พลังความจงรักภักดี เรารักในหลวง ดันดัชนีความสุขคนไทยพุ่ง

เชิญมาพักผ่อน คลายร้อนนั่งเล่น คุยกันเย็นๆ พร้อมเรื่องกีฬา สัพเพเหระ ทัศนะนานา ชีวิตชีวา สุขภาพทั่วไป บันเทิงขำขัน รอบเรื่องเมืองไทย ชวนเที่ยวที่ไหน อยากไปก็นัดมา ...โย่วๆ

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

พลังความจงรักภักดี เรารักในหลวง ดันดัชนีความสุขคนไทยพุ่ง

โพสต์ที่ 1

โพสต์

พลังความจงรักภักดี เรารักในหลวง ดันดัชนีความสุขคนไทยพุ่ง

เอแบคโพลล์สำรวจดัชนีความสุขมวลรวมคนไทยประจำเดือนพฤษภาคม พุ่งสูง 6.59 จากเต็ม 10 คะแนน เนื่องจากมีพลังความจงรักภักดี เรารักในหลวง ช่วยเหลือแบ่งปันเมื่อเกิดภัยพิบัติ ความรักสามัคคีของคนในชาติหนุนนำ

นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจเรื่องรายงานดัชนีความสุขมวลรวม (Gross Domestic Happiness Index) ของคนไทยภายในประเทศประจำเดือนพฤษภาคม : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัด คือ นนทบุรี สมุทรปราการ ปทุมธานี เชียงใหม่ นครสวรรค์ แพร่ พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี ชลบุรี จันทบุรี ประจวบคีรีขันธ์ หนองคาย ขอนแก่น สุรินทร์ นครราชสีมา อุบลราชธานี นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และสงขลา จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 4,336 คน ระหว่างวันที่ 1-10 มิถุนายนที่ผ่านมา เพื่อสำรวจภาวะความสุขของคนไทย อันมีปัจจัยประกอบด้วยปัจจัยด้านเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม สภาพแวดล้อม และบริบทอื่นๆ ที่คนแต่ละคนดำเนินชีวิตประจำวันเกี่ยวข้อง

ผลการศึกษาดัชนีความสุขมวลรวมของคนไทยเดือนพฤษภาคม 10 ด้าน คือ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสภาพชุมชนที่พักอาศัย ด้านสภาวะเศรษฐกิจของตนเอง ด้านการศึกษา ด้านธรรมชาติ ด้านการเมือง รัฐบาล องค์กรอิสระ ด้านสุขภาพกาย ด้านสุขภาพใจ ด้านวัฒนธรรม ด้านกระบวนการจุติธรรม พบว่า ความสุขมวลรวมของคนไทยภายในประเทศอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดี โดยได้คะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 6.59 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ซึ่งปัจจัยบวกที่สำคัญ ได้แก่ ปัจจัยด้านวัฒนธรรมประเพณีของไทย พลังความจงรักภักดี เรารักในหลวง การช่วยเหลือแบ่งบันกันเมื่อเกิดภัยพิบัติ และความรักความสามัคคีของคนในชาติ

ปัจจัยลบกระทบความสุขคนไทย คือ ปัจจัยด้านการเมือง ได้แก่ ปัญหาด้านจริยธรรมของนักการเมือง รัฐบาล และองค์กรอิสระ ปัญหาความไม่ไว้วางใจของประชาชนต่อนักการเมือง รัฐบาลและองค์กรอิสระ ความไม่โปร่งใสและความเคลือบแคลงสงสัยต่อนักการเมือง รัฐบาลและองค์กรอิสระ ความไม่ซื่อสัตย์สุจริต ความพยายามแทรกแซงองค์กรอิสระและความไม่เป็นอิสระของสื่อมวลชน และการเลือกปฏิบัติของนักการเมือง รัฐบาล และองค์กรอิสระ อย่างไรก็ตาม มีปัจจัยด้านการเมืองเพียง 2 ปัจจัยเท่านั้นที่ประชาชนรู้สึกมีความสุข นั่นคือความพยายามของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน และการมีส่วนร่วมทางการเมือง นอกจากนี้ยังมีปัจจัยลบอีกสองประการ คือ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ ภาระหนี้สิน ภาระการจับจ่ายใช้สอย ราคาสินค้าที่สูงขึ้น ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น แต่รายได้เท่าเดิมและความรู้สึกไม่ปลอดภัยจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ

