่าว เตรียมจะดอนหรือขายในปีนี้ใช่ไหม ???[/quote]
ต้นทุนโครงการพัฒนาน่าจะถือเป็นสินค้าคงเหลือซึ่งเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนมากกว่าที่จะถือเป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน แต่อาจมีต้นทุนโครงการพัฒนาบางรายการที่บริษัทเห็นว่ามีประโยชน์ระยะยาวจึงจัดไว้เป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน และเมื่อถึงเวลาที่ใกล้จะมีประโยชน์ในระยะใกล้จึงจัดประเภทใหม่กลายมาเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน แต่ไม่ใช่เหตุการณ์ที่น่าจะปกติเท่าไร การจัดเป็นสินค้าคงเหลือน่าจะปกติกว่า[/quote]
กรณีนี้เป็นไปได้ไหมครับ ที่ว่าต้นทุนโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์นี้แต่เดิมเป็น Asset ของบริษัทที่ได้ประโยชน์จากการให้เช่ามายาวนาน โดยไม่มีแนวคิดจะขายออก เช่น ศูนย์ประชุม เป็นต้น จึงจัดให้ต้นทุนโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวอยู่ในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
แต่ต่อมาทางบริษัทมีนโยบายจะขาย Asset ตัวนี้ เข้ากองทุนอสังหาริมทรัพย์ หรือเข้าระดมทุนขายผ่านตลาดหลักทรัพย์ จึงได้ย้ายต้นทุนโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์นี้มาอยู่ในสินค้าคงเหลือซึ่งเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน แทน
ไม่ทราบว่าผมเข้าใจถูกไหมครับ
ขอบคุณอาจารย์ล่วงหน้านะครับ ^^[/quote][/quote]
ที่คุณพูดมาว่าต้นทุนโครงการมีไว้ให้เช่านั้น ไม่มีหลักการบัญชีอะไรรองรับค่ะ เพราะคำว่าต้นทุนโครงการฯ หมายถึงงานก่อสร้างที่ยังทำไม่เสร็จ ถ้าไม่เสร็จแล้วจะให้เช่าได้อย่างไร แต่อาจเป็นไปได้ที่แต่ก่อนตั้งใจสร้างไว้ใช้งานเอง แต่ภายหลังเปลี่ยนใจตั้งใจจะนำสินทรัพย์ที่อยู่ระหว่างก่อสร้างนั้นออกมาขาย เลยจัดประเภทใหม่ให้เป็นสินค้าคงเหลือ (ตามปกติ ต้นทุนการก่อสร้างของบริษัทอสังหาริมทรัพย์คือ สินค้าคงเหลือประเภทงานระหว่างทำของบริษัท คำว่าสินค้าคงเหลือโดยธรรมชาติคือสินทรัพย์หมุนเวียน จะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ การจัดต้นทุนโครงการไปไว้เป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน หมายความว่าบริษัทไม่ได้จัดประเภทสินทรัพย์นั้นเป็นสินค้าคงเหลือ ซึ่งก็ไม่ make sense หากสร้างไว้เพื่อขาย จะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อบริษัทสร้างสินทรัพย์ไว้เพื่อใช้งานจึงจัดประเภทไว้เป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน แต่ก็ไม่ make sense อีก เพราะถ้าสินทรัพย์มีไว้ใช้งานจริง ทำไมจึงจัดประเภทไปเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนอีก)
อาจารย์ตอบคุณไม่ได้ว่าเหตุใดบริษัทปฏิบัติอย่างนั้น ขั้นต่อไป คุณต้องพยายามอ่านหมายเหตุประกอบงบการเงิน เพราะบริษัทควรเปิดเผยไว้ว่าทำไมบริษัทจึงปฏิบัติอย่างนั้น บริษัทอาจมีเหตุผลที่ make sense ซึ่งอาจเป็นไปตามข้อสันนิษฐานที่ว่า ตอนเริ่มสร้าง ตั้งใจสร้างไว้ใช้เอง ต่อมาเปลี่ยนใจจึงจัดประเภทใหม่เพื่อนำออกขาย แต่เหตุการณ์อย่างนี้ไม่ควรเกิดบ่อยๆ ถ้าเกิดเป็นประจำก็ไม่ make sense อีกเหมือนกันค่ะ เปลี่ยนใจอะไรกันทุกปี :)
เตือนนิดนึงค่ะ... จำนวนสินค้าคงเหลือมีผลกระทบกับการวิเคราะห์งบการเงิน ตามปกติ บริษัทไม่อยากแสดงสินค้าคงเหลือมากไป เพราะทำให้ ratios ไม่สวย[/quote]
*********************************************
ขอบคุณมากครับ หลังจากไปแกะงบมาเพิ่ม พอจะรู้แล้วว่าสินทรัพย์นั้น คือ ที่ดิน
เดิมทีบริษัทมีแผนจะพัฒนาที่ดินแปลงดังกล่าว ต่อมาเจอวิกฤติปี 40 ทำให้ โครงการล้มไปจนทุกวันนี้ นั่นอาจเป็นเหตุให้ถูกจัดอยู่ในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
ปัจจุบัน บริษัทมีแผนจะขายที่ดินแปลงนี้ในเร็วๆ นี้ จึงย้ายไปอยู่สินค้าคงเหลือ
แบบนี้ Make sense ไหมครับ ^^
ต้นทุนโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ในงบดุลปกติอยู่ในส่วนของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน แต่ปีนี้มันย้ายมาอยู่ในสินค้าคงเหลือในสินทรัพย์หมุนเวียน
แสดงว่า โครงการอสังหาดังกล่าว เตรียมจะดอนหรือขายในปีนี้ใช่ไหม ???[/quote]
ต้นทุนโครงการพัฒนาน่าจะถือเป็นสินค้าคงเหลือซึ่งเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนมากกว่าที่จะถือเป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน แต่อาจมีต้นทุนโครงการพัฒนาบางรายการที่บริษัทเห็นว่ามีประโยชน์ระยะยาวจึงจัดไว้เป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน และเมื่อถึงเวลาที่ใกล้จะมีประโยชน์ในระยะใกล้จึงจัดประเภทใหม่กลายมาเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน แต่ไม่ใช่เหตุการณ์ที่น่าจะปกติเท่าไร การจัดเป็นสินค้าคงเหลือน่าจะปกติกว่า[/quote]
กรณีนี้เป็นไปได้ไหมครับ ที่ว่าต้นทุนโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์นี้แต่เดิมเป็น Asset ของบริษัทที่ได้ประโยชน์จากการให้เช่ามายาวนาน โดยไม่มีแนวคิดจะขายออก เช่น ศูนย์ประชุม เป็นต้น จึงจัดให้ต้นทุนโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวอยู่ในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
แต่ต่อมาทางบริษัทมีนโยบายจะขาย Asset ตัวนี้ เข้ากองทุนอสังหาริมทรัพย์ หรือเข้าระดมทุนขายผ่านตลาดหลักทรัพย์ จึงได้ย้ายต้นทุนโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์นี้มาอยู่ในสินค้าคงเหลือซึ่งเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน แทน
ไม่ทราบว่าผมเข้าใจถูกไหมครับ
ขอบคุณอาจารย์ล่วงหน้านะครับ ^^[/quote][/quote]
ที่คุณพูดมาว่าต้นทุนโครงการมีไว้ให้เช่านั้น ไม่มีหลักการบัญชีอะไรรองรับค่ะ เพราะคำว่าต้นทุนโครงการฯ หมายถึงงานก่อสร้างที่ยังทำไม่เสร็จ ถ้าไม่เสร็จแล้วจะให้เช่าได้อย่างไร แต่อาจเป็นไปได้ที่แต่ก่อนตั้งใจสร้างไว้ใช้งานเอง แต่ภายหลังเปลี่ยนใจตั้งใจจะนำสินทรัพย์ที่อยู่ระหว่างก่อสร้างนั้นออกมาขาย เลยจัดประเภทใหม่ให้เป็นสินค้าคงเหลือ (ตามปกติ ต้นทุนการก่อสร้างของบริษัทอสังหาริมทรัพย์คือ สินค้าคงเหลือประเภทงานระหว่างทำของบริษัท คำว่าสินค้าคงเหลือโดยธรรมชาติคือสินทรัพย์หมุนเวียน จะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ การจัดต้นทุนโครงการไปไว้เป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน หมายความว่าบริษัทไม่ได้จัดประเภทสินทรัพย์นั้นเป็นสินค้าคงเหลือ ซึ่งก็ไม่ make sense หากสร้างไว้เพื่อขาย จะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อบริษัทสร้างสินทรัพย์ไว้เพื่อใช้งานจึงจัดประเภทไว้เป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน แต่ก็ไม่ make sense อีก เพราะถ้าสินทรัพย์มีไว้ใช้งานจริง ทำไมจึงจัดประเภทไปเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนอีก)
อาจารย์ตอบคุณไม่ได้ว่าเหตุใดบริษัทปฏิบัติอย่างนั้น ขั้นต่อไป คุณต้องพยายามอ่านหมายเหตุประกอบงบการเงิน เพราะบริษัทควรเปิดเผยไว้ว่าทำไมบริษัทจึงปฏิบัติอย่างนั้น บริษัทอาจมีเหตุผลที่ make sense ซึ่งอาจเป็นไปตามข้อสันนิษฐานที่ว่า ตอนเริ่มสร้าง ตั้งใจสร้างไว้ใช้เอง ต่อมาเปลี่ยนใจจึงจัดประเภทใหม่เพื่อนำออกขาย แต่เหตุการณ์อย่างนี้ไม่ควรเกิดบ่อยๆ ถ้าเกิดเป็นประจำก็ไม่ make sense อีกเหมือนกันค่ะ เปลี่ยนใจอะไรกันทุกปี :)
