ความพอเพียงของบิล เกตส์

เชิญมาพักผ่อน คลายร้อนนั่งเล่น คุยกันเย็นๆ พร้อมเรื่องกีฬา สัพเพเหระ ทัศนะนานา ชีวิตชีวา สุขภาพทั่วไป บันเทิงขำขัน รอบเรื่องเมืองไทย ชวนเที่ยวที่ไหน อยากไปก็นัดมา ...โย่วๆ

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

ความพอเพียงของบิล เกตส์

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ความพอเพียงของบิล เกตส์
ไสว บุญมา
22 มิถุนายน 2549

    เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว หลายวงการต้องแปลกใจที่จู่ๆ บิล เกตส์ ก็ประกาศออกมาว่า ภายในเวลา 2 ปีเขาจะสละตำแหน่งใหญ่ๆ ในบริษัทไมโครซอฟท์ทั้งหมดยกเว้นตำแหน่งประธานกรรมการบริษัทเท่านั้น ในระบบการบริหารของไมโครซอฟท์ประธานกรรมการบริษัทไม่มีงานประจำมากจนถึงกับต้องไปทำงานทุกวันเหมือนงานประจำอื่นๆ อาจไปทำงานสัปดาห์ละครั้ง การรั้งตำแหน่งนั้นเพียงอย่างเดียวจึงเป็นเสมือนบิล เกตส์ เกษียณจากงานทั้งที่ตอนนี้เขาอายุเพียง 50 ปี และยังมีสุขภาพสมบูรณ์

คงเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า บิล เกตส์ เป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทไมโครซอฟท์เพื่อทำธุรกิจเขียนโปรแกรมสำหรับคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ในขณะนี้ ราว 90% ของคอมพิวเตอร์ชนิดนั้นทั่วโลกใช้ "คำสั่งแม่บท" (Operating System) ของไมโครซอฟท์ นอกจากนั้น ไมโครซอฟท์ยังมีโปรแกรมอื่นๆ ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายอีกด้วย ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ทำให้บิล เกตส์ ร่ำรวยมหาศาล ปีนี้เป็นปีที่ 12 ติดต่อกันที่เขาครองตำแหน่งอภิมหาเศรษฐีหมายเลข 1 ของโลก เพราะมีทรัพย์สินกว่า 50,000 ล้านดอลลาร์ หรือราว 2 ล้านล้านบาท

แน่ละ ทรัพย์สินกองใหญ่ขนาดนั้นย่อมทำให้บิล เกตส์ หมดความจำเป็นที่จะต้องตรากตรำไปทำงานเพื่อการยังชีพ แต่คนที่มีพลังผลักดันภายในสูงยิ่งเช่น บิล เกตส์ ย่อมอยู่เฉยๆ ไม่ได้ ฉะนั้นเขาจะไม่หยุดทำงานหลังจากสละตำแหน่งใหญ่ๆ ในไมโครซอฟท์แล้ว หากจะทุ่มเทเวลาส่วนใหญ่ให้กับมูลนิธิเพื่อการกุศลที่เขาและภรรยาตั้งขึ้นชื่อว่า Bill & Melinda Gates Foundation

มูลนิธินี้มีคำขวัญว่า Bringing innovations in health and learning to the global community ซึ่งมีความหมายว่า "เพื่อนำนวัตกรรมด้านสุขภาพและด้านการเรียนรู้ไปสู่ชุมชนโลก" คำขวัญนี้สะท้อนความตั้งใจของบิล เกตส์ และภรรยาที่ต้องการจะใช้สมบัติกองใหญ่และความรู้ความสามารถของตนช่วยขจัดโรคร้ายและอวิชชาให้หมดไปจากโลก

ณ วันนี้ Bill & Melinda Gates Foundation เป็นมูลนิธิที่มีทรัพย์สินมากที่สุดในโลก เพราะได้รับบริจาคจากสองสามีภรรยาแล้วกว่า 29,000 ล้านดอลลาร์ และจะได้รับเพิ่มอีก เนื่องจาก ทั้งสองได้ประกาศไว้นานแล้วว่า จะกันทรัพย์สินเพียงส่วนน้อยเท่านั้นไว้ให้แก่ลูกๆ ส่วนที่เหลือจะยกให้แก่มูลนิธิ คงเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่าในสหรัฐ ผู้บริจาคทรัพย์ให้แก่มูลนิธิเพื่อการกุศลได้รับการลดหย่อนภาษีจากรัฐบาลโดยเฉพาะภาษีมรดก ฉะนั้นมูลนิธิจำนวนมากจึงถูกตั้งขึ้นหรือได้รับบริจาคทรัพย์จากมหาเศรษฐีเพราะปัจจัยด้านภาษี

แต่การตั้งมูลนิธิของบิล เกตส์ และภรรยาไม่น่าจะมีปัจจัยนั้นเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะเขาเป็นหนึ่งในมหาเศรษฐีไม่กี่คนที่รณรงค์อย่างเต็มที่ เพื่อกดดันให้รัฐบาลอเมริกันเก็บภาษีมรดกต่อไป
ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

