ขอเพลงหน่อยครับ

เชิญมาพักผ่อน คลายร้อนนั่งเล่น คุยกันเย็นๆ พร้อมเรื่องกีฬา สัพเพเหระ ทัศนะนานา ชีวิตชีวา สุขภาพทั่วไป บันเทิงขำขัน รอบเรื่องเมืองไทย ชวนเที่ยวที่ไหน อยากไปก็นัดมา ...โย่วๆ

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
Raphin Phraiwal
Verified User
โพสต์: 1342
ผู้ติดตาม: 0

ขอเพลงหน่อยครับ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ขอเพลงจุฬาตรีคูณหน่อยครับ

จำไม่ได้ว่าพี่ท่านใดสามารถจัดเพลงให้ได้ (พี่ matrix พี่ bsk หรือพี่ปุย) ขอรบกวนหน่อยนะครับ
รักในหลวงครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
por_jai
Verified User
โพสต์: 14338
ผู้ติดตาม: 0

ขอเพลงหน่อยครับ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

8) ท่านจอมพรานครับ
    พี่บี ครับ ตัวจริง เสียงจริง
    อีกคนที่ทำได้น่าจะเป็นน้องหวีครับ
    แต่ผมดูลีลาการจัดแล้ว พี่บีนี่เค้าระดับ
    วิทยา ศุภพรโอภาส
    ส่วนน้องหวีนี่มาแรง
    พวกภูวนาท คุนผลินครับ..

    โอ้โฮ เพลงที่ขอมา แก่ขนาดผม
    ยังครางฮือเป็นนกถึดทือเลยนะครับ
    "จุฬาตรีคูณ"
กรูเก่ง กิเลสเก่งกว่า
MarginofSafety
Verified User
โพสต์: 5786
ผู้ติดตาม: 0

ขอเพลงหน่อยครับ

โพสต์ที่ 3

โพสต์

[quote="por_jai"]8) ท่านจอมพรานครับ
"Winners never quit, and quitters never win."
ภาพประจำตัวสมาชิก
Raphin Phraiwal
Verified User
โพสต์: 1342
ผู้ติดตาม: 0

ขอเพลงหน่อยครับ

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ขอบคุณครับพี่พอใจ

วันนี้ร้องเพลงกล่อมลูกนอนอยู่ครับ อยู่ๆก็นึกถึงเพลงนี้ขึ้นมา แต่ร้องเนื้อไม่เป็น เลย diving (ดำน้ำ)ซะส่วนใหญ่

โดยปกติแล้ว ผมเป็นคนร้องเพลงเสียงสุนัขยังเมิน แต่ลูกผมยังไม่รู้เดียงสาครับ เขาคงคิดว่าเสียงผมเพราะมาก เห็นเคลิ้มหลับเป็นประจำ  :lovl:
รักในหลวงครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Raphin Phraiwal
Verified User
โพสต์: 1342
ผู้ติดตาม: 0

ขอเพลงหน่อยครับ

โพสต์ที่ 5

โพสต์

[quote="HVI"]
อ่านที่พี่พอใจเขียนแล้วผมขำ ...
รักในหลวงครับ
MarginofSafety
Verified User
โพสต์: 5786
ผู้ติดตาม: 0

ขอเพลงหน่อยครับ

โพสต์ที่ 6

โพสต์

Raphin Phraiwal เขียน:
เวอร์ชั่นไหนก็ได้ครับท่านน้องหวี (ขอเรียกน้องแล้วกัน เดาว่าน่าจะอายุต่ำกว่า 30)
ครับ... เกือบๆแล้วครับ
ผมลองไปหาแล้วไม่เจอครับ มีแต่ Grammy Gold ชุด 1
เลยลองไปหา website ที่เปิดเพลงนี้ เอามาฝากครับ

จุฬาตรีคูณ คลิ้กเลยครับ

มี 2 version ทั้ง นันทิดา และ ก๊อตครับ
แหม... คุณพ่อร้อง "จุฬาตรีคูณ" กล่อมลูก น่ารักจริงๆ ...  :D
"Winners never quit, and quitters never win."
ภาพประจำตัวสมาชิก
เพื่อน
Verified User
โพสต์: 1826
ผู้ติดตาม: 0

ขอเพลงหน่อยครับ

โพสต์ที่ 7

โพสต์

[quote="Raphin Phraiwal"]ขอบคุณครับพี่พอใจ

วันนี้ร้องเพลงกล่อมลูกนอนอยู่ครับ อยู่ๆก็นึกถึงเพลงนี้ขึ้นมา แต่ร้องเนื้อไม่เป็น เลย diving (ดำน้ำ)ซะส่วนใหญ่

โดยปกติแล้ว ผมเป็นคนร้องเพลงเสียงสุนัขยังเมิน แต่ลูกผมยังไม่รู้เดียงสาครับ เขาคงคิดว่าเสียงผมเพราะมาก เห็นเคลิ้มหลับเป็นประจำ
ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

