
Alfred Nobel
เกิด: วันที่ 21 ตลาคม ค.ศ. 1833
กรุงสตอกโฮล์ม (Stockholm) ประเทศสวีเดน (Sweden)
เสียชีวิต: วันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1896
เมืองซานโรโม (San Romo) ประเทศอิตาลี (ltaly)
ผู้ก่อตั้งมูลนิธิโนเบล
สาเหตุที่ท่านก่อตั้งมูลนิธิขึ้น เนื่องจากคำขอร้องจากเพื่อนของท่านคนหนึ่ง ที่ได้รู้จักในระหว่างที่โนเบลได้สร้างโรงงานผลิตอาวุธขึ้นในกรุงปารีส ท่านได้ประกาศรับสมัครเลขานุการขึ้นและ เบอร์ธา กินสกี หญิงสาวชาวออสเตรียนได้ส่งจดหมายมาสมัครและได้งานนี้ได้ ซึ่งเธอผู้นี้เป็นผู้มีบทบาทสำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดมูลนิธิโนเบลขึ้น กินสกีเป็นผู้หญิงที่ทำงานและมีอัธยาศัยดี ทำให้เข้ากับโนเบลได้เป็นอย่างดี แม้ว่าในขณะนั้นโนเบลมีอายุมากถึง 43 ปี แล้วก็ตาม ทั้งสองมีความสัมพันธ์กันดีทั้งในฐานะนายจ้างกับลูกจ้าง และในฐานะเพื่อน ต่อมากินสกีได้แต่งงานไปกับท่านเคานท์สุตเนอร์ และลาออกจากงาน แต่ทั้งสองก็ยังคบหากันในฐานะเพื่อนและติดต่อกันอยู่ตลอด กินสกีมักจะขอร้องให้โนเบลสร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ชาติบ้าง แทนที่จะสร้างอาวุธเพื่อการทำล้างลายแต่เพียงอย่างเดียว กินสกีได้เขียนหนังสือขึ้นเล่มหนึ่งเกี่ยวกับพิษภัยของสงคราม และอันตรายจากการสะสมอาวุธสงคราม หนังสือเล่มนี้ของกินสกีมีเพียงโนเบลและเพื่อนๆที่รักที่สุดของโนเบลเท่านั้นที่ได้อ่าน

เมื่อโนเบลเสียชีวิตในวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1896 เขาได้ทำพินัยกรรมมอบเงินจำนวน 31 ล้านโครน (US$ 4 ล้าน) ตั้งเป็นมูลนิธิโนเบล โดยมูลนิธินี้จะสนับสนุน และมอบรางวัลให้กับนักวิทยาศาสตร์และบุคคลที่มีผลงานดีเด่นในสาขาต่างๆ 5 สาขา ได้แก่ ฟิสิกส์ เคมี แพทย์ วรรณกรรม และสาขาสันติภาพ ซึ่ง 3 รางวัลเขามอบให้กับนักวิทยาศาสตร์ผู้มีผลงานดีเด่น สาขาวรรณกรรมนั้นเกิดขึ้นจากนิสัยส่วนตัวของโนเบล ที่เป็นคนรักการอ่านและเขียน โดยเฉพาะในช่วงที่เขาถูกเกลียดชังอย่างมาก เขาได้เขียนพรรณนาความลำบากในชีวิตของเขาลงในหนังสือ ส่วนรางวัลสันติภาพเขาได้ทำตามคำร้องขอของกินสกีเพื่อนรักของเขา รางวัลโนเบลถือว่าเป็นรางวัลที่ได้รับการยกย่องมากที่สุดรางวัลหนึ่งของโลกเลยทีเดียว

I intend to leave after my death a large fund for the promotion of the peace idea, but I am skeptical as to its results.
