Common Stocks and Uncommon Profits ภาคภาษาไทย
-
- Verified User
- โพสต์: 511
- ผู้ติดตาม: 0
Common Stocks and Uncommon Profits ภาคภาษาไทย
โพสต์ที่ 92
วันศุกร์ไป se-ed เห็นว่ามีวางขายที่นั้นแล้วนะครับ แต่วันนี้ไปที่ B2S ยังไม่มีขายเลย ช้าจัง
VI ฝึกหัด
-
- Verified User
- โพสต์: 511
- ผู้ติดตาม: 0
Common Stocks and Uncommon Profits ภาคภาษาไทย
โพสต์ที่ 94
ผมไปที่สาขาสีลมคอมเพล็กซ์ครับ
สงสัยคงยังกระจายหนังสือได้ไม่ทุกสาขา
สงสัยคงยังกระจายหนังสือได้ไม่ทุกสาขา
VI ฝึกหัด
- น้ำครึ่งแก้ว
- Verified User
- โพสต์: 1098
- ผู้ติดตาม: 0
Common Stocks and Uncommon Profits ภาคภาษาไทย
โพสต์ที่ 96
ขอบคุณ คุณเอกสิทธิ์ ครับ
ได้รับหนังสือแล้วครับ
ได้รับหนังสือแล้วครับ
" ชีวิตไม่เคยขาดความหวาน "
- ekasith
- Verified User
- โพสต์: 96
- ผู้ติดตาม: 0
Common Stocks and Uncommon Profits ภาคภาษาไทย
โพสต์ที่ 97
ขอบคุณสมาชิก Thaivi ทุกคนที่สนับสนุนหนังสือของ สนพ.นะครับ
Common Stocks เป็นหนังสือที่ค่อนข้างจะอ่านยาก แต่ถ้าสามารถทำความเข้าใจกับแนวความคิดของ Philip Fisher ได้ก็จะได้ประโยชน์อย่างมากครับ
ถ้าใครอ่านแล้วเบื่อก็ขอให้อดทนอ่านหน่อยนะครับ
ผลงานลำดับต่อไปของ สนพ. คือ Warren Buffett CEO ของ Robert P. Miles ครับ เป็นหนังสือที่น่าอ่านมากอีกเล่มไว้ โอกาสหน้าจะมาเล่าให้ฟังนะครับ
ขอบคุณครับ
เอกสิทธิ์
Common Stocks เป็นหนังสือที่ค่อนข้างจะอ่านยาก แต่ถ้าสามารถทำความเข้าใจกับแนวความคิดของ Philip Fisher ได้ก็จะได้ประโยชน์อย่างมากครับ
ถ้าใครอ่านแล้วเบื่อก็ขอให้อดทนอ่านหน่อยนะครับ
ผลงานลำดับต่อไปของ สนพ. คือ Warren Buffett CEO ของ Robert P. Miles ครับ เป็นหนังสือที่น่าอ่านมากอีกเล่มไว้ โอกาสหน้าจะมาเล่าให้ฟังนะครับ
ขอบคุณครับ
เอกสิทธิ์
Fidelity Publishing, Co., Ltd.
