เทคนิคการซื้อ RMF

การลงทุนอื่นๆนอกจากหุ้น กองทุนรวมชนิดต่างๆ RMF LTFตราสารหนี้ อสังหาริมทรัพย์ อนุพันธ์ และเกษตรล่วงหน้า

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
SunShine@Night
Verified User
โพสต์: 2196
ผู้ติดตาม: 0

เทคนิคการซื้อ RMF

โพสต์ที่ 1

โพสต์

มีคำถามที่น่าสนใจเรื่อง RMF ของ pantip ครับ

อยากทราบความคิดเห็นของเพื่อนๆ ในเวบ TVI ว่าเป็นไปได้ไหมกรณีนี้
ขาย RMF ก่อน 55 ปี แต่ใช้วิธีแบบนี้จะจ่ายภาษีคืนนิดเดียวได้ไหมครับ      

จากกระทู้ของคุณ Khana และเงื่อนไขของ RMF

"หากลงทุนต่อเนื่องเป็นเวลา 5 ปี (คือซื้อ RMF ทุกปีต่อกัน 5 ปี) แต่ว่าขายคืนก่อน 55 จะต้องคืนภาษีที่ใช้สิทธิ์ย้อนหลัง 5 ปีปฏิทิน"

ดังนั้นสมมติว่าผมอายุ 25 ปี ฐานภาษี 37% ลง RMF ดังต่อไปนี้

ปีที่ 1        500,000
ปีที่ 2        500,000
   3         500,000
   4         500,000
   5         500,000
..........................................ครบ 5 ปี
   6         5,000
   7         5,000
   8         5,000
   9         5,000
  10        5,000

ภาษีที่ใช้สิทธิลดหย่อนไป 5 ปีแรกคือ 0.37 x 5 x 500,000 = 925,000 บาท

ภาษีที่ใช้สิทธิลดหย่อนปีที่ 6-10 คือ 0.37 x 5 x 5,000 = 9,250 บาท

................................

หากผมขายคืนปีที่ 10 ผมก็คืนภาษี 5 ปีปฏิทินย้อนหลังคืออย่างมาก 9,250 บาท

เท่ากับว่าลงทุน 10 ปีผมได้ภาษีคืนมาอีก 925,000-9,250 = 915,750 บาท

..............................

แบบนี้ต้องจ่ายเงินคืนอะไรนอกจากนี้หรือเปล่าครับ ดังนั้นมันเป็นแผนการออมที่คุ้มนะครับถ้าทำได้

เท่ากับว่าจริงๆแล้วผมจ่ายภาษีจริงๆ แค่ 9,250 บาท แถมไม่ติดเรื่องลดหย่อนด้วย
http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/top ... 76545.html
VI ฝึกหัด สำนักปีเตอร์ ลินช์

หวังผลต่อแทนทบต้นมากกว่า 15% ต่อปี :)
ภาพประจำตัวสมาชิก
[v]
Verified User
โพสต์: 1402
ผู้ติดตาม: 0

เทคนิคการซื้อ RMF

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ไม่รู้ครับ แนะนำว่าลงทุนไปเรื่อยๆง่ายกว่าและกองทุนนี้สร้างมาเพื่อการลงทุนระยะยาว ลดหย่อนภาษี อย่าไปเล่นดัดแปลงมากเลยครับ เหมือนเอาช้อนไปตักข้าว แต่เราเอาช้อนไปพรวนดิน  :lol:
banklin
Verified User
โพสต์: 30
ผู้ติดตาม: 0

เทคนิคการซื้อ RMF

โพสต์ที่ 3

โพสต์

เห็นด้วยครับ ที่ว่า อย่าทำให้จุดประสงค์ของกฏหมายในการจัดตั้งกองทุน RMF เบี่ยงเบนไป

ทุนวันนี้ บ้านเมืองเรามีปัญหา ก็เพราะ ไม่ยอมดูกันที่เจตนา แต่กลับเอากฏหมายมาแปลความเข้าข้างตัวเอง ไม่นึกถึงจริยธรรมกัน

ดังนั้น ถ้าไม่เหนือบ่ากว่าแรง แนะนำให้ลงทุนตามเงื่อนไขครับ ช่องโหว่เล็ก้อย อย่าไปสนใจมันมากครับ

--------------------------
โชคดีในการลงทุนครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
LittleChicky
Verified User
โพสต์: 277
ผู้ติดตาม: 0