ขอเพลงหน่อยครับ

โพสต์ที่ 8

โพสต์

มาร่วมสมทบทุนคับ..
รูปภาพ

มี OSK ท่านหนึ่ง ท่านเป็นชาวปัตตานีโดยกำเนิด ไม่เพียงแต่ท่านจะเป็นนักเขียนในทำเนียบแถวหน้าของเมืองไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แต่ท่านยังเป็นเซียนปืน เจ้าของคอลัมน์ผ่าปืนใน นสพ เดลินิวส์ อันเป็นที่มาของอาวุธปืนบราวนิง ออโต้5 ในนวนิยายที่เป็น เพชร อย่างที่สุดอย่าง เพชรพระอุมา ที่ใช้เวลาเขียนนานที่สุดเกือบ ๒๖ ปี ท่านคือ OSK พนมเทียน หรือในอีกนามร่างหนึ่งคือ ฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ OSK61? ... ความยิ่งใหญ่ของท่านเริ่มเป็นที่ประจักษ์ต่อสังคมเมื่อท่านอายุได้เพียง ๑๗ ปี (พ.ศ.๒๔๙๑) ขณะที่ท่านเข้าเรียนในสายเตรียมอักษรศาสตร์ของสวนกุหลาบวิทยาลัย ในขณะนั้นท่านประพันธ์ "จุฬาตรีคูณ" ซึ่งแท้จริงแล้วไม่ได้เป็นนวนิยายเรื่องแรกของท่าน หากแต่เป็นเรื่องที่สอง ทว่าถ้าจะถือเอานามปากกาพนมเทียน และงานประพันธ์ที่ออกไปสู่สาธารณชน ก็ย่อมถือได้ว่าเป็นเรื่องแรกอย่างแน่นอน และจุฬาตรีคูณนี่แหละคือต้นกำเนิด ความเป็นมาของนักประพันธ์อาชีพคนหนึ่ง ที่ท่านรู้จักในนาม "พนมเทียน" แห่งสวนกุหลาบวิทยาลัย .. โด่งดังขนาดที่ครูแก้ว อัจฉริยะกุล ซึ่งเป็นนักแต่งเพลงชื่อก้องของวงสุนทราภรณ์ได้ร่วมมือกับครูเอื้อ สุนทรสนาน เจ้าของวงดนตรีสุนทราภรณ์ แต่งเพลงประกอบละครเรื่อง "จุฬาตรีคูณ" ของหนุ่มน้อยพนมเทียนผู้นี้ในปี พ.ศ.๒๔๙๔ ปีที่พนมเทียนอายุย่าง ๒๐ ปีบริบูรณ์เท่านั้นเอง! ... อีกทั้งแต่งเพลงประจำเรื่องจุฬาตรีคูณให้อีก ๔ เพลง คือ เพลงเจ้าไม่มีศาล เพลงอ้อมกอดพี่ เพลงใต้ร่มมลุลี และเพลงปองใจรัก ซึ่งเพลงทั้ง ๕ นี้เป็นเพลงอมตะมาจนถึงปัจจุบัน ทำให้ชื่อของพนมเทียนผู้เขียนนิยายเรื่องจุฬาตรีคูณยิ่งดังกระหึ่มไปทั่วประเทศไทยไปด้วย หลังจากนั้นพนมเทียนก็ได้เขียนนิยายอีกมากมายหลายเรื่องหลายแนว ซึ่งล้วนเป็นที่นิยมของคนอ่านทั่วทั้งประเทศไทย

สนใจอ่านเพิ่มเติม:




OSK พนมเทียน (ฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ) ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๐ --> http://osknetwork.com/modules.php?name= ... le&sid=726
40 ปี เพชรพระอุมา มหากาพย์วรรณกรรมไทยของชาวสวนฯ --> http://osknetwork.com/modules.php?name= ... le&sid=502
ชานชาลานักเขียน: ฉลอง 40 ปี เพชรพระอุมา คมปากกา OSK พนมเทียน --> http://www.osknetwork.com/modules.php?n ... le&sid=530  
ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

ขอเพลงหน่อยครับ

โพสต์ที่ 9

โพสต์

เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๑ เด็กนักเรียนสวนกุหลาบ อายุ ๑๗ คนหนึ่ง แต่งนิยายเรื่องจุฬาตรีคูณ บรรยายไว้เพริศแพร้วว่า

" อดีตกาลอันไกลโพ้น กระแสแพรวเพริดเลื่อมเงาเงินประกายทองคู่หนึ่ง ไหลเรื่อยคู่ขนานกันมาจากดินแดนอันแสนไกล และวกใกล้เข้ามาบรรจบกันเป็นวังวนวิไล เงินและทองแซมไสวมิปะปน แหล่งนั้นบรรเจิดวิจิตรชวนฉงนเป็นยิ่งนัก คราใดเมื่อรัตติกาลไร้เดือน ก็ดูราวกับจะยิ่งเตือนให้งดงามเป็นทวีคูณ ด้วยว่าจะเห็นเป็นหัตถ์อสูรสอดศิลาเศวตมาทาบไว้กับฟ้าอินทนิล รวมกันเป็นสามกระแสสินธุ์ประเสริฐ ทิวาคล้อยผ่านรัตติกาลเคลื่อนมาแทนที่ ธารน้ำทั้งสามเมื่อรับกับรัศมีดาวก็ดูประหนึ่งจะสะท้อน ระริกระเริงริ้วเล่นลมดึกอยู่ครึกครื้น บางครั้งสีเศร้าสลด สะึอึกรันทดระทม ดังว่ามีวิญญาณวิปโยคสิงสถิตอยู่ ท่านผู้เจริญ แหล่งประหลาดนี้ มีนามว่า "จุฬาตรีคูณ"