-
- Verified User
- โพสต์: 185
- ผู้ติดตาม: 0
Common Stocks and Uncommon Profits ภาคภาษาไทย
โพสต์ที่ 102
รอบแรกอ่านแล้วงง เนื่องจากสำนวนที่ใช้ แต่พอรอบสองอ่านเน้นเฉพาะส่วนที่เราสนใจจะอ่านก็รู้เรื่องมากขึ้นนะครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 304
- ผู้ติดตาม: 0
Common Stocks and Uncommon Profits ภาคภาษาไทย
โพสต์ที่ 103
ปัญหาอยู่ตรงช่องไฟระหว่างวรรคครับ
บางทีควรเว้นวรรคแต่พิมพ์ติดกัน
บางอันเป็นประโยคเดียวกันแต่ไปเว้นวรรค
อ่านแล้วทำให้แปลความหมายยาก
ผมแนะนำว่าversionใหม่ต้องเรียงพิมพ์
โดยเน้นการเว้นช่องไฟให้ถูกต้อง
แต่ก็ไม่ได้ทำให้คุณค่าของหนังสือลดลงซักเท่าไหร่
บางทีควรเว้นวรรคแต่พิมพ์ติดกัน
บางอันเป็นประโยคเดียวกันแต่ไปเว้นวรรค
อ่านแล้วทำให้แปลความหมายยาก
ผมแนะนำว่าversionใหม่ต้องเรียงพิมพ์
โดยเน้นการเว้นช่องไฟให้ถูกต้อง
แต่ก็ไม่ได้ทำให้คุณค่าของหนังสือลดลงซักเท่าไหร่
หนักแน่นในแนวทางviพันธ์แท้
- apichai214
- Verified User
- โพสต์: 207
- ผู้ติดตาม: 0
Common Stocks and Uncommon Profits ภาคภาษาไทย
โพสต์ที่ 105
อ่านแล้วไม่เข้าใจตรงที่ว่า ถ้าเรารู้ว่าคนนี้รู้รายละเอียดของบริษัท A ดีมาก แต่เราไม่สนิทกับเขา เราคงเข้าไปถามข้อมูลบริษัทตรงๆ ไม่ได้ ควรไปถามที่ธนาคาร ... ผมสงสัยว่า ธนาคารมีข้อมูลอะไรให้เราไปถาม?? :?:
-
- Verified User
- โพสต์: 18134
- ผู้ติดตาม: 0
Common Stocks and Uncommon Profits ภาคภาษาไทย
โพสต์ที่ 106
เปิดไปอ่านบทแรกบทเรียน
มีความรู้สึกอึดอัดอย่างมาก
เพราะว่า คนเขียนนั้นเขียนด้วยภาพ
ภาพมันต่อเนื่องจากภาษาไม่ต่อเนื่อง
แต่ถ้าคนอ่านมีภาพจะมองเห็นว่าผู้เขียนพยายสื่ออะไรบ้าง
เมื่อคือบทแรกใช้เวลาอ่านตั้งแต่สี่ทุ่มยันเที่ยงคืน
โว้ยเป็นหนังสือการลงทุนเล่มแรกที่ใช้อ่านต่อหน้ามากขนาดนี้
แต่ขอตินิดหน่อยว่า
ถ้าเป็นหนังสือต่างประเทศจะมีพื้นที่ให้เขียนทางขวาถ้าเป็นหน้าคี่
และทางซ้ายถ้าเป็นหน้าคู่ แต่เล่มนี้ไม่ค่อยมีพื้นที่ว่างให้เขียนจดเลย
หาพื้นที่ยากเอามากๆๆ
แต่อย่างไงก็ตามกระดาษก็เป็นกระดาษถนอมสายตา ทำให้อ่านแล้วไม่จ้องมากเกินไป
มีความรู้สึกอึดอัดอย่างมาก
เพราะว่า คนเขียนนั้นเขียนด้วยภาพ
ภาพมันต่อเนื่องจากภาษาไม่ต่อเนื่อง
แต่ถ้าคนอ่านมีภาพจะมองเห็นว่าผู้เขียนพยายสื่ออะไรบ้าง
เมื่อคือบทแรกใช้เวลาอ่านตั้งแต่สี่ทุ่มยันเที่ยงคืน
โว้ยเป็นหนังสือการลงทุนเล่มแรกที่ใช้อ่านต่อหน้ามากขนาดนี้
แต่ขอตินิดหน่อยว่า
ถ้าเป็นหนังสือต่างประเทศจะมีพื้นที่ให้เขียนทางขวาถ้าเป็นหน้าคี่
และทางซ้ายถ้าเป็นหน้าคู่ แต่เล่มนี้ไม่ค่อยมีพื้นที่ว่างให้เขียนจดเลย
หาพื้นที่ยากเอามากๆๆ
