The Man Who Planted Trees คอลัมน์ ผ่ามันสมองของปราชญ์ โดย ไสว บุญมา, นภาพร ลิมป์ปิยากร ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 3861 (3061)
เป็นที่น่ายินดีที่คณะกรรมการเอกลักษณ์แห่งชาติได้คัดเลือก ร.ต.ต.วิชัย สุริยุทธ หรือดาบวิชัย เป็นบุคคลดีเด่น สาขาอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมประจำปี 2549 ดาบวิชัยทำคุณงามความดีมาเป็นเวลากว่า 18 ปี ด้วยการปลูกต้นไม้ในที่สาธารณะและรางวัลนี้เป็นหนึ่งในหลายรางวัลอันทรงเกียรติที่เขาได้รับ ดาบวิชัยบอกว่า แรงบันดาลใจที่ทำให้เขาปลูกต้นไม้ในที่สาธารณะมาจากการอบรมในโครงการแผ่นดินธรรมแผ่นดินทองเมื่อปี 2530 เขาคิดว่าการกระทำของเขาจะเป็นประโยชน์ต่อแผ่นดิน
ในตอนต้นมักมีคนเปรยว่า เขาบ้า แต่เขาก็ไม่ย่อท้อ ยังคงปลูกต้นไม้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบันเขาปลูกแล้วกว่า 2 ล้านต้น เรื่องของดาบวิชัยมีส่วนคล้ายกับเรื่องราวของชาวฝรั่งเศสในหนังสือเล่มเล็กๆ อันโด่งดังชื่อ The Man Who Planted Trees ของ จอง จิโอโน (Jean Giono) ซึ่งพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2487 ได้รับการแปลเป็นกว่า 10 ภาษา เป็นต้น เรื่องของภาพยนตร์สารคดี ที่ได้รับรางวัลหลายอย่าง และสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อ่าน และผู้ดูภาพยนตร์เป็นจำนวนมากอยากปลูกต้นไม้
เนื้อเรื่องเริ่มต้นในปีก่อนที่สงครามโลกครั้งที่ 1 จะระเบิดขึ้น เมื่อผู้เล่าเรื่องบอกว่า เขาได้เดินทางด้วยเท้าเข้า ไปยังดินแดนอันแสนทุรกันดารแห่งหนึ่งซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของฝรั่งเศส หลังจากรอนแรมอย่างโดดเดี่ยวอยู่ 3 คืน เขาเดินเข้าไปในหมู่บ้านร้างแห่งหนึ่ง เพราะน้ำที่เขานำติดตัวไปหมดลง และคิดว่าที่นั่นน่าจะมีบ่อน้ำ เขาออกสำรวจรอบๆ หมู่บ้านและพบร่องรอยของธารน้ำซับแต่น้ำได้แห้งเหือดไปหมดแล้ว เขาพักแรมที่นั่นหนึ่งคืนและพอวันรุ่งขึ้นก็รีบออกเดินทางต่อ หลังจากเดินไปได้ราว 5 ชั่วโมง ด้วยความรู้สึกสิ้นหวังเพราะพบแต่ความว่างเปล่า เขาก็แลเห็นสิ่งหนึ่งซึ่งคล้ายตอไม้อยู่ไกลออกไปเกือบสุดสายตา เมื่อเขาเดินไปยังจุดนั้นเขาก็พบคนเลี้ยงแกะและฝูงแกะราว 30 ตัว
คนเลี้ยงแกะแบ่งน้ำให้เขาดื่มและพาเขาไปยังบ้านพักโดยแทบไม่ได้พูดจาอะไรกัน ผู้เล่าสังเกตว่า บ้านของคนเลี้ยงแกะ สะอาดสะอ้าน และเป็นระเบียบ หลังรับประทานอาหารเย็นผู้เล่าสังเกตเห็นคนเลี้ยงแกะ เทลูกโอ๊กออกจากถุง บรรจงคัดเลือกเอาลูกดีๆ อย่างพิถีพิถันแล้วแบ่งออกเป็น 10 กอง กองละ 10 ลูก เนื่องจากคนเลี้ยงแกะไม่แสดงทีท่าว่า อยากพูดคุย ผู้เล่าจึงไม่กล้าที่จะซักถามความประสงค์ของเขา
เช้าวันรุ่งขึ้นหลังจากคนเลี้ยงแกะปล่อยแกะออกไปกินหญ้า ในความดูแลของสุนัขของเขาแล้ว เขาก็นำลูกโอ๊กที่คัดเลือกไว้ใส่ถุงแช่น้ำครู่หนึ่ง จากนั้นจึงเดินขึ้นเนินเขาไปพร้อมด้วยถุงลูกโอ๊ก และแท่งเหล็กขนาดนิ้วโป้ง ยาวประมาณหนึ่งเมตรครึ่ง
ผู้เขียนเดินตามคนเลี้ยงแกะไป และเมื่อเห็นคนเลี้ยงแกะขุดดินด้วยแท่งเหล็ก และหย่อนลูกโอ๊กลงไปในหลุมที่เพิ่งขุดเสร็จใหม่ๆ แล้วกลบหลุม เขาจึงถามคนเลี้ยงแกะว่า ผืนดินที่เขากำลังปลูกต้นโอ๊กอยู่นั้นเป็นของเขาหรือ คนเลี้ยงแกะตอบว่า ไม่รู้เป็นของใคร และเล่าต่อไปว่า เป็นเวลากว่า 3 ปีแล้วที่เขาเริ่มปลูกต้นโอ๊กบนพื้นที่แห่งนั้น เขาได้หยอดลูกโอ๊กไปแล้วประมาณหนึ่งแสนลูก และคาดว่าจะได้ต้นโอ๊กราวหมื่นต้น
หลังจากได้สนทนากัน ผู้เล่าจึงทราบว่าชายเลี้ยงแกะคนนั้นชื่อ บูฟฟิเยร์ อายุ 55 ปี เขาสูญเสียทั้งภรรยาและลูกชาย จึงได้อพยพมาตั้งหลักแหล่งเลี้ยงแกะอยู่ในแถบนั้นเพียงลำพังคนเดียว เขาเริ่มปลูกต้นไม้ เพื่อหวังจะให้ป่า เป็นยาแก้ความแห้งแล้ง นอกจากต้นโอ๊กแล้ว เขากำลังเพาะพันธุ์ไม้อื่นไว้ในแปลงเพาะชำอีกมากมาย และถ้าเขามีชีวิตยืนยาวต่อไปเขาจะปลูกต้นไม้จนผืนดินแห่งนั้นมีความชุ่มชื้น
ผู้เล่าบอกว่า หลังจากนั้นเขาไปเป็นทหารในสมรภูมิของสงครามโลกครั้งที่ 1 อยู่ 5 ปี เมื่อสงครามยุติเขาได้รับเงินก้อนหนึ่ง เขาจึงคิดจะไปพักผ่อนที่ไหนสักแห่ง ที่มีอากาศบริสุทธิ์ เขานึกถึงคนเลี้ยงแกะขึ้นมาได้จึงตัดสินใจ เดินทางกลับไปในย่านทุรกันดาร ซึ่งเขาเคยผ่านไปเมื่อหลายปีก่อน เขาพบว่าสภาพแวดล้อมระหว่างทางยังคงเดิม แต่เหนือขึ้นไปในบริเวณเนินเขาพื้นที่อันกว้างใหญ่ได้กลายเป็นสีเขียวชอุ่มด้วยต้นไม้ ซึ่งกำลังเติบใหญ่ จนบางต้นมีขนาดสูงท่วมหัวแล้ว
เขาพบบูฟฟิเยร์ซึ่งยังกระฉับกระเฉงและปลูกต้นไม้ต่อไปดังที่เขาเคยทำ อย่างไรก็ตามเขาได้เปลี่ยนอาชีพมาเป็นคนเลี้ยงผึ้ง เพราะแกะทำลายต้นไม้ที่เขาปลูก
บูฟฟิเยร์พาผู้เล่าออกสำรวจบริเวณผืนป่าที่เขาปลูกไว้ซึ่งมีขนาดยาวถึงราว 11 กิโลเมตร และกว้าง 3 กิโลเมตร นอกจากต้นโอ๊กแล้ว บูฟฟิเยร์ยังปลูกต้นบีชและต้นเบิร์ชไว้อีกด้วย ในขณะเดินกลับผู้เล่าพบว่า ป่าอันเกิดจากต้นไม้ที่บูฟฟิเยร์ปลูก ได้ก่อให้เกิดปฏิกิริยาห่วงโซ่ขึ้น นั่นคือ มีน้ำไหลในลำธารซึ่งครั้งหนึ่งเคยแห้งผาก อีกทั้งยังมีต้นหลิว ดอกไม้และหญ้าขึ้นใหม่ในบริเวณที่เคยแห้งแล้งนั้นด้วย
ผู้เล่าบอกว่า เขากลับไปเยี่ยมบูฟฟิเยร์ทุกปีหลังจากนั้นและอีก 15 ปีต่อมา ป่าขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นจากความพยายามของบูฟฟิเยร์ ก็ถูกกำหนดให้เป็นป่าสงวนอย่างเป็นทางการ จากรัฐบาลฝรั่งเศส เขาเล่าว่า เขาพบบูฟฟิเยร์ครั้งสุดท้ายในเดือนมิถุนายน พ.ศ.2488 อันเป็นตอนที่การสู้รบในภาคพื้นยุโรปของสงครามโลกครั้งที่ 2 เพิ่งยุติและบูฟฟิเยร์อายุ 87 ปี การเดินทางกลับไปเยี่ยมบูฟีเยร์ครั้งนั้นสะดวกสบายขึ้นมาก จนทำให้เขาแทบจะลืมความทรงจำเก่าๆ ที่เขาเดินเท้าเข้าไปในผืนที่อันแห้งแล้งแห่งนั้น เพราะทุกสิ่งทุกอย่างได้เปลี่ยนไปหมด ธารน้ำซับกลับมีน้ำไหลรินๆ อีกครั้ง หมู่บ้านที่เคยรกร้างถูกสร้างขึ้นมาใหม่ แปลงพืชผักสวนครัว และดอกไม้มีให้เห็นอยู่ทั่วพื้นที่
อย่างไรก็ตาม ในบรรดาประชาชนกว่าหมื่นคน ที่อพยพเข้าไปตั้งหลักแหล่งที่นั่นดูจะไม่มีใครรู้เลยว่า ผู้เปลี่ยนพื้นที่แห่งนั้นจากพื้นดินอันแสนทุรกันดาร มาเป็นพื้นดินอันอุดมสมบูรณ์ โดยมีอาวุธเพียงแค่แรงกาย และความมุ่งมั่นคือบูฟฟิเยร์
ผู้เล่าบอกว่า บูฟฟิเยร์ถึงแก่กรรมที่บ้านพักคนชราในเมืองเล็กๆ ในย่านนั้นในปี พ.ศ.2490 แต่เรื่องยังไม่จบแค่นั้น หนังสือเล่มนี้ถูกตีพิมพ์หลายครั้งในหลายลักษณะ ครั้งที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ และมีภาพพิมพ์ของ ไมเคิล แมกเคอร์ดี ประกอบเรื่องด้วย ในตอนท้ายเล่มของการพิมพ์ครั้งนั้นมีคำบอกเล่าของ นอร์มา กูดริช เกี่ยวกับ จอง จิโอโน ว่า เขามีถิ่นฐานบ้านเกิดอยู่ทางตอนใต้ของฝรั่งเศส พ่อของเขาเป็นช่างซ่อมรองเท้าที่ยากจน เขาจึงต้องทำงานเลี้ยงตัวเองมาตั้งแต่อายุ 16 ปี จิโอโนเล่าให้กูดริชฟังว่า บรรณาธิการชาวอเมริกันขอให้เขาเขียนถึงใครสักคน ที่มีคุณลักษณะประทับใจจนทำให้ผู้อ่านลืมไม่ลง เขาจึงเขียนเรื่องคนปลูกต้นไม้ชื่อบูฟีเยร์ขึ้น
The Man Who Planted Trees
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
The Man Who Planted Trees
โพสต์ที่ 1
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
The Man Who Planted Trees
โพสต์ที่ 2
อ่านเรื่องนี้แล้วสุขใจนัก..แต่เมื่อบรรณาธิการทราบว่าบูฟฟิเยร์ไม่มีตัวตน สำนักพิมพ์ก็ปฏิเสธที่จะตีพิมพ์ เขาจึงยกงานชิ้นนั้นให้กับนิตยสารโวค ซึ่งตีพิมพ์ในเดือนมีนาคม พ.ศ.2488 ด้วยชื่อ "The Man Who Planted Hope and Grew Happiness."
