ชีวิตที่ใช่ กับ ใจที่ชอบ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3653
- ผู้ติดตาม: 0
ชีวิตที่ใช่ กับ ใจที่ชอบ
โพสต์ที่ 1
หนังสือแปลจาก Life is what you make it
เป็น New York Time Bestseller
ชื่อไทยว่า ชีวิตที่ใช่ กับ ใจที่ชอบ
หนาประมาณ 200 หน้า
ราคา 195 บาท
ออกตัวก่อนครับว่าผมยังไม่ได้อ่าน
และไม่รู้ว่าเนื้อหาในหนังสือน่าสนใจหรือไม่
แต่ที่แนะนำเพราะคนเขียน
คือ ปีเตอร์ บัฟเฟตต์
ลูกชายของ วอร์เรน บัฟเฟตต์
แค่นั่นแหละครับ
ปล.
แปลโดย ประเวศ หงส์จรรยา
สนพ. awakebooks ครับ
เป็น New York Time Bestseller
ชื่อไทยว่า ชีวิตที่ใช่ กับ ใจที่ชอบ
หนาประมาณ 200 หน้า
ราคา 195 บาท
ออกตัวก่อนครับว่าผมยังไม่ได้อ่าน
และไม่รู้ว่าเนื้อหาในหนังสือน่าสนใจหรือไม่
แต่ที่แนะนำเพราะคนเขียน
คือ ปีเตอร์ บัฟเฟตต์
ลูกชายของ วอร์เรน บัฟเฟตต์
แค่นั่นแหละครับ
ปล.
แปลโดย ประเวศ หงส์จรรยา
สนพ. awakebooks ครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 72
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ชีวิตที่ใช่ กับ ใจที่ชอบ
โพสต์ที่ 3
เห็นเนื้อหาใกล้เคียงกัน เลยแปะไว้ให้เพื่อนสมาชิกได้อ่านกันนะครับ
การอบรมลูกของวอร์เรน บัฟเฟตต์ "เงินของพ่อแม่ไม่ใช่เงินของลูก"
"พ่อคิดว่าการเลี้ยงลูกทั้งสาม (ซูซาน, โฮเวิร์ด และปีเตอร์) ให้รู้จักช่วยเหลือผู้อื่น เป็นสิ่งที่โชคดีมาก พวกลูกได้ใช้เวลาและพลังในการผลักดันโปรเจ็คท์ต่างๆ เพื่อช่วยเหลือคนอื่น พ่อรู้สึกภูมิใจในสิ่งที่ลูกๆ ทำเป็นอย่างมาก แม่ของลูกก็รู้สึกภูมิใจเช่นกัน.. วอร์เรน บัฟเฟตต์ พ่อผู้รักลูก"
วันที่ 26 มิถุนายน ค.ศ. 2006 วอร์เรน บัฟเฟตต์ (Warren Buffett) มหาเศรษฐีอันดับสองของโลกในปี 2007 (ปัจจุบันเป็นมหาเศรษฐีอันดับ 3 ข้อมูลล่าสุดจากนิตยสาร ฟอร์บส์ ปี 2011) ได้เขียนจดหมายถึงลูกๆ ทั้งสาม โดยมีเนื้อหาสรุปในตอนท้ายเหมือนกับประโยคด้านบน ใจความของจดหมายฉบับดังกล่าวก็คือ เขาตั้งใจจะบริจาคหุ้นจำนวน 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (1,500 ล้านบาท) ขณะที่เขามีชีวิตอยู่ทุกปีให้แก่มูลนิธิการกุศลที่ลูกๆ กำลังบริหารงานกันอยู่ ถ้าวอร์เรน บัฟเฟตต์ เริ่มบริจาคตอนมีอายุ 75 ปี หากเขามีอายุถึง 95 ปี เท่ากับว่าเขาจะบริจาคหุ้นที่มีมูลค่ามากถึง 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (30,000 ล้านบาท) ให้แก่มูลนิธิเพื่อการกุศลได้ นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1999 