หนังสือจีนกำลังภายใน & หนังจีนในตำนาน
- vichit
- Verified User
- โพสต์: 15833
- ผู้ติดตาม: 0
หนังสือจีนกำลังภายใน & หนังจีนในตำนาน
โพสต์ที่ 1
หนังสือจีนกำลังภายใน & หนังจีนในตำนาน
คอลัมน์ : บู๊ลิ้ม
โดย : พชร สมุทวณิช
สำหรับนิยายจีนกำลังภายใน “มังกรหยก” ทั้งสามภาคของ “กิมย้ง” ผมชอบภาคสุดท้ายคือ “ดาบมังกรหยก” มากที่สุด รู้สึกว่าเป็นนิยายจีนกำลังภายในที่ครบเครื่อง ทั้งในส่วนของความเป็นแอ็คชั่น แล้วยังให้อารมณ์ในแบบที่ผมชอบเป็นการส่วนตัวคือแอบดราม่า ในแง่มุมของการสะท้อนชีวิตมนุษย์ และสุดท้ายก็คือสอดแทรกทัศนคติอะไรบางอย่างเชิงปรัชญา ซึ่ง “ดาบมังกรหยก” เรื่องนี้ สอนเราได้ทั้งแง่มุมปรัชญาชีวิตมนุษย์ แถมสอดแทรกทัศนคติปรัชญาการเมืองทาบซ้อนอย่างแยบยล ทั้งหมดทั้งปวงนี้ผสมผสานกันในสัดส่วนที่เหมาะเจาะพอดีเอามากๆ ไม่เหมือนภาคแรกและภาคที่สองที่ต่างมีจุดเด่นที่ให้น้ำหนักไปในส่วนหนึ่งมากกว่าส่วนอื่นๆ
เบื้องแรก ในตอนที่สองนี้ ผมจะชวนคุยแบบคร่าวๆ ในภาพรวม ก่อนจะลงลึกในแต่ละส่วนภายหลังในตอนต่อๆ ไป ถึงองค์ประกอบสัดส่วนต่างๆ ที่ครบพอดีของ “ดาบมังกรหยก” ที่ผมชอบใจ อันได้แก่
เรื่องแรก ให้ความรู้สึกของความเป็น “บู๊ลิ้ม” ประกอบด้วย มีจอมยุทธมากหน้าหลายตาที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ทั้งพระเอก “เตียบ้อกี๋” และนางเอกทั้งสี่ อันประกอบด้วย “เตียเมี่ยง จิวจี้เยียก ฮึงลี้ และเสี่ยวเจียว” นอกจากนั้นก็มีเรื่องราวของจอมยุทธต่างๆ ทั้งจากฝ่ายสำนักมาตรฐาน และค่ายสายมาร ทั้งในส่วนของระดับปรมาจารย์รุ่นเดอะ ไล่เรียงมายังลูกศิษย์สำนักรุ่นกลางๆ จนถึงรุ่นใหม่ เรียกได้ว่าครบทุกระดับประทับใจ
และยังมีฉากเรื่องราวครบในส่วนของสำนักมาตรฐานต่างๆ แถมผูกโยงเรื่องราวของปรมาจารย์และการก่อตั้งสำนัก ไม่ว่าจะเป็นจุดกำเนิดของ “บู๊ตึ้ง” โดยปรมาจารย์ “เตียซำฮง” และ “ง้อไบ๊” โดย “ก๊วยเซียง” นอกจากนี้ก็มีการเล่าและบรรยายถึงพฤติกรรมต่างๆ ของสำนักมาตรฐานอื่นๆ รวมไปถึง “พรรคกระยาจก” ค่ายพรรคสำคัญอีกองค์กรหนึ่งของบู๊ลิ้ม นอกจากนี้ก็ยังมีการพูดถึง “ฝ่ายมารในตำนาน” อย่างนิกาย “เม้งก่า” หรือที่ผู้คนในยุทธจักรเรียกขานว่า “นิกายอสูร” มาเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบสำคัญสำหรับค่ายพรรคสำนักยุทธในบู๊ลิ้ม โดยที่ทั้งหมดต่างผูกพันโยงใยเข้าด้วยกันในความสัมพันธ์รูปแบบต่างๆ มีทั้งบุญคุณความแค้น รักใคร่อาฆาตพยาบาท ครบครันร่วมโครงสร้างเดียวกัน
นอกจากค่ายพรรคสำนักยุทธแล้ว ในส่วนของ “วิทยายุทธ” นั้นก็ครบครัน ทั้งในด้านลมปราณและด้านกระบวนท่าฝ่ามือหมัดกระบี่ดาบ และอื่นๆ ปรากฏทั้งสุดยอดวิชาสายธรรมมะ “เก้าเอี๊ยง” และสายมาร “เคลื่อนย้ายจักรวาล” ตลอดจนกระบวนท่า “ไทเก๊ก” ซึ่ง “เตียบ้อกี้” เป็นตัวแทนในการสำแดงยอดวิชาได้อย่างเร้าใจ
ไม่เพียงแต่ “สุดยอดวิทยายุทธ” เท่านั้น ที่สร้างสีสันให้กับ “ดาบมังกรหยก” และเป็นที่มาของการสร้างสรรโครงเรื่องของ “กิมย้ง” ก็คือ “ยอดศาสตรา” อย่าง “กระบี่อิงฟ้า” และ “ดาบฆ่ามังกร” ที่ซ่อนความลี้ลับของบู๊ลิ้ม(และชาติบ้านเมือง)อยู่ในนั้น
นอกจากนี้ เรื่องราวของประสบการณ์ “ปาฎิหาริย์” ที่นำมาซึ่งการค้นพบยอดวิชา ก็สอดแทรกอยู่ในเรื่องอย่างเหมาะสมกลมกลืน ถือเป็นการสร้างความรู้สึกสนุกในการอ่านตามแนวนิยายจีนกำลังภายใน และให้ความรู้สึกเร้าใจของความเป็น “บู๊ลิ้ม” ได้เป็นอย่างดี
เรื่องที่สอง ก็คือ การนำเอา “โครงสร้างบู๊ลิ้ม” มาสอดคล้องทาบซ้อนกับ “โครงเรื่องประวัติศาสตร์” ได้อย่างลงตัว เอาความรู้สึกของ “สำนึกแห่งชาติบ้านเมือง” เข้ามาร่วมเป็นแก่นแกน ซึ่งแนวทางนี้ผมพบว่า “กิมย้ง” ถือเป็นสุดยอดในการเขียนแนวดังกล่าว ส่วนตัวผมนั้นเห็นว่า กรณีของ “ดาบมังกรหยก” นั้น สองสัดส่วนได้รับการวางโครงให้ “เกี่ยวโยง” กันอย่างไม่เอียงไปยังฝั่งใดฝั่งหนึ่งมากเกินไป
นั่นก็คือสถานการณ์บู๊ลิ้มไม่ได้ถูกครอบงำมากนักภายใต้ร่มเงาของโครงสร้างประวัติศาสตร์ แต่อิงแอบอยู่อย่างมีจังหวะลงตัวพอดี ให้ความรู้สึกในฐานะ “บู๊ลิ้ม” เป็นส่วนหนึ่งของ “ประเทศชาติบ้านเมือง” โดยไม่ต้องสร้างความเด่นชัดมากเกินไปในการบรรยายเนื้อหา
ซึ่งจุดนี้เองที่ “ดาบมังกรหยก” ที่เป็นภาคสุดท้าย ต่างจาก “มังกรหยกภาคแรก” และทำให้เรารู้สึกถึงความแตกต่างในบุคลิกภาพของ “ก้วยเจ๋ง” กับ “เตียบ้อกี๋” ซึ่งในมุมมองนี้ ผมจะพูดถึงในตอนต่อๆ ไป โดยจะชวนคุยลงลึงในเรื่องของตัวละคร มุ่งเฉพาะประเด็น “อุดมการณ์ทางการเมือง” และวิพากษ์ “เตียบ้อกี้” ว่าแม้จะเก่งครบเครื่องทั้งยอดวิชาสายธรรมมะและสายมาร หากแต่ที่ขาดไปก็คือ “จิตวิญญาณแห่งความเป็นผู้นำ” ในฐานะความเป็น “นิยายจีนกำลังภายใน” แล้ว เราไม่สามารถบอกได้ว่า “ก้วยเจ๋ง” หรือ “เตียบ้อกี้” ใครดีใครเด่นกว่ากัน หากแต่ตัวเอกสองคนนี้มีบุคลิกภาพบางส่วนที่ต่างกันอย่างชัดเจน