เมื่ออ่านถึงตอนนี้ผู้อ่านจึงถึงบางอ้อ จิโอโนเล่าต่อไปว่า เขาตั้งใจปั้นบูฟฟิเยร์ขึ้นเพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้คนรักการปลูกต้นไม้ และเรื่องนี้เป็นเรื่องที่เขาภาคภูมิใจมากที่สุดเรื่องหนึ่ง บูฟีเยร์ปลูกต้นไม้โดยไม่หวังผลตอบแทน เขาเองก็เช่นกัน เขายกเรื่องนี้ให้กับสาธารณะโดยไม่รับเงินค่าเขียน และหากเรื่องของบูฟฟิเยร์สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อ่าน ลงมือกระทำเฉกเช่นบูฟีเยร์บ้าง เขาก็จะรู้สึกสมปรารถนา จิโอโนได้รับการยกย่องให้เป็นนักเขียนที่ยิ่งใหญ่ และได้รับรางวัล The Prix Monegasque ในปี พ.ศ.2496
ข้อสังเกต - เมื่อเรื่องนี้ตีพิมพ์ออกมาใหม่ๆ ผู้อ่านจำนวนมากเกิดความประทับใจและคิดว่ามันเป็นเรื่องจริง แม้ในปัจจุบันนี้ผู้ที่ไม่ทราบประวัติของเรื่องมาก่อนเมื่อเริ่มต้นอ่านหนังสือในตอนแรก ก็มักคิดว่าบูฟีเยร์มีตัวมีตนจริงๆ รู้สึกชื่นชมเขาและอยากลุกขึ้นมาปลูกต้นไม้เช่นเขาบ้าง เมื่ออ่านต่อไปจนเกือบจบจึงรู้ว่าบูฟฟิเยร์ไม่มีตัวตนดังที่คิด นั่นเป็นเพราะความสามารถในการเขียนของจิโอโน ซึ่งรักท้องถิ่นอันกันดารของเขามาก และอยากทำให้มันกลายเป็นป่าไม้อันเขียวขจี
เนื้อเรื่องของหนังสือเล่มนี้ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์การ์ตูนสารคดีขนาดสั้นและได้รับรางวัลยอดเยี่ยมในปี 2530 สำหรับภาพยนตร์ประเภทนั้นและรางวัลอื่นๆ อีก ยิ่งกว่านั้นหนังสือได้สร้างแรงบันดาลใจ ให้เกิดนักปลูกต้นไม้ในที่สาธารณะขึ้นทั่วโลก เช่น อับดุล คาริม ในอินเดียซึ่งปลูกป่าติดต่อกันมาเป็นเวลาเท่าๆ กับดาบวิชัย และเป็นแนวคิดที่ก่อให้เกิดองค์กรเอกชนชื่อ "Trees for the Future" ซึ่งก่อตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือประชาชนในประเทศด้อยพัฒนา ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม องค์กรนี้รายงานว่า ได้ช่วยชาวบ้านในหมู่บ้านราว 7,000 แห่งทั่วโลก ปลูกต้นไม้ไปแล้วกว่า 35 ล้านต้น หนังสือเล่มนี้จึงประสบความสำเร็จสมดังความตั้งใจของผู้เขียน
หน้า 45
-
- Verified User
- โพสต์: 877
- ผู้ติดตาม: 0
The Man Who Planted Trees
โพสต์ที่ 5
อุปการะด้วยการอ่านและแบ่งกันอ่าน
ต่างกำลังใจและเสียงปรบมือ
ขอบคุณครับ :lol:
เมื่อสามปีก่อนผมทำทุกอย่างหมด ยกเว้นหน้าที่ที่ควรกระทำ คิดได้ก็เพาะต้นรำเพยไปปลูกต่างจังหวัด ไปเที่ยวไหนเย็นย่ำสนธยาก็ติดไป บางที่ก็ให้ปลูก บางที่ก็ด่าเอา.... ปลูกไปปลูกมาติดงอมแงม ตอนนี้กำลังปลูกในวัดที่สระแก้ว กระดูกพ่อตาฝังอยู้ที่โน้น ผมก็ไปปลูก 3 ปี ปลูกไปร้อยกว่าต้นแล้ว ต้นรำเพยโตง่าย ทนแดด ออกดอกเก่ง ขยายพันธุ์ง่าย ต้นที่เอาไปปลูกเป็นลูกๆ ต้นแม่เอามาจากโรงเรียนเมื่อ 25 ปีที่แล้ว ต้นแม่ตายไปหลายปีแล้ว แต่หลุ่นลูกรุ่นหลานยังโตต่อไปเรื่อยๆ.....รับต้นรำเพยสักต้นไปปลูกที่บ้านไหมครับ
ต่างกำลังใจและเสียงปรบมือ
ขอบคุณครับ :lol:
เมื่อสามปีก่อนผมทำทุกอย่างหมด ยกเว้นหน้าที่ที่ควรกระทำ คิดได้ก็เพาะต้นรำเพยไปปลูกต่างจังหวัด ไปเที่ยวไหนเย็นย่ำสนธยาก็ติดไป บางที่ก็ให้ปลูก บางที่ก็ด่าเอา.... ปลูกไปปลูกมาติดงอมแงม ตอนนี้กำลังปลูกในวัดที่สระแก้ว กระดูกพ่อตาฝังอยู้ที่โน้น ผมก็ไปปลูก 3 ปี ปลูกไปร้อยกว่าต้นแล้ว ต้นรำเพยโตง่าย ทนแดด ออกดอกเก่ง ขยายพันธุ์ง่าย ต้นที่เอาไปปลูกเป็นลูกๆ ต้นแม่เอามาจากโรงเรียนเมื่อ 25 ปีที่แล้ว ต้นแม่ตายไปหลายปีแล้ว แต่หลุ่นลูกรุ่นหลานยังโตต่อไปเรื่อยๆ.....รับต้นรำเพยสักต้นไปปลูกที่บ้านไหมครับ
- โอ@
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4244
- ผู้ติดตาม: 0
The Man Who Planted Trees
โพสต์ที่ 6
พออ่านเรื่องนี้อยู่ดีดีก็คิดขึ้นมาว่า
ลองคิดภาพนะครับ ถ้าวันที่ 5 ธันวา ตอนที่เรากำลังจุดเทียนชัยถวายพระพรอยู่
รัฐบาลเกิดมีไอเดีย เปลี่ยนเป็น ปลูกต้นไม้คนละ 5 ต้นถวายพระพรในหลวง
ในโทรทัศน์ก็ถ่ายทอดสดการปลูกต้นไม้จากที่ไหนซักแห่ง
เชื่อแน่นอนครับว่า วันนั้นต้นไม้ในประเทศเพิ่มขึ้นมากกว่า 10 ล้านต้น
ลองคิดภาพนะครับ ถ้าวันที่ 5 ธันวา ตอนที่เรากำลังจุดเทียนชัยถวายพระพรอยู่
รัฐบาลเกิดมีไอเดีย เปลี่ยนเป็น ปลูกต้นไม้คนละ 5 ต้นถวายพระพรในหลวง
ในโทรทัศน์ก็ถ่ายทอดสดการปลูกต้นไม้จากที่ไหนซักแห่ง
เชื่อแน่นอนครับว่า วันนั้นต้นไม้ในประเทศเพิ่มขึ้นมากกว่า 10 ล้านต้น
_________
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
The Man Who Planted Trees
โพสต์ที่ 7
Lhomme qui plantait des arbres
Jean Giono
Pour que le caractère dun être humain dévoile des qualités vraiment exceptionnelles, il faut avoir la bonne fortune de pouvoir observer son action pendant de longues années. Si cette action est dépouillée de tout égoïsme, si lidée qui la dirige est dune générosité sans exemple, sil est absolument certain quelle na cherché de récompense nulle part et quau surplus elle ait laissé sur le monde des marques visibles, on est alors, sans risque derreurs, devant un caractère inoubliable.
Il y a environ une quarantaine dannées, je faisais une longue course à pied, sur des hauteurs absolument inconnues des touristes, dans cette très vieille région des Alpes qui pénètre en Provence.
Cette région est délimitée au sud-est et au sud par le cours moyen de la Durance, entre Sisteron et Mirabeau; au nord par le cours supérieur de la Drôme, depuis sa source jusquà Die; à louest par les plaines du Comtat Venaissin et les contreforts du Mont-Ventoux. Elle comprend toute la partie nord du département des Basses-Alpes, le sud de la Drôme et une petite enclave du Vaucluse.