เด็กหนุ่มคนนั้นถือต้นฉบับไปพบนักแต่งเพลงผู้ยิ่งใหญ่แห่งยุคสองคน คือครูเอื้อ สุนทรสนาน และครูแก้ว อัจฉริยะกุล
ทั้งสองท่านได้แต่งเพลงประกอบให้ ๕ เพลง สอดคล้องกับเรื่องอย่างน่าอัศจรรย์ในการเรียบเรียงทั้งเนื้อร้องและทำนอง
แล้วนำไปเป็นละครวิทยุทางกรมประชาสัมพันธ์
ชื่อเสียงของ "พนมเทียน" เป็นที่รู้จักกันนับแต่นั้น
แม้ว่าโลกหนังสือจะรู้จักชื่อเสียงท่านจาก "เพชรพระอุมา" มากกว่าก็ตามที แต่แววของศิลปินแห่งชาติ มีให้เห็นตั้งแต่อายุ ๑๗

๒๔๙๒ ปีต่อมา จุฬาตรีคูณ กลายเป็นละครเวที และต่อมาก็เป็นภาพยนตร์ และละครโทรทัศน์อีกหลายครั้ง
เพลงในเรื่องนี้ ได้ชื่อว่าเป็นเพลงชุดอมตะชุดหนึ่งของไทย เช่นเดียวกับชุด "ผู้ชนะสิบทิศ"
ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

ขอเพลงหน่อยครับ

โพสต์ที่ 10

โพสต์

ที่มาของจินตนิยายเรื่อง จุฬาตรีคูณ


เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๐ ผมเรียนอยู่ชั้นมัธยม ๖ โรงเรียนวัดสุทธิวราราม ตอนนั้นอายุ ๑๖ ปี

ในชั้นเรียน มีบทเรียนภาษาไทยอยู่เล่มหนึ่ง (ในยุคนั้น) คือเรื่องกามนิต อันเป็นนิยายเกี่ยวกับเกร็ดพุทธประวัติในบางส่วน ในเรื่องกามนิตเป็นพระเอก วาสิฏฐีเป็นนางเอก เป็นนิยายรักหวานเศร้าๆ อิงธรรมะ มีข้อความอยู่ตอนหนึ่งที่กระทบใจผมอย่างแรงและอย่างลึกซึ้ง คือเป็นบทสนทนาระหว่างกามนิตกับวาสิฏฐีเกี่ยวพันไปถึงวังน้ำวนอันศักดิ์สิทธิ์แหล่งหนึ่ง ซึ่งเกิดจากแม่น้ำคงคาไหลมาบรรจบพบกับแม่น้ำยมุนา กลายเป็นวังน้ำวนขึ้นยังตำแหน่งที่แม่น้ำสองสายมาพบกันนั้น และในเวลากลางคืน บนท้องฟ้าก็จะมีทางช้างเผือกขาวไสวไหลเลื้อยมาเหมือนจะมาบรรจบกับตำแหน่งที่คงคาและยมุนาบรรจบพบกันด้วย อันเรียกทางช้างเผือกด้านบนนั้นว่าคงคาสวรรค์ กลายเป็นการบรรจบกันของแม่น้ำสามสาย บนพื้นพิภพสองสาย ผนวกเข้ากับเบื้องบนสวรรค์อีกหนึ่งสาย

ตำแหน่งที่แม่น้ำทั้งสามสายมาบรรจบกันนี้ เรียกว่า จุฬาตรีคูณ!!

ในฐานะที่เป็นนักคิดนักเขียน (โดยยังไม่รู้ตัวเองในขณะนั้น) มาแต่ไหนแต่ไรแล้ว คำว่า จุฬาตรีคูณ ถูกเก็บไว้ในใจผมนานพอสมควร ตลอดระยะเวลาที่ยังเรียนอยู่ ม.๖ นั้น คิดอยู่ในใจว่าเป็นชื่อที่ไพเราะเป็นสถานที่ (ตามลักษณะบรรยาย) ที่สวยงามชวนฝัน ถ้าเราจะเอาคำนี้มาขยายความโดยเขียนเป็นนวนิยายรักเศร้าๆ ขึ้นสักเรื่องหนึ่ง คงจะสมกับความอยาก หรือความใฝ่ฝันที่เคยมีไว้เป็นแน่

รุ่งขึ้นอีกปีหนึ่ง คือ พ.ศ. ๒๔๙๑ ผมผ่านพ้น ม.๖ มาเรียนแผนกเตรียมอักษรศาสตร์ที่สวนกุหลาบวิทยาลัย ในปีนี้เองผมได้เรียนลึกลงไปในประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ของอินเดียโบราณ และได้ค้นลึกลงไปกว่าตำราที่เรียนอีก จากงานของสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ซึ่งทรงนิพนธ์ไว้เกี่ยวกับประวัติและภูมิศาสตร์ของชมพูทวีปในสมัยพุทธกาล

ได้พบว่า แม่น้ำคงคาและแม่น้ำยมุนา มีจุดบรรจบพบกันจริง ที่เมืองพาราณสี แห่งแว่นแคว้นกาสี (คือเมืองพาราณสีซึ่งเป็นเมืองหลวงของแคว้นนี้) เพราะฉะนั้น ในทางภูมิศาสตร์แล้ว ตำแหน่งของ จุฬาตรีคูณ จะต้องมีจริงอยู่ที่เมืองนี้