ความพอเพียงของบิล เกตส์

โพสต์ที่ 2

โพสต์

อาจไม่เป็นที่ทราบกันมากนักว่า รัฐบาลอเมริกันเก็บภาษีมรดกมาเป็นเวลานาน แต่หลังจากจอร์จ ดับเบิลยู บุช เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีเมื่อต้นปี ค.ศ. 2001 เขาพยายามทุกวิถีทางที่จะยกเลิกภาษีนั้น เพราะเขาเป็นตัวแทนของชนชั้นเศรษฐีที่ขาดจิตสำนึกชนิดตกขอบ ถ้าเขาทำสำเร็จตามความตั้งใจมหาเศรษฐีอเมริกันจะไม่ต้องจ่ายภาษีมรดกอีก อย่างไรก็ตาม คนอเมริกันจำนวนมากไม่เห็นด้วย ร่างกฎหมายเพื่อยกเลิกภาษีนั้นจึงแพ้คะแนนเสียงในสภาสูงไปสดๆ ร้อนๆ เมื่อ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมานี้เอง

การเกษียณตัวเองจากไมโครซอฟท์และทิ้งรายได้ประจำเป็นจำนวนมากของบิล เกตส์ อาจเป็นที่แปลกใจของหลายวงการ แต่สำหรับผู้ที่ติดตามความคิดความอ่านและการดำเนินชีวิตของเขามาเป็นเวลานานคงไม่แปลกใจเลย (ในปัจจุบันมีหนังสือเกี่ยวกับบิล เกตส์ ในตลาดจำนวนมาก รวมทั้งหนังสือที่เขาเขียนเอง เช่น The Road Ahead และ Business @ the Speed of Thought ซึ่งครั้งหนึ่งนายกฯ ทักษิณแนะนำให้คนไทยอ่าน

สำหรับผู้ที่ไม่ค่อยมีเวลาและไม่ค่อยถนัดภาษาฝรั่งอาจไปอ่านหนังสือชื่อ "เสือ สิงห์ กระทิง แรด" ซึ่งมีบิล เกตส์ เล่นบทบาท "กระทิง" และเรื่อง "คิดนอกคอก ทำนอกคัมภีร์" ซึ่งมีบทคัดย่อของเรื่อง Business @ the Speed of Thought)

นอกจากจะมีมันสมองระดับอัจฉริยะและมีพลังผลักดันภายในไม่ต่ำกว่าใครในโลกแล้ว บิล เกตส์ มีจิตสำนึกสูงยิ่งโดยเฉพาะในความโชคดีของตนเอง การตระหนักในความโชคดีนั้นทำให้เขาต้องการตั้งมูลนิธิขึ้นเพื่อตอบแทนคุณแก่สังคม เนื่องจากบริษัทของเขาร่ำรวยด้วยการขายโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทั่วโลก "สังคม" ของเขา จึงเป็นชุมชนโลกทั้งหมด

นับตั้งแต่วันก่อตั้งมูลนิธิ Bill & Melinda Gates ได้ให้เงินสนับสนุนแก่โครงการต่างๆ แล้วราว 10,500 ล้านดอลลาร์ ในจำนวนนั้นราว 30% บริจาคให้แก่โครงการในสหรัฐ เพื่อประโยชน์ของชาวอเมริกัน ส่วนอีก 70% บริจาคให้โครงการในประเทศต่างๆ กว่า 100 ประเทศ โดยเฉพาะแก่โครงการเพื่อขจัดโรคร้าย เช่น เอดส์ มาลาเรียและวัณโรค และเพื่อปลูกฝีและฉีดยาให้เด็กเกิดใหม่ในประเทศด้อยพัฒนา

บิล เกตส์ รักบ้านเกิดอย่างสุดซึ้งจึงได้ย้ายสำนักงานใหญ่ของบริษัทจากรัฐนิวเม็กซิโกกลับไปตั้งในย่านบ้านเกิดที่เมืองเล็กๆ ชื่อ Redmond ในรัฐวอชิงตัน หลังจากนั้น ก็ได้ช่วยพัฒนาเมืองนั้นจนเป็นเมืองชั้นนำ

ด้วยมันสมองระดับอัจฉริยะ พลังผลักดันปานกระทิงเปลี่ยว ความตั้งใจอันแน่วแน่และทรัพย์สินจำนวนมหาศาล บิล เกตส์ จะขจัดโรคร้ายและอวิชชาให้หมดไปจากโลกสำเร็จหรือไม่ ?