แต่อย่างไงก็ตามกระดาษก็เป็นกระดาษถนอมสายตา ทำให้อ่านแล้วไม่จ้องมากเกินไป
-
- Verified User
- โพสต์: 2166
- ผู้ติดตาม: 0
Common Stocks and Uncommon Profits ภาคภาษาไทย
โพสต์ที่ 107
ช่วงนี้ผมกลับมาอ่านหนังสือเล่มนี้อีกรอบครับ แต่เน้นไปอ่านเรื่อง Developing Investment Philosophy ครับ บทความนี้ Philip Fisher ได้รวบรวมปรัชญาทางด้านการลงทุนในช่วงกว่า 4 ทศวรรษมาได้ประมาณ 8 ข้อหลักๆ ครับ ซึ่งผมขอสรุปตามนี้ละกัน
1. ลงทุนในบริษัทที่มีแผนงานที่ชัดเจนในการเติบโตผลประกอบการของบริษัทในระยะยาว และ สามารถป้องกันการเลียนแบบได้
2. ซื้อเมื่อบริษัทที่มีคุณสมบัติข้างต้นอยู่ในช่วงขาลง หรือ อยู่ในช่วงที่ไม่ได้รับความนิยม
3. ขายก็ต่อเมื่อพื้นฐานมีการเปลี่ยนแปลง (เช่นผู้บริหารแย่ลง) หรือ อัตราการเติบโตของบริษัทลดลงน้อยกว่าอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโดยรวม หรือ เมื่อการคาดการณ์ในอนาคตเกิดความไม่แน่นอนขึ้น
4. ไม่ต้องให้ความสำคัญมากนักกับเงินปันผล
5. เรียนรู้จากข้อผิดพลาด และ ระวังอย่าให้เกิดขึ้นอีก
6. เพราะมีบริษัทที่โดดเด่นอยู่ในตลาดไม่มากนัก จึงไม่จำเป็นต้องลงทุนในหุ้นมากตัว และ หากราคาหุ้นของบริษัทเหล่านี้ลดลง ถือเป็นโอกาสในการซื้อ
7. อย่าตามกระแส หรือ สวนกระแส โดยไม่ได้ตรวจสอบกับข้อมูลต่างๆให้ละเอียดรอบคอบเสียก่อน
8. ความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้ต้องมาจากความวิริยะ ความฉลาด และ ความซื่อสัตย์
ว่างๆ จะมาสรุปให้เพิ่มครับ
1. ลงทุนในบริษัทที่มีแผนงานที่ชัดเจนในการเติบโตผลประกอบการของบริษัทในระยะยาว และ สามารถป้องกันการเลียนแบบได้
2. ซื้อเมื่อบริษัทที่มีคุณสมบัติข้างต้นอยู่ในช่วงขาลง หรือ อยู่ในช่วงที่ไม่ได้รับความนิยม
3. ขายก็ต่อเมื่อพื้นฐานมีการเปลี่ยนแปลง (เช่นผู้บริหารแย่ลง) หรือ อัตราการเติบโตของบริษัทลดลงน้อยกว่าอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโดยรวม หรือ เมื่อการคาดการณ์ในอนาคตเกิดความไม่แน่นอนขึ้น
4. ไม่ต้องให้ความสำคัญมากนักกับเงินปันผล
5. เรียนรู้จากข้อผิดพลาด และ ระวังอย่าให้เกิดขึ้นอีก
6. เพราะมีบริษัทที่โดดเด่นอยู่ในตลาดไม่มากนัก จึงไม่จำเป็นต้องลงทุนในหุ้นมากตัว และ หากราคาหุ้นของบริษัทเหล่านี้ลดลง ถือเป็นโอกาสในการซื้อ
7. อย่าตามกระแส หรือ สวนกระแส โดยไม่ได้ตรวจสอบกับข้อมูลต่างๆให้ละเอียดรอบคอบเสียก่อน
8. ความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้ต้องมาจากความวิริยะ ความฉลาด และ ความซื่อสัตย์
ว่างๆ จะมาสรุปให้เพิ่มครับ
Minimize risk through an in-depth knowledge. Buy at bargain price. Wait patiently.