เตือนนิดนึงค่ะ... จำนวนสินค้าคงเหลือมีผลกระทบกับการวิเคราะห์งบการเงิน ตามปกติ บริษัทไม่อยากแสดงสินค้าคงเหลือมากไป เพราะทำให้ ratios ไม่สวย[/quote]
*********************************************
ขอบคุณมากครับ หลังจากไปแกะงบมาเพิ่ม พอจะรู้แล้วว่าสินทรัพย์นั้น คือ ที่ดิน
เดิมทีบริษัทมีแผนจะพัฒนาที่ดินแปลงดังกล่าว ต่อมาเจอวิกฤติปี 40 ทำให้ โครงการล้มไปจนทุกวันนี้ นั่นอาจเป็นเหตุให้ถูกจัดอยู่ในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
ปัจจุบัน บริษัทมีแผนจะขายที่ดินแปลงนี้ในเร็วๆ นี้ จึงย้ายไปอยู่สินค้าคงเหลือ
แบบนี้ Make sense ไหมครับ ^^
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 215
ขอบคุณมากครับ หลังจากไปแกะงบมาเพิ่ม พอจะรู้แล้วว่าสินทรัพย์นั้น คือ ที่ดิน
เดิมทีบริษัทมีแผนจะพัฒนาที่ดินแปลงดังกล่าว ต่อมาเจอวิกฤติปี 40 ทำให้ โครงการล้มไปจนทุกวันนี้ นั่นอาจเป็นเหตุให้ถูกจัดอยู่ในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
ปัจจุบัน บริษัทมีแผนจะขายที่ดินแปลงนี้ในเร็วๆ นี้ จึงย้ายไปอยู่สินค้าคงเหลือ
ไม่ค่อย make sense ถ้าเป็นที่ดินอย่างเดียว เพราะชื่อบัญชีควรเป็นอย่างอื่นที่ไม่ใช่ "ต้นทุน..." เพราะปกติบัญชีที่ขึ้นว่า "ต้นทุน.." ต้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับการก่อสร้างค่ะ
เดิมทีบริษัทมีแผนจะพัฒนาที่ดินแปลงดังกล่าว ต่อมาเจอวิกฤติปี 40 ทำให้ โครงการล้มไปจนทุกวันนี้ นั่นอาจเป็นเหตุให้ถูกจัดอยู่ในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
ปัจจุบัน บริษัทมีแผนจะขายที่ดินแปลงนี้ในเร็วๆ นี้ จึงย้ายไปอยู่สินค้าคงเหลือ
ไม่ค่อย make sense ถ้าเป็นที่ดินอย่างเดียว เพราะชื่อบัญชีควรเป็นอย่างอื่นที่ไม่ใช่ "ต้นทุน..." เพราะปกติบัญชีที่ขึ้นว่า "ต้นทุน.." ต้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับการก่อสร้างค่ะ
-
- Verified User
- โพสต์: 95
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 216
ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณอาจารย์ Parpon ก่อนนะครับ ที่ตอบคำถามผมเยอะมาก
**********************************************
งั้นผมขอ ยกงบจริงมาเลยแล้วกันนะครับ
ในรายงาน 56-1 ในส่วนของทรัพย์สินที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ แบ่งได้เป็น 4 ส่วนที่สำคัญ คือ
1. ที่ดินที่ใช้ในการลงทุน หรือ เงินลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (Investment Property) หมายความถึงสินทรัพย์ที่บริษัทฯมีไว้สำหรับการพัฒนาโครงการที่สามารถสร้างรายได้ให้กับบริษัทฯสำหรับระยะยาว ดังนั้นบริษัทฯ จะไม่จัดสรรสินทรัพย์ในส่วนนี้สำหรับการขาย
2. สินทรัพย์ที่ใช้ในการพัฒนาโครงการเพื่อขาย (Development Property or Land Bank )
3. สินทรัพย์ถาวร (Fixed Assets) ได้แก่ ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
4. ที่ดินเพื่อใช้ในอนาคต (Land held for future use)
ซึ่งในงบดุลได้มีการโยกย้ายสินทรัพย์ประเภท ต้นทุนในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ มาอยู่ในสินค้าคงเหลือ
ซึ่งอาจารย์บอกว่ามันไม่ make sense ก็อย่างที่บอกครับว่า บริษัทนี้โซเซไปหลายปีจากวิกฤตปี 40 ทำให้งบอาจดูแปลกๆ
และที่ผมสงสัยว่า สินทรัพย์ดังกล่าวเป็นที่ดินแปลงที่ High light สีเหลืองไว้
เพราะช่วงนี้บริษัทนี้มีข่าวจะนำที่ดินแปลงดังกล่าวออกขาย และที่ดินแปลงนี้ถูกจัดในกลุ่มสินทรัพย์ที่ใช้ในการพัฒนาโครงการเพื่อขาย
แบบนี้มีความเป็นไปได้ไหมครับ ถึงมันอาจจะลงงบดูแปลกๆๆ
**********************************************
งั้นผมขอ ยกงบจริงมาเลยแล้วกันนะครับ
ในรายงาน 56-1 ในส่วนของทรัพย์สินที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ แบ่งได้เป็น 4 ส่วนที่สำคัญ คือ
1. ที่ดินที่ใช้ในการลงทุน หรือ เงินลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (Investment Property) หมายความถึงสินทรัพย์ที่บริษัทฯมีไว้สำหรับการพัฒนาโครงการที่สามารถสร้างรายได้ให้กับบริษัทฯสำหรับระยะยาว ดังนั้นบริษัทฯ จะไม่จัดสรรสินทรัพย์ในส่วนนี้สำหรับการขาย
2. สินทรัพย์ที่ใช้ในการพัฒนาโครงการเพื่อขาย (Development Property or Land Bank )
3. สินทรัพย์ถาวร (Fixed Assets) ได้แก่ ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
4. ที่ดินเพื่อใช้ในอนาคต (Land held for future use)
ซึ่งในงบดุลได้มีการโยกย้ายสินทรัพย์ประเภท ต้นทุนในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ มาอยู่ในสินค้าคงเหลือ
ซึ่งอาจารย์บอกว่ามันไม่ make sense ก็อย่างที่บอกครับว่า บริษัทนี้โซเซไปหลายปีจากวิกฤตปี 40 ทำให้งบอาจดูแปลกๆ
และที่ผมสงสัยว่า สินทรัพย์ดังกล่าวเป็นที่ดินแปลงที่ High light สีเหลืองไว้
เพราะช่วงนี้บริษัทนี้มีข่าวจะนำที่ดินแปลงดังกล่าวออกขาย และที่ดินแปลงนี้ถูกจัดในกลุ่มสินทรัพย์ที่ใช้ในการพัฒนาโครงการเพื่อขาย
แบบนี้มีความเป็นไปได้ไหมครับ ถึงมันอาจจะลงงบดูแปลกๆๆ
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 217
การบัญชีในลักษณะนี้ ไม่เป็นไปตามหลักการทั่วไปของนักบัญชีค่ะ ดูอย่างไรก็ขัดกันไปหมด แต่ที่บริษัททำอย่างที่คุณบอก ก็เป็นไปได้ที่บริษัทมีเหตุผลพิเศษ หรืออ้างเหตุเพื่อให้งบการเงินสวยเกินจริง (อาจารย์ตอบเลี่ยงอยู่นานเพราะไม่อยากใช้คำนี้ ไม่อยากกล่าวหาใคร) คืออย่างนี้ค่ะ...
โดยหลักการแล้ว ต้นทุนโครงการควรเป็นสินค้าคงเหลือในสินทรัพย์หมุนเวียน ไม่ใช่แสดงในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (ซึ่งน่าจะเข้าข่ายเป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่เรียกว่า "สินทรัพย์รอการขาย") ถ้าให้เดานะคะ... เมื่อบริษัทประสบปัญหา บริษัทก็จัดประเภทต้นทุนโครงการเสียใหม่ เป็นสินทรัพย์รอการขาย โดยย้ายจากสินทรัพย์หมุนเวียนไปเป็นไม่หมุนเวียน ซึ่งมีการตีมูลค่าไม่ต่างสินค้าคงเหลือ คือไม่มีการคิดค่าเสื่อมราคา แต่ต้องวัดมูลค่าด้วยราคาขายหักต้นทุนในการจำหน่าย ข้อแตกต่างระหว่างการจัดประเภทต้นทุนโครงการเป็นสินค้าคงเหลือหรือสินทรัพย์รอการขายต่างกันที่การจัดประเภทรายการ (ซึ่งมีผลต่อการวิเคราะห์งบการเงิน) การบันทึกรายได้ (ซึ่งมีผลต่อยอดขาย และการวิเคราะห์งบการเงิน) และการบันทึกต้นทุนขาย (ซึ่งมีผลต่อการวิเคราะห์งบการเงิน)
ถ้าสินทรัพย์ที่มีอยู่เป็นสินค้าคงเหลือ เมื่อบริษัทขายสินทรัพย์ บริษัทจะ
เดบิต ลูกหนี้หรือเงินสด
เครดิต รายได้จากการขาย (เข้างบกำไรขาดทุนไปเพิ่มยอดขาย)
และ
เดบิต ต้นทุนขาย (เพิ่มค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน)
เครดิต สินค้าคงเหลือ (ลดสินทรัพย์)
แต่ถ้าสินทรัพย์นั้นจัดประเภทเป็นสินทรัพย์รอการขาย เมื่อบริษัทขายสินทรัพย์ บริษัทจะ
เดบิต ลูกหนี้หรือเงินสด
เครดิต สินทรัพย์รอการขาย (ลดสินทรัพย์โดยตรง ไม่บันทึกอ้อมไปเป็นรายได้)
และเดบิต ขาดทุนจากการขาย หรือเครดิต กำไรจากการขาย (เข้างบกำไรขาดทุนเฉพาะส่วนต่าง ไม่มีผลต่อรายได้จากการขายในงบกำไรขาดทุน)