วอร์เรนจัดตั้งมูลนิธิการกุศลตามชื่อลูกของเขาทั้งสามคน วัตถุประสงค์หลักของการตั้งมูลนิธินี้เพื่อให้ลูกๆ รู้ว่าเขาจะไม่ยกมรดกใดๆ ให้แก่ลูกโดยตรง แต่จะให้ลูกนำเงินของเขาไปใช้ช่วยเหลือผู้อื่น โดยเงินจากมูลนิธินี้จะไม่สามารถนำไปใช้ส่วนตัวได้ ซูซาน ลูกสาวคนโตบริหาร "มูลนิธิซูซาน เอ. บัฟเฟตต์" ช่วยเหลือด้านการศึกษา โฮเวิร์ด ลูกชายคนโตบริหาร "มูลนิธีโอเวิร์ด จี. บัฟเฟตต์" ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประเทศด้อยพัฒนา ปีเตอร์ ลูกชายคนเล็กบริหาร "มูลนิธิโนโว" (Novo) เป็นภาษาละติน มีความหมายว่า "ฉันจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง") ช่วยเหลือด้านสิทธิมนุษยชน
วอร์เรน บัฟเฟตต์ เป็นมหาเศรษฐีคนหนึ่งที่ประกาศว่า หลังจากที่เขาเสียชีวิต จะไม่ยกสมบัติให้แก่ลูกๆ การที่เขาตั้งใจเช่นนี้ ไม่ได้หมายความว่าเขาอยากให้ลูกใช้ชีวิตอย่างยากจน แต่เพราะต้องการให้ลูกเป็นปัจเจกชนที่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยตนเอง โดยไม่คิดหวังพึ่งพาสมบัติของพ่อ เขาเคยให้สัมภาษณ์นิตยสาร ฟอร์จูน ในปี ค.ศ. 1986 ว่า "มหาเศรษฐีที่แท้จริงจะต้องให้มรดกที่พอเหมาะ เพื่อให้ลูกยังต้องทำงานด้วยตัวเอง แต่ไม่ควรให้มรดกมากเกินจนพวกเขาไม่ต้องทำอะไรเลย" การที่เขาบอกว่าจะบริจาคเงินก้อนโตให้แก่มูลนิธิของลูก แสดงว่าในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา พวกลูกๆ บริหารงานมูลนิธิของตัวเองได้ดีจนผู้เป็นพ่อไว้วางใจ เพราะเงินจำนวนที่ให้ไป เขาคำนวณไว้แล้วว่าจะใช้ดำเนินงานได้ภายใน 5 ปีพอดี
ความจริงแล้ว การที่ลูกๆ รับเงินของพ่อมาเพื่อใช้บริจาคช่วยเหลือคนอื่น มีความหมายที่ยิ่งใหญ่มาก พวกเขาไม่คิดเสียดายที่ไม่ได้รับมรดกแม้แต่น้อย โฮเวิร์ด บัฟเฟตต์ ให้สัมภาษณ์นิตยสาร ไทม์ ว่า "สมมติพ่อถามผมว่า 'พ่อจะให้เงิน 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (1,500 ล้านบาท) ทุกปี ลูกจะนำไปใช้ส่วนตัวหรือนำไปใช้ในมูลนิธิของตัวเอง' ผมจะตอบว่า 'ใช้ในมูลนิธิครับ' เป็นเพราะว่าหากจู่ๆ ได้เงิน 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เขาก็ไม่รู้จะเอาไปทำอะไร นอกจากการบริจาค