Alfred Nobel
ทุกวันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี นับเป็นวันสำคัญยิ่งของบุคคลในวงวิชาการครับ เพราะมีการจัดพิธีอันทรงเกียรติ ให้แก่ผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบลเข้ารับพระราชทานรางวัลจากกษัตริย์ คาร์ล กุสตาฟที่ 16 พร้อมกับงานเลี้ยงอาหารค่ำอันแสนคึกคักที่สวีเดน ซึ่งมีพระราชวงศ์สวีเดน คนดัง และแขกผู้มีเกียรตินับพันๆคน......
เข้าร่วมในแต่ละปีระหว่างที่พิธีอันทรงเกียรติจะมีขึ้นในวันนี้ บรรดานักวิทยาศาสตร์ นักวิชาการผู้ทรงเกียรติก็เริ่มทยอยเดินทางเข้าสู่กรุงสต็อกโฮล์มเพื่อเตรียมพร้อมในการเข้าร่วมพิธีรับรางวัลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยสุดยอดนักวิชาการแห่งปีต่างมีกิจกรรมอันหลากหลายก่อนการรับรางวัล ไม่ว่าจะเป็นการร่วมแถลงข่าวเปิดเผยความรู้สึก ตอบคำถามต่างๆ ของผู้สื่อข่าว และเซ็นต์ชื่อลงบนเก้าอี้เพื่อเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์โนเบลอันเป็นธรรมเนียมปฏิบัติกันมานาน...............
แต่ระหว่างสัปดาห์แห่งการประกาศผลรางวัลโนเบล
อีกฟากหนึ่งที่ฮาร์วาร์ด........

ก็มีการมอบสุดยอดรางวัล Ig (nore) nobel รางวัลวิทยาศาสตร์สติเฟื่องครับ งานวิจัยฮาๆ สารพัดสาขาจัดขึ้นโดยต้องการมอบรางวัลให้แก่ผลงานทางวิทยาศาสตร์ที่ ไม่สามารถหรือไม่น่าจะลอกเลียนแบบได้
เช่นในปีที่แล้วครับ (7 ต.ค.) คณะกรรมการพิจารณางานวิจัยที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ประจำปี (Annuals of Improbable Research) ได้จัดพิธีประกาศผลรางวัล อิก โนเบล 2005 ณ โรงละครแซนเดอร์ ในฮาร์วาร์ด โดยมีเจ้าของรางวัลโนเบล (ของจริง) ปีก่อน 4 ท่านได้ออกมาประกาศรางวัลในสาขาต่างๆ ท่ามกลางผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมพิธีราว 1,200 คน ซึ่งปีนี้มีผู้ได้รับรางวัลอิก โนเบลจาก 10 ชาติ ได้แก่ ออสเตรเลีย อังกฤษ แคนาดา ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส ฮังการี ญี่ปุ่น นิว ซีแลนด์ ไนจีเรีย และสหรัฐอเมริกา
อิก โนเบล สาขาเคมีได้แก่
มนุษย์สามารถว่ายน้ำในน้ำเชื่อมได้เร็วกว่าในน้ำธรรมดา
เป็นของเอ็ดวาร์ด คัซเลอร์ (Edward Cussler) และไบรอัน เกตเทลฟิงเกอร์ (Brian Gettelfinger) จากมหาวิทยาลัยมินเนโซตา (University of Minnesota) สหรัฐฯ
