ดร. เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยภัยธรรมชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า เหตุการณ์น้ำท่วมบ้านเราในรอบ
10 ปีที่ผ่านมา รวมทั้งที่กำลังท่วมอยู่ในลุ่มน้ำเจ้าพระยาในปัจจุบัน เป็นไปตามทฤษฎีน้ำล้นแก้วที่ผู้เขียนได้พัฒนาขึ้น
กล่าวคือ ลุ่มน้ำเปรียบเหมือนกับแก้วใบหนึ่งที่สามารถรับน้ำฝนหรือน้ำท่าได้เต็มแก้วในระยะเวลาหนึ่ง ต่อมามีการพัฒนา
ระบบสาธารณูปโภคต่างๆในลุ่มน้ำ มีการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน มีการเปลี่ยนแปลงสภาพการใช้ที่ดินทำกิน เป็นต้น
เปรียบเสมือนกับการนำเอาก้อนน้ำแข็งใส่ในแก้วทีละก้อน จึงเกิดคำถามตามมาว่า แก้วใบนี้ หรือลุ่มน้ำที่ฉันอยู่ จะรับน้ำ
ได้เหมือนเดิมหรือไม่ ทุกคนคงรู้คำตอบว่ารับน้ำได้น้อยลง แต่เราไม่รู้ตัว เพราะไม่มีหน่วยงานใดมาประเมินให้ ปัจจุบัน
ความเจริญทางเศรษฐกิจได้นำเอาสิ่งก่อสร้างต่างๆเข้ามาในพื้นที่มากขึ้น เหมือนกับการเติมก้อนน้ำแข็งเข้าไปในแก้วมาก
ขึ้น แน่นอนที่สุดถึงเวลาหนึ่งน้ำต้องล้นแก้ว กว่าจะรู้ตัวเองก็สายไปแล้ว ยิ่งฝนตกมาเท่าไรแม้เพียงน้อยนิด น้ำก็ล้นแก้ว
หรือน้ำก็ล้นฝั่งท่วมพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง การเติมก้อนน้ำแข็งลงไปทีละก้อน เรายังรู้ตัวเองว่าเติมไปถึงระดับใดจะล้นแก้ว
หรือไม่ควรเติมอีก แต่การก่อสร้างสิ่งต่างๆในพื้นที่กลับไม่รู้ตัวเอง จึงเป็นที่มาของคำพูดของชาวบ้านทุกครั้งที่เกิด
เหตุการณ์ว่า “แต่ก่อนฉันอยู่ที่นี่มา 30-40 ปี ไม่เคยพบเจอกับเหตุการณ์แบบนี้ ทำไมปีนี้จึงต้องมาเกิด”
ทฤษฎีน้ำล้นแก้ว !!!
- แงซาย
- Verified User
- โพสต์: 847
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ทฤษฎีน้ำล้นแก้ว !!!
โพสต์ที่ 2
เมื่อเกิดปรากฏการณ์น้ำลันแก้ว เราก็ใช้มาตรการต่อแก้วกันทุกชุมชน ปัจจุบันจะเห็นว่าชุมชนริมน้ำทุกแห่งสร้างคัน
กั้นน้ำกันหมด เราคงจะพอใจกับมาตรการดังกล่าวไปชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น แต่ในอนาคตอันใกล้นี้ เราอาจจะต้องพบ
กับปรากฏการณ์ที่เราไม่คาดฝันน้ำท่วมฉับพลัน เวลาผ่านไป ความเจริญทางวัตถุจะนำเอาสิ่งก่อสร้างต่างๆเข้ามาอีก และ
ชุมชนทุกแห่งที่อยู่ด้านเหนือน้ำก็จะมีการต่อแก้วหรือต่อคันกั้นน้ำให้สูงขึ้น ชุมชนท้ายน้ำก็มีความจำเป็นที่จะต้องต่อแก้ว
ให้สูงยิ่งขึ้นเป็นกำแพงเมืองจีนหรือว่าเราจะเลือกเอาจานรองแก้วมารับน้ำที่ล้นแก้ว ผู้เขียนตระหนักว่าปัญหานี้ทุกชุมชน
ต้องมีส่วนร่วมในการค้นหาคำตอบ โดยมีแกนกลางซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีองค์ความรู้และฐานข้อมูลในการสนับสนุน
