จาก 1 ล้านเป็น 500 ล้าน ผมทำอย่างไร? โดย กิติชัย เตชะงามเลิศ
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: จาก 1 ล้านเป็น 500 ล้าน ผมทำอย่างไร? โดย กิติชัย เตชะงาม
โพสต์ที่ 31
คอลัมน์: คนเด่นคนดัง: กิติชัย เตชะงามเลิศ นักลงทุน 500 ล้าน
Source - โพสต์ ทูเดย์ (Th)
Wednesday, August 08, 2012 04:10
40824 XTHAI XECON XFINSEC ZSTOCK XCORP XFINMKT DAS V%PAPERL P%PTD
...เจียรนัย อุตะมะ
"กิติชัย เตชะงามเลิศ"กรรมการผู้จัดการ บริษัท โฮม พร็อพเพอร์ตี้ บริษัทซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ และนักลงทุนรายใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) วัยประมาณ 40 ปีเพิ่งออกหนังสือ จาก 1 ล้าน เป็น 500 ล้าน ผมทำอย่างไร และประสบความสำเร็จอย่างสูง ติดอันดับหนังสือขายดีอย่างรวดเร็ว
จากคุณหนูกำพร้าตั้งแต่วัย 12 ปี จากเหตุไฟไหม้โรงงานเสื้อยืด ทำให้เขากับพี่ชายต้องออกจากโรงเรียนเทพศิรินทร์กะทันหันเพื่อรับช่วงธุรกิจต่อจากครอบครัว มีเพียงน้องสาวเท่านั้นที่เรียนหนังสือต่อ
บิดาของเขาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่และผู้บริหารในโรงงานทอผ้า เป็นมรดกตกทอดให้ทายาท ขณะที่โรงงานเสื้อยืดที่เคยเป็นทั้งหน้าร้านและที่พักอาศัยต้องหยุดกิจการไปเพราะไฟไหม้
"กิติชัย" และพี่ชายตัดสินใจขายหุ้นในส่วนของโรงงานทอผ้าไปให้กับกลุ่มเพื่อนบิดาและนำเงินส่วนที่เหลือไปใช้หนี้ธนาคาร ทำให้มีเงินเหลืออยู่ประมาณ1 ล้านบาท ใช้เป็นทุนทำธุรกิจเสื้อยืดต่อ
ช่วงเย็นหลังจากขายเสื้อผ้าเสร็จ เขาไปเรียนกวดวิชาเพื่อสอบเทียบชั้นมัธยมต้นและมัธยมปลาย พร้อมทั้งเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัย
ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จย่อมตามมา เขาสามารถเอนทรานซ์ได้ที่1 คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่เรียนได้แค่เทอมเดียวก็ไม่สามารถไปต่อได้ เพราะการจัดสรรเวลางานกับการเรียนไม่ลงตัว
สุดท้ายจึงไปลงเรียนที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง คณะบริหารธุรกิจ โดยใช้เวลาเรียนเพียง 3 ปี ได้เรียนฟรี 2 เทอมและจบด้วยเกียรตินิยมอันดับสอง
หลังจากนั้นก็ชดเชยด้วยการสมัครเรียนคณะบริหารธุรกิจพร้อมกัน 3 มหาวิทยาลัย คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า) สอบข้อเขียนผ่านทั้งหมด แต่ตกสัมภาษณ์ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สุดท้ายได้เรียนสองที่แต่เรียนเทอมเดียวต้องตัดเหลือแค่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแห่งเดียว
"กิติชัย" เริ่มลงทุนปี 2537-2538 ช่วงดัชนีหุ้นเข้าสู่จุดสูงสุด 1,700 จุด เมื่อดัชนีย่อตัวลงมาบ้างแล้วเขาเริ่มลงทุนไปบ้าง
เมื่อจบปริญญาโทบริหารธุรกิจชีวิตเริ่มว่างขึ้น จึงเหลือกิจกรรมแค่ทำธุรกิจเสื้อยืดกับลงทุนหุ้น แต่ธุรกิจนี้อัตรากำไรแคบลงทุกวัน จึงหาช่องทางทำธุรกิจใหม่ ช่วงนั้นประมาณปี 2542 หลังวิกฤตต้มยำกุ้ง
ทั้งเขาและพี่ชายตัดสินใจเลิกกิจการขายเสื้อยืดเมื่อปี2544 ตอนนั้นเขาเริ่มศึกษาวิธีลงทุนอสังหาริมทรัพย์