http://valueinvestors.wordpress.com/
http://valueinvestors.wordpress.com/
-
- Verified User
- โพสต์: 2166
- ผู้ติดตาม: 0
Common Stocks and Uncommon Profits ภาคภาษาไทย
โพสต์ที่ 108
เนื้อหาในบทความ Developing an Investment Philosophy มีอยู่ทั้งหมด 4 บทด้วยกันครับ ใจความย่อๆ ในแต่ละบทสรุปได้ประมาณนี้ครับ
บทที่ 1 ช่วงเริ่มต้น
ช่วงนี้เป็นช่วงที่ Fisher เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยและมีโอกาสได้ติดตามอาจารย์ไปเยี่ยมชมและสัมภาษณ์ผู้บริหารในบริษัทต่างๆ ในแถบ California ก่อนที่จะได้เข้าทำงานกับ Brokerage Firm แห่งหนึ่งในช่วงที่จบการศึกษาปีแรก บทเรียนที่ Fisher ได้รับในช่วงเริ่มต้นนี้มี 2 หัวข้อหลักๆ คือ
1. ก่อนที่จะซื้อบริษัทใดบริษัทหนึ่ง จะต้องมีการตรวจสอบข้อมูลจากทุกฝ่ายให้ครับทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นจากตัวผู้บริหารของบริษัทเอง หรือ จากพนักงานในบริษัท หรือ จากคู่แข่ง หรือกระทั่งจากคู่ค้าของบริษัทนั้นๆ การกระทำดังกล่าวจะทำให้มองเห็นมุมมองอื่นๆที่แตกต่างออกไปจากมุมมองของผู้บริหารของบริษัทเอง และ อาจทำให้เราเห็นสิ่งผิดปกติได้ล่วงหน้า ก่อนที่เราจะลงทุนในบริษัทนั้น
2. การพยากรณ์หรือการวิเคราะห์ที่ถูกต้องนั้นจะไม่เกิดประโยชน์อันใดเลย หากไม่ได้มีการทำธุรกรรมขึ้น ง่ายๆเลยคือ พูดอย่างเดียวไม่พอครับ ต้องแปลงความคิดที่ถูกต้องของเราให้มาเป็นกำไรให้ได้ด้วยครับ
บทที่ 2 ปรัชญาเริ่มก่อตัว
หลังจากทำงานอยู่กับบริษัทได้ระยะหนึ่ง Fisher ก็ออกมาเปิดบริษัทบริหารทรัพย์สินเป็นของตนเองครับ ในช่วงนี้ ปรัชญาการลงทุนของเขาเริ่มก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างขึ้น ปรัชญาหรือแนวทางการลงทุนของ Fisher หลักๆที่พัฒนาขึ้นในช่วงนี้สามารถสรุปได้ดังนี้ครับ
1. คุณภาพของบุคลากรในบริษัทมีความสำคัญไม่แพ้ปัจจัยอื่นๆ คุณลักษณะที่สำคัญของบุคลากรมีอยู่ 2 อย่างคือ ความสามารถในการดำเนินธุรกิจ และ ความมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลในการนำพาบริษัทให้เติบโตต่อไปในอนาคต โดยที่มีความเสี่ยงทางการเงินไม่สูง
2. โดยมากแล้ว การสวนกระแสความคิดนิยมในปัจจุบันมักจะให้ผลตอบแทนที่สูง (โดยที่ความคิดของคุณนั้นถูกต้อง)
3. กฎ 3 ปี ที่จะถือครองหุ้นในบริษัทนั้นๆ ถึงแม้ว่าผลประกอบการหรือสถานการณ์อื่นๆที่เข้ามากระทบบริษัทจะไม่ค่อยดี
4. หลีกเลี่ยง market timing ผลกำไรที่ได้ไม่คุ้มกับการถือยาวๆ
