ถามเกี่ยวกับกับ หจก. ครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 1822
- ผู้ติดตาม: 0
ถามเกี่ยวกับกับ หจก. ครับ
โพสต์ที่ 1
มีคนบอกว่า อย่าไปตั้ง หจก. เลย มันกระจอก ดูไม่มีระดับ ถ้าจะทำเป็นบริษัทไปเลย
แต่เรารู้สึกว่าเป็น หจก. ไม่เห็นเสียหายอะไร แต่ก็เพราะเรายังไม่รู้ แต่ก็เห็นประวัติกิจการใหญ่ๆหลายแห่ง ก็เป็น หจก. มาก่อน แล้วพัฒนาเป็นบริษัท
พี่ๆที่เป็นเจ้าของกิจการหรือผู้บริหาร เคยเจอปัญหามั้ยครับ ในการเจรจาติดต่อการงานการค้า ระหว่าง บริษัท กับ หจก.
ขอบคุณครับ
แต่เรารู้สึกว่าเป็น หจก. ไม่เห็นเสียหายอะไร แต่ก็เพราะเรายังไม่รู้ แต่ก็เห็นประวัติกิจการใหญ่ๆหลายแห่ง ก็เป็น หจก. มาก่อน แล้วพัฒนาเป็นบริษัท
พี่ๆที่เป็นเจ้าของกิจการหรือผู้บริหาร เคยเจอปัญหามั้ยครับ ในการเจรจาติดต่อการงานการค้า ระหว่าง บริษัท กับ หจก.
ขอบคุณครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 551
- ผู้ติดตาม: 0
ถามเกี่ยวกับกับ หจก. ครับ
โพสต์ที่ 2
แฮะๆ ขอแจมคะ
เรื่องดูดี ดูไม่ดีไม่รู้คะ
แต่ถ้าตั้ง หจก มีข้อพึงระวังในทางกฏหมายนะคะ และคิดว่าเรื่องนี้อาจเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้คนหันไปใช้บริษัทมากกว่า
ถ้าจดทะเบียนเป็น หจก หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด คนที่จะมีอำนาจบริหารจัดการแทน หจก คือหุ้นส่วนผู้จัดการ เรียกเท่ห์ๆเป็นภาษาอังกฤษก้ได้ว่า Managing Partner แต่เท่ห์แล้ว "ซวย" นะคะ เพราะกฏหมายกำหนดว่าหุ้นส่วนผู้จัดการนี่ต้องเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด
แปลว่าถ้า หจก ไปก่อหนี้ ก่อสิน เท่าไหร่ เจ้าหนี้มาบังคับยึดทรัพย์ของ หจก ไปแล้วไม่พอจ่ายหนี้ เจ้าหนี้มีสิทธิตามกฏหมายมาเช็คบิลล์ต่อกับหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดนะคะ
ลองคิดดู สมมติมีหุ้นส่วนสองคน ลงทุนเท่ากัน คนละหนึ่งล้านบาท ตั้ง ห้างหุ้นส่วนจำกัดขึ้นมา ห้างมีกำไร หุ้นส่วนแบ่งคนครึ่ง แต่ถ้าเจ๊ง สมมติอีกที เป็นหนี้เขาห้าล้านบาท เจ้าหนี้ตามมายึดทรัพยืไปสองล้าน อีกสามล้าน หุ้นส่วนผู้จัดการที่เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดนี่รับไปเต็มๆ ทรัพย์สินส่วนตัวก็โดนเจ้าหนี้ห้างมาทวงไปด้วย
ในขณะที่บริษัท เนี่ย ชื่อเต็มคือ บริษัทจำกัด (ทั้งบริษัทเอกชน และบริษัทมหาชน) ที่ว่าจำกัด คือความรับผิดของผู้ถือหุ้น "จำกัด" (ที่ภาษาอังกฤษเขาเรียกว่าเป็น Limited Liability นั่นเอง) คือถ้าจ่ายค่าหุ้นครบแล้ว ก็แล้วไป เจ้าหนี้ของบริษัทจะมาตามทวงให้ผู้ถือหุ้นใช้หนี้ส่วนที่เหลือไม่ได้ (เว้นแต่กรณีผู้ถือหุ้นไปค้ำประกันบริษัท ถ้าไปค้ำประกันกันไว้ ก็รับผิดไปในฐานะผู้ค้ำ ไม่ใช่เพราะเป็นผู้ถือหุ้น)
