บาลีและไทย

เชิญมาพักผ่อน คลายร้อนนั่งเล่น คุยกันเย็นๆ พร้อมเรื่องกีฬา สัพเพเหระ ทัศนะนานา ชีวิตชีวา สุขภาพทั่วไป บันเทิงขำขัน รอบเรื่องเมืองไทย ชวนเที่ยวที่ไหน อยากไปก็นัดมา ...โย่วๆ

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
สามัญชน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 5162
ผู้ติดตาม: 0

บาลีและไทย

โพสต์ที่ 1

โพสต์

HVI เขียน: โอ้ย... มันเกี่ยวอะไรกับใกล้บรรลุโสดาบันล่ะเนี่ย
ผมก็แค่พยายามอธิบายตาม "สัญญา" (ความรู้จากการจดจำ)
และคิดว่ามันน่าจะถูกต้องตามสภาวะธรรม มีเหตุมีปัจจัย ก็เท่านั้น
("สัญญา" ภาษาธรรมมะกับภาษาไทยก็ความหมายไม่เหมือนกัน)
http://www.thaivi.com/webboard/viewtopi ... 64&start=0

ประเด็นของน้องหวีมีความสำคัญมากเหมือนกัน
เพราะภาษาบาลีกับภาษาไทย  มีหลายๆคำที่อ่านเขียนเหมือนกันแต่ความหมายผิดเพี้ยนกันไปมาก
ทำให้สื่อความหมายผิดไป

ในชีวิตประจำวันทั่วไปก็มักไม่ค่อยมีปัญหามากนัก
แต่สำหรับผู้ที่สนใจธรรมมะจะพบปัญหาเหล่านี้บ่อยๆ
เพราะคำเหล่านี้ยังใช้ความหมายเดิมตามบาลี/หรือสันสกฤต
ถ้าเราไม่รู้เราก็ตีความหมายผิดๆ
เราที่ว่านี้ มักจะเป็นตัวผมเองนี่แหละ.ฮ่า
เลยคิดจะรวบรวมคำที่ใช้บ่อยๆ  ถ้าเพื่อนๆมีแรงช่วยก็เชิญร่วมด้วยช่วยกันนะครับ
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
ภาพประจำตัวสมาชิก
สามัญชน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 5162
ผู้ติดตาม: 0

บาลีและไทย

โพสต์ที่ 2

โพสต์

1. สัญญา
แก้ไขล่าสุดโดย สามัญชน เมื่อ อาทิตย์ พ.ค. 24, 2009 11:53 am, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
ภาพประจำตัวสมาชิก
สามัญชน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 5162
ผู้ติดตาม: 0

บาลีและไทย

โพสต์ที่ 3

โพสต์

3. สังขาร
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
ภาพประจำตัวสมาชิก
สามัญชน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 5162
ผู้ติดตาม: 0

บาลีและไทย

โพสต์ที่ 4

โพสต์

4. เวทนา หมายถึง
เวทนา เป็นหลักธรรมข้อหนึ่งในพุทธศาสนา หมายถึง ความเสวยอารมณ์ ความรู้สึก
เวทนาขันธ์ เป็นองค์ประกอบหนึ่งของขันธ์๕ (หรือ เบญจขันธ์ อันได้แก่ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์)
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80% ... 9%E0%B8%B2

อ่านแล้วก็ยังงงอยู่ดี  เสวยแปลว่ากิน แล้วความกินอารมณ์ ความกินความรู้สึกแปลว่าอะไรเนี่ย  :lol:
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
ภาพประจำตัวสมาชิก
สามัญชน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 5162
ผู้ติดตาม: 0

บาลีและไทย

โพสต์ที่ 5

โพสต์

วิญญาณ (ภาษาสันสกฤต: วิชญาน) แปลว่า ความรู้แจ้ง

วิญญาณ หมายถึงธาตุรู้ (วิญญาณธาตุ) และระบบการรับรู้ของจิตหลังจากที่ได้สัมผัสกับอารมณ์ หรือสิ่งที่มากระทบสัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นระบบที่เกิดจากประสาทสัมผัส เช่นเมื่อตาได้สัมผัสกับรูป เกิดการรับรู้ขึ้น การรับรู้นั้นแหละคือสิ่งที่เรียกว่าวิญญาณ

วิญญาณ ทั่วไปมักหมายถึงภูติผีปีศาจ หรือสิ่งที่ล่องลอยออกจากร่างคนที่ตายไปแล้ว

วิญญาณ เป็นขันธ์หนึ่งในขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ธาตุรู้ มีความหมายต่างจากวิญญาณในภาษาไทยมากเหมือนกัน
ถ้าพูดถึงวิญญาณมักจะนึกถึงผียังไงก็ไม่รู้  :lol:
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
ภาพประจำตัวสมาชิก
สามัญชน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 5162
ผู้ติดตาม: 0

บาลีและไทย

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ปรมัตถ์ กับ บัญญัติ
มนุษย์ส่วนใหญ่จะเข้าใจเพียงความจริงระดับสมมุติจากภาษาเท่านั้น ได้แก่ บัญญัติชื่อต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ วัตถุ และความเป็นเจ้าของสิ่งเหล่านั้นทั้งโดยชื่อและโดยความรู้สึก เช่น นายดำ แมว เงินของฉัน ลูกของฉัน เป็นต้น เป็นความจริงที่ต้องขึ้นกับการอ้างอิงและเปรียบเทียบ ซึ่งรู้จักกันเฉพาะในกลุ่มชนบางกลุ่มที่ใช้ภาษาเดียวกัน วัฒนธรรมเดียวกันเท่านั้น จะใช้กับต่างกลุ่ม ต่างภาษา ต่างวัฒนธรรมไม่ได้