5. หลีกเลี่ยงการต่อราคา หนึ่งสลึง หรือ สองสลึง เนื่องจากการลงทุนในระยะยาว ผลตอบแทนที่คาดหวังนั้นสูง
ว่างๆ จะมาต่อบทที่ 3 และ บทที่ 4 ครับ
บทที่ 1 ช่วงเริ่มต้น
ช่วงนี้เป็นช่วงที่ Fisher เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยและมีโอกาสได้ติดตามอาจารย์ไปเยี่ยมชมและสัมภาษณ์ผู้บริหารในบริษัทต่างๆ ในแถบ California ก่อนที่จะได้เข้าทำงานกับ Brokerage Firm แห่งหนึ่งในช่วงที่จบการศึกษาปีแรก บทเรียนที่ Fisher ได้รับในช่วงเริ่มต้นนี้มี 2 หัวข้อหลักๆ คือ
1. ก่อนที่จะซื้อบริษัทใดบริษัทหนึ่ง จะต้องมีการตรวจสอบข้อมูลจากทุกฝ่ายให้ครับทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นจากตัวผู้บริหารของบริษัทเอง หรือ จากพนักงานในบริษัท หรือ จากคู่แข่ง หรือกระทั่งจากคู่ค้าของบริษัทนั้นๆ การกระทำดังกล่าวจะทำให้มองเห็นมุมมองอื่นๆที่แตกต่างออกไปจากมุมมองของผู้บริหารของบริษัทเอง และ อาจทำให้เราเห็นสิ่งผิดปกติได้ล่วงหน้า ก่อนที่เราจะลงทุนในบริษัทนั้น
2. การพยากรณ์หรือการวิเคราะห์ที่ถูกต้องนั้นจะไม่เกิดประโยชน์อันใดเลย หากไม่ได้มีการทำธุรกรรมขึ้น ง่ายๆเลยคือ พูดอย่างเดียวไม่พอครับ ต้องแปลงความคิดที่ถูกต้องของเราให้มาเป็นกำไรให้ได้ด้วยครับ
บทที่ 2 ปรัชญาเริ่มก่อตัว
หลังจากทำงานอยู่กับบริษัทได้ระยะหนึ่ง Fisher ก็ออกมาเปิดบริษัทบริหารทรัพย์สินเป็นของตนเองครับ ในช่วงนี้ ปรัชญาการลงทุนของเขาเริ่มก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างขึ้น ปรัชญาหรือแนวทางการลงทุนของ Fisher หลักๆที่พัฒนาขึ้นในช่วงนี้สามารถสรุปได้ดังนี้ครับ
1. คุณภาพของบุคลากรในบริษัทมีความสำคัญไม่แพ้ปัจจัยอื่นๆ คุณลักษณะที่สำคัญของบุคลากรมีอยู่ 2 อย่างคือ ความสามารถในการดำเนินธุรกิจ และ ความมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลในการนำพาบริษัทให้เติบโตต่อไปในอนาคต โดยที่มีความเสี่ยงทางการเงินไม่สูง
2. โดยมากแล้ว การสวนกระแสความคิดนิยมในปัจจุบันมักจะให้ผลตอบแทนที่สูง (โดยที่ความคิดของคุณนั้นถูกต้อง)
3. กฎ 3 ปี ที่จะถือครองหุ้นในบริษัทนั้นๆ ถึงแม้ว่าผลประกอบการหรือสถานการณ์อื่นๆที่เข้ามากระทบบริษัทจะไม่ค่อยดี
4. หลีกเลี่ยง market timing ผลกำไรที่ได้ไม่คุ้มกับการถือยาวๆ
5. หลีกเลี่ยงการต่อราคา หนึ่งสลึง หรือ สองสลึง เนื่องจากการลงทุนในระยะยาว ผลตอบแทนที่คาดหวังนั้นสูง
ว่างๆ จะมาต่อบทที่ 3 และ บทที่ 4 ครับ
Minimize risk through an in-depth knowledge. Buy at bargain price. Wait patiently.