ทั้งคู่พยายามหาคำตอบว่า มนุษย์สามารถว่ายน้ำในน้ำเชื่อมได้เร็วกว่าในน้ำธรรมดา ซึ่งสมมติฐานนี้ทำให้ เกตเทลฟิงเกอร์ ลุกขึ้นมาคิดค้นวิธีเพิ่มความเร็วในการว่ายน้ำ ขณะซ้อมว่ายน้ำเพื่อเข้าแข่งโอลิมปิก
ทั้งคู่เตรียมการทดลองขึ้นโดยใช้สระว่ายน้ำขนาด 25 หลาจำนวน 2 สระในมหาวิทยาลัย (ซึ่งต้องทำเรื่องขออนุญาตนู่น นี่นั่นถึง 22 ขั้นตอน) จากนั้นพวกเขาก็ต้องการน้ำเชื่อมจากข้าวโพดผสมกับน้ำจำนวน 20 คันรถเพื่อนำมาเติมลงไปในสระ แต่ทางเทศบาลเมืองก็แจ้งว่าพวกเขาจะต้องจ่าย 20,000 เหรียญ ถ้าหากปล่อยน้ำเชื่อมจำนวนมากมายขนาดนั้นเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสีย...ทำให้แผนการทดลองของทั้ง 2 ต้องมีอันพับไป
แต่ความพยายามของทั้งคู่ยังไม่จบลงง่ายๆ พวกเขากวนแป้งมัน 310 กิโลกรัมจนเหนียวหนึบลงในสระว่ายน้ำ
พอเช้าวันรุ่งขึ้นเราตื่นมาดู มันแหวะ ทั้งสระเต็มเหมือนไปด้วยน้ำมูกใสๆ
คัซเลอร์เล่าถึงความพยายามสร้างการทดลองนี้ขึ้นมา
แม้สระว่ายน้ำที่มีแป้งมันเหนียวๆ จะหน้าตาไม่น่าดู แต่ก็หาทำให้ความพยายามของอาสาสมัครทั้ง 16 รายย่อท้อไม่ อาสาสมัครทุกคนจะต้องลงว่ายน้ำใน 2 สระเพื่อเปรียบเทียบ โดยหลังจากว่ายในสระน้ำเหนียวๆ แล้ว พวกเขาจะต้องไปอาบน้ำทำความสะอาดตัว และลงว่ายต่อในสระน้ำธรรมดา
จากการจับเวลาและเปรียบเทียบอาสาสมัครทุกคน คัซเลอร์พบว่า ของเหลวที่มีความหนาแน่นกว่าช่วยเพิ่มพลังในการจ้วงว่ายแต่ละช่วงแขน ซึ่งทำให้แรงในการลากลำตัวพุ่งหน้าในน้ำไปข้างหน้าเพิ่มมากขึ้น
การทดลองช่างสนุกสนาน แต่ให้ตายเหอะ ท้ายที่สุด มันก็โค_ร..ไร้ประโยชน์เป็นอย่างยิ่ง คัซเลอร์กล่าวภายหลังจากได้รับรางวัล
สาขาพลศาสตร์ของไหลได้แก่
แรงตดปู้ดของเพนกวินไกลกว่าของมนุษย์

เจ้าของทฤษฎีวิเคราะห์แรงปู้ดของเพนกวิน (penguin poop propulsion)
คือ เบนโน เมเยอร์-รอคฮาว (Benno Meyer-Rochow) จากมหาวิทยาลัยนานาชาติแห่งเบรเมน (International University of Bremen) เยอรมนี และยอซเซฟ กัลป์ (Jozsef Gal) จากมหาวิทยาลัยโลแรนด์ ออตวอส (Lorand Eötvös University) ในฮังการี
เมื่อธรรมชาติเรียกร้องเจ้าแพนกวินแห่งชายฝั่งอเดลี (Adélie) ในแถบแอนตาร์กติกาก็จะทำท่าอึกๆ อักๆ เดินต้วมเตี้ยมๆ ออกจากรัง เพื่อไปปลดทุกข์ท่ามกลางอากาศหนาวเย็น ซึ่งเจ้าของรางวัลอิก โนเบลได้สังเกตว่า ขณะถ่ายทุกข์เจ้าเพนกวินจะกระดกก้นขึ้น ยกหางและปล่อยสิ่งของไม่พึงประสงค์ออกมา โดยแรงปู้ด...ดดด ที่ปลดปล่อยจากปลายทวารหนักของเพนกวินนั้น มีแรงระเบิดทำล้ายร้างไกลถึง 40 เซนติเมตร