เรื่องที่เปิดเผยยังไม่จบเพียงเท่านี้ ในวันที่วอร์เรน บัฟเฟตต์ เขียนจดหมายวางแผนจะบริจาคเงินให้แก่ลูกทั้งสาม เขาได้เขียนจดหมายที่ทำให้โลกตะลึงด้วยจดหมายนั้นเขียนถึง บิล เกตส์ มีใจความว่า เขาจะบริจาค 5 เปอร์เซ็นของหุ้นที่ตัวเองครอบครองทุกปีให้แก่ "มูลนิธิบิลและเมลินดา เกตส์" ตลอดช่วงเวลาที่เขายังมีชีวิตอยู่ ตามจำนวนเงินดังกล่าวมีค่าเท่ากับปีละ 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (900,000 ล้านบาท) วันนั้นถ้ารวมทรัพย์สินที่เขาตั้งใจบริจาคทั้งหมดาจะมียอดรวมสูงถึง 37,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (1.11 ล้านล้านบาท) คิดเป็น 85 เปอร์เซ็นต์ของทรัพย์สินทั้งหมดของเขา (ประมาณ 44,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 1.32 ล้านล้านบาท) เงินจำนวนนี้มากกว่าเงินที่บิล เกตส์ มีอยู่ขณะนี้ (ประมาณ 28,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ 840,000 ล้านบาท) เสียอีก นับเป็นการบริจาคเงินให้แก่มูลนิธิที่ตัวเองตั้งขึ้นมา ดังนั้นคนส่วนใหญ่จึงรู้สึกแปลกใจมากที่วอร์เรนตั้งใจจะบริจาคทรัพย์สินของตัวเองมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ให้แก่มูลนิธิของบิล เกตส์
ถ้าเราเป็นลูกของวอร์เรน บัฟเฟตต์ ก็อาจคิดว่า "แหม เราก็ดูแลมูลนิธิได้ดี ทำไมต้องบริจาคเงินให้มูลนิธิบิล เกตส์ เยอะขนาดนั้น" อีกทั้งบิล เกตส์ ยังมีอายุไล่เลี่ยกับตัวเองอีกด้วย ถ้าคิดว่า "เิงินของพ่อ เป็นเงินของฉัน" คงต้องถกเถียงกันอย่างหนักแน่ๆ
แต่ทว่าลูกๆ ของวอร์เรนกลับแสดงปฏิกิริยาที่สงบเสงี่ยม ในวันที่ 29 มิถุนายน หรือสามวันหลังจากที่พวกเขารู้ว่าพ่อตั้งใจจะบริจาคเงิน ทั้งสามได้ไปออกรายการข่าวยามเช้า "กู๊ดมอร์นิ่งอเมริกา" ทางสถานีโทรทัศน์เอบีซี ซึ่งเป็นสถานียักษ์ใหญ่ 1 ใน 3 ของสหรัฐอเมริกา ซูซาน, โฮเวิร์ด และปีเตอร์ ไม่ได้แสดงสีหน้าผิดหวังหรือตกใจแม้แต่น้อย พวกเขายิ้มแย้มแจ่มใส อีกทั้งยังพูดแซวตลอดรายการอย่างอารมณ์ดี ก่อนบอกว่าแผนการบริจาคเงินของพ่อนั้นไม่ใช่เรื่องสำคัญอะไรเลย
พิถีกรถามว่า "ไม่ลองถามคุณพ่อหน่อยเหรอว่า แล้วเงินของฉันล่ะ" ซูซานลูกสาวคนโตเป็นตัวแทนตอบคำถามข้อนี้ว่า "ถ้าสมมติว่าพ่อยกเงินมากมายมหาศาลขนาดนั้น (ทรัพย์สินของวอร์เรน บัฟเฟตต์) ให้แก่พวกเรา มันคงเป็นเรื่องที่น่าตกใจสุดขีดมากกว่า" ส่วนปีเตอร์ ลูกชายคนเล็กกล่าวว่า "พ่อบอกว่าเงินไม่ได้สร้างคน และไม่สามารถทำให้ชีวิตมีความสุขได้" และ "พ่อพูดเสมอว่าต้องการให้คนประเมินคุณค่าจากงาน ไม่ใช่เงิน พร้อมทั้งบอกพวกเราด้วยว่าให้หางานที่ตัวเองชอบ ไม่ใช่หาเงิน"