สังเกตนะคะว่า ถ้าบริษัทจัดประเภทสินทรัพย์นั้นเป็นสินทรัพย์รอการขาย นั่นหมายความว่า รายการนี้เป็น one-time gain /loss ไม่ใช่การขายสินค้าคงเหลือตามปกติธุรกิจ การวิเคราะห์งบการเงินระหว่างรายได้ 2 ประเภทนี้ ให้อารมณ์ที่ต่างกันมาก รายได้จากการขายถือเป็นปกติธุรกิจและเป็นเรื่องดี ยิ่งมากยิ่งดี แต่กำไรจากการขายสินทรัพย์รอการขายเป็นรายการที่ไม่เกิดตามปกติ เวลาวิเคราะห์ บางครั้งเราจะตัดกำไรจาก one-time gain ออก เพื่อ normalize earnings ดังนั้น การจัดประเภทรายการจึงมีผลต่อการวิเคราะห์มาก
นั่นไม่รวมถึงการวิเคราะห์ efficiency ratios ต่างๆ เช่น การหมุนของสินค้าคงเหลือ ซึ่งยอดสินค้าคงเหลือยิ่งมากยิ่งไม่ดี (ดังนั้น เวลาที่ขายสินทรัพย์ไม่ได้ บริษัทจึงไม่อยากนำสินทรัพย์ไปแสดงเป็นสินค้าคงเหลือ แต่นำไปจัดประเภทเป็นสินทรัพย์รอการขาย แต่เวลาที่ขายได้ บริษัทชอบที่จะจัดประเภทสินทรัพย์นั้นเป็นสินค้าคงเหลือเพื่อเพิ่มรายได้จากการขาย)
ตอบแค่นี้พอได้อารมณ์ไหมคะ ผลกระทบต่อการวิเคราะห์งบการเงิน ถ้าจะแจงให้ละเอียดก็มีอีก แต่ถ้าเขียนหมดก็จะยาวมาก เอาแค่นี้นะคะ ที่เหลือคุณลองไปนั่งพิจารณาจากข้อมูลที่อาจารย์ให้คุณ :)
โดยหลักการแล้ว ต้นทุนโครงการควรเป็นสินค้าคงเหลือในสินทรัพย์หมุนเวียน ไม่ใช่แสดงในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (ซึ่งน่าจะเข้าข่ายเป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่เรียกว่า "สินทรัพย์รอการขาย") ถ้าให้เดานะคะ... เมื่อบริษัทประสบปัญหา บริษัทก็จัดประเภทต้นทุนโครงการเสียใหม่ เป็นสินทรัพย์รอการขาย โดยย้ายจากสินทรัพย์หมุนเวียนไปเป็นไม่หมุนเวียน ซึ่งมีการตีมูลค่าไม่ต่างสินค้าคงเหลือ คือไม่มีการคิดค่าเสื่อมราคา แต่ต้องวัดมูลค่าด้วยราคาขายหักต้นทุนในการจำหน่าย ข้อแตกต่างระหว่างการจัดประเภทต้นทุนโครงการเป็นสินค้าคงเหลือหรือสินทรัพย์รอการขายต่างกันที่การจัดประเภทรายการ (ซึ่งมีผลต่อการวิเคราะห์งบการเงิน) การบันทึกรายได้ (ซึ่งมีผลต่อยอดขาย และการวิเคราะห์งบการเงิน) และการบันทึกต้นทุนขาย (ซึ่งมีผลต่อการวิเคราะห์งบการเงิน)
ถ้าสินทรัพย์ที่มีอยู่เป็นสินค้าคงเหลือ เมื่อบริษัทขายสินทรัพย์ บริษัทจะ
เดบิต ลูกหนี้หรือเงินสด
เครดิต รายได้จากการขาย (เข้างบกำไรขาดทุนไปเพิ่มยอดขาย)
และ
เดบิต ต้นทุนขาย (เพิ่มค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน)
เครดิต สินค้าคงเหลือ (ลดสินทรัพย์)
แต่ถ้าสินทรัพย์นั้นจัดประเภทเป็นสินทรัพย์รอการขาย เมื่อบริษัทขายสินทรัพย์ บริษัทจะ
เดบิต ลูกหนี้หรือเงินสด
เครดิต สินทรัพย์รอการขาย (ลดสินทรัพย์โดยตรง ไม่บันทึกอ้อมไปเป็นรายได้)
และเดบิต ขาดทุนจากการขาย หรือเครดิต กำไรจากการขาย (เข้างบกำไรขาดทุนเฉพาะส่วนต่าง ไม่มีผลต่อรายได้จากการขายในงบกำไรขาดทุน)
สังเกตนะคะว่า ถ้าบริษัทจัดประเภทสินทรัพย์นั้นเป็นสินทรัพย์รอการขาย นั่นหมายความว่า รายการนี้เป็น one-time gain /loss ไม่ใช่การขายสินค้าคงเหลือตามปกติธุรกิจ การวิเคราะห์งบการเงินระหว่างรายได้ 2 ประเภทนี้ ให้อารมณ์ที่ต่างกันมาก รายได้จากการขายถือเป็นปกติธุรกิจและเป็นเรื่องดี ยิ่งมากยิ่งดี แต่กำไรจากการขายสินทรัพย์รอการขายเป็นรายการที่ไม่เกิดตามปกติ เวลาวิเคราะห์ บางครั้งเราจะตัดกำไรจาก one-time gain ออก เพื่อ normalize earnings ดังนั้น การจัดประเภทรายการจึงมีผลต่อการวิเคราะห์มาก
นั่นไม่รวมถึงการวิเคราะห์ efficiency ratios ต่างๆ เช่น การหมุนของสินค้าคงเหลือ ซึ่งยอดสินค้าคงเหลือยิ่งมากยิ่งไม่ดี (ดังนั้น เวลาที่ขายสินทรัพย์ไม่ได้ บริษัทจึงไม่อยากนำสินทรัพย์ไปแสดงเป็นสินค้าคงเหลือ แต่นำไปจัดประเภทเป็นสินทรัพย์รอการขาย แต่เวลาที่ขายได้ บริษัทชอบที่จะจัดประเภทสินทรัพย์นั้นเป็นสินค้าคงเหลือเพื่อเพิ่มรายได้จากการขาย)
ตอบแค่นี้พอได้อารมณ์ไหมคะ ผลกระทบต่อการวิเคราะห์งบการเงิน ถ้าจะแจงให้ละเอียดก็มีอีก แต่ถ้าเขียนหมดก็จะยาวมาก เอาแค่นี้นะคะ ที่เหลือคุณลองไปนั่งพิจารณาจากข้อมูลที่อาจารย์ให้คุณ :)
-
- Verified User
- โพสต์: 95
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 218
ขอบคุณอาจารย์มากๆ เลยครับ
ผมก็ว่าจะพูดแต่แรกแล้วว่า บริษัทนี้มีปัญหาธรรมาภิบาลนิดหน่อยครับ 555+
ในอดีตงบการเงินบริษัทนี้เคยถูก ‘ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต’ (ไพร้ซวอเตอร์เฮ้าส์คูเปอร์ส) ตั้งข้อสังเกตแบบมีเงื่อนไขใน 2 ประเด็น
ผมก็ว่าจะพูดแต่แรกแล้วว่า บริษัทนี้มีปัญหาธรรมาภิบาลนิดหน่อยครับ 555+
ในอดีตงบการเงินบริษัทนี้เคยถูก ‘ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต’ (ไพร้ซวอเตอร์เฮ้าส์คูเปอร์ส) ตั้งข้อสังเกตแบบมีเงื่อนไขใน 2 ประเด็น
-
- Verified User
- โพสต์: 95
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 219
ขอถามต่อนะครับ
1. สมมุติว่าบริษัทอสังหาแห่งหนึ่ง ได้ทำการปรับราคาตามบัญชีของสินทรัพย์ถาวร (Fixed Assets) ที่อยู่ในบริษัทลูกที่ถือหุ้นอยู่ 99.99% ขึ้นจากเดิม 10,000 ล้านบาท เป็น 20,000 ล้านบาท มูลค่าที่เพิ่มขึ้น 10,000 ล้านนั้น จะไปโชว์เป็นกำไร ในงบกำไรขาดทุนใช่ไหมครับ ??
2. สมมุติว่าบริษัทอสังหาแห่งหนึ่ง มีที่ดินอยู่ 2,000 ไร่ มีราคาทางบัญชีไร่ละ 10 ล้าน ต่อมาบริษัทได้แบ่งขายที่ดินแปลงดังกล่าวไป 500 ไร่ ในราคาตลาดขณะนั้น คือ 20 ล้าน
2.1 กำไรที่เกิดจากการขายที่ดิน 5,000 ล้านบาท จะไปบันทึกเป็นกำไรในงบกำไรขาดทุนใช่ไหมครับ ?
2.2 ที่ดินส่วนที่เหลืออีก 1,500 ไร่ บริษัทจำเป็นต้องปรับราคาทางบัญชีใหม่ตามราคาตลาดที่แบ่งขายไปหรือไม่ครับ ?
และถ้าใช่ กำไรที่เกิดจากการปรับราคาทางบัญชีของที่ดินก็ต้องไปบันทึกเป็นกำไรในงบกำไรขาดทุนใช่ไหมครับ ?
1. สมมุติว่าบริษัทอสังหาแห่งหนึ่ง ได้ทำการปรับราคาตามบัญชีของสินทรัพย์ถาวร (Fixed Assets) ที่อยู่ในบริษัทลูกที่ถือหุ้นอยู่ 99.99% ขึ้นจากเดิม 10,000 ล้านบาท เป็น 20,000 ล้านบาท มูลค่าที่เพิ่มขึ้น 10,000 ล้านนั้น จะไปโชว์เป็นกำไร ในงบกำไรขาดทุนใช่ไหมครับ ??
2. สมมุติว่าบริษัทอสังหาแห่งหนึ่ง มีที่ดินอยู่ 2,000 ไร่ มีราคาทางบัญชีไร่ละ 10 ล้าน ต่อมาบริษัทได้แบ่งขายที่ดินแปลงดังกล่าวไป 500 ไร่ ในราคาตลาดขณะนั้น คือ 20 ล้าน
2.1 กำไรที่เกิดจากการขายที่ดิน 5,000 ล้านบาท จะไปบันทึกเป็นกำไรในงบกำไรขาดทุนใช่ไหมครับ ?
2.2 ที่ดินส่วนที่เหลืออีก 1,500 ไร่ บริษัทจำเป็นต้องปรับราคาทางบัญชีใหม่ตามราคาตลาดที่แบ่งขายไปหรือไม่ครับ ?
และถ้าใช่ กำไรที่เกิดจากการปรับราคาทางบัญชีของที่ดินก็ต้องไปบันทึกเป็นกำไรในงบกำไรขาดทุนใช่ไหมครับ ?
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 220
[quote="deerfreedom"]ขอถามต่อนะครับ
1. สมมุติว่าบริษัทอสังหาแห่งหนึ่ง ได้ทำการปรับราคาตามบัญชีของสินทรัพย์ถาวร (Fixed Assets) ที่อยู่ในบริษัทลูกที่ถือหุ้นอยู่ 99.99% ขึ้นจากเดิม 10,000 ล้านบาท เป็น 20,000 ล้านบาท มูลค่าที่เพิ่มขึ้น 10,000 ล้านนั้น จะไปโชว์เป็นกำไร ในงบกำไรขาดทุนใช่ไหมครับ ??
2. สมมุติว่าบริษัทอสังหาแห่งหนึ่ง มีที่ดินอยู่ 2,000 ไร่ มีราคาทางบัญชีไร่ละ 10 ล้าน ต่อมาบริษัทได้แบ่งขายที่ดินแปลงดังกล่าวไป 500 ไร่ ในราคาตลาดขณะนั้น คือ 20 ล้าน
2.1 กำไรที่เกิดจากการขายที่ดิน 5,000 ล้านบาท จะไปบันทึกเป็นกำไรในงบกำไรขาดทุนใช่ไหมครับ ?
2.2 ที่ดินส่วนที่เหลืออีก 1,500 ไร่ บริษัทจำเป็นต้องปรับราคาทางบัญชีใหม่ตามราคาตลาดที่แบ่งขายไปหรือไม่ครับ ?
