จดหมายจากเมืองไทย
-
- Verified User
- โพสต์: 987
- ผู้ติดตาม: 0
จดหมายจากเมืองไทย
โพสต์ที่ 1
ทุกตรุษจีนจะต้องหยิบนวนิยายเรื่องนี้ขึ้นมาอ่าน :lol:
เพื่อทบทวนความรู้สึกและมุมมองใหม่ๆที่ซ่อนอยู่ในตัวอักขร
ทราบว่า ระยะหลังได้กลายเป็นหนังสืออ่านนอกเวลาของเด็กนักเรียน
ก็ดีใจที่บทประพันธ์ดีๆยังมีที่ยืนอยู่ได้ท่ามกลางนิยายชิงรักหักสวาท
โบตั๋น (คุณสุภา ลือศิริ)
เขียนนวนิยายเรื่องนี้จากเรื่องราวของลูกคนจีน ตันส่วงอู๋
ที่อพยพหนีความแร้นแค้นจากแผ่นดินจีน(น่าจะเป็นซัวเถา)มาอยู่เมืองไทย
เป็นตำนานการก่อร่างสร้างตัวของคนจีนในแบบฉบับที่รู้เรื่องราวกันมา
เริ่มต้นด้วยเป็นกุลีใช้แรงงาน ทำทุกอย่างที่ขวางหน้า
เลื่อนขั้นเป็นลูกจ้าง ได้รับความไว้วางใจมากขึ้นเป็นหลงจู๊
แล้วในที่สุดก็เขยิบความมานะเป็นเถ้าแก่
ตันส่วงอู๋ อาจจะไม่ใช่เป็นเถ้าแก่ใหญ่โต มีธุรกิจเป็นร้อยๆล้าน
แต่ก็ภูมิใจในร้านขายขนมจันอับของตัวเองที่ใครๆรู้จัก
ด้วยความขยัน หมั่นเพียร อดออม ประหยัด
ตันส่วงอู๋จึงเป็นแบบอย่างของคนจีนที่ประสบความสำเร็จในวิถีชีวิตระดับหนึ่ง
จดหมายนับร้อยๆฉบับที่ตันส่วงอู๋เขียนจากแผ่นดินไทยถึงมารดาที่ยังอยู่เมืองจีน
บอกเล่าเก้าสิบถึงชีวิตความเป็นอยู่ มุมมอง ทัศนะคติต่างๆจากสายตาของคนๆหนึ่ง
แน่ล่ะ อาจจะไม่ใช่ภาพจริงทั้งหมด
แต่ผู้อ่านก็สามารถอนุมานจินตนาการตามถึงช่วงหนึ่ง
ของประวัติศาสตร์การค้าขายในกลุ่มพ่อค้าคนจีนรุ่นแรกๆ
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของชุมชนชาวจีนแถวสำเพ็ง เยาวราช
ระบบการค้าขายที่อาศัย ก่ำเช็ง ความไว้เนื้อเชื่อใจกัน
การสร้างสายสัมพันธ์ในกลุ่มชนหมู่เดียวกันเพื่อพยายามรักษาเลือดจีนไว้
อย่างไรก็ตาม ในฐานะปุถุชนก็อดไม่ได้ที่จะต้องมีอคติ และความผิดพลาด
ตันส่วงอู๋ก็เหมือนคนจีนรุ่นแรกทั่วไป
ที่ยังยึดถือขนมธรรมเนียม ค่านิยมแบบเก่าๆ
อันส่งผลให้เกิดความไม่ลงรอย ช่องว่างระหว่างลูกๆ
ตามความเชื่อของตน ลูกๆคือทรัพย์สมบัติของพ่อแม่
จะเป็นจะอยู่อย่างไรพ่อ แม่เป็นคนตัดสินใจให้
ตันส่วงอู๋ คาดหวังให้ลูกชายคนเดียวสืบทอดกิจการโรงงานทำขนม
บังคับให้ลูกชายออกจากโรงเรียนมาเป็นลูกมือทำขนมในร้าน
แล้วให้เรียนบัญชีต่อตอนค่ำ ลูกชายเลยดีแตกตอนหลัง
หรือลูกสาวคนเล็กที่เขาไม่อินังขังขอบ
เพราะเป็นต้นเหตุให้ภรรยาไม่สามารถตั้งครรภ์ได้อีก
