เส้นทาง 'รวยหุ้นอย่างมีสุข''โอภาส ถิรปัญญาเลิศ'
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
เส้นทาง 'รวยหุ้นอย่างมีสุข''โอภาส ถิรปัญญาเลิศ'
โพสต์ที่ 1
เส้นทาง 'รวยหุ้นอย่างมีสุข''โอภาส ถิรปัญญาเลิศ'
Source - เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ (Th)
Monday, October 21, 2013 06:52
ชาลินี กุลแพทย์
"1 ปี พอร์ตโต 50 เปอร์เซ็นต์ ปีครึงขยับเป็นร้อยเปอร์เซ็นต์" ใครจะรู้กว่า"อดีตเม่าตัวพ่อ" "ใหญ่-โอภาส ถิรปัญญาเลิศ" เจ้าของหนังสือ "พลิกพอร์ตหุ้นใหญ่ HI" จะค้นพบหนทางการลงทุนแบบ "Happy Investor" หรือ HI เขาเคยตกอยู่ใน "ภวังค์แห่งความเกลียดชังตลาดหุ้น" อาการ "แอนตี" ลุกลามใหญ่โตไปถึงคนรอบข้าง ด้วยการห้ามคนรู้จักเล่นหุ้น ขาดทุนหุ้นหนัก 5 ปีติด ผ่านมากว่า 2 ปี อวดลุคใหม่ "นักลงทุนพันธุ์ผสม" ควบ "ธงผืนใหญ่" 15 ปี พอร์ตทะยานสู่ "หลักพันล้าน"
"1 ปี พอร์ตโต 50 เปอร์เซ็นต์ ปีครึ่งขยับเป็นร้อยเปอร์เซ็นต์" ใครจะรู้กว่า"อดีตเม่าตัวพ่อ" "ใหญ่-โอภาส ถิรปัญญาเลิศ"เจ้าของหนังสือ "พลิกพอร์ตหุ้นใหญ่ HI"แห่งค่าย Stock2Morrow จะค้นพบหนทางการลงทุนแบบ "Happy Investor" หรือ HI เขาเคยตกอยู่ใน "ภวังค์แห่งความเกลียดชังตลาดหุ้น" อาการ "แอนตี้" ลุกลามใหญ่โตไปถึงคนรอบข้าง ด้วยการห้ามคนรู้จักเล่นหุ้น
"ลงทุนควรมีวินัย เพราะอะไรถึง "เข้า-ออก" ถ้ารู้จะไม่ขาดทุน ทุกวันนี้หุ้นตกไม่เคยเครียด หากดัชนีลงตามอารมณ์ปล่อยไปเดี๋ยวกลับมาเอง แต่ถ้าลงเพราะพื้นฐานเปลี่ยนจงรีบ "ตัดขาดทุน" หรือ Cut Loss ตามแผนที่วางไว้เฉลี่ย 5-10 เปอร์เซ็นต์" "ชายวัย 40 ปี" กล่าวทักทาย "กรุงเทพธุรกิจ Biz Week" ด้วยการเกริ่นนำความสำเร็จในการลงทุนแนว HI
ก่อนเจ้าของแชมป์โครงการ The Stock Master บล.บัวหลวง คนแรกของประเทศไทยจะร่ายประวัติชีวิตให้ฟัง เขาเปิดเผยเป้าหมายการลงทุนในช่วง 15 ปีข้างหน้าว่า พอร์ตต้องขยับขึ้นเป็น "สิบหลัก" ในช่วง 5 ปีแรก (2556-2560) พอร์ตลงทุนต้องเติบโตเฉลี่ยปีละ 40 เปอร์เซ็นต์ จากนั้นจะขยายตัวปีละ 30 เปอร์เซ็นต์ เว้นแต่ช่วงไหนกราฟสวยอาจมีการเก็งกำไรมากหน่อย เรียกว่า ปรับทุกอย่างไปตามสภาพที่ควรจะเป็น
เขา เริ่มต้นแนะนำตัวเองว่า "ผมเป็นลูกชายคนโตมีน้องสาว 2 คน พื้นเพเป็นคนกรุงเทพ ใช้ชีวิตวัยเด็กอยู่แถวคลองสาน เพิ่งย้ายออกมาอยู่ย่านสุขุมวิท 101 หลังจากแต่งงานในปี 2540 กับ "กิ่งกาญจน์ ถิรปัญญาเลิศ""โลกแห่งการทำงาน" เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยเรียนคณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ หรือ ABAC ช่วงนั้นมหาวิทยาลัยประกาศรับสมัครนักศึกษาฝึกงานในศูนย์วิจัยธุรกิจ ทำให้มีโอกาสเข้าไปทำงานตั้งแต่ปี 1 เริ่มได้เงินเดือน 3,500 บาท มีโต๊ะทำงานเป็นของตัวเอง ตอนเรียนปี 2 ทำงานไปเรื่อยๆ จนถึงปี 4 ตำแหน่งสุดท้ายคือ Research for Research in Business เงินเดือนประมาณ 9,000 บาท
ด้วยความเป็นคนชอบวาดรูป ทำให้หลังเรียนจบปริญญาตรี มีโอกาสทำงานประจำแห่งแรก ในบริษัทรับสร้างบ้านเดี่ยว "Casarica Regional Chief" ปิดตัวไปแล้วในปี 2540 ทำงานได้ 3-4 เดือน ถูกดึงตัวไปนั่งตำแหน่งมาร์เก็ตติ้ง ในบริษัท ธรรมพิพัฒน์ จำกัด ซึ่งทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ทำได้ 3-4 เดือน รุ่นพี่ชวนไป ทำงานในบริษัท ทองไทยนคร จำกัด เขาทำ โครงการหมู่บ้านจัดสรรในจังหวัดสุพรรณบุรี นั่งได้ 8 เดือน ลาออกมาทำงานในบริษัทรับเหมาก่อสร้างของครอบครัวภรรยา
ปัจจุบันทำมาแล้ว 18 ปี เพิ่งลาออกเมื่อ สิ้นเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา ทุกวันนี้ยึดอาชีพ นักลงทุน ทำรายการโทรทัศน์ ทำหนังสือ และเป็นที่ปรึกษาตกแต่งภายใน
ช่วงวิกฤติต้มยำกุ้งในปี 2540 ธุรกิจ ของครอบครัวเกือบแย่ งานเริ่มน้อย หนี้เริ่มเยอะ ตอนนั้นต้องเปลี่ยนมารับงานราชการแทนงานเอกชน แถมต้องลดเงินเดือน และลดพนักงาน ผ่านมาถึงปี 2547 ธุรกิจเริ่มดีขึ้น โชคดี ได้งานก่อสร้างตึกแฮมป์ตันทองหล่อ สูง 33 ชั้น ใช้เวลาสร้างเพียง 18 เดือน ชื่อเสียงบริษัท เริ่มดีขึ้น งานค่อยๆ ไหลเข้ามา แม้ธุรกิจจะวิกฤติ แต่คนจีนมีหลักการเรื่อง "ความซื่อสัตย์" เราทำงานใช้หนี้เรื่อยๆ ไม่นานก็หมด ถามถึง "จุดเริ่มต้น" การลงทุน "หนุ่ม อัธยาศัยดี" เล่าว่า เดินเข้าตลาดหุ้นครั้งแรก ในปี 2547 หลังภาวะเศรษฐกิจดีขึ้น หันไป ทางไหนเริ่มเห็นหลายคนพูดถึงตลาดหุ้น หลังจากก่อนหน้านี้ดัชนีหล่นจาก 1,700 จุด เหลือ 200 จุด เมื่อได้ยินเพื่อนพูดบ่อยๆ อาการ "อยากรวยเร็ว" บังเกิดทันที ตอนนั้นเข้าไปแบบ "แมงเม่า" ไม่มีความรู้ ทัศนคติผิดมากๆ "กลัวมั้ย" ตอบเลย "กลัวแต่ โลภมากกว่า" ช่วงแรกของการลงทุนเป็นไปตามกฎเป๊ะ นั่นคือ ไม้แรกๆ มักได้กำไรตลอด ตอนนั้นคิดว่า "ตลาดหุ้นง่ายจัง" คราวนี้ มีเงินเท่าใส่หมด
"เงินตั้งต้น" ไม้แรกประมาณ 30,000 บาท ซื้อหุ้นตามโบรกเกอร์ และตามสตอรี่ ใครบอกว่า "เจ้ากำลังจะลาก" เราซัดเลย ตอนนั้นยังไม่รู้จักการลงทุนแนววีไอ และการตัดขาดทุน หรือ Cut Loss รู้แต่เพียงว่า "ซื้อตามเป้าขายตามเป้า" ในช่วง 3-4 เดือน ได้กำไรตลอดเฉลี่ย 10-20 เปอร์เซ็นต์ สูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝากอีก บ้างไม้เล่น 2 วัน ได้กำไรพรึ่บ...