และถ้าใช่ กำไรที่เกิดจากการปรับราคาทางบัญชีของที่ดินก็ต้องไปบันทึกเป็นกำไรในงบกำไรขาดทุนใช่ไหมครับ ?[/quote]
1. ถ้าสินทรัพย์จัดเป็นที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ และบริษัทลูกคือบริษัทย่อย ในงบการเงินรวมกำไรจากการตีราคาสินทรัพย์เพิ่มจะแสดงในงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จโดยจัดประเภทเป็นกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น (แสดงต่อจากกำไรสุทธิจากการดำเนินงาน)
2. ถ้าที่ดินจัดเป็นที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
2.1 กำไรจากการขายที่ดินจัดเป็นกำไรจากการดำเนินงาน (กำไรขาดทุนท่อนบน)
2.2 บริษัทไม่จำเป็นต้องตีราคาที่ดินที่เหลืออยู่ หากบริษัทเลือกใช้วิธีราคาทุนเดิม
ทั้งนี้ คำตอบอาจเปลี่ยนแปลงไปหากสินทรัพย์นั้นไม่ได้จัดประเภทเป็นที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
1. สมมุติว่าบริษัทอสังหาแห่งหนึ่ง ได้ทำการปรับราคาตามบัญชีของสินทรัพย์ถาวร (Fixed Assets) ที่อยู่ในบริษัทลูกที่ถือหุ้นอยู่ 99.99% ขึ้นจากเดิม 10,000 ล้านบาท เป็น 20,000 ล้านบาท มูลค่าที่เพิ่มขึ้น 10,000 ล้านนั้น จะไปโชว์เป็นกำไร ในงบกำไรขาดทุนใช่ไหมครับ ??
2. สมมุติว่าบริษัทอสังหาแห่งหนึ่ง มีที่ดินอยู่ 2,000 ไร่ มีราคาทางบัญชีไร่ละ 10 ล้าน ต่อมาบริษัทได้แบ่งขายที่ดินแปลงดังกล่าวไป 500 ไร่ ในราคาตลาดขณะนั้น คือ 20 ล้าน
2.1 กำไรที่เกิดจากการขายที่ดิน 5,000 ล้านบาท จะไปบันทึกเป็นกำไรในงบกำไรขาดทุนใช่ไหมครับ ?
2.2 ที่ดินส่วนที่เหลืออีก 1,500 ไร่ บริษัทจำเป็นต้องปรับราคาทางบัญชีใหม่ตามราคาตลาดที่แบ่งขายไปหรือไม่ครับ ?
และถ้าใช่ กำไรที่เกิดจากการปรับราคาทางบัญชีของที่ดินก็ต้องไปบันทึกเป็นกำไรในงบกำไรขาดทุนใช่ไหมครับ ?[/quote]
1. ถ้าสินทรัพย์จัดเป็นที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ และบริษัทลูกคือบริษัทย่อย ในงบการเงินรวมกำไรจากการตีราคาสินทรัพย์เพิ่มจะแสดงในงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จโดยจัดประเภทเป็นกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น (แสดงต่อจากกำไรสุทธิจากการดำเนินงาน)
2. ถ้าที่ดินจัดเป็นที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
2.1 กำไรจากการขายที่ดินจัดเป็นกำไรจากการดำเนินงาน (กำไรขาดทุนท่อนบน)
2.2 บริษัทไม่จำเป็นต้องตีราคาที่ดินที่เหลืออยู่ หากบริษัทเลือกใช้วิธีราคาทุนเดิม
ทั้งนี้ คำตอบอาจเปลี่ยนแปลงไปหากสินทรัพย์นั้นไม่ได้จัดประเภทเป็นที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
-
- Verified User
- โพสต์: 95
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 221
[quote="parporn"][quote="deerfreedom"]ขอถามต่อนะครับ
1. สมมุติว่าบริษัทอสังหาแห่งหนึ่ง ได้ทำการปรับราคาตามบัญชีของสินทรัพย์ถาวร (Fixed Assets) ที่อยู่ในบริษัทลูกที่ถือหุ้นอยู่ 99.99% ขึ้นจากเดิม 10,000 ล้านบาท เป็น 20,000 ล้านบาท มูลค่าที่เพิ่มขึ้น 10,000 ล้านนั้น จะไปโชว์เป็นกำไร ในงบกำไรขาดทุนใช่ไหมครับ ??
2. สมมุติว่าบริษัทอสังหาแห่งหนึ่ง มีที่ดินอยู่ 2,000 ไร่ มีราคาทางบัญชีไร่ละ 10 ล้าน ต่อมาบริษัทได้แบ่งขายที่ดินแปลงดังกล่าวไป 500 ไร่ ในราคาตลาดขณะนั้น คือ 20 ล้าน
2.1 กำไรที่เกิดจากการขายที่ดิน 5,000 ล้านบาท จะไปบันทึกเป็นกำไรในงบกำไรขาดทุนใช่ไหมครับ ?
2.2 ที่ดินส่วนที่เหลืออีก 1,500 ไร่ บริษัทจำเป็นต้องปรับราคาทางบัญชีใหม่ตามราคาตลาดที่แบ่งขายไปหรือไม่ครับ ?
และถ้าใช่ กำไรที่เกิดจากการปรับราคาทางบัญชีของที่ดินก็ต้องไปบันทึกเป็นกำไรในงบกำไรขาดทุนใช่ไหมครับ ?[/quote]
1. ถ้าสินทรัพย์จัดเป็นที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ และบริษัทลูกคือบริษัทย่อย ในงบการเงินรวมกำไรจากการตีราคาสินทรัพย์เพิ่มจะแสดงในงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จโดยจัดประเภทเป็นกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น (แสดงต่อจากกำไรสุทธิจากการดำเนินงาน)
2. ถ้าที่ดินจัดเป็นที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
2.1 กำไรจากการขายที่ดินจัดเป็นกำไรจากการดำเนินงาน (กำไรขาดทุนท่อนบน)
2.2 บริษัทไม่จำเป็นต้องตีราคาที่ดินที่เหลืออยู่ หากบริษัทเลือกใช้วิธีราคาทุนเดิม
ทั้งนี้ คำตอบอาจเปลี่ยนแปลงไปหากสินทรัพย์นั้นไม่ได้จัดประเภทเป็นที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์[/quote]
************************************
ขอบคุณมากครับ
1. สมมุติว่าบริษัทอสังหาแห่งหนึ่ง ได้ทำการปรับราคาตามบัญชีของสินทรัพย์ถาวร (Fixed Assets) ที่อยู่ในบริษัทลูกที่ถือหุ้นอยู่ 99.99% ขึ้นจากเดิม 10,000 ล้านบาท เป็น 20,000 ล้านบาท มูลค่าที่เพิ่มขึ้น 10,000 ล้านนั้น จะไปโชว์เป็นกำไร ในงบกำไรขาดทุนใช่ไหมครับ ??
2. สมมุติว่าบริษัทอสังหาแห่งหนึ่ง มีที่ดินอยู่ 2,000 ไร่ มีราคาทางบัญชีไร่ละ 10 ล้าน ต่อมาบริษัทได้แบ่งขายที่ดินแปลงดังกล่าวไป 500 ไร่ ในราคาตลาดขณะนั้น คือ 20 ล้าน
2.1 กำไรที่เกิดจากการขายที่ดิน 5,000 ล้านบาท จะไปบันทึกเป็นกำไรในงบกำไรขาดทุนใช่ไหมครับ ?
2.2 ที่ดินส่วนที่เหลืออีก 1,500 ไร่ บริษัทจำเป็นต้องปรับราคาทางบัญชีใหม่ตามราคาตลาดที่แบ่งขายไปหรือไม่ครับ ?
และถ้าใช่ กำไรที่เกิดจากการปรับราคาทางบัญชีของที่ดินก็ต้องไปบันทึกเป็นกำไรในงบกำไรขาดทุนใช่ไหมครับ ?[/quote]
1. ถ้าสินทรัพย์จัดเป็นที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ และบริษัทลูกคือบริษัทย่อย ในงบการเงินรวมกำไรจากการตีราคาสินทรัพย์เพิ่มจะแสดงในงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จโดยจัดประเภทเป็นกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น (แสดงต่อจากกำไรสุทธิจากการดำเนินงาน)
2. ถ้าที่ดินจัดเป็นที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
2.1 กำไรจากการขายที่ดินจัดเป็นกำไรจากการดำเนินงาน (กำไรขาดทุนท่อนบน)
2.2 บริษัทไม่จำเป็นต้องตีราคาที่ดินที่เหลืออยู่ หากบริษัทเลือกใช้วิธีราคาทุนเดิม
ทั้งนี้ คำตอบอาจเปลี่ยนแปลงไปหากสินทรัพย์นั้นไม่ได้จัดประเภทเป็นที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์[/quote]
************************************
ขอบคุณมากครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 95
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 222
มีคำถามมาถาม อ.ภาพร อีกแล้วครับ (ถามบ่อยๆ หวังว่าจะเชี่ยวชาญกะเข้าบ้างครับ 555+)
บ.ที่ทำรับเหมาก่อสร้างพวกอาคาร คอนโด นั้น ปกติเขามีการรับรู้รายได้อย่างไรครับ
รับรู้ตอนสร้างเสร็จแล้วส่งมอบงาน หรือรับรู้รายได้เป็นงวดๆ ขณะการก่อสร้างกำลังดำเนินไปตามแผน
ขอบคุณล่วงหน้าครับ
บ.ที่ทำรับเหมาก่อสร้างพวกอาคาร คอนโด นั้น ปกติเขามีการรับรู้รายได้อย่างไรครับ
รับรู้ตอนสร้างเสร็จแล้วส่งมอบงาน หรือรับรู้รายได้เป็นงวดๆ ขณะการก่อสร้างกำลังดำเนินไปตามแผน
ขอบคุณล่วงหน้าครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 223
[quote="deerfreedom"]มีคำถามมาถาม อ.ภาพร อีกแล้วครับ (ถามบ่อยๆ หวังว่าจะเชี่ยวชาญกะเข้าบ้างครับ 555+)
บ.ที่ทำรับเหมาก่อสร้างพวกอาคาร คอนโด นั้น ปกติเขามีการรับรู้รายได้อย่างไรครับ
รับรู้ตอนสร้างเสร็จแล้วส่งมอบงาน หรือรับรู้รายได้เป็นงวดๆ ขณะการก่อสร้างกำลังดำเนินไปตามแผน
ขอบคุณล่วงหน้าครับ[/quote]
ตั้งแต่ปี 54 เป็นต้นมา บริษัทต้องรับรู้อสังหาริมทรัพย์ที่สร้างไว้เพื่อขาย เมื่อขายเท่านั้น แต่ก่อนปี 54 รับรู้ตามอัต
ราส่วนของงานที่ทำเสร็จค่ะ
บ.ที่ทำรับเหมาก่อสร้างพวกอาคาร คอนโด นั้น ปกติเขามีการรับรู้รายได้อย่างไรครับ
รับรู้ตอนสร้างเสร็จแล้วส่งมอบงาน หรือรับรู้รายได้เป็นงวดๆ ขณะการก่อสร้างกำลังดำเนินไปตามแผน
ขอบคุณล่วงหน้าครับ[/quote]
ตั้งแต่ปี 54 เป็นต้นมา บริษัทต้องรับรู้อสังหาริมทรัพย์ที่สร้างไว้เพื่อขาย เมื่อขายเท่านั้น แต่ก่อนปี 54 รับรู้ตามอัต
ราส่วนของงานที่ทำเสร็จค่ะ
-
- Verified User
- โพสต์: 95
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 224
ขอถามต่อนะครับ
สมมุติ บริษัท ก. กำลังจะทำคอนโดขายประชาชน แต่ บริษัท ก. ไม่ได้สร้างเอง โดยว่าจ้างให้บริษัท ข. ทำการสร้างให้
กรณีนี้ รายได้จากการสร้างคอนโดของ บริษัท ข. จัดเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่สร้างไว้เพื่อขาย หรือเปล่าครับ
สมมุติ บริษัท ก. กำลังจะทำคอนโดขายประชาชน แต่ บริษัท ก. ไม่ได้สร้างเอง โดยว่าจ้างให้บริษัท ข. ทำการสร้างให้
กรณีนี้ รายได้จากการสร้างคอนโดของ บริษัท ข. จัดเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่สร้างไว้เพื่อขาย หรือเปล่าครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 225
[quote="deerfreedom"]ขอถามต่อนะครับ
สมมุติ บริษัท ก. กำลังจะทำคอนโดขายประชาชน แต่ บริษัท ก. ไม่ได้สร้างเอง โดยว่าจ้างให้บริษัท ข. ทำการสร้างให้
กรณีนี้ รายได้จากการสร้างคอนโดของ บริษัท ข. จัดเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่สร้างไว้เพื่อขาย หรือเปล่าครับ[/quote]
ไม่ใช่ค่ะ บริษัท ข เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง รับรู้รายได้ตามอัตราส่วนของงานที่ทำเสร็จค่ะ
สมมุติ บริษัท ก. กำลังจะทำคอนโดขายประชาชน แต่ บริษัท ก. ไม่ได้สร้างเอง โดยว่าจ้างให้บริษัท ข. ทำการสร้างให้
กรณีนี้ รายได้จากการสร้างคอนโดของ บริษัท ข. จัดเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่สร้างไว้เพื่อขาย หรือเปล่าครับ[/quote]
ไม่ใช่ค่ะ บริษัท ข เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง รับรู้รายได้ตามอัตราส่วนของงานที่ทำเสร็จค่ะ
- mr_chai
- Verified User
- โพสต์: 754
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 226
สวัสดีครับ อาจารย์ภาพร , พี่sun_cisa2 ,และเพื่อนๆพี่ๆนักลงทุนครับ
ผมมีคำถามที่ยังสงสัยเกี่ยวกัว deferred tax ครับ (ผมศึกษาในห้อง "หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4" มา 3 รอบแล้วครับ แต่ยังคงมีบางจุดที่ยังสงสัยครับ) จีงอยากขอคำชี้แนะหน่อยครับ
คำถามดังนี้ครับ
1. รูปที่ 2 จุด B เป็นภาษีจากรายได้และค่าใช้จ่ายทางภาษีอะไรได้บ้างครับ ?