http://valueinvestors.wordpress.com/
http://valueinvestors.wordpress.com/
- สุมาอี้
- Verified User
- โพสต์: 4576
- ผู้ติดตาม: 0
Common Stocks and Uncommon Profits ภาคภาษาไทย
โพสต์ที่ 109
เป็นประโยชน์มากครับ เพราะหนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่อ่านทรมานมาก มาสรุปให้อ่านแบบนี้ค่อยยังชั่วหน่อย
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 2712
- ผู้ติดตาม: 0
Common Stocks and Uncommon Profits ภาคภาษาไทย
โพสต์ที่ 110
ขอบคุณครับ
ผมเห็นด้วยกับคุณสุมาอี้ ว่าหนังสืออ่านยากนะครับ แต่จริงๆ สงสัยปัจจัยนี้อยู่ที่ตัวผมเองมากกว่า วันหลังจะลองอ่านดูใหม่นะครับ
ผมเห็นด้วยกับคุณสุมาอี้ ว่าหนังสืออ่านยากนะครับ แต่จริงๆ สงสัยปัจจัยนี้อยู่ที่ตัวผมเองมากกว่า วันหลังจะลองอ่านดูใหม่นะครับ
อย่าลืมให้เวลากับครอบครัว และสังคมรอบๆข้างของคุณนะครับ
มีสติ และมีความสุขกับการลงทุนนะครับผม
นักลงทุนที่เก่งที่สุดมิใช่คนที่ซื้อขายไวที่สุด
แต่คือคนที่นำสติกลับมาได้เร็วที่สุด
หลายครั้งส่งคำสั่งซื้อทางไปรษณีย์ได้ผลตอบแทนมากกว่าซื้อผ่านnetหากเราขาดสติ
มีสติ และมีความสุขกับการลงทุนนะครับผม
นักลงทุนที่เก่งที่สุดมิใช่คนที่ซื้อขายไวที่สุด
แต่คือคนที่นำสติกลับมาได้เร็วที่สุด
หลายครั้งส่งคำสั่งซื้อทางไปรษณีย์ได้ผลตอบแทนมากกว่าซื้อผ่านnetหากเราขาดสติ
-
- Verified User
- โพสต์: 2166
- ผู้ติดตาม: 0
Common Stocks and Uncommon Profits ภาคภาษาไทย
โพสต์ที่ 111
มาว่ากันต่อครับ สำหรับบทที่ 3 และ 4 ของ Developing My Investment Philosophy
บทที่ 3 ปรัชญาการลงทุนตกผลึก
หลังจากที่อยู่ในแวดวงการลงทุนมากว่า 4 ทศวรรษ ผ่านเห็นอะไรมามากมาย ทำให้ปรัชญาการลงทุนตกผลึก ใจความสำคัญๆที่ผมจับได้ในบทนี้ สรุปได้ดังนี้ครับ
1. คำถามที่ Fisher มักจะถามผู้บริหารเวลาไปเยี่ยมบริษัทคือ อะไรคือปัญหาระยะยาวที่บริษัทเผชิญอยู่
2. คนที่ไม่เคยทำอะไรผิดครั้งใหญ่ๆ เลย คือคนที่ไม่เคยทำอะไรเลย ดังนั้นอย่าเลื่อนขั้นให้กับคนประเภทนี้
3. ถ้าเราไม่สามารถทำสิ่งนั้นให้ดีได้ ก็อย่าเสียเวลาไปทำมัน (ข้อนี้ประยุกต์ได้กับทั้งการบริหารบริษัทและเรื่องส่วนตัวครับ)
4. ก่อนที่จะลงทุนในบริษัทใดบริษัทหนึ่ง เรามีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาอุตสาหกรรมให้รอบคอบก่อน จากทั้งคู่แข่ง ซัพพลายเออร์ หรือ ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมนั้นๆ