เริ่มจากตามเพื่อนไปประมูลบ้านหลังหนึ่งแถวพัฒนาการ 69 จากกรมบังคับคดี โดยประมูลมาได้ 1.4 ล้านบาท ทั้งที่ราคาจริง 2.5 ล้านบาท และนำมาประกาศขายต่อทางอินเทอร์เน็ตนิตยสารบ้านและที่ดิน ปรากฏว่าเพียงแค่ 4-5 เดือน ก็ขายได้ในราคา 2.2 ล้านบาท ผลตอบแทนมากกว่า 50% เทียบธุรกิจเสื้อผ้าที่มีกำไรเพียง 3-4%
จากนั้น "กิติชัย" ก็ทำธุรกิจนี้มาตลอด และต่อยอดไปจองคอนโดมิเนียมรถไฟฟ้าที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่
จนกระทั่งวัย 30 ปี ชีวิตเขาเป็นนักลงทุนทั้งอสังหาริมทรัพย์และนักลงทุนหุ้น
"อสังหาริมทรัพย์สภาพคล่องต่ำ ใช้เวลาในการขายออกแต่กำไรแน่นอนส่วนหุ้นผันผวนสูง บางปีได้กำไร 100%บางปีขาดทุน 30-40% ตอนเริ่มเล่นหุ้นใหม่ๆ เสียมาก เพราะยังไม่เก่งและใช้เงินกู้ด้วย"
เขาเรียนถูกเรียนผิดด้วยตัวเอง ชอบไปนั่งฟังสัมมนาที่โบรกเกอร์จัด รวบรวมจนสร้างเป็นแนวทางการเล่นหุ้นของตัวเองทั้งเทคนิคและพื้นฐาน
พอร์ตเริ่มต้นจากหลักแสนบาทไม่แยกว่าหุ้นหรืออสังหาริมทรัพย์
เริ่มเล่นหุ้นชอบกลุ่มสหพัฒนพิบูลทั้งไอ.ซี.ซี. ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ ไทยวาโก้สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง และเอส แอนด์ เจ แม้สภาพคล่องน้อย แต่โตต่อเนื่องและราคาถูก
"ผมเป็นนักเล่นหุ้นเอาตังค์ ไม่แคร์สภาพคล่องน้อย ขอให้พื้นฐานดี พี/อีต่ำ"
นอกจากนั้น ยังเล่นหุ้นเก็งกำไรหรือหุ้นไม่เต็มบาท สามตัวร้อย แต่ไม่มากเปลี่ยนตัวไปเรื่อยๆ
ช่วงปี 2538-2540 ช่วงแรกของการเล่นหุ้นไม่น่าประทับใจ เพราะเศรษฐกิจไม่ดีลงจากจุดสูงสุดทุกวัน แต่มีเด้งขึ้นบ้างลงเยอะเข้าซื้อ ขึ้นมา 5-10% ขายทำกำไรแต่มักจะขาดทุน เพราะกู้เงินมาเล่น
ทรัพย์สินช่วงนั้นเหลือเพียงคอนโดมิเนียมที่เป็นที่อยู่อาศัยและเงินไม่กี่ล้านบาท และมีเงินกู้เล่นหุ้น สุดท้ายตตัดใจทิ้งเงินกู้เล่นหุ้นทั้งหมดก่อนหุ้นลงจุดต่ำสุด200 จุด จนเหลือเงิน 3-5 ล้านบาท
"โชคดีคอนโดมิเนียมเราซื้อสด พออยู่พอกิน และกลับมาเล่นหุ้นอย่างระมัดระวังมากขึ้น และไม่กู้ยืมเงินมาซื้อหุ้น"
ปัจจุบันเขาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับสิบในบริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี (SSI) ถือหุ้นบริษัท ไทยพาณิชย์ประกันชีวิต(SCBLIF) บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต(BLA) บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ (BGH)บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (CPF)เป็นต้นm
บรรยายใต้ภาพ
กิติชัย--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์
Source - โพสต์ ทูเดย์ (Th)
Wednesday, August 08, 2012 04:10
40824 XTHAI XECON XFINSEC ZSTOCK XCORP XFINMKT DAS V%PAPERL P%PTD
...เจียรนัย อุตะมะ
"กิติชัย เตชะงามเลิศ"กรรมการผู้จัดการ บริษัท โฮม พร็อพเพอร์ตี้ บริษัทซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ และนักลงทุนรายใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) วัยประมาณ 40 ปีเพิ่งออกหนังสือ จาก 1 ล้าน เป็น 500 ล้าน ผมทำอย่างไร และประสบความสำเร็จอย่างสูง ติดอันดับหนังสือขายดีอย่างรวดเร็ว