ตามความเข้าใจของผม น่าจะไม่ใช่รายการค่าใช้จ่ายในรูปที่ 1 เพราะยอดรวมของภาษีค่าใช้จ่ายทางภาษีจำนวน 172 ล้านบาท(จุด A)ที่บริษัทจ่ายภาษีเพิ่มให้สรรพากร ซึ่งจะไปลงอยู่ในรูปที่ 2 จุด C
หรือผมเข้าใจผิดตรงไหนรบกวนชี้แนะหน่อยครับ
เอาข้อเดียวก่อนครับ รอคำตอบถ้ายังสงสัยเดี๋ยวจะถามต่อเนื่องครับ ขอบคุณมากครับ
ผมมีคำถามที่ยังสงสัยเกี่ยวกัว deferred tax ครับ (ผมศึกษาในห้อง "หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4" มา 3 รอบแล้วครับ แต่ยังคงมีบางจุดที่ยังสงสัยครับ) จีงอยากขอคำชี้แนะหน่อยครับ
คำถามดังนี้ครับ
1. รูปที่ 2 จุด B เป็นภาษีจากรายได้และค่าใช้จ่ายทางภาษีอะไรได้บ้างครับ ?
ตามความเข้าใจของผม น่าจะไม่ใช่รายการค่าใช้จ่ายในรูปที่ 1 เพราะยอดรวมของภาษีค่าใช้จ่ายทางภาษีจำนวน 172 ล้านบาท(จุด A)ที่บริษัทจ่ายภาษีเพิ่มให้สรรพากร ซึ่งจะไปลงอยู่ในรูปที่ 2 จุด C
หรือผมเข้าใจผิดตรงไหนรบกวนชี้แนะหน่อยครับ
เอาข้อเดียวก่อนครับ รอคำตอบถ้ายังสงสัยเดี๋ยวจะถามต่อเนื่องครับ ขอบคุณมากครับ
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 229
[quote="mr_chai"]สวัสดีครับ อาจารย์ภาพร , พี่sun_cisa2 ,และเพื่อนๆพี่ๆนักลงทุนครับ
ผมมีคำถามที่ยังสงสัยเกี่ยวกัว deferred tax ครับ (ผมศึกษาในห้อง "หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4" มา 3 รอบแล้วครับ แต่ยังคงมีบางจุดที่ยังสงสัยครับ) จีงอยากขอคำชี้แนะหน่อยครับ
คำถามดังนี้ครับ
1. รูปที่ 2 จุด B เป็นภาษีจากรายได้และค่าใช้จ่ายทางภาษีอะไรได้บ้างครับ ?
ตามความเข้าใจของผม น่าจะไม่ใช่รายการค่าใช้จ่ายในรูปที่ 1 เพราะยอดรวมของภาษีค่าใช้จ่ายทางภาษีจำนวน 172 ล้านบาท(จุด A)ที่บริษัทจ่ายภาษีเพิ่มให้สรรพากร ซึ่งจะไปลงอยู่ในรูปที่ 2 จุด C
หรือผมเข้าใจผิดตรงไหนรบกวนชี้แนะหน่อยครับ
เอาข้อเดียวก่อนครับ รอคำตอบถ้ายังสงสัยเดี๋ยวจะถามต่อเนื่องครับ ขอบคุณมากครับ[/quote]
น่าจะเป็นรายการที่นักบัญชีเรียกว่า "ผลแตกต่างถาวร Permanant Difference" เช่น รายได้ที่ไม่ต้องจ่ายภาษี หรือค่าใช้จ่ายที่หักภาษีไม่ได้
ตัวอย่างของผลแตกต่างถาวร เช่น กำไรจากการขายหุ้นที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ หรืออาจเป็นค่าใช้จ่ายการกุศลหรือ entertain ที่สูงกว่าจำนวนที่สรรพากรยอมให้นำมาหักลดหย่อน
ผมมีคำถามที่ยังสงสัยเกี่ยวกัว deferred tax ครับ (ผมศึกษาในห้อง "หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4" มา 3 รอบแล้วครับ แต่ยังคงมีบางจุดที่ยังสงสัยครับ) จีงอยากขอคำชี้แนะหน่อยครับ
คำถามดังนี้ครับ
1. รูปที่ 2 จุด B เป็นภาษีจากรายได้และค่าใช้จ่ายทางภาษีอะไรได้บ้างครับ ?
ตามความเข้าใจของผม น่าจะไม่ใช่รายการค่าใช้จ่ายในรูปที่ 1 เพราะยอดรวมของภาษีค่าใช้จ่ายทางภาษีจำนวน 172 ล้านบาท(จุด A)ที่บริษัทจ่ายภาษีเพิ่มให้สรรพากร ซึ่งจะไปลงอยู่ในรูปที่ 2 จุด C
หรือผมเข้าใจผิดตรงไหนรบกวนชี้แนะหน่อยครับ
เอาข้อเดียวก่อนครับ รอคำตอบถ้ายังสงสัยเดี๋ยวจะถามต่อเนื่องครับ ขอบคุณมากครับ[/quote]
น่าจะเป็นรายการที่นักบัญชีเรียกว่า "ผลแตกต่างถาวร Permanant Difference" เช่น รายได้ที่ไม่ต้องจ่ายภาษี หรือค่าใช้จ่ายที่หักภาษีไม่ได้
ตัวอย่างของผลแตกต่างถาวร เช่น กำไรจากการขายหุ้นที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ หรืออาจเป็นค่าใช้จ่ายการกุศลหรือ entertain ที่สูงกว่าจำนวนที่สรรพากรยอมให้นำมาหักลดหย่อน
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 230
[quote="mr_chai"]เพิ่งนึกคำถามอีกข้อออกครับ
ขอเพิ่งเป็นข้อที่ 2 นะครับ
2. รบกวนอธิบายรายการ "ปรับปรุงลูกหนี้กรมสรรพากร" หน่อยครับว่ามันปรับปรุงยังไง[/quote]
น่าจะเกิดจากการคำนวณผิดพลาดหรือเกิดจากข้อเท็จจริงใหม่ที่พบว่า ภาษีที่จ่ายเกินไปให้กรมสรรพากรนั้นสูงกว่าที่เคยบันทึกบัญชีไว้ บริษัทจึงทำการปรับปรุงให้น้อยลง
ขอเพิ่งเป็นข้อที่ 2 นะครับ
2. รบกวนอธิบายรายการ "ปรับปรุงลูกหนี้กรมสรรพากร" หน่อยครับว่ามันปรับปรุงยังไง[/quote]
น่าจะเกิดจากการคำนวณผิดพลาดหรือเกิดจากข้อเท็จจริงใหม่ที่พบว่า ภาษีที่จ่ายเกินไปให้กรมสรรพากรนั้นสูงกว่าที่เคยบันทึกบัญชีไว้ บริษัทจึงทำการปรับปรุงให้น้อยลง
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 231
[quote="mr_chai"]ผมน่าจะเขียนผิดนะครับ
[quote/ " เพราะยอดรวมของภาษีค่าใช้จ่ายทางภาษีจำนวน 172 ล้านบาท" >> ต้องเป็น "เพราะยอดรวมภาษีของค่าใช้จ่ายทางบัญชีที่ไม่ถือเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษี"[/quote]
จำนวน 172 บาท น่าจะเป็น "ผลแตกต่างชั่วคราว Temporary Difference" หรือรายการที่ถือเป็นรายได้/ค่าใช้จ่ายทางบัญชีในงวดหนึ่ง แต่สามารถนำไปคำนวณภาษีในงวดอื่น
[quote/ " เพราะยอดรวมของภาษีค่าใช้จ่ายทางภาษีจำนวน 172 ล้านบาท" >> ต้องเป็น "เพราะยอดรวมภาษีของค่าใช้จ่ายทางบัญชีที่ไม่ถือเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษี"[/quote]
จำนวน 172 บาท น่าจะเป็น "ผลแตกต่างชั่วคราว Temporary Difference" หรือรายการที่ถือเป็นรายได้/ค่าใช้จ่ายทางบัญชีในงวดหนึ่ง แต่สามารถนำไปคำนวณภาษีในงวดอื่น
- mr_chai
- Verified User
- โพสต์: 754
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 232
กระจ่างขึ้นแล้วครับ ขอบคุณอาจารย์มากครับ
ขออนุญาติเอาข้อมูล Permanent Difference กับ Temporary Difference มาแปะไว้ครับ เผื่อมีประโชยน์สำหรับคนที่สงสัยครับ
มาตรฐานการบัญชีของไทย ฉบับที่ 12 (TAS 12) เป็นมาตรฐานใหม่อีกฉบับที่ สภาวิชาชีพบัญชีได้ออกประกาศเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2553 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2556 โดยได้กำหนดให้กิจการต้องบันทึกบัญชีเกี่ยวข้องกับภาษีรอการตัดบัญชี (Deferred Tax) ซึ่งเป็นบัญชีที่ใช้ปรับปรุงส่วนแตกต่างที่เกิดจากความไม่สอดคล้องกันระหว่างหลักเกณฑ์ทางภาษีกับหลักการทางบัญชี ซึ่งผลแตกต่างที่เกิดขึ้นนี้แบ่งได้เป็น 2 ประเภท
1) ผลแตกต่างถาวร (Permanent difference) คือ ผลแตกต่างที่ไม่ได้เกิดจากการรับรู้ในงวดที่แตกต่างกันระหว่างหลักเกณฑ์ทางภาษีกับหลักการทางบัญชี เช่น รายจ่ายต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร เป็นรายการที่ทางบัญชีต้องมีการบันทึกบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายเมื่อเกิดรายจ่ายขึ้น แต่ทางภาษีมิให้นำรายการดังกล่าวมาหักเป็นค่าใช้จ่ายก่อนการคำนวณภาษีเงินได้ เป็นต้น ซึ่งผลแตกต่างในทานองนี้ จะไม่มีการรับรู้เป็น “สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี” ในรายงานฐานะการเงิน เนื่องจากไม่สามารถนาผลแตกต่างดังกล่าวกลับมาใช้ประโยชน์ในอนาคต