แถมเธอยังมีลักษณะกบฎเล็กๆอยู่เนืองๆ
เช่น จะขอเรียนหนังสือให้สูงที่สุดเท่าที่สติปัญญาจะให้ ( ผิดธรรมเนียมนิยมของผู้หญิงจีน)
หรือดื้อแต่งงานกับคนไทย ซึ่งตันส่วงอู๋ไม่นิยมชมชอบนิสัยของผู้ชายไทยทั่วไป
แต่ในที่สุดลูกสาวคนเล็กกลับเป็นคนที่เขาสามารถพึ่งพิงด้านความคิดได้มากที่สุด
อ่าน "จดหมายจากเมืองไทย" แล้วรับรู้วิถีชีวิตพ่อค้าแบบเถ้าแก่กิจการเล็กๆ ที่เริ่มต้นเล็กๆ มั่นคง
ผิดกับ ลอดลายมังกร เรื่องราวของตระกูลเจ้าสัวที่แผ่กิ่งก้านกิจการไปทั่วทุกแขนง
ท่ามกลางปัญหาความขัดแย้งของสมาชิกใหญ่ในครัวเรือน
หยิบ จดหมายจากเมืองไทย มาอ่านทุกครั้งตอนตรุษจีน
ได้ความรู้สึกของการกลับไปมองรากเหง้าตัวเอง
ละเมียดพอๆกับอ่าน Joy Luck Club เลยทีเดียว
ปล. จดหมายจากเมืองไทย เป็นนวนิยายที่ได้รับรางวัล สปอ. สมัยนั้น
เทียบเท่ากับซีไร้ตเดี๋ยวนี้กระมัง :lol:
เป็นผลงานชิ้นโบว์แดงของ"โบตั๋น"เลยก็ว่าได้
มีการแปล ถ่ายทอดเป็นภาษาอังกฤษ ญี่ปุ่น แล้ว
อ่าน "สี่แผ่นดิน" จบ มาอ่าน "จดหมายจากเมืองไทย"
เหมือนถูกกระชากและโยนความคิดกลับไปมาระหว่าง 2 สังคมเลยทีเดียว
แต่ท้ายสุด...
นี่แหละคือสิ่งที่เรียกว่า ความหลากหลายของสังคมและก็อยู่ร่วมกัน(น่าจะ)ได้
นี่แหละคือเสน่ห์ของสังคมไทย ที่ใครๆมักจะเบ้หน้าพูดว่า
"เมืองไทยดีทุกอย่าง ยกเว้นคนไทย" :oops:
เพื่อทบทวนความรู้สึกและมุมมองใหม่ๆที่ซ่อนอยู่ในตัวอักขร
ทราบว่า ระยะหลังได้กลายเป็นหนังสืออ่านนอกเวลาของเด็กนักเรียน
ก็ดีใจที่บทประพันธ์ดีๆยังมีที่ยืนอยู่ได้ท่ามกลางนิยายชิงรักหักสวาท
โบตั๋น (คุณสุภา ลือศิริ)
เขียนนวนิยายเรื่องนี้จากเรื่องราวของลูกคนจีน ตันส่วงอู๋
ที่อพยพหนีความแร้นแค้นจากแผ่นดินจีน(น่าจะเป็นซัวเถา)มาอยู่เมืองไทย
เป็นตำนานการก่อร่างสร้างตัวของคนจีนในแบบฉบับที่รู้เรื่องราวกันมา
เริ่มต้นด้วยเป็นกุลีใช้แรงงาน ทำทุกอย่างที่ขวางหน้า
เลื่อนขั้นเป็นลูกจ้าง ได้รับความไว้วางใจมากขึ้นเป็นหลงจู๊
แล้วในที่สุดก็เขยิบความมานะเป็นเถ้าแก่
ตันส่วงอู๋ อาจจะไม่ใช่เป็นเถ้าแก่ใหญ่โต มีธุรกิจเป็นร้อยๆล้าน
แต่ก็ภูมิใจในร้านขายขนมจันอับของตัวเองที่ใครๆรู้จัก
ด้วยความขยัน หมั่นเพียร อดออม ประหยัด
ตันส่วงอู๋จึงเป็นแบบอย่างของคนจีนที่ประสบความสำเร็จในวิถีชีวิตระดับหนึ่ง