อย่างไรก็ดี ถ้าเปรียบเทียบกับสัดส่วนความสูงและลักษณะทางอนาโตมีของเพนกวินตัวเตี้ยๆ กับพลังลมปราณทางทวารหนักที่ปล่อยออกมาทั้งในแง่ความแรงและความเหนียว (ของสสารที่ตามออกมาด้วย) ทำให้นักวิจัยพบว่า แรงดันภายในช่องทวารของเพนกวินอยู่ที่ประมาณ 10-60 กิโลปาสคาล (หรือแรงประมาณ 1.45 - 8.7 ปอนด์ต่อ 1 ตารางนิ้ว) นับได้ว่าพลังลมปู้ด...ดดด ของเพนกวินนั้นมีกำลังแรงกว่ากำลังปลดปล่อยสูงสุดของมนุษย์ขณะถ่ายทุกข์เช่นกัน
แต่ถ้าใครคิดดูเหมือนว่าจะเป็นผลงานที่ไม่มีสาระทางวิทยาศาสตร์ เมเยอร์-รอคฮาวกล่าวอย่างมั่นใจว่า แน่นอนที่น้อยคนจะรู้ว่ามีประโยชน์อย่างไร ซึ่งถ้าสิ่งที่พวกเขาอธิบายได้รับความสนใจจากผู้ดูแลสวนสัตว์ นักสัตว์และพืชดึกดำบรรพ์ วิศวกร นักสรีรศาสตร์มนุษย์ คนเหล่านี้ก็สามารถนำข้อมูลไปตรวจสอบการสภาพของร่างกายว่าสมบูรณ์หรือไม่ด้วยการดูแรงปลดปล่อยของเหลวผ่านรูทวารต่างๆ นับเป็นสิ่งธรรมดาแต่สำคัญ
สาขาเศรษฐศาสตร์ ได้แก่
นาฬิกาหนีคนขี้เซา
เป็นของกาวรี แนนดา จากสถาบันเทคโนโลยีเมสซาซูเซ็ตส์ (Massachusetts Institute of Technology : MIT)
เขาได้ประดิษฐ์ คล็อกี้ (Clocky) นาฬิกามีล้อสำหรับผู้ที่นอนขี้เซาในตอนเช้า หากตั้งปลุกแล้ว เจ้าของขี้เซาเกิดกดปุ่ม สนูซ (snooze) ขอเวลานอนอีก 5 นาทีแล้วค่อยปลุกต่อ นาฬิกาตัวนี้ก็จะหนีไปซ่อน แน่อนนว่าพอร้องเตือนในอีก 5 นาทีถัดไป เจ้าของต้องลุกขึ้นมาหา รับรองตอนนั้นต้องตื่นแล้วแหง๋ และถ้ายังหานาฬิกาไม่เจอ เสียปลุกมันก็ดังสนั่นไหว ไม่ตื่นไม่ได้แล้ว ซึ่งคณะกรรมการตัดสินรางวัลเห็นว่าแม้จะยังเป็นแค่แนวคิด แต่นี่ก็ช่วยให้เกิดการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างดีเยี่ยม...จึงสมควรได้รับในสาขาเศรษฐศาสตร์ไป
สาขาฟิสิกส์ ยกให้กับการทดลอง
หยดกากน้ำมันดิน (pitch drops)
ที่ต้องใช้เวลาทดลองมาหลายสิบปี โดยรางวัลนี้เป็นของโทมัส พาร์เนลล์ (Thomas Parnell) ที่เคยทำการทดลองไว้ที่มหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ (University of Queensland) เมื่อปี 1927 และจอห์น เมนสโตน (John Mainstone) ก็มาช่วยพัฒนาต่อ
ทั้งนี้ กากน้ำมันดินที่เหนียวๆ ซึ่งตามทฤษฎีของเหลวนั้น แต่ดูเหมือนว่ามีพฤติกรรมเหมือนของแข็ง เพื่อแสดงให้เห็นว่ากากน้ำมันดินเป็นของเหลว พาร์เนลได้ละลายกากน้ำมันดินแล้วนำไปใส่กรวยที่เย็นตัว จากนั้นเขาก็รอแล้วรอเล่า เฝ้าแต่รอ กระทั่ง 8 ปีผ่านไปกากน้ำมันดินหยดแรกก็หลุดออกมาจากกรวย ส่วนหยดที่ 2 ตามมาในอีก 9 ปีถัดจากนั้น และในปี 2000 ก็เพิ่งจะได้เห็นหยดที่ 8 ขณะที่เมนสโตนก็รับช่วงต่อรอหยดที่ 9