ทั้งยังบอกว่า แผนการบริจาคทรัพย์สินของพ่อมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ให้แก่มูลนิธิของบิล เกตส์ นั่นไม่ใช่เรื่องใหญ่โตอะไรเลย โฮเวิร์ด ลูกชายคนโตกล่าวว่า "บิล เกตส์ มีธุรกิจหลากหลาย เป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก จึงเป็นคนที่มีความพร้อมและเหมาะสมในการจัดการทรัพย์สินที่มหาศาลเหล่านั้นมากกว่า"
ที่มา http://www.ofaglobal.com/article/94-oneforall.html
การอบรมลูกของวอร์เรน บัฟเฟตต์ "เงินของพ่อแม่ไม่ใช่เงินของลูก"
"พ่อคิดว่าการเลี้ยงลูกทั้งสาม (ซูซาน, โฮเวิร์ด และปีเตอร์) ให้รู้จักช่วยเหลือผู้อื่น เป็นสิ่งที่โชคดีมาก พวกลูกได้ใช้เวลาและพลังในการผลักดันโปรเจ็คท์ต่างๆ เพื่อช่วยเหลือคนอื่น พ่อรู้สึกภูมิใจในสิ่งที่ลูกๆ ทำเป็นอย่างมาก แม่ของลูกก็รู้สึกภูมิใจเช่นกัน.. วอร์เรน บัฟเฟตต์ พ่อผู้รักลูก"
วันที่ 26 มิถุนายน ค.ศ. 2006 วอร์เรน บัฟเฟตต์ (Warren Buffett) มหาเศรษฐีอันดับสองของโลกในปี 2007 (ปัจจุบันเป็นมหาเศรษฐีอันดับ 3 ข้อมูลล่าสุดจากนิตยสาร ฟอร์บส์ ปี 2011) ได้เขียนจดหมายถึงลูกๆ ทั้งสาม โดยมีเนื้อหาสรุปในตอนท้ายเหมือนกับประโยคด้านบน ใจความของจดหมายฉบับดังกล่าวก็คือ เขาตั้งใจจะบริจาคหุ้นจำนวน 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (1,500 ล้านบาท) ขณะที่เขามีชีวิตอยู่ทุกปีให้แก่มูลนิธิการกุศลที่ลูกๆ กำลังบริหารงานกันอยู่ ถ้าวอร์เรน บัฟเฟตต์ เริ่มบริจาคตอนมีอายุ 75 ปี หากเขามีอายุถึง 95 ปี เท่ากับว่าเขาจะบริจาคหุ้นที่มีมูลค่ามากถึง 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (30,000 ล้านบาท) ให้แก่มูลนิธิเพื่อการกุศลได้ นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1999 วอร์เรนจัดตั้งมูลนิธิการกุศลตามชื่อลูกของเขาทั้งสามคน วัตถุประสงค์หลักของการตั้งมูลนิธินี้เพื่อให้ลูกๆ รู้ว่าเขาจะไม่ยกมรดกใดๆ ให้แก่ลูกโดยตรง แต่จะให้ลูกนำเงินของเขาไปใช้ช่วยเหลือผู้อื่น โดยเงินจากมูลนิธินี้จะไม่สามารถนำไปใช้ส่วนตัวได้ ซูซาน ลูกสาวคนโตบริหาร "มูลนิธิซูซาน เอ. บัฟเฟตต์" ช่วยเหลือด้านการศึกษา โฮเวิร์ด ลูกชายคนโตบริหาร "มูลนิธีโอเวิร์ด จี. บัฟเฟตต์" ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประเทศด้อยพัฒนา ปีเตอร์ ลูกชายคนเล็กบริหาร "มูลนิธิโนโว" (Novo) เป็นภาษาละติน มีความหมายว่า "ฉันจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง") ช่วยเหลือด้านสิทธิมนุษยชน