Cétait, au moment où jentrepris ma longue promenade dans ces déserts, des landes nues et monotones, vers 1200 à 1300 mètres daltitude. Il ny poussait que des lavandes sauvages.
Je traversais ce pays dans sa plus grande largeur et, après trois jours de marche, je me trouvais dans une désolation sans exemple. Je campais à côté dun squelette de village abandonné. Je navais plus deau depuis la veille et il me fallait en trouver. Ces maisons agglomé­rées, quoique en ruine, comme un vieux nid de guêpes, me firent penser quil avait dû y avoir là, dans le temps, une fontaine ou un puits. Il y avait bien une fontaine, mais sèche. Les cinq à six maisons, sans toiture, rongées de vent et de pluie, la petite chapelle au clocher écroulé, étaient rangées comme le sont les maisons et les chapelles dans les villages vivants, mais toute vie avait disparu.
Cétait un beau jour de juin avec grand soleil, mais sur ces terres sans abri et hautes dans le ciel, le vent soufflait avec une brutalité insupportable. Ses grondements dans les carcasses des maisons étaient ceux dun fauve dérangé dans son repas.
Il me fallut lever le camp. A cinq heures de marche de là, je navais toujours pas trouvé deau et rien ne pouvait me donner lespoir den trouver. Cétait partout la même sécheresse, les mêmes herbes ligneuses. Il me sembla apercevoir dans le lointain une petite silhouette noire, debout. Je la pris pour le tronc dun arbre solitaire. A tout hasard, je me dirigeai vers elle. Cétait un berger. Une trentaine de moutons couchés sur la terre brûlante se reposaient près de lui.
Il me fit boire à sa gourde et, un peu plus tard, il me conduisit à sa bergerie, dans une ondulation du plateau. Il tirait son eau excellente dun trou naturel, très profond, au-dessus duquel il avait installé un treuil rudimentaire.
Cet homme parlait peu. Cest le fait des solitaires, mais on le sentait sûr de lui et confiant dans cette assurance. Cétait insolite dans ce pays dépouillé de tout. Il nhabitait pas une cabane mais une vraie maison en pierre où lon voyait très bien comment son travail personnel avait rapiécé la ruine quil avait trouvé là à son arrivée. Son toit était solide et étanche. Le vent qui le frappait faisait sur les tuiles le bruit de la mer sur les plages.
Son ménage était en ordre, sa vaisselle lavée, son parquet balayé, son fusil graissé; sa soupe bouillait sur le feu. Je remarquai alors quil était aussi rasé de frais, que tous ses boutons étaient solidement cousus, que ses vêtements étaient reprisés avec le soin minutieux qui rend les reprises invisibles.
Il me fit partager sa soupe et, comme après je lui offrais ma blague à tabac, il me dit quil ne fumait pas. Son chien, silencieux comme lui, était bienveillant sans bassesse.
Il avait été entendu tout de suite que je passerais la nuit là; le village le plus proche était encore à plus dune journée et demie de marche. Et, au surplus, je connaissais parfaitement le caractère des rares villages de cette région. Il y en a quatre ou cinq dispersés loin les uns des autres sur les flans de ces hauteurs, dans les taillis de chênes blancs à la toute extrémité des routes carrossables. Ils sont habités par des bûcherons qui font du charbon de bois. Ce sont des endroits où lon vit mal. Les familles serrées les unes contre les autres dans ce climat qui est dune rudesse excessive, aussi bien lété que lhiver, exaspèrent leur égoïsme en vase clos. Lambition irraisonnée sy démesure, dans le désir continu de séchapper de cet endroit.
Les hommes vont porter leur charbon à la ville avec leurs camions, puis retournent. Les plus solides qualités craquent sous cette perpétuelle douche écossaise. Les femmes mijotent des rancoeurs. Il y a concurrence sur tout, aussi bien pour la vente du charbon que pour le banc à léglise, pour les vertus qui se combattent entre elles, pour les vices qui se combattent entre eux et pour la mêlée générale des vices et des vertus, sans repos. Par là-dessus, le vent également sans repos irrite les nerfs. Il y a des épidémies de suicides et de nombreux cas de folies, presque toujours meurtrières.
Le berger qui ne fumait pas alla chercher un petit sac et déversa sur la table un tas de glands. Il se mit à les examiner lun après lautre avec beaucoup dattention, séparant les bons des mauvais. Je fumais ma pipe. Je me proposai pour laider. Il me dit que cétait son affaire. En effet : voyant le soin quil mettait à ce travail, je ninsistai pas. Ce fut toute notre conversation. Quand il eut du côté des bons un tas de glands assez gros, il les compta par paquets de dix. Ce faisant, il éliminait encore les petits fruits ou ceux qui étaient légèrement fendillés, car il les examinait de fort près. Quand il eut ainsi devant lui cent glands parfaits, il sarrêta et nous allâmes nous coucher.
La société de cet homme donnait la paix. Je lui demandai le lendemain la permission de me reposer tout le jour chez lui. Il le trouva tout naturel, ou, plus exactement, il me donna limpression que rien ne pouvait le déranger. Ce repos ne métait pas absolument obligatoire, mais jétais intrigué et je voulais en savoir plus. Il fit sortir son troupeau et il le mena à la pâture. Avant de partir, il trempa dans un seau deau le petit sac où il avait mis les glands soigneusement choisis et comptés.
Je remarquai quen guise de bâton, il emportait une tringle de fer grosse comme le pouce et longue denviron un mètre cinquante. Je fis celui qui se promène en se reposant et je suivis une route parallèle à la sienne. La pâture de ses bêtes était dans un fond de combe. Il laissa le petit troupeau à la garde du chien et il monta vers lendroit où je me tenais. Jeus peur quil vînt pour me reprocher mon indiscrétion mais pas du tout : cétait sa route et il minvita à laccompagner si je navais rien de mieux à faire. Il allait à deux cents mètres de là, sur la hauteur.
Arrivé à lendroit où il désirait aller, il se mit à planter sa tringle de fer dans la terre. Il faisait ainsi un trou dans lequel il mettait un gland, puis il rebouchait le trou. Il plantait des chênes. Je lui demandai si la terre lui appartenait. Il me répondit que non. Savait-il à qui elle était ? Il ne savait pas. Il supposait que cétait une terre communale, ou peut-être, était-elle propriété de gens qui ne sen souciaient pas ? Lui ne se souciait pas de connaître les propriétaires. Il planta ainsi cent glands avec un soin extrême.
Après le repas de midi, il recommença à trier sa semence. Je mis, je crois, assez dinsistance dans mes questions puisquil y répondit. Depuis trois ans il plantait des arbres dans cette solitude. Il en avait planté cent mille. Sur les cent mille, vingt mille était sortis. Sur ces vingt mille, il comptait encore en perdre la moitié, du fait des rongeurs ou de tout ce quil y a dimpossible à prévoir dans les desseins de la Providence. Restaient dix mille chênes qui allaient pousser dans cet endroit où il ny avait rien auparavant.
Cest à ce moment là que je me souciai de lâge de cet homme. Il avait visiblement plus de cinquante ans. Cinquante-cinq, me dit-il. Il sappelait Elzéard Bouffier. Il avait possédé une ferme dans les plaines. Il y avait réalisé sa vie. Il avait perdu son fils unique, puis sa femme. Il sétait retiré dans la solitude où il prenait plaisir à vivre lentement, avec ses brebis et son chien. Il avait jugé que ce pays mourait par manque darbres. Il ajouta que, nayant pas doccupations très importantes, il avait résolu de remédier à cet état de choses.
Menant moi-même à ce moment-là, malgré mon jeune âge, une vie solitaire, je savais toucher avec délicatesse aux âmes des solitaires. Cependant, je commis une faute. Mon jeune âge, précisément, me forçait à imaginer lavenir en fonction de moi-même et dune certaine recherche du bonheur. Je lui dis que, dans trente ans, ces dix mille chênes seraient magnifiques. Il me répondit très simplement que, si Dieu lui prêtait vie, dans trente ans, il en aurait planté tellement dautres que ces dix mille seraient comme une goutte deau dans la mer.
Il étudiait déjà, dailleurs, la reproduction des hêtres et il avait près de sa maison une pépinière issue des faînes. Les sujets quil avait protégés de ses moutons par une barrière en grillage, étaient de toute beauté. Il pensait également à des bouleaux pour les fonds où, me dit-il, une certaine humidité dormait à quelques mètres de la surface du sol.
Nous nous séparâmes le lendemain.
Lannée daprès, il y eut la guerre de 14 dans laquelle je fus engagé pendant cinq ans. Un soldat dinfanterie ne pouvait guère y réfléchir à des arbres. A dire vrai, la chose même navait pas marqué en moi : je lavais considérée comme un dada, une collection de timbres, et oubliée.
Sorti de la guerre, je me trouvais à la tête dune prime de démobilisation minuscule mais avec le grand désir de respirer un peu dair pur. Cest sans idée préconçue sauf celle-là que je repris le chemin de ces contrées désertes.
Le pays navait pas changé. Toutefois, au-delà du village mort, japerçus dans le lointain une sorte de brouillard gris qui recouvrait les hauteurs comme un tapis. Depuis la veille, je métais remis à penser à ce berger planteur darbres. « Dix mille chênes, me disais-je, occupent vraiment un très large espace. »
Javais vu mourir trop de monde pendant cinq ans pour ne pas imaginer facilement la mort dElzéar Bouffier, dautant que, lorsquon en a vingt, on considère les hommes de cinquante comme des vieillards à qui il ne reste plus quà mourir. Il nétait pas mort. Il était même fort vert. Il avait changé de métier. Il ne possédait plus que quatre brebis mais, par contre, une centaine de ruches. Il sétait débarrassé des moutons qui mettaient en péril ses plantations darbres. Car, me dit-il (et je le constatais), il ne sétait pas du tout soucié de la guerre. Il avait imperturbablement continué à planter.
Les chênes de 1910 avaient alors dix ans et étaient plus hauts que moi et que lui. Le spectacle était impres­sion­nant. Jétais littéralement privé de parole et, comme lui ne parlait pas, nous passâmes tout le jour en silence à nous promener dans sa forêt. Elle avait, en trois tronçons, onze kilomètres de long et trois kilomètres dans sa plus grande largeur. Quand on se souvenait que tout était sorti des mains et de lâme de cet homme sans moyens techni­ques on comprenait que les hommes pourraient être aussi efficaces que Dieu dans dautres domaines que la destruction.