จากคุณหนูกำพร้าตั้งแต่วัย 12 ปี จากเหตุไฟไหม้โรงงานเสื้อยืด ทำให้เขากับพี่ชายต้องออกจากโรงเรียนเทพศิรินทร์กะทันหันเพื่อรับช่วงธุรกิจต่อจากครอบครัว มีเพียงน้องสาวเท่านั้นที่เรียนหนังสือต่อ
บิดาของเขาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่และผู้บริหารในโรงงานทอผ้า เป็นมรดกตกทอดให้ทายาท ขณะที่โรงงานเสื้อยืดที่เคยเป็นทั้งหน้าร้านและที่พักอาศัยต้องหยุดกิจการไปเพราะไฟไหม้
"กิติชัย" และพี่ชายตัดสินใจขายหุ้นในส่วนของโรงงานทอผ้าไปให้กับกลุ่มเพื่อนบิดาและนำเงินส่วนที่เหลือไปใช้หนี้ธนาคาร ทำให้มีเงินเหลืออยู่ประมาณ1 ล้านบาท ใช้เป็นทุนทำธุรกิจเสื้อยืดต่อ
ช่วงเย็นหลังจากขายเสื้อผ้าเสร็จ เขาไปเรียนกวดวิชาเพื่อสอบเทียบชั้นมัธยมต้นและมัธยมปลาย พร้อมทั้งเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัย
ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จย่อมตามมา เขาสามารถเอนทรานซ์ได้ที่1 คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่เรียนได้แค่เทอมเดียวก็ไม่สามารถไปต่อได้ เพราะการจัดสรรเวลางานกับการเรียนไม่ลงตัว
สุดท้ายจึงไปลงเรียนที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง คณะบริหารธุรกิจ โดยใช้เวลาเรียนเพียง 3 ปี ได้เรียนฟรี 2 เทอมและจบด้วยเกียรตินิยมอันดับสอง
หลังจากนั้นก็ชดเชยด้วยการสมัครเรียนคณะบริหารธุรกิจพร้อมกัน 3 มหาวิทยาลัย คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า) สอบข้อเขียนผ่านทั้งหมด แต่ตกสัมภาษณ์ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สุดท้ายได้เรียนสองที่แต่เรียนเทอมเดียวต้องตัดเหลือแค่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแห่งเดียว
"กิติชัย" เริ่มลงทุนปี 2537-2538 ช่วงดัชนีหุ้นเข้าสู่จุดสูงสุด 1,700 จุด เมื่อดัชนีย่อตัวลงมาบ้างแล้วเขาเริ่มลงทุนไปบ้าง
เมื่อจบปริญญาโทบริหารธุรกิจชีวิตเริ่มว่างขึ้น จึงเหลือกิจกรรมแค่ทำธุรกิจเสื้อยืดกับลงทุนหุ้น แต่ธุรกิจนี้อัตรากำไรแคบลงทุกวัน จึงหาช่องทางทำธุรกิจใหม่ ช่วงนั้นประมาณปี 2542 หลังวิกฤตต้มยำกุ้ง
ทั้งเขาและพี่ชายตัดสินใจเลิกกิจการขายเสื้อยืดเมื่อปี2544 ตอนนั้นเขาเริ่มศึกษาวิธีลงทุนอสังหาริมทรัพย์
เริ่มจากตามเพื่อนไปประมูลบ้านหลังหนึ่งแถวพัฒนาการ 69 จากกรมบังคับคดี โดยประมูลมาได้ 1.4 ล้านบาท ทั้งที่ราคาจริง 2.5 ล้านบาท และนำมาประกาศขายต่อทางอินเทอร์เน็ตนิตยสารบ้านและที่ดิน ปรากฏว่าเพียงแค่ 4-5 เดือน ก็ขายได้ในราคา 2.2 ล้านบาท ผลตอบแทนมากกว่า 50% เทียบธุรกิจเสื้อผ้าที่มีกำไรเพียง 3-4%
จากนั้น "กิติชัย" ก็ทำธุรกิจนี้มาตลอด และต่อยอดไปจองคอนโดมิเนียมรถไฟฟ้าที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่
จนกระทั่งวัย 30 ปี ชีวิตเขาเป็นนักลงทุนทั้งอสังหาริมทรัพย์และนักลงทุนหุ้น
"อสังหาริมทรัพย์สภาพคล่องต่ำ ใช้เวลาในการขายออกแต่กำไรแน่นอนส่วนหุ้นผันผวนสูง บางปีได้กำไร 100%บางปีขาดทุน 30-40% ตอนเริ่มเล่นหุ้นใหม่ๆ เสียมาก เพราะยังไม่เก่งและใช้เงินกู้ด้วย"