เมื่อเล่นหุ้นกำไรดีขนาดนี้ คราวนี้มีเงิน มีทองเท่าไรนำมาลงหุ้นหมด ลงทุนขายทองที่ได้จากสินสอดมาเล่นหุ้น ตอนนั้นมีผู้ใหญ่หลายๆคนนำเงินมาฝากเราเล่นหุ้น ทำให้พอร์ตลงทุนเพิ่มขึ้นเป็น "หลักล้าน" ตอนนั้นมั่นใจสุดๆว่า "ต้องรวย" สุดท้ายไม่ใช่เลย.. "เทศกาลคืนกำไร" มาเยือน (หัวเราะ) ซื้อแล้วได้กำไรเหมือนเมื่อก่อนไม่มีอีกแล้ว รอบนี้ "ซื้อปุ๊บลงปั๊บ" เห็นหุ้นลงไม่ยอมขาย ออกแนว "เล่นหุ้นรอเจ้า" ด้วยความที่ไม่มีความรู้อะไรเลย หุ้นบางตัวเราไม่รู้ด้วยซ้ำเขาทำธุรกิจอะไร รู้จักแค่ตัวย่อ
"ผมเสียหายหนักจาก "หุ้นเดินเรือ" มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ เพิ่งมารู้ทีหลังว่า หุ้นเดินเรือมักขึ้นลงตามค่าระวางเรือ หุ้น โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ หรือ TTA และหุ้น พรีเชียส ชิพปิ้ง หรือ PSL ผมมีหมด ซื้อเพราะเขาบอกว่า "เจ้าจะลาก" แต่จริงๆ แล้วหุ้นขึ้นลงตามช่วงธุรกิจ บังเอิญผมไปซื้อตรงยอดดอยพอดี"
เริ่มขาดทุนมากขึ้นเรื่อยๆ สิ่งที่ตามมา คือ "ความเครียด" บางช่วงขาดทุนหลักแสน บางวันตัวเลขในพอร์ตลดลง 500,000-600,000 บาท อาการนอนไม่หลับเริ่มมาเคาะประตู ที่ผ่านมาเราเล่นหุ้นแบบมั่วๆ เล่นแบบไม่ศึกษาอะไรเลย หวัง "รวย" อย่างเดียว
เมื่อมีความทุกข์มากขึ้น จึงตัดสินใจทยอยขายหุ้นเมื่อเห็นราคาเด้งขึ้น จากเดิมไม่ยอมขาย บางตัวขาดทุนไปแล้ว 80 เปอร์เซ็นต์ยังไม่ยอมตัดขาดทุน บนความโชคร้ายยังมีความโชคดีอยู่นิดๆ ตรงที่ หุ้นที่ติดดอยส่วนใหญ่เป็นหุ้นที่จ่ายเงินปันผล
ผ่านมา 5 ปี (2547-2551) ผมต้องตกอยู่ในวังวนของการ "ขาดทุน"สุดท้ายปิดบัญชีมาเงินต้นยังอยู่ แต่ไม่ได้อะไรเลย เพื่อนที่เล่นหุ้นด้วยกันบางคน "ขาดทุนเป็นล้าน"ผมตัดสินใจ เลิกเล่นหุ้น ด้วยการโยกเงินทั้งหมดไปซื้อคอนโดมิเนียมเพื่อปล่อยเช่า ทำให้ได้ ผลตอบแทนกลับคืนมาประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์
หยุดเล่นหุ้นตั้งแต่ปี 51-54!!"ผมบอกภรรยาว่า จะไม่เล่นหุ้นอีกแล้ว ผมกลายเป็นคนแอนตี้ตลาดหุ้น ใครอยากเล่นหุ้นเราจะห้ามเลย และจะบอกเขา เหล่านั้นว่า เล่นหุ้นต้องมีวงใน เงินต้องเยอะ เตือนเขาทั้งๆ ที่เราไม่ได้ย้อนดูตัวเองว่า ที่ผ่านมาเราลงทุนผิดพลาดเอง"
เขา เล่าต่อว่า กลับสู่ตลาดหุ้นอีกครั้งใน วันที่ 4 ก.ค.2554 "จุดเปลี่ยน" เกิดจากหนังสือ 2 เล่ม โดยเล่มแรก คือ หนังสือตีแตก ของ "ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร" อ่านจบเกิดความรู้สึก การลงทุน ไม่ได้เลวร้ายอย่างที่คิด หากเราซื้อหุ้นถูกตัว แต่ที่เราขาดทุน เพราะซื้อตามโบรกเกอร์ และกระแสข่าว
โดยที่ได้ศึกษาหาข้อมูลก่อน นั่นแปลว่า ที่ผ่านมาเราลงทุนผิด ฉะนั้นถ้าตั้งใจจริงน่าจะกลับมาได้ "ใหญ่" คิดเช่นนั้น
จากนั้นเริ่มอ่านหนังสือมากขึ้นเรื่อยๆ จนมาเจอหนังสือเล่มที่ 2 นั่นคือ "แกะรอยหยักสมอง" ของ "แพท-ภาววิทย์ กลิ่นประทุม" ก่อนจะไล่อ่านหนังสือในเครือ Stock2Morrow ทั้งหมด ตอนแรกกะเข้ามาลงทุนในแนว Value investment หรือ VI ด้วยการเลือกซื้อเพียงหุ้นพื้นฐาน
"กลับมารอบนี้ต้องมีความสุข ห้ามทุกข์ ห้ามเครียด" นิยามลงทุนในช่วงแรกของ "ใหญ่""ทุนตั้งต้น" รอบ 2 ประมาณ 500,000 บาท เลือกซื้อหุ้นอะไรเป็นตัวแรกจำไม่ได้ รู้เพียงว่า มีอยู่ในพอร์ตประมาณ 2-3 ตัว กลยุทธ์ช่วงนั้น เน้นหุ้นที่มีผลประกอบการเติบโตทุกปี ผลปรากฏว่า ผลตอบแทนออกมาเป็นที่น่าพอใจ แต่ผ่านมาถึงปลายปี 2554 ราคาหุ้นดันร่วงหลังเกิดสถานการณ์น้ำท่วมใหญ่กรุงเทพ"ผมเริ่มกลับมาคิดว่า เราเลือกหุ้นถูกตัวแล้ว แต่ยังไม่รู้
จักจังหวะเข้าและออก ทำให้ต้องไปเรียนเรื่องเทคนิคเพิ่มเติมในเดือนเม.ย.-พ.ค.2555 ที่ Stock2Morrow
ปัจจุบัน "ผมกลาย เป็น "นักลงทุนพันธุ์ผสม" ระหว่างเทคนิคและพื้นฐาน วิธีการเราจะเลือกหุ้นที่ชอบก่อน
จากนั้นจะนำกราฟมาเป็นตัวช่วยบอกว่า ควรซื้อหรือขายตอนไหน ลงทุนด้วยกลยุทธ์นี้ ทำให้พอร์ตโตขึ้น 3 เท่า จากนั้นผมจัดการ เติมเงินจนพอร์ตขยับขึ้นเป็น "หลักหลายล้านบาท"
"ปีแรกของการลงทุน (ก.ค.54-ก.ค.55) ได้กำไร 50 เปอร์เซ็นต์ ผ่านมาครึ่งปี (ก.ค.55-ม.ค.56) โกยกำไรอีกกว่าร้อยเปอร์เซ็นต์ หัวใจหลักของการลงทุน คือ "เน้นความสุขมากกว่าโกยกำไรมากมาย"
"โอภาส" บอกว่า ปกติจะมีหุ้นในพอร์ตประมาณ 6-7 ตัว เว้นบางช่วงอาจปรับพอร์ตเป็น 10 ตัว ทุกวันนี้มักแบ่งการลงทุนออกเป็น 3 ส่วน คือ หุ้นระยะยาว 40 เปอร์เซ็นต์ ส่วนใหญ่ จะมีหุ้นกลุ่มอาหาร และอสังหาริมทรัพย์ อาศัยอยู่ในพอร์ตหุ้นนี้
หุ้นระยะกลาง 3-6 เดือน ประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ ส่วนใหญ่จะมีหุ้นโรงแรม สายการบิน และค้าปลีก สุดท้าย คือ หุ้นระยะสั้นประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ ไม่กำหนดกลุ่มเน้นกราฟสวยเป็นหลัก โดยเฉพาะกราฟรูป break out ที่มี volume หากพบหุ้นตัวไหนเข้าข่ายกราฟสวย ไม้แรกจะสอยก่อน 50 เปอร์เซ็นต์ ตามต่อด้วยไม้สอง
ปกติผมจะใช้กราฟ MACD และกราฟ volume ช่วยในการซื้อลงทุนหุ้นระยะกลางและสั้น ที่ผ่านมานิยมใช้กราฟช่วยเลือกจังหวะเข้าออกประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ อีก 50 เปอร์เซ็นต์เน้นดูปัจจัยพื้นฐาน เช่น เงินปันผลต้องมากกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น หรือ ROE และอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ หรือ ROA ต้องดีๆ
ถามถึงหุ้นที่สร้างกำไรสูงสุดของพอร์ต?เขาเล่าว่า มีด้วยกัน 3 ตัว ไล่มาตั้งแต่ หุ้นไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม หรือ TFD ต้นทุน 1 บาท แต่ขายหมูไปหมดแล้วที่ 3.60 บาท ตอนนี้ ราคา 10 กว่าบาท ถ้ารออีกนิดคงได้กำไรหลายล้านบาท เขา พูดด้วยความเสียดาย
หุ้น ชิน คอร์ปอเรชั่น หรือ INTUCH ซื้อมา 38 บาท ขายไปช่วงราคาสูงสุด 71 บาท ขายไม่นานราคาลดลง ครั้งหนึ่งเคยตั้งใจว่า ถ้าราคาหุ้นลงมา 60 บาท จะกลับมาซื้อคืน สุดท้ายลงมาแค่ 65 บาท แล้วเด้งกลับ ทำให้ต้องย้ายเงินไปซื้อตัวอื่นแทน
ตัวสุดท้าย คือ หุ้น ซีเฟรชอินดัสตรี หรือ CFRESH ซื้อมา 4.50 บาท ทุกวันนี้ยังถืออยู่ เคยขึ้นไป 12.60 บาท แต่ตอนนี้เหลือประมาณ 8.10 บาท ตัวนี้ตั้งใจจะถือยาว ได้เงินปันผล 2 รอบแล้ว ที่ผ่านมาซื้อเพิ่มตลอด ทำให้มีต้นทุนเฉลี่ย 7.80 บาท ได้ปันผล 1.10 บาท ทำให้ต้นทุนเหลือ 6 บาทกว่า