ส่วนความจริงอีกระดับหนึ่ง คือ ความจริงระดับปรมัตถ์ ปรมัตถ์นี้จะไม่เปลี่ยนแปลงไปตามกลุ่มชน สถานที่ หรือยุคสมัย อดีตนับตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ไฟเคยให้ความร้อนและเผาไหม้อย่างไร ในอนาคตจนถึงโลกถูกทำลาย ไฟก็ยังคงให้ความร้อนและเผาไหม้ตลอดไป

คำว่าไฟเป็นจริงเฉพาะในหมู่คนไทย ต่างชาติจะเรียกอีกอย่างหนึ่ง แต่ความรู้สึกร้อนจะเป็นสากลสำหรับสิ่งมีชีวิตทุกชนิดทั้งคนและสัตว์ เมื่อถูกไฟจะรู้สึกว่าร้อน ความร้อนเป็นความจริงระดับปรมัตถ์ของไฟ
http://www.abhidhamonline.org/rupa.files/paramath.htm

ปรมัตถ์ คือ ของจริงตามธรรมชาติ  ไม่ว่าจะอยู่ประเทศใด ภาษาไหน ก็เหมือนกันหมด

บัญญัติ  คือชื่อที่เราตั้งให้กับปรมัตถ์  แตกต่างกันไปแล้วแต่ภาษานั้นๆ
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
MarginofSafety
Verified User
โพสต์: 5786
ผู้ติดตาม: 0

บาลีและไทย

โพสต์ที่ 7

โพสต์

อีกสองคำที่มักสร้างความสับสน

มานะ กับ วาสนา
ภาษาไทยความหมายจะเป็นบวก
แต่ถ้าเป็นภาษาธรรมมะความหมายจะเป็นเชิงลบครับ
"Winners never quit, and quitters never win."
สถาปนิกต่างดาว
Verified User
โพสต์: 463
ผู้ติดตาม: 0

บาลีและไทย

โพสต์ที่ 8

โพสต์

พี่หมอครับ ช่วยสงเคราะห์ สังเคราะห์ อีกซัก ๑ กลุ่ม ๑๒ คำ
ได้ไหมครับครับ

๑ อวิชชา
๒(สังขาร)
๓(วิญญาณ)
๔นามรูป
๕สฬายตนะ
๖ผัสสะ
๗เวทนา
๘ตัณหา
๙อุปาทาน
๑๐ภพ
๑๑ชาติ
๑๒ชรามรณะ

โดยเฉพาะ  "ภพ"   "ชาติ" นี่ขอ เน้นๆ เนื้อๆ
ขอบคุณครับ
ลงทุนแบบ อาร์ตๆ
ภาพประจำตัวสมาชิก
MO101
Verified User
โพสต์: 3226
ผู้ติดตาม: 0

บาลีและไทย

โพสต์ที่ 9

โพสต์

ภาษาไทยวันละคำวันนี้เสนอคำว่า ภาวนา

ภาวนา แปลว่า การเจริญ การอบรม การทำให้มีให้เป็นขึ้น หมายถึง การทำจิตใจให้สงบและทำปัญญาให้เกิดขึ้น ด้วยการฝึกฝนอบรมจิตไปตามแบบที่ท่านกำหนดไว้ ซึ่งเรียกชื่อไปต่างๆ เช่น การบำเพ็ญกรรมฐาน การทำสมาธิ การเจริญภาวนา การเจริญจิตภาวนา

ภาวนา ในทางปฏิบัติท่านแบ่งไว้ ๒ แบบใหญ่ๆ คือ

  1. สมถภาวนา การอบรมจิตใจให้สงบ ซึ่งได้แก่สมถกรรมฐานนั่นเอง เรียกว่า จิตภาวนา ก็ได้
  2. วิปัสสนาภาวนา การอบรมปัญญาให้เกิด ซึ่งได้แก่วิปัสสนากรรมฐานนั่นเอง เรียกว่า ปัญญาภาวนา ก็ได้

ภาวนา เป็นบุญอย่างหนึ่ง เรียกว่าภาวนามัย คือบุญที่เกิดจากการภาวนา
ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A0% ... 9%E0%B8%B2
ภาพประจำตัวสมาชิก
สามัญชน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 5162
ผู้ติดตาม: 0

บาลีและไทย

โพสต์ที่ 10

โพสต์

สวัสดีครับพี่สถาปนิกต่างดาว

ภพ ตามพจนานุกรม หมายถึง  น.โลก แผ่นดิน วัฎสงสาร (ป. ภว).