เรื่องที่สามต่อมา ก็คือ การสะเทือนอารมณ์ของเรื่องราวและตัวละคร ในฐานะความเป็นมนุษย์ที่แวดล้อมด้วยองค์ประกอบรายรอบที่มากระทบและหล่อหลอม “ทัศนคติ” ในการดำรงตน และจัดการตัดสินใจกระทำในเรื่องต่างๆ ซึ่งส่วนตัวผมนั้นตัวละครที่เด่นมากในจุดนี้ นอกจาก “เตียบ้อกี้” แล้วก็ยังมี “จิวจี้เยียก” และ “เจี่ยซุ่น” ที่มีฉายา “ราชสีห์ขนทอง” ซึ่งจะกล่าวถึงในตอนต่อๆ ไป ในประเด็น “ปม” ของคนเหล่านี้ที่สะท้อนออกมาในสิ่งที่พวกเขา “กระทำ” หรือ “ไม่กระทำ” จุดนี้เองที่ทำให้นิยายจีนกำลังภายในเรื่องนี้มีความสะเทือนอารมณ์ในเชิงดราม่า สะท้อนชีวิตมนุษย์ที่ดำรงอยู่ในสังคมที่แวดล้อม
เรื่องที่สี่ เป็นเรื่องของ “ความรัก” ระหว่าง “พระเอก” และ “สี่นางเอก” ซึ่งนางเอกทั้งสี่ “เตียเมี่ยง-จิวจี้เยียก-ฮึงลี้-เสี่ยวเจียว” ต่างมีปูมหลังที่ผูกพันกับ “เตียบ้อกี๋” ต่างๆ กันไป และมีบุคลิกสี่แบบที่แตกต่างชัดเจนในการแสดงออกถึงรูปแบบของความรักต่างๆ กันไป แต่ละรูปแบบของสัมพันธ์รักระหว่าง “เตียบ้อกี๋” และสาวงามทั้งสี่นั้น มีความสมจริงในฐานะสิ่งที่พบเจอในชีวิตมนุษย์ทั่วไป แตกต่างกับความรักตรึงใจสไตล์เทพนิยายของ “เอี้ยก้วย” และ “เซียวเล่งนึ่ง” ใน “มังกรหยกภาคสอง”
ระหว่างที่เราอ่าน “ดาบมังกรหยก” ไป เราก็มักจะคาดการณ์และคาดหวังต่างๆ กันไปว่า “เตียบ้อกี๋” จะเลือกใคร หรือจะกวาดให้หมดครบสี่เหมือนจอมยุทธในเรื่องอื่นๆ อย่างไรก็ดี “ดาบมังกรหยก” เล่มนี้ ระหว่างดำเนินเรื่อง เราก็จะพบว่า การกวาดหมดครบสี่สาวงาม น่าจะเป็นเรื่องยาก ดังนั้น ผู้อ่านแต่ละท่าน ก็จะสวมวิญญาณเป็น “เตียบ้อกี๋” ไปพร้อมๆ กับอ่านเรื่องราว เท่าที่ผมสอบถามเพื่อนๆ ผู้ได้อ่าน “ดาบมังกรหยก” เรื่องนี้ แต่ละคนต่างก็มีนางเอกที่ตัวเองแอบลุ้นอยู่ในใจเป็นการเฉพาะ ซึ่งผมจะสวมวิญญาณ “เตียบ้อกี๋” เขียนถึงเรื่องนี้แบบลงรายละเอียดในตอนหลังจากนี้นะครับ
เรื่องที่ห้า คือ การเล่าเรื่องที่ถือเป็นจุดเด่นอันหนึ่งของ “กิมย้ง” คือการอธิบายในเรื่อง “เทพ” และ “มาร” ในรูปแบบของ “ในเทพมีมาร” และ “ในมารก็มีเทพ” การแปะป้ายยี่ห้อในสังคมที่ถูกกำหนดขึ้นนั้นแท้จริงแล้วเป็นเพียง “ปัจจัยภายนอกที่มองเห็น” แต่ในส่วนของ “เนื้อใน” นั้น เป็นเรื่องของการพิจารณากันให้ถ่องแท้และลึกซึ้ง ในนิยายเรื่องนี้ “กิมย้ง” ได้สร้างสีสันเอาสำนักสุดยอดธรรมมะอย่าง “เสี่ยวลิ้มยี่” มาสะท้อนภาพในประเด็น “ในเทพก็มีมาร” ได้อย่างท้าทายและน่าประทับใจ ในขณะที่ก็ผูกเรื่องให้ “เม้งก่า” ที่เป็นนิการสายมาร มี “สำนึกส่วนรวม” และให้ “เตียบ้อกี้” ที่จับผลัดจับผลูได้รับตำแหน่ง “หัวหน้าค่ายสายมาร” ได้ทำหน้าที่คลี่คลายปัญหาสาธารณะ
ในตอนต้นของ “ดาบมังกรหยก” ในส่วนที่เป็นเรื่องราวของพ่อแม่ของ “เตียบ้อกี๋” นั่นก็คือ “เตียฉุ่ยซัว” และ “ฮึงซู่ซู่” ได้มีบทสนทนาที่น่าสนใจเกี่ยวกับ “การประกอบวีรกรรมถือคุณธรรมดีงาม” ที่เป็นบทสนทนาระหว่าง “เจี่ยซุ่น-ราชสีห์ขนทอง” กับ “เตียฉุ่ยซัว” จอมยุทธอันดับห้าใน “เจ็ดจอมยุทธบู๊ตึ้ง” ไว้ดังนี้
หลังจากที่ “ราชสีห์ขนทอง” บ่งบอกความประพฤติชั่วร้ายของผู้นำค่ายสำนักต่างๆ แล้วค่อยประหารฆ่าล้างสิ้น “เตียฉุ่ยซัว” กล่าวว่า
“ท่านประหารฆ่าฟันโดยไม่ไต่ถามผิดถูก ยังมีข้อแตกต่างใดกับคนเหล่านี้”
“ราชสีห์ขนทอง” กล่าวตอบ
“ข้อแตกต่างอันใด เรามีฝีมือสูงเยี่ยม พวกมันฝีมือต้อยต่ำ ผู้ใดเข้มแข็งได้ชัย ผู้อ่อนแอพ่ายแพ้ คือข้อแตกต่าง”
“คนแตกต่างกับสัตว์ที่แยกความผิดถูก เอาแต่เข้มแข็งข่มเหงอ่อนแอ จะต่างอันใดกับสัตว์เดียรัจฉาน”
“หรือในโลกมีการจำแนกผิดถูกจริงๆ ตอนนี้มองโกลยึดครอง คิดฆ่าชาวฮั่นเท่าใดก็ฆ่า หากมองโกลต้องการอิสตรีของมีค่า ก็จะหยิบฉวยช่วงชิง หากชาวฮั่นไม่ยินยอม ก็โดนประหารฆ่าทิ้ง เขาจำแนกผิดถูกกับท่านหรือ”
“เตียฉุ่ยซัว” ได้ยิน “เจี่ยซุ่น” กล่าวดังนั้นจึงตอบว่า “มองโกลโหดเหี้ยมอำมหิตเช่นสัตว์เดียรัจฉาน ผู้คนล้วนมีปณิธานขับไล่มองโกล กอบกู้แผ่นดินกลับคืน”
“เจี่ยซุ่น” ได้ยินจึงกล่าวสวนว่า “กาลก่อนชาวฮั่นเป็นฮ่องเต้ หรือจำแนกผิดถูกด้วย งักฮุยยอดขุนพล ไยเกาจงสั่งประหารฆ่า ฉิ้งไขว่เป็นกังฉิน ไฉนรั้งตำแหน่งสูงเสพลาภยศสรรเสริญ”
“เตียฉุ่ยซัว” ตอบว่า “ผู้ปกครองชั่วร้าย จึงรับผลกรรม ต่างชาติเข้ามายึดครอง นี่คือผลลัพธ์แห่งผิดถูก”
“เจี่ยซุ่น” สวนกลับว่า “ผิดพลาดของผู้ปกครอง เหตุใดผู้รับกรรมเดือดร้อนเป็นชาวฮั่นทั้งแผ่นดิน ราษฏรกระทำผิดอันใด จึงรับผลเช่นนี้”
แล้วประชาชนคนธรรมดาอยู่เพื่ออะไร?