เชื่อว่าหุ้น CFRESH ลดลง เป็นแค่ช่วงสั้นๆ เดี๋ยวคงกลับมา เขาเป็นหุ้นอาหารยังไงคนต้องกิน ในช่วง 5-6 ปีหลัง บริษัทจ่ายเงินปันผลตลอด แถมยอดขายยังดีมากด้วย ในชีวิตการลงทุนทุกคนควรมีหุ้นพื้นฐานลักษณะนี้สักตัว หุ้น CFRESH เป็นหุ้นตัวเดียวที่อยู่
ในกลุ่มระยะยาวของผมอัดเต็ม 40 เปอร์เซ็นต์ "ใหญ่" เผลอบอก"ความลับ" "ทุกครั้งที่ได้เงินปันผล ผมมักนำไปทบต้นตลอดไม่เคยนำออกมาใช้"
"อดีตเม่าตัวพ่อ" ทิ้งท้ายว่า ทุกวันนี้ยังเก็บเงินกินจากค่าเช่าคอนโดมิเนียม 10 ห้อง ในเมืองทองธานี เดือนละ 2,500 บาท ซึ่งเป็นห้อง ที่ร่วมกันทำกับคุณแม่ ตอนนั้นซื้อมา ห้องละ 300,000 บาท ปัจจุบันขึ้นเป็น 400,000 บาทแล้ว และยังได้เงินค่าเช่าคอนโดมิเนียม สุขุมวิท 50 จำนวน 2 ห้อง ส่วน "ทองคำ กองทุน" ผมไม่เล่น เพราะไม่มีความรู้
จาก "อดีตเม่าตัวพ่อ" ขาดทุนหุ้นหนัก 5 ปีติด ผ่านมากว่า 2 ปี "โอภาส ถิรปัญญาเลิศ" อวดลุคใหม่ "นักลงทุนพันธุ์ผสม" ควบ "ธงผืนใหญ่" 15 ปี พอร์ตทะยานสู่ "หลักพันล้าน"
'ผมกลายเป็น "นักลงทุนพันธุ์ผสม" ระหว่างเทคนิคและพื้นฐาน วิธีการจะเลือกหุ้นที่ชอบก่อน จากนั้นจะนำกราฟมาเป็นตัวช่วยบอกว่า ควรซื้อหรือขายตอนไหน'--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
Source - เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ (Th)
Monday, October 21, 2013 06:52
ชาลินี กุลแพทย์
"1 ปี พอร์ตโต 50 เปอร์เซ็นต์ ปีครึงขยับเป็นร้อยเปอร์เซ็นต์" ใครจะรู้กว่า"อดีตเม่าตัวพ่อ" "ใหญ่-โอภาส ถิรปัญญาเลิศ" เจ้าของหนังสือ "พลิกพอร์ตหุ้นใหญ่ HI" จะค้นพบหนทางการลงทุนแบบ "Happy Investor" หรือ HI เขาเคยตกอยู่ใน "ภวังค์แห่งความเกลียดชังตลาดหุ้น" อาการ "แอนตี" ลุกลามใหญ่โตไปถึงคนรอบข้าง ด้วยการห้ามคนรู้จักเล่นหุ้น ขาดทุนหุ้นหนัก 5 ปีติด ผ่านมากว่า 2 ปี อวดลุคใหม่ "นักลงทุนพันธุ์ผสม" ควบ "ธงผืนใหญ่" 15 ปี พอร์ตทะยานสู่ "หลักพันล้าน"
"1 ปี พอร์ตโต 50 เปอร์เซ็นต์ ปีครึ่งขยับเป็นร้อยเปอร์เซ็นต์" ใครจะรู้กว่า"อดีตเม่าตัวพ่อ" "ใหญ่-โอภาส ถิรปัญญาเลิศ"เจ้าของหนังสือ "พลิกพอร์ตหุ้นใหญ่ HI"แห่งค่าย Stock2Morrow จะค้นพบหนทางการลงทุนแบบ "Happy Investor" หรือ HI เขาเคยตกอยู่ใน "ภวังค์แห่งความเกลียดชังตลาดหุ้น" อาการ "แอนตี้" ลุกลามใหญ่โตไปถึงคนรอบข้าง ด้วยการห้ามคนรู้จักเล่นหุ้น
"ลงทุนควรมีวินัย เพราะอะไรถึง "เข้า-ออก" ถ้ารู้จะไม่ขาดทุน ทุกวันนี้หุ้นตกไม่เคยเครียด หากดัชนีลงตามอารมณ์ปล่อยไปเดี๋ยวกลับมาเอง แต่ถ้าลงเพราะพื้นฐานเปลี่ยนจงรีบ "ตัดขาดทุน" หรือ Cut Loss ตามแผนที่วางไว้เฉลี่ย 5-10 เปอร์เซ็นต์" "ชายวัย 40 ปี" กล่าวทักทาย "กรุงเทพธุรกิจ Biz Week" ด้วยการเกริ่นนำความสำเร็จในการลงทุนแนว HI
ก่อนเจ้าของแชมป์โครงการ The Stock Master บล.บัวหลวง คนแรกของประเทศไทยจะร่ายประวัติชีวิตให้ฟัง เขาเปิดเผยเป้าหมายการลงทุนในช่วง 15 ปีข้างหน้าว่า พอร์ตต้องขยับขึ้นเป็น "สิบหลัก" ในช่วง 5 ปีแรก (2556-2560) พอร์ตลงทุนต้องเติบโตเฉลี่ยปีละ 40 เปอร์เซ็นต์ จากนั้นจะขยายตัวปีละ 30 เปอร์เซ็นต์ เว้นแต่ช่วงไหนกราฟสวยอาจมีการเก็งกำไรมากหน่อย เรียกว่า ปรับทุกอย่างไปตามสภาพที่ควรจะเป็น
เขา เริ่มต้นแนะนำตัวเองว่า "ผมเป็นลูกชายคนโตมีน้องสาว 2 คน พื้นเพเป็นคนกรุงเทพ ใช้ชีวิตวัยเด็กอยู่แถวคลองสาน เพิ่งย้ายออกมาอยู่ย่านสุขุมวิท 101 หลังจากแต่งงานในปี 2540 กับ "กิ่งกาญจน์ ถิรปัญญาเลิศ""โลกแห่งการทำงาน" เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยเรียนคณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ หรือ ABAC ช่วงนั้นมหาวิทยาลัยประกาศรับสมัครนักศึกษาฝึกงานในศูนย์วิจัยธุรกิจ ทำให้มีโอกาสเข้าไปทำงานตั้งแต่ปี 1 เริ่มได้เงินเดือน 3,500 บาท มีโต๊ะทำงานเป็นของตัวเอง ตอนเรียนปี 2 ทำงานไปเรื่อยๆ จนถึงปี 4 ตำแหน่งสุดท้ายคือ Research for Research in Business เงินเดือนประมาณ 9,000 บาท
ด้วยความเป็นคนชอบวาดรูป ทำให้หลังเรียนจบปริญญาตรี มีโอกาสทำงานประจำแห่งแรก ในบริษัทรับสร้างบ้านเดี่ยว "Casarica Regional Chief" ปิดตัวไปแล้วในปี 2540 ทำงานได้ 3-4 เดือน ถูกดึงตัวไปนั่งตำแหน่งมาร์เก็ตติ้ง ในบริษัท ธรรมพิพัฒน์ จำกัด ซึ่งทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ทำได้ 3-4 เดือน รุ่นพี่ชวนไป ทำงานในบริษัท ทองไทยนคร จำกัด เขาทำ โครงการหมู่บ้านจัดสรรในจังหวัดสุพรรณบุรี นั่งได้ 8 เดือน ลาออกมาทำงานในบริษัทรับเหมาก่อสร้างของครอบครัวภรรยา
ปัจจุบันทำมาแล้ว 18 ปี เพิ่งลาออกเมื่อ สิ้นเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา ทุกวันนี้ยึดอาชีพ นักลงทุน ทำรายการโทรทัศน์ ทำหนังสือ และเป็นที่ปรึกษาตกแต่งภายใน
ช่วงวิกฤติต้มยำกุ้งในปี 2540 ธุรกิจ ของครอบครัวเกือบแย่ งานเริ่มน้อย หนี้เริ่มเยอะ ตอนนั้นต้องเปลี่ยนมารับงานราชการแทนงานเอกชน แถมต้องลดเงินเดือน และลดพนักงาน ผ่านมาถึงปี 2547 ธุรกิจเริ่มดีขึ้น โชคดี ได้งานก่อสร้างตึกแฮมป์ตันทองหล่อ สูง 33 ชั้น ใช้เวลาสร้างเพียง 18 เดือน ชื่อเสียงบริษัท เริ่มดีขึ้น งานค่อยๆ ไหลเข้ามา แม้ธุรกิจจะวิกฤติ แต่คนจีนมีหลักการเรื่อง "ความซื่อสัตย์" เราทำงานใช้หนี้เรื่อยๆ ไม่นานก็หมด ถามถึง "จุดเริ่มต้น" การลงทุน "หนุ่ม อัธยาศัยดี" เล่าว่า เดินเข้าตลาดหุ้นครั้งแรก ในปี 2547 หลังภาวะเศรษฐกิจดีขึ้น หันไป ทางไหนเริ่มเห็นหลายคนพูดถึงตลาดหุ้น หลังจากก่อนหน้านี้ดัชนีหล่นจาก 1,700 จุด เหลือ 200 จุด เมื่อได้ยินเพื่อนพูดบ่อยๆ อาการ "อยากรวยเร็ว" บังเกิดทันที ตอนนั้นเข้าไปแบบ "แมงเม่า" ไม่มีความรู้ ทัศนคติผิดมากๆ "กลัวมั้ย" ตอบเลย "กลัวแต่ โลภมากกว่า" ช่วงแรกของการลงทุนเป็นไปตามกฎเป๊ะ นั่นคือ ไม้แรกๆ มักได้กำไรตลอด ตอนนั้นคิดว่า "ตลาดหุ้นง่ายจัง" คราวนี้ มีเงินเท่าใส่หมด
"เงินตั้งต้น" ไม้แรกประมาณ 30,000 บาท ซื้อหุ้นตามโบรกเกอร์ และตามสตอรี่ ใครบอกว่า "เจ้ากำลังจะลาก" เราซัดเลย ตอนนั้นยังไม่รู้จักการลงทุนแนววีไอ และการตัดขาดทุน หรือ Cut Loss รู้แต่เพียงว่า "ซื้อตามเป้าขายตามเป้า" ในช่วง 3-4 เดือน ได้กำไรตลอดเฉลี่ย 10-20 เปอร์เซ็นต์ สูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝากอีก บ้างไม้เล่น 2 วัน ได้กำไรพรึ่บ...