มีคนให้ความหมายอย่างอื่นว่า
http://www.nkgen.com/704.htm
ภพ  แปลว่า  โลกอันเป็นที่อยู่ของสัตว์,  ภาวะชีวิตของสัตว์

ภพ ในปฏิจจสมุปบาท จึงหมายถึง ภาวะของชีวิตหรือภาวะของจิตที่อยู่ภายใต้การครอบงำของอุปาทาน ณ ช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ

ภพ ในวงจรปฏิจจสมุปบาทเป็นองค์ธรรมที่แสดงการดำเนินและเป็นไปของกระบวนจิตให้ครบถ้วนบริบูรณ์ถูกต้องเท่านั้น  ไม่สามารถดับทุกข์ลงไปได้โดยตรงๆ
ผมได้ยินท่านหลวงพ่อปราโมทย์พูดบ่อยๆว่า ในขณะที่เราวิปัสนา ถ้าหลงไปคิดหลงไปเพ่ง ก็เท่ากับเราหลงไปสร้างภพสร้างชาติขึ้นมา

หลวงพ่อน่าจะหมายถึงความหมายตาม ปฏิจจสมุปบาท

ส่วน ชาติ มาจากคำว่า ชาต-  ชาตะ แปลว่า ก.เกิด
ตรงข้ามกับ มรณะนั่นเอง
รสชาติ ก็แปลว่าการเกิดรส (บางคนเขียนผิดๆว่า รสชาด ก็มี)
ประเทศชาติ ก็คือ การเกิดประเทศ

บางคนบอกว่า รักชาติ กู้ชาติ ถ้าแปลตรงๆก็คงแปลว่ารักการเกิด หรือกู้การเกิด ซึ่งไม่รู้ว่าหมายความว่าอย่างไร

แต่เข้าใจว่าคำเต็มๆน่าจะเป็นรักประเทศชาติ แต่ยาวไปเลยเหลือแค่รักชาติ  :lol:

ความหมายดั้งเดิมก็น่าจะประมาณนี้
แต่ภาษาไทยเราใช้มาใช้ไปจนเพี้ยนไปจากเดิมก็มากเหมือนกัน
กลายเป็นชาตินี้ชาติหน้า  ภพนี้ภพหน้าไปเลย

สาเหตุก็เป็นเพราะภาษาบาลีและไทยยังถูกใช้กันอยู่ ก็เลยเหมือนมีชีวิต เมื่อมีชีวิตก็มีการเปลี่ยนแปลง

(ภาษาแพทย์จะใช้ภาษาละตินซึ่งตายแล้ว  พอพูดถึงคำใดก็ตามก็มักจะเข้าใจตรงกันทั่วโลก เพราะความหมายไม่ผิดเพี้ยนไป)
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
MarginofSafety
Verified User
โพสต์: 5786
ผู้ติดตาม: 0

บาลีและไทย

โพสต์ที่ 11

โพสต์

[quote="สามัญชน"]
สาเหตุก็เป็นเพราะภาษาบาลีและไทยยังถูกใช้กันอยู่ ก็เลยเหมือนมีชีวิต เมื่อมีชีวิตก็มีการเปลี่ยนแปลง

(ภาษาแพทย์จะใช้ภาษาละตินซึ่งตายแล้ว
"Winners never quit, and quitters never win."
กูรูขอบสนาม
Verified User
โพสต์: 987
ผู้ติดตาม: 0

บาลีและไทย

โพสต์ที่ 12

โพสต์

[quote="HVI"][quote="สามัญชน"]
สาเหตุก็เป็นเพราะภาษาบาลีและไทยยังถูกใช้กันอยู่ ก็เลยเหมือนมีชีวิต เมื่อมีชีวิตก็มีการเปลี่ยนแปลง

(ภาษาแพทย์จะใช้ภาษาละตินซึ่งตายแล้ว
ภาพประจำตัวสมาชิก
por_jai
Verified User
โพสต์: 14338
ผู้ติดตาม: 0

บาลีและไทย

โพสต์ที่ 13

โพสต์

:8) คารวะน้องกูรูเจรงๆ
กรูเก่ง กิเลสเก่งกว่า
ภาพประจำตัวสมาชิก
สามัญชน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 5162
ผู้ติดตาม: 0

บาลีและไทย

โพสต์ที่ 14

โพสต์

สามัญชน เขียน: สาเหตุก็เป็นเพราะภาษาบาลีและไทยยังถูกใช้กันอยู่ ก็เลยเหมือนมีชีวิต เมื่อมีชีวิตก็มีการเปลี่ยนแปลง
ผมหมายถึงบาลีที่ถูกนำมาใช้ในภาษาไทยน่ะครับ
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
ภาพประจำตัวสมาชิก
MO101
Verified User
โพสต์: 3226
ผู้ติดตาม: 0

บาลีและไทย

โพสต์ที่ 15

โพสต์

ภาษาไทยวันละคำ ขอเสนอ

คำสำคัญ "ญัตติ" สามารถหมายถึง

   * ญัตติ (พุทธศาสนา) - คําประกาศให้สงฆ์ทราบเพื่อทํากิจของสงฆ์ร่วมกัน เช่น ญัตติทุติยกรรมวาจา ญัตติจตุตถกรรมวาจา, คําเผดียงสงฆ์ ก็ว่า
   * ญัตติ (การประชุม) - ข้อเสนอเพื่อลงมติ เช่น ผู้แทนราษฎรเสนอญัตติเข้าสู่สภาเพื่อขอให้ที่ประชุมลงมติว่าจะเห็นชอบด้วยหรือไม่
   * ญัตติ (การโต้วาที) - หัวข้อโต้วาที เช่น โต้วาทีในญัตติว่า ขุนช้างดีกว่าขุนแผน
สถาปนิกต่างดาว
Verified User
โพสต์: 463
ผู้ติดตาม: 0