ถ้าจะให้ฟันธงคงต้องตอบว่า "ไม่มีทาง" การฟันธงเช่นนี้มิได้หมายความว่าผมดูแคลนบิล เกตส์ หรือ ไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่เขากระทำ ตรงกันข้ามผมชื่นชมการกระทำของเขามากและเคยเขียนไว้ในคอลัมน์นี้ ว่า นอกจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเราแล้ว บิล เกตส์ เป็นผู้ที่สมควรจะได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพมากที่สุด และผมแน่ใจว่าในไม่ช้าเขาจะได้รับ แต่การได้ไปเห็นปัญหามาเกือบทั่วโลก ทำให้ผมแน่ใจว่าไม่มีใครคนใดคนหนึ่งจะแก้ปัญหาได้ จนกระทั่งโรคร้ายและอวิชชาหมดไปจากโลก

อย่างไรก็ตาม โลกของเราใบนี้จะดีขึ้นกว่าปัจจุบันมาก หากชนชั้นเศรษฐีจะมีจิตสำนึกเช่นบิล เกตส์ นั่นคือ ตระหนักในความโชคดีของตนเองและรู้จักพอเพียงแล้วอุทิศกำลังกาย กำลังสมองและกำลังทรัพย์ส่วนหนึ่งเพื่อช่วยกันขจัดปัญหาใหญ่ๆ ในชุมชนซึ่งตนอาศัยอยู่ ชุมชนนั้นอาจเป็นหมู่บ้านเล็กๆ หรือชุมชนขนาดใหญ่ในระดับประเทศและระดับโลกก็ได้

Jeng
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 14783
ผู้ติดตาม: 0

ความพอเพียงของบิล เกตส์

โพสต์ที่ 3

โพสต์

อืม อ่านแล้วรู้สึกดีจัง อยากเป็นบ้าง ก่อนตาย ได้ช่วยคนเยอะๆ ตอนนี้ก็ช่วยจ่ายภาษี vat แบบตรงไปตรงมาไปก่อนละกัน
ภาพประจำตัวสมาชิก
Raphin Phraiwal
Verified User
โพสต์: 1342
ผู้ติดตาม: 0

ความพอเพียงของบิล เกตส์

โพสต์ที่ 4

โพสต์

:cool: ทั้ง Bill Gates และพี่เจ๋ง ครับ
รักในหลวงครับ
Capo
Verified User
โพสต์: 1067
ผู้ติดตาม: 0

ความพอเพียงของบิล เกตส์

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ความพอเพียงนี่เท่าเทียมที่สุดเลยครับ
อ่านบทความนี้แล้วชื่นใจ

เหมือนกับที่ได้ชื่อใจไปแล้ว
ตอนที่ชมสารคดีเฉลิมพระเกียรติ "พระเจ้าแผ่นดิน"
ที่ฉายเมื่อวันที่ 15 มิย. เป็นตอนเกี่ยวกับ "ทฤษฎีใหม่"

ในรายการมีการสัมภาษณ์เกษตรกรหลาย ๆ ท่านครับ
ทุกท่านอยู่ต่างสถานที่ ต่างเวลา ต่างคน ต่างสิ่งแวดล้อม
แต่สิ่งที่ผมรู้สึกได้ จากความพอเพียงของเขา
จากการดำเนินรอยตามทฤษฎีใหม่ มีจุดร่วมจุดเดียวกันอยู่

ทุกท่านต่างกระฉับกระเฉง กระตือรือร้น
มีความอิ่มเอิบใจ มีความใฝ่รู้ในสิ่งใหม่ ๆ
ตั้งใจจะพัฒนา ดัดแปลง คิดค้น
ซึ่งทั้งสิ้นล้วนอยู่บนพื้นฐานของการพึ่งพาตนเอง

ผมสัมผัสถึงความหลุดพ้นจากอะไรบางอย่างได้
แม้ผมจะสัมผัสได้เพียงน้อยนิด เพราะต้องผ่านกิเลสตัวกรองของผมเองชั้นหนึ่งก่อนจะรับรู้ตีความ
แต่นั่นก็ทำให้อิ่มเอิบใจได้ไม่น้อยเลยครับ

:bow:  :bow:  :bow:
... จุดเริ่มต้นของคนเราไม่สำคัญ

มันสำคัญที่ว่าเขาวิ่งได้เร็วแค่ไหนตะหาก ...
ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

ความพอเพียงของบิล เกตส์

โพสต์ที่ 6

โพสต์

เห็นคุณ Capo กล่าวถึงเรื่องราวของทฤษฎีใหม่

ก็อยากจะร่วมสมทบคับ..
โต้คลื่นลูกที่ 4 เมื่อความพอเพียงคือคำตอบ

ดร.ไสว บุญมา

คัดเนื้อความบางส่วนของหนังสือ โต้คลื่นลูกที่ 4 เมื่อความพอเพียงคือคำตอบ ซึ่งเน้นอธิบายการนำแก่นคิด เศรษฐกิจพอเพียง อันเป็นพระปรีชาญาณในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเผยแพร่ติดต่อกัน 8 ตอน