เมื่อเล่นหุ้นกำไรดีขนาดนี้ คราวนี้มีเงิน มีทองเท่าไรนำมาลงหุ้นหมด ลงทุนขายทองที่ได้จากสินสอดมาเล่นหุ้น ตอนนั้นมีผู้ใหญ่หลายๆคนนำเงินมาฝากเราเล่นหุ้น ทำให้พอร์ตลงทุนเพิ่มขึ้นเป็น "หลักล้าน" ตอนนั้นมั่นใจสุดๆว่า "ต้องรวย" สุดท้ายไม่ใช่เลย.. "เทศกาลคืนกำไร" มาเยือน (หัวเราะ) ซื้อแล้วได้กำไรเหมือนเมื่อก่อนไม่มีอีกแล้ว รอบนี้ "ซื้อปุ๊บลงปั๊บ" เห็นหุ้นลงไม่ยอมขาย ออกแนว "เล่นหุ้นรอเจ้า" ด้วยความที่ไม่มีความรู้อะไรเลย หุ้นบางตัวเราไม่รู้ด้วยซ้ำเขาทำธุรกิจอะไร รู้จักแค่ตัวย่อ
"ผมเสียหายหนักจาก "หุ้นเดินเรือ" มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ เพิ่งมารู้ทีหลังว่า หุ้นเดินเรือมักขึ้นลงตามค่าระวางเรือ หุ้น โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ หรือ TTA และหุ้น พรีเชียส ชิพปิ้ง หรือ PSL ผมมีหมด ซื้อเพราะเขาบอกว่า "เจ้าจะลาก" แต่จริงๆ แล้วหุ้นขึ้นลงตามช่วงธุรกิจ บังเอิญผมไปซื้อตรงยอดดอยพอดี"
เริ่มขาดทุนมากขึ้นเรื่อยๆ สิ่งที่ตามมา คือ "ความเครียด" บางช่วงขาดทุนหลักแสน บางวันตัวเลขในพอร์ตลดลง 500,000-600,000 บาท อาการนอนไม่หลับเริ่มมาเคาะประตู ที่ผ่านมาเราเล่นหุ้นแบบมั่วๆ เล่นแบบไม่ศึกษาอะไรเลย หวัง "รวย" อย่างเดียว
เมื่อมีความทุกข์มากขึ้น จึงตัดสินใจทยอยขายหุ้นเมื่อเห็นราคาเด้งขึ้น จากเดิมไม่ยอมขาย บางตัวขาดทุนไปแล้ว 80 เปอร์เซ็นต์ยังไม่ยอมตัดขาดทุน บนความโชคร้ายยังมีความโชคดีอยู่นิดๆ ตรงที่ หุ้นที่ติดดอยส่วนใหญ่เป็นหุ้นที่จ่ายเงินปันผล
ผ่านมา 5 ปี (2547-2551) ผมต้องตกอยู่ในวังวนของการ "ขาดทุน"สุดท้ายปิดบัญชีมาเงินต้นยังอยู่ แต่ไม่ได้อะไรเลย เพื่อนที่เล่นหุ้นด้วยกันบางคน "ขาดทุนเป็นล้าน"ผมตัดสินใจ เลิกเล่นหุ้น ด้วยการโยกเงินทั้งหมดไปซื้อคอนโดมิเนียมเพื่อปล่อยเช่า ทำให้ได้ ผลตอบแทนกลับคืนมาประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์
หยุดเล่นหุ้นตั้งแต่ปี 51-54!!"ผมบอกภรรยาว่า จะไม่เล่นหุ้นอีกแล้ว ผมกลายเป็นคนแอนตี้ตลาดหุ้น ใครอยากเล่นหุ้นเราจะห้ามเลย และจะบอกเขา เหล่านั้นว่า เล่นหุ้นต้องมีวงใน เงินต้องเยอะ เตือนเขาทั้งๆ ที่เราไม่ได้ย้อนดูตัวเองว่า ที่ผ่านมาเราลงทุนผิดพลาดเอง"
เขา เล่าต่อว่า กลับสู่ตลาดหุ้นอีกครั้งใน วันที่ 4 ก.ค.2554 "จุดเปลี่ยน" เกิดจากหนังสือ 2 เล่ม โดยเล่มแรก คือ หนังสือตีแตก ของ "ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร" อ่านจบเกิดความรู้สึก การลงทุน ไม่ได้เลวร้ายอย่างที่คิด หากเราซื้อหุ้นถูกตัว แต่ที่เราขาดทุน เพราะซื้อตามโบรกเกอร์ และกระแสข่าว
โดยที่ได้ศึกษาหาข้อมูลก่อน นั่นแปลว่า ที่ผ่านมาเราลงทุนผิด ฉะนั้นถ้าตั้งใจจริงน่าจะกลับมาได้ "ใหญ่" คิดเช่นนั้น
จากนั้นเริ่มอ่านหนังสือมากขึ้นเรื่อยๆ จนมาเจอหนังสือเล่มที่ 2 นั่นคือ "แกะรอยหยักสมอง" ของ "แพท-ภาววิทย์ กลิ่นประทุม" ก่อนจะไล่อ่านหนังสือในเครือ Stock2Morrow ทั้งหมด ตอนแรกกะเข้ามาลงทุนในแนว Value investment หรือ VI ด้วยการเลือกซื้อเพียงหุ้นพื้นฐาน
"กลับมารอบนี้ต้องมีความสุข ห้ามทุกข์ ห้ามเครียด" นิยามลงทุนในช่วงแรกของ "ใหญ่""ทุนตั้งต้น" รอบ 2 ประมาณ 500,000 บาท เลือกซื้อหุ้นอะไรเป็นตัวแรกจำไม่ได้ รู้เพียงว่า มีอยู่ในพอร์ตประมาณ 2-3 ตัว กลยุทธ์ช่วงนั้น เน้นหุ้นที่มีผลประกอบการเติบโตทุกปี ผลปรากฏว่า ผลตอบแทนออกมาเป็นที่น่าพอใจ แต่ผ่านมาถึงปลายปี 2554 ราคาหุ้นดันร่วงหลังเกิดสถานการณ์น้ำท่วมใหญ่กรุงเทพ"ผมเริ่มกลับมาคิดว่า เราเลือกหุ้นถูกตัวแล้ว แต่ยังไม่รู้
จักจังหวะเข้าและออก ทำให้ต้องไปเรียนเรื่องเทคนิคเพิ่มเติมในเดือนเม.ย.-พ.ค.2555 ที่ Stock2Morrow
ปัจจุบัน "ผมกลาย เป็น "นักลงทุนพันธุ์ผสม" ระหว่างเทคนิคและพื้นฐาน วิธีการเราจะเลือกหุ้นที่ชอบก่อน
จากนั้นจะนำกราฟมาเป็นตัวช่วยบอกว่า ควรซื้อหรือขายตอนไหน ลงทุนด้วยกลยุทธ์นี้ ทำให้พอร์ตโตขึ้น 3 เท่า จากนั้นผมจัดการ เติมเงินจนพอร์ตขยับขึ้นเป็น "หลักหลายล้านบาท"
"ปีแรกของการลงทุน (ก.ค.54-ก.ค.55) ได้กำไร 50 เปอร์เซ็นต์ ผ่านมาครึ่งปี (ก.ค.55-ม.ค.56) โกยกำไรอีกกว่าร้อยเปอร์เซ็นต์ หัวใจหลักของการลงทุน คือ "เน้นความสุขมากกว่าโกยกำไรมากมาย"
"โอภาส" บอกว่า ปกติจะมีหุ้นในพอร์ตประมาณ 6-7 ตัว เว้นบางช่วงอาจปรับพอร์ตเป็น 10 ตัว ทุกวันนี้มักแบ่งการลงทุนออกเป็น 3 ส่วน คือ หุ้นระยะยาว 40 เปอร์เซ็นต์ ส่วนใหญ่ จะมีหุ้นกลุ่มอาหาร และอสังหาริมทรัพย์ อาศัยอยู่ในพอร์ตหุ้นนี้
หุ้นระยะกลาง 3-6 เดือน ประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ ส่วนใหญ่จะมีหุ้นโรงแรม สายการบิน และค้าปลีก สุดท้าย คือ หุ้นระยะสั้นประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ ไม่กำหนดกลุ่มเน้นกราฟสวยเป็นหลัก โดยเฉพาะกราฟรูป break out ที่มี volume หากพบหุ้นตัวไหนเข้าข่ายกราฟสวย ไม้แรกจะสอยก่อน 50 เปอร์เซ็นต์ ตามต่อด้วยไม้สอง
ปกติผมจะใช้กราฟ MACD และกราฟ volume ช่วยในการซื้อลงทุนหุ้นระยะกลางและสั้น ที่ผ่านมานิยมใช้กราฟช่วยเลือกจังหวะเข้าออกประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ อีก 50 เปอร์เซ็นต์เน้นดูปัจจัยพื้นฐาน เช่น เงินปันผลต้องมากกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น หรือ ROE และอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ หรือ ROA ต้องดีๆ
ถามถึงหุ้นที่สร้างกำไรสูงสุดของพอร์ต?เขาเล่าว่า มีด้วยกัน 3 ตัว ไล่มาตั้งแต่ หุ้นไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม หรือ TFD ต้นทุน 1 บาท แต่ขายหมูไปหมดแล้วที่ 3.60 บาท ตอนนี้ ราคา 10 กว่าบาท ถ้ารออีกนิดคงได้กำไรหลายล้านบาท เขา พูดด้วยความเสียดาย
หุ้น ชิน คอร์ปอเรชั่น หรือ INTUCH ซื้อมา 38 บาท ขายไปช่วงราคาสูงสุด 71 บาท ขายไม่นานราคาลดลง ครั้งหนึ่งเคยตั้งใจว่า ถ้าราคาหุ้นลงมา 60 บาท จะกลับมาซื้อคืน สุดท้ายลงมาแค่ 65 บาท แล้วเด้งกลับ ทำให้ต้องย้ายเงินไปซื้อตัวอื่นแทน
ตัวสุดท้าย คือ หุ้น ซีเฟรชอินดัสตรี หรือ CFRESH ซื้อมา 4.50 บาท ทุกวันนี้ยังถืออยู่ เคยขึ้นไป 12.60 บาท แต่ตอนนี้เหลือประมาณ 8.10 บาท ตัวนี้ตั้งใจจะถือยาว ได้เงินปันผล 2 รอบแล้ว ที่ผ่านมาซื้อเพิ่มตลอด ทำให้มีต้นทุนเฉลี่ย 7.80 บาท ได้ปันผล 1.10 บาท ทำให้ต้นทุนเหลือ 6 บาทกว่า
เชื่อว่าหุ้น CFRESH ลดลง เป็นแค่ช่วงสั้นๆ เดี๋ยวคงกลับมา เขาเป็นหุ้นอาหารยังไงคนต้องกิน ในช่วง 5-6 ปีหลัง บริษัทจ่ายเงินปันผลตลอด แถมยอดขายยังดีมากด้วย ในชีวิตการลงทุนทุกคนควรมีหุ้นพื้นฐานลักษณะนี้สักตัว หุ้น CFRESH เป็นหุ้นตัวเดียวที่อยู่
ในกลุ่มระยะยาวของผมอัดเต็ม 40 เปอร์เซ็นต์ "ใหญ่" เผลอบอก"ความลับ" "ทุกครั้งที่ได้เงินปันผล ผมมักนำไปทบต้นตลอดไม่เคยนำออกมาใช้"
"อดีตเม่าตัวพ่อ" ทิ้งท้ายว่า ทุกวันนี้ยังเก็บเงินกินจากค่าเช่าคอนโดมิเนียม 10 ห้อง ในเมืองทองธานี เดือนละ 2,500 บาท ซึ่งเป็นห้อง ที่ร่วมกันทำกับคุณแม่ ตอนนั้นซื้อมา ห้องละ 300,000 บาท ปัจจุบันขึ้นเป็น 400,000 บาทแล้ว และยังได้เงินค่าเช่าคอนโดมิเนียม สุขุมวิท 50 จำนวน 2 ห้อง ส่วน "ทองคำ กองทุน" ผมไม่เล่น เพราะไม่มีความรู้
จาก "อดีตเม่าตัวพ่อ" ขาดทุนหุ้นหนัก 5 ปีติด ผ่านมากว่า 2 ปี "โอภาส ถิรปัญญาเลิศ" อวดลุคใหม่ "นักลงทุนพันธุ์ผสม" ควบ "ธงผืนใหญ่" 15 ปี พอร์ตทะยานสู่ "หลักพันล้าน"
'ผมกลายเป็น "นักลงทุนพันธุ์ผสม" ระหว่างเทคนิคและพื้นฐาน วิธีการจะเลือกหุ้นที่ชอบก่อน จากนั้นจะนำกราฟมาเป็นตัวช่วยบอกว่า ควรซื้อหรือขายตอนไหน'--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 379
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทาง 'รวยหุ้นอย่างมีสุข''โอภาส ถิรปัญญาเลิศ'
โพสต์ที่ 2
อืม...รอฟังความเห็นเพื่อนๆครับ...