นายนพดล กล่าวว่า ผลการสำรวจตัวชี้วัดความสุขมวลรวมแสดงค่าทางสถิติชัดเจนว่า ถ้าสังคมไทยไม่มีปัจจัยบวกด้านวัฒนธรรม ประเพณี ความจงรักภักดี และความรักความสามัคคีของคนในชาติแล้ว ความสุขมวลรวมของคนไทยจะตกอยู่ในสภาวะวิกฤติอย่างแน่นอน ดังนั้น ฝ่ายการเมือง-รัฐบาล-องค์กรอิสระ ควรจะใคร่ครวญถึงดัชนีชี้วัดความสุขและประโยชน์สุขของคนไทยทั้งประเทศไม่ใช่เฉพาะผลประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง เมื่อฝ่ายการเมือง-รัฐบาล-องค์กรอิสระทราบและตระหนักถึงพลังแห่งความจงรักภักดีของประชาชนขณะนี้แล้ว ควรทราบถึงปัจจัยสำคัญๆ เช่นกัน นั่นคือปรัชญาแนวคิดการปกครองตามหลักทศพิธราชธรรม และโครงการต่างๆ ตามแนวพระราชดำริทุกโครงการที่ฝ่ายการเมือง-รัฐบาล ควรนำมาบูรณาการไว้ในนโยบายสาธารณะเพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนอย่างยั่งยืนต่อไป

ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

พลังความจงรักภักดี เรารักในหลวง ดันดัชนีความสุขคนไทยพุ่ง

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ช่วงรู้สึกมีความปลาบปลื้มปีติและมีความสุขซาบซึ้งจริงๆคับ :D
Oatarm
Verified User
โพสต์: 1266
ผู้ติดตาม: 0

พลังความจงรักภักดี เรารักในหลวง ดันดัชนีความสุขคนไทยพุ่ง

โพสต์ที่ 3

โพสต์

อยากทราบวิธีชี้วัดดัชนีความสุข ตอบแบบสอบถาม หรือมีตัวชี้วัดอื่นๆอีก
ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

พลังความจงรักภักดี เรารักในหลวง ดันดัชนีความสุขคนไทยพุ่ง

โพสต์ที่ 4

โพสต์

จากหน้านี้คับ..

http://www.abacpoll.com/index05.html


และรายละเอียดทั้งหมด 9 หน้าคับ เป็นไฟล์.pdf

http://168.120.31.165/ipoll/2549/ABAC_P ... une_11.pdf
ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

พลังความจงรักภักดี เรารักในหลวง ดันดัชนีความสุขคนไทยพุ่ง

โพสต์ที่ 5

โพสต์

"เกี่ยวกับเรื่องมาตรวัดความสุข"

คอลัมน์ มองซ้ายมองขวา

โดย ภาวิน ศิริประภานุกูล


ผมเคยได้ยินหลายคนพูดถึง "GDH (Gross Domestic Happiness)" หรือ "ความสุขมวลรวมประชาชาติ" ซึ่งเป็นมาตรวัดความสุขโดยรวมของสังคมมาบ้างพอสมควร และมีความรู้สึกสนใจในแนวความคิดดังกล่าว

แนวคิดของ GDH เกิดขึ้นมาจากกลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วยกับการใช้ GDP (Gross Domestic Product ; ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ) ในการวัดระดับสวัสดิการโดยรวมของสังคม ซึ่งถูกใช้กันอย่างกว้างขวางมาอย่างยาวนานโดยนักเศรษฐศาสตร์