5. การซื้อหุ้นที่มีอัตราส่วน PE สูงๆ ไม่ได้หมายความว่าจะได้ผลตอบแทนที่สูงตาม
6. นักลงทุนต้องรู้ถึงขีดความสามารถของตนเอง
7. ข้อนี้เป็นคำถามที่เราๆ เจอกันประจำครับ กล่าวคือ เราควรจะถือต่อหรือขายหากคาดว่าตลาดมีแนวโน้มเป็นขาลง คำตอบของ Fisher คือ เราควรจะถือต่อ ถ้าหากว่าบริษัทนั้นๆ เรามีความมั่นใจว่า เป็นบริษัทที่แข็งแกร่งจริงๆ การ Timing มักไม่เกิดประโยชน์ เพราะบ่อยครั้งที่เราพลาดโอกาสในการซื้อกลับคืน
8. ไม่ควรให้ความสำคัญมากกับเงินปันผลที่จ่าย แต่ควรดูว่าผลกำไรที่สะสมไว้นำไปลงทุนให้ได้ผลตอบแทนที่สูงหรือไม่
บทที่ 4 Efficient Market Hypothesis
สรุปคือ ไม่ครับ
บทที่ 3 ปรัชญาการลงทุนตกผลึก
หลังจากที่อยู่ในแวดวงการลงทุนมากว่า 4 ทศวรรษ ผ่านเห็นอะไรมามากมาย ทำให้ปรัชญาการลงทุนตกผลึก ใจความสำคัญๆที่ผมจับได้ในบทนี้ สรุปได้ดังนี้ครับ
1. คำถามที่ Fisher มักจะถามผู้บริหารเวลาไปเยี่ยมบริษัทคือ อะไรคือปัญหาระยะยาวที่บริษัทเผชิญอยู่
2. คนที่ไม่เคยทำอะไรผิดครั้งใหญ่ๆ เลย คือคนที่ไม่เคยทำอะไรเลย ดังนั้นอย่าเลื่อนขั้นให้กับคนประเภทนี้
3. ถ้าเราไม่สามารถทำสิ่งนั้นให้ดีได้ ก็อย่าเสียเวลาไปทำมัน (ข้อนี้ประยุกต์ได้กับทั้งการบริหารบริษัทและเรื่องส่วนตัวครับ)
4. ก่อนที่จะลงทุนในบริษัทใดบริษัทหนึ่ง เรามีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาอุตสาหกรรมให้รอบคอบก่อน จากทั้งคู่แข่ง ซัพพลายเออร์ หรือ ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมนั้นๆ
5. การซื้อหุ้นที่มีอัตราส่วน PE สูงๆ ไม่ได้หมายความว่าจะได้ผลตอบแทนที่สูงตาม
6. นักลงทุนต้องรู้ถึงขีดความสามารถของตนเอง
7. ข้อนี้เป็นคำถามที่เราๆ เจอกันประจำครับ กล่าวคือ เราควรจะถือต่อหรือขายหากคาดว่าตลาดมีแนวโน้มเป็นขาลง คำตอบของ Fisher คือ เราควรจะถือต่อ ถ้าหากว่าบริษัทนั้นๆ เรามีความมั่นใจว่า เป็นบริษัทที่แข็งแกร่งจริงๆ การ Timing มักไม่เกิดประโยชน์ เพราะบ่อยครั้งที่เราพลาดโอกาสในการซื้อกลับคืน
8. ไม่ควรให้ความสำคัญมากกับเงินปันผลที่จ่าย แต่ควรดูว่าผลกำไรที่สะสมไว้นำไปลงทุนให้ได้ผลตอบแทนที่สูงหรือไม่
บทที่ 4 Efficient Market Hypothesis
สรุปคือ ไม่ครับ
Minimize risk through an in-depth knowledge. Buy at bargain price. Wait patiently.