ตอน 1

"มีคนหนึ่งพูด เป็นดอกเตอร์

เขาพูดว่า เศรษฐกิจพอเพียงนี่ภาษาอังกฤษว่าอย่างไร

แหมคันปากอยากจะพูด ที่จริงที่คันปากที่จะพูดเพราะว่าตอบแล้ว

อย่างที่เห็นในทีวีรายการใหญ่เขาพูดถามโน่นถามนี่เราดูแล้วรำคาญ

เพราะว่าตอบแล้ว ตอบเสร็จแล้วก็ถามใหม่

เมื่อตอบอีกก็บอกว่าทำไมพูด คราวนี้เราฟังเขา

แล้วเขาถามว่า อังกฤษภาษาจะแปลเศรษฐกิจพอเพียงว่าอย่างไร

ก็อยากจะตอบว่า มีแล้วในหนังสือ ในหนังสือไม่ใช่หนังสือตำราเศรษฐกิจ

ในหนังสือพระราชดำรัส ที่อุตส่าห์พิมพ์และนำมาปรับปรุงดูให้ฟังได้

และแปลเป็นภาษาอังกฤษ

เพราะว่าคนที่ฟังภาษาไทยบางที่ไม่เข้าใจภาษาไทย

ก็ต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษ และเน้นว่า

เศรษฐกิจพอเพียง แปลว่า Sufficiency Economy

โดยเขียนเป็นตัวหนาในหนังสือ เสร็จแล้วเขาก็มาบอกว่า

คำว่า Sufficiency Economy ไม่มีในตำราเศรษฐกิจ

จะมีได้อย่างไร เพราะว่าเป็นทฤษฎีใหม่ เป็นตำราใหม่

ถ้ามีอยู่ในตำราก็หมายความว่า เราก๊อปปี้มา เราลอกเขามา

เราไม่ได้ลอก ไม่อยู่ในตำราเศรษฐกิจ เป็นเกียรติที่เขาพูด

อย่างที่เขาพูดอย่างนี้ว่า Sufficiency Economy นั้นไม่มีในตำรา

การที่พูดว่าไม่มีในตำรานี่ ที่ว่าเป็นเกียรตินั้นก็หมายความว่า

เรามีความคิดใหม่ โดยที่ท่านผู้เชี่ยวชาญสนใจ

ก็หมายความว่า เราสามารถที่จะคิดอะไรได้

จะถูกจะผิดก็ช่าง แต่ว่าเขาสนใจ

เขาก็สามารถที่จะไปปรับปรุงหรือไปใช้หลักการ

เพื่อที่จะให้เศรษฐกิจของประเทศ และของโลกพัฒนาดีขึ้น..."



พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา

23 ธันวาคม 2542


ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

ความพอเพียงของบิล เกตส์

โพสต์ที่ 7

โพสต์

เศรษฐีเบอร์ 2 ของโลกเตรียมบริจาคหลายหมื่นล้านเพื่อการกุศล  


             เอเอฟพี - วอร์เรน บัฟเฟตต์ อภิมหาเศรษฐีอันดับสองของโลกประกาศวันนี้ (26) ถึงแผนการบริจาคเงิน 85% จากทั้งหมด 44,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐให้แก่องค์กรการกุศล ซึ่งส่วนใหญ่จะตกไปยังมูลนิธิของบิลล์ เกตส์ มหาเศรษฐีอันดับหนึ่งของโลก
     
      กูรูด้านการลงทุนกล่าวในแถลงการณ์ว่า เขาจะส่งหนังสือไปยังมูลนิธิของเกตส์และมูลนิธิอื่นๆ เพื่อโอนหุ้นในอาณาจักรเบิร์กเชียร์แฮทเวย์ของเขาให้ประมาณ 85 %ในเดือนกรกฏาคมนี้ โดยหุ้นจะถูกโอนไปมูลนิธิ 5 แห่ง ซึ่งมากกว่า 83% จะถูกโอนไปยังมูลนิธิบิลล์และเมลินดา เกตส์ ซึ่งมีเงินกองกลางอยู่แล้วประมาณ 30 ล้านดอลลาร์เพื่อสนับสนุนการค้นคว้าทางการแพทย์และการให้ทุนการศึกษา
     
      บัฟฟเฟต์ อธิบายถึงแรงผลักดันให้เขาบริจาคเงินมูลค่ามหาศาลดังกล่าวของเขาในนิยตสารฟอร์จูนว่า เขารู้ดีว่าเขาต้องการทำอะไรและมันก็สมเหตุสมผลที่จะทำต่อไป เขายังบอกด้วยว่าตอนนี้ยังไม่มีอะไรน่ากังวลเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพและเขายังรู้สึกสนุกที่จะทำงานในด้านการเงินสูงๆ
     
      ทั้งนี้ เกตส์และบัฟเฟตต์ต่างเป็นเพื่อนสนิทกัน เมื่อต้นปีที่ผ่านมานิตยสารฟอร์จูนประเมินว่าบัฟเฟตต์มีทรัพย์สินมูลค่า 44,000 ล้านดอลลาร์ ขณะที่เกตส์มีประมาณ 50,000 ล้านดอลลาร์
     