สาขาแพทยศาสตร์
อัณฑะเทียมของสุนัข
เป็นของ เกรก มิลเลอร์ (Gregg Miller) จากมิสซูรี ที่สามารถประดิษฐ์อัณฑะเทียมของสุนัขเพื่อใช้แทนของจริง อีกทั้งอัณฑะเทียมดังกล่าวมีให้เลือกถึง 3 ขนาด และมีความฟิตถึง 3 ขั้น
สาขาผู้ปรารถนาสันติภาพเป็นอย่างยิ่ง
เป็นของ 2 นักวิจัยชาวอังกฤษ จากมหาวิทยาลัยนิวคาสเซิล (Newcastle University) ที่เฝ้าจับตาดูกระแสไฟฟ้าอันเกิดจากกิจกรรมในสมองของแมลงจำพวกตั๊กแตนตัวหนึ่งขณะกำลังชมบางตอนสำคัญของภาพยนตร์เรื่องสตาร์วอร์ส...ก็อยากรู้ว่าตั๊กแตนจะเครียดแค่ไหน หากดูหนังสงคราม
สาขาชีววิทยา
ตกเป็นของกลุ่มนักวิจัยจำนวนมากมายและอีกหลายสถาบันที่พยายามดมกลิ่มและจัดทำรายชื่อกลิ่นของกบ 131 สายพันธุ์ ขณะที่กบเหล่านี้อยู่ในภาวะตึงเครียด...กบจะมีกลิ่นอย่างไรบ้าง
สาขาวรรณกรรม
เป็นของกลุ่มชาวไนจีเรียเจ้าของอีเมล์ลูกโซ่ ที่ส่งอีเมล์ถึงผู้ใช้นับล้านๆ คนทั่วโลก ซึ่งถ้าใครได้รับอีเมล์ที่มีใจความแบบนี้ "cast of rich characters ... each of whom requires just a small amount of expense money so as to obtain access to the great wealth to which they are entitled" ... แน่ใจได้เลยว่า คุณได้อ่านวรรณกรรมระดับ (อิก) โนเบลเรียบร้อยแล้ว !@!
อย่างไรก็ดี ในแต่ละปีผู้ที่ได้รับรางวัลต่างก็ยินดีที่จะเดินทางมาร่วมพิธี และจะมีโอกาสขึ้นไปกล่าวอะไรเพียงแค่ 1 นาทีเท่านั้น โดยมีเด็กน้อยวัย 8 ขวบเป็นผู้ควบคุมพิธีการ ถ้าหากผู้ได้รับรางวัลกล่าวสุนทรพจน์เกินเวลา เด็กน้อยก็จะตะโกนออกไปว่า
กรุณาหยุดได้แล้ว หนูเบื่อเต็มที !!
แต่เมเยอร์-รอคฮาวและกัลล์ เจ้าของรางวัลแรงตดนกเพนกวิน ไม่สามารถมาร่วมงานได้ แต่ส่งวิดิโอเทปกล่าวสุนทรพจน์มาฝากเปิดในงาน แถมยังบอกถึงเหตุผลที่มาร่วมงานไม่ได้ว่า เพราะขอวีซาเข้าสหรัฐฯ ไม่ได้ (ฮา....)

งานบางชิ้นช่างดูเพี้ยนๆ แปลกๆ นั่นแหละจะทำให้พวกคุณหัวเราะปกฮา และจากนั้นมันก็จะทำให้คุณได้คิด ซึ่งนั่นก็เป็นจุดเริ่มต้นที่เราจะได้คิดอะไรแปลกๆ ต่อไป
Marc Abrahams
ผู้ก่อตั้งรางวัลอิกโนเบล
ที่มา:
สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นิวไซแอนติส/เอเอฟพี/ดิเอจ
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=nmapxp&group=4
^O-O^