ทุกวันจันทร์-อังคาร 20.20 น. ช่อง TPBS
เพิ่งเปิดดูโดยบังเอิญ เป็นเรื่องราวของ นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์
แนะนำละคร "หมอหงวน แสงดาวแห่งศรัทธา"
-
- Verified User
- โพสต์: 569
- ผู้ติดตาม: 0
แนะนำละคร "หมอหงวน แสงดาวแห่งศรัทธา"
โพสต์ที่ 2
มาช่วยดันอีกแรงครับ "เรื่องราวของคนตัวเล็ก ๆ ที่ทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ให้กับคนทั้งประเทศ" ThaiPBS ให้คำนิยามไว้ได้ดีมาก เสียดายครับที่ท่านอายุสั้นไปหน่อย
ประวัติบางส่วนของท่านคัดลอกมาจากเวปวิกิพีเดียครับ
นายแพทย์สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ (18 มีนาคม พ.ศ. 2495 - 18 มกราคม พ.ศ. 2551) เป็นนายแพทย์ที่มีผลงานดีเด่นในการบุกเบิกและผลักดันหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า จนรัฐไทยรับไปเป็นนโยบายใช้จริง โดยพรรคไทยรักไทยได้นำไปใช้เป็นนโยบายที่เรียกว่า "30 บาทรักษาทุกโรค" ในสมัยรัฐบาลทักษิณ 1 (แท้จริงแล้วตามหลักคิดนี้มีอยู่ในรับธรรมนูญปี พ.ศ. 2540 และไม่ต้องเสียเงินแม้สักบาทเดียว) นายแพทย์สงวนเป็นเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) คนแรกและดำรงตำแหน่ง 2 สมัยติดกัน จนกระทั่งเสียชีวิต และเป็นประธานชมรมแพทย์ชนบท รุ่นที่ 8 (พ.ศ. 2528-2529)
กลุ่มแพทย์ชนบทและผู้เคยร่วมงานกับนพ.สงวน เช่น นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบทรุ่นที่ 22 และ นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยสังคมและสุขภาพ (สวสส.) ยกย่องนพ.สงวนว่าเป็น "รัฐบุรุษแห่งวงการสาธารณสุขไทย"
ประวัติบางส่วนของท่านคัดลอกมาจากเวปวิกิพีเดียครับ
นายแพทย์สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ (18 มีนาคม พ.ศ. 2495 - 18 มกราคม พ.ศ. 2551) เป็นนายแพทย์ที่มีผลงานดีเด่นในการบุกเบิกและผลักดันหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า จนรัฐไทยรับไปเป็นนโยบายใช้จริง โดยพรรคไทยรักไทยได้นำไปใช้เป็นนโยบายที่เรียกว่า "30 บาทรักษาทุกโรค" ในสมัยรัฐบาลทักษิณ 1 (แท้จริงแล้วตามหลักคิดนี้มีอยู่ในรับธรรมนูญปี พ.ศ. 2540 และไม่ต้องเสียเงินแม้สักบาทเดียว) นายแพทย์สงวนเป็นเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) คนแรกและดำรงตำแหน่ง 2 สมัยติดกัน จนกระทั่งเสียชีวิต และเป็นประธานชมรมแพทย์ชนบท รุ่นที่ 8 (พ.ศ. 2528-2529)