บาลีและไทย

โพสต์ที่ 16

โพสต์

ขอบคุณมากครับพี่หมอ
ต่ออีกครับ
คำว่า    "ชาดก"
           เรื่องจริง หรือ นิทานอุปมาอุปไมย
           เต ช  สุ  เน  ม   ภู  จ  นา  วิ เว    ๑๐ ชาติ
           มี  "ชาติ "เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

           พุทธศาสนา มี "ชาติ" ตามปฏิจจสมุปปบาท(ไม่ใช่ชาติที่แล้ว ชาติหน้า)
           หรือมีหลาย "ชาติ" ตามชาดก ?
ลงทุนแบบ อาร์ตๆ
ภาพประจำตัวสมาชิก
สามัญชน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 5162
ผู้ติดตาม: 0

บาลีและไทย

โพสต์ที่ 17

โพสต์

[quote="สถาปนิกต่างดาว"] ต่ออีกครับ
คำว่า
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
ภาพประจำตัวสมาชิก
Eyore
Verified User
โพสต์: 606
ผู้ติดตาม: 0

บาลีและไทย

โพสต์ที่ 18

โพสต์

[quote="สถาปนิกต่างดาว"]
คำว่า
สถาปนิกต่างดาว
Verified User
โพสต์: 463
ผู้ติดตาม: 0

บาลีและไทย

โพสต์ที่ 19

โพสต์

เรื่องชาตินี่ เป็นเรื่องใหญ่เรื่องนึงของพุทธศาสนาในประเทศไทยเลยนะครับ
ขอบคุณครับพี่ eyoro
ขอถามเพิ่มอีกนิด  "ภพ"  แล้วต่อด้วย  "ภูมิ" "ภูมิ๔"
และ "ภูมิ"นี้เป็น พุทธแท้ หรือว่ามี พราหมณ์ปน ครับ
ลงทุนแบบ อาร์ตๆ
ภาพประจำตัวสมาชิก
สามัญชน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 5162
ผู้ติดตาม: 0

บาลีและไทย

โพสต์ที่ 20

โพสต์

Eyore เขียน:ในพระไตรปิฏกท่านสมมุติเช่นนี้
มะม่วงลูกหนึ่ง เกิดเป็นต้นมะม่วง แล้วออกผลมะม่วง
ถ้าจะถามว่า มะม่วงลูกนี้กับลูกก่อนเป็นอันเดียวกันหรือไม่
เป็นอันเดียวกันก็ไม่ใช่
คนละอันก็ไม่ใช่
เพราะมันคือการสืบต่อ
มะม่วงหนึ่งลูกเกิดเป็นต้นมะม่วงหนึ่งต้น
มะม่วงหนึ่งต้นออกลูกหลายๆลูก

จิตดับไปแล้วหนึ่งหน่วย(ไม่รู้จะใช้ลักษณะนามอะไรดี จะใช้ดวงเขาก็บอกว่าไม่ได้เป็นดวงๆ)
เกิดใหม่หลายๆหน่วยเหมือนมะม่วงไหมครับ
หรือเกิดใหม่หน่วยเดียว
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
ภาพประจำตัวสมาชิก
Eyore
Verified User
โพสต์: 606
ผู้ติดตาม: 0

บาลีและไทย

โพสต์ที่ 21

โพสต์

[quote="สถาปนิกต่างดาว"]
ขอบคุณครับพี่ eyoro
ขอถามเพิ่มอีกนิด
ภาพประจำตัวสมาชิก
Eyore
Verified User
โพสต์: 606
ผู้ติดตาม: 0

บาลีและไทย

โพสต์ที่ 22

โพสต์

ภูมิ 4 ที่ท่านสถาปนิกถาม ได้แก่

1. อบายภูมิ
   - นรก
   - อสุรกาย
   - เดรัจฉาน
   - เปรต
2. กามสุคติภูมิ
   - มนุษย์
   - เทวดา
3. รูปาวจรภูมิ
   - รูปพรหม
4. อรูปาวจรภูมิ
   - อรูปพรหม
ภาพประจำตัวสมาชิก
Eyore
Verified User
โพสต์: 606
ผู้ติดตาม: 0

บาลีและไทย

โพสต์ที่ 23

โพสต์

สามัญชน เขียน: มะม่วงหนึ่งลูกเกิดเป็นต้นมะม่วงหนึ่งต้น
มะม่วงหนึ่งต้นออกลูกหลายๆลูก

จิตดับไปแล้วหนึ่งหน่วย(ไม่รู้จะใช้ลักษณะนามอะไรดี จะใช้ดวงเขาก็บอกว่าไม่ได้เป็นดวงๆ)
เกิดใหม่หลายๆหน่วยเหมือนมะม่วงไหมครับ
หรือเกิดใหม่หน่วยเดียว
อันนี้มันเป็นคำเปรียบเทียบเฉยๆครับ
จิตเกิดดับทีละดวงสืบต่อกันไปครับ

ถามถึงตรงนี้ก็เริ่มไม่แน่ใจว่า
ในพระไตรปิฏกท่านว่าต้นมะม่วง หรือผลมะม่วงกันแน่  :oops:
ภาพประจำตัวสมาชิก
สามัญชน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 5162
ผู้ติดตาม: 0