แต่ถ้าผู้ถือหุ้นยังจ่ายค่าหุ้นไม่ครบ เจ้าหนี้มีสิทธิตามมาทวงให้ผู้ถือหุ้นจ่ายค่าหุ้นในส่วนที่เหลืออยู่ได้คะ
ส่วนจะตัดสินใจเป็น หจก หรือ บจก ตามใจท่านคะ
เรื่องดูดี ดูไม่ดีไม่รู้คะ
แต่ถ้าตั้ง หจก มีข้อพึงระวังในทางกฏหมายนะคะ และคิดว่าเรื่องนี้อาจเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้คนหันไปใช้บริษัทมากกว่า
ถ้าจดทะเบียนเป็น หจก หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด คนที่จะมีอำนาจบริหารจัดการแทน หจก คือหุ้นส่วนผู้จัดการ เรียกเท่ห์ๆเป็นภาษาอังกฤษก้ได้ว่า Managing Partner แต่เท่ห์แล้ว "ซวย" นะคะ เพราะกฏหมายกำหนดว่าหุ้นส่วนผู้จัดการนี่ต้องเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด
แปลว่าถ้า หจก ไปก่อหนี้ ก่อสิน เท่าไหร่ เจ้าหนี้มาบังคับยึดทรัพย์ของ หจก ไปแล้วไม่พอจ่ายหนี้ เจ้าหนี้มีสิทธิตามกฏหมายมาเช็คบิลล์ต่อกับหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดนะคะ
ลองคิดดู สมมติมีหุ้นส่วนสองคน ลงทุนเท่ากัน คนละหนึ่งล้านบาท ตั้ง ห้างหุ้นส่วนจำกัดขึ้นมา ห้างมีกำไร หุ้นส่วนแบ่งคนครึ่ง แต่ถ้าเจ๊ง สมมติอีกที เป็นหนี้เขาห้าล้านบาท เจ้าหนี้ตามมายึดทรัพยืไปสองล้าน อีกสามล้าน หุ้นส่วนผู้จัดการที่เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดนี่รับไปเต็มๆ ทรัพย์สินส่วนตัวก็โดนเจ้าหนี้ห้างมาทวงไปด้วย
ในขณะที่บริษัท เนี่ย ชื่อเต็มคือ บริษัทจำกัด (ทั้งบริษัทเอกชน และบริษัทมหาชน) ที่ว่าจำกัด คือความรับผิดของผู้ถือหุ้น "จำกัด" (ที่ภาษาอังกฤษเขาเรียกว่าเป็น Limited Liability นั่นเอง) คือถ้าจ่ายค่าหุ้นครบแล้ว ก็แล้วไป เจ้าหนี้ของบริษัทจะมาตามทวงให้ผู้ถือหุ้นใช้หนี้ส่วนที่เหลือไม่ได้ (เว้นแต่กรณีผู้ถือหุ้นไปค้ำประกันบริษัท ถ้าไปค้ำประกันกันไว้ ก็รับผิดไปในฐานะผู้ค้ำ ไม่ใช่เพราะเป็นผู้ถือหุ้น)
แต่ถ้าผู้ถือหุ้นยังจ่ายค่าหุ้นไม่ครบ เจ้าหนี้มีสิทธิตามมาทวงให้ผู้ถือหุ้นจ่ายค่าหุ้นในส่วนที่เหลืออยู่ได้คะ
ส่วนจะตัดสินใจเป็น หจก หรือ บจก ตามใจท่านคะ
just one life, use it!
- naris
- Verified User
- โพสต์: 6726
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ถามเกี่ยวกับกับ หจก. ครับ
โพสต์ที่ 3
ขอตอบแบบลูกทุ่งๆนะครับBHT เขียน:มีคนบอกว่า อย่าไปตั้ง หจก. เลย มันกระจอก ดูไม่มีระดับ ถ้าจะทำเป็นบริษัทไปเลย
แต่เรารู้สึกว่าเป็น หจก. ไม่เห็นเสียหายอะไร แต่ก็เพราะเรายังไม่รู้ แต่ก็เห็นประวัติกิจการใหญ่ๆหลายแห่ง ก็เป็น หจก. มาก่อน แล้วพัฒนาเป็นบริษัท
พี่ๆที่เป็นเจ้าของกิจการหรือผู้บริหาร เคยเจอปัญหามั้ยครับ ในการเจรจาติดต่อการงานการค้า ระหว่าง บริษัท กับ หจก.