2) ผลแตกต่างชั่วคราว (Temporary difference) คือ ผลแตกต่างที่เกิดจากการรับรู้ในงวดที่แตกต่างกันระหว่างหลักเกณฑ์ทางภาษีกับหลักการทางบัญชี เช่น การคิดค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ถาวรในอัตราที่แตกต่างกัน เป็นต้น หากทางบัญชีคานวณคำเสื่อมราคาในอัตราที่สูงกว่าทางภาษีก็ให้รับรู้ผลแตกต่างเป็น “สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี” ในรายงานฐานะการเงิน เนื่องจากกิจการสามารถนาผลแตกต่างดังกล่าวกลับมาใช้ประโยชน์ในอนาคต ในทางกลับกันนั้น หากทางบัญชีคำนวณค่าเสื่อมราคาในอัตราที่ต่ำกว่าทางภาษีก็ให้รับรู้ผลแตกต่างเป็น “หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี” ในรายงานฐานะการเงิน เนื่องจากกิจการจะมีภาระภาษีที่ต้องจ่ายในอนาคตเท่ากับผลแตกต่างที่เกิดขึ้น
ขออนุญาติเอาข้อมูล Permanent Difference กับ Temporary Difference มาแปะไว้ครับ เผื่อมีประโชยน์สำหรับคนที่สงสัยครับ
มาตรฐานการบัญชีของไทย ฉบับที่ 12 (TAS 12) เป็นมาตรฐานใหม่อีกฉบับที่ สภาวิชาชีพบัญชีได้ออกประกาศเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2553 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2556 โดยได้กำหนดให้กิจการต้องบันทึกบัญชีเกี่ยวข้องกับภาษีรอการตัดบัญชี (Deferred Tax) ซึ่งเป็นบัญชีที่ใช้ปรับปรุงส่วนแตกต่างที่เกิดจากความไม่สอดคล้องกันระหว่างหลักเกณฑ์ทางภาษีกับหลักการทางบัญชี ซึ่งผลแตกต่างที่เกิดขึ้นนี้แบ่งได้เป็น 2 ประเภท
1) ผลแตกต่างถาวร (Permanent difference) คือ ผลแตกต่างที่ไม่ได้เกิดจากการรับรู้ในงวดที่แตกต่างกันระหว่างหลักเกณฑ์ทางภาษีกับหลักการทางบัญชี เช่น รายจ่ายต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร เป็นรายการที่ทางบัญชีต้องมีการบันทึกบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายเมื่อเกิดรายจ่ายขึ้น แต่ทางภาษีมิให้นำรายการดังกล่าวมาหักเป็นค่าใช้จ่ายก่อนการคำนวณภาษีเงินได้ เป็นต้น ซึ่งผลแตกต่างในทานองนี้ จะไม่มีการรับรู้เป็น “สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี” ในรายงานฐานะการเงิน เนื่องจากไม่สามารถนาผลแตกต่างดังกล่าวกลับมาใช้ประโยชน์ในอนาคต
2) ผลแตกต่างชั่วคราว (Temporary difference) คือ ผลแตกต่างที่เกิดจากการรับรู้ในงวดที่แตกต่างกันระหว่างหลักเกณฑ์ทางภาษีกับหลักการทางบัญชี เช่น การคิดค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ถาวรในอัตราที่แตกต่างกัน เป็นต้น หากทางบัญชีคานวณคำเสื่อมราคาในอัตราที่สูงกว่าทางภาษีก็ให้รับรู้ผลแตกต่างเป็น “สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี” ในรายงานฐานะการเงิน เนื่องจากกิจการสามารถนาผลแตกต่างดังกล่าวกลับมาใช้ประโยชน์ในอนาคต ในทางกลับกันนั้น หากทางบัญชีคำนวณค่าเสื่อมราคาในอัตราที่ต่ำกว่าทางภาษีก็ให้รับรู้ผลแตกต่างเป็น “หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี” ในรายงานฐานะการเงิน เนื่องจากกิจการจะมีภาระภาษีที่ต้องจ่ายในอนาคตเท่ากับผลแตกต่างที่เกิดขึ้น
- mr_chai
- Verified User
- โพสต์: 754
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 233
สำหรับประเภทรายจ่ายต้องห้ามหรือรายจ่ายที่เข้าข่ายเป็น Permanent Difference ตามลิงค์เลยครับ
http://www.rd.go.th/publish/827.0.html
http://www.rd.go.th/publish/827.0.html
-
- Verified User
- โพสต์: 95
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 234
ขอสอบถามอาจารย์ภาพรนะครับ
ถ้าบริษัทอสังหาแห่งหนึ่ง โยกย้ายสินทรัพย์บางอย่างจากเดิมเป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน มาเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน (สินค้าคงเหลือ) ในไตรมาส 2 ซึ่งเป็นสัญญาณว่ากำลังจจะจำหน้าสินทรัพย์ดังกล่าวออกภายใน 1 ปี
ผมสัยสัยว่า ภายใน 1 ปีนี้ เราสามารถประเมินกรอบเวลาได้ไหมครับ ว่าอย่างช้าสุดคือเมื่อไร่
ระหว่างสิ้นไตรมาส 4 ปีดังกล่าว หรือภายในสิ้นไตรมาส 2 ของปีถัดไป
ถ้าบริษัทอสังหาแห่งหนึ่ง โยกย้ายสินทรัพย์บางอย่างจากเดิมเป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน มาเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน (สินค้าคงเหลือ) ในไตรมาส 2 ซึ่งเป็นสัญญาณว่ากำลังจจะจำหน้าสินทรัพย์ดังกล่าวออกภายใน 1 ปี
ผมสัยสัยว่า ภายใน 1 ปีนี้ เราสามารถประเมินกรอบเวลาได้ไหมครับ ว่าอย่างช้าสุดคือเมื่อไร่
ระหว่างสิ้นไตรมาส 4 ปีดังกล่าว หรือภายในสิ้นไตรมาส 2 ของปีถัดไป
-
- Verified User
- โพสต์: 95
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 235
สอบถามอาจารย์ภาพร ต่อนะครับ
เนื่องจากผมสนใจการทำ Financial Projection แบบนักวิเคราะห์หุ้น
ที่มีการนำข่าว และแผนของ ผู้บริหารมาประเมินศักยภาพที่เป็นไปได้
โดยมีการเชื่อมโยงทั้ง 3 งบ คือ Balance Sheet, Income Statement, Cash Flow Statement
เลยอยากสอบถามอาจารย์ภาพรครับว่า พอมีหนังสือสอนไหมครับ เกี่ยวกับการนำมาประยุคใช้กับ Excel เลย
ในแง่ของพื้นฐานการประเมินนั้น ผมมีพื้นฐานแล้วระดับหนึ่งจากการสอบ CFA level 2
แต่การทำ Financial Model ที่มีการเชื่อมโยงงบที่นำมาประยุคใช้กับ Excel ยังไม่มีทักษะเลย
หนังสือภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษก้ได้นะครับ
ขอบคุณนะครับ
เนื่องจากผมสนใจการทำ Financial Projection แบบนักวิเคราะห์หุ้น
ที่มีการนำข่าว และแผนของ ผู้บริหารมาประเมินศักยภาพที่เป็นไปได้
โดยมีการเชื่อมโยงทั้ง 3 งบ คือ Balance Sheet, Income Statement, Cash Flow Statement
เลยอยากสอบถามอาจารย์ภาพรครับว่า พอมีหนังสือสอนไหมครับ เกี่ยวกับการนำมาประยุคใช้กับ Excel เลย
ในแง่ของพื้นฐานการประเมินนั้น ผมมีพื้นฐานแล้วระดับหนึ่งจากการสอบ CFA level 2
แต่การทำ Financial Model ที่มีการเชื่อมโยงงบที่นำมาประยุคใช้กับ Excel ยังไม่มีทักษะเลย
หนังสือภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษก้ได้นะครับ
ขอบคุณนะครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 236
[quote="deerfreedom"]ขอสอบถามอาจารย์ภาพรนะครับ
ถ้าบริษัทอสังหาแห่งหนึ่ง โยกย้ายสินทรัพย์บางอย่างจากเดิมเป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน มาเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน (สินค้าคงเหลือ) ในไตรมาส 2 ซึ่งเป็นสัญญาณว่ากำลังจจะจำหน้าสินทรัพย์ดังกล่าวออกภายใน 1 ปี
ผมสัยสัยว่า ภายใน 1 ปีนี้ เราสามารถประเมินกรอบเวลาได้ไหมครับ ว่าอย่างช้าสุดคือเมื่อไร่
ระหว่างสิ้นไตรมาส 4 ปีดังกล่าว หรือภายในสิ้นไตรมาส 2 ของปีถัดไป[/quote]
โดย concept แล้ว งบไตรมาสคือ งบประกอบของงบปี ดังนั้น วันสิ้นสุด 1 ปี ที่ชี้ว่าเป็นระยะสั้น ควรต้องจบตามงบปีค่ะ แต่อาจารย์ไม่ทราบจริงๆ ว่าในทางปฏิบัติ บริษัทตีความกันว่าอย่างไร