กลุ่มแพทย์ชนบทและผู้เคยร่วมงานกับนพ.สงวน เช่น นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบทรุ่นที่ 22 และ นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยสังคมและสุขภาพ (สวสส.) ยกย่องนพ.สงวนว่าเป็น "รัฐบุรุษแห่งวงการสาธารณสุขไทย"
เราจะพอเพียง แค่เราเพียงพอ
เราจะมีพอ แม้เราพอมี
เราจะดีพอ แค่เราพอดี
เราจะพอใจ แค่ใจเราพอ
เราจะมีพอ แม้เราพอมี
เราจะดีพอ แค่เราพอดี
เราจะพอใจ แค่ใจเราพอ
-
- Verified User
- โพสต์: 987
- ผู้ติดตาม: 0
แนะนำละคร "หมอหงวน แสงดาวแห่งศรัทธา"
โพสต์ที่ 3
เพิ่งมีโอกาสได้ดูละครซีรีส์ของไทยทีพีเอส เรื่องนี้
เอ...เรื่องเก่า ผีเสื้อและดอกไม้ จบตั้งแต่เมื่อไหร่ก็ไม่รู้
ดูไปดูมา เออ..ทำให้อดย้อนรำลึกอดีตไมได้
เปล่าหรอกนะ กูรูไมได้รู้จักส่วนตัวกับคุณหมอสงวน
เพียงแต่เคยเห็นห่างๆ เมื่อสมัยทำกิจกรรมอยู่ที่ตึกสันทนาการ
คณะวิทยาศาสตร์ มหิดล
คณะที่มีตึกเรียนเป็นจานบินนั่นแหละ ฮือฮามากๆ :lol:
ตึกสันทนาการหรือที่เรียกสั้นๆว่าตึกสันท์
เป็นที่ชุมนุมของเหล่าจอมยุทธ์คนทำกิจกรรมทั้งหลาย
อีกทั้งเป็นที่ตั้งของศูนย์กลางนิสิตและนักเรียนต่างๆนานา
ก็เลยมีโอกาสพบปะรุ่นพี่ๆป้าๆยุคนั้น รวมทั้งพี่หมอหงวนด้วย
บรรยากาศความคึกคักของตึกสันท์เป็นอย่างไรน่ะหรือ
เวลานัดประชุมเรื่องอะไร ต้องมาที่ตึกสันท์
คืนนี้จะติดโปสเตอร์กัน ก็มารวมตัวที่ตึกสันท์
เชิญพี่ๆหมอมาถกปัญหาก็ถกที่ตึกสันท์
เพื่อนๆคนไหนบ้านไกลหน่อย ดึกๆกลับบ้านไม่ได้
เพราะไม่มีรถเมล์วิ่ง ก็ซุกหัวนอนกันที่ตึกสันท์
ตื่นมางัวเงียตอนเช้า ถือขันล้างหน้ากับแปรงสีฟันเข้าห้องน้ำ
ออกมาในชุดแต่งกายเครื่องทรงเดิม แล้วก็เข้าห้องเรียน
อ้อ..วงดนตรีเพื่อชีวิตโฟลค์ซองของมหิดล คือ "ฟ้าใหม่"
ก็เล่นๆแกะเกาคอร์ดกีตาร์ แต่งเนื้อร้องที่ข้างๆตึกสันท์นี่แหละ
ส่วน"กรรมาชน" วงดนตรีเชิดหน้าชูตาของมหิดล
เป็นการรวมกลุ่มของนักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์
เกิดก่อนสมัยตึกสันท์จะเฟื่องฟู
ด้วยความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันนี้ เมื่อเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น
ชาวตึกสันท์ทั้งหมดจะเข้าร่วมตลอด แทบไม่เคยรั้งรอ
กระทั่งเกิดเหตุ 6 ตุลาคม ตึกสันท์แตกกระเจิง
บรรดาชาวนกรู้หายหมด พลอยให้ตึกร้าง เหงา
เหลือเพียงร่องรอยความทรงจำและลมหายใจแผ่วเบาของห้องหับชมรม
หากใครอยากจะรู้เรื่องราวของ มหิดล