วอร์เรน บัฟเฟตต์ เป็นมหาเศรษฐีคนหนึ่งที่ประกาศว่า หลังจากที่เขาเสียชีวิต จะไม่ยกสมบัติให้แก่ลูกๆ การที่เขาตั้งใจเช่นนี้ ไม่ได้หมายความว่าเขาอยากให้ลูกใช้ชีวิตอย่างยากจน แต่เพราะต้องการให้ลูกเป็นปัจเจกชนที่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยตนเอง โดยไม่คิดหวังพึ่งพาสมบัติของพ่อ เขาเคยให้สัมภาษณ์นิตยสาร ฟอร์จูน ในปี ค.ศ. 1986 ว่า "มหาเศรษฐีที่แท้จริงจะต้องให้มรดกที่พอเหมาะ เพื่อให้ลูกยังต้องทำงานด้วยตัวเอง แต่ไม่ควรให้มรดกมากเกินจนพวกเขาไม่ต้องทำอะไรเลย" การที่เขาบอกว่าจะบริจาคเงินก้อนโตให้แก่มูลนิธิของลูก แสดงว่าในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา พวกลูกๆ บริหารงานมูลนิธิของตัวเองได้ดีจนผู้เป็นพ่อไว้วางใจ เพราะเงินจำนวนที่ให้ไป เขาคำนวณไว้แล้วว่าจะใช้ดำเนินงานได้ภายใน 5 ปีพอดี
ความจริงแล้ว การที่ลูกๆ รับเงินของพ่อมาเพื่อใช้บริจาคช่วยเหลือคนอื่น มีความหมายที่ยิ่งใหญ่มาก พวกเขาไม่คิดเสียดายที่ไม่ได้รับมรดกแม้แต่น้อย โฮเวิร์ด บัฟเฟตต์ ให้สัมภาษณ์นิตยสาร ไทม์ ว่า "สมมติพ่อถามผมว่า 'พ่อจะให้เงิน 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (1,500 ล้านบาท) ทุกปี ลูกจะนำไปใช้ส่วนตัวหรือนำไปใช้ในมูลนิธิของตัวเอง' ผมจะตอบว่า 'ใช้ในมูลนิธิครับ' เป็นเพราะว่าหากจู่ๆ ได้เงิน 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เขาก็ไม่รู้จะเอาไปทำอะไร นอกจากการบริจาค
เรื่องที่เปิดเผยยังไม่จบเพียงเท่านี้ ในวันที่วอร์เรน บัฟเฟตต์ เขียนจดหมายวางแผนจะบริจาคเงินให้แก่ลูกทั้งสาม เขาได้เขียนจดหมายที่ทำให้โลกตะลึงด้วยจดหมายนั้นเขียนถึง บิล เกตส์ มีใจความว่า เขาจะบริจาค 5 เปอร์เซ็นของหุ้นที่ตัวเองครอบครองทุกปีให้แก่ "มูลนิธิบิลและเมลินดา เกตส์" ตลอดช่วงเวลาที่เขายังมีชีวิตอยู่ ตามจำนวนเงินดังกล่าวมีค่าเท่ากับปีละ 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (900,000 ล้านบาท) วันนั้นถ้ารวมทรัพย์สินที่เขาตั้งใจบริจาคทั้งหมดาจะมียอดรวมสูงถึง 37,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (1.11 ล้านล้านบาท) คิดเป็น 85 เปอร์เซ็นต์ของทรัพย์สินทั้งหมดของเขา (ประมาณ 44,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 1.32 ล้านล้านบาท) เงินจำนวนนี้มากกว่าเงินที่บิล เกตส์ มีอยู่ขณะนี้ (ประมาณ 28,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ 840,000 ล้านบาท) เสียอีก นับเป็นการบริจาคเงินให้แก่มูลนิธิที่ตัวเองตั้งขึ้นมา ดังนั้นคนส่วนใหญ่จึงรู้สึกแปลกใจมากที่วอร์เรนตั้งใจจะบริจาคทรัพย์สินของตัวเองมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ให้แก่มูลนิธิของบิล เกตส์