ในวิชาเศรษฐศาสตร์ ภายใต้ข้อสมมติตลาดสมบูรณ์ผู้คนตัดสินใจกระทำกิจกรรมใดๆ (ไม่ใช่เฉพาะแต่การบริโภค) ผ่านตลาดโดยคำนึงถึงต้นทุนและผลตอบแทนของการทำกิจกรรมนั้นๆ ถ้าต้นทุนสูงกว่าประโยชน์ที่ได้รับเราก็ไม่ทำ แต่ถ้าต้นทุนน้อยกว่าประโยชน์ที่ได้รับเราก็ทำกิจกรรมดังกล่าว

ดังนั้นถ้าเรานำเอากิจกรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้นบนโลกมาคูณเข้ากับต้นทุนหรือราคาของมัน แล้วจับเอามารวมกัน เราก็น่าจะสามารถสร้างดัชนีที่ใช้เป็นตัวแทนของระดับสวัสดิการโดยรวมของสังคมได้ และการคำนวณ GDP ก็เกิดขึ้นโดยกระบวนการดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม ในโลกแห่งความเป็นจริงกิจกรรมส่วนใหญ่ของผู้คนมักไม่ผ่านตลาด และถึงจะผ่านตลาดก็ไม่ใช่ตลาดสมบูรณ์...อยู่ดีๆ ชาวบ้านทะเลาะกัน ไปชุมนุมที่ท้องสนามหลวง เราต้องผ่านสนามหลวงทุกวันก็ไม่สบายใจ แต่ไม่มีตลาดไหนจ่ายต้นทุนความไม่สบายใจให้เรา...เราจะกินก๋วยเตี๋ยวมันก็มาทีละชาม ชามละ 20 บาท จะบอกว่าเอา 1.275 จานก็ไม่ได้ และจะเอาก๋วยเตี๋ยวรสชาติเดียวกับที่ใจคิดตอนก่อนซื้อก็ไม่ได้

การนำเอา GDH มาใช้แทน GDP ก็เลยเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เนื่องด้วยภายใต้สภาวะตลาดไม่สมบูรณ์แบบนี้ ก็มีความเป็นไปได้ที่ผู้คนจะมี "ความสุข" ลดลง ในประเทศที่รัฐบาลบอกว่า GDP โตไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5 ทุกปี เนื่องจากเป้าหมายสำคัญของสังคมอยู่ที่การเพิ่มพูนความสุข ไม่ใช่การเพิ่มพูน GDP (ในกรณีที่มันแตกต่างกัน)

อย่างไรก็ตาม เมื่อมานั่งคิดกันอย่างจริงจัง การสร้างมาตรวัดความสุขที่มีความน่าเชื่อถือและคงเส้นคงวาก็เป็นเรื่องที่ยากพอสมควร และถ้าจะสร้างมาตรวัดขึ้นมามั่วๆ ก็ไม่รู้จะสร้างกันขึ้นมาทำไม ...เดี๋ยวก็จะมีคนหน้าด้านมาบอกว่าตอนนี้ GDH ของประเทศไทยอยู่ในระดับสูงที่สุดอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนขึ้นมาอีก

Journal of Economic Perspectives ฉบับก่อนหน้านี้ ได้ตีพิมพ์บทความเรื่อง Development in the measurement of subjective well-being ของ Daniel Kahneman นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล แต่ทำงานที่คณะจิตวิทยา และ Alan Krueger นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดัง โดยทั้งคู่ทำงานอยู่ที่มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งบทความดังกล่าวได้พูดถึงความพยายามต่างๆ ที่ผ่านมา ที่จะสร้าง "มาตรวัดความสุข" ที่มีความน่าเชื่อถือและคงเส้นคงวา

บทความของผมชิ้นนี้จะหยิบยกเอาปัญหาสำคัญๆ บางประการในการสร้างมาตรวัดความสุขที่ถูกกล่าวถึงอยู่ในบทความของ Kahneman และ Krueger ชิ้นดังกล่าว ปัญหาที่เห็นกันอยู่ชัดเจนของการสร้างมาตรวัดดังกล่าวก็คือ การที่ "ความสุข" เป็นนามธรรมในความหมายกว้าง เป็นเรื่องของ "ทัศนคติส่วนบุคคล" ที่มักแตกต่างกันออกไป ด้วยเหตุผลนี้เราจึงไม่สามารถสร้างดัชนีวัดความสุขด้วยวิธีการแตกรายละเอียดกิจกรรมต่างๆ ที่ผู้คนทำลงไปแบบวิธีการคำนวณ GDP

