
ถึงแม้ปัจจุบันจะมีการตั้งข้อสงสัยว่า Marco Polo ไปประเทศจีนจริงหรือ?
โดยมีนักวิชาการตั้งข้อสังเกตไว้ต่างๆ นานา อย่างเช่น
1. ไม่มีนักเดินทางรุ่นหลังรายใดสามารถเดินทางตามเส้นทางที่ระบุในหนังสือได้
2. ไม่ได้กล่าวถึงรายละเอียดสำคัญเกี่ยวกับเมืองจีน เช่น กำแพงเมืองจีน การใช้ตะเกียบ ฯลฯ
3. ไม่มีเอกสารหรือวรรณกรรมใดๆ ของจีนหรือมองโกลที่กล่าวถึงเขา
4. การเรียกชื่อต่างๆ เป็นภาษาเปอร์เซียหรือตุรกี
ยังลือกันว่า....
หนังสือ "การเดินทางของมาร์โค โปโล" มาร์โค โปโล เป็นผู้เล่าเรื่อง รัสติเชลโล (Rustichello da Pisa) เขียนนั้น อาจเป็นเพียงการนำคำบอกเล่าของบรรดาพ่อค้าชาวอาหรับมาปะติดปะต่อกัน และอาจมีการแต่งเติมโดยรัสติเชลโลเอง หรือโดยผู้คัดลอกและแปลต่อๆ กันมาในภายหลัง ฯลฯ
รายละเอียดศึกษาเพิ่มเติมกันเองได้จาก
The True Story of Marco Polo : มาร์โค โปโล ไม่เคยไปเมืองจีนจริงๆ ?
http://www.iseehistory.com/index.php?la ... 31&Ntype=3
อย่างน้อยถ้าเรื่องนี้กลายเป้นเป็นนิทานจริงๆ มันก็เป็นนิทานที่ดีมากสำหรับ value investor
เราเรียนรู้จากหนังสือว่า ด้วยลักษณะนิสัยของมาโค มีความอุตสาหะพยายามและรักการพจญภัย ดังนั้นในยุคศตวรรษที่ 13 เขาจึงตัดสินใจแน่วแนทม่เดินทางไปประเทศจีน ซึ่งบรรดาลูกเรื่อที่เดินทางไปด้วย ต่างมองเขาด้วยความประหลาดใจ เพราะเขาดูหนุ่มเกินที่จะมีความสามารถอย่างนั้นได้ เหล่าลูกเรื่อต่างถามเขาว่า
"จีนมันไกลมากนะ หน้าตาก็ละอ่อนหรือเกินนี้ ต้องเจอโจรสลัดที่ดโหดสุดๆ พายุลมแรงเอย เรืออาจอัปปาง เอาชีวิตไปท้องเปล่าๆ ๆ อันตราบมากนะ จะไหวหรือน้อง เมื่อถึงจีนแล้วก็ต้องข้ามเทอกเขาและทะเลทรายด้วยความยากลำบากอีก กลับบ้านไปจิบน้ำชาสบายๆ ไม่ต้องลำบากเถอะน้องเอย"
กระนั้นโปโลก็ไม่เคยย้อท้อครับ เวลาผ่านไป 3 ปีครึ่ง เขาเดินทางถึงเมืองจีนได้อย่างปลอดภัย ซึ่งถือเป้นการสิ้นสุดการเดินทางที่ยาวนาน เขาทำสำเร็จเพราะมีความอดทนพยายาม
คุณสมบัติอย่างนี้ value investor อย่างพวกเรา ก็ควรต้องมีเช่นกัน
value investor ต้องรู้จักอดทนและแน่วแน่ แม้ในขณะนั้นจะตกอยู่ในสถานกานณ์ที่ยากลำบาก จึงจำเป็นต้องพิจารณาสิ่งต่างๆ อย่างรอบครอบถี่ถ้วนและตัดสินใจอย่างถูกต้องเหมาะสม ไม่ว่าจะมีเวลามากหรือน้อยก็ตาม
"ไมเป็นไรหรอก ไม่ว่าลำบากแค่ไหน ฉันก็ทนได้"