Il avait suivi son idée, et les hêtres qui marrivaient aux épaules, répandus à perte de vue, en témoignaient. Les chênes étaient drus et avaient dépassé lâge où ils étaient à la merci des rongeurs; quant aux desseins de la Providence elle-même, pour détruire loeuvre créée, il lui faudrait avoir désormais recours aux cyclones. Il me montra dadmirables bosquets de bouleaux qui dataient de cinq ans, cest-à-dire de 1915, de lépoque où je combattais à Verdun. Il leur avait fait occuper tous les fonds où il soupçonnait, avec juste raison, quil y avait de lhumidité presque à fleur de terre. Ils étaient tendres comme des adolescents et très décidés.
La création avait lair, dailleurs, de sopérer en chaînes. Il ne sen souciait pas; il poursuivait obstinément sa tâche, très simple. Mais en redescendant par le village, je vis couler de leau dans des ruisseaux qui, de mémoire dhomme, avaient toujours été à sec. Cétait la plus formidable opération de réaction quil mait été donné de voir. Ces ruisseaux secs avaient jadis porté de leau, dans des temps très anciens. Certains de ces villages tristes dont jai parlé au début de mon récit sétaient construits sur les emplacements danciens villages gallo-romains dont il restait encore des traces, dans lesquelles les archéologues avaient fouillé et ils avaient trouvé des hameçons à des endroits où au vingtième siècle, on était obligé davoir recours à des citernes pour avoir un peu deau.
Le vent aussi dispersait certaines graines. En même temps que leau réapparut réapparaissaient les saules, les osiers, les prés, les jardins, les fleurs et une certaine raison de vivre.
Mais la transformation sopérait si lentement quelle entrait dans lhabitude sans provoquer détonnement. Les chasseurs qui montaient dans les solitudes à la poursuite des lièvres ou des sangliers avaient bien constaté le foisonnement des petits arbres mais ils lavaient mis sur le compte des malices naturelles de la terre. Cest pourquoi personne ne touchait à loeuvre de cet homme. Si on lavait soupçonné, on laurait contrarié. Il était insoupçonnable. Qui aurait pu imaginer, dans les villages et dans les administrations, une telle obstination dans la générosité la plus magnifique ?
A partir de 1920, je ne suis jamais resté plus dun an sans rendre visite à Elzéard Bouffier. Je ne lai jamais vu fléchir ni douter. Et pourtant, Dieu sait si Dieu même y pousse ! Je nai pas fait le compte de ses déboires. On imagine bien cependant que, pour une réussite semblable, il a fallu vaincre ladversité; que, pour assurer la victoire dune telle passion, il a fallu lutter avec le désespoir. Il avait, pendant un an, planté plus de dix mille érables. Ils moururent tous. Lan daprès, il abandonna les érables pour reprendre les hêtres qui réussirent encore mieux que les chênes.
Pour avoir une idée à peu près exacte de ce caractère exceptionnel, il ne faut pas oublier quil sexerçait dans une solitude totale; si totale que, vers la fin de sa vie, il avait perdu lhabitude de parler. Ou, peut-être, nen voyait-il pas la nécessité ?
En 1933, il reçut la visite dun garde forestier éberlué. Ce fonctionnaire lui intima lordre de ne pas faire de feu dehors, de peur de mettre en danger la croissance de cette forêt naturelle. Cétait la première fois, lui dit cet homme naïf, quon voyait une forêt pousser toute seule. A cette époque, il allait planter des hêtres à douze kilomètres de sa maison. Pour séviter le trajet daller-retour car il avait alors soixante-quinze ans il envisageait de construire une cabane de pierre sur les lieux mêmes de ses plantations. Ce quil fit lannée daprès.
En 1935, une véritable délégation administrative vint examiner la « forêt naturelle ». Il y avait un grand personnage des Eaux et Forêts, un député, des techniciens. On prononça beaucoup de paroles inutiles. On décida de faire quelque chose et, heureusement, on ne fit rien, sinon la seule chose utile : mettre la forêt sous la sauvegarde de lEtat et interdire quon vienne y charbonner. Car il était impossible de nêtre pas subjugué par la beauté de ces jeunes arbres en pleine santé. Et elle exerça son pouvoir de séduction sur le député lui-même.
Javais un ami parmi les capitaines forestiers qui était de la délégation. Je lui expliquai le mystère. Un jour de la semaine daprès, nous allâmes tous les deux à la recherche dElzéard Bouffier. Nous le trouvâmes en plein travail, à vingt kilomètres de lendroit où avait eu lieu linspection.
Ce capitaine forestier nétait pas mon ami pour rien. Il connaissait la valeur des choses. Il sut rester silencieux. Joffris les quelques oeufs que javais apportés en présent. Nous partageâmes notre casse-croûte en trois et quelques heures passèrent dans la contemplation muette du paysage.
Le côté doù nous venions était couvert darbres de six à sept mètres de haut. Je me souvenais de laspect du pays en 1913 : le désert... Le travail paisible et régulier, lair vif des hauteurs, la frugalité et surtout la sérénité de lâme avaient donné à ce vieillard une santé presque solennelle. Cétait un athlète de Dieu. Je me demandais combien dhectares il allait encore couvrir darbres.
Avant de partir, mon ami fit simplement une brève suggestion à propos de certaines essences auxquelles le terrain dici paraissait devoir convenir. Il ninsista pas. « Pour la bonne raison, me dit-il après, que ce bon­homme en sait plus que moi. » Au bout dune heure de marche lidée ayant fait son chemin en lui il ajouta : « Il en sait beaucoup plus que tout le monde. Il a trouvé un fameux moyen dêtre heureux ! »
Cest grâce à ce capitaine que, non seulement la forêt, mais le bonheur de cet homme furent protégés. Il fit nommer trois gardes-forestiers pour cette protection et il les terrorisa de telle façon quils restèrent insensibles à tous les pots-de-vin que les bûcherons pouvaient proposer.
Loeuvre ne courut un risque grave que pendant la guerre de 1939. Les automobiles marchant alors au gazogène, on navait jamais assez de bois. On commença à faire des coupes dans les chênes de 1910, mais ces quartiers sont si loin de tous réseaux routiers que lentreprise se révéla très mauvaise au point de vue financier. On labandonna. Le berger navait rien vu. Il était à trente kilomètres de là, continuant paisiblement sa besogne, ignorant la guerre de 39 comme il avait ignoré la guerre de 14.
Jai vu Elzéard Bouffier pour la dernière fois en juin 1945. Il avait alors quatre-vingt-sept ans. Javais donc repris la route du désert, mais maintenant, malgré le délabrement dans lequel la guerre avait laissé le pays, il y avait un car qui faisait le service entre la vallée de la Durance et la montagne. Je mis sur le compte de ce moyen de transport relativement rapide le fait que je ne reconnaissais plus les lieux de mes dernières promenades. Il me semblait aussi que litinéraire me faisait passer par des endroits nouveaux. Jeus besoin dun nom de village pour conclure que jétais bien cependant dans cette région jadis en ruine et désolée. Le car me débarqua à Vergons.
En 1913, ce hameau de dix à douze maisons avait trois habitants. Ils étaient sauvages, se détestaient, vivaient de chasse au piège : à peu près dans létat physique et moral des hommes de la préhistoire. Les orties dévoraient autour deux les maisons abandonnées. Leur condition était sans espoir. Il ne sagissait pour eux que dattendre la mort : situation qui ne prédispose guère aux vertus.
Tout était changé. Lair lui-même. Au lieu des bourras­ques sèches et brutales qui maccueillaient jadis, soufflait une brise souple chargée dodeurs. Un bruit semblable à celui de leau venait des hauteurs : cétait celui du vent dans les forêts. Enfin, chose plus étonnante, jentendis le vrai bruit de leau coulant dans un bassin. Je vis quon avait fait une fontaine, quelle était abondante et, ce qui me toucha le plus, on avait planté près delle un tilleul qui pouvait déjà avoir dans les quatre ans, déjà gras, symbole incontestable dune résurrection.
Par ailleurs, Vergons portait les traces dun travail pour lentreprise duquel lespoir était nécessaire. Lespoir était donc revenu. On avait déblayé les ruines, abattu les pans de murs délabrés et reconstruit cinq maisons. Le hameau comptait désormais vingt-huit habitants dont quatre jeunes ménages. Les maisons neuves, crépies de frais, étaient entourées de jardins potagers où poussaient, mélangés mais alignés, les légumes et les fleurs, les choux et les rosiers, les poireaux et les gueules-de-loup, les céleris et les anémones. Cétait désormais un endroit où lon avait envie dhabiter.
A partir de là, je fis mon chemin à pied. La guerre dont nous sortions à peine navait pas permis lépanouisse­ment complet de la vie, mais Lazare était hors du tombeau. Sur les flans abaissés de la montagne, je voyais de petits champs dorge et de seigle en herbe; au fond des étroites vallées, quelques prairies verdissaient.
Il na fallu que les huit ans qui nous séparent de cette époque pour que tout le pays resplendisse de santé et daisance. Sur lemplacement des ruines que javais vues en 1913, sélèvent maintenant des fermes propres, bien crépies, qui dénotent une vie heureuse et confortable. Les vieilles sources, alimentées par les pluies et les neiges que retiennent les forêts, se sont remises à couler. On en a canalisé les eaux. A côté de chaque ferme, dans des bosquets dérables, les bassins des fontaines débordent sur des tapis de menthes fraîches. Les villages se sont reconstruits peu à peu. Une population venue des plaines où la terre se vend cher sest fixée dans le pays, y apportant de la jeunesse, du mouvement, de lesprit daventure. On rencontre dans les chemins des hommes et des femmes bien nourris, des garçons et des filles qui savent rire et ont repris goût aux fêtes campagnardes. Si on compte lancienne population, méconnaissable depuis quelle vit avec douceur et les nouveaux venus, plus de dix mille personnes doivent leur bonheur à Elzéard Bouffier.
Quand je réfléchis quun homme seul, réduit à ses simples ressources physiques et morales, a suffi pour faire surgir du désert ce pays de Canaan, je trouve que, malgré tout, la condition humaine est admirable. Mais, quand je fais le compte de tout ce quil a fallu de constance dans la grandeur dâme et dacharnement dans la générosité pour obtenir ce résultat, je suis pris dun immense respect pour ce vieux paysan sans culture qui a su mener à bien cette oeuvre digne de Dieu.
Elzéard Bouffier est mort paisiblement en 1947 à lhospice de Banon.