ในความทรงจำยุคประวัติศาสตร์ประชาธิปไตย
ลองหาอ่านดูได้ที่
"ปูมประวัติศาสตร์ มหิดล เพื่อประชาธิปไตย ภาคที่ 2
ประสานประชาชน อุทิศตนเพื่ออุดมการณ์
14 ตุลาคม 2516 - 6 ตุลาคม 2519"
น.พ. สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ : บรรณาธิการ
เนื้อหาข้างในกล่าวถึงบรรดาหมอๆหลายคนที่มีบทบาทต่อสังคมทุกวันนี้
รวมทั้งหมอหงวน ซึ่งเป็นนายกสโมสรมหิดลเมื่อปี 2519 ด้วย
บทบาทของนักศึกษามหิดล อาจจะไม่เกรียงไกรเท่ามหาลัยอื่น
แต่ก็ถือว่าเป็นพลังสมอง โน้มน้าว ถ่วงดุล ไม่ให้สุดโต่ง
ที่สำคัญเป็นแกนนำที่อึดมากๆ
กลางวันเรียน กลางคืนร่วมประชุมถึงเช้า
ล้างหน้าล้างตา ออกไปเรียนต่อ
ดังจะเห็นได้จากข้อความในหนังสือ หน้าที่ 215
เริ่มแนวคิด พลังที่ 3 เพื่อถ่วงดุล
จุดที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งของการเคลื่อนไหวของขบวนการนักศึกษามหิดลก็คือ
ความพยายามที่จะดำเนินการในแต่ละเรื่องอย่างมีเหตุผล
ไม่ไปตามกระแสที่บางจังหวะสุ่มเสี่ยงและโน้มเอียงเกินการรับได้ของสังคม
จนบางครั้งถูกมองว่าเป็นกลุ่มขวาในขบวน
ทั้งนี้โดยการพยายามยึดกุมหลักการ
"มีเหตุผล ได้ประโยชน์ รู้ประมาณ" ให้ได้มากที่สุด
ซึ่งก็สอดคล้องกับบุคลิกภาพของหมอหงวนเลยทีเดียว
เพราะเจ้าตัวได้กล่าวสัมภาษณ์ในหน้าถัดมาว่า
"สำหรับมหิดลแล้ว นอกจากพี่เหวงและวุฒิพงษ์แล้ว
ผมเข้าใจว่า โดยส่วนใหญ่เราเน้นมวลชนเป็นหลัก
ลักษณะของมหิดลไม่ค่อยออกไปแสดงออกข้างนอกเหมือนคนอยู่หลังฉาก
และค่อนข้างจะเป็นฝ่ายค้านในศูนย์นิสิตฯ
นอกจากพี่เหวงแล้ว แทบไม่มีผู้นำนักศึกษามหิดลคนไหนออกมาให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์
จะมีก็ธรรมศาสตร์ รามคำแหงเป็นหลัก รุ่นไหนๆก็เหมือนกัน
ที่เป็นเช่นนี้อาจจะเป็นเพราะแนวทางของเราเป็นอย่างนี้
ขณะที่การเรียนการสอนของเราค่อนข้างหนักกว่าคนอื่น จึงปลีกตัวได้ยาก"
ก็คงต้องติดตามดูต่อว่า ถึงเรื่องราวของพี่หมอหงวนหน้ากระต่ายคนนี้
จะพลิกโฉมละครไทยได้ไกลถึงไหน
แต่ถามไถ่จากคนรอบข้าง
สงสัยจะเป็นละครที่เงียบเหงาเปล่าเปลี่ยว(อีกแล้ว)
ประชาชนคนเล็กเล็กถูกมองข้าม
แท้จริงเขาคือตำนานที่ยิ่งใหญ่
สร้างโลกสร้างความเป็นไท
ให้ลูกหลานได้อาศัยอย่างร่มเย็น
เอ...เรื่องเก่า ผีเสื้อและดอกไม้ จบตั้งแต่เมื่อไหร่ก็ไม่รู้
ดูไปดูมา เออ..ทำให้อดย้อนรำลึกอดีตไมได้
เปล่าหรอกนะ กูรูไมได้รู้จักส่วนตัวกับคุณหมอสงวน