      บัฟเฟตต์วัย 75 ปี ร่ำรวยเป็นหมื่นล้านจากการลงทุนอันชาญฉลาด โดยส่วนใหญ่เม็ดเงินจะสั่งสมในบริษัทเบิร์กเชียร์แฮทเวย์ ซึ่งมีผลกำไรหลากหลายนับจากธุรกิจการประกันภัย อสังหาริมทรัพย์ พลังงานและการเช่าเครื่องบิน

hot
Verified User
โพสต์: 6853
ผู้ติดตาม: 0

ความพอเพียงของบิล เกตส์

โพสต์ที่ 8

โพสต์

บัฟเฟตต์วัย 75 ปี ร่ำรวยเป็นหมื่นล้านจากการลงทุนอันชาญฉลาด โดยส่วนใหญ่เม็ดเงินจะสั่งสมในบริษัทเบิร์กเชียร์แฮทเวย์ ซึ่งมีผลกำไรหลากหลายนับจากธุรกิจการประกันภัย อสังหาริมทรัพย์ พลังงานและการเช่าเครื่องบิน
ทำกำไรจนน่าสนใจขนาดนั้นเลยหรือคับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
NinjaTurtle
Verified User
โพสต์: 506
ผู้ติดตาม: 0

ความพอเพียงของบิล เกตส์

โพสต์ที่ 9

โพสต์

เช่าเครื่องบินเป็นการลงทุนที่ ลุงแกยอมรับว่าคาดผิดครับตัวนี้แกขาดทุนครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

ความพอเพียงของบิล เกตส์

โพสต์ที่ 10

โพสต์

บ้านเขาเมืองเรา; บิล เกตส์ วอร์เร็น บัฟเฟตต์ และจุดพลิกผัน
ไสว บุญมา
6 กรกฎาคม 2549


กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : คงเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่าเพียงสัปดาห์กว่าๆ หลังจากมหาเศรษฐีหมายเลข 1 ของโลก บิล เกตส์ ประกาศจะสละตำแหน่งใหญ่ๆ ในบริษัท ไมโครซอฟท์เพื่ออุทิศเวลาให้กับมูลนิธิการกุศลของเขา มหาเศรษฐีหมายเลข 2 ของโลก วอร์เร็น บัฟเฟตต์ ก็ประกาศว่าเขาจะสละทรัพย์สินซึ่งมีมูลค่าเกือบ 31,000 ล้านดอลลาร์ ให้กับมูลนิธินั้น

ดังที่เล่าไว้ในคอลัมน์นี้เมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน มูลนิธิของบิล เกตส์ เป็นมูลนิธิที่ใหญ่ที่สุดในโลกเพราะมีทรัพย์สินซึ่งได้รับจากเขา และภรรยาแล้วกว่า 29,000 ล้านดอลลาร์ และจะได้รับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มูลนิธินี้จึงนับวันจะเติบใหญ่และกลายเป็นอภิมหามูลนิธิสมกับที่ก่อตั้งโดยยอดอภิมหาเศรษฐีของโลก

คงเป็นที่ทราบกันดีเช่นกันว่า วอร์เร็น บัฟเฟตต์ กับ บิล เกตส์ เป็นเพื่อนสนิทกันมานานแม้วัยจะต่างกันราวพ่อกับลูกก็ตาม ตอนนี้วอร์เร็น บัฟเฟตต์ อายุ 75 ปี ส่วนบิล เกตส์ อายุเพิ่งจะ 50 ปีเท่านั้น วอร์เร็น บัฟเฟตต์ เป็นนักลงทุนระดับยอดเซียนเพราะสามารถเปลี่ยนเงินฝากของชาวบ้านเพียง 105,000 ดอลลาร์ ให้กลายเป็นทรัพย์สินของตนเองได้ถึงราว 44,000 ล้านดอลลาร์ และทำให้ผู้ฝากเงินไว้กับเขาเป็นมหาเศรษฐีไปตามๆ กันด้วย

ในวันที่เขาแถลงข่าวการยกทรัพย์สินให้มูลนิธิของบิล เกตส์ นั้น เขาประกาศด้วยว่าเขาจะยกทรัพย์สินอีกราว 6,200 ล้านดอลลาร์ ให้แก่มูลนิธิของทายาท 3 คน และของภรรยาผู้ล่วงลับไปแล้ว

การอุทิศทรัพย์สินราว 85% ให้แก่การกุศลโดยเฉพาะการยกส่วนใหญ่ให้แก่มูลนิธิของผู้อื่นอาจมองได้หลายแง่ การไม่ยกทรัพย์สินส่วนใหญ่ให้เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทสะท้อนคำพูดของวอร์เร็น บัฟเฟตต์ ที่ว่า "มหาเศรษฐีควรยกมรดกให้ทายาทมากพอ ที่ทายาทจะสามารถทำอะไรก็ได้ แต่ไม่มากถึงขนาดที่ทายาทไม่จำเป็นต้องทำอะไรเลย"