“พวกเราฝึกวิชาบู๊ ก็เพื่อประกอบวีรกรรมค้ำจุนแผ่นดิน”
“ประกอบวีรกรรมมีอันใดดี ไยต้องประกอบวีรกรรมถือคุณธรรม”
เมื่อได้ฟังเช่นนี้ “เตียฉุ่ยซัว” คิดขึ้น เขาได้รับการอบรมจากซือแป๋แต่เล็ก ให้ฝึกฝีมือสร้างวีรกรรมถือคุณธรรมเป็นมูลฐาน ฝึกฝีมือเป็นปลายเหตุ ในใจไม่เคยคิดว่า “ไยต้องประกอบวีรกรรมถือคุณธรรม” เพียงเห็นว่าเป็นหลักการอันชอบธรรม เป็นเหตุผลที่กระจ่างในตัว ยึดหลักการ “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” แต่ในขณะเดียวกัน กลับมีข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง คนที่ทำดีก็มีที่ประสบชะตากรรมรันทด
ในที่สุดแล้วท่ามกลางความสงสัย “เตียฉุ่ยซัว” ได้กล่าววาทะที่ผมรู้สึกกินใจอย่างมากก็คือ
“ธรรมแห่งฟ้ายากบอกกล่าว เรื่องราวคนยากหยั่งทราบ พวกเราเพียงมุ่งประพฤติคุณธรรม แต่เป็นวาสนาหรือคราเคราะห์ไม่จำเป็นต้องนึกถึง”
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews ... 0000094133
คอลัมน์ : บู๊ลิ้ม
โดย : พชร สมุทวณิช
สำหรับนิยายจีนกำลังภายใน “มังกรหยก” ทั้งสามภาคของ “กิมย้ง” ผมชอบภาคสุดท้ายคือ “ดาบมังกรหยก” มากที่สุด รู้สึกว่าเป็นนิยายจีนกำลังภายในที่ครบเครื่อง ทั้งในส่วนของความเป็นแอ็คชั่น แล้วยังให้อารมณ์ในแบบที่ผมชอบเป็นการส่วนตัวคือแอบดราม่า ในแง่มุมของการสะท้อนชีวิตมนุษย์ และสุดท้ายก็คือสอดแทรกทัศนคติอะไรบางอย่างเชิงปรัชญา ซึ่ง “ดาบมังกรหยก” เรื่องนี้ สอนเราได้ทั้งแง่มุมปรัชญาชีวิตมนุษย์ แถมสอดแทรกทัศนคติปรัชญาการเมืองทาบซ้อนอย่างแยบยล ทั้งหมดทั้งปวงนี้ผสมผสานกันในสัดส่วนที่เหมาะเจาะพอดีเอามากๆ ไม่เหมือนภาคแรกและภาคที่สองที่ต่างมีจุดเด่นที่ให้น้ำหนักไปในส่วนหนึ่งมากกว่าส่วนอื่นๆ
เบื้องแรก ในตอนที่สองนี้ ผมจะชวนคุยแบบคร่าวๆ ในภาพรวม ก่อนจะลงลึกในแต่ละส่วนภายหลังในตอนต่อๆ ไป ถึงองค์ประกอบสัดส่วนต่างๆ ที่ครบพอดีของ “ดาบมังกรหยก” ที่ผมชอบใจ อันได้แก่
เรื่องแรก ให้ความรู้สึกของความเป็น “บู๊ลิ้ม” ประกอบด้วย มีจอมยุทธมากหน้าหลายตาที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ทั้งพระเอก “เตียบ้อกี๋” และนางเอกทั้งสี่ อันประกอบด้วย “เตียเมี่ยง จิวจี้เยียก ฮึงลี้ และเสี่ยวเจียว” นอกจากนั้นก็มีเรื่องราวของจอมยุทธต่างๆ ทั้งจากฝ่ายสำนักมาตรฐาน และค่ายสายมาร ทั้งในส่วนของระดับปรมาจารย์รุ่นเดอะ ไล่เรียงมายังลูกศิษย์สำนักรุ่นกลางๆ จนถึงรุ่นใหม่ เรียกได้ว่าครบทุกระดับประทับใจ
และยังมีฉากเรื่องราวครบในส่วนของสำนักมาตรฐานต่างๆ แถมผูกโยงเรื่องราวของปรมาจารย์และการก่อตั้งสำนัก ไม่ว่าจะเป็นจุดกำเนิดของ “บู๊ตึ้ง” โดยปรมาจารย์ “เตียซำฮง” และ “ง้อไบ๊” โดย “ก๊วยเซียง” นอกจากนี้ก็มีการเล่าและบรรยายถึงพฤติกรรมต่างๆ ของสำนักมาตรฐานอื่นๆ รวมไปถึง “พรรคกระยาจก” ค่ายพรรคสำคัญอีกองค์กรหนึ่งของบู๊ลิ้ม นอกจากนี้ก็ยังมีการพูดถึง “ฝ่ายมารในตำนาน” อย่างนิกาย “เม้งก่า” หรือที่ผู้คนในยุทธจักรเรียกขานว่า “นิกายอสูร” มาเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบสำคัญสำหรับค่ายพรรคสำนักยุทธในบู๊ลิ้ม โดยที่ทั้งหมดต่างผูกพันโยงใยเข้าด้วยกันในความสัมพันธ์รูปแบบต่างๆ มีทั้งบุญคุณความแค้น รักใคร่อาฆาตพยาบาท ครบครันร่วมโครงสร้างเดียวกัน
นอกจากค่ายพรรคสำนักยุทธแล้ว ในส่วนของ “วิทยายุทธ” นั้นก็ครบครัน ทั้งในด้านลมปราณและด้านกระบวนท่าฝ่ามือหมัดกระบี่ดาบ และอื่นๆ ปรากฏทั้งสุดยอดวิชาสายธรรมมะ “เก้าเอี๊ยง” และสายมาร “เคลื่อนย้ายจักรวาล” ตลอดจนกระบวนท่า “ไทเก๊ก” ซึ่ง “เตียบ้อกี้” เป็นตัวแทนในการสำแดงยอดวิชาได้อย่างเร้าใจ
ไม่เพียงแต่ “สุดยอดวิทยายุทธ” เท่านั้น ที่สร้างสีสันให้กับ “ดาบมังกรหยก” และเป็นที่มาของการสร้างสรรโครงเรื่องของ “กิมย้ง” ก็คือ “ยอดศาสตรา” อย่าง “กระบี่อิงฟ้า” และ “ดาบฆ่ามังกร” ที่ซ่อนความลี้ลับของบู๊ลิ้ม(และชาติบ้านเมือง)อยู่ในนั้น
นอกจากนี้ เรื่องราวของประสบการณ์ “ปาฎิหาริย์” ที่นำมาซึ่งการค้นพบยอดวิชา ก็สอดแทรกอยู่ในเรื่องอย่างเหมาะสมกลมกลืน ถือเป็นการสร้างความรู้สึกสนุกในการอ่านตามแนวนิยายจีนกำลังภายใน และให้ความรู้สึกเร้าใจของความเป็น “บู๊ลิ้ม” ได้เป็นอย่างดี