นี่ยิ่งเป็นจุดบันดาลใจเพิ่มทวีขึ้นไปอีก กับความคิดฝันไว้เงียบๆ มานานแล้ว แต่ยังหาโครงเรื่องหรือ พล็อต ไม่ได้ ว่าจะเอายังไงดี รู้แน่ๆ แต่เพียงว่าจะต้องเป็นแบบจินตนิยายเรื่องในสมัยอดีตกาลนั้น แน่นอน และควรเป็นจินตนิยายแบบรักเศร้าๆ ตามที่กำหนดไว้แต่ครั้งแรกด้วย

มาวันหนึ่ง ไปศึกษาในตำราของเทววิทยา อันบรรยายถึงเรื่องราวเทพเจ้าต่างๆ ของกรีก พบเอาเทพบุตรองค์หนึ่ง นามว่า นาซิสซัส

นาซิสซัสนั้นเป็นเทพบุตรหนุ่มโฉมงาม ผู้ซึ่งมองลงไปในแผ่นน้ำ เห็นเงาอันสวยงามของตนเองแล้วก็หลงรักเงา เป็นเทพที่หลงรักโฉมของตนเอง!

ผมแปลกใจ อะไรกันหว่า มีการเห็นเงาตนเองแล้วมาหลงรักตัวเองด้วย

นาซิสซัสนั้นเป็นเพศชาย

จินตนาการของผมโลดแล่นต่อไป นาซิสซัสยังหลงรักเงาตัวเองได้ ถ้าจะมีผู้หญิงสักคน (ควรเป็นเจ้าหญิง) มีความคิดเป็นตรงข้ามล่ะ คือ เห็นความงามของตนเองแล้ว แทนที่จะชื่นชอบกลับเกลียดชังความงามของตนเอง?...

และเมื่อจะเกลียดชังความงามของตนเอง มันก็จะต้องมีเหตุผลด้วยว่าเป็นเพราะเหตุใด?...

สมองในขณะนั้นก็วิ่งปราดๆ ทันที พล็อตหรือโครงเรื่องถูกกำหนดขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งมันจะต้องเกี่ยวพันกับวังน้ำวน จุฬาตรีคูณ ด้วย ตำแหน่งจุฬาตรีคูณจะต้องเป็นโครงสร้างใหญ่หรือเป็นสถานที่สำคัญของเรื่อง

ชื่อของตัวละครถูกกำหนดขึ้น แผนที่ทางภูมิศาสตร์โบราณถูกนำมากาง อย่างน้อยก็มีภูมิศาสตร์หรือลักษณะของภูมิประเทศเป็นของจริงเพื่อจุดชนวนความคิดฝันประกอบเรื่องขึ้นแล้ว

และนี่จึงเป็นที่มาของเนื้อร้องเพลง-เพลงหนึ่งที่ว่า

....ดารารายเลิศโสภา ข้าไม่นำพาเพราะกลัวว่าจะถูกสังเวย โปรดสาปสรรค์ขอให้โฉมอันน่าเชย สิ้นสวยเลยไร้ค่า....

อันประพันธ์ขึ้นโดยบรมครูเพลงสองท่าน คือทำนองนั้น ครูเอื้อ สุนทรสนาน และเนื้อร้องเป็นของ ครูแก้ว อัจฉริยะกุล ซึ่งถอดไปจากข้อความเนื้อหาในเรื่องจุฬาตรีคูณนั่นเอง อันผมจะได้เล่าต่อไปว่า ไปยังไงมายังไง ท่านทั้งสองจึงเข้ามาเกี่ยวพันกับเรื่องจุฬาตรีคูณ ที่เด็กอายุเพียง ๑๗ ปีแต่งขึ้นด้วย

กลางวันเรียนหนังสือตามปกติ กลางคืนซึ่งมีเวลาว่างเพียงเล็กน้อย ก็แต่งเรื่องจุฬาตรีคูณ เขียนโดยปากกาหมึกซึม ลงในกระดาษจดงานเรียนหนังสือนั่นแหละ ประมาณสักเกือบเดือนหรือเดือนเศษๆ ก็จบเรื่องด้วยลายมืออันขยุกขยิกเหมือนยุงตีกัน

ขณะนั้น ผมมีเพื่อนของพี่ชายอยู่คนหนึ่ง เป็นอัยการ ชื่อ คุณอรุณ แสงทอง พี่อรุณคนนี้เป็นนักดูลายมือตัวฉกาจด้วย และศึกษาหาวิชาความรู้ในทางลายมืออยู่ไม่ได้ขาด แกไปได้ตำราดีเป็นภาษาอังกฤษมาเล่มหนึ่งชื่อ ปาล์มมิสทรี เขียนโดย คีโร่ หรือแท้ที่จริงเป็นถึงท่านเคานท์แห่งอังกฤษชื่อ เคานท์หลุยส์ แฮมมอน พี่อรุณเป็นนักพิมพ์ดีดภาษาไทยที่คล่องมากสามารถพิมพ์สิบนิ้วได้อย่างรวดเร็ว ได้เสนอแลกเปลี่ยนกับผมมาว่า ถ้าผมแปลตำราปาล์มมิสทรีให้แก แกจะเอาต้นฉบับเรื่องจุฬาตรีคูณ ที่เขียนด้วยลายมือไก่เขี่ยของผมไปพิมพ์ให้เรียบร้อยแถมสำเนาให้อีกหนึ่งชุด