- nanakorn
- Verified User
- โพสต์: 636
- ผู้ติดตาม: 0
The Man Who Planted Trees
โพสต์ที่ 9
ความคิดดีจริงๆครับ น่าจะทำครับโอ@ เขียน:พออ่านเรื่องนี้อยู่ดีดีก็คิดขึ้นมาว่า
ลองคิดภาพนะครับ ถ้าวันที่ 5 ธันวา ตอนที่เรากำลังจุดเทียนชัยถวายพระพรอยู่
รัฐบาลเกิดมีไอเดีย เปลี่ยนเป็น ปลูกต้นไม้คนละ 5 ต้นถวายพระพรในหลวง
ในโทรทัศน์ก็ถ่ายทอดสดการปลูกต้นไม้จากที่ไหนซักแห่ง
เชื่อแน่นอนครับว่า วันนั้นต้นไม้ในประเทศเพิ่มขึ้นมากกว่า 10 ล้านต้น
Everything I do, I do it for you.
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
The Man Who Planted Trees
โพสต์ที่ 11
คนปลูกต้นไม้
ฌอง จีโอโน
การที่อุปนิสัยของมนุษย์ผู้หนึ่งจะเผยคุณลักษณะอันแท้จริงออกมานั้น ต้องอาศัยโอกาสดีให้สามารถสังเกตเห็นพฤติกรรมของอุปนิสัยนั้นหลาย ๆ ปี หากพฤติกรรมนั้นไร้ซึ่งคราบความเห็นแก่ตัวทั้งปวง หากความคิดที่ขับเคลื่อนพฤติกรรมนั้นเกิดจากความกรุณาหาใดเทียมเท่า หากจริงแท้แน่ชัดแล้วว่าพฤติกรรมนั้นมิได้มุ่งแสวงสิ่งตอบแทนจากที่ไหน และยิ่งกว่านั้นยังหลงเหลือร่องรอยไว้ให้ยลอยู่บนโลก นั้นแล จึงจะไม่มีข้อผิดพลาดว่ากำลังอยู่ตรงหน้าอุปนิสัยที่มิอาจลืมเลือนได้ลง
เมื่อราว ๆ สี่สิบปีก่อน ผมเดินเท้าเป็นทางไกลไปตามที่สูงซึ่งไม่มีนักท่องเที่ยวแม้สักคนรู้จัก ในภูมิภาคเก่าแก่แห่งเทือกเขาแอลป์ซึ่งทอดตัวเข้ามาในแคว้นโพรวองซ์
เขตแดนทางตะวันออกเฉียงใต้และทางใต้ของภูมิภาคนี้กั้นไว้ด้วยลำน้ำตอนกลางของแม่น้ำดูรองซ์ระหว่างเมืองซิสเตอร์รงและเมืองมิราโบ สุดเขตทางเหนือเป็นลำแม่น้ำโดรมตอนต้นตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงเมืองดี ทางตะวันออกกั้นด้วยที่ราบในแถบคงตาต์ เวอเนแซงกับจมูกเขามงต์-วองตูส์ ภูมิภาคนี้กินอาณาบริเวณทั่วทั้งตอนเหนือของจังหวัดบาสส์-อาลป์ ตอนใต้ของแม่น้ำโดรม และพื้นที่เล็ก ๆ ซึ่งถูกล้อมรอบทุกด้านของจังหวัดโวคลุส
สมัยที่ผมออกเดินทางไกลไปตามพื้นที่แห้งแล้งว่างเปล่าทุรกันดารเหมือนกันไปหมดบนพิกัดความสูง 1200 ถึง 1300 เมตรเหล่านี้ ต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ที่นั่นมีแต่ต้นลาเวนเดอร์ป่าเท่านั้น
ผมข้ามช่วงกว้างที่สุดของภูมิภาคนั้น และหลังจากเดินมาสามวันผมก็ได้มาอยู่ในที่ที่กันดารชนิดไม่เคยเห็นมาก่อน ผมกางเต็นท์ข้าง ๆ ซากหมู่บ้านร้าง น้ำของผมหมดตั้งแต่วันก่อนหน้านั้นและผมจำเป็นต้องหาน้ำให้ได้ บ้านเหล่านี้แม้จะเหลือแต่ซากทว่ายังตั้งติดชิดกันคล้ายรังต่อเก่า ๆ ทำให้ผมคิดว่าก่อนหน้านั้นน่าจะมีน้ำพุหรือบ่อน้ำอยู่ มีน้ำพุอยู่จริง ๆ ด้วย แต่แห้งเหือดไปแล้ว บ้านห้าหกหลังไร้หลังคาถูกลมและฝนซัดสาด โบสถ์เล็ก ๆ พร้อมหอระฆังทลายลงมากองกับพื้น บ้านและโบสถ์พวกนี้ตั้งเรียงกันอยู่เหมือนในหมู่บ้านที่มีผู้อาศัยอยู่ หากที่นี่ทุกชีวิตได้สาบสูญไปจนสิ้น
วันนั้นเป็นวันที่เจิดจ้าด้วยแดดจัดในเดือนมิถุนายน แต่ในดินแดนโล่งไร้ร่มกำบังและอยู่สูงขึ้นมาใกล้ท้องฟ้าแห่งนี้ลมกลับพัดกรรโชกเกินจะทนไหว เสียงอื้ออึงของลมในซากหมู่บ้านดังประหนึ่งเสียงร้องของแมวป่าซึ่งถูกรบกวนขณะกินอาหารอยู่
ผมต้องไปจากที่นี่ หลังจากเดินออกมาได้ห้าชั่วโมง ผมก็ยังหาน้ำไม่ได้และไม่มีวี่แววให้มีความหวังได้เลยว่าจะหาเจอ มองทางไหนก็มีแต่ความแห้งแล้งและต้นหญ้าระเกะระกะเหมือนกันไปหมด ผมรู้สึกคลับคล้ายว่าเห็นร่างสีดำร่างหนึ่งอยู่ลิบ ๆ ผมเดาเอาว่าเป็นต้นไม้ที่ยืนต้นอยู่โดดเดี่ยว ผมเดินมุ่งไปทางร่างนั้นอย่างไม่ได้คิดอะไร ปรากฏว่าเป็นร่างของคนเลี้ยงแกะ มีแกะประมาณสามสิบตัวนอนหมอบพักกับพื้นดินร้อนระอุอยู่ใกล้ ๆ เขา
เขาให้ผมดื่มน้ำจากกระติกของเขา และครู่ต่อมาก็พาผมไปยังคอกแกะซึ่งอยู่ในรอยโค้งของที่ราบสูง เขาสูบน้ำ แสนล้ำเลิศ ขึ้นมาจากหลุมธรรมชาติซึ่งลึกมาก และเหนือหลุมนั้นเขาติดตั้งคว้านแบบง่าย ๆ ไว้
ชายผู้นี้ไม่ใคร่พูดจา พวกที่อยู่ลำพังตัวคนเดียวมักจะเป็นอย่างนี้ กระนั้นก็ยังรู้สึกได้ว่าเขามั่นใจในตัวเองและวางใจในความเชื่อมั่นนั้น ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องแปลกในดินแดนที่ไร้ซึ่งทุกสิ่งทั้งปวงแห่งนี้ เขาไม่ได้อาศัยอยู่ในกระท่อมแต่ในบ้านแท้ ๆ ทำด้วยหิน บ้านที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าเขาลงมือซ่อมแซมซากปรักที่ได้เจอคราวมาถึงที่นี่อย่างไร หลังคาบ้านแข็งแรงแน่นหนา สายลมพัดกระทบหลังคาทำให้เกิดเสียงทะเลตามชายหาดดังอยู่บนแผ่นกระเบื้อง
บ้านของเขาเป็นระเบียบ จานชามล้างเรียบร้อย พื้นปาร์เกต์กวาดเตียน ปืนยาวหยอดน้ำมันพร้อม ซุปเดือดปุดอยู่บนเตาไฟ ผมสังเกตเห็นด้วยว่าเขาเพิ่งโกนหนวดมาหมาด ๆ กระดุมเย็บติดแน่น เสื้อผ้าปะชุนอย่างประณีตจนไม่เห็นรอยเย็บ
เขาแบ่งซุปให้ผมกิน และหลังจากนั้นเมื่อผมยื่นถุงใส่ยาเส้นให้ เขาก็บอกผมว่าเขาไม่สูบยา หมาของเขาซึ่งเงียบเหมือนเจ้าของนั้นเป็นมิตรแต่ก็ไม่ถึงกับหมอบราบคาบ
เป็นที่ตกลงกันในทันทีว่าคืนนั้นผมจะค้างที่นั่น หมู่บ้านใกล้ที่สุดอยู่ห่างออกไปเป็นระยะทางเดินเท้ากว่าหนึ่งวันครึ่ง และยิ่งกว่านั้นผมก็รู้จักลักษณะของหมู่บ้านไม่กี่แห่งในแถบนี้ดี มีหมู่บ้านสี่หรือห้าแห่งตั้งกระจายจากกันอยู่ตามเชิงเขาสูงในป่าต้นโอ๊กขาวลึกเข้าไปสุดทางเดินรถ พวกคนตัดฟืนซึ่งทำอาชีพเผาถ่านอาศัยอยู่ในหมู่บ้านเหล่านั้น ที่นั่นเป็นสถานที่ซึ่งผู้คนอยู่กันอย่างอัตคัดขัดสน หลายครอบครัวเบียดเสียดกันในสภาพอากาศเลวร้ายเกินทนไม่ว่าจะฤดูร้อนหรือฤดูหนาว ผู้คนเหล่านี้สะสมความเห็นแก่ตัวของตนอยู่ในดินแดนปิดตายจากโลกภายนอก ความทะเยอทะยานไร้ทางออกท่วมท้นอยู่ที่นั่น ด้วยความปรารถนาที่จะหลบลี้ไปจากสถานที่นี้อยู่ทุกลมหายใจเข้าออก
พวกผู้ชายจะบรรทุกถ่านขึ้นรถบรรทุกเข้าไปในเมืองแล้วก็กลับมา บรรดาคุณลักษณะที่แข็งแกร่งที่สุดยังทนสภาพเดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาวติดต่อกันแบบนี้ไม่ไหว พวกผู้หญิงเคี่ยวกรำความคับแค้น มีการแก่งแย่งแข่งขันกันในทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเรื่องการขายถ่านหรือม้านั่งในโบสถ์ ความดีต่อกรกันเอง ความชั่วชิงชัยกันไปมา และมีความขัดแย้งโดยทั่วไประหว่างความดีกับความชั่วอย่างไม่หยุดหย่อน จะว่าไปแล้วลมที่พัดตลอดเวลาก็รบกวนประสาทเช่นกัน มีการระบาดของการฆ่าตัวตายและหลายรายมีอาการคลุ้มคลั่งซึ่งมักจะคร่าชีวิตเสมอ