เรื่องที่สอง ก็คือ การนำเอา “โครงสร้างบู๊ลิ้ม” มาสอดคล้องทาบซ้อนกับ “โครงเรื่องประวัติศาสตร์” ได้อย่างลงตัว เอาความรู้สึกของ “สำนึกแห่งชาติบ้านเมือง” เข้ามาร่วมเป็นแก่นแกน ซึ่งแนวทางนี้ผมพบว่า “กิมย้ง” ถือเป็นสุดยอดในการเขียนแนวดังกล่าว ส่วนตัวผมนั้นเห็นว่า กรณีของ “ดาบมังกรหยก” นั้น สองสัดส่วนได้รับการวางโครงให้ “เกี่ยวโยง” กันอย่างไม่เอียงไปยังฝั่งใดฝั่งหนึ่งมากเกินไป
นั่นก็คือสถานการณ์บู๊ลิ้มไม่ได้ถูกครอบงำมากนักภายใต้ร่มเงาของโครงสร้างประวัติศาสตร์ แต่อิงแอบอยู่อย่างมีจังหวะลงตัวพอดี ให้ความรู้สึกในฐานะ “บู๊ลิ้ม” เป็นส่วนหนึ่งของ “ประเทศชาติบ้านเมือง” โดยไม่ต้องสร้างความเด่นชัดมากเกินไปในการบรรยายเนื้อหา
ซึ่งจุดนี้เองที่ “ดาบมังกรหยก” ที่เป็นภาคสุดท้าย ต่างจาก “มังกรหยกภาคแรก” และทำให้เรารู้สึกถึงความแตกต่างในบุคลิกภาพของ “ก้วยเจ๋ง” กับ “เตียบ้อกี๋” ซึ่งในมุมมองนี้ ผมจะพูดถึงในตอนต่อๆ ไป โดยจะชวนคุยลงลึงในเรื่องของตัวละคร มุ่งเฉพาะประเด็น “อุดมการณ์ทางการเมือง” และวิพากษ์ “เตียบ้อกี้” ว่าแม้จะเก่งครบเครื่องทั้งยอดวิชาสายธรรมมะและสายมาร หากแต่ที่ขาดไปก็คือ “จิตวิญญาณแห่งความเป็นผู้นำ” ในฐานะความเป็น “นิยายจีนกำลังภายใน” แล้ว เราไม่สามารถบอกได้ว่า “ก้วยเจ๋ง” หรือ “เตียบ้อกี้” ใครดีใครเด่นกว่ากัน หากแต่ตัวเอกสองคนนี้มีบุคลิกภาพบางส่วนที่ต่างกันอย่างชัดเจน
เรื่องที่สามต่อมา ก็คือ การสะเทือนอารมณ์ของเรื่องราวและตัวละคร ในฐานะความเป็นมนุษย์ที่แวดล้อมด้วยองค์ประกอบรายรอบที่มากระทบและหล่อหลอม “ทัศนคติ” ในการดำรงตน และจัดการตัดสินใจกระทำในเรื่องต่างๆ ซึ่งส่วนตัวผมนั้นตัวละครที่เด่นมากในจุดนี้ นอกจาก “เตียบ้อกี้” แล้วก็ยังมี “จิวจี้เยียก” และ “เจี่ยซุ่น” ที่มีฉายา “ราชสีห์ขนทอง” ซึ่งจะกล่าวถึงในตอนต่อๆ ไป ในประเด็น “ปม” ของคนเหล่านี้ที่สะท้อนออกมาในสิ่งที่พวกเขา “กระทำ” หรือ “ไม่กระทำ” จุดนี้เองที่ทำให้นิยายจีนกำลังภายในเรื่องนี้มีความสะเทือนอารมณ์ในเชิงดราม่า สะท้อนชีวิตมนุษย์ที่ดำรงอยู่ในสังคมที่แวดล้อม
เรื่องที่สี่ เป็นเรื่องของ “ความรัก” ระหว่าง “พระเอก” และ “สี่นางเอก” ซึ่งนางเอกทั้งสี่ “เตียเมี่ยง-จิวจี้เยียก-ฮึงลี้-เสี่ยวเจียว” ต่างมีปูมหลังที่ผูกพันกับ “เตียบ้อกี๋” ต่างๆ กันไป และมีบุคลิกสี่แบบที่แตกต่างชัดเจนในการแสดงออกถึงรูปแบบของความรักต่างๆ กันไป แต่ละรูปแบบของสัมพันธ์รักระหว่าง “เตียบ้อกี๋” และสาวงามทั้งสี่นั้น มีความสมจริงในฐานะสิ่งที่พบเจอในชีวิตมนุษย์ทั่วไป แตกต่างกับความรักตรึงใจสไตล์เทพนิยายของ “เอี้ยก้วย” และ “เซียวเล่งนึ่ง” ใน “มังกรหยกภาคสอง”
ระหว่างที่เราอ่าน “ดาบมังกรหยก” ไป เราก็มักจะคาดการณ์และคาดหวังต่างๆ กันไปว่า “เตียบ้อกี๋” จะเลือกใคร หรือจะกวาดให้หมดครบสี่เหมือนจอมยุทธในเรื่องอื่นๆ อย่างไรก็ดี “ดาบมังกรหยก” เล่มนี้ ระหว่างดำเนินเรื่อง เราก็จะพบว่า การกวาดหมดครบสี่สาวงาม น่าจะเป็นเรื่องยาก ดังนั้น ผู้อ่านแต่ละท่าน ก็จะสวมวิญญาณเป็น “เตียบ้อกี๋” ไปพร้อมๆ กับอ่านเรื่องราว เท่าที่ผมสอบถามเพื่อนๆ ผู้ได้อ่าน “ดาบมังกรหยก” เรื่องนี้ แต่ละคนต่างก็มีนางเอกที่ตัวเองแอบลุ้นอยู่ในใจเป็นการเฉพาะ ซึ่งผมจะสวมวิญญาณ “เตียบ้อกี๋” เขียนถึงเรื่องนี้แบบลงรายละเอียดในตอนหลังจากนี้นะครับ
เรื่องที่ห้า คือ การเล่าเรื่องที่ถือเป็นจุดเด่นอันหนึ่งของ “กิมย้ง” คือการอธิบายในเรื่อง “เทพ” และ “มาร” ในรูปแบบของ “ในเทพมีมาร” และ “ในมารก็มีเทพ” การแปะป้ายยี่ห้อในสังคมที่ถูกกำหนดขึ้นนั้นแท้จริงแล้วเป็นเพียง “ปัจจัยภายนอกที่มองเห็น” แต่ในส่วนของ “เนื้อใน” นั้น เป็นเรื่องของการพิจารณากันให้ถ่องแท้และลึกซึ้ง ในนิยายเรื่องนี้ “กิมย้ง” ได้สร้างสีสันเอาสำนักสุดยอดธรรมมะอย่าง “เสี่ยวลิ้มยี่” มาสะท้อนภาพในประเด็น “ในเทพก็มีมาร” ได้อย่างท้าทายและน่าประทับใจ ในขณะที่ก็ผูกเรื่องให้ “เม้งก่า” ที่เป็นนิการสายมาร มี “สำนึกส่วนรวม” และให้ “เตียบ้อกี้” ที่จับผลัดจับผลูได้รับตำแหน่ง “หัวหน้าค่ายสายมาร” ได้ทำหน้าที่คลี่คลายปัญหาสาธารณะ
ในตอนต้นของ “ดาบมังกรหยก” ในส่วนที่เป็นเรื่องราวของพ่อแม่ของ “เตียบ้อกี๋” นั่นก็คือ “เตียฉุ่ยซัว” และ “ฮึงซู่ซู่” ได้มีบทสนทนาที่น่าสนใจเกี่ยวกับ “การประกอบวีรกรรมถือคุณธรรมดีงาม” ที่เป็นบทสนทนาระหว่าง “เจี่ยซุ่น-ราชสีห์ขนทอง” กับ “เตียฉุ่ยซัว” จอมยุทธอันดับห้าใน “เจ็ดจอมยุทธบู๊ตึ้ง” ไว้ดังนี้