เพียงแต่เคยเห็นห่างๆ เมื่อสมัยทำกิจกรรมอยู่ที่ตึกสันทนาการ
คณะวิทยาศาสตร์ มหิดล
คณะที่มีตึกเรียนเป็นจานบินนั่นแหละ ฮือฮามากๆ :lol:
ตึกสันทนาการหรือที่เรียกสั้นๆว่าตึกสันท์
เป็นที่ชุมนุมของเหล่าจอมยุทธ์คนทำกิจกรรมทั้งหลาย
อีกทั้งเป็นที่ตั้งของศูนย์กลางนิสิตและนักเรียนต่างๆนานา
ก็เลยมีโอกาสพบปะรุ่นพี่ๆป้าๆยุคนั้น รวมทั้งพี่หมอหงวนด้วย
บรรยากาศความคึกคักของตึกสันท์เป็นอย่างไรน่ะหรือ
เวลานัดประชุมเรื่องอะไร ต้องมาที่ตึกสันท์
คืนนี้จะติดโปสเตอร์กัน ก็มารวมตัวที่ตึกสันท์
เชิญพี่ๆหมอมาถกปัญหาก็ถกที่ตึกสันท์
เพื่อนๆคนไหนบ้านไกลหน่อย ดึกๆกลับบ้านไม่ได้
เพราะไม่มีรถเมล์วิ่ง ก็ซุกหัวนอนกันที่ตึกสันท์
ตื่นมางัวเงียตอนเช้า ถือขันล้างหน้ากับแปรงสีฟันเข้าห้องน้ำ
ออกมาในชุดแต่งกายเครื่องทรงเดิม แล้วก็เข้าห้องเรียน
อ้อ..วงดนตรีเพื่อชีวิตโฟลค์ซองของมหิดล คือ "ฟ้าใหม่"
ก็เล่นๆแกะเกาคอร์ดกีตาร์ แต่งเนื้อร้องที่ข้างๆตึกสันท์นี่แหละ
ส่วน"กรรมาชน" วงดนตรีเชิดหน้าชูตาของมหิดล
เป็นการรวมกลุ่มของนักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์
เกิดก่อนสมัยตึกสันท์จะเฟื่องฟู
ด้วยความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันนี้ เมื่อเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น
ชาวตึกสันท์ทั้งหมดจะเข้าร่วมตลอด แทบไม่เคยรั้งรอ
กระทั่งเกิดเหตุ 6 ตุลาคม ตึกสันท์แตกกระเจิง
บรรดาชาวนกรู้หายหมด พลอยให้ตึกร้าง เหงา
เหลือเพียงร่องรอยความทรงจำและลมหายใจแผ่วเบาของห้องหับชมรม
หากใครอยากจะรู้เรื่องราวของ มหิดล
ในความทรงจำยุคประวัติศาสตร์ประชาธิปไตย
ลองหาอ่านดูได้ที่
"ปูมประวัติศาสตร์ มหิดล เพื่อประชาธิปไตย ภาคที่ 2
ประสานประชาชน อุทิศตนเพื่ออุดมการณ์
14 ตุลาคม 2516 - 6 ตุลาคม 2519"
น.พ. สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ : บรรณาธิการ
เนื้อหาข้างในกล่าวถึงบรรดาหมอๆหลายคนที่มีบทบาทต่อสังคมทุกวันนี้
รวมทั้งหมอหงวน ซึ่งเป็นนายกสโมสรมหิดลเมื่อปี 2519 ด้วย
บทบาทของนักศึกษามหิดล อาจจะไม่เกรียงไกรเท่ามหาลัยอื่น
แต่ก็ถือว่าเป็นพลังสมอง โน้มน้าว ถ่วงดุล ไม่ให้สุดโต่ง
ที่สำคัญเป็นแกนนำที่อึดมากๆ
กลางวันเรียน กลางคืนร่วมประชุมถึงเช้า
ล้างหน้าล้างตา ออกไปเรียนต่อ
ดังจะเห็นได้จากข้อความในหนังสือ หน้าที่ 215
เริ่มแนวคิด พลังที่ 3 เพื่อถ่วงดุล