บาลีและไทย

โพสต์ที่ 24

โพสต์

[quote="Eyore"] อันนี้มันเป็นคำเปรียบเทียบเฉยๆครับ
จิตเกิดดับทีละดวงสืบต่อกันไปครับ

ถามถึงตรงนี้ก็เริ่มไม่แน่ใจว่า
ในพระไตรปิฏกท่านว่าต้นมะม่วง หรือผลมะม่วงกันแน่
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
ภาพประจำตัวสมาชิก
Eyore
Verified User
โพสต์: 606
ผู้ติดตาม: 0

บาลีและไทย

โพสต์ที่ 25

โพสต์

สามัญชน เขียน:ได้ความหมายเท่ากันครับ
ไม่ว่าจะเป็นต้นหรือลูก
ความจริงไม่เหมือนครับ
เพราะมะม่วง 1 ต้น
มีลูกได้หลายลูก
แต่จิตไม่ได้แยกเป็นหลายดวง
สามัญชน เขียน:แล้วทำไมปัจจุบันนี้ถึงมีจิตมากขึ้นเรื่อยๆ
มีคนมีสัตว์เพิ่มขึ้นจากอดีตหนะครับ
ยิ่งถ้าย้อนไปถึงตอนกำเนิดโลก
ตอนนั้นยังไม่มีทั้งคนทั้งสัตว์เลยนะนั่น
คือถ้าคิดสั้นๆแค่กำเนิดโลก
ก็คงแปลกใจว่ามาจากไหนกันมากมาย
ความจริงพระพุทธเจ้าท่านว่า
สังสารวัฏนี้ ไม่มีเงื่อนต้น ไม่มีเงื่อนปลาย
จักรวาลนี้ เกิดดับมานับครั้งไม่ถ้วนแล้วครับ

อีกประการหนึ่ง
ถ้านับเฉพาะยุคนี้ ว่าทำไมคนถึงมีมากมายนัก
อย่าลืมว่า มนุษย์ และ สัตว์
เป็นแค่ 2 ภพ ที่เรามองเห็นเท่านั้นครับ
ยังมี สัตว์นรก อสุรกาย เปรต เทวดา และ พรหม
ใน 7 ภพนี้ ถ่ายเทกันไปมาตลอดเวลาครับ
เอาง่ายๆ แค่มดรังหนึ่ง
ก็จำนวนมากกว่าคนหมู่บ้านหนึ่งแล้วครับ


ส่วนที่ว่า จะมีจิตเกิดใหม่ได้หรือไม่นั้น
มีข้อที่น่าพิจารณาคือ
ตัวตน เรา เขา สัตว์ บุคคล ทั้งหลาย
ล้วนเป็นสมมุติทั้งนั้น ไม่ได้มีอยู่จริง
ดังนั้น การคิดว่า จิตดวงหนึ่ง คือคนคนหนึ่ง
แล้วมีจิตดวงใหม่ หรือคนใหม่เกิดขึ้นมาได้
ผมว่าอย่างนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิอย่างนึง
เรียก สัสสตทิฏฐิ
คือมีวิญญาณเป็นดวงๆลอยไปเกิดได้
หาร่างใหม่ไปเรื่อยๆ

ตายแล้วเกิด หรือตายแล้วสูญ
เป็นความคิดสุดโต่งทั้งสองด้านครับ
สถาปนิกต่างดาว
Verified User
โพสต์: 463
ผู้ติดตาม: 0

บาลีและไทย

โพสต์ที่ 26

โพสต์

ชาติ  ภพ  ภูมิ  ชาดก บาลีและไทย
ผมลองไปวิแคะ อ่านจากที่ต่างๆ  ต่อจิ๊กซอว์ตามประสาคนเขลาอย่างผม
พอได้ประมาณนี้  ลองค่อยๆอ่านดูนะครับ

ไตรปิฎกและการสังคายนา
ต้องลองย้อนเวลาไปดูครับว่ากว่าที่เราจะมานั่งวิเเคะบาลีกันนี้ คำสอนของพุทธเจ้าส่งต่อจนมาถึงเราได้ยังไง  
  สังคายนาคร้งที่๑  อินเดีย ๓ เดือนหลังปรินิพพาน รูปแบบ ท่องจำ
       หมวดหมู่ ๒ หมวด พระวินัยกับธัมมวิสัชณา
  สังคายนาครั้งที่๒  อินเดีย พศ ๑๐๐  รูปแบบท่องจำ
  สังคายนาครั้งที่๓  อินเดีย  พศ ๒๓๕  รูปแบบท่องจำ ๓หมวด แต่งคัมภีร์กถาวัตถุ  
      เพิ่มเติม(ขยายความอธิบายธรรม)

      แล้วขยายสู่ประเทศ ลังกา
  สังคายนาครั้งที่๑ ลังกา ห่างครั้งที่๓  ประมาณ๓-๔ปี  รูปแบบท่องจำ
  สังคายนาครั้งที่๒ ลังกา พศ ๔๓๓ รูปแบบ จารึกลงใบลานเป็นคร้งแรก
  ครั้งย่อย  ลังกา พศ ๙๕๖ พระพุทธโฆษาจารย์ แปล เรียบเรียง แต่ง อรรถกถา จากสิงหลเป็นบาลี
  ครั้งย่อย ลังกา พศ ๑๕๘๗ ชำระ รจนาคำอธิบายอรรถกถา