ถ้าบริษัทอสังหาแห่งหนึ่ง โยกย้ายสินทรัพย์บางอย่างจากเดิมเป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน มาเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน (สินค้าคงเหลือ) ในไตรมาส 2 ซึ่งเป็นสัญญาณว่ากำลังจจะจำหน้าสินทรัพย์ดังกล่าวออกภายใน 1 ปี
ผมสัยสัยว่า ภายใน 1 ปีนี้ เราสามารถประเมินกรอบเวลาได้ไหมครับ ว่าอย่างช้าสุดคือเมื่อไร่
ระหว่างสิ้นไตรมาส 4 ปีดังกล่าว หรือภายในสิ้นไตรมาส 2 ของปีถัดไป[/quote]
โดย concept แล้ว งบไตรมาสคือ งบประกอบของงบปี ดังนั้น วันสิ้นสุด 1 ปี ที่ชี้ว่าเป็นระยะสั้น ควรต้องจบตามงบปีค่ะ แต่อาจารย์ไม่ทราบจริงๆ ว่าในทางปฏิบัติ บริษัทตีความกันว่าอย่างไร
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 237
[quote="deerfreedom"]สอบถามอาจารย์ภาพร ต่อนะครับ
เนื่องจากผมสนใจการทำ Financial Projection แบบนักวิเคราะห์หุ้น
ที่มีการนำข่าว และแผนของ ผู้บริหารมาประเมินศักยภาพที่เป็นไปได้
โดยมีการเชื่อมโยงทั้ง 3 งบ คือ Balance Sheet, Income Statement, Cash Flow Statement
เลยอยากสอบถามอาจารย์ภาพรครับว่า พอมีหนังสือสอนไหมครับ เกี่ยวกับการนำมาประยุคใช้กับ Excel เลย
ในแง่ของพื้นฐานการประเมินนั้น ผมมีพื้นฐานแล้วระดับหนึ่งจากการสอบ CFA level 2
แต่การทำ Financial Model ที่มีการเชื่อมโยงงบที่นำมาประยุคใช้กับ Excel ยังไม่มีทักษะเลย
หนังสือภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษก้ได้นะครับ
ขอบคุณนะครับ[/quote]
เดี๋ยวถามอาจารย์สรรพงศ์ให้นะคะ เขาเป็นนักวิเคราะห์เหมือนกัน ไม่น่าแปลกใจเลยเลยที่คุณเป็นนักวิเคราะห์ เพราะคำถามของคุณลึกกว่าปกติ :)
เนื่องจากผมสนใจการทำ Financial Projection แบบนักวิเคราะห์หุ้น
ที่มีการนำข่าว และแผนของ ผู้บริหารมาประเมินศักยภาพที่เป็นไปได้
โดยมีการเชื่อมโยงทั้ง 3 งบ คือ Balance Sheet, Income Statement, Cash Flow Statement
เลยอยากสอบถามอาจารย์ภาพรครับว่า พอมีหนังสือสอนไหมครับ เกี่ยวกับการนำมาประยุคใช้กับ Excel เลย
ในแง่ของพื้นฐานการประเมินนั้น ผมมีพื้นฐานแล้วระดับหนึ่งจากการสอบ CFA level 2
แต่การทำ Financial Model ที่มีการเชื่อมโยงงบที่นำมาประยุคใช้กับ Excel ยังไม่มีทักษะเลย
หนังสือภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษก้ได้นะครับ
ขอบคุณนะครับ[/quote]
เดี๋ยวถามอาจารย์สรรพงศ์ให้นะคะ เขาเป็นนักวิเคราะห์เหมือนกัน ไม่น่าแปลกใจเลยเลยที่คุณเป็นนักวิเคราะห์ เพราะคำถามของคุณลึกกว่าปกติ :)
-
- Verified User
- โพสต์: 95
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 238
ขอสอบถามอาจารย์ภาพร ต่อเนื่องจากคำถามเดิมนะครับ ที่ว่า.......
ถ้าบริษัทอสังหาแห่งหนึ่ง โยกย้ายสินทรัพย์บางอย่างจากเดิมเป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน มาเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน (สินค้าคงเหลือ) ในไตรมาส 2 ซึ่งเป็นสัญญาณว่ากำลังจจะจำหน้าสินทรัพย์ดังกล่าวออกภายใน 1 ปี
ผมสัยสัยว่า ภายใน 1 ปีนี้ เราสามารถประเมินกรอบเวลาได้ไหมครับ ว่าอย่างช้าสุดคือเมื่อไร่
ระหว่างสิ้นไตรมาส 4 ปีดังกล่าว หรือภายในสิ้นไตรมาส 2 ของปีถัดไป
อาจารย์ตอบว่า ............
โดย concept แล้ว งบไตรมาสคือ งบประกอบของงบปี ดังนั้น วันสิ้นสุด 1 ปี ที่ชี้ว่าเป็นระยะสั้น ควรต้องจบตามงบปีค่ะ แต่อาจารย์ไม่ทราบจริงๆ ว่าในทางปฏิบัติ บริษัทตีความกันว่าอย่างไร
คำถามใหม่คือ เป็นไปได้ไหมครับ ว่าย้ายสินทรัพย์รอขายตามด้านบน ต่อมามีเหตุการณ์บางอย่างมากระทบ เช่น ราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้นมาก จน Warrant ที่กำลังจะหมดอายุสามารถใช้สิทธิแปลงได้ และได้เงินสดมาเป็นจำนวนมาก แล้วบริษัทก็ไม่มีความจำเป็นต้องขายสินทรัพย์ดังกล่าว
คำถาม คือ ในทางบัญชีมีความเป็นไปได้ไหมครับ ที่ต่อมาย้ายสินทรัพย์กลับไปเป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนเหมือนเดิม แล้วไม่มีการขายเกิดขึ้น
ถ้าบริษัทอสังหาแห่งหนึ่ง โยกย้ายสินทรัพย์บางอย่างจากเดิมเป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน มาเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน (สินค้าคงเหลือ) ในไตรมาส 2 ซึ่งเป็นสัญญาณว่ากำลังจจะจำหน้าสินทรัพย์ดังกล่าวออกภายใน 1 ปี
ผมสัยสัยว่า ภายใน 1 ปีนี้ เราสามารถประเมินกรอบเวลาได้ไหมครับ ว่าอย่างช้าสุดคือเมื่อไร่
ระหว่างสิ้นไตรมาส 4 ปีดังกล่าว หรือภายในสิ้นไตรมาส 2 ของปีถัดไป
อาจารย์ตอบว่า ............
โดย concept แล้ว งบไตรมาสคือ งบประกอบของงบปี ดังนั้น วันสิ้นสุด 1 ปี ที่ชี้ว่าเป็นระยะสั้น ควรต้องจบตามงบปีค่ะ แต่อาจารย์ไม่ทราบจริงๆ ว่าในทางปฏิบัติ บริษัทตีความกันว่าอย่างไร
คำถามใหม่คือ เป็นไปได้ไหมครับ ว่าย้ายสินทรัพย์รอขายตามด้านบน ต่อมามีเหตุการณ์บางอย่างมากระทบ เช่น ราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้นมาก จน Warrant ที่กำลังจะหมดอายุสามารถใช้สิทธิแปลงได้ และได้เงินสดมาเป็นจำนวนมาก แล้วบริษัทก็ไม่มีความจำเป็นต้องขายสินทรัพย์ดังกล่าว
คำถาม คือ ในทางบัญชีมีความเป็นไปได้ไหมครับ ที่ต่อมาย้ายสินทรัพย์กลับไปเป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนเหมือนเดิม แล้วไม่มีการขายเกิดขึ้น
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 239
[quote="deerfreedom"]สอบถามอาจารย์ภาพร ต่อนะครับ
เนื่องจากผมสนใจการทำ Financial Projection แบบนักวิเคราะห์หุ้น
ที่มีการนำข่าว และแผนของ ผู้บริหารมาประเมินศักยภาพที่เป็นไปได้
โดยมีการเชื่อมโยงทั้ง 3 งบ คือ Balance Sheet, Income Statement, Cash Flow Statement
เลยอยากสอบถามอาจารย์ภาพรครับว่า พอมีหนังสือสอนไหมครับ เกี่ยวกับการนำมาประยุคใช้กับ Excel เลย
ในแง่ของพื้นฐานการประเมินนั้น ผมมีพื้นฐานแล้วระดับหนึ่งจากการสอบ CFA level 2
แต่การทำ Financial Model ที่มีการเชื่อมโยงงบที่นำมาประยุคใช้กับ Excel ยังไม่มีทักษะเลย
หนังสือภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษก้ได้นะครับ
ขอบคุณนะครับ[/quote]
อ.สรรพงศ์ เข้า site นี้มาตอบไม่ได้ค่ะ เพราะยังไม่ได้สมัครสมาชิก (อ.ภาพรสมัครไว้ 1 ปี พอหมดสมาชิก ก็อาจไม่สมัครต่อ) นี่คือคำตอบของ อ.สรรพงศ์ค่ะ
หนังสือโดยตรงไม่มี ถ้าจะทำ Model ต้องมีความรู้ด้าน Excel มากพอ ถ้ามีความรู้ Excel ก็ทำได้เองครับตามหลักการที่มีอยู่ ถ้า Excel ไม่แข็งอันนี้ยากครับ ต้องไปเรียนการใช้ขั้น advance ถ้าจะลอง load model excel จาก web ต่างประเทศ มีเยอะครับ เคยเห็นครับ แต่เวลานำมาใช้ต้องระวัง ต้องปรับบ้าง เพราะเขาทำแบบโครงสร้างไม่ยาก input ทุกอย่างหมด
ตัวอย่าง Website ที่จะเข้าไปหาความรู้ได้ เช่น
http://www.ustyleit.com/Excel_Based_Fin ... Models.htm
http://www.exinfm.com/free_spreadsheets.html
เนื่องจากผมสนใจการทำ Financial Projection แบบนักวิเคราะห์หุ้น