เขาเรียนถูกเรียนผิดด้วยตัวเอง ชอบไปนั่งฟังสัมมนาที่โบรกเกอร์จัด รวบรวมจนสร้างเป็นแนวทางการเล่นหุ้นของตัวเองทั้งเทคนิคและพื้นฐาน
พอร์ตเริ่มต้นจากหลักแสนบาทไม่แยกว่าหุ้นหรืออสังหาริมทรัพย์
เริ่มเล่นหุ้นชอบกลุ่มสหพัฒนพิบูลทั้งไอ.ซี.ซี. ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ ไทยวาโก้สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง และเอส แอนด์ เจ แม้สภาพคล่องน้อย แต่โตต่อเนื่องและราคาถูก
"ผมเป็นนักเล่นหุ้นเอาตังค์ ไม่แคร์สภาพคล่องน้อย ขอให้พื้นฐานดี พี/อีต่ำ"
นอกจากนั้น ยังเล่นหุ้นเก็งกำไรหรือหุ้นไม่เต็มบาท สามตัวร้อย แต่ไม่มากเปลี่ยนตัวไปเรื่อยๆ
ช่วงปี 2538-2540 ช่วงแรกของการเล่นหุ้นไม่น่าประทับใจ เพราะเศรษฐกิจไม่ดีลงจากจุดสูงสุดทุกวัน แต่มีเด้งขึ้นบ้างลงเยอะเข้าซื้อ ขึ้นมา 5-10% ขายทำกำไรแต่มักจะขาดทุน เพราะกู้เงินมาเล่น
ทรัพย์สินช่วงนั้นเหลือเพียงคอนโดมิเนียมที่เป็นที่อยู่อาศัยและเงินไม่กี่ล้านบาท และมีเงินกู้เล่นหุ้น สุดท้ายตตัดใจทิ้งเงินกู้เล่นหุ้นทั้งหมดก่อนหุ้นลงจุดต่ำสุด200 จุด จนเหลือเงิน 3-5 ล้านบาท
"โชคดีคอนโดมิเนียมเราซื้อสด พออยู่พอกิน และกลับมาเล่นหุ้นอย่างระมัดระวังมากขึ้น และไม่กู้ยืมเงินมาซื้อหุ้น"
ปัจจุบันเขาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับสิบในบริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี (SSI) ถือหุ้นบริษัท ไทยพาณิชย์ประกันชีวิต(SCBLIF) บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต(BLA) บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ (BGH)บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (CPF)เป็นต้นm
บรรยายใต้ภาพ
กิติชัย--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์
-
- Verified User
- โพสต์: 368
- ผู้ติดตาม: 0
Re: จาก 1 ล้านเป็น 500 ล้าน ผมทำอย่างไร? โดย กิติชัย เตชะงาม
โพสต์ที่ 33
คุณ david นึกว่าฝรั่ง ถ้าโพสต์ภาษาไทยก็น่าจะดีนะ ผมเห็นภาษาอังกฤษทีไรชอบขี้เกี้ยจอ่าน 55
-
- Verified User
- โพสต์: 83
- ผู้ติดตาม: 0
Re: จาก 1 ล้านเป็น 500 ล้าน ผมทำอย่างไร? โดย กิติชัย เตชะงาม
โพสต์ที่ 34
log in คล้ายผมเลย 5555 ตอนแรกดูตกใจ แต่สะกดคนละตัวครับ ผมอ่านแล้ว จริงๆตอนแรกไม่ค่อยอยากซื้อของ สนพ. นี้เท่าไหร่เคยซื้อมาอ่านตอนเล่นหุ้นใหม่ๆ แล้วรู้สึกว่าเสียเวลา ผิดกับของ ดร. และ คนอื่นๆ
- Coca-Cola
- Verified User
- โพสต์: 326
- ผู้ติดตาม: 0
Re: จาก 1 ล้านเป็น 500 ล้าน ผมทำอย่างไร? โดย กิติชัย เตชะงาม
โพสต์ที่ 38
นี่ถ้าคุณกิติชัย เป็นสมาชิกขาประจำใน THAIVI จะมีบางคนมาตำหนิแบบนี้ไหมหนอ
ผมเคยไปงาน Meeting ที่ตลากหลักทรัพย์เป็นบางครั้ง แต่พบว่าทุกครั้งที่ผมไป จะต้องเจอพี่เขาทุกครั้ง ซึ่งก็ดูเป็นคนพูดไม่เก่ง แต่ลักษณะเป็นคนมีวินัยต่อการลงทุนที่ดีมากคนหนึ่ง
ผมเคยไปงาน Meeting ที่ตลากหลักทรัพย์เป็นบางครั้ง แต่พบว่าทุกครั้งที่ผมไป จะต้องเจอพี่เขาทุกครั้ง ซึ่งก็ดูเป็นคนพูดไม่เก่ง แต่ลักษณะเป็นคนมีวินัยต่อการลงทุนที่ดีมากคนหนึ่ง