จดหมายนับร้อยๆฉบับที่ตันส่วงอู๋เขียนจากแผ่นดินไทยถึงมารดาที่ยังอยู่เมืองจีน
บอกเล่าเก้าสิบถึงชีวิตความเป็นอยู่ มุมมอง ทัศนะคติต่างๆจากสายตาของคนๆหนึ่ง
แน่ล่ะ อาจจะไม่ใช่ภาพจริงทั้งหมด
แต่ผู้อ่านก็สามารถอนุมานจินตนาการตามถึงช่วงหนึ่ง
ของประวัติศาสตร์การค้าขายในกลุ่มพ่อค้าคนจีนรุ่นแรกๆ
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของชุมชนชาวจีนแถวสำเพ็ง เยาวราช
ระบบการค้าขายที่อาศัย ก่ำเช็ง ความไว้เนื้อเชื่อใจกัน
การสร้างสายสัมพันธ์ในกลุ่มชนหมู่เดียวกันเพื่อพยายามรักษาเลือดจีนไว้
อย่างไรก็ตาม ในฐานะปุถุชนก็อดไม่ได้ที่จะต้องมีอคติ และความผิดพลาด
ตันส่วงอู๋ก็เหมือนคนจีนรุ่นแรกทั่วไป
ที่ยังยึดถือขนมธรรมเนียม ค่านิยมแบบเก่าๆ
อันส่งผลให้เกิดความไม่ลงรอย ช่องว่างระหว่างลูกๆ
ตามความเชื่อของตน ลูกๆคือทรัพย์สมบัติของพ่อแม่
จะเป็นจะอยู่อย่างไรพ่อ แม่เป็นคนตัดสินใจให้
ตันส่วงอู๋ คาดหวังให้ลูกชายคนเดียวสืบทอดกิจการโรงงานทำขนม
บังคับให้ลูกชายออกจากโรงเรียนมาเป็นลูกมือทำขนมในร้าน
แล้วให้เรียนบัญชีต่อตอนค่ำ ลูกชายเลยดีแตกตอนหลัง
หรือลูกสาวคนเล็กที่เขาไม่อินังขังขอบ
เพราะเป็นต้นเหตุให้ภรรยาไม่สามารถตั้งครรภ์ได้อีก
แถมเธอยังมีลักษณะกบฎเล็กๆอยู่เนืองๆ
เช่น จะขอเรียนหนังสือให้สูงที่สุดเท่าที่สติปัญญาจะให้ ( ผิดธรรมเนียมนิยมของผู้หญิงจีน)
หรือดื้อแต่งงานกับคนไทย ซึ่งตันส่วงอู๋ไม่นิยมชมชอบนิสัยของผู้ชายไทยทั่วไป
แต่ในที่สุดลูกสาวคนเล็กกลับเป็นคนที่เขาสามารถพึ่งพิงด้านความคิดได้มากที่สุด
อ่าน "จดหมายจากเมืองไทย" แล้วรับรู้วิถีชีวิตพ่อค้าแบบเถ้าแก่กิจการเล็กๆ ที่เริ่มต้นเล็กๆ มั่นคง
ผิดกับ ลอดลายมังกร เรื่องราวของตระกูลเจ้าสัวที่แผ่กิ่งก้านกิจการไปทั่วทุกแขนง
ท่ามกลางปัญหาความขัดแย้งของสมาชิกใหญ่ในครัวเรือน
หยิบ จดหมายจากเมืองไทย มาอ่านทุกครั้งตอนตรุษจีน
ได้ความรู้สึกของการกลับไปมองรากเหง้าตัวเอง
ละเมียดพอๆกับอ่าน Joy Luck Club เลยทีเดียว
ปล. จดหมายจากเมืองไทย เป็นนวนิยายที่ได้รับรางวัล สปอ. สมัยนั้น
เทียบเท่ากับซีไร้ตเดี๋ยวนี้กระมัง :lol:
เป็นผลงานชิ้นโบว์แดงของ"โบตั๋น"เลยก็ว่าได้
มีการแปล ถ่ายทอดเป็นภาษาอังกฤษ ญี่ปุ่น แล้ว
อ่าน "สี่แผ่นดิน" จบ มาอ่าน "จดหมายจากเมืองไทย"
เหมือนถูกกระชากและโยนความคิดกลับไปมาระหว่าง 2 สังคมเลยทีเดียว
แต่ท้ายสุด...