เทคนิคการซื้อ RMF

โพสต์ที่ 4

โพสต์

เอามาจาก http://www.tsi-thailand.org/e-LearningR ... ay/B09.pdf
อย่างไรก็ตามเพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีดังกล่าวข้างต้น ผู้ลงทุนต้องปฎิบัติตามเงื่อนไขการลง
ทุนของ RMF ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. เงินลงทุนใน RMF ต้องมาจากการประกอบอาชีพ และเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวล
รัษฎากร
2. ต้องลงทุนขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 3% ของเงินได้ หรือไม่น้อยกว่า 5,000 บาทต่อปี แล้วแต่ว่าจำนวนเงินใดจะต่ำ
กว่า
3. เงินลงทุนใน RMF ขั้นสูงสุดต้องไม่เกิน 15% ของเงินได้ และเมื่อรวมเข้ากับเงินลงทุนในกองทุนสำรอง
เลี้ยงชีพ หรือ กบข. ที่ผู้ลงทุนมีอยู่เดิมต้องไม่เกิน 300,000 บาทต่อปี ทั้งนี้หากมีการลงทุนเกินกว่าที่
กำหนดข้างต้น และมีการขายคืนหน่วยลงทุน ผู้ลงทุนต้องนำกำไรที่ได้รับจากการขายคืนหน่วยลงทุน
เฉพาะส่วนที่เกินกว่าที่กำหนด ไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย
4. ห้ามนำหน่วยลงทุนของกองทุน RMF ไปจำหน่าย โอน จำนำ หรือใช้เป็นหลักประกันใดๆ
5. ต้องลงทุนสะสมอย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่องอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยไม่มีการระงับการลงทุนเกินกว่า 1
ปีติดต่อกัน ซึ่งหากมีความจำเป็นก็สามารถระงับการลงทุนได้แต่ต้องไม่เกินหนึ่งปีติดต่อกัน ยกเว้นเสีย
แต่ว่าผู้ลงทุนผู้นั้นไม่มีเงินได้จากการประกอบอาชีพแต่อย่างใด ก็สามารถว่างเว้นจากการลงทุนได้จนกว่า
ผู้ลงทุนผู้นั้นจะมีเงินได้กลับมาลงทุนต่อไป ซึ่งในกรณีนี้ไม่ถือว่าเป็นการผิดเงื่อนไขการลงทุนแต่อย่างใด
ทั้งนี้ให้นับอายุการลงทุนแบบวันชนวันตั้งแต่วันแรกที่เริ่มลงทุน ยกตัวอย่างเช่น หากลงทุนซื้อหน่วยลงทุน
ของ RMF ในวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2548 สามารถนับระยะเวลาการถือครองหน่วยลงทุนครบ 1 ปี ในวันที่
31 ธันวาคมปีถัดไปนั่นเอง
6. การขายคืนหน่วยลงทุนกระทำได้ก็ต่อเมื่อผู้ถือหน่วยลงทุนมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปี และต้องถือหน่วยลงทุน
นั้นไม่น้อยกว่า 5 ปี ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเริ่มลงทุนตอนอายุ 51 ปีอย่างสะสม และต่อเนื่องในกองทุน RMF
ตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ไปในอนาคต จวบจนเมื่อผู้ลงทุนมีอายุครบ 56 ปี จะสามารถขายคืน
หน่วยลงทุนได้โดยไม่ผิดเงื่อนไขที่ได้กำหนดไว้ในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2553 นับเวลา 5 ปีพอดี
7. หากขายคืนหน่วยลงทุนก่อนเงื่อนไขการลงทุนที่กำหนดไว้ข้างต้น ผู้ลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทาง
ภาษีอีกต่อไป อีกทั้งต้องคืนเงินสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ได้รับในช่วง 5 ปีล่าสุดให้แก่กรมสรรพากร นอก
จากนี้เงินที่ได้จากการขายคืนหน่วยลงทุนยังต้องนำไปคำนวณรวมเพื่อเสียภาษีเงินได้ในปีที่มีการขายคืน
หน่วยลงทุนนั้นด้วย