บิล เกตส์ ก็คิดในแนวเดียวกันเพราะครั้งหนึ่งเขาเคยพูดว่าจะกันทรัพย์สินเพียง 5% เท่านั้นไว้ให้ลูก ส่วนที่เหลือจะยกให้แก่มูลนิธิ ทั้งวอร์เร็น บัฟเฟตต์ และบิล เกตส์ เชื่อว่าทายาทของเขาโชคดีที่มีโอกาสสารพัดอย่างและพูดบ่อยๆ ว่าเขาเป็นหนี้สังคมสูงมากจึงต้องการตอบแทนคุณของสังคมด้วยการอุทิศทรัพย์สินส่วนใหญ่เพื่อเพิ่มโอกาสให้แก่ผู้อื่น

การยกทรัพย์สินส่วนใหญ่ให้แก่มูลนิธิของเพื่อน แทนที่จะเป็นมูลนิธิของลูก ๆ หรือตั้งมูลนิธิขึ้นมาใหม่โดยใช้ชื่อตัวเอง วอร์เร็น บัฟเฟตต์ อธิบายง่ายๆ ว่าเวลาเราต้องการผลตอบแทนสูงสุดเราจะฝากเงินให้ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการลงทุนนำเงินนั้นไปลงทุนแทนเรา ในทำนองเดียวกันเวลาเราต้องการอุทิศทรัพย์สินเพื่อให้เกิดกุศลสูงสุด เราก็ต้องมอบให้แก่มูลนิธิที่มีความเชี่ยวชาญในด้านงานการกุศลสูงสุดด้วย มูลนิธิของบิล เกตส์ ได้รับการยกย่องว่ามีประสิทธิภาพสูงมากเพราะนำหลักการบริหารแผนใหม่มาใช้อย่างเข้มงวด

นอกจากนั้นผู้ที่รู้จักวอร์เร็น บัฟเฟตต์ ยังไม่แปลกใจเพราะแนวคิด และการดำเนินชีวิตของเขาบ่งบอกถึงความไม่มีอัตตามาตลอด เช่น แม้จะมีทรัพย์สินมากจนยากที่จะจินตนาการ เขายังคงอาศัยอยู่ในบ้านหลังเก่าซึ่งเขาสร้างขึ้นเมื่อ 40 ปีที่แล้ว ตอนนั้นเขายังไม่เป็นเศรษฐี

แม้จะได้รับความเชื่อมั่นว่ามีความเชี่ยวชาญสูง มูลนิธิของบิล เกตส์ ก็มิใช่จะประสบความสำเร็จทุกครั้งหลังก่อตั้งมากว่า 10 ปีและบริจาคเงินไปแล้วกว่า 10,000 ล้านดอลลาร์ ตัวอย่างเช่น โครงการช่วยเหลือโรงเรียนในกรุงเดนเวอร์ โดยการแยกโรงเรียนขนาดใหญ่ให้เป็นขนาดเล็กหลายๆ โรงประสบความล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง

หรือ โครงการแจกยาเพื่อป้องกันโรคร้ายให้แก่คนจนในประเทศแซมเบีย ไม่ประสบความสำเร็จเพราะผู้ที่ได้รับยาอดอยากมากจนกินยาเข้าไปก็ไม่เกิดผล มูลนิธิของบิล เกตส์ จึงต้องร่วมมือกับองค์กรอื่น เช่น มูลนิธิร็อกกี้ เฟลเลอร์ เพื่อหาทางแก้ปัญหาความยากจนด้วย

เรื่องการตั้งมูลนิธิขนาดใหญ่ของมหาเศรษฐีอเมริกันคงเป็นที่ทราบกันอย่างกว้างขวางแล้วเพราะมูลนิธิจำนวนมากมีทรัพย์สินหลายพันล้านดอลลาร์และสนับสนุนโครงการทั่วโลก เช่น มูลนิธิของครอบครัวฟอร์ด และของครอบครัวร็อกกี้ เฟลเลอร์ซึ่งมีทรัพย์สินเกิน 10,000 ล้านดอลลาร์ และมีโครงการในเมืองไทย

อย่างไรก็ตามในสหรัฐ มีมูลนิธิ และองค์กรการกุศลมากกว่า 1 ล้านแห่งและส่วนมากมีขนาดเล็ก มูลนิธิเหล่านี้มีบทบาทสูงมากในสังคมอเมริกันแต่การบริหารจัดการมักไม่ค่อยทันสมัยเช่นเดียวกับองค์กรที่มุ่งแสวงหากำไรอื่นๆ ฉะนั้นบรรดาลูกศิษย์ และผู้ที่ติดตามงานเขียนของศาสตราจารย์ปีเตอร์ ดรักเกอร์ จะทราบดีว่าอาจารย์ใช้เวลาให้คำปรึกษาแก่องค์กรการกุศลมากขึ้น ในตอนปลายของชีวิตเพราะอาจารย์เชื่อว่าในสังคมทุนนิยมองค์กรการกุศลมีบทบาทสำคัญในการถ่วงดุลกับองค์กรที่ตั้งขึ้นมาเพื่อแสวงหากำไร