...ยกตัวอย่างเช่น ถ้านายปอกินก๋วยเตี๋ยววันละ 3 ชาม และซื้อเสื่อมานอน ส่วนนายทษกินก๋วยเตี๋ยววันละ 10 ชาม และซื้อที่นอนแสนนุ่มมานอน เราจะสรุปเอาเองว่านายทษมีความสุขมากกว่านายปอก็ไม่ได้...นายทษอาจอยากนอนเสื่อมากกว่าแต่ภรรยาไม่ยอม หรืออาจอยากกินก๋วยเตี๋ยวแค่ 3 ชาม แต่เดี๋ยวมันเสียเกียรติ

ดังนั้นการสร้างดัชนีวัดความสุขที่ชัดเจนที่สุดในเบื้องต้นก็คือการออกไปสอบถามความเห็นของผู้คนภายใต้สภาวการณ์ปัจจุบันว่า "โดยรวมๆ แล้ว คุณมีความสุขมากแค่ไหนกับชีวิตคุณในปัจจุบัน" โดยให้ผู้คนตอบเป็นสเกลตั้งแต่ 1-4 เพื่อชี้ว่าตนเองไม่มีความสุข ไปจนถึงมีความสุขมาก แล้วนำคำตอบที่ได้มาหาค่าเฉลี่ย

ถึงแม้จะดูไม่ค่อยน่าเชื่อถือ แต่ถ้าหากนำเอาดัชนีดังกล่าวไปเปรียบเทียบในกลุ่มคนกลุ่มเดียวกันข้ามเวลา ดัชนีดังกล่าวสามารถทำนายเหตุการณ์ที่ตามมาในอนาคตได้ดีพอสมควร เช่น การสร้างดัชนีลักษณะดังกล่าวเกี่ยวกับความพอใจของงานที่ตนทำอยู่ สามารถทำนายการเปลี่ยนงานของผู้คนในอนาคตได้เป็นอย่างดี
ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

พลังความจงรักภักดี เรารักในหลวง ดันดัชนีความสุขคนไทยพุ่ง

โพสต์ที่ 6

โพสต์

แต่ปัญหาสำคัญของดัชนีที่สร้างขึ้นลักษณะนี้ก็คือ มีงานวิจัยด้านจิตวิทยาหลายงานพบว่าการตอบคำถามข้างต้นของผู้คนขึ้นอยู่กับ "ความทรงจำ" ในขณะนั้นของพวกเขาเป็นหลัก โดยเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นไปไม่นานจะมีผลกระทบต่อคำตอบมากกว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไปนานแล้ว

...สมมติว่าก่อนหน้านั้นถ้าผู้คนมีความสุขดี กินอิ่มนอนหลับ เป็นเวลาเกือบ 20 วัน แต่เมื่อ 2-3 วันก่อนหน้านั้นเกิดเหตุการณ์สะเทือนใจพวกเขา จนทำให้ต้องไปนั่งประท้วงกลางสนามหลวง ถ้าเราไปถามผู้คนเหล่านั้นในช่วงหลังนี้ว่าโดยรวมๆ แล้วคุณมีความสุขไหมในช่วงที่ผ่านมา เรามักจะได้รับคำตอบว่า "ไม่มีความสุข"

การ "จำไม่ได้" ว่ามีความสุขแตกต่างจากการ "ไม่ได้รับ" ความสุข ดังนั้นการสร้างดัชนีจากคำตอบที่ได้รับดังกล่าวอาจตกหล่น หรือบิดเบือน จากปัญหาเกี่ยวกับความทรงจำของผู้คน