นี่แหละคือสิ่งที่เรียกว่า ความหลากหลายของสังคมและก็อยู่ร่วมกัน(น่าจะ)ได้
นี่แหละคือเสน่ห์ของสังคมไทย ที่ใครๆมักจะเบ้หน้าพูดว่า
"เมืองไทยดีทุกอย่าง ยกเว้นคนไทย" :oops:
-
- Verified User
- โพสต์: 987
- ผู้ติดตาม: 0
จดหมายจากเมืองไทย
โพสต์ที่ 2
ลืมใส่รูป
ฉบับที่มีครอบครองอยู่ หน้าตาปกคลาสสิคมาก แบบนี้

ฉบับที่มีครอบครองอยู่ หน้าตาปกคลาสสิคมาก แบบนี้

-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 795
- ผู้ติดตาม: 0
Re: จดหมายจากเมืองไทย
โพสต์ที่ 3
[quote="กูรูขอบสนาม"]
แต่ท้ายสุด...
นี่แหละคือสิ่งที่เรียกว่า ความหลากหลายของสังคมและก็อยู่ร่วมกัน(น่าจะ)ได้
นี่แหละคือเสน่ห์ของสังคมไทย ที่ใครๆมักจะเบ้หน้าพูดว่า
"เมืองไทยดีทุกอย่าง ยกเว้นคนไทย"
แต่ท้ายสุด...
นี่แหละคือสิ่งที่เรียกว่า ความหลากหลายของสังคมและก็อยู่ร่วมกัน(น่าจะ)ได้
นี่แหละคือเสน่ห์ของสังคมไทย ที่ใครๆมักจะเบ้หน้าพูดว่า
"เมืองไทยดีทุกอย่าง ยกเว้นคนไทย"
Miracle Happens Everyday !
"ปาฎิหารย์คือการเดินบนผืนดินและมีความสุขในทุกย่างก้าว"
"ปาฎิหารย์คือการเดินบนผืนดินและมีความสุขในทุกย่างก้าว"

-
- Verified User
- โพสต์: 987
- ผู้ติดตาม: 0
จดหมายจากเมืองไทย
โพสต์ที่ 4
เออ...สงสัยจะเข้าใจคลาดเคลื่อน
กำลังจะบอกว่า ใครๆมักพูดประโยคประชดประชันที่ว่านี้กันเรื่อย
ไม่เกิดประโยชน์หรอก
ไมว่าจะเป็นคนในหรือนอก
เพราะสังคมไทยที่อยู่ได้อย่างหลากหลายและมีสีสันถึงทุกวันนี้
ก็เนื่องจากพวกเรากันเองต่างหากที่แต่งแต้ม วาดหวัง ปลุกปั้นกันขึ้นมา
เพราะฉะนั้นจะมาเบ้ปาก ใส่หน้ายักษ์กันทำไม จริงมั้ย :lol:
ก็อยู่กันอย่างเข้าใจ ให้พื้นที่ซึ่งกันและกันไม่ดีกว่าหรือ
กำลังจะบอกว่า ใครๆมักพูดประโยคประชดประชันที่ว่านี้กันเรื่อย
ไม่เกิดประโยชน์หรอก
ไมว่าจะเป็นคนในหรือนอก
เพราะสังคมไทยที่อยู่ได้อย่างหลากหลายและมีสีสันถึงทุกวันนี้
ก็เนื่องจากพวกเรากันเองต่างหากที่แต่งแต้ม วาดหวัง ปลุกปั้นกันขึ้นมา
เพราะฉะนั้นจะมาเบ้ปาก ใส่หน้ายักษ์กันทำไม จริงมั้ย :lol:
ก็อยู่กันอย่างเข้าใจ ให้พื้นที่ซึ่งกันและกันไม่ดีกว่าหรือ
-
- Verified User
- โพสต์: 391
- ผู้ติดตาม: 0
จดหมายจากเมืองไทย
โพสต์ที่ 6
จดหมายจากเมืองไทยนั้น
ผมก็เคยได้อ่านเหมือนกันครับ