ถ้าเราเป็นลูกของวอร์เรน บัฟเฟตต์ ก็อาจคิดว่า "แหม เราก็ดูแลมูลนิธิได้ดี ทำไมต้องบริจาคเงินให้มูลนิธิบิล เกตส์ เยอะขนาดนั้น" อีกทั้งบิล เกตส์ ยังมีอายุไล่เลี่ยกับตัวเองอีกด้วย ถ้าคิดว่า "เิงินของพ่อ เป็นเงินของฉัน" คงต้องถกเถียงกันอย่างหนักแน่ๆ
แต่ทว่าลูกๆ ของวอร์เรนกลับแสดงปฏิกิริยาที่สงบเสงี่ยม ในวันที่ 29 มิถุนายน หรือสามวันหลังจากที่พวกเขารู้ว่าพ่อตั้งใจจะบริจาคเงิน ทั้งสามได้ไปออกรายการข่าวยามเช้า "กู๊ดมอร์นิ่งอเมริกา" ทางสถานีโทรทัศน์เอบีซี ซึ่งเป็นสถานียักษ์ใหญ่ 1 ใน 3 ของสหรัฐอเมริกา ซูซาน, โฮเวิร์ด และปีเตอร์ ไม่ได้แสดงสีหน้าผิดหวังหรือตกใจแม้แต่น้อย พวกเขายิ้มแย้มแจ่มใส อีกทั้งยังพูดแซวตลอดรายการอย่างอารมณ์ดี ก่อนบอกว่าแผนการบริจาคเงินของพ่อนั้นไม่ใช่เรื่องสำคัญอะไรเลย
พิถีกรถามว่า "ไม่ลองถามคุณพ่อหน่อยเหรอว่า แล้วเงินของฉันล่ะ" ซูซานลูกสาวคนโตเป็นตัวแทนตอบคำถามข้อนี้ว่า "ถ้าสมมติว่าพ่อยกเงินมากมายมหาศาลขนาดนั้น (ทรัพย์สินของวอร์เรน บัฟเฟตต์) ให้แก่พวกเรา มันคงเป็นเรื่องที่น่าตกใจสุดขีดมากกว่า" ส่วนปีเตอร์ ลูกชายคนเล็กกล่าวว่า "พ่อบอกว่าเงินไม่ได้สร้างคน และไม่สามารถทำให้ชีวิตมีความสุขได้" และ "พ่อพูดเสมอว่าต้องการให้คนประเมินคุณค่าจากงาน ไม่ใช่เงิน พร้อมทั้งบอกพวกเราด้วยว่าให้หางานที่ตัวเองชอบ ไม่ใช่หาเงิน"
ทั้งยังบอกว่า แผนการบริจาคทรัพย์สินของพ่อมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ให้แก่มูลนิธิของบิล เกตส์ นั่นไม่ใช่เรื่องใหญ่โตอะไรเลย โฮเวิร์ด ลูกชายคนโตกล่าวว่า "บิล เกตส์ มีธุรกิจหลากหลาย เป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก จึงเป็นคนที่มีความพร้อมและเหมาะสมในการจัดการทรัพย์สินที่มหาศาลเหล่านั้นมากกว่า"
ที่มา http://www.ofaglobal.com/article/94-oneforall.html
-
- Verified User
- โพสต์: 5011
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ชีวิตที่ใช่ กับ ใจที่ชอบ
โพสต์ที่ 7
อีกเล่มหนึ่งที่น่าอ่าน
----------------------------------
บุญอยู่ใกล้แค่ปลายนิ้ว ขอเชิญบริจาคคลิก ไลค์ และ แชร์ เพื่อทุนการศึกษาได้ที่นี่..
http://thorfun.com/#chanchai/story/51ba ... 050c004b8c
----------------------------------
บุญอยู่ใกล้แค่ปลายนิ้ว ขอเชิญบริจาคคลิก ไลค์ และ แชร์ เพื่อทุนการศึกษาได้ที่นี่..
http://thorfun.com/#chanchai/story/51ba ... 050c004b8c