8. กรณีที่ผู้ลงทุนขายคืนหน่วยลงทุนบางส่วนก่อนกำหนดในปีใดปีหนึ่ง และได้คืนเงินสิทธิประโยชน์ทาง
ภาษีในช่วง 5 ปีย้อนหลังแล้ว (ผู้ลงทุนยังคงถือครองหน่วยลงทุน RMF ในส่วนที่เหลืออยู่) หากผู้ลงทุนผู้
นั้นประสงค์ที่จะลงทุนต่อก็สามารถลงทุนต่อเนื่องได้ทันที โดยสามารถนับระยะเวลาการถือครองหน่วย
ลงทุนใหม่ต่อเนื่องจากระยะเวลาการลงทุนเดิมได้
9. เฉพาะกรณีที่ผู้ลงทุนเสียชีวิต หรือทุพพลภาพเท่านั้น จึงจะไม่ถือว่าผิดเงื่อนไขการลงทุน
ดังนั้นจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้ลงทุนต้องทำการศึกษาเงื่อนไขการลงทุนข้างต้น เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์
ทางภาษีก่อนการลงทุนใน RMF เสมอ โดยกองทุนรวมประเภทนี้ยังเหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่มีอาชีพอิสระ หรือลูก
จ้างที่ไม่มีระบบบำเหน็จบำนาญรองรับ หรือลูกจ้างที่อยู่ในระบบบำเหน็จบำนาญอยู่แล้ว แต่ต้องการที่จะลงทุน
เพิ่มขึ้นเพื่อให้ได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเต็มวงเงิน 300,000 บาทต่อปีด้วย
และหากท่านมีความสนใจที่จะได้รับความรู้เรื่องการลงทุนในตราสารทางการเงินรูปแบบต่างๆ ท่าน
สามารถสมัครเข้าร่วมสัมมนาที่หลากหลายหัวข้อโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย หรือเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านทาง TSI e-
Learning กับโครงการพัฒนาความรู้ผู้ลงทุน สถาบันพัฒนาความรู้ตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ที่
www.tsi-thailand.org
เงื่อนไขไม่ครบครับ ที่จริงมีเงื่อนไขมากมาย ถ้าทำตามวิธีข้างต้นจะโดนข้อ 7 ครับ  คือ เงินที่ขายหน่วย RMF ต้องนำมาคิดภาษีด้วย ซึ่งมันจะวนกลับไปตอนแรกที่เราซื้อ RMF เพื่อลดรายได้สุทธิลง   เช่น

ปีที่ 1  รายได้สุทธิ X+500,000 บาท ตกคิดภาษีที่ 37%  เราเอา 500,000 มาซื้อ RMF ทำให้ประหยัดภาษีไป 500,000x0.37

ปีที่ 11 ขายหน่วย RMF รายได้สุทธิ Y+500,000 บาท ถ้าตกภาษีที่ 37% เราก็ต้องจ่ายภาษีเพิ่ม 500,000x0.37 อยู่ดี

แต่ถ้า ปีที่ 11 ธุรกิจเรามีปัญหา รายได้สุทธิเราตกที่ ภาษี 20% ล่ะ ?   :8)



ปล แต่ในข้อมูล Link ดูเหมือนจะเก่าเพราะว่า ลดหย่อนได้แค่ 300,000 บาทเอง ของใหม่ 500,000
นักลงทุนผู้ชาญฉลาดไม่ควรซื้อหุ้นสามัญเพียงเพราะว่ามันมีราคาถูก แต่ควรซื้อเฉพาะว่ามันสัญญาว่าจะทำกำไรงดงามให้กับเขา...ฟิลลิป เอ พิชเชอร์
ภาพประจำตัวสมาชิก
LittleChicky
Verified User
โพสต์: 277
ผู้ติดตาม: 0

เทคนิคการซื้อ RMF

โพสต์ที่ 5

โพสต์

แต่จากเงื่อนไข 2 เวบนี้ ไม่เห็นมีบอกเลยว่า ต้องเอาเงินจากการขายหน่วยมาเป็นรายได้และคิดภาษี   ชักงง ไหง เงื่อนไขไม่เหมือนกัน

http://edu.tsi-thailand.org/index.php?o ... mitstart=3

http://www.sec.or.th/infocenter/report/ ... 92&lang=th
นักลงทุนผู้ชาญฉลาดไม่ควรซื้อหุ้นสามัญเพียงเพราะว่ามันมีราคาถูก แต่ควรซื้อเฉพาะว่ามันสัญญาว่าจะทำกำไรงดงามให้กับเขา...ฟิลลิป เอ พิชเชอร์
โพสต์โพสต์