ตัวอย่างที่เห็นเป็นรูปธรรมและยังไม่มีการดูแลแก้ไขอย่างจริงจัง คือ พื้นที่ท้ายน้ำ เช่น กทม. และ สมุทรปราการ ในอนาคต
อันใกล้จะได้รับผลกระทบที่รุนแรงมาก ผู้เขียนอยู่ระหว่างการวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดที่อาจจะเกิด
ขึ้นกับ กทม. ซึ่งจะนำมาเผยแพร่เพื่อสร้างความตระหนักให้กับทุกคน แต่ก่อนเรามีความมั่นใจในระบบป้องกันน้ำท่วม
ของ กทม. ที่เคยออกแบบเพื่อให้สามารถรับน้ำได้ในรอบ 50 ปี ปัจจุบันความสามารถรับน้ำลดลงเหลือเพียงในรอบ 10 ปี
และจะลดลงเหลือไม่ถึง 5 ปี เมื่อทุกชุมชนเหนือน้ำต่างคนต่างทำการป้องกันตนเองโดยไม่บูรณาการแก้ปัญหาร่วมกัน
“ทฤษฎีน้ำล้นแก้วจึงสะท้อนให้เราตระหนักว่าเราต้องรู้ตัวเองในขณะที่กำลังเติมก้อนน้ำแข็งทีละก้อน”
ดร. เสรี ศุภราทิตย์
ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยภัยธรรมชาติ วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยรังสิต
กั้นน้ำกันหมด เราคงจะพอใจกับมาตรการดังกล่าวไปชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น แต่ในอนาคตอันใกล้นี้ เราอาจจะต้องพบ
กับปรากฏการณ์ที่เราไม่คาดฝันน้ำท่วมฉับพลัน เวลาผ่านไป ความเจริญทางวัตถุจะนำเอาสิ่งก่อสร้างต่างๆเข้ามาอีก และ
ชุมชนทุกแห่งที่อยู่ด้านเหนือน้ำก็จะมีการต่อแก้วหรือต่อคันกั้นน้ำให้สูงขึ้น ชุมชนท้ายน้ำก็มีความจำเป็นที่จะต้องต่อแก้ว
ให้สูงยิ่งขึ้นเป็นกำแพงเมืองจีนหรือว่าเราจะเลือกเอาจานรองแก้วมารับน้ำที่ล้นแก้ว ผู้เขียนตระหนักว่าปัญหานี้ทุกชุมชน
ต้องมีส่วนร่วมในการค้นหาคำตอบ โดยมีแกนกลางซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีองค์ความรู้และฐานข้อมูลในการสนับสนุน
ตัวอย่างที่เห็นเป็นรูปธรรมและยังไม่มีการดูแลแก้ไขอย่างจริงจัง คือ พื้นที่ท้ายน้ำ เช่น กทม. และ สมุทรปราการ ในอนาคต
อันใกล้จะได้รับผลกระทบที่รุนแรงมาก ผู้เขียนอยู่ระหว่างการวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดที่อาจจะเกิด
ขึ้นกับ กทม. ซึ่งจะนำมาเผยแพร่เพื่อสร้างความตระหนักให้กับทุกคน แต่ก่อนเรามีความมั่นใจในระบบป้องกันน้ำท่วม
ของ กทม. ที่เคยออกแบบเพื่อให้สามารถรับน้ำได้ในรอบ 50 ปี ปัจจุบันความสามารถรับน้ำลดลงเหลือเพียงในรอบ 10 ปี
และจะลดลงเหลือไม่ถึง 5 ปี เมื่อทุกชุมชนเหนือน้ำต่างคนต่างทำการป้องกันตนเองโดยไม่บูรณาการแก้ปัญหาร่วมกัน
“ทฤษฎีน้ำล้นแก้วจึงสะท้อนให้เราตระหนักว่าเราต้องรู้ตัวเองในขณะที่กำลังเติมก้อนน้ำแข็งทีละก้อน”
ดร. เสรี ศุภราทิตย์
ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยภัยธรรมชาติ วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยรังสิต
Free your life , Fly your love