ผมตกลงทันที เพราะอยากจะเห็นต้นฉบับเรื่องนี้ในสภาพที่สมบูรณ์ สามารถนำเอาไปเสนอให้สำนักพิมพ์ดูได้โดยสะดวก แล้วผมก็ได้ต้นฉบับที่พิมพ์เสร็จเรียบร้อยพร้อมทั้งสำเนามาด้วย ภายหลังจากทำตามข้อตกลงซึ่งผมไม่สนใจว่าตำราดูลายมือของพี่อรุณจะหนาสักขนาดไหน ส่วนต้นฉบับของผมบางแค่ไหน ประมาณว่า ๒-๓ เดือนเราสามารถแลกเปลี่ยนกันได้ต้นฉบับตัวพิมพ์ดีดหน้ายาวขนาดฟูลสแคปไซส์มีอยู่ประมาณ ๑๒๐ หน้าพิมพ์ พอจะเป็นหนังสือพ็อกเก็ตบุ๊คได้หนึ่งเล่ม ซึ่งในยุคนั้นยังไม่มีหนังสือขนาดพ็อกเก็ตบุ๊คพิมพ์ขายในเมืองไทย มีแต่เล่มปกแข็งหนาๆ อันเป็นเรื่องค่อนข้างยาว และที่ส่งลงในนิตยสารรายสัปดาห์เสียเป็นส่วนใหญ่
ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

ขอเพลงหน่อยครับ

โพสต์ที่ 11

โพสต์

ยุคนั้น บ้านผมอยู่ตรอกจันทร์ จากปากตรอกนั่งรถรางมาลงที่สีลมแล้วเปลี่ยนรถรางอีกต่อหนึ่ง ก็จะมาถึงสวนลุมพินีอย่างง่ายๆ สมัยนั้นรถไม่ติด ไปไหนมาไหนแสนจะสะดวกสบาย หลังเลิกเรียนแล้ว หรือเวลาวันหยุด ผมมักจะไปที่พระบรมรูปของล้นเกล้าฯ ร.๖ อันประดิษฐานอยู่หน้าสวนลุมเสมอ ตอนนั้นพระบรมรูปหรือพระราชานุสาวรีย์ของพระองค์ท่านเพิ่งจะสร้างขึ้นใหม่ๆ ฐานพระบรมรูปยังเตี้ยอยู่ ไม่แลดูสูงตระหง่านงามเหมือนปัจจุบันนี้ ผมไปนั่งเล่น หรือบางทีก็วิ่งเล่นที่ลาน หรือที่ฐานโดยรอบของพระบรมรูปอยู่ตลอดเวลา ไปกับเพื่อนบ้าง ไปคนเดียวบ้าง ไม่ทราบว่ามีอะไรติดอกติดใจ ฝังลึกอยู่กลางใจมานาน เกี่ยวกับล้นเกล้าฯ ร.๖ และผลงานพระราชนิพนธ์ของท่าน ผมศึกษาบทพระราชนิพนธ์ทุกเรื่องทั้งที่อยู่ในภาคบังคับให้เรียน (ในแผนกอักษรศาสตร์) และนอกเหนือจากที่เป็นตำราเรียน รู้สึกมีความดื่มด่ำผูกพันเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะอยู่เฉพาะพระพักตร์ของพระรูป หรืออยู่ที่ไหนก็ตาม ผมบนบานศาลกล่าวกราบบังคมทูลบอกท่านอยู่ตลอดเวลา ว่าผมอยากจะเป็นนักเขียน นักประพันธ์ ขอให้ลูกได้สำเร็จลุล่วงตามใจปรารถนาด้วยเถิด ผมภาวนาอยู่เช่นนี้เป็นประจำทั้งๆ ที่ผมหรือต้นตระกูลของผมก็ไม่ได้รับใช้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทมาก่อนใดทั้งสิ้น ท่านเสด็จสวรรคตก่อนผมเกิดเสียด้วยซ้ำ (ท่านสวรรคต พ.ศ. ๒๔๖๘ ในขณะที่ผมเกิดในปี ๒๔๗๔)

ในระหว่างที่เขียนเรื่องจุฬาตรีคูณนั้น เหมือนมีอะไรมาดลบันดาลให้สมองและความคิดอ่านของผมมันปราดเปรื่องแจ่มใส อะไรที่ไม่เคยรู้ก็ดูเหมือนจะรู้ขึ้นมาได้เองสารพัดอย่างแตกฉานในเรื่องภาษาเขียนอย่างไม่น่าที่จะเป็นไปได้สำหรับเด็กในวัยขนาดนั้น จนผมก็อดที่จะประหลาดใจตนเองไม่ได้เหมือนกัน ผมเชื่อแน่จนบัดนี้ว่ามีพลังงานอันศักดิ์สิทธิ์แรงกล้าชนิดหนึ่งคอยเกื้อหนุนและผลักดันให้ผมเขียนอยู่ตลอดเวลา เป็นพลังงานที่ผมกราบไหว้อยู่ทุกคืนวัน จากวันในอดีต-มาจนถึงวันในปัจจุบันนี้...