เนื้อหาดีมากๆจนถูกนำมาเป็นหนังสืออ่านนอกเวลาของ ม.1
บรรยายถึงความเป็นอยู่ในเมืองไทย
ให้แม่ที่อยู่เมืองจีนได้ทราบความเป็นไป
แต่น่าเสียดายตรงที่
จีนในสมัยนั้นเป็นคอมมิวนิสต์(ตอนนี้ก็เป็นแต่อ่อนลงเยอะ)
ดังนั้นจดหมายจากเมืองไทยจึงไม่เคยถึงมือผู้เป็นแม่เลย :oops:
ผมก็เคยได้อ่านเหมือนกันครับ
เนื้อหาดีมากๆจนถูกนำมาเป็นหนังสืออ่านนอกเวลาของ ม.1
บรรยายถึงความเป็นอยู่ในเมืองไทย
ให้แม่ที่อยู่เมืองจีนได้ทราบความเป็นไป
แต่น่าเสียดายตรงที่
จีนในสมัยนั้นเป็นคอมมิวนิสต์(ตอนนี้ก็เป็นแต่อ่อนลงเยอะ)
ดังนั้นจดหมายจากเมืองไทยจึงไม่เคยถึงมือผู้เป็นแม่เลย :oops:
-
- Verified User
- โพสต์: 391
- ผู้ติดตาม: 0
จดหมายจากเมืองไทย
โพสต์ที่ 7
ฮ่า....กูรูขอบสนาม เขียน:อ่าน "สี่แผ่นดิน" จบ มาอ่าน "จดหมายจากเมืองไทย"
เหมือนถูกกระชากและโยนความคิดกลับไปมาระหว่าง 2 สังคมเลยทีเดียว
ผมขออนุญาตแนะนำอีกเล่มครับ
"สถาบันสถาปนา"
จะได้บรรยากาศการกระชากของ 3 สังคมแบบโดนมั่กๆเลยครับ
ผู้แต่งคือ อาซิมอฟ
บิดาแห่งวงการนิยายวิทยาศาสตร์
อ่านแล้วจะวางไม่ลง :lol:
-
- Verified User
- โพสต์: 987
- ผู้ติดตาม: 0
จดหมายจากเมืองไทย
โพสต์ที่ 8
ฮ่า....แผ่วเบา เขียน:
ผมขออนุญาตแนะนำอีกเล่มครับ
"สถาบันสถาปนา"
จะได้บรรยากาศการกระชากของ 3 สังคมแบบโดนมั่กๆเลยครับ
ผู้แต่งคือ อาซิมอฟ
บิดาแห่งวงการนิยายวิทยาศาสตร์
อ่านแล้วจะวางไม่ลง
-
- Verified User
- โพสต์: 391
- ผู้ติดตาม: 0
จดหมายจากเมืองไทย
โพสต์ที่ 9
ผมเคยอ่านของ stephen king
ยอมรับว่าเขาเป็นนักเขียนที่สุดยอดคนหนึ่ง
อย่างเรื่อง Jerald,s game
นางเอกนั่งนึกนั่งคิดอยู่คนเดียวหลังจากเผลอไปทำฆาตกรรมสามี
คิดคนเดียวได้นานกว่า 400+ หน้ากระดาษ
คิดอย่างเดียวนะครับ
โห........
ผมว่าโดยทั่วไป คิดอย่างเดียว 5 หน้าก็ถือว่าเป็นคนคิดมากแล้วอ่ะครับ :lol:
อ่าน king แล้ว รู้สึกเหมือนเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์จริง ต่อหน้าต่อตา
เขาเคยเผยเคล็ดลับวิธีการเขียนอยู่ครับ
แต่ท่าจะเรื่องยาวเลยแหละ
ยอมรับว่าเขาเป็นนักเขียนที่สุดยอดคนหนึ่ง
อย่างเรื่อง Jerald,s game
นางเอกนั่งนึกนั่งคิดอยู่คนเดียวหลังจากเผลอไปทำฆาตกรรมสามี
คิดคนเดียวได้นานกว่า 400+ หน้ากระดาษ
คิดอย่างเดียวนะครับ
โห........