หลังจากที่ “ราชสีห์ขนทอง” บ่งบอกความประพฤติชั่วร้ายของผู้นำค่ายสำนักต่างๆ แล้วค่อยประหารฆ่าล้างสิ้น “เตียฉุ่ยซัว” กล่าวว่า
“ท่านประหารฆ่าฟันโดยไม่ไต่ถามผิดถูก ยังมีข้อแตกต่างใดกับคนเหล่านี้”
“ราชสีห์ขนทอง” กล่าวตอบ
“ข้อแตกต่างอันใด เรามีฝีมือสูงเยี่ยม พวกมันฝีมือต้อยต่ำ ผู้ใดเข้มแข็งได้ชัย ผู้อ่อนแอพ่ายแพ้ คือข้อแตกต่าง”
“คนแตกต่างกับสัตว์ที่แยกความผิดถูก เอาแต่เข้มแข็งข่มเหงอ่อนแอ จะต่างอันใดกับสัตว์เดียรัจฉาน”
“หรือในโลกมีการจำแนกผิดถูกจริงๆ ตอนนี้มองโกลยึดครอง คิดฆ่าชาวฮั่นเท่าใดก็ฆ่า หากมองโกลต้องการอิสตรีของมีค่า ก็จะหยิบฉวยช่วงชิง หากชาวฮั่นไม่ยินยอม ก็โดนประหารฆ่าทิ้ง เขาจำแนกผิดถูกกับท่านหรือ”
“เตียฉุ่ยซัว” ได้ยิน “เจี่ยซุ่น” กล่าวดังนั้นจึงตอบว่า “มองโกลโหดเหี้ยมอำมหิตเช่นสัตว์เดียรัจฉาน ผู้คนล้วนมีปณิธานขับไล่มองโกล กอบกู้แผ่นดินกลับคืน”
“เจี่ยซุ่น” ได้ยินจึงกล่าวสวนว่า “กาลก่อนชาวฮั่นเป็นฮ่องเต้ หรือจำแนกผิดถูกด้วย งักฮุยยอดขุนพล ไยเกาจงสั่งประหารฆ่า ฉิ้งไขว่เป็นกังฉิน ไฉนรั้งตำแหน่งสูงเสพลาภยศสรรเสริญ”
“เตียฉุ่ยซัว” ตอบว่า “ผู้ปกครองชั่วร้าย จึงรับผลกรรม ต่างชาติเข้ามายึดครอง นี่คือผลลัพธ์แห่งผิดถูก”
“เจี่ยซุ่น” สวนกลับว่า “ผิดพลาดของผู้ปกครอง เหตุใดผู้รับกรรมเดือดร้อนเป็นชาวฮั่นทั้งแผ่นดิน ราษฏรกระทำผิดอันใด จึงรับผลเช่นนี้”
แล้วประชาชนคนธรรมดาอยู่เพื่ออะไร?
“พวกเราฝึกวิชาบู๊ ก็เพื่อประกอบวีรกรรมค้ำจุนแผ่นดิน”
“ประกอบวีรกรรมมีอันใดดี ไยต้องประกอบวีรกรรมถือคุณธรรม”
เมื่อได้ฟังเช่นนี้ “เตียฉุ่ยซัว” คิดขึ้น เขาได้รับการอบรมจากซือแป๋แต่เล็ก ให้ฝึกฝีมือสร้างวีรกรรมถือคุณธรรมเป็นมูลฐาน ฝึกฝีมือเป็นปลายเหตุ ในใจไม่เคยคิดว่า “ไยต้องประกอบวีรกรรมถือคุณธรรม” เพียงเห็นว่าเป็นหลักการอันชอบธรรม เป็นเหตุผลที่กระจ่างในตัว ยึดหลักการ “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” แต่ในขณะเดียวกัน กลับมีข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง คนที่ทำดีก็มีที่ประสบชะตากรรมรันทด
ในที่สุดแล้วท่ามกลางความสงสัย “เตียฉุ่ยซัว” ได้กล่าววาทะที่ผมรู้สึกกินใจอย่างมากก็คือ
“ธรรมแห่งฟ้ายากบอกกล่าว เรื่องราวคนยากหยั่งทราบ พวกเราเพียงมุ่งประพฤติคุณธรรม แต่เป็นวาสนาหรือคราเคราะห์ไม่จำเป็นต้องนึกถึง”
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews ... 0000094133
- vichit
- Verified User
- โพสต์: 15833
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หนังสือจีนกำลังภายใน & หนังจีนในตำนาน
โพสต์ที่ 2
ศึกลำน้ำเลือด
ชอลิ้วเฮียง จอมโจรจอมใจ Chor Lau Heung 1979 TVB
ประกาศิตเหยี่ยวพญายม The Hawk 1981 TVB
ฤทธิ์มีดสั้น Xiao Li Fei Dao 1982 CTS
- vichit
- Verified User
- โพสต์: 15833
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หนังสือจีนกำลังภายใน & หนังจีนในตำนาน
โพสต์ที่ 3
โปเยโปโลเย
- vichit
- Verified User
- โพสต์: 15833
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หนังสือจีนกำลังภายใน & หนังจีนในตำนาน
โพสต์ที่ 4
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 456
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หนังสือจีนกำลังภายใน & หนังจีนในตำนาน
โพสต์ที่ 5
ดาบมังกรหยกที่คุณvichit เอารูปปกมาลงเป็นversionเก่าครับ
ผมซื้อไว้เกือบ20ปีแล้ว
versionใหม่ที่สยามสปอร์ตแปลใหม่ซัก2-3ปีหลังเป็นอันล่าสุดที่มีการเปลี่ยนแปลงตอนจบไม่เหมือนเดิม
โดยกิมย้งเค้าเอามาปรับปรุงใหม่(มีอีกหลายเรื่องรวมทั้งอุ้ยเซียวป้อที่เขียนใหม่กำลังวางแผงถึงเล่ม3แล้ว)
เคยเห็นที่b2sเอาขายยกชุดลดราคา30%
ผมซื้อไว้เกือบ20ปีแล้ว
versionใหม่ที่สยามสปอร์ตแปลใหม่ซัก2-3ปีหลังเป็นอันล่าสุดที่มีการเปลี่ยนแปลงตอนจบไม่เหมือนเดิม
โดยกิมย้งเค้าเอามาปรับปรุงใหม่(มีอีกหลายเรื่องรวมทั้งอุ้ยเซียวป้อที่เขียนใหม่กำลังวางแผงถึงเล่ม3แล้ว)
เคยเห็นที่b2sเอาขายยกชุดลดราคา30%
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 795
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หนังสือจีนกำลังภายใน & หนังจีนในตำนาน
โพสต์ที่ 8
พี่วิชิตครับ หนังจีนในตำนาน เรื่องหนึ่งแน่ๆ คือ SEX and ZEN 3D ครับ
Miracle Happens Everyday !