ว่าถึงบทประพันธ์ที่พิมพ์ดีดเสร็จ เนื่องจากผมยังเป็นนักเรียนและวัยอ่อนเยาว์นัก ผมไม่มีโอกาสที่จะนำผลงานของตนเองไปเสนอให้สำนักพิมพ์แห่งใดได้มากนัก จำได้ว่าเข้าไปสองแห่ง คือที่สยามสมัย ของครูชั้น แสงเพ็ญ และที่นิตยสารชื่อเริงรมณ์ ขณะนั้นบริหารโดย พี่เสนีย์ บุษปะเกษ

ทั้งสองแห่งผิดหวังครับ ไม่ได้รับการพิจารณา

จนกระทั่งปลายปี ๒๔๙๑ ผมส่งเรื่องจุฬาตรีคูณ ไปให้พี่วรุณ ฉัตรกุล ณ อยุธยา ดู ตอนนั้นจำไม่ได้ว่าพี่วรุณบริหารอยู่ในหนังสือประเภทนิตยสารชื่ออะไร แต่มาทราบภายหลังว่า พี่วรุณได้ส่งเรื่องนี้ไปให้ แก้วฟ้า หรือ ครูแก้ว อัจฉริยะกุล ซึ่งขณะนั้นเป็นทั้งนักแต่งเนื้อเพลง และเจ้าของคณะละครวิทยุชื่อ คณะแก้วฟ้า ได้พิจารณาดูอีกทีหนึ่ง

ประมาณสองอาทิตย์ ครูแก้วเรียกผมไปพบเพื่อดูตัว ภายหลังจากสอบซักว่า ผมเขียนเรื่องนี้ขึ้นด้วยตัวเองจริงหรือ ซึ่งผมก็ยืนยันไป ครูแก้วก็บอกว่าจะส่งเสริมให้ โดยจะนำไปแสดงละครวิทยุและแต่งเพลงประกอบเรื่องให้ เอาให้ดังเลย เพราะครูแก้วก็ชอบในเนื้อหาลีลาของเรื่องมาก เพลงก็จะแต่งประกอบเรื่องให้ถึง ๕ เพลง เพื่อให้เข้ากับเนื้อหาข้อความของเรื่องประกอบด้วย เพลงจุฬาตรีคูณ, เจ้าไม่มีศาล, อ้อมกอดพี่, ใต้ร่มมะลุลี และเพลงปองใจรัก

มีข้อแม้อยู่อย่างเดียวว่าในระยะแรกเริ่มนี้ จะต้องใช้นามปากกาควบคู่กันไปก่อน คือ แก้วฟ้า-พนมเทียน หมายถึงว่าให้แก้วฟ้าอันเป็นนักประพันธ์รุ่นอาช่วย ฝึกบิน ให้ก่อน เพราะมีชื่อมาก่อน ส่วน พนมเทียน นั้น ยังเป็นนักประพันธ์ใหม่ไม่มีใครรู้จัก ถ้าปล่อยเดี่ยวก็อาจไม่เป็นที่ศรัทธาของคน

ไม่มีปัญหา ผมตกลงทันทีครับ แก้วฟ้า-พนมเทียน ก็ได้ ขอให้ผลงานที่ทำไว้ได้ปรากฎออกไปสู่สาธารณชนเท่านั้น เป็นยอดของความปรารถนาแล้ว

ครูแก้วเริ่มงานทันที และอย่างตั้งใจเอาใจใส่อย่างเต็มที่ร่วมกับครูเอื้อหรือ สุนทราภรณ์ แต่งเพลงชุดของจุฬาตรีคูณขึ้น โดยครูเอื้อเป็นผู้ให้ทำนองครูแก้วให้เนื้อ ก่อนจะให้ทำนองครูแก้วก็อธิบายกับครูเอื้อให้เข้าใจเสียก่อนว่า ลีลาของเพลงนั้นๆ อยู่ในลักษณะท่วงทำนองอย่างไหน รัก, ทุกข์โศก, เศร้า, รำพึงรำพัน, ลาจาก อะไรเหล่านี้ และครูแก้วก็ให้ครูเอื้ออ่านเรื่องเพื่อให้เข้าใจแนวทางเสียก่อนด้วย ทั้งสองท่านเอาใจใส่อย่างจริงจังต่อเรื่องนี้ ซึ่งผมขอกราบคารวะดวงวิญญาณท่านทั้งสอง ไว้ ณ ที่นี้ด้วย