ผมว่าโดยทั่วไป คิดอย่างเดียว 5 หน้าก็ถือว่าเป็นคนคิดมากแล้วอ่ะครับ :lol:
อ่าน king แล้ว รู้สึกเหมือนเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์จริง ต่อหน้าต่อตา
เขาเคยเผยเคล็ดลับวิธีการเขียนอยู่ครับ
แต่ท่าจะเรื่องยาวเลยแหละ
-
- Verified User
- โพสต์: 987
- ผู้ติดตาม: 0
จดหมายจากเมืองไทย
โพสต์ที่ 10
คุณแผ่วเบาเป็นนักอ่านเหมือนกันนะครับ :lol:
ไว้เจอกันค่อยคุยกันให้อร่อยเหาะเลย
[quote="แผ่วเบา"]จดหมายจากเมืองไทยนั้น
ผมก็เคยได้อ่านเหมือนกันครับ
เนื้อหาดีมากๆจนถูกนำมาเป็นหนังสืออ่านนอกเวลาของ ม.1
บรรยายถึงความเป็นอยู่ในเมืองไทย
ให้แม่ที่อยู่เมืองจีนได้ทราบความเป็นไป
แต่น่าเสียดายตรงที่
จีนในสมัยนั้นเป็นคอมมิวนิสต์(ตอนนี้ก็เป็นแต่อ่อนลงเยอะ)
ดังนั้นจดหมายจากเมืองไทยจึงไม่เคยถึงมือผู้เป็นแม่เลย
ไว้เจอกันค่อยคุยกันให้อร่อยเหาะเลย
[quote="แผ่วเบา"]จดหมายจากเมืองไทยนั้น
ผมก็เคยได้อ่านเหมือนกันครับ
เนื้อหาดีมากๆจนถูกนำมาเป็นหนังสืออ่านนอกเวลาของ ม.1
บรรยายถึงความเป็นอยู่ในเมืองไทย
ให้แม่ที่อยู่เมืองจีนได้ทราบความเป็นไป
แต่น่าเสียดายตรงที่
จีนในสมัยนั้นเป็นคอมมิวนิสต์(ตอนนี้ก็เป็นแต่อ่อนลงเยอะ)
ดังนั้นจดหมายจากเมืองไทยจึงไม่เคยถึงมือผู้เป็นแม่เลย
-
- Verified User
- โพสต์: 987
- ผู้ติดตาม: 0
จดหมายจากเมืองไทย
โพสต์ที่ 13
[quote="121"]สำหรับ 'โบตั๋น' ผมชอบ
-
- Verified User
- โพสต์: 1296
- ผู้ติดตาม: 1
จดหมายจากเมืองไทย
โพสต์ที่ 14
จริงครับนางเอกของโบตั๋นเป็นคนสู้ชีวิตจริงๆ เช่นในเรื่อง ไฟในดวงตา
นางเอกที่เป็นนางรำพยายามเลี้ยงลูกที่หูหนวก จนพบกัพระเอกซึ่งก็
ไม่ได้เป็นคนดีอะไรหนักหนา คือมีนิสัยเหมือนคนธรรมดาทั่วๆไป
ผมอ่านตั้งหลายครั้ง (คือแต่ละเล่มของโบตั๋น ผมอ่านไม่น้อยกว่า 2 รอบ)
นางเอกที่เป็นนางรำพยายามเลี้ยงลูกที่หูหนวก จนพบกัพระเอกซึ่งก็
ไม่ได้เป็นคนดีอะไรหนักหนา คือมีนิสัยเหมือนคนธรรมดาทั่วๆไป
ผมอ่านตั้งหลายครั้ง (คือแต่ละเล่มของโบตั๋น ผมอ่านไม่น้อยกว่า 2 รอบ)
-
- Verified User
- โพสต์: 987
- ผู้ติดตาม: 0
จดหมายจากเมืองไทย
โพสต์ที่ 15
อา...เพิ่งอ่านเจอครับ ข่าวสลดคนใกล้ตัว "โบตั๋น"
คู่ชีวิต คือ คุณวิริยะ สิริสิงห์ ได้เสียชีวิตลงแล้ว
กำหนดสวดพระอภิธรรมศพ 17-23 กุมภาพันธ์ 2551
ประชุมเพลิงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา 17:00 น.