"ปาฎิหารย์คือการเดินบนผืนดินและมีความสุขในทุกย่างก้าว"
"ปาฎิหารย์คือการเดินบนผืนดินและมีความสุขในทุกย่างก้าว"
-
- Verified User
- โพสต์: 18
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หนังสือจีนกำลังภายใน & หนังจีนในตำนาน
โพสต์ที่ 12
ขอบคุณเลยคับ ผมชอบอ่านมากเลย มันมากๆ
-
- Verified User
- โพสต์: 1803
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หนังสือจีนกำลังภายใน & หนังจีนในตำนาน
โพสต์ที่ 13
ใครก็ได้ช่วยตอบหน่อยครับ สงสัยมานานแล้วว่าทำไมต้องปรับปรุงใหม่ คือผมว่าคนที่เค้าเคยอ่านแล้วเค้าก็คงประทับใจกับตอนจบเก่าไปแล้ว ไปเปลี่ยนใหม่ผมว่าคนอ่านเค้าก็คงรู้สึกสับสนนะครับprajuvb เขียน:ดาบมังกรหยกที่คุณvichit เอารูปปกมาลงเป็นversionเก่าครับ
ผมซื้อไว้เกือบ20ปีแล้ว
versionใหม่ที่สยามสปอร์ตแปลใหม่ซัก2-3ปีหลังเป็นอันล่าสุดที่มีการเปลี่ยนแปลงตอนจบไม่เหมือนเดิม
โดยกิมย้งเค้าเอามาปรับปรุงใหม่(มีอีกหลายเรื่องรวมทั้งอุ้ยเซียวป้อที่เขียนใหม่กำลังวางแผงถึงเล่ม3แล้ว)
เคยเห็นที่b2sเอาขายยกชุดลดราคา30%
ผมไม่ค่อยดูหนัง แต่ก่อนจะชอบอ่าน เพราะรู้สึกว่าหลายเรื่องอ่านหนังสือได้ความรู้สึกสนุกกว่าดูหนังมาก อย่างเรื่องฤทธิ์มีดสั้นนี่เห็นได้ชัดเจนเลย เพราะเป็นเรื่องของการถ่ายทอดอารมณ์ของตัวละคร ซึ่งผมว่าทำเป็นหนังได้ยาก ฉากต่อสู้ในหนังสือก็สั้นมาก ไม่กี่กระบวนท่าก็แพ้ชนะกันแล้ว ยิ่งหนังสมัยใหม่ผมเองก็รู้สึกว่าเน้นเทคนิคการต่อสู้ซะเยอะครับ ปล่อยแสง ระเบิดตู้มต้ามตลอด
"Become a risk taker, not a risk maker"
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 456
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หนังสือจีนกำลังภายใน & หนังจีนในตำนาน
โพสต์ที่ 14
ตากิมย้งเองเอามาอ่านอาจเห็นว่าตัวละครบางตัวหายไปเฉยๆ
อย่างดาบมังกรหยกตอนท้ายฉบับใหม่ให้เสียวเจียวที่ไปเป็นประมุขเม้งก่าเปอร์เซียส่งจม.มาแจมด้วย
หรืออย่างอุ้ยเซียวป้อใหม่ก็เริ่มด้วยประวัติของประมุขพรรคฟ้าดินแทน
อย่างดาบมังกรหยกตอนท้ายฉบับใหม่ให้เสียวเจียวที่ไปเป็นประมุขเม้งก่าเปอร์เซียส่งจม.มาแจมด้วย
หรืออย่างอุ้ยเซียวป้อใหม่ก็เริ่มด้วยประวัติของประมุขพรรคฟ้าดินแทน
- vichit
- Verified User
- โพสต์: 15833
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หนังสือจีนกำลังภายใน & หนังจีนในตำนาน
โพสต์ที่ 15
“ไซอิ๋ว-สามก๊ก-ความฝันหอแดง-ซ้องกั๋ง” สุดยอดวรรณกรรมสู่จอแก้วทุนสร้าง 100 ล้าน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 3 กันยายน 2554 17:46 น.
ไซอิ๋ว สามก๊ก ความฝันในหอแดง และซ้องกั๋ง (ซ้ายไปขวา บนลงล่าง)
ไซอิ๋ว สามก๊ก ความฝันในหอแดง และซ้องกั๋ง หรือ วีรบุรุษเขาเหลียงซัน ได้รับการยกย่องจากเหล่าบัณฑิตให้เป็นสี่สุดยอดวรรณกรรมของจีน (四大名著) และถูกถ่ายทอดเป็นภาพยนตร์โทรทัศน์และหนังโรงมาหลายต่อหลายครั้ง
ทุกวันนี้คนในวงการสื่อจีนยอมรับว่าการลงทุนกับการสร้างภาพยนตร์โทรทัศน์สักเรื่องเป็นเรื่องที่มีความเสี่ยงไม่น้อย เพราะปัจจุบันอุปทานมากกว่าอุปสงค์ ผลงานมีมากกว่าความต้องการในตลาด ทำให้ในแต่ละปีมีละครโทรทัศน์ที่ถูกดองเค็มมากกว่าครึ่ง
แต่การลงทุนสร้างสี่ยอดวรรณกรรมอมตะของจีนเป็นเรื่องยกเว้น เพราะไม่ต้องกลัวว่าจะขายไม่ได้ ลำพังแค่ขายลิขสิทธิ์การฉายก็สามารถคืนทุนได้อย่างสบาย นี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ในรอบหลายสิบปีนี้มีการนำวรรณกรรมทั้งสี่เรื่องมารีเมคใหม่ซ้ำแล้วซ้ำอีก
โดยเฉพาะในเวอร์ชั่นล่าสุดนี้ แต่ละเรื่องใช้งบประมาณการสร้างไม่ต่ำกว่า 100 ล้านหยวนเลยทีเดียว โดยสามก๊กฉบับของผกก.เกาซีซีลงทุน 160 ล้านหยวน, ซ้องกั๋งของจีว์เจี้ยวเลี่ยงใช้งบประมาณการถ่ายทำ 130 ล้านหยวน, ความฝันในหอแดงของหลี่เส้าหงลงทุน 118 ล้านหยวนและไซอิ๋วของจางจี้จง 120 ล้านหยวน
โดยตอนนี้ที่จีนกำลังฉายเรื่องซ้องกั๋งและไซอิ๋วอยู่ ส่วนสามก๊กและความฝันในหอแดงนั้นฉายไปเมื่อปีที่แล้ว
ส่วนที่ว่าชาวไทยจะมีโอกาสได้ดูทั้งสี่เรื่องหรือไม่นั้นก็ยังเป็นเรื่องที่ต้องลุ้นต่อไป เพราะขนาดนิยายกิมย้งที่ว่าสร้างแล้วสร้างอีกกี่เวอร์ชั่น ไทยเราก็ซื้อลิขสิทธิ์มาเรียบ แต่มังกรหยกก๊วยเจ๋ง-อึ้งย้งปี 2008 ที่หูเกอ-หลินอีเฉินเล่นนี่ทำไมตกสำรวจ หรือสงสัยยังฝ่าด่านอรหันต์หนังเกาหลีมาไม่ได้ รอแล้วรอเล่าก็ยังไม่เห็นมีใครเอามาฉายสักที จนตอนนี้มีมือดีหยิบไปใส่เสียงพากษ์โหลดลงเว็บเรียบร้อยแล้ว...