ชายเลี้ยงแกะผู้ไม่สูบยาไปหยิบถุงเล็กๆ ใบหนึ่งและเทลูกโอ๊กในถุงลงบนโต๊ะ เขาเริ่มตรวจตราลูกโอ๊กทีละเม็ด แยกลูกดีกับลูกเสียออกจากกันอย่างตั้งอกตั้งใจ ผมสูบกล้อง เสนอตัวช่วย แต่เขาบอกว่ามันเป็นงานของเขา เมื่อเห็นเขาตั้งใจทำงานมากขนาดนั้นผมก็เลยไม่เซ้าซี้ เราพูดคุยกันเพียงเท่านั้น พอได้ลูกโอ๊กดี ๆ กองใหญ่พอสมควรแล้วเขาก็นับลูกโอ๊กพวกนั้นทีละสิบเม็ด ระหว่างที่นับไปเขาก็คัดลูกโอ๊กลูกเล็ก ๆ และลูกร้าวเล็กน้อยซึ่งเขาเห็นเพราะตรวจสอบละเอียดมาก เขาหยุดทำเมื่อได้ลูกโอ๊กสมบูรณ์แบบร้อยเม็ด และเราสองคนก็เข้านอน
การได้อยู่กับชายผู้นี้ทำให้รู้สึกสุขสงบ วันรุ่งขึ้นผมขอพักผ่อนอยู่บ้านเขาทั้งวัน เขาเห็นเป็นเรื่องปกติ หรือว่ากันตามจริงก็คือเขาทำให้ผมรู้สึกว่าไม่มีอะไรจะมารบกวนเขาได้ ผมไม่จำเป็นต้องพักผ่อนก็ได้ แต่ผมรู้สึกอัศจรรย์ใจและอยากจะรู้เกี่ยวกับเขาให้มากกว่านี้ เขาต้อนฝูงสัตว์ออกไปทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ ก่อนจะไปเขาหย่อนถุงใบเล็กใส่ลูกโอ๊กที่เขาพิถีพิถันเลือกและนับไว้ลงแช่ในถังน้ำ
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
The Man Who Planted Trees
โพสต์ที่ 12
ผมสังเกตเห็นว่าเขาเอาท่อนเหล็กใหญ่ขนาดนิ้วโป้งยาวประมาณเมตรครึ่งมาถือเป็นไม้เท้า ผมทำเป็นเดินเล่นเรื่อยเปื่อยไปตามทางที่ทอดขนานกับทางของเขา ทุ่งหญ้าที่ใช้เลี้ยงแกะพวกนั้นอยู่ในหุบเขาเอียงลาด เขาปล่อยให้หมาเฝ้าฝูงแกะแล้วก็เดินมาทางผม ผมเกรงว่าเขาจะมาต่อว่าที่ผมทะเล่อทะล่ามาอยู่แถวนั้น แต่เปล่าเลย เขาจะใช้เส้นทางนั้นอยู่แล้วและชวนผมไปด้วยกันถ้าผมไม่มีอะไรอื่นที่ดีกว่านั้นทำ เขาจะขึ้นไปบนภูเขาห่างจากที่นั่นไปอีกสองร้อยเมตร
เมื่อถึงจุดหมายปลายทาง เขาเริ่มปักแท่งเหล็กลงในพื้นดินทำหลุมแล้วหย่อนลูกโอ๊กเม็ดหนึ่งลงไปในนั้นก่อนจะกลบดิน เขากำลังปลูกต้นโอ๊ก ผมถามว่าเขาเป็นเจ้าของที่ผืนนั้นหรือ เขาตอบว่าไม่ใช่ แล้วเขาทราบหรือเปล่าว่าเป็นที่ของใคร เขาก็ไม่ทราบ เขาคาดว่าคงจะเป็นที่สาธารณะ หรือไม่ก็เป็นสมบัติของเจ้าของซึ่งไม่ไยดีกับที่ดินของตนนัก เขาไม่ใส่ใจจะรู้ว่าเจ้าของที่เป็นใคร ได้แต่ปลูกลูกโอ๊กร้อยเม็ดอย่างประณีตบรรจงไปเช่นนั้นเอง
หลังอาหารเที่ยง เขาเริ่มคัดลูกโอ๊กอีกรอบ ผมเชื่อว่าผมคงตั้งคำถามออกไปอย่างเอาจริงเอาจังพอสมควรเขาถึงได้ให้คำตอบกลับมา เขาปลูกต้นไม้อยู่คนเดียวอย่างนี้มาสามปีแล้ว เขาหย่อนเมล็ดพันธุ์ไปแล้วแสนเมล็ด ในแสนเมล็ดนั้นมีต้นงอกออกมาสองหมื่นต้น ในสองหมื่นต้นนั้นเขากะไว้ว่าจะเสียไปครึ่งหนึ่งด้วยฝีมือสัตว์จำพวกหนูและกระรอกและกับสิ่งที่มิอาจจะคาดเดาได้สุดแต่พระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า เหลือต้นโอ๊กหมื่นต้นเติบโตขึ้นในบริเวณที่ไม่เคยปรากฏสิ่งใดมาก่อนเลยแห่งนี้
ในตอนนั้นเองผมรู้สึกอยากรู้อายุของชายผู้นี้ เขาน่าจะอายุเกินห้าสิบแล้ว เขาบอกผมว่าเขาอายุห้าสิบห้า เขาชื่อเอลเซอารด์ บูฟฟิเอร์ เขาเคยมีฟาร์มในที่ราบ เคยก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาได้ เขาเสียลูกชายคนเดียวไปต่อจากนั้นก็เสียภรรยา เขาปลีกตัวออกมาอยู่คนเดียว โดยพอใจใช้ชีวิตไปเรื่อย ๆ กับฝูงแกะและหมาของเขา เขาเห็นว่าพื้นที่แถบนี้กำลังจะตายเพราะขาดต้นไม้ เขากล่าวต่อว่า ในเมื่อเขาไม่มีอะไรให้ทำมากนักก็เลยตัดสินใจฟื้นฟูสภาพสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นอยู่
ขณะนั้นแม้จะอายุยังน้อยแต่ผมก็ใช้ชีวิตเพียงลำพัง ผมจึงรู้จักที่จะสัมผัสจิตวิญญาณของผู้อยู่โดดเดี่ยวด้วยความละเอียดอ่อน กระนั้น ผมก็ทำผิดไปอย่างหนึ่ง อายุอันเยาว์ของผมผลักดันให้ผมคิดฝันถึงอนาคตตามที่ตนเองตั้งไว้และด้วยการแสวงหาความสุขใส่ตัว ผมบอกเขาว่า ในอีกสามสิบปีข้างหน้า ต้นโอ๊กเหล่านี้คงจะน่าดูชมมาก เขาตอบเรียบ ๆ ว่า ถ้าพระผู้เป็นเจ้าประทานชีวิตให้เขาอยู่ต่อ ภายในสามสิบปีเขาคงจะปลูกต้นไม้ต้นอื่น ๆ อีกมากมายเสียจนต้นไม้หมื่นต้นพวกนี้เป็นแค่หยดน้ำในทะเล
เขายังศึกษาการขยายพันธุ์ของต้นบีชอยู่ด้วยและเขามีบริเวณสำหรับเพาะกล้าต้นบีชใกล้ ๆ บ้าน ต้นกล้าเหล่านั้นขึ้นงามสะพรั่งในรั้วตาข่ายที่กั้นกันไว้ไม่ให้แกะของเขาเข้าไปทำลาย เขาคิดจะปลูกต้นเบิร์ชตามแอ่งเขา เขาบอกผมว่า บริเวณเหล่านั้นมีความชื้นหลับใหลอยู่ใต้ดินลึกลงไปไม่กี่เมตร
วันรุ่งขึ้น เราสองคนลาจากกัน
ปีต่อมา เกิดสงครามปี 1914 ซึ่งผมได้เข้าร่วมรบด้วยเป็นเวลา 5 ปี พลทหารราบไม่อาจจะนึกถึงต้นไม้ได้บ่อยนัก ว่ากันจริง ๆ แล้วผมไม่ได้นึกถึงเรื่องนี้เลย เนื่องจากผมมองว่าเป็นเพียงงานอดิเรกแบบเดียวกับการสะสมแสตมป์ แล้วผมก็ลืมเรื่องนี้ไปเลย
เมื่อออกมาจากสมรภูมิรบ ผมได้รับเบิกจ่ายเบี้ยสงครามอันน้อยนิดในลำดับต้นๆ แต่มีความต้องการอย่างมากมายที่จะได้ไปสูดอากาศบริสุทธิ์ ผมออกเดินทางโดยใช้เส้นทางในภูมิภาคแห้งแล้งแห่งนั้นอีกครั้งโดยไม่ได้คิดอะไรไปมากกว่าอยากจะสูดอากาศบริสุทธิ์
พื้นที่แถบนี้ไม่ได้เปลี่ยนไปเลย แต่ว่าเหนือหมู่บ้านร้างขึ้นไปไกลสุดสายตาผมเห็นหมอกสีเทาปกคลุมยอดเขาราวกับผืนพรม ผมเริ่มนึกถึงชายเลี้ยงแกะผู้ปลูกต้นไม้มาตั้งแต่วันก่อนหน้านั้นแล้ว ต้นโอ๊กหมื่นต้น ผมบอกตัวเอง ครอบคลุมพื้นที่ได้กว้างขวางดีแท้
ผมได้เห็นคนล้มตายในช่วงห้าปีมากมายเสียจนนึกเอาง่าย ๆ ว่าเอลเซอารด์ บูฟฟิเอร์ตายไปแล้ว อีกอย่างคนอายุยี่สิบจะมองว่าคนอายุห้าสิบนั้นเป็นคนแก่ที่ได้แต่รอความตายเท่านั้น เขายังไม่ตาย ออกจะแข็งแรงดีเสียด้วยซ้ำ เขาเปลี่ยนอาชีพแล้ว เขาเหลือลูกแกะแค่สี่ตัวแต่มีรังผึ้งเป็นร้อยรัง เขาเอาแกะที่เป็นอันตรายกับการปลูกต้นไม้ของเขาออกไป เขาบอกผม (และผมก็มองเห็นเอง) ว่า เขาไม่ได้รู้สึกตื่นตระหนกกับสงครามเลยแม้แต่น้อย ดังนั้นเขาจึงใจเย็นปลูกต้นไม้ต่อไป