-
- Verified User
- โพสต์: 297
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทาง 'รวยหุ้นอย่างมีสุข''โอภาส ถิรปัญญาเลิศ'
โพสต์ที่ 4
ถ้ามีความสุขก็แสดงว่ามาถูกทาง
ส่วนขนาดพอร์ตเท่าไหร่คงไม่สำคัญครับ แล้วแต่ความพอใจรายบุคคล
ส่วนขนาดพอร์ตเท่าไหร่คงไม่สำคัญครับ แล้วแต่ความพอใจรายบุคคล
-
- Verified User
- โพสต์: 467
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทาง 'รวยหุ้นอย่างมีสุข''โอภาส ถิรปัญญาเลิศ'
โพสต์ที่ 5
ผมมองว่าประสบการณ์ 2 ปีในการลงทุน คุยเล่นในบอร์ดหรือกับเพื่อนๆได้ แต่สุ่มเสี่ยงเกินไปที่จะทำหนังสือให้คนในวงกว้างอ่าน ไม่ค่อยแน่ใจว่าเล่นหุ้น 2 ปีแล้วทำกำไร มีประโยชน์มากแค่ไหนกับผู้อ่าน การลงทุนสำหรับบางท่านทดลองเรียนรู้กันไปได้ แต่กับบางคนถ้าพลาดแล้วอาจสร้างความเสียหายให้กับชีวิตหรือครอบครัวได้เลย
เพียงแค่อยากให้ผู้เขียนหรือสำนักพิมพ์ไตร่ตรองให้รอบคอบว่า สุดท้ายจะเป็นประโยชน์หรือโทษมากกกว่ากัน
ด้วยความเคารพ
เพียงแค่อยากให้ผู้เขียนหรือสำนักพิมพ์ไตร่ตรองให้รอบคอบว่า สุดท้ายจะเป็นประโยชน์หรือโทษมากกกว่ากัน
ด้วยความเคารพ
The miracle of compounding,
-
- Verified User
- โพสต์: 571
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทาง 'รวยหุ้นอย่างมีสุข''โอภาส ถิรปัญญาเลิศ'
โพสต์ที่ 7
สำนักพิมพ์ ค่ายนี้ชอบเล่นการตลาดจัง ทำเหมือนประกวด AF พอได้ผู้ชนะก็จับมาออกหนังสือซะแล้ว ตั้งแต่ปลายปี 55 ถึงเกือบกลางปี 56 SET ให้ผลตอบแทนอย่างมหัศจรรย์ แต่ครึ่งปีหลังกลับกลายเป็นหนังคนละม้วน ผลตอบแทนของคุณ โอภาส ไม่รู้ตอนนี้เป็นอย่างไร ยังเติบโตอย่างที่คาดหวังหรือเปล่า เห็นตั้งเป้าสูงลิบลิ่วขนาดนั้น
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: เส้นทาง 'รวยหุ้นอย่างมีสุข''โอภาส ถิรปัญญาเลิศ'
โพสต์ที่ 8
ธุรกิจ : BizWeek
วันที่ 22 ตุลาคม 2556 01:00
เส้นทาง "รวยหุ้นอย่างมีสุข" "โอภาส ถิรปัญญาเลิศ"
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
“อดีตเม่าตัวพ่อ” ขาดทุนหุ้นหนัก 5 ปีติด ผ่านมากว่า 2 ปี “โอภาส ถิรปัญญาเลิศ” อวดลุคใหม่ “นักลงทุนพันธุ์ผสม”ควบธงผืนใหญ่ 15 ปี พอร์ตหลักพันล.
“1 ปี พอร์ตโต 50 เปอร์เซ็นต์ ปีครึ่งขยับเป็นร้อยเปอร์เซ็นต์” ใครจะรู้กว่า“อดีตเม่าตัวพ่อ” “ใหญ่-โอภาส ถิรปัญญาเลิศ” เจ้าของหนังสือ “พลิกพอร์ตหุ้นใหญ่ HI” แห่งค่าย Stock2Morrow จะค้นพบหนทางการลงทุนแบบ “Happy Investor” หรือ HI เขาเคยตกอยู่ใน “ภวังค์แห่งความเกลียดชังตลาดหุ้น” อาการ “แอนตี้” ลุกลามใหญ่โตไปถึงคนรอบข้าง ด้วยการห้ามคนรู้จักเล่นหุ้น
“ลงทุนควรมีวินัย เพราะอะไรถึง “เข้า-ออก” ถ้ารู้จะไม่ขาดทุน ทุกวันนี้หุ้นตกไม่เคยเครียด หากดัชนีลงตามอารมณ์ปล่อยไปเดี๋ยวกลับมาเอง แต่ถ้าลงเพราะพื้นฐานเปลี่ยนจงรีบ “ตัดขาดทุน” หรือ Cut Loss ตามแผนที่วางไว้เฉลี่ย 5-10 เปอร์เซ็นต์” “ชายวัย 40 ปี” กล่าวทักทาย “กรุงเทพธุรกิจ Biz Week” ด้วยการเกริ่นนำความสำเร็จในการลงทุนแนว HI
ก่อนเจ้าของแชมป์โครงการ The Stock Master บล.บัวหลวง คนแรกของประเทศไทยจะร่ายประวัติชีวิตให้ฟังว่า เขาเปิดเผยเป้าหมายการลงทุนในช่วง 15 ปีข้างหน้าว่า
พอร์ตต้องขยับขึ้นเป็น “สิบหลัก”
ในช่วง 5 ปีแรก (2556-2560) พอร์ตลงทุนต้องเติบโตเฉลี่ยปีละ 40 เปอร์เซ็นต์ จากนั้นจะขยายตัวปีละ 30 เปอร์เซ็นต์ เว้นแต่ช่วงไหนกราฟสวยอาจมีการเก็งกำไรมากหน่อย เรียกว่า ปรับทุกอย่างไปตามสภาพที่ควรจะเป็น
เขา เริ่มต้นแนะนำตัวเองว่า “ผมเป็นลูกชายคนโตมีน้องสาว 2 คน พื้นเพเป็นคนกรุงเทพ ใช้ชีวิตวัยเด็กอยู่แถวคลองสาน เพิ่งย้ายออกมาอยู่ย่านสุขุมวิท 101 หลังจากแต่งงานในปี 2540 กับ “กิ่งกาญจน์ ถิรปัญญาเลิศ”
“โลกแห่งการทำงาน” เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยเรียนคณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ หรือ ABAC ช่วงนั้นมหาวิทยาลัยประกาศรับสมัครนักศึกษาฝึกงานในศูนย์วิจัยธุรกิจ ทำให้มีโอกาสเข้าไปทำงานตั้งแต่ปี 1 เริ่มได้เงินเดือน 3,500 บาท มีโต๊ะทำงานเป็นของตัวเอง ตอนเรียนปี 2 ทำงานไปเรื่อยๆจนถึงปี 4 ตำแหน่งสุดท้ายคือ Research for Research in Business เงินเดือนประมาณ 9,000 บาท
ด้วยความเป็นคนชอบวาดรูป ทำให้หลังเรียนจบปริญญาตรี มีโอกาสทำงานประจำแห่งแรกในบริษัทรับสร้างบ้านเดี่ยว “Casarica Regional Chief” ปิดตัวไปแล้วในปี 2540 ทำงานได้ 3-4 เดือน ถูกดึงตัวไปนั่งตำแหน่งมาร์เก็ตติ้งในบริษัท ธรรมพิพัฒน์ จำกัด ซึ่งทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ทำได้ 3-4 เดือน รุ่นพี่ชวนไปทำงานในบริษัท ทองไทยนคร จำกัด เขาทำโครงการหมู่บ้านจัดสรรในจังหวัดสุพรรณบุรี นั่งได้ 8 เดือน ลาออกมาทำงานในบริษัทรับเหมาก่อสร้างของครอบครัวภรรยา
ปัจจุบันทำมาแล้ว 18 ปี เพิ่งลาออกเมื่อสิ้นเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา ทุกวันนี้ยึดอาชีพนักลงทุน ทำรายโทรทัศน์ ทำหนังสือ และเป็นที่ปรึกษาตกแต่งภายใน
ช่วงวิกฤติต้มยำกุ้งในปี 2540 ธุรกิจของครอบครัวเกือบแย่ งานเริ่มน้อย หนี้เริ่มเยอะ ตอนนั้นต้องเปลี่ยนมารับงานราชการแทนงานเอกชน แถมต้องลดเงินเดือน และลดพนักงาน ผ่านมาถึงปี 2547 ธุรกิจเริ่มดีขึ้น โชคดีได้งานก่อสร้างตึกแฮมป์ตัน ทองหล่อ สูง 33 ชั้น ใช้เวลาสร้างเพียง 18 เดือน ชื่อเสียงบริษัทเริ่มดีขึ้น งานค่อยๆไหลเข้ามา แม้ธุรกิจจะวิกฤติ แต่คนจีนมีหลักการเรื่อง “ความซื่อสัตย์” เราทำงานใช้หนี้เรื่อยๆ ไม่นานก็หมด
ถามถึง “จุดเริ่มต้น” การลงทุน “หนุ่มอัธยาศัยดี” เล่าว่า เดินเข้าตลาดหุ้นครั้งแรกในปี 2547 หลังภาวะเศรษฐกิจดีขึ้น หันไปทางไหนเริ่มเห็นหลายคนถึงตลาดหุ้น หลังจากก่อนหน้านี้ดัชนีหล่นจาก 1,700 จุด เหลือ 200 จุด เมื่อได้ยินเพื่อนพูดบ่อยๆ อาการ “อยากรวยเร็ว” บังเกิดทันที
ตอนนั้นเข้าไปแบบ “แมงเม่า” ไม่มีความรู้ ทัศนคติผิดมากๆ “กลัวมั้ย” ตอบเลย “กลัวแต่โลภมากกว่า” ช่วงแรกของการลงทุนเป็นไปตามกฎเป๊ะ นั่นคือ ไม้แรกๆมักได้กำไรตลอด ตอนนั้นคิดว่า “ตลาดหุ้นง่ายจัง” คราวนี้มีเงินเท่าใส่หมด
“เงินตั้งต้น” ไม้แรกประมาณ 30,000 บาท ซื้อหุ้นตามโบรกเกอร์ และตามสตอรี่ ใครบอกว่า “เจ้ากำลังจะลาก” เราซัดเลย ตอนนั้นยังไม่รู้จักการลงทุนแนววีไอ และการตัดขาดทุน หรือ Cut Loss รู้แต่เพียงว่า “ซื้อตามเป้าขายตามเป้า” ในช่วง 3-4 เดือน ได้กำไรตลอดเฉลี่ย 10-20 เปอร์เซ็นต์ สูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝากอีก บางไม้เล่น 2 วัน ได้กำไรพรึ่บ..