จุดที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งของการเคลื่อนไหวของขบวนการนักศึกษามหิดลก็คือ
ความพยายามที่จะดำเนินการในแต่ละเรื่องอย่างมีเหตุผล
ไม่ไปตามกระแสที่บางจังหวะสุ่มเสี่ยงและโน้มเอียงเกินการรับได้ของสังคม
จนบางครั้งถูกมองว่าเป็นกลุ่มขวาในขบวน
ทั้งนี้โดยการพยายามยึดกุมหลักการ
"มีเหตุผล ได้ประโยชน์ รู้ประมาณ" ให้ได้มากที่สุด
ซึ่งก็สอดคล้องกับบุคลิกภาพของหมอหงวนเลยทีเดียว
เพราะเจ้าตัวได้กล่าวสัมภาษณ์ในหน้าถัดมาว่า
"สำหรับมหิดลแล้ว นอกจากพี่เหวงและวุฒิพงษ์แล้ว
ผมเข้าใจว่า โดยส่วนใหญ่เราเน้นมวลชนเป็นหลัก
ลักษณะของมหิดลไม่ค่อยออกไปแสดงออกข้างนอกเหมือนคนอยู่หลังฉาก
และค่อนข้างจะเป็นฝ่ายค้านในศูนย์นิสิตฯ
นอกจากพี่เหวงแล้ว แทบไม่มีผู้นำนักศึกษามหิดลคนไหนออกมาให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์
จะมีก็ธรรมศาสตร์ รามคำแหงเป็นหลัก รุ่นไหนๆก็เหมือนกัน
ที่เป็นเช่นนี้อาจจะเป็นเพราะแนวทางของเราเป็นอย่างนี้
ขณะที่การเรียนการสอนของเราค่อนข้างหนักกว่าคนอื่น จึงปลีกตัวได้ยาก"
ก็คงต้องติดตามดูต่อว่า ถึงเรื่องราวของพี่หมอหงวนหน้ากระต่ายคนนี้
จะพลิกโฉมละครไทยได้ไกลถึงไหน
แต่ถามไถ่จากคนรอบข้าง
สงสัยจะเป็นละครที่เงียบเหงาเปล่าเปลี่ยว(อีกแล้ว)
ประชาชนคนเล็กเล็กถูกมองข้าม
แท้จริงเขาคือตำนานที่ยิ่งใหญ่
สร้างโลกสร้างความเป็นไท
ให้ลูกหลานได้อาศัยอย่างร่มเย็น
ชีวิตเกิดและตายเพียงอย่างละหน ส่วนที่เหลือตรงกลางต้องค้นพบเอง
-
- Verified User
- โพสต์: 439
- ผู้ติดตาม: 0
แนะนำละคร "หมอหงวน แสงดาวแห่งศรัทธา"
โพสต์ที่ 4
ติดตามดูเรื่องนี้ เพราะอยากเสพบรรยากาศเก่าๆ
น้ำตาซึมเวลาเห็นพี่ๆเค้าทำงานใน รพ. ต่างจังหวัดด้วยความยากลำบาก
ยิ้มเวลาที่เห็นเค้าร่วมกันร้องเพลงในรถ "ถ้าหากฉันเกิดเป็นนกที่โผบิน......"
พูดถึงตึกสัน ตึกกลม นึกภาพออกเลย
แต่ต้องย้อนเวลาไป 30 กว่าปี
มีอยู่วันหนึ่งแผ่นดินไหวแรงมาก
นั่งเรียนอยู่ดีๆในตึกกลม แถวเก้าอี้มันเคลื่อนได้
ทุกคนตกใจกรูกันออกมาจากตึก
เกือบจะกลายเป็นจานบินไปแล้ว
น้ำตาซึมเวลาเห็นพี่ๆเค้าทำงานใน รพ. ต่างจังหวัดด้วยความยากลำบาก
ยิ้มเวลาที่เห็นเค้าร่วมกันร้องเพลงในรถ "ถ้าหากฉันเกิดเป็นนกที่โผบิน......"
พูดถึงตึกสัน ตึกกลม นึกภาพออกเลย
แต่ต้องย้อนเวลาไป 30 กว่าปี
มีอยู่วันหนึ่งแผ่นดินไหวแรงมาก
นั่งเรียนอยู่ดีๆในตึกกลม แถวเก้าอี้มันเคลื่อนได้
ทุกคนตกใจกรูกันออกมาจากตึก
เกือบจะกลายเป็นจานบินไปแล้ว