ต้นโอ๊กที่ปลูกในปี ค.ศ. 1910 มีอายุได้สิบปีและโตสูงกว่าผมกับเขาแล้ว เป็นภาพที่สวยงามน่าประทับใจมาก ผมไม่รู้จะพูดอะไรออกไป และด้วยเหตุที่เขาเองก็ไม่ได้พูดอะไรออกมา เราสองคนจึงใช้เวลาทั้งวันเดินกันเงียบ ๆ อยู่ในป่าของเขา ป่าผืนนั้นมีสามแถบ ด้านยาวมีขนาดสิบเอ็ดกิโลเมตรและส่วนที่กว้างที่สุดมีขนาดสามกิโลเมตร เมื่อนึกถึงว่าทั้งหมดนี้เกิดขึ้นจากสองมือและจิตวิญญาณของชายผู้นี้โดยไม่ได้พึ่งเครื่องไม้เครื่องมืออะไร ก็ให้เข้าใจได้ว่ามนุษย์อาจมีประสิทธิภาพเทียมเท่าพระเจ้าได้ในเรื่องอื่น ๆ นอกเหนือจากเรื่องการทำลายล้าง
เขาดำเนินการตามที่คิดไว้ ดูได้จากต้นเบิร์ชสูงระดับบ่าของผมที่ขึ้นกระจายไปจนสุดลูกหูลูกตา บรรดาโอ๊กต้นสูงล่ำได้พ้นช่วงอายุที่ต้องขึ้นอยู่กับความเมตตาของพวกหนูและกระรอกมาแล้ว ส่วนพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้านั้น ต่อแต่นี้ไปถ้าจะทำลายผลงานสร้างชิ้นนี้ก็คงจะต้องใช้แรงขนาดพายุไซโคลนถึงจะทำได้ เขาให้ผมดูหมู่ต้นเบิร์ชงดงามซึ่งปลูกมาแล้วห้าปี ก็ตรงกับปี ค.ศ.1915 ซึ่งเป็นช่วงที่ผมกำลังรบที่เมืองแวร์เดิง เขาปลูกต้นเบิร์ชพวกนั้นตามแอ่งเขาทุกแห่งที่เขาได้คาดการณ์ไว้อย่างถูกต้องว่ามีความชื้นอยู่เกือบจะปริ่มผิวดิน พวกมันเอนไหวราวละอ่อนวัยรุ่นและมั่นคงมาก
ดูเหมือนว่ามีสิ่งเกิดขึ้นต่อเนื่องจากป่าไม้ของเขาเป็นทอด ๆ ด้วย เขาไม่ใส่ใจในเรื่องนั้น ก้มหน้าก้มตาทำหน้าที่ง่าย ๆ ของตนต่อไปเรื่อย ๆ เมื่อเดินกลับลงไปทางหมู่บ้าน ผมได้เห็นน้ำไหลในทางน้ำซึ่งเคยแห้งผากในความทรงจำของผู้คน เป็นผลงานจากปฏิกิริยาตอบสนองอันเยี่ยมยอดที่สุดเท่าที่ผมเห็น ในสมัยโบราณร่องน้ำแห้งผากพวกนี้เคยมีน้ำ หมู่บ้านสุดรันทดทั้งหลายที่ผมกล่าวถึงเมื่อตอนต้น ปลูกทับที่ตั้งหมู่บ้านกาลโล-โรมันสมัยต้นคริสตกาลซึ่งยังคงหลงเหลือร่องรอยอยู่ นักโบราณคดีได้มาขุดหมู่บ้านเหล่านี้และพบตะขอเบ็ดหลายชิ้นในบริเวณซึ่งในสมัยศตวรรษที่ยี่สิบจำเป็นต้องมีที่เก็บกักน้ำฝนเพื่อจะได้มีน้ำเพียงเล็กน้อยใช้
สายลมเองก็พัดเมล็ดพันธุ์พืชให้กระจายออกไป ในขณะเดียวกัน น้ำที่ผุดขึ้นมาใหม่ทำให้บรรดาต้นหลิว ต้นกก ต้นหญ้า ไม้ดอก สวน และเหตุผลมากมายในการมีชีวิตงอกเงยขึ้นมาอีกครั้ง
ทว่าการเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ ช้าเสียจนแทรกอยู่ในความเคยชินโดยไม่ได้สะกิดใจให้พิศวง พวกนายพรานที่ขึ้นไปล่ากระต่ายหรือหมูป่าในป่าเปลี่ยวสังเกตเห็นต้นไม้เล็ก ๆ เพิ่มจำนวนขึ้น แต่พวกเขาคิดว่าเป็นฝีมือของความตลกร้ายของโลกที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ดังนี้เองจึงไม่มีใครแตะต้องผลงานของชายผู้นี้ ถ้ามีใครเกิดกังขาเรื่องนี้ขึ้นมา คงมีการจะห้ามปรามมิให้เขาปลูกต้นไม้ต่อไป งานของเขาแนบเนียนไม่มีใครสงสัย จะมีใครในบรรดาชาวบ้านตามหมู่บ้านและพวกข้าราชการที่สามารถจินตนาการถึงความพากเพียรจากความกรุณาอันประเสริฐเช่นนี้ออก
ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1920 เป็นต้นมา ผมไปเยี่ยมเอลเซอารด์ บูฟฟิเอร์ชนิดไม่เคยเว้นไปให้เกินปี ผมไม่เคยเห็นเขาย่อท้อหรือละล้าละลังเลยแม้แต่ครั้งเดียว แต่ถึงอย่างไรพระผู้เป็นเจ้าก็ทรงทราบ หากพระองค์เป็นผู้ทรงบันดาลให้เป็นเช่นนั้น ผมไม่รู้ว่าเขาล้มเหลวมาแล้วกี่ครั้งกี่หน กระนั้นก็ยังพอจะนึกออกว่าความสำเร็จแบบนี้จำต้องฝ่าฟันอุปสรรคขวากหนาม พอจะมองเห็นว่ากว่าจะได้อุ่นใจในชัยชนะอันเกิดจากความมุ่งมั่นเช่นนี้จำต้องต่อสู้กับความผิดหวัง มีอยู่คราวหนึ่ง เขาปลูกต้นเมเปิลหมื่นกว่าต้นตลอดทั้งปีและต้นเมเปิลเหล่านั้นตายเรียบ ปีถัดมาเขากลับมาปลูกต้นบีชซึ่งได้ผลดียิ่งกว่าต้นโอ๊กเสียอีก
เพื่อให้นึกภาพอุปนิสัยซึ่งไม่มีใครเหมือนนี้ออก ต้องไม่ลืมว่าเขาลงมือทำโดยลำพังตัวคนเดียว โดดเดี่ยวเสียจนในช่วงท้ายของชีวิตเขาไม่ชินที่จะพูดจา หรือไม่เขาก็อาจเห็นว่าไม่จำเป็นต้องพูดกระมัง
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
The Man Who Planted Trees
โพสต์ที่ 13
ในปี ค.ศ 1933 มีเจ้าพนักงานป่าไม้หน้าตาตื่นมาหาเขา เจ้าหน้าที่รัฐผู้นี้สั่งไม่ให้เขาจุดไฟนอกบ้าน ด้วยเกรงว่าจะเป็นอันตรายต่อการงอกงามของป่าธรรมชาติ ผืนนี้ เจ้าหน้าที่ผู้นั้นกล่าวกับเขาอย่างไม่รู้อิโหน่อิเหน่ว่าเป็นครั้งแรกที่เห็นป่าขึ้นมาเองอย่างนี้ ช่วงนั้นเขาไปปลูกต้นบีชห่างจากบ้านราวสิบสองกิโลเมตร เขาถึงกับคิดจะปลูกกระท่อมหินหลังเล็ก ๆ ในบริเวณที่เขาปลูกต้นไม้ เพื่อจะได้ไม่ต้องเดินกลับไปกลับมาเนื่องจากเขาอายุล่วงเข้าเจ็ดสิบห้าปีแล้ว เขาปลูกกระท่อมนั้นในปีต่อมา
ในปี ค.ศ. 1935 ตัวแทนที่แท้จริงของรัฐบาลก็มาตรวจสอบป่าธรรมชาติแห่งนี้ ประกอบไปด้วยพวกคนใหญ่คนโตจากหน่วยงานที่ดูแลเรื่องน้ำและป่าไม้ ผู้แทนราษฎรหนึ่งคนและบรรดาช่างเทคนิค มีการเอื้อนเอ่ยถ้อยคำที่ไม่มีประโยชน์ออกมามากมาย พวกเขาตัดสินใจที่จะทำอะไรสักอย่างและโชคดีที่ไม่มีใครทำอะไร เว้นแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์สิ่งหนึ่ง นั่นคือการจัดให้ป่าแห่งนี้อยู่ในความคุ้มครองของรัฐและห้ามมิให้เข้ามาตัดต้นไม้ไปเผาเป็นถ่าน เป็นเพราะไม่มีใครจะไม่ใจอ่อนไปกับความงามของต้นไม้แรกรุ่นแข็งแรงพวกนี้ และป่าแห่งนี้ก็ใช้พลังชักจูงของมันสยบท่านผู้แทนฯด้วย
ผมมีเพื่อนเป็นหัวหน้าหน่วยรักษาป่าคนหนึ่งซึ่งอยู่ในกลุ่มตัวแทนรัฐบาลกลุ่มนี้ ผมไขความลึกลับในเรื่องนี้ให้เขาฟัง สัปดาห์ต่อมาเราทั้งสองไปหาเอลเซอารด์ บูฟฟิเอร์ด้วยกัน และพบเขากำลังทำงานอยู่ห่างจากบริเวณที่มีการมาตรวจสอบยี่สิบกิโลเมตร
หัวหน้าหน่วยรักษาป่าคนนี้ไม่เสียแรงเป็นเพื่อนกับผม เขารู้จักคุณค่าของสิ่งต่าง ๆ รู้จักปิดปากเงียบ ผมเอาไข่ที่ผมนำมาด้วยให้บูฟฟิเอร์เป็นของฝาก เราสามคนแบ่งกันกินแซนด์วิชและใช้เวลาหลายชั่วโมงไปกับการพินิจดูทิวทัศน์กันเงียบ ๆ
ด้านที่เราผ่านเข้ามานั้นปกคลุมด้วยต้นไม้สูงหกถึงเจ็ดเมตร ผมจำภาพพื้นที่แถบนี้ในปี ค.ศ. 1913 ได้ดี ตอนนั้นมีแต่ความแห้งแล้ง ... การทำงานอย่างราบรื่นและสม่ำเสมอ อากาศสดชื่นบนที่สูง อาหารการกินที่เรียบง่ายและโดยเฉพาะอย่างยิ่งความสงบสุขในจิตใจทำให้ชายชราผู้นี้มีความเข้มแข็งบึกบึน เป็นดั่งนักกรีฑาของพระผู้เป็นเจ้า ผมสงสัยว่าเขาจะปลูกต้นไม้ต่อไปอีกกี่ไร่