       จากลังกา สู่ไทย
  พศ  ๑๘๘๒ พระมหาธรรมราชาลิไท แต่ง ไตรภูมิพระร่วง เรื่องนรกสวรรค์
       การเวียนว่ายตายเกิด
  สังคายนาครั้งแรกในไทย พศ ๒๐๒๐ พระเจ้าติโลกราช เชียงใหม่ ลงใบ
      ลาน
  พศ ๒๓๓๑  สังคายนาสมัย พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
   มีจุดที่น่าสังเกตุตรง สังคายนาย่อยลังกา และ ไตรภูมิพระร่วง
   ต้องค่อยๆดูกัน
ลงทุนแบบ อาร์ตๆ
สถาปนิกต่างดาว
Verified User
โพสต์: 463
ผู้ติดตาม: 0

บาลีและไทย

โพสต์ที่ 27

โพสต์

การขยายความ และการส่งต่อ
ต่อครับ
ถามว่า ก่อนพุทธศาสนาเข้ามาไทย ศาสนาไหนมาก่อน

ก็คงต้องตอบว่า พราหมณ์
ศาสนาพราหมณ์
พระพุทธเจ้าก็เคยนับถือพราหมณ์มาก่อนเหมือนกัน
ถามว่าข้อแตกต่างระหว่างพราหมณ์กับพุทธ คืออะไร
  ๑ พราหมณ์ เป็น พหุเทวนิยม (มีพระเจ้าหลายองค์)
     พุทธ เป็น อเทวนิยม
  ๒ พราหมณ์  เชื่อใน อาตมัน
      พุทธเชื่อใน อนัตตา
     รวมทั้งบางประการที่ พี่eyore โพสไว้ก่อนหน้านี้

ไตรภูมิพระร่วง
เป็นคัมภีร์ว่าด้วย นรก สวรรค์ การเวียนว่ายตายเกิด
แต่คัมภีร์นี้เป็นเรื่องแต่งเติมจากไตรปิฎก
มีอิทธพลจาก พราหมณ์ และการเมือง การปกครอง เข้ามาปน
แต่ก็ฝังอยู่ในจิตวิญญานของคนไทยอย่างแน่นหนา
ถามต่อว่า

ไตรปิฎก และคัมภีร์ที่ใช้กันอยู่ในไทยนี้เอามาจากไหน
ก็คงจากลังกาแหละครับ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คัมภีร์ของพระพุทธโฆษาจารย์
    พระพุทธโฆษาจารย์คือใคร?
    ท่านเป็นชาวอินเดีย เป็นพราหมณ์ก่อนที่จะมาเป็นพุทธ เมื่อต้องการศึกษาอรรถกถาจึงต้องไปลังกา เพราะที่อินเดียหลงเหลือแต่ไตรปิฏก  ท่านมีความรู้ความสามารถมาก แต่งอรรถกถาไว้มากมาย ที่มีชื่อเสียงมากในไทยก็คือ คัมภีร์วิสุทธิมรรค  คัมภีร์อธิบายพุทธในด้านศิล สมาธิ และปัญญา
    และก็เป็นคัมภีร์ที่ทำให้เกิดข้อถกเถียง มากมาย
    นั่นก็คือ การตีความ ปฏิจจสมุปบาท
    ท่านพระพุทธโฆษาจารย์อธิบายในทำนองว่า กรรมข้ามภพข้ามชาติ
    และก็ได้รับการส่งต่อกันมาในปัจจุบัน
    รวมทั้งยังมีการสั่งสอนอยู่ในปัจจุบัน

เมื่อผนวก เหล่านี้เข้าด้วยกัน
จึงทำให้มีความสับสนปนเป การตีความ ในเรื่องของ ภพ ชาติ ภูมิ
แล้วเราจะเชื่อฝ่ายไหน

แล้วความจริงสูงสุดคืออะไร

เราคงตอบกันลำบาก
แต่ถ้าจะวิแคะตามแนวของพุทธ
เราก็คงต้อง ถามตัวเราเองว่า
   ถ้าเราเชื่อใน อนัตตา
   ถ้าเราเชื่อว่า ภพ ชาติ มันคือ ภพชาติในปัจจุบันไม่ใช่ชาติที่แล้ว ชาตินี้ ชาติหน้าแล้ว

   เราจะต้องตอบคำถาม"สังคม"ให้ได้ว่า
   เราจะทำดีไปทำไม ?

จะไขปัญหานี้ได้  คงต้องย้อนไปที่คำถามของพี่หมอแล้วครับ
จิต คืออะไร เกิด ดับ เกิดใหม่อย่างไร แล้วมันสัมพันธ์กับ กรรม ยังไง?