เมื่อเล่นหุ้นกำไรดีขนาดนี้ คราวนี้มีเงินมีทองเท่าไรนำมาลงหุ้นหมด ลงทุนขายทองที่ได้จากสินสอดมาเล่นหุ้น ตอนนั้นมีผู้ใหญ่หลายๆคนนำเงินมาฝากเราเล่นหุ้น ทำให้พอร์ตลงทุนเพิ่มขึ้นเป็น “หลักล้าน” ตอนนั้นมั่นใจสุดๆว่า “ต้องรวย” สุดท้ายไม่ใช่เลย..
“เทศกาลคืนกำไร” กำลังเกิดขึ้น (หัวเราะ) ซื้อแล้วได้กำไรเหมือนเมื่อก่อนไม่มีอีกแล้ว รอบนี้ “ซื้อปุ๊บลงปั๊บ” เห็นหุ้นลงไม่ยอมขาย ออกแนว “เล่นหุ้นรอเจ้า” ด้วยความที่ไม่มีความรู้อะไรเลย หุ้นบางตัวเราไม่รู้ด้วยซ้ำเขาทำธุรกิจอะไร รู้จักแค่ตัวย่อ
“ผมเสียหายหนักจาก “หุ้นเดินเรือ” มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ เพิ่งมารู้ทีหลังว่า หุ้นเดินเรือมักขึ้นลงตามค่าระวางเรือ หุ้น โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ หรือ TTA และหุ้น พรีเชียส ชิพปิ้ง หรือ PSL ผมมีหมด ซื้อเพราะเขาบอกว่า “เจ้าจะลาก” แต่จริงๆแล้วหุ้นขึ้นลงตามช่วงธุรกิจ บังเอิญผมไปซื้อตรงยอดดอยพอดี”
เริ่มขาดทุนมากขึ้นเรื่อยๆ สิ่งที่ตามมา คือ “ความเครียด” บางช่วงขาดทุนหลักแสน บางวันตัวเลขในพอร์ตลดลง 500,000-600,000 บาท อาการนอนไม่หลับเริ่มมาเยือน ที่ผ่านมาเราเล่นหุ้นแบบมั่วๆ เล่นแบบไม่ศึกษาอะไรเลย หวัง “รวย” อย่างเดียว
เมื่อมีความทุกข์มากขึ้น จึงตัดสินใจทยอยขายหุ้นเมื่อเห็นราคาเด้งขึ้น จากเดิมไม่ยอมขาย บางตัวขาดทุนไปแล้ว 80 เปอร์เซ็นต์ยังไม่ยอมตัดขาดทุน บนความโชคร้ายยังมีความโชคดีอยู่นิดๆตรงที่ หุ้นที่ติดดอยส่วนใหญ่เป็นหุ้นที่จ่ายเงินปันผล
ผ่านมา 5 ปี ( 2547-2551) ผมต้องตกอยู่ในวังวนของการ “ขาดทุน” สุดท้ายปิดบัญชีมาเงินต้นยังอยู่ แต่ไม่ได้อะไรเลย เพื่อนที่เล่นด้วยกันบางคน “ขาดทุนเป็นล้าน” ผมตัดสินใจเลิกเล่นหุ้น ด้วยการโยกเงินทั้งหมดไปซื้อคอนโดมิเนียมเพื่อปล่อยเช่า ทำให้ได้ผลตอบแทนกลับคืนมาประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์
หยุดเล่นหุ้นตั้งแต่ปี 51-54!! “ผมบอกภรรยาว่า จะไม่เล่นหุ้นอีกแล้ว ผมกลายเป็นคนแอนตี้ตลาดหุ้น ใครอยากเล่นหุ้นเราจะห้ามเลย และจะบอกเขาเหล่านั้นว่า เล่นหุ้นต้องมีวงใน เงินต้องเยอะ เตือนเขาทั้งๆที่เราไม่ได้ย้อนดูตัวเองว่า ที่ผ่านมาเราลงทุนผิดพลาดเอง”
เขา เล่าต่อว่า กลับสู่ตลาดหุ้นอีกครั้งในวันที่ 4 ก.ค.2554 “จุดเปลี่ยน” เกิดจากหนังสือ 2 เล่ม โดยเล่มแรก คือ หนังสือตีแตก ของ “ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร” อ่านจบเกิดความรู้สึก การลงทุนไม่ได้เลวร้ายอย่างที่คิด หากเราซื้อหุ้นถูกตัว แต่ที่เราขาดทุน เพราะซื้อตามโบรกเกอร์ และกระแสข่าว
โดยที่ได้ศึกษาหาข้อมูลก่อน นั่นแปลว่า ที่ผ่านมาเราลงทุนผิด ฉะนั้นถ้าตั้งใจจริงน่าจะกลับมาได้ “ใหญ่” คิดเช่นนั้น
จากนั้นเริ่มอ่านหนังสือมากขึ้นเรื่อยๆ จนมาเจอหนังสือเล่มที่ 2 นั่นคือ “แกะรอยหยักสมอง” ของ “แพท-ภาววิทย์ กลิ่นประทุม” ก่อนจะไล่อ่านหนังสือในเครือ Stock2Morrow ทั้งหมด ตอนแรกกะเข้ามาลงทุนในแนว Value investment หรือ VI ด้วยการเลือกซื้อเพียงหุ้นพื้นฐาน
“กลับมารอบนี้ต้องมีความสุข ห้ามทุกข์ ห้ามเครียด” นิยามลงทุนในช่วงแรกของ “ใหญ่"
“ทุนตั้งต้น” รอบ 2 ประมาณ 500,000 บาท เลือกซื้อหุ้นอะไรเป็นตัวแรกจำไม่ได้ รู้เพียงว่า มีอยู่ในพอร์ตประมาณ 2-3 ตัว กลยุทธ์ช่วงนั้น เน้นหุ้นที่มีผลประกอบการเติบโตทุกปี ผลปรากฎว่า ผลตอบแทนออกมาเป็นที่น่าพอใจ แต่ผ่านมาถึงปลายปี 2554 ราคาหุ้นดันล่วง หลังเกิดสถานการณ์น้ำท่วมใหญ่กรุงเทพ “ผมเริ่มกลับมาคิดว่า เราเลือกหุ้นถูกตัวแล้ว แต่ยังไม่รู้จักจังหวะเข้าและออก ทำให้ต้องไปเรียนเรื่องเทคนิคเพิ่มเติมในเดือนเม.ย.-พ.ค.2555 ที่ Stock2Morrow
ปัจจุบัน “ผมกลายเป็น “นักลงทุนพันธุ์ผสม” ระหว่างเทคนิคและพื้นฐาน วิธีการเราจะเลือกหุ้นที่ชอบก่อน จากนั้นจะนำกราฟมาเป็นตัวช่วยบอกว่า ควรซื้อหรือขายตอนไหน ลงทุนด้วยกลยุทธ์นี้ทำให้พอร์ตโตขึ้น 3 เท่า จากนั้นผมจัดการเติมเงินจนพอร์ตขยับขึ้นเป็น “หลักหลายล้านบาท”
“ปีแรกของการลงทุน (ก.ค.54-ก.ค.55) ได้กำไร 50 เปอร์เซ็นต์ ผ่านมาครึ่งปี (ก.ค.55-ม.ค.56) โกยกำไรอีกกว่าร้อยเปอร์เซ็นต์ หัวใจหลักของการลงทุน คือ “เน้นความสุขมากกว่าโกยกำไรมากมาย”
“โอภาส” บอกว่า ปกติจะมีหุ้นในพอร์ตประมาณ 6-7 ตัว เว้นบางช่วงอาจปรับพอร์ตเป็น 10 ตัว ทุกวันนี้มักแบ่งการลงทุนออกเป็น 3 ส่วน คือ หุ้นระยะยาว 40 เปอร์เซ็นต์ ส่วนใหญ่จะมีหุ้นกลุ่มอาหาร และอสังหาริมทรัพย์ อาศัยอยู่ในพอร์ตหุ้นนี้
หุ้นระยะกลาง 3-6 เดือน ประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ ส่วนใหญ่จะมีหุ้นโรงแรม สายการบิน และค้าปลีก สุดท้าย คือ หุ้นระยะสั้นประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ ไม่กำหนดกลุ่มเน้นกราฟสวยเป็นหลัก โดยเฉพาะกราฟรูป break out ที่มี volume หากพบหุ้นตัวไหนเข้าข่ายกราฟสวย ไม้แรกจะสอยก่อน 50 เปอร์เซ็นต์ ตามต่อด้วยไม้สอง
ปกติผมจะใช้กราฟ MACD และกราฟ volume ช่วยในการซื้อลงทุนหุ้นระยะกลางและสั้น ที่ผ่านมานิยมใช้กราฟช่วยเลือกจังหวะเข้าออกประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ อีก 50 เปอร์เซ็นต์เน้นดูปัจจัยพื้นฐาน เช่น เงินปันผลต้องมากกว่า 5 เปอร์เซ็นต์,อัตราผลตอบแทน ผู้ถือหุ้น หรือ ROE และอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ หรือ ROA ต้องดีๆ
ถามถึงหุ้นที่สร้างกำไรสูงสุดของพอร์ต? เขาเล่าว่า มีด้วยกัน 3 ตัว ไล่มาตั้งแต่หุ้น ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม หรือ TFD ต้นทุน 1 บาท แต่ขายหมูไปหมดแล้วที่ 3.60 บาท ตอนนี้ราคา 10 กว่าบาท ถ้ารออีกนิดคงได้กำไรหลายล้านบาท เขา พูดด้วยความเสียดาย
หุ้น ชิน คอร์ปอเรชั่น หรือ INTUCH ซื้อมา 38 บาท ขายไปช่วงราคาสูงสุด 71 บาท ขายไม่นานราคาลดลง ครั้งหนึ่งเคยตั้งใจว่า ถ้าราคาหุ้นลงมา 60 บาท จะกลับมาซื้อคืน สุดท้ายลงมาแค่ 65 บาท แล้วเด้งกลับ ทำให้ต้องย้ายเงินไปซื้อตัวอื่นแทน
ตัวสุดท้าย คือ หุ้น ซีเฟรชอินดัสตรี หรือ CFRESH ซื้อมา 4.50 บาท ทุกวันนี้ยังถืออยู่ เคยขึ้นไป 12.60 บาท แต่ตอนนี้เหลือประมาณ 8.10 บาท ตัวนี้ตั้งใจจะถือยาว ได้เงินปันผล 2 รอบแล้ว ที่ผ่านมาซื้อเพิ่มตลอด ทำให้มีต้นทุนเฉลี่ย 7.80 บาท ได้ปันผล 1.10 บาท ทำให้ต้นทุนเหลือ 6 บาทกว่า
เชื่อว่าหุ้น CFRESH ลดลงเป็นแค่ช่วงสั้นๆ เดี๋ยวคงกลับมา เขาเป็นหุ้นอาหารยังไงคนต้องกิน ในช่วง 5-6 ปีหลัง บริษัทจ่ายเงินปันผลตลอด แถมยอดขายยังดีมากด้วย ในชีวิตการลงทุนทุกคนควรมีหุ้นพื้นฐานลักษณะนี้สักตัว หุ้น CFRESH เป็นหุ้นตัวเดียวที่อยู่ในกลุ่มระยะยาวของผมอัดเต็ม 40 เปอร์เซ็นต์ “ใหญ่” เผลอบอก “ความลับ”
“ทุกครั้งที่ได้เงินปันผล ผมมักนำไปทบต้นตลอดไม่เคยนำออกมาใช้”
“อดีตเม่าตัวพ่อ” ทิ้งท้ายว่า ทุกวันนี้ยังเก็บเงินกินจากค่าเช่าคอนโดมิเนียม 10 ห้องในเมืองทองธานี เดือนละ 2,500 บาท ซึ่งเป็นห้องที่ร่วมกันทำกับคุณแม่ ตอนนั้นซื้อมาห้องละ 300,000 บาท ปัจจุบันขึ้นเป็น 400,000 บาทแล้ว และยังได้เงินค่าเช่าคอนโดมิเนียม สุขุมวิท 50 จำนวน 2 ห้อง ส่วน “ทองคำ กองทุน” ผมไม่เล่น เพราะไม่มีความรู้
วันที่ 22 ตุลาคม 2556 01:00
เส้นทาง "รวยหุ้นอย่างมีสุข" "โอภาส ถิรปัญญาเลิศ"
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
“อดีตเม่าตัวพ่อ” ขาดทุนหุ้นหนัก 5 ปีติด ผ่านมากว่า 2 ปี “โอภาส ถิรปัญญาเลิศ” อวดลุคใหม่ “นักลงทุนพันธุ์ผสม”ควบธงผืนใหญ่ 15 ปี พอร์ตหลักพันล.