วัดราษฎร์บูรณะ
คุณวิริยะ สิริสิงห เป็นนักเขียน นักแปล บทความ นิทานวิทยาศาสตร์
ผู้ก่อตั้งสำนักพิมพ์ชมรมเด็ก พิมพ์นิทาน ภาพสีของวรรณกรรมเด็ก
และเคยเป็นนายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และจัดจำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย
ขอแสดงความเสียใจด้วยครับ
ทั้งู่คือ คุณโบตั๋นและคุณวิริยะ เคยทำงานที่สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช
และเป็นคอลัมนิสต์ในนิตยสารเยาวชนชื่อดังคือ "ชัยพฤกษ์"
ที่สร้างนักคิด มาหลายชั่วอายุ
ว่างๆค่อยย้อนเล่าเรื่องนิตยสารฉบับนี้ให้ฟัง
ได้รู้จักคนเก่งๆตอนนั้นและมีบทบาทตอนนี้ก็มาจากนิตยสารเล่มนี้เอง
เช่น ดร.ธีรยุทธ บุญมี ดร. วุฒิพงษ์ เพรียบจริยวัฒน์
ดร.ประสาน ไตรรัตนวรกุล
คู่ชีวิต คือ คุณวิริยะ สิริสิงห์ ได้เสียชีวิตลงแล้ว
กำหนดสวดพระอภิธรรมศพ 17-23 กุมภาพันธ์ 2551
ประชุมเพลิงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา 17:00 น.
วัดราษฎร์บูรณะ
คุณวิริยะ สิริสิงห เป็นนักเขียน นักแปล บทความ นิทานวิทยาศาสตร์
ผู้ก่อตั้งสำนักพิมพ์ชมรมเด็ก พิมพ์นิทาน ภาพสีของวรรณกรรมเด็ก
และเคยเป็นนายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และจัดจำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย
ขอแสดงความเสียใจด้วยครับ

ทั้งู่คือ คุณโบตั๋นและคุณวิริยะ เคยทำงานที่สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช
และเป็นคอลัมนิสต์ในนิตยสารเยาวชนชื่อดังคือ "ชัยพฤกษ์"
ที่สร้างนักคิด มาหลายชั่วอายุ
ว่างๆค่อยย้อนเล่าเรื่องนิตยสารฉบับนี้ให้ฟัง
ได้รู้จักคนเก่งๆตอนนั้นและมีบทบาทตอนนี้ก็มาจากนิตยสารเล่มนี้เอง
เช่น ดร.ธีรยุทธ บุญมี ดร. วุฒิพงษ์ เพรียบจริยวัฒน์
ดร.ประสาน ไตรรัตนวรกุล
-
- Verified User
- โพสต์: 987
- ผู้ติดตาม: 0
จดหมายจากเมืองไทย
โพสต์ที่ 16
ขออนุญาตนำเรื่องราวบางเสี้ยวของคู่ชีวิตทั้ง 2 มาเผยแพร่
ให้เพื่อนๆได้มีโอกาสรู้เรื่องรสของ คนเล็กๆธรรมดาๆคู่หนึ่ง
แต่รู้ว่ามีชีวิตอยู่เพื่อจุดมุ่งหมายใด
และได้เติมความพอใจให้กับชีวิตจนถึงวาระสุดท้าย
จากเวปบอร์ดต้นสังกัดอันนี้ครับ
http://www.mthai.com/webboard/6/136003.html
ให้เพื่อนๆได้มีโอกาสรู้เรื่องรสของ คนเล็กๆธรรมดาๆคู่หนึ่ง
แต่รู้ว่ามีชีวิตอยู่เพื่อจุดมุ่งหมายใด
และได้เติมความพอใจให้กับชีวิตจนถึงวาระสุดท้าย
จากเวปบอร์ดต้นสังกัดอันนี้ครับ
http://www.mthai.com/webboard/6/136003.html
วิริยะ สิริสิงห ออกจากไทยวัฒนาพานิชไปในตำแหน่งสุดท้ายคือ บรรณาธิการชัยพฤกษ์วิทยาศาสตร์
ไปทำหนังสือวารสารสำหรับเด็กอีกหลายฉบับ
เช่น สวนเด็ก (ยุคเก่าแก่ ไม่ใช่ฉบับที่เคยเห็นมีในตลาดหนังสือเมื่อไม่กี่ปีมานี้) นิตยสารดรุณ นิตยสารสำหรับผู้ใหญ่ เช่น รติรส ตะวัน
นิตยสารทางด้านวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์มหัศจรรย์ ยุคใหม่