ระหว่างที่ท่านทั้งสองกำลังขะมักเขม้นช่วยกันแต่งเพลงประกอบเรื่อง ผมก็เทียวไปเทียวมา เพื่อไป ขอดูมั่ง ที่กรมประชาสัมพันธ์ (ยุคก่อนตั้งอยู่ที่มุมถนนราชดำเนิน) แทบทุกวัน หลังเลิกเรียน ทำให้สนิทสนมคุ้นเคยกับท่านทั้งสอง นักดนตรี และนักร้องประจำวงเป็นอย่างดี เพลงทั้ง ๕ แต่งเสร็จก่อนการนำมาแสดงเป็นละครวิทยุและได้เผยแพร่ออกไปทางวิทยุกรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งเป็นเพลงไพเราะที่ผู้คนสนใจกันมาก ในยุคแรกนั้นจุฬาตรีคูณ ร้องโดย คุณมัณฑนา โมรากุล, เจ้าไม่มีศาล ร้องโดย คุณวินัย จุลละบุษปะ, อ้อมกอดพี่ ร้องโดย ครูเอื้อ เอง, ใต้ร่มมะลุลี ร้องคู่โดย คุณวินัย จุลละบุษปะ และ คุณเพ็ญศรี พุ่มชูศรี ส่วนเพลงสุดท้าย ปองใจรัก ร้องโดย ครูเอื้อ และคุณมัณฑนา โมรากุล เป็นเพลงร้องคู่อีกเช่นกัน

ภายหลังเพลงดังอยู่ในตลาดเพลงประมาณ ๒-๓ เดือน จุฬาตรีคูณถูกนำมาเป็นละครวิทยุโดยกรมประชาสัมพันธ์ สองตอนจบ ตอนละเว้นห่างหนึ่งเดือน ใช้เพลงทั้ง ๕ ประกอบเรื่องโดยตลอด โดยคณะ แก้วฟ้า ซึ่งจัดว่าเป็นละครเพลงที่ได้รับการสนใจมาก เปิดฟังกันแทบทุกครัวเรือนที่มีเครื่องรับวิทยุ (สมัยนั้นยังไม่มีโทรทัศน์ แหล่งบันเทิงของผู้คนทั่วไปที่อยู่บ้านก็คือละครวิทยุภาคดึกเท่านั้น)

พอขึ้นต้นปี ๒๔๙๒ ผมก็ได้ข่าวจากครูแก้วว่า จุฬาตรีคูณจะถูกนำออกแสดงทางละครเวที ที่ศาลาเฉลิมไทยโดยคณะเทพไทย (หรือลูกไทยอย่างใดอย่างหนึ่ง ผมจำไม่ได้แน่) ผมดีใจมาก ชื่อของผม พนมเทียน ติดตามหลัง แก้วฟ้า ปรากฎเป็นคัตเอ๊าท์อยู่บริเวณส่วนหน้าของโรงละครเฉลิมไทย เห็นได้ถนัดเป็นครั้งแรก ชื่อของ พนมเทียน เป็นส่วนหนึ่งของเจ้าของบทประพันธ์ แสดงออกทางเวทีละคร ก่อนที่ผลงานชิ้นใดจะได้มีโอกาสตีพิมพ์ในหน้ากระดาษ

ในการแสดงเป็นละครเวทีครั้งนั้น ก็ประสบความสำเร็จอย่างมากมาย ใช้เวลาแสดงอยู่ไม่ต่ำกว่า ๒-๓ อาทิตย์ และที่ผมขนลุกซู่ตลอดทั้งกาย (ที่ได้ทราบข่าว) ก็คือ คณะจัดการแสดงนั้นได้นำรายได้ส่วนหนึ่งเป็นการกุศลสมทบทุนเสริมสร้างฐานพระบรมรูปของ ร.๖ ที่หน้าสวนลุมฯให้สูงเด่นเป็นสง่าขึ้นอย่างเช่นทุกวันนี้ เรื่องนี้ผมไม่ได้ทราบมาก่อนเลย เป็นเหตุการณ์ที่บังเอิญประจวบเหมาะเหลือเกิน-หรือมิฉะนั้น สิ่งศักดิ์สิทธิ์ก็มีอยู่จริง...

ถ้าจะถามในทางภูมิศาสตร์ว่า จุฬาตรีคูณนั้นเป็นสถานที่อันมีอยู่จริงหรือ

คำตอบก็คือ มีอยู่จริงครับ ในปัจจุบันนี้ ชาวพื้นเมืองในอินเดียเรียกสถานที่นี้ว่า สังคัม อยู่ในเมืองอัลลาฮะบัด แห่งอุตรประเทศ ซึ่งในยุคนี้ ไม่ได้เรียกว่าเมืองพาราณสี หรือแคว้นกาสีอีกแล้ว มีการกล่าวอ้างกันว่าใต้พื้นพิภพเบื้องล่างลงไป ยังตำแหน่งที่แม่คงคาและแม่ยมุนามาบรรจบกันนั้น ยังมีตาน้ำของแม่น้ำสุรัสวดี โผล่ผุดขึ้นมาผสมร่วมเข้าด้วย รวมเป็นสามสายแม่น้ำเหมือนกัน แต่คนยุคใหม่ไม่รู้จักคงคาสวรรค์ หรือทางช้างเผือกที่เป็นสายอยู่บนห้วงท้องฟ้าเสียแล้ว