“1 ปี พอร์ตโต 50 เปอร์เซ็นต์ ปีครึ่งขยับเป็นร้อยเปอร์เซ็นต์” ใครจะรู้กว่า“อดีตเม่าตัวพ่อ” “ใหญ่-โอภาส ถิรปัญญาเลิศ” เจ้าของหนังสือ “พลิกพอร์ตหุ้นใหญ่ HI” แห่งค่าย Stock2Morrow จะค้นพบหนทางการลงทุนแบบ “Happy Investor” หรือ HI เขาเคยตกอยู่ใน “ภวังค์แห่งความเกลียดชังตลาดหุ้น” อาการ “แอนตี้” ลุกลามใหญ่โตไปถึงคนรอบข้าง ด้วยการห้ามคนรู้จักเล่นหุ้น
“ลงทุนควรมีวินัย เพราะอะไรถึง “เข้า-ออก” ถ้ารู้จะไม่ขาดทุน ทุกวันนี้หุ้นตกไม่เคยเครียด หากดัชนีลงตามอารมณ์ปล่อยไปเดี๋ยวกลับมาเอง แต่ถ้าลงเพราะพื้นฐานเปลี่ยนจงรีบ “ตัดขาดทุน” หรือ Cut Loss ตามแผนที่วางไว้เฉลี่ย 5-10 เปอร์เซ็นต์” “ชายวัย 40 ปี” กล่าวทักทาย “กรุงเทพธุรกิจ Biz Week” ด้วยการเกริ่นนำความสำเร็จในการลงทุนแนว HI
ก่อนเจ้าของแชมป์โครงการ The Stock Master บล.บัวหลวง คนแรกของประเทศไทยจะร่ายประวัติชีวิตให้ฟังว่า เขาเปิดเผยเป้าหมายการลงทุนในช่วง 15 ปีข้างหน้าว่า
พอร์ตต้องขยับขึ้นเป็น “สิบหลัก”
ในช่วง 5 ปีแรก (2556-2560) พอร์ตลงทุนต้องเติบโตเฉลี่ยปีละ 40 เปอร์เซ็นต์ จากนั้นจะขยายตัวปีละ 30 เปอร์เซ็นต์ เว้นแต่ช่วงไหนกราฟสวยอาจมีการเก็งกำไรมากหน่อย เรียกว่า ปรับทุกอย่างไปตามสภาพที่ควรจะเป็น
เขา เริ่มต้นแนะนำตัวเองว่า “ผมเป็นลูกชายคนโตมีน้องสาว 2 คน พื้นเพเป็นคนกรุงเทพ ใช้ชีวิตวัยเด็กอยู่แถวคลองสาน เพิ่งย้ายออกมาอยู่ย่านสุขุมวิท 101 หลังจากแต่งงานในปี 2540 กับ “กิ่งกาญจน์ ถิรปัญญาเลิศ”
“โลกแห่งการทำงาน” เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยเรียนคณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ หรือ ABAC ช่วงนั้นมหาวิทยาลัยประกาศรับสมัครนักศึกษาฝึกงานในศูนย์วิจัยธุรกิจ ทำให้มีโอกาสเข้าไปทำงานตั้งแต่ปี 1 เริ่มได้เงินเดือน 3,500 บาท มีโต๊ะทำงานเป็นของตัวเอง ตอนเรียนปี 2 ทำงานไปเรื่อยๆจนถึงปี 4 ตำแหน่งสุดท้ายคือ Research for Research in Business เงินเดือนประมาณ 9,000 บาท
ด้วยความเป็นคนชอบวาดรูป ทำให้หลังเรียนจบปริญญาตรี มีโอกาสทำงานประจำแห่งแรกในบริษัทรับสร้างบ้านเดี่ยว “Casarica Regional Chief” ปิดตัวไปแล้วในปี 2540 ทำงานได้ 3-4 เดือน ถูกดึงตัวไปนั่งตำแหน่งมาร์เก็ตติ้งในบริษัท ธรรมพิพัฒน์ จำกัด ซึ่งทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ทำได้ 3-4 เดือน รุ่นพี่ชวนไปทำงานในบริษัท ทองไทยนคร จำกัด เขาทำโครงการหมู่บ้านจัดสรรในจังหวัดสุพรรณบุรี นั่งได้ 8 เดือน ลาออกมาทำงานในบริษัทรับเหมาก่อสร้างของครอบครัวภรรยา
ปัจจุบันทำมาแล้ว 18 ปี เพิ่งลาออกเมื่อสิ้นเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา ทุกวันนี้ยึดอาชีพนักลงทุน ทำรายโทรทัศน์ ทำหนังสือ และเป็นที่ปรึกษาตกแต่งภายใน
ช่วงวิกฤติต้มยำกุ้งในปี 2540 ธุรกิจของครอบครัวเกือบแย่ งานเริ่มน้อย หนี้เริ่มเยอะ ตอนนั้นต้องเปลี่ยนมารับงานราชการแทนงานเอกชน แถมต้องลดเงินเดือน และลดพนักงาน ผ่านมาถึงปี 2547 ธุรกิจเริ่มดีขึ้น โชคดีได้งานก่อสร้างตึกแฮมป์ตัน ทองหล่อ สูง 33 ชั้น ใช้เวลาสร้างเพียง 18 เดือน ชื่อเสียงบริษัทเริ่มดีขึ้น งานค่อยๆไหลเข้ามา แม้ธุรกิจจะวิกฤติ แต่คนจีนมีหลักการเรื่อง “ความซื่อสัตย์” เราทำงานใช้หนี้เรื่อยๆ ไม่นานก็หมด
ถามถึง “จุดเริ่มต้น” การลงทุน “หนุ่มอัธยาศัยดี” เล่าว่า เดินเข้าตลาดหุ้นครั้งแรกในปี 2547 หลังภาวะเศรษฐกิจดีขึ้น หันไปทางไหนเริ่มเห็นหลายคนถึงตลาดหุ้น หลังจากก่อนหน้านี้ดัชนีหล่นจาก 1,700 จุด เหลือ 200 จุด เมื่อได้ยินเพื่อนพูดบ่อยๆ อาการ “อยากรวยเร็ว” บังเกิดทันที
ตอนนั้นเข้าไปแบบ “แมงเม่า” ไม่มีความรู้ ทัศนคติผิดมากๆ “กลัวมั้ย” ตอบเลย “กลัวแต่โลภมากกว่า” ช่วงแรกของการลงทุนเป็นไปตามกฎเป๊ะ นั่นคือ ไม้แรกๆมักได้กำไรตลอด ตอนนั้นคิดว่า “ตลาดหุ้นง่ายจัง” คราวนี้มีเงินเท่าใส่หมด
“เงินตั้งต้น” ไม้แรกประมาณ 30,000 บาท ซื้อหุ้นตามโบรกเกอร์ และตามสตอรี่ ใครบอกว่า “เจ้ากำลังจะลาก” เราซัดเลย ตอนนั้นยังไม่รู้จักการลงทุนแนววีไอ และการตัดขาดทุน หรือ Cut Loss รู้แต่เพียงว่า “ซื้อตามเป้าขายตามเป้า” ในช่วง 3-4 เดือน ได้กำไรตลอดเฉลี่ย 10-20 เปอร์เซ็นต์ สูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝากอีก บางไม้เล่น 2 วัน ได้กำไรพรึ่บ..
เมื่อเล่นหุ้นกำไรดีขนาดนี้ คราวนี้มีเงินมีทองเท่าไรนำมาลงหุ้นหมด ลงทุนขายทองที่ได้จากสินสอดมาเล่นหุ้น ตอนนั้นมีผู้ใหญ่หลายๆคนนำเงินมาฝากเราเล่นหุ้น ทำให้พอร์ตลงทุนเพิ่มขึ้นเป็น “หลักล้าน” ตอนนั้นมั่นใจสุดๆว่า “ต้องรวย” สุดท้ายไม่ใช่เลย..