ผู้ที่ติดตามความเป็นไปในสหรัฐ จะทราบดีด้วยว่า ไม่เฉพาะองค์กรการกุศลเท่านั้น ที่มีความสำคัญต่อการช่วยเหลือสังคม องค์กรซึ่งตั้งขึ้นมาเพื่อแสวงหากำไรก็มักมองเห็นความสำคัญของกิจการด้านการช่วยเหลือสังคมด้วย ฉะนั้นท่ามกลางข่าวความฉาวโฉ่ของบริษัทใหญ่ๆ เช่น เอนรอน และไทโค จึงมีบริษัทอเมริกันอีกจำนวนมากอุทิศทรัพย์สิน และความเชี่ยวชาญเพื่อการช่วยเหลือสังคม

ไม่เฉพาะจะช่วยเหลือเมื่อเกิดแผ่นดินไหวหรือภัยธรรมชาติอื่นๆ เท่านั้น หากช่วยเหลือแบบต่อเนื่อง ประเด็นนี้ Marc Benioff และ Karen Southwick นำมาเล่าไว้อย่างน่าสนใจในหนังสือเรื่อง Compassionate Capitalism: How Corporations Can Make Doing Good an Integral Part of Doing Well ซึ่งพิมพ์ออกมาเมื่อต้นปี 2547

การแถลงข่าวใหญ่ในเวลาไล่เลี่ยกันของบิล เกตส์ และวอร์เร็น บัฟเฟตต์ ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางในสังคมอเมริกัน และได้รับการวิจารณ์ว่าจะช่วยกระตุ้นให้มหาเศรษฐีอื่นๆ เข้าร่วมงานการกุศลเพิ่มขึ้นด้วย การกระทำของเขาทั้งสองจะก่อให้เกิด "จุดพลิกผัน" หรือ "จุดหักเห" ดังที่ Malcolm Gladwell เสนอไว้ในหนังสือยอดนิยมเรื่อง The Tipping Point หรือไม่ จึงอาจมองได้เป็น 2 ประเด็นคือ

(1) เงินและความพยายามของเอกชนจะสามารถขจัดปัญหาใหญ่ๆ เช่น โรคร้าย และความไม่รู้หนังสือให้หมดไปจากโลกหรือไม่ ?

(2) การมองเห็นความสำคัญของการแทนคุณแก่สังคมของเศรษฐีที่สร้างความร่ำรวยด้วยการทำธุรกิจในระบบทุนนิยม จะนำสังคมโลกไปสู่ยุคหลังวัตถุนิยม (Post Materialism) หรือไม่ ?

ถ้าจะให้ฟันธงผมคงต้องฟันลงไปว่า "ไม่" เพราะการเป็นคนไทยทำให้ผมมองโลกผ่านแว่นของสังคมไทย และทุกครั้งที่มองผ่านแว่นนั้นผมยังเห็นโรคร้าย ความไม่รู้หนังสือ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งอภิมหาเศรษฐีที่ขาดจิตสำนึก
ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

ความพอเพียงของบิล เกตส์

โพสต์ที่ 11

โพสต์

bsk(มหาชน) เขียน:เห็นคุณ Capo กล่าวถึงเรื่องราวของทฤษฎีใหม่

ก็อยากจะร่วมสมทบคับ..
ต่อคับ..
เมื่อความพอเพียงคือคำตอบ

๐ ดร.ไสว บุญมา


เศรษฐกิจเริ่มวิวัฒน์ทันทีที่บรรพบุรุษของมนุษย์ปรากฏบนผืนโลก

ตอนแรกมนุษย์อาศัยสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ

เพื่อสนองความต้องการเบื้องต้น เรียกว่า "ปัจจัย4"

ในช่วง คลื่นลูกที่ 1 หรือยุคเกษตรกรรม

ทุกครอบครัวพยายามเสาะแสวงหาสิ่งจำเป็นด้วยตัวเอง

เพื่อสนองความต้องการของครอบครัว

เรียกว่ามี ความอยู่ในตัวเอง (Self-Supplied) ระดับหนึ่ง

การรู้จักเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์อย่างแพร่หลาย

ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ

และการดำเนินชีวิตแบบก้าวกระโดด

การแลกเปลี่ยนเริ่มใช้ "เงิน" เป็นตัวกลาง

'การผลิตเพื่อการค้า' มีบทบาทสูงขึ้นเรื่อยๆ

คนเริ่มทำเฉพาะสิ่งที่ตนถนัดแล้วนำไปขาย

ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 หรือเมื่อ 200 กว่าปีที่ผ่านมา