น่าวิแคะนะครับ :lol:
ลงทุนแบบ อาร์ตๆ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Eyore
Verified User
โพสต์: 606
ผู้ติดตาม: 0

บาลีและไทย

โพสต์ที่ 28

โพสต์

อ่านที่พี่สถาปนิกเขียนแล้วก็นึกได้

ปัญหาใหญ่อีกอย่างของศาสนาพุทธยุคนี้ก็คือ
มีหลายคนเริ่มไม่เชื่อเรื่องชาตินี้ชาติหน้า
ปฏิเสธนรกสวรรค์
คิดว่า สวรรค์อยู่ในอกนรกอยู่ในใจ
เกิดตายครั้งเดียว
ความคิดแบบยี้ก็เป็นมิจฉาทิฏฐิอีกอย่างหนึ่ง
เรียก อุจเฉททิฏฐิ
คือเชื่อว่าตายแล้วสูญ

ผมว่าปัญหานี้มันเกิดมากเพราะปัญญาชนยุคนี้
อ่านงานของท่านพุทธทาสมากๆ
แล้วก็ "คิดไปเอง" ว่า ท่านสอนว่าชาติหน้าไม่มี
ซึ่งความจริงแล้วไม่ใช่เลย
ปัญหามันเกิดเพราะเรื่องที่ท่านสอนนั้น
ท่านพยายามจะดึงคนออกมาจากสัสสตทิฏฐิ
แต่การณ์กลับกลายเป็นว่า
ไปเป็นอุจเฉททิฏฐิแทน
ทั้งนี้เพราะท่านมักจะใช้คำพูดแบบของเซ็น
ที่มุ่งกระแทกใจคนฟังให้หลุดออกมาจากความคิดเห็นเดิม
เช่นบอกว่าพบพระพุทธเจ้าให้ฆ่าเสีย
นรกสวรรค์เป็นเครื่องล่อให้คนทำดี

ความจริงไม่ใช่

เรื่องนี้เคยมีคนไปถามท่านพุทธทาสแล้ว
ท่านว่า "เธอเห็นว่าเราเป็นอุจเฉททิฏฐิหรือ ?"
อีกคราวหนึ่ง พระเถระท่านหนึ่งสงสัยเรื่องนี้
จึงฝากลูกศิษย์ไปกราบท่านพุทธทาส
พร้อมทั้งอฐิษฐานจิตไปกับของถวายนั้นด้วย
ปรากฏว่า เมื่อลูกศิษย์กราบเสร็จ ท่านว่า เดี๋ยวเย็นนี้มาคุยกับเรา
ท่านบอกว่า "เรื่องนรกสวรรค์นั้น มันมีอยู่จริง
เราจะไปคัดค้านพระพุทธเจ้าได้อย่างไร
แต่เราไม่สอน เพราะมันไม่สามารถช่วยให้พ้นทุกข์ได้"

ตามความเห็นของผม ซึ่งก็อ่านงานของท่านพุทธทาสมากพอควร
ผมคิดว่า เจตนาท่านต้องการถอดถอนความเชื่อเดิมๆที่ว่า
กรรมดีกรรมชั่ว จะได้รับผลต่อเมื่อตายแล้ว
นิพพานต้องบำเพ็ญบารมีไปอีกยาวนานจึงจะได้
และต้องตายแล้วจึงจะไปนิพพานเสียอีก
จึงเห็นได้ว่า ท่านมักเน้นย้ำเรื่อง ทำดี-ดี ทำชั่ว-ชั่ว
นิพพานที่นี่ และเดี๋ยวนี้
ท่านว่า
การสอนปฏิจจสมุปบาทแบบข้ามภพข้ามชาตินั้น
ไม่ช่วยให้พ้นทุกข์ได้ในปัจจุบัน
เพราะต้องรอตายก่อนจึงจะพ้นทุกข์
ท่านจึงเน้นเรื่องปฏิจจสมุปบาทในปัจจุบันชาติ
ซึ่งความจริงก็เป็นเช่นนั้น
จิตเกิดที่ตา ดับที่ตา
เกิดที่หูดับที่หู
เกิดที่ใจ ดับที่ใจ
จิตใจนั้นเกิดแล้วตายวันละเป็นล้านรอบเรามองไม่เห็นเอง
แต่นั่นไม่ได้แปลว่าชาติหน้าไม่มีจริงครับ
สถาปนิกต่างดาว
Verified User
โพสต์: 463
ผู้ติดตาม: 0

บาลีและไทย

โพสต์ที่ 29

โพสต์

ปัญหาใหญ่อีกอย่างของศาสนาพุทธยุคนี้ก็คือ
มีหลายคนเริ่มไม่เชื่อเรื่องชาตินี้ชาติหน้า
ปฏิเสธนรกสวรรค์
นี่ละครับพี่ ที่เราๆน่าจะค่อยๆช่วยกันหาวิธีให้พุทธศาสนิกชน เข้าใจ

คือเราๆท่านๆก็รู้กันอยู่ว่า จะเข้าถึงพุทธอย่างแท้จริงนั้นต้องรู้ด้วยตัวเองโดย
๑ มีปัญญา
๒ ทำวิปัสสนากรรมฐาน
อย่างผมนี่ก็พยายามมีปัญญาก่อน เพื่อเป็นการนำทาง แล้วขณะเดียวกันก็ค่อยๆทำอย่างสองตามมา
   แต่ที่นี้ในระหว่างการบรรลุถึงปัญญานั้น เราจำเป็นจะต้องให้เกิดความรู้ความเข้าใจให้ถ่องแท้ หมดข้อสงสัย เสียก่อน ตามหลักกาลามสูตร
   และที่สำคัญ คำอธิบายจะต้องไม่ขัดแย้งกันเอง
   (ซึ่งตรงนี้ คนรุ่นใหม่อาจจะคิดว่าบางส่วนของไตรปิฎกอาจจะขัดแย้งกันเอง โดยเฉพาะ สุตันตปิฎก )
   ผมขอยกตัวอย่างผมเองเช่น