http://valueinvestors.wordpress.com/
http://valueinvestors.wordpress.com/
-
- Verified User
- โพสต์: 75
- ผู้ติดตาม: 0
อ่านยากครับ
โพสต์ที่ 116
แปลได้อ่านยากมากครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 21
- ผู้ติดตาม: 0
Common Stocks and Uncommon Profits ภาคภาษาไทย
โพสต์ที่ 118
ว้วววาว ผมนึกว่าคิดว่าไม่รู้เรื่องอยู่คนเดียว
ที่แน่ๆเหตุผลหนึ่งของคือผู้แปลใช้สำนวนฝรั่งในการเีขียน แปลแบบตรงตัว
เหมือนใช้google traslate
อีกเล่มหนึ่งที่เหมือนกันเลยคืออ่านยากมาก จำไม่ได้ว่าชื่ออะไร
หน้าปกเป็นรูปบัฟเฟต แปลโดย ดร นิเวศ
แต่อีกเหตุผลหนึ่งอาจเป็นเพราะมันอ่านยากตั้งแต่แรก
ที่แน่ๆเหตุผลหนึ่งของคือผู้แปลใช้สำนวนฝรั่งในการเีขียน แปลแบบตรงตัว
เหมือนใช้google traslate
อีกเล่มหนึ่งที่เหมือนกันเลยคืออ่านยากมาก จำไม่ได้ว่าชื่ออะไร
หน้าปกเป็นรูปบัฟเฟต แปลโดย ดร นิเวศ
แต่อีกเหตุผลหนึ่งอาจเป็นเพราะมันอ่านยากตั้งแต่แรก
อย่าถามว่ากำไรเท่าไหร่ ให้ถามว่ากำไรมาจากไหน
- Highway_Star
- Verified User
- โพสต์: 440
- ผู้ติดตาม: 0
Common Stocks and Uncommon Profits ภาคภาษาไทย
โพสต์ที่ 119
เพิ่งไปซื้อเล่มนี้มา หลังจากอ่าน essential buffet จบ
เข้าใจว่าหลายๆคนคงอ่านยากอ่ะครับ เพราะว่ามันแปลลำบากจริงๆ
ถ้าใครเคยต้องแปลหนังสือ โดยที่ตัวเองไม่ใช่ล่ามหรือว่าพวก bilingual
จะพบว่าสำนวนจะออกมาคล้ายๆ ดร.นิเวศน์ครับ (ไม่ได้ว่าแกแปลไม่ดีนะครับ แต่ผมรู้สึกว่าถ้าจะแปลเนียนจัดๆ ต้องล่ามหรือ bilingual จริงๆ)
เพราะผมเองก็ต้องแปลให้พี่ๆ ที่บริษัทบ่อยแล้วพบว่ามันแปลยากจนน่าหงุดหงิดจริงๆ 555
อ่อ วันเดียวกันไปซื้อ วัดมูลค่าหุ้นด้วยตัวคุณเองของคุณนรินทร์มาด้วย
ขอบอกว่าหายากมากๆ ผมไล่ที่แผงหนังสือทีละชั้น ทีละชั้น ชั้นนึงยาวประมาณ 6 เมตร
มีอยู่ 4 ชั้น หาไม่เจอ กำลังจะไปถามพนักงานแล้ว โชคดีเงยหน้ามา จู่ๆ มันโผล่มาตรงหน้าพอดี เหลืออยู่เล่มเดียวที่ se-ed Paragon
ฟ้าส่งมาจริงๆ ครับ ฮ่าๆๆ
เข้าใจว่าหลายๆคนคงอ่านยากอ่ะครับ เพราะว่ามันแปลลำบากจริงๆ
ถ้าใครเคยต้องแปลหนังสือ โดยที่ตัวเองไม่ใช่ล่ามหรือว่าพวก bilingual
จะพบว่าสำนวนจะออกมาคล้ายๆ ดร.นิเวศน์ครับ (ไม่ได้ว่าแกแปลไม่ดีนะครับ แต่ผมรู้สึกว่าถ้าจะแปลเนียนจัดๆ ต้องล่ามหรือ bilingual จริงๆ)
เพราะผมเองก็ต้องแปลให้พี่ๆ ที่บริษัทบ่อยแล้วพบว่ามันแปลยากจนน่าหงุดหงิดจริงๆ 555
อ่อ วันเดียวกันไปซื้อ วัดมูลค่าหุ้นด้วยตัวคุณเองของคุณนรินทร์มาด้วย
ขอบอกว่าหายากมากๆ ผมไล่ที่แผงหนังสือทีละชั้น ทีละชั้น ชั้นนึงยาวประมาณ 6 เมตร
มีอยู่ 4 ชั้น หาไม่เจอ กำลังจะไปถามพนักงานแล้ว โชคดีเงยหน้ามา จู่ๆ มันโผล่มาตรงหน้าพอดี เหลืออยู่เล่มเดียวที่ se-ed Paragon
ฟ้าส่งมาจริงๆ ครับ ฮ่าๆๆ