ไหนๆ ก็เล่ามาให้ฟังจนถึงแค่นี้แล้ว ก็เลยเล่าต่ออีกนิด เรื่องจุฬาตรีคูณไม่ใช่บทประพันธ์เรื่องแรกของ พนมเทียน หรอกครับ หากแต่เป็นเรื่องที่สอง เรื่องแรกนั้นเป็นเรื่องบู๊ประสาเด็กในวัยคะนองชื่อเรื่อง เห่าดง ทั้งสองเรื่องนี้ ภายหลังจากเขียนเสร็จแล้ว ก็เก็บดองอยู่นาน เพราะเสนอไปที่ไหนก็ไม่มีใครสนใจ (มีแต่เรื่องจุฬาตรีคูณเท่านั้น ที่ไปทำเพลงและเป็นละครดังที่ได้บอกแล้ว) ต่อมาอีกตั้ง ๖ ปีแน่ะครับ ภายหลังจากได้เขียนเรื่อง ปฐพีเพลิง และ มัสยา ซึ่งมีโอกาสตีพิมพ์ออกไปแล้ว โดยสำนักพิมพ์เพลินจิตต์ ทั้งสองเรื่องที่เขียนไว้ตั้งแต่ยังเป็นเด็กนี้จึงได้ถูกเรียกร้องให้ส่งเข้าไปพิมพ์

และก็พิมพ์ติดต่อกันมาเรื่อยจนกระทั่งบัดนี้

พนมเทียน
ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

ขอเพลงหน่อยครับ

โพสต์ที่ 12

โพสต์

ผมมีเวอร์ชั่นที่อาจไม่เก่าที่สุด แต่รับรองว่าแก่...

จุฬาตรีคูณ
ศิลปิน จินตนา สุขสถิตย์
รูปภาพ


คลิกที่รูปยายสิคับ..

เนี่ย..ไปหามาใช้เวลานานเหมือนกัน

เพื่อให้เหมาะกับผู้ขอและผู้ฟังที่นี่น่ะคับ..
nanchan
Verified User
โพสต์: 2938
ผู้ติดตาม: 0

ขอเพลงหน่อยครับ

โพสต์ที่ 13

โพสต์

เพราะดีครับ

ผมว่าเพลงเก่า เนื้อเพลงจะฟังแล้วรู้สึกจับใจดี

เพราะผู้แต่งไม่ไปเน้นการตลาด
เฝ้าดูไป โดยใจที่เป็นกลาง
nanchan
Verified User
โพสต์: 2938
ผู้ติดตาม: 0

ขอเพลงหน่อยครับ

โพสต์ที่ 14

โพสต์

ดารารายเลิศโสภา
ข้าไม่นำพา เพราะกลัวว่าจะถูกสังเวย
โปรดสาปสรรค์ ขอให้โฉมอันน่าเชย
สิ้นสวยเลย ไร้ค่า


ทำไมครับ
เฝ้าดูไป โดยใจที่เป็นกลาง
ภาพประจำตัวสมาชิก
Raphin Phraiwal
Verified User
โพสต์: 1342
ผู้ติดตาม: 0

ขอเพลงหน่อยครับ

โพสต์ที่ 15

โพสต์

ขอบคุณน้องหวีและพี่บีครับ สำหรับเพลง และบทความ

เพื่อน เขียน:....สงสารลูกบ้างนะครับ....เค้าอาจจะแกล้งหลับให้พ่อเลิกร้องก็ได้นะ.... :lol:
ปล. เอาเพลง "สกุลตลา" ด้วยมั้ยครับ ไหนๆก็หาจุฬาตรีคูณแล้วนิ.... 8)
และขอบคุณคุณเพื่อนที่หล่อปานอัล ปาชิโน่ด้วยครับสำหรับคำแซว  :lovl:
รักในหลวงครับ
ปุย
Verified User
โพสต์: 2032
ผู้ติดตาม: 0

ขอเพลงหน่อยครับ

โพสต์ที่ 16

โพสต์

จุฬาตรีคูณ  (จินตนา สุขสถิตย์)

ข้า แต่ คง คา จุฬา-ตรีคูณ
ดวงใจข้าอาดูร หนักเอย
ความ งาม วิไล ข้ามิได้ ปรารถนา
ข้าชัง หนักหนา เจ้า เอย
เพราะช-นนี ข้าวิไล
จึงถูกสังเวยเสียในสายชล ด้วยรักเอย
จุ ฬา ตรี คูณ ชนนี ชีพ สูญ
ในสายจุฬาตรีคูณ นี่เอย
ดารารายเลิศโสภา
ข้าไม่นำพาเพราะกลัวว่าจะถูกสังเวย
โปรดสาปขอให้โฉม อันน่าเชย
สิ้นสวยเลย ไร้ค่า
ให้ ข้า น่า ชัง สิ้นหวังชื่นชม
ขอให้ไร้ผู้นิยม นำพา
ขอ ให้ สม ใจ ใน ปรารถ-นา
นะจุฬา-ตรี คูณ เจ้าเอย

ดารารายเลิศโสภา
ข้าไม่นำพาเพราะกลัวว่าจะถูกสังเวย
โปรดสาปขอให้โฉม อันน่าเชย
สิ้นสวยเลย ไร้ ค่า
ให้ ข้า น่า ชัง สิ้นหวังชื่นชม
ขอให้ไร้ผู้นิยม นำพา
ขอ ให้ สม ใจ ใน ปรารถ-นา
นะจุฬา-ตรี คูณ เจ้าเอย...


อันนี้ มาแต่ทำนองครับ ไว้ฝึกร้อง
http://www.thaipoem.com/forever/ipage/song225.html


ผมเข้าเวบ สุนทราภรณ์ไม่ได้ โดนบล็อก สงสัยจะเป็นเพราะ ลงท้ายด้วย porn.com
โพสต์โพสต์