ที่มีการนำข่าว และแผนของ ผู้บริหารมาประเมินศักยภาพที่เป็นไปได้
โดยมีการเชื่อมโยงทั้ง 3 งบ คือ Balance Sheet, Income Statement, Cash Flow Statement
เลยอยากสอบถามอาจารย์ภาพรครับว่า พอมีหนังสือสอนไหมครับ เกี่ยวกับการนำมาประยุคใช้กับ Excel เลย
ในแง่ของพื้นฐานการประเมินนั้น ผมมีพื้นฐานแล้วระดับหนึ่งจากการสอบ CFA level 2
แต่การทำ Financial Model ที่มีการเชื่อมโยงงบที่นำมาประยุคใช้กับ Excel ยังไม่มีทักษะเลย
หนังสือภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษก้ได้นะครับ
ขอบคุณนะครับ[/quote]
อ.สรรพงศ์ เข้า site นี้มาตอบไม่ได้ค่ะ เพราะยังไม่ได้สมัครสมาชิก (อ.ภาพรสมัครไว้ 1 ปี พอหมดสมาชิก ก็อาจไม่สมัครต่อ) นี่คือคำตอบของ อ.สรรพงศ์ค่ะ
หนังสือโดยตรงไม่มี ถ้าจะทำ Model ต้องมีความรู้ด้าน Excel มากพอ ถ้ามีความรู้ Excel ก็ทำได้เองครับตามหลักการที่มีอยู่ ถ้า Excel ไม่แข็งอันนี้ยากครับ ต้องไปเรียนการใช้ขั้น advance ถ้าจะลอง load model excel จาก web ต่างประเทศ มีเยอะครับ เคยเห็นครับ แต่เวลานำมาใช้ต้องระวัง ต้องปรับบ้าง เพราะเขาทำแบบโครงสร้างไม่ยาก input ทุกอย่างหมด
ตัวอย่าง Website ที่จะเข้าไปหาความรู้ได้ เช่น
http://www.ustyleit.com/Excel_Based_Fin ... Models.htm
http://www.exinfm.com/free_spreadsheets.html
-
- Verified User
- โพสต์: 79
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
โพสต์ที่ 240
เรียนถามอาจารย์ทุกท่านนะครับ
1) จำนวนหุ้นที่มีผลต่อส่วนแบ่งผลประโยชน์ เช่น ปันผล หรือกำไรสุทธิ โดยปกติเราสามารถดูได้จากส่วนไหนของงบครับ อย่างเช่นของ SKR ผมดูในส่วนของงบดุล ทุนที่ออกและชำระแล้ว หุ้นสามัญ 100,000,000 หุ้น แต่พอไปดูในงบกำไรขาดทุน กำไรสุทธิต่อหุ้น1.28บาท ทั้งๆที่กำไรสุทธิ 120,507,993 จึงเหมือนมีจำนวนหุ้นน้อยกว่า 100,000,000 หุ้น
2) กำไรต่อหุ้นปรับลด หมายถึงกำไรต่อหุ้นเมื่อคำนวณจำนวนหุ้นที่อาจเกิดขึ้นทั้งหมดจากการแปลงสภาพหุ้นกู้และหุ้นบุริมสิทธิมาเป็นหุ้นสามัญใช่ไหมครับ
3) นโยบายการจ่ายปันผลของบริษัท
"ถ้าปีใดผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิได้รับแจกเงินปันผลถึงร้อยละ 15 ของทุนของบริษัทที่เป็นหุ้นบุริมสิทธิแล้ว กำไรส่วนที่เหลือจะแจกให้แก่ผู้ถือหุ้นสามัญเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ตามมติที่ประชุมใหญ่
ถ้าปีใดบริษัทสามารถแจกเงินปันผลได้เกินกว่าร้อยละ 15 ของทุนของบริษัท ให้ผู้ถือหุ้นทั้งสองชนิดได้รับแจกเงินปันผลเท่ากัน"
ในทีนี้ คำว่าทุนของบริษัทคือส่วนของเจ้าของหรือทุนเรือนหุ้นส่วนของหุ้นสามัญครับ
4) กรณีการจ่ายปันผลหรือดอกเบี้ยตามเงื่อนไขของหุ้นบุริมสิทธิและหุ้นกู้ จะถือเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทก่อนคิดอัตราภาษีหรือไม่ครับ และถ้าใช่อยู่ในส่วนใดของรายจ่ายครับ
5) ผมได้อ่านของอาจารย์ sun_cisa2 ในกระทู้นี้ตอนหนึ่งว่า
เช่น ABC มีกำไร 1,000 บาท โดย A ถือหุ้นมาตั้งแต่ต้นปี 800 หุ้น ส่วน B เข้ามาถือหุ้นเพิ่มทุนีหลังระหว่างปีนั้น 400 หุ้นเมื่อตอนกลางปี
เงินจาก A ทำมาหากินมา 1 ปีเต็ม ส่วนเงิน B เอามาใช้หากินแค่ครึ่งปี ถ้าถือว่าตลอดปีทำมาหากินสม่ำเสมอ 500 บาทแรก A ควรได้เต็มๆ ส่วน 500 บาทหลังถึงจะเอามาแบ่งระหว่า A กับ B ตามสัดส่วนที่ลงทุน 2:1 A ได้ไป 500x2/3 = 333.33 ส่วน B ได้ไป 500/3 = 166.67
รวมทั้งปี A ได้ส่วนแบ่งกำไรไป =500+333.33 = 833.33 A ถ้าเทียบแล้วลงทุน 1ปี ได้ผลตอบแทนต่อหุ้น = 0.3125+0.2083 =0.5208
รวมทั้งปี B ได้ส่วนแบ่งกำไรไป = 166.67 0.2083
. แต่ในทางบัญชีจะแสดง EPS ขั้นพื้นฐานที่ 1000/(800x12/12 + 400x6/12) = 1.00 ดูแล้วเหมือนกับว่าได้คนละ 1 บาท ความจริงไม่ใช่เลย แค่บอกว่าถ้ามาคิดผลตอบแทนตามระยะเวลาลงทุนแล้ว โดยเปรียบเทียบให้หุ้นทั้งหมดเทียบเท่ากันได้บนฐานเวลาที่ปรับสัดส่วนให้เท่ากัน จะเหมือนว่าได้คนละ 1 บาท
. ผมสงสัยครับ ปกติ EPS ไม่ได้เกิดจากกำไรสุทธิทั้งปีหารด้วยจำนวนหุ้นสามัญหรือครับ แล้วข้อความข้างต้นผมอ่านแล้วไม่เข้าใจ อยากรบกวนให้อาจารย์ช่วยอธิบายเพิ่มเติมด้วยครับ
ขอโทษนะครับที่คำถามอาจยาวนิดนึง
ขอบคุณมากครับผม
1) จำนวนหุ้นที่มีผลต่อส่วนแบ่งผลประโยชน์ เช่น ปันผล หรือกำไรสุทธิ โดยปกติเราสามารถดูได้จากส่วนไหนของงบครับ อย่างเช่นของ SKR ผมดูในส่วนของงบดุล ทุนที่ออกและชำระแล้ว หุ้นสามัญ 100,000,000 หุ้น แต่พอไปดูในงบกำไรขาดทุน กำไรสุทธิต่อหุ้น1.28บาท ทั้งๆที่กำไรสุทธิ 120,507,993 จึงเหมือนมีจำนวนหุ้นน้อยกว่า 100,000,000 หุ้น
2) กำไรต่อหุ้นปรับลด หมายถึงกำไรต่อหุ้นเมื่อคำนวณจำนวนหุ้นที่อาจเกิดขึ้นทั้งหมดจากการแปลงสภาพหุ้นกู้และหุ้นบุริมสิทธิมาเป็นหุ้นสามัญใช่ไหมครับ
3) นโยบายการจ่ายปันผลของบริษัท
"ถ้าปีใดผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิได้รับแจกเงินปันผลถึงร้อยละ 15 ของทุนของบริษัทที่เป็นหุ้นบุริมสิทธิแล้ว กำไรส่วนที่เหลือจะแจกให้แก่ผู้ถือหุ้นสามัญเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ตามมติที่ประชุมใหญ่
ถ้าปีใดบริษัทสามารถแจกเงินปันผลได้เกินกว่าร้อยละ 15 ของทุนของบริษัท ให้ผู้ถือหุ้นทั้งสองชนิดได้รับแจกเงินปันผลเท่ากัน"
ในทีนี้ คำว่าทุนของบริษัทคือส่วนของเจ้าของหรือทุนเรือนหุ้นส่วนของหุ้นสามัญครับ
4) กรณีการจ่ายปันผลหรือดอกเบี้ยตามเงื่อนไขของหุ้นบุริมสิทธิและหุ้นกู้ จะถือเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทก่อนคิดอัตราภาษีหรือไม่ครับ และถ้าใช่อยู่ในส่วนใดของรายจ่ายครับ
5) ผมได้อ่านของอาจารย์ sun_cisa2 ในกระทู้นี้ตอนหนึ่งว่า
เช่น ABC มีกำไร 1,000 บาท โดย A ถือหุ้นมาตั้งแต่ต้นปี 800 หุ้น ส่วน B เข้ามาถือหุ้นเพิ่มทุนีหลังระหว่างปีนั้น 400 หุ้นเมื่อตอนกลางปี
เงินจาก A ทำมาหากินมา 1 ปีเต็ม ส่วนเงิน B เอามาใช้หากินแค่ครึ่งปี ถ้าถือว่าตลอดปีทำมาหากินสม่ำเสมอ 500 บาทแรก A ควรได้เต็มๆ ส่วน 500 บาทหลังถึงจะเอามาแบ่งระหว่า A กับ B ตามสัดส่วนที่ลงทุน 2:1 A ได้ไป 500x2/3 = 333.33 ส่วน B ได้ไป 500/3 = 166.67
รวมทั้งปี A ได้ส่วนแบ่งกำไรไป =500+333.33 = 833.33 A ถ้าเทียบแล้วลงทุน 1ปี ได้ผลตอบแทนต่อหุ้น = 0.3125+0.2083 =0.5208
รวมทั้งปี B ได้ส่วนแบ่งกำไรไป = 166.67 0.2083
. แต่ในทางบัญชีจะแสดง EPS ขั้นพื้นฐานที่ 1000/(800x12/12 + 400x6/12) = 1.00 ดูแล้วเหมือนกับว่าได้คนละ 1 บาท ความจริงไม่ใช่เลย แค่บอกว่าถ้ามาคิดผลตอบแทนตามระยะเวลาลงทุนแล้ว โดยเปรียบเทียบให้หุ้นทั้งหมดเทียบเท่ากันได้บนฐานเวลาที่ปรับสัดส่วนให้เท่ากัน จะเหมือนว่าได้คนละ 1 บาท
. ผมสงสัยครับ ปกติ EPS ไม่ได้เกิดจากกำไรสุทธิทั้งปีหารด้วยจำนวนหุ้นสามัญหรือครับ แล้วข้อความข้างต้นผมอ่านแล้วไม่เข้าใจ อยากรบกวนให้อาจารย์ช่วยอธิบายเพิ่มเติมด้วยครับ
ขอโทษนะครับที่คำถามอาจยาวนิดนึง
ขอบคุณมากครับผม