“เทศกาลคืนกำไร” กำลังเกิดขึ้น (หัวเราะ) ซื้อแล้วได้กำไรเหมือนเมื่อก่อนไม่มีอีกแล้ว รอบนี้ “ซื้อปุ๊บลงปั๊บ” เห็นหุ้นลงไม่ยอมขาย ออกแนว “เล่นหุ้นรอเจ้า” ด้วยความที่ไม่มีความรู้อะไรเลย หุ้นบางตัวเราไม่รู้ด้วยซ้ำเขาทำธุรกิจอะไร รู้จักแค่ตัวย่อ
“ผมเสียหายหนักจาก “หุ้นเดินเรือ” มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ เพิ่งมารู้ทีหลังว่า หุ้นเดินเรือมักขึ้นลงตามค่าระวางเรือ หุ้น โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ หรือ TTA และหุ้น พรีเชียส ชิพปิ้ง หรือ PSL ผมมีหมด ซื้อเพราะเขาบอกว่า “เจ้าจะลาก” แต่จริงๆแล้วหุ้นขึ้นลงตามช่วงธุรกิจ บังเอิญผมไปซื้อตรงยอดดอยพอดี”
เริ่มขาดทุนมากขึ้นเรื่อยๆ สิ่งที่ตามมา คือ “ความเครียด” บางช่วงขาดทุนหลักแสน บางวันตัวเลขในพอร์ตลดลง 500,000-600,000 บาท อาการนอนไม่หลับเริ่มมาเยือน ที่ผ่านมาเราเล่นหุ้นแบบมั่วๆ เล่นแบบไม่ศึกษาอะไรเลย หวัง “รวย” อย่างเดียว
เมื่อมีความทุกข์มากขึ้น จึงตัดสินใจทยอยขายหุ้นเมื่อเห็นราคาเด้งขึ้น จากเดิมไม่ยอมขาย บางตัวขาดทุนไปแล้ว 80 เปอร์เซ็นต์ยังไม่ยอมตัดขาดทุน บนความโชคร้ายยังมีความโชคดีอยู่นิดๆตรงที่ หุ้นที่ติดดอยส่วนใหญ่เป็นหุ้นที่จ่ายเงินปันผล
ผ่านมา 5 ปี ( 2547-2551) ผมต้องตกอยู่ในวังวนของการ “ขาดทุน” สุดท้ายปิดบัญชีมาเงินต้นยังอยู่ แต่ไม่ได้อะไรเลย เพื่อนที่เล่นด้วยกันบางคน “ขาดทุนเป็นล้าน” ผมตัดสินใจเลิกเล่นหุ้น ด้วยการโยกเงินทั้งหมดไปซื้อคอนโดมิเนียมเพื่อปล่อยเช่า ทำให้ได้ผลตอบแทนกลับคืนมาประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์
หยุดเล่นหุ้นตั้งแต่ปี 51-54!! “ผมบอกภรรยาว่า จะไม่เล่นหุ้นอีกแล้ว ผมกลายเป็นคนแอนตี้ตลาดหุ้น ใครอยากเล่นหุ้นเราจะห้ามเลย และจะบอกเขาเหล่านั้นว่า เล่นหุ้นต้องมีวงใน เงินต้องเยอะ เตือนเขาทั้งๆที่เราไม่ได้ย้อนดูตัวเองว่า ที่ผ่านมาเราลงทุนผิดพลาดเอง”
เขา เล่าต่อว่า กลับสู่ตลาดหุ้นอีกครั้งในวันที่ 4 ก.ค.2554 “จุดเปลี่ยน” เกิดจากหนังสือ 2 เล่ม โดยเล่มแรก คือ หนังสือตีแตก ของ “ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร” อ่านจบเกิดความรู้สึก การลงทุนไม่ได้เลวร้ายอย่างที่คิด หากเราซื้อหุ้นถูกตัว แต่ที่เราขาดทุน เพราะซื้อตามโบรกเกอร์ และกระแสข่าว
โดยที่ได้ศึกษาหาข้อมูลก่อน นั่นแปลว่า ที่ผ่านมาเราลงทุนผิด ฉะนั้นถ้าตั้งใจจริงน่าจะกลับมาได้ “ใหญ่” คิดเช่นนั้น
จากนั้นเริ่มอ่านหนังสือมากขึ้นเรื่อยๆ จนมาเจอหนังสือเล่มที่ 2 นั่นคือ “แกะรอยหยักสมอง” ของ “แพท-ภาววิทย์ กลิ่นประทุม” ก่อนจะไล่อ่านหนังสือในเครือ Stock2Morrow ทั้งหมด ตอนแรกกะเข้ามาลงทุนในแนว Value investment หรือ VI ด้วยการเลือกซื้อเพียงหุ้นพื้นฐาน
“กลับมารอบนี้ต้องมีความสุข ห้ามทุกข์ ห้ามเครียด” นิยามลงทุนในช่วงแรกของ “ใหญ่"
“ทุนตั้งต้น” รอบ 2 ประมาณ 500,000 บาท เลือกซื้อหุ้นอะไรเป็นตัวแรกจำไม่ได้ รู้เพียงว่า มีอยู่ในพอร์ตประมาณ 2-3 ตัว กลยุทธ์ช่วงนั้น เน้นหุ้นที่มีผลประกอบการเติบโตทุกปี ผลปรากฎว่า ผลตอบแทนออกมาเป็นที่น่าพอใจ แต่ผ่านมาถึงปลายปี 2554 ราคาหุ้นดันล่วง หลังเกิดสถานการณ์น้ำท่วมใหญ่กรุงเทพ “ผมเริ่มกลับมาคิดว่า เราเลือกหุ้นถูกตัวแล้ว แต่ยังไม่รู้จักจังหวะเข้าและออก ทำให้ต้องไปเรียนเรื่องเทคนิคเพิ่มเติมในเดือนเม.ย.-พ.ค.2555 ที่ Stock2Morrow
ปัจจุบัน “ผมกลายเป็น “นักลงทุนพันธุ์ผสม” ระหว่างเทคนิคและพื้นฐาน วิธีการเราจะเลือกหุ้นที่ชอบก่อน จากนั้นจะนำกราฟมาเป็นตัวช่วยบอกว่า ควรซื้อหรือขายตอนไหน ลงทุนด้วยกลยุทธ์นี้ทำให้พอร์ตโตขึ้น 3 เท่า จากนั้นผมจัดการเติมเงินจนพอร์ตขยับขึ้นเป็น “หลักหลายล้านบาท”
“ปีแรกของการลงทุน (ก.ค.54-ก.ค.55) ได้กำไร 50 เปอร์เซ็นต์ ผ่านมาครึ่งปี (ก.ค.55-ม.ค.56) โกยกำไรอีกกว่าร้อยเปอร์เซ็นต์ หัวใจหลักของการลงทุน คือ “เน้นความสุขมากกว่าโกยกำไรมากมาย”
“โอภาส” บอกว่า ปกติจะมีหุ้นในพอร์ตประมาณ 6-7 ตัว เว้นบางช่วงอาจปรับพอร์ตเป็น 10 ตัว ทุกวันนี้มักแบ่งการลงทุนออกเป็น 3 ส่วน คือ หุ้นระยะยาว 40 เปอร์เซ็นต์ ส่วนใหญ่จะมีหุ้นกลุ่มอาหาร และอสังหาริมทรัพย์ อาศัยอยู่ในพอร์ตหุ้นนี้
หุ้นระยะกลาง 3-6 เดือน ประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ ส่วนใหญ่จะมีหุ้นโรงแรม สายการบิน และค้าปลีก สุดท้าย คือ หุ้นระยะสั้นประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ ไม่กำหนดกลุ่มเน้นกราฟสวยเป็นหลัก โดยเฉพาะกราฟรูป break out ที่มี volume หากพบหุ้นตัวไหนเข้าข่ายกราฟสวย ไม้แรกจะสอยก่อน 50 เปอร์เซ็นต์ ตามต่อด้วยไม้สอง
ปกติผมจะใช้กราฟ MACD และกราฟ volume ช่วยในการซื้อลงทุนหุ้นระยะกลางและสั้น ที่ผ่านมานิยมใช้กราฟช่วยเลือกจังหวะเข้าออกประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ อีก 50 เปอร์เซ็นต์เน้นดูปัจจัยพื้นฐาน เช่น เงินปันผลต้องมากกว่า 5 เปอร์เซ็นต์,อัตราผลตอบแทน ผู้ถือหุ้น หรือ ROE และอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ หรือ ROA ต้องดีๆ
ถามถึงหุ้นที่สร้างกำไรสูงสุดของพอร์ต? เขาเล่าว่า มีด้วยกัน 3 ตัว ไล่มาตั้งแต่หุ้น ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม หรือ TFD ต้นทุน 1 บาท แต่ขายหมูไปหมดแล้วที่ 3.60 บาท ตอนนี้ราคา 10 กว่าบาท ถ้ารออีกนิดคงได้กำไรหลายล้านบาท เขา พูดด้วยความเสียดาย
หุ้น ชิน คอร์ปอเรชั่น หรือ INTUCH ซื้อมา 38 บาท ขายไปช่วงราคาสูงสุด 71 บาท ขายไม่นานราคาลดลง ครั้งหนึ่งเคยตั้งใจว่า ถ้าราคาหุ้นลงมา 60 บาท จะกลับมาซื้อคืน สุดท้ายลงมาแค่ 65 บาท แล้วเด้งกลับ ทำให้ต้องย้ายเงินไปซื้อตัวอื่นแทน
ตัวสุดท้าย คือ หุ้น ซีเฟรชอินดัสตรี หรือ CFRESH ซื้อมา 4.50 บาท ทุกวันนี้ยังถืออยู่ เคยขึ้นไป 12.60 บาท แต่ตอนนี้เหลือประมาณ 8.10 บาท ตัวนี้ตั้งใจจะถือยาว ได้เงินปันผล 2 รอบแล้ว ที่ผ่านมาซื้อเพิ่มตลอด ทำให้มีต้นทุนเฉลี่ย 7.80 บาท ได้ปันผล 1.10 บาท ทำให้ต้นทุนเหลือ 6 บาทกว่า
เชื่อว่าหุ้น CFRESH ลดลงเป็นแค่ช่วงสั้นๆ เดี๋ยวคงกลับมา เขาเป็นหุ้นอาหารยังไงคนต้องกิน ในช่วง 5-6 ปีหลัง บริษัทจ่ายเงินปันผลตลอด แถมยอดขายยังดีมากด้วย ในชีวิตการลงทุนทุกคนควรมีหุ้นพื้นฐานลักษณะนี้สักตัว หุ้น CFRESH เป็นหุ้นตัวเดียวที่อยู่ในกลุ่มระยะยาวของผมอัดเต็ม 40 เปอร์เซ็นต์ “ใหญ่” เผลอบอก “ความลับ”
“ทุกครั้งที่ได้เงินปันผล ผมมักนำไปทบต้นตลอดไม่เคยนำออกมาใช้”
“อดีตเม่าตัวพ่อ” ทิ้งท้ายว่า ทุกวันนี้ยังเก็บเงินกินจากค่าเช่าคอนโดมิเนียม 10 ห้องในเมืองทองธานี เดือนละ 2,500 บาท ซึ่งเป็นห้องที่ร่วมกันทำกับคุณแม่ ตอนนั้นซื้อมาห้องละ 300,000 บาท ปัจจุบันขึ้นเป็น 400,000 บาทแล้ว และยังได้เงินค่าเช่าคอนโดมิเนียม สุขุมวิท 50 จำนวน 2 ห้อง ส่วน “ทองคำ กองทุน” ผมไม่เล่น เพราะไม่มีความรู้
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: เส้นทาง 'รวยหุ้นอย่างมีสุข''โอภาส ถิรปัญญาเลิศ'
โพสต์ที่ 9
[attachment=0]image.jpg[/attachment]
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้