แต่นิตยสารที่คนทำไม่มีความสามารถทางการหาโฆษณามาจุนเจือก็อยู่ไม่ได้นาน
งานที่ประสบความสำเร็จก็คือการเขียนและผลิตหนังสือเกี่ยวกับความรู้ด้านวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กทั้งเล็กและโต
ตั้งสำนักพิมพ์ชมรมเด็กขึ้นมาเพื่อผลิตหนังสือเหล่านี้อย่างเป็นทางการ
ตั้งแต่ปี พ.ศ.2520 และในปี พ.ศ.2531 ตั้งสำนักพิมพ์สุวีริยาสาส์นขึ้น
ผลิตหนังสือทั้งหนังสือเด็กบันเทิง ความรู้ วิชาการ ของผู้ใหญ่ประชาชนทั่วไป เน้นทั้งด้านสังคมและวิทยาศาสตร์
สุภากับวิริยะ แต่งงานกันเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2518
เพื่อนฝูงงุนงงกันมากโขเพราะไม่เคยเห็นสองคนนี้คบหากันอย่างคู่รัก
เป็นเพื่อนร่วมงานที่สนิทกันเท่านั้นเอง และความสนิทสนมของทั้งสองคนก็เต็มไปด้วยความขัดแย้งในขณะทำงานร่วมกัน
คนหนึ่งจะลงคอลัมน์ทางวิทยาศาสตร์ ในวารสารมาก ๆ
อีกคนก็คอยค้านจะลงคอลัมน์ทางด้านสังคมมาก ๆ
เถียงกันอย่างเอาเป็นเอาตายก็เคย
แต่ความเห็นแตกต่างสุดขั้วนี้ก็หลอมรวมกันมาเป็นนิตยสารสำหรับเด็กที่ปลุกปั้นนักอ่านนักเขียน ต่อ ๆ มาอีกหลายรุ่น
เป็นนิตยสารที่มีความพอเหมาะพอดีที่จะทำให้ผู้อ่านเติบโตขึ้นมาเป็นคนที่พอเหมาะพอดีในสังคม
ไม่สุดโต่งไปทางด้านใดด้านหนึ่งจนเกินไป
และสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างพอมีความสุข ในสังคมปัจจุบัน
และทั้งสองคนก็ยังคงเป็นเพื่อนสนิทกันมาจนครบ 35 ปี เป็นเพื่อนร่วมงานนานปี และร่วมชีวิตกันมาเกิน 28 ปีแล้ว
สำนักพิมพ์ของทั้งสองอาจจะไม่ใหญ่โตมีชื่อเสียง
แต่ก็ผลิตหนังสือให้เด็กและผู้ใหญ่อ่านมาเกือบ 30 ปี
สุภาเขียนนวนิยายในนามปากกา โบตั๋น มาตั้งแต่ 2508 จนถึงเดี๋ยวนี้
ได้รางวัลนิยายดีเด่นบ้าง ชมเชยบ้าง หลายเล่ม
ท้ายสุดได้เป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พ.ศ.2542
อันถือเป็นเกียรติยศสูงสุดของนักเขียนแล้ว
แต่ก็ยังคงดูแลสำนักพิมพ์ เขียนหนังสือเด็กในนามปากกา ปิยตา วนนันทน์และหนังสือผู้ใหญ่ทั้งบันเทิงและวิชาการมาอย่างต่อเนื่อง
การเขียนนวนิยายก็ไม่ทอดทิ้ง มีตีพิมพ์ในนิตยสารเสมอมา
วิริยะ ดูแลงานของสำนักพิมพ์มาโดยตลอด
ได้รับเลือกเป็นนายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และจำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทยถึงสามสมัย (ไม่ติดต่อกัน)
การทำงานเพื่อสำนักพิมพ์ต่าง ๆ นั้นได้เอาเวลาส่วนตัวและเวลาทำงานของวิริยะไปมาก
แต่สุภาก็อยู่โยงเป็นเสาหลักอีกเสาหนึ่งที่ทำให้สำนักพิมพ์เล็ก ๆ แห่งนี้ดำเนินไปได้โดยไม่ติดขัดหรือลำบากนักไม่มีหนี้เสียมาก ไม่ใหญ่โต
แต่อยู่ได้อย่างมั่นคงทระนงองอาจในวงการหนังสือตลอดมา
ไม่เคยเสียเครดิต แต่ก็ไม่เคยทำอะไรหรูหราฟู่ฟ่าให้คนในวงการตื่นเต้น เรื่อย ๆ ธรรมดา ๆ ทำงานหนักและมีความสุขตามอัตภาพ