ก่อนจะจากมา เพื่อนของผมให้คำแนะนำเกี่ยวกับพันธุ์พืชบางชนิดที่น่าจะเหมาะกับพื้นที่นี้ เขาไม่ได้พูดย้ำยืดยาว เรื่องของเรื่องก็คือชายคนนี้รู้เรื่องพวกนั้นดีกว่าฉัน เขาบอกผมในภายหลัง หลังจากที่เดินกันไปหนึ่งชั่วโมง เขาก็มีความคิดวาบเข้ามาและพูดเสริมขึ้นว่า เขารู้เรื่องพวกนั้นมากกว่าทุกคน เขาได้พบวิธีมีความสุขได้อย่างยอดเยี่ยม
เป็นพระคุณของหัวหน้าหน่วยผู้นี้ที่ไม่เพียงแต่ป่าไม้เท่านั้นที่ได้รับการปกป้อง แต่ยังรวมไปถึงความสุขของชายผู้นี้ด้วย เขาแต่งตั้งให้เจ้าหน้าที่ป่าไม้สามคนดูแลป่าผืนนี้ และขู่กำชับเจ้าหน้าที่เหล่านี้ชนิดที่ทำให้พวกเขาไม่กล้านำพากับเงินใต้โต๊ะทุกก้อนซึ่งพวกคนตัดฟืนอาจจะนำมาติดสินบนได้
ไม่มีเภทภัยร้ายแรงมาแผ้วพานผืนป่านี้จนกระทั่งช่วงระหว่างสงครามในปีค.ศ.1939 บรรดารถยนต์ใช้เครื่องยนต์แก๊สที่ได้จากการเผาไม้เป็นเชื้อเพลิง ไม้จึงไม่เคยพอกับความต้องการ เริ่มมีการตัดไม้ในป่าต้นโอ๊กที่ปลูกตั้งแต่ปี ค.ศ.1910 แต่พื้นที่ป่าเหล่านี้ก็อยู่ห่างจากเส้นทางขนส่งจนบริษัทต้องถอนตัวออกไปด้วยเห็นว่าไม่คุ้มการลงทุน พวกเขาพากันละทิ้งป่าไม้พวกนี้ไป ส่วนชายเลี้ยงแกะไม่รู้ไม่เห็นอะไรทั้งสิ้น ตอนนั้นเขาอยู่ห่างออกไปจากที่นั่นสามสิบกิโลเมตร ยังคงทำงานของตนไปอย่างสงบสุข ไม่รู้เรื่องสงครามปี 1939 เหมือนกับที่เขาไม่รู้เรื่องสงครามปี 1914
ผมไปหาเอลเซอารด์ บูฟฟิเอร์เป็นครั้งสุดท้ายในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1945 ตอนนั้นเขาอายุแปดสิบเจ็ดปี ผมใช้เส้นทางแห้งแล้งเส้นเดิม แม้พื้นที่แถบนี้จะถูกสงครามทำลายเสียหาย แต่ก็ยังมีรถประจำทางวิ่งระหว่างหุบเขาของแม่น้ำดูรองซ์กับภูเขา ผมโทษการขนส่งที่ค่อนข้างรวดเร็วนี้ว่าทำให้ผมจำบริเวณที่ผมเดินเล่นครั้งล่าสุดไม่ได้ ผมยังรู้สึกด้วยว่าเส้นทางที่ผมผ่านไปนั้นดูแปลกตา ต้องให้เห็นชื่อของหมู่บ้านเสียก่อนผมถึงจะสรุปได้ว่าได้มาอยู่ในพื้นที่ซึ่งในสมัยก่อนเหลือแต่ซากและสลดหดหู่ ผมนั่งรถประจำทางมาลงที่หมู่บ้านแวร์กงส์
ในปี ค.ศ. 1913 บ้านสิบถึงสิบสองหลังที่ตั้งเป็นกลุ่มมีคนอยู่สามคน เป็นพวกชาวบ้านป่าผู้เกลียดชังซึ่งกันและกัน เลี้ยงชีพด้วยการวางกับดักสัตว์ เรียกได้ว่ามีสภาพร่างกายและจิตใจใกล้เคียงกับคนในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ต้นตำแยขึ้นลามบ้านร้างรอบกายพวกเขา สภาพในตอนนั้นไร้ซึ่งความหวัง สำหรับพวกเขาไม่มีอะไรในชีวิตนอกจากรอความตาย เป็นสถานการณ์ที่ไม่ค่อยเอื้ออำนวยให้กับคุณงามความดีสักเท่าใดนัก
ทุกอย่างเปลี่ยนไป อากาศก็ไม่เหมือนเดิม แทนที่จะเป็นลมแล้งกระชากรุนแรงซึ่งพัดมาปะทะผมเมื่อครั้งก่อนเก่า กลับกลายเป็นลมพัดโชยกรุ่นกลิ่นหอม ได้ยินเสียงลมในป่าที่ฟังละม้ายคล้ายเสียงน้ำไหลลงภูเขา และสุดท้ายสิ่งที่น่าประหลาดใจที่สุดก็คือ ผมได้ยินเสียงน้ำไหลรินในแอ่งน้ำ ผมได้เห็นว่ามีการสร้างน้ำพุที่มีน้ำล้นหลาก และสิ่งที่ประทับใจผมที่สุดคือ ใกล้ ๆ น้ำพุนั้นมีการปลูกต้นติเยิลต้นหนึ่งซึ่งน่าจะอายุราวสี่ปีเพราะแตกใบสะพรั่งแล้ว นี่เป็นสัญลักษณ์ของการฟื้นคืนชีพอย่างไม่มีข้อโต้แย้ง
นอกจากนั้นหมู่บ้านแวร์กงส์มียังร่องรอยของการทำงาน ซึ่งการลงมือทำจำเป็นต้องอาศัยความหวัง แสดงว่าความหวังได้กลับมาอีกครั้ง มีการกวาดซากปรักหักพัง ทุบซากกำแพงทรุดโทรม และสร้างบ้านใหม่ขึ้นมาห้าหลัง ตอนนี้หมู่บ้านนี้มีคนอยู่ยี่สิบแปดคน ในจำนวนนั้นมีสามีภรรยาใหม่สี่คู่ มีบ้านใหม่ก่ออิฐมาหมาด ๆ รายรอบด้วยสวนครัวที่พืชผุดงอกขึ้นแซมกันไป แต่ยังรักษาระดับเป็นแถวแนว มีทั้งผักและไม้ดอก กะหล่ำปลีและต้นกุหลาบ ต้นกระเทียมและต้นลิ้นมังกร ต้นขึ้นฉ่ายและต้นดอกไม้ทะเล ต่อไปแถบนี้จะเป็นบริเวณที่น่าอยู่
ผมเดินเท้าต่อไปจากที่นั่น สงครามซึ่งเพิ่งสิ้นสุดลงไม่เปิดโอกาสให้เราได้สำราญเต็มที่กับชีวิต แต่ประหนึ่งลาซารัส ชายโรคเรื้อนผู้ได้รับการชุบชีวิตจากพระเยซูเจ้า บนไหล่เขาเอียงลาดผมเห็นทุ่งหญ้าบาร์เลย์และหญ้าไรย์อยู่ด้านในตรอกหุบเขา ทุ่งหญ้าบางแห่งกำลังเขียวขจี
พื้นที่เหล่านี้ได้กลับมาสวยงามมีชีวิตชีวาและอุดมไปด้วยธรรมชาติอีกครั้งภายในเวลาเพียงแปดปี บริเวณที่เคยเป็นซากปรักหักพังซึ่งผมเคยเห็นในปี ค.ศ. 1913 ตอนนี้มีฟาร์มสะอาดเอี่ยม ผนังที่ตั้งอยู่ฉาบปูนเรียบร้อยแสดงถึงชีวิตที่มีความสุขและสะดวกสบาย บรรดาตาน้ำเก่าแก่อิ่มเอิบด้วยน้ำฝนและน้ำจากหิมะซึ่งป่าเหล่านั้นดูดซับไว้เริ่มกลับมาไหลรินอีกหน มีการขุดทางน้ำ ในพุ่มต้นเมเปิลตามข้าง ๆ ฟาร์มแต่ละแห่งมีอ่างน้ำพุไหลล้นลงบนผืนพรมต้นสะระแหน่ หมู่บ้านค่อย ๆ ตั้งขึ้นมาทีละแห่งสองแห่ง ประชากรจากที่ราบซึ่งที่ดินมีราคาแพงมาลงหลักปักฐานในแถบนั้น นำความสดใส การเคลื่อนไหว จิตวิญญาณผจญภัยเข้ามาในพื้นที่ ระหว่างทางเราจะได้พบหญิงและชายผู้กินอยู่ดี ได้เห็นเด็กชายหญิงที่รู้จักหัวเราะร่าและกลับมาสนุกสนานกับงานเทศกาลตามประเพณีพื้นถิ่นอีกครั้ง ถ้าเรานับจำนวนคนทั้งหมดโดยรวมชาวบ้านดั้งเดิมซึ่งเปลี่ยนไปผิดหูผิดตากับคนที่มาอยู่ใหม่เข้าด้วยกัน ก็จะมีคนมากกว่าหมื่นคนเป็นหนี้บุญคุณความสุขต่อเอลเซอารด์ บูฟฟิเอร์
เมื่อมาหวนคิดว่า คนเพียงคนเดียวลงแรงกายและแรงใจก็เพียงพอจะพลิกฟื้นผืนดินแห้งแล้งให้กลายเป็นเคนัน แผ่นดินที่พระเจ้าสัญญาจะประทานแด่ชาวอิสราเอลได้แล้ว ผมก็รู้สึกว่า ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ตาม ความเป็นมนุษย์ยังน่าชื่นชมอยู่ แต่ครั้นผมนึกไปถึงผลงานที่ต้องอาศัยความแข็งแกร่งและความยิ่งใหญ่ของจิตใจ กับความการุณย์อย่างเสมอต้นเสมอปลายเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ดังนี้มา ผมก็รู้สึกท่วมท้นไปด้วยความนับถือต่อผู้เฒ่าบ้านนอกผู้รู้จักสร้างผลงานเทียบเท่ากับผลงานของพระเจ้าชิ้นนี้
เอลเซอารด์ บูฟฟิเอร์เสียชีวิตอย่างสงบในปี ค.ศ. 1947 ณ บ้านพักคนชราแห่งเมืองบานง
หนูนาน ศิริพันธ์ แปล
http://www.wanakam.com/literature.asp?LiteratureID=74