   หลัก อนัตตา
   โดยหลักการผมก็เชื่อครับ แต่
   กว่าผมจะเข้าใจ และซึ้งจนสนิทใจ ก็กินเวลาไปเป็น สิบๆปี  บางทีการติดคำบางคำ เช่น ไม่มีตัวตน กับ ไม่ใช่ตัวตน นี่ก็ทำให้เขวได้  บางทีการได้ไปทำสมาธิก็ช่วยได้  บางทีการได้ไปศึกษาเปรียบเทียบกับ ควอนตัมฟิสิกส์(ในกรณีของผม) นี่ก้ช่วยได้มาก

    หรือ ปฏิจจสมุปปบาท ชาตินี้ ชาติหน้า และ กรรม
    ผมก็เชื่อนะครับแต่ขอให้สนิทใจมีเหตุมีผล และ สอดคล้องกับหลักใหญ่คือ อนัตตา และผมก็เข้าใจได้ว่า ในวงรอบปฏิจจสมุปปบาทนั้นมันเป็นชาตินี้ภพนี้ ส่วนชาติที่แล้ว ชาตินี้ ชาต้หน้า นั้นมันเป็น continuum
    อันนี้ก็เข้าใจได้ ไม่ขัดแย้งกัน
    ขอยก มิลินทปัญหามาสรุปให้อ่านกัน( อันนี้อาจตอบคำถามของพี่หมอได้)
         พระเจ้ามิลิน(ม)ถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน(น)  ก็ถ้าที่เธอว่าผู้ที่จักกลับมาเกิดอีกก็มีนั้น อะไรจักกลับมาเกิด
        (น) ขอถวายพระพร นามและรูปจักกลับมาเกิด
        (ม) นามรูปอันนี้ แลหรือจักกลับมาเกิด
       (น) มิใช่นามรูปนี้ เป็นนามรูปอีกอันหนึ่ง เกิดขึ้นเพราะบาปบุญอันนามรูปนี้ทำไว้
       (ม) ก็ถ้ามิใช่นามรูปนี้ไปบังเกิดแล้ว ก็เป็นอันว่าหนี้บาปกรรมที่ทำไว้ในชาติน้เป็นอันพ้นสิเธอ
       (น) ขอถวายพระพร ถ้าไม่บังเกิดต่อไปอีกก็เป็นอันหนีพ้น แต่ถ้ายังต้องมาเกิดอีก ก็หนีไม่พ้น
       (ม) เธอจงเปรียบให้ฟัง
       (น) เมื่อคนลักมะม่วงเจ้าของจับได้  เมื่อคดีถึงศาลแก้ตัวว่า มะม่วงต้นนั้นโจทย์มิได้ปลูกไว้  ต้นมะม่วงที่เขาลักเป็นของคนอื่นปลูกมาก่อน เมื่อจำเลยแก้ตัวเช่นนี้ จะพ้นโทษหรือไม่
       (ม) ไม่พันโทษสิเธอ
       (น) เพราะเหตุใด
       (ม) เพราะว่าจำเลยยังมีความผิดฐานลักขโมยอยู่ แม้จะปฏิเสธข้อหาของโจทย์ แต่ก็ยังสารถาพผิดในคดี๑
       (น) นั้นแลฉันใด การที่จะเอานามรูปข้างหน้ามาเป็นเหตุหนีบาปกรรมที่ทำไว้ในชาตินี้ให้พ้นก็ไม่ได้ฉันนั้นเหมือนกัน  เพราะว่านามรูปนั้นเกิดขึ้นเพราะบุญบาปที่นามรูปนี้เป็นผู้ก่อไว้

             อย่างนี้ชัดไหมครับ พี่หมอ

        อีกอันนึง  นรก สวรรค์  ภพภูมิ
        ตัวผมเองนะครับ อยากให้มีใจจะขาด
        แต่ก็เหมือนเดิมแหละ ขอเหตุผลที่มันสอดคล้องกับหลัก อนัตตา ผมจะได้ไม่รู้สึกตะหงิดๆอยู่ในใจ
        จะเอาให้รู้แน่ก็ต้องวิปัสสนากรรมฐาน แต่ก็กลัวว่าบุญจะมีไม่พอ ก็จะขอลองรู้ทางปัญญาดูก่อน

        กำลังวิแคะเรื่อง จิต อยู่สำหรับกรณีนี้อยู่ เช่น
           จิต. structure หรือ anatomy ของจิต ,พฤติกรรมของจิต. จิตกับภพ
จิตกับชาติ  จิตกับกรรม

         แล้วจะมาเล่าสู่กันฟัง
        ใครมีอะไรก็สงเคราะห์คนอยากพ้นทุกข์อย่างผมบ้าง
         ถือว่า ทำบุญละกัน
ลงทุนแบบ อาร์ตๆ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Eyore
Verified User
โพสต์: 606
ผู้ติดตาม: 0

บาลีและไทย

โพสต์ที่ 30

โพสต์

[quote="สถาปนิกต่างดาว"]กำลังวิแคะเรื่อง จิต อยู่สำหรับกรณีนี้อยู่ เช่น
โพสต์โพสต์