สำหรับละครโทรทัศน์ทั้งสี่เรื่องที่ได้กล่าวมานั้น จะน่าดูมากน้อยเพียงไรขอเชิญรับชมตัวอย่าง...
http://www.manager.co.th/China/ViewNews ... 0000110344
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 3 กันยายน 2554 17:46 น.
ไซอิ๋ว สามก๊ก ความฝันในหอแดง และซ้องกั๋ง (ซ้ายไปขวา บนลงล่าง)
ไซอิ๋ว สามก๊ก ความฝันในหอแดง และซ้องกั๋ง หรือ วีรบุรุษเขาเหลียงซัน ได้รับการยกย่องจากเหล่าบัณฑิตให้เป็นสี่สุดยอดวรรณกรรมของจีน (四大名著) และถูกถ่ายทอดเป็นภาพยนตร์โทรทัศน์และหนังโรงมาหลายต่อหลายครั้ง
ทุกวันนี้คนในวงการสื่อจีนยอมรับว่าการลงทุนกับการสร้างภาพยนตร์โทรทัศน์สักเรื่องเป็นเรื่องที่มีความเสี่ยงไม่น้อย เพราะปัจจุบันอุปทานมากกว่าอุปสงค์ ผลงานมีมากกว่าความต้องการในตลาด ทำให้ในแต่ละปีมีละครโทรทัศน์ที่ถูกดองเค็มมากกว่าครึ่ง
แต่การลงทุนสร้างสี่ยอดวรรณกรรมอมตะของจีนเป็นเรื่องยกเว้น เพราะไม่ต้องกลัวว่าจะขายไม่ได้ ลำพังแค่ขายลิขสิทธิ์การฉายก็สามารถคืนทุนได้อย่างสบาย นี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ในรอบหลายสิบปีนี้มีการนำวรรณกรรมทั้งสี่เรื่องมารีเมคใหม่ซ้ำแล้วซ้ำอีก
โดยเฉพาะในเวอร์ชั่นล่าสุดนี้ แต่ละเรื่องใช้งบประมาณการสร้างไม่ต่ำกว่า 100 ล้านหยวนเลยทีเดียว โดยสามก๊กฉบับของผกก.เกาซีซีลงทุน 160 ล้านหยวน, ซ้องกั๋งของจีว์เจี้ยวเลี่ยงใช้งบประมาณการถ่ายทำ 130 ล้านหยวน, ความฝันในหอแดงของหลี่เส้าหงลงทุน 118 ล้านหยวนและไซอิ๋วของจางจี้จง 120 ล้านหยวน
โดยตอนนี้ที่จีนกำลังฉายเรื่องซ้องกั๋งและไซอิ๋วอยู่ ส่วนสามก๊กและความฝันในหอแดงนั้นฉายไปเมื่อปีที่แล้ว
ส่วนที่ว่าชาวไทยจะมีโอกาสได้ดูทั้งสี่เรื่องหรือไม่นั้นก็ยังเป็นเรื่องที่ต้องลุ้นต่อไป เพราะขนาดนิยายกิมย้งที่ว่าสร้างแล้วสร้างอีกกี่เวอร์ชั่น ไทยเราก็ซื้อลิขสิทธิ์มาเรียบ แต่มังกรหยกก๊วยเจ๋ง-อึ้งย้งปี 2008 ที่หูเกอ-หลินอีเฉินเล่นนี่ทำไมตกสำรวจ หรือสงสัยยังฝ่าด่านอรหันต์หนังเกาหลีมาไม่ได้ รอแล้วรอเล่าก็ยังไม่เห็นมีใครเอามาฉายสักที จนตอนนี้มีมือดีหยิบไปใส่เสียงพากษ์โหลดลงเว็บเรียบร้อยแล้ว...
สำหรับละครโทรทัศน์ทั้งสี่เรื่องที่ได้กล่าวมานั้น จะน่าดูมากน้อยเพียงไรขอเชิญรับชมตัวอย่าง...
http://www.manager.co.th/China/ViewNews ... 0000110344
- erickiros
- Verified User
- โพสต์: 415
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หนังสือจีนกำลังภายใน & หนังจีนในตำนาน
โพสต์ที่ 16
ชอบหลายเรื่องมากๆทั้งแปดเทพฯ มังกรหยกทั้ง 3 ภาค ชอลิ้วเฮียงทุกตอน
ว่างๆแวะไปเยี่ยมชม blog ของซันได้นะคะ Economics Blog
เนื้อหาของบล็อกนี้จะเกี่ยวกับการนำทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มาอธิบายเรื่องราวต่างๆค่ะ
เนื้อหาของบล็อกนี้จะเกี่ยวกับการนำทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มาอธิบายเรื่องราวต่างๆค่ะ
- murder_doll
- Verified User
- โพสต์: 1608
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หนังสือจีนกำลังภายใน & หนังจีนในตำนาน
โพสต์ที่ 17
น่าแจมด้วยจังชอบหนังย้อนยุคครับ เรื่องที่โดนใจที่สุดเห็นทีจะเป็นเรื่อง กระบี่เย้ยยุทธจักร(เดชคัมภีร์เทวดา)(ผู้กล้าหาญคะนอง) ต้องเป็นภาคที่ TBV เอามาฉายทางช่องสามด้วยนะครับ concept ตามนี้เลย "คนถ่อยยังดีกว่าพวกผู้ดีจอมปลอม" แบบว่ามันโดนใจตั้งแต่ตนจนจบเรื่องเลยครับ
คำโปรยจาก วิกิพิเดีย ครับ
"ธรรมะ อธรรม และวิญญูชนจอมปลอม" หมายความว่า ความแบ่งชนชั้นทางสังคมของธรรมะ และ อธรรม คนไหนนิสัยไม่ดี หรือ คบหาคนไม่ดีก็แบ่งเป็นฝ่ายอธรรม ทั้งที่ฝ่ายธรรมะจะมีแต่คนดี และ คนของฝ่ายอธรรมใช่ว่าต้องเลวร้ายเสมอไป คนฝ่ายธรรมะที่เลวร้ายก็มี คนที่ดีในฝ่ายอธรรมมันก็มี
"วิญญูชน" หรือ "วีรบุรุษ" ตามความหมายของพจนานุกรมไทยฉบับบัณฑิตราชสถาน หมายความว่า คนที่ได้รับยกย่องจากผู้คนในทางที่ดี
ส่วนวิญญูชนจอมปลอม คือ คนที่ไม่ใช่วีรบุรุษอันแท้จริง มักมีจุดประสงค์ร้ายเคลือบแฝงอย่างแน่นอน อย่างงักปุกคุ้งอาจารย์ของตัวเอกของเรื่อง คนอื่นมองภายนอกว่าเป็นคนดี เที่ยงธรรม ยุติธรรม แต่แท้จริงแล้วโกหกปลิ้นปล้อนหลอกลวงเพื่อให้ตัวเองเป็นใหญ่ในยุทธจักร คาดว่าหลายประเทศก็มีเหมือนกัน