การค้นพบทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใหม่

ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่แบบก้าวกระโดดครั้งที่ 2

ที่รู้จักกันในนาม 'การปฏิวัติอุตสาหกรรม' อันเป็นช่วง คลื่นลูกที่2

ไม่มีประเทศไหนที่ไม่ค้าขายกับต่างประเทศ

กระทั่งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดิจิทัลและคอมพิวเตอร์

นำโลกเข้าสู่ยุคข่าวสารข้อมูล หรือยุคสารสนเทศ

เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดดครั้งที่ 3 หรือช่วง คลื่นลูกที่3

ในยุคนี้ คนส่วนหนึ่งจึงมีสิ่งต่างๆ มากมาย เกิน ความเพียงพอ

ในขณะที่ยังมีคนอีกจำนวนมาก ขาด แม้กระทั่งปัจจัยในการดำรงชีวิตเบื้องต้น

ช่องว่างระหว่างกลุ่มชนจะยิ่งกว้างขึ้นเมื่อเทคโนโลยีใหม่

ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงเป็นช่วง คลื่นลูกที่4

ยุคเทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมเมื่อมนุษย์สามารถถอดรหัสพันธุกรรม

มนุษย์สามารถเปลี่ยนชิ้นส่วนของ ร่างกาย ได้

คล้ายกับการเปลี่ยนชิ้นส่วน เครื่องจักร

Christopher Meyer และ Stan Davis ผู้เขียน It's Alive บอกว่า

เทคโนโลยีใหม่จะเกิดบ่อยขึ้นและจะมีผลกระทบใหญ่หลวงขึ้น

ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วและใหญ่หลวงนี้

สังคมที่มีความสามารถในการสร้าง ภูมิปัญญา หรือ เทคโนโลยีใหม่

จะ ก้าวหน้า แบบก้าวกระโดด ในขณะที่บางสังคมอาจ จม ลงใต้คลื่น
ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

ความพอเพียงของบิล เกตส์

โพสต์ที่ 12

โพสต์

แนวคิดเรื่อง ทุนนิยม มีประวัติยาวนาน

ดังปรากฏอย่างเป็นระบบในหนังสือชื่อ The Wealth of Nationsโดย อดัม สมิธ

พิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2319 อันเป็นปีที่ สหรัฐอเมริกา ถือกำเนิดพอดี

สหรัฐพัฒนาประเทศตามระบบทุนนิยมมาตลอด

จนกลายเป็นอภิมหาอำนาจทางเศรษฐกิจหมายเลขหนึ่งของโลก

ตอนนี้สหรัฐเป็น ผู้นำ ทางเทคโนโลยีซึ่งก่อให้เกิดคลื่นลูกที่ 4

และจะเป็น ผู้เก็บเกี่ยวผลจากคลื่นนั้นมากกว่าประเทศอื่น

อย่างไรก็ตาม ท่ามกลาง ความร่ำรวย นั้น

ความยากจน ยังแฝงอยู่ทุกหย่อมหญ้า

ในสหรัฐ นิยามความยากจนถูกปรับเปลี่ยนไปตาม ค่าครองชีพ

ปี พ.ศ.2546 บุคคลที่มีรายได้น้อยกว่าเดือนละ 780 ดอลลาร์สหรัฐถือว่ายากจน

ปลายเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ.2547 ทบวงสำมะโนประชากรของสหรัฐรายงานว่า

ในปี พ.ศ.2546 มีคนจนอยู่ 36 ล้านคน หรือประมาณร้อยละ 12.5 ของประชากรทั้งหมด

และท่ามกลางความร่ำรวยของสหรัฐนั้น ชนชั้นกลาง ซึ่งเป็นเสาหลัก

กำลังประสบปัญหา "ชักหน้าไม่ถึงหลัง"

แม้จะทำงานกันทั้งสองคน แต่พ่อแม่อเมริกันชั้นกลางก็ยัง ถังแตก

มีแนวโน้มว่า ผู้หญิง ยื่นขอเป็น บุคคลล้มละลาย ต่อศาลเพื่อล้างหนี้ที่ล้นพ้นตัวมากขึ้น

ทั้งที่ในรอบ 30 ปีที่ผ่านมา ผู้หญิงอเมริกันออกไปทำงานนอกบ้านมากขึ้น

จริงอยู่ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางที่ดีครั้งใหญ่

แต่รายได้อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงนั้น มักไปตกอยู่กับ คนกลุ่มน้อย

ในขณะที่ คนกลุ่มใหญ่ ยังตกอยู่ในวังวนความยากไร้จำนวนมาก

ความเหลื่อมล้ำที่นับวันจะเพิ่มขึ้นนี้ เป็นชนวนจุดความแตกแยกขึ้นในสังคม

โดยเฉพาะในประเทศ ด้อยพัฒนา
โพสต์โพสต์