ขอบคุณครับ
ข้อดีของ หจก. คือไม่ต้องหาเจ็ดคนมาสวมชื่อ มี2คนผัวเมียก็ตั้งได้ ไม่ต้องมีรายงานการประชุมเพื่ออนุมัติ ไม่ต้องมีการตรวจสอบบัญชีเข้มงวดเท่าบริษัท จะเลิกก็เลิกยาก สรุปว่าคล่องกว่ากันเยอะครับ
ข้อเสียคือ ดูไม่ค่อยดีในสายตาบางคน(แต่มันก็ไม่เกี่ยวกับพื้นฐาน)
สรุปว่าถ้าไม่ได้ทำกิจการระหว่างประเทศ ไม่ได้มีหุ้นส่วนมากราย(ทำกันเอง) และไม่ได้อยู่แวดวงที่ต้องการหน้าตาในการซื้อขาย ตั้ง หจก.ดีที่สุดครับ ถ้าเราพร้อมอีก4-5ปีค่อยมาเปลี่ยนเป็นบริษัททีหลังก็ได้ครับ
ราคาระยะสั้นตามข่าว--ราคาระยะยาวตามผลกำไร
-
- Verified User
- โพสต์: 1822
- ผู้ติดตาม: 0
ถามเกี่ยวกับกับ หจก. ครับ
โพสต์ที่ 5
ขอบคุณครับ
เรื่องหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด ผมทราบดีครับ เพราะอ่านมาแล้ว และถ้าเราต้องไม่จำกัดความรับผิด เราก็มีอำนาจบริหารจัดการด้วย ก็ทำให้เราบริหารจัดการแบบไม่ให้เกิดปัญหาได้ ถ้าไม่พลาดเอง
มีความเห็นอื่นอีกมั้ยครับ จะได้เป็นความรู้เยอะๆ
เรื่องหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด ผมทราบดีครับ เพราะอ่านมาแล้ว และถ้าเราต้องไม่จำกัดความรับผิด เราก็มีอำนาจบริหารจัดการด้วย ก็ทำให้เราบริหารจัดการแบบไม่ให้เกิดปัญหาได้ ถ้าไม่พลาดเอง
มีความเห็นอื่นอีกมั้ยครับ จะได้เป็นความรู้เยอะๆ
-
- Verified User
- โพสต์: 551
- ผู้ติดตาม: 0
ถามเกี่ยวกับกับ หจก. ครับ
โพสต์ที่ 6
แฮะๆ เอามะพร้าวห้าวมาขายสวนตามเคย
แต่ขออนุญาตแหย่ต่อคะ
ข้อจำกัดของห้างคือจะต้องเลิกกิจการถ้าหุ้นส่วนผู้จัดการมีอันเป็นไป (ด้วยความเคารพอย่างสูง ไม่ได้แช่งนะคะ) ดังนั้น ถ้ากิจการก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ และจะกู้เงินธนาคาร ธนาคารอาจจะมีประเด็นตรงนี้ แต่ยังไงๆ ธนาคารต้องให้หุ้นส่วนผู้จัดการค้ำอยู่แล้วไม่แตกต่าง
อ้อ เรื่องภาษีคะ ถ้าจะปลี่ยนจากห้างมาเป็นบริษัททีหลัง ต้องโอนทรัพย์สิน มีการตีราคา แต่เรื่อง VAT นี่ อาจขอยกเว้นได้ถ้าจดทะเบียนเลิกกิจการห้างภายในปีเดียวกัน
ขอให้ประสพความสำเร็จนะคะ :lol:
แต่ขออนุญาตแหย่ต่อคะ
ข้อจำกัดของห้างคือจะต้องเลิกกิจการถ้าหุ้นส่วนผู้จัดการมีอันเป็นไป (ด้วยความเคารพอย่างสูง ไม่ได้แช่งนะคะ) ดังนั้น ถ้ากิจการก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ และจะกู้เงินธนาคาร ธนาคารอาจจะมีประเด็นตรงนี้ แต่ยังไงๆ ธนาคารต้องให้หุ้นส่วนผู้จัดการค้ำอยู่แล้วไม่แตกต่าง
อ้อ เรื่องภาษีคะ ถ้าจะปลี่ยนจากห้างมาเป็นบริษัททีหลัง ต้องโอนทรัพย์สิน มีการตีราคา แต่เรื่อง VAT นี่ อาจขอยกเว้นได้ถ้าจดทะเบียนเลิกกิจการห้างภายในปีเดียวกัน
ขอให้ประสพความสำเร็จนะคะ :lol:
just one life, use it!