แต่นักการเมืองคนหนึ่งของเวียดนาม ได้นำเอาคำว่า งักปุกคุ้ง อันเป็นวิญญูชนจอมปลอมไปกล่าวหานักการเมืองอีกคนหนึ่งเหมือนกัน[ต้องการอ้างอิง]
กระบี่เย้ยยุทธจักร เป็นเรื่องราวการแย่งชิงความเป็นหนึ่งในยุทธจักร ระหว่าง ธรรมะ และ อธรรม ท่ามกลางความขัดแย้งและการแย่งชิงอันรุนแรง เหล้งฮู้ชง จอมยุทธฝ่ายธรรมะ ศิษย์เอกของสำนักหัวซาน เป็นคนเปิดเผย ไม่ยึดติดกฎเกณฑ์ คบหาคนด้วยใจ ไม่สนว่าจะเป็นคนฝ่ายธรรมะหรือฝ่ายอธรรม จนถูกขับออกจากสำนัก แต่ยังไม่พ้นเข้าไปพัวพันเหตุความขัดแย้งต่างๆ ทั้งการชิงความเป็นใหญ่ภายในของฝ่ายธรรมะ และการชิงความเป็นใหญ่ภายในของฝ่ายอธรรม จนสับสนวุ่นวายว่าใครกันแน่ที่เป็นมาร ใครกันที่เป็นฝ่ายอธรรม และใครที่เป็นฝ่ายธรรมะ เพียงต้องการที่จะเป็นที่หนึ่ง ไม่เลือกวิธีการ งักปุ๊กคุ้ง เจ้าสำนักหัวซาน ผู้ได้ฉายาว่ากระบี่ผู้ดี ถึงกับทรยศครอบครัว และศิษย์ของตัวเอง จ้อแหน้เซี้ยง เจ้าสำนักซงซาน กำจัดทุกคนที่ไม่คล้อยตามตนเอง ก็เพียงต้องการได้ชื่อว่า เป็นอันดับหนึ่งในยุทธภพ
นวนิยายเรื่องนี้ เป็นนวนิยายที่ล้วนแฝงไว้ด้วย แนวคิดปรัชญาการดำรงชีวิต อีกทั้งยังมีการเสียดสีสังคมอยู่ตลอด แต่ก็หาได้ขาดอรรถรสของนวนิยายกำลังภายในไปแต่อย่างใด ในขณะที่เรื่องดำเนินไป จะเกิดคำถามขึ้นตลอดเวลา ถึงเรื่องของความถูกผิดในพฤติกรรมของตัวละครแต่ละตัว ตัวละครฝ่ายธรรมะ หรือตัวละครฝ่ายอธรรม ต่างมีความเป็นเอกลักษณ์ในตัวเอง โดยมีตัวละคร เหล้งฮู้ชง เป็นตัวดำเนินเรื่อง และเป็นตัวเปรียบเทียบ ว่าความสุขของชีวิตที่แท้จริงนั้น อยู่ที่ไหนกันแน่
คำโปรยจาก วิกิพิเดีย ครับ
"ธรรมะ อธรรม และวิญญูชนจอมปลอม" หมายความว่า ความแบ่งชนชั้นทางสังคมของธรรมะ และ อธรรม คนไหนนิสัยไม่ดี หรือ คบหาคนไม่ดีก็แบ่งเป็นฝ่ายอธรรม ทั้งที่ฝ่ายธรรมะจะมีแต่คนดี และ คนของฝ่ายอธรรมใช่ว่าต้องเลวร้ายเสมอไป คนฝ่ายธรรมะที่เลวร้ายก็มี คนที่ดีในฝ่ายอธรรมมันก็มี
"วิญญูชน" หรือ "วีรบุรุษ" ตามความหมายของพจนานุกรมไทยฉบับบัณฑิตราชสถาน หมายความว่า คนที่ได้รับยกย่องจากผู้คนในทางที่ดี
ส่วนวิญญูชนจอมปลอม คือ คนที่ไม่ใช่วีรบุรุษอันแท้จริง มักมีจุดประสงค์ร้ายเคลือบแฝงอย่างแน่นอน อย่างงักปุกคุ้งอาจารย์ของตัวเอกของเรื่อง คนอื่นมองภายนอกว่าเป็นคนดี เที่ยงธรรม ยุติธรรม แต่แท้จริงแล้วโกหกปลิ้นปล้อนหลอกลวงเพื่อให้ตัวเองเป็นใหญ่ในยุทธจักร คาดว่าหลายประเทศก็มีเหมือนกัน
แต่นักการเมืองคนหนึ่งของเวียดนาม ได้นำเอาคำว่า งักปุกคุ้ง อันเป็นวิญญูชนจอมปลอมไปกล่าวหานักการเมืองอีกคนหนึ่งเหมือนกัน[ต้องการอ้างอิง]
กระบี่เย้ยยุทธจักร เป็นเรื่องราวการแย่งชิงความเป็นหนึ่งในยุทธจักร ระหว่าง ธรรมะ และ อธรรม ท่ามกลางความขัดแย้งและการแย่งชิงอันรุนแรง เหล้งฮู้ชง จอมยุทธฝ่ายธรรมะ ศิษย์เอกของสำนักหัวซาน เป็นคนเปิดเผย ไม่ยึดติดกฎเกณฑ์ คบหาคนด้วยใจ ไม่สนว่าจะเป็นคนฝ่ายธรรมะหรือฝ่ายอธรรม จนถูกขับออกจากสำนัก แต่ยังไม่พ้นเข้าไปพัวพันเหตุความขัดแย้งต่างๆ ทั้งการชิงความเป็นใหญ่ภายในของฝ่ายธรรมะ และการชิงความเป็นใหญ่ภายในของฝ่ายอธรรม จนสับสนวุ่นวายว่าใครกันแน่ที่เป็นมาร ใครกันที่เป็นฝ่ายอธรรม และใครที่เป็นฝ่ายธรรมะ เพียงต้องการที่จะเป็นที่หนึ่ง ไม่เลือกวิธีการ งักปุ๊กคุ้ง เจ้าสำนักหัวซาน ผู้ได้ฉายาว่ากระบี่ผู้ดี ถึงกับทรยศครอบครัว และศิษย์ของตัวเอง จ้อแหน้เซี้ยง เจ้าสำนักซงซาน กำจัดทุกคนที่ไม่คล้อยตามตนเอง ก็เพียงต้องการได้ชื่อว่า เป็นอันดับหนึ่งในยุทธภพ
นวนิยายเรื่องนี้ เป็นนวนิยายที่ล้วนแฝงไว้ด้วย แนวคิดปรัชญาการดำรงชีวิต อีกทั้งยังมีการเสียดสีสังคมอยู่ตลอด แต่ก็หาได้ขาดอรรถรสของนวนิยายกำลังภายในไปแต่อย่างใด ในขณะที่เรื่องดำเนินไป จะเกิดคำถามขึ้นตลอดเวลา ถึงเรื่องของความถูกผิดในพฤติกรรมของตัวละครแต่ละตัว ตัวละครฝ่ายธรรมะ หรือตัวละครฝ่ายอธรรม ต่างมีความเป็นเอกลักษณ์ในตัวเอง โดยมีตัวละคร เหล้งฮู้ชง เป็นตัวดำเนินเรื่อง และเป็นตัวเปรียบเทียบ ว่าความสุขของชีวิตที่แท้จริงนั้น อยู่ที่ไหนกันแน่
เงินทองเป็นของมายา
ข้าวปลาคือของจริง
ข้าวปลาคือของจริง