นอกจากนั้นดัชนีดังกล่าวยังมีปัญหาความคงเส้นคงวา โดยค่าของดัชนีขึ้นอยู่กับจังหวะเวลาที่มีการจัดทำดัชนีสูงมาก...ถ้าหากจัดทำดัชนีในวันก่อนหน้าการประท้วงที่สนามหลวงพอดี ค่าดัชนีที่ได้รับจะแตกต่างกันมากกับดัชนีที่จัดทำภายหลังจากนั้น 2-3 วัน

ปัญหาสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ มีงานวิจัยหลายงานที่พบว่าระดับความรู้สึกของผู้คนขึ้นอยู่กับ "เป้าหมายส่วนบุคคล" โดยงานเหล่านี้ชี้ว่าผู้คนวัดระดับความรู้สึกของตนเองโดยเปรียบเทียบสถานการณ์ในปัจจุบันกับเป้าหมายในชีวิตของตน ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงระดับความรู้สึกอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงเป้าหมายในชีวิต ทั้งๆ ที่ความสุขที่ได้รับจากกิจกรรมอันหนึ่งอาจอยู่ในระดับเดิม

...สมมติว่า ในช่วงก่อนนายทษเคยทำงานขายพวงมาลัย ถ้านายทษเก็บเงินตกได้ 2 ล้านบาท นายทษจะรู้สึกมีความสุขเป็นอย่างยิ่ง ในปัจจุบันนายทษคนเดิมจับพลัดจับผลูได้มาเป็นนายกฯ บังเอิญเก็บเงินที่ผู้คนทั้งประเทศทำตกได้ 2 ล้านบาท นายทษอาจรู้สึกแย่ที่เก็บเงินได้น้อยกว่านายกฯคนอื่น...เป้าหมายในชีวิตของนายทษเปลี่ยนไป ทั้งๆ ที่เงินจำนวนดังกล่าวอาจนำมาซึ่งสินค้าและบริการต่างๆ ในปริมาณเท่าเดิม

ดัชนีวัดความสุขที่สามารถลดทอนปัญหาเกี่ยวกับ "ความทรงจำ" และ "เป้าหมายส่วนบุคคล" ได้ดีที่สุดในปัจจุบัน คือ ดัชนีที่สร้างขึ้นโดยใช้วิธีที่เรียกว่า experience sampling method โดยผู้สร้างดัชนีจะสุ่มสอบถามผู้คนเป็นระยะๆ อาจทุกๆ 20 นาที เป็นช่วงระยะเวลาหนึ่ง โดยผู้สร้างดัชนีจะมีคำถามเกี่ยวกับกิจกรรมที่ทำอยู่ ระยะเวลาในการทำกิจกรรม ความรู้สึกของการทำกิจกรรม และตัวแปรต่างๆ ที่อาจกระทบระดับความรู้สึกเข้าไปด้วย

แน่นอนว่าการทำดัชนีดังกล่าวมักถูกใช้ในกลุ่มทดลอง และเราไม่สามารถนำวิธีการดังกล่าวมาใช้คำนวณดัชนีวัดความสุขในผู้คนกลุ่มใหญ่ได้ มันเป็นการสิ้นเปลืองเกินไปทั้งกับตัวผู้จัดทำดัชนีและกลุ่มผู้ตอบคำถาม

Kahneman และ Krueger เสนอดัชนีในลักษณะที่มีความต้องการทางด้านข้อมูลที่ลดลง นั่นคือ ดัชนีที่สร้างโดยวิธีการ day reconstruction method โดยผู้สร้างดัชนีอาจสอบถามผู้คนวันละครั้ง โดยในแต่ละครั้งผู้สร้างดัชนีจะมีคำถามเพื่อให้ผู้คนนึกถึงกิจกรรมที่ตัวเองทำและระยะเวลาในการทำกิจกรรมในช่วงวันที่ผ่านมา จากนั้นจะมีคำถามเกี่ยวกับระดับความรู้สึก และตัวแปรต่างๆ ที่อาจกระทบระดับความรู้สึก

ผลลัพธ์ที่ได้ถูกนำไปทดสอบกับดัชนีที่ถูกจัดทำขึ้นโดยวิธีการ experience sampling method และให้ผลลัพธ์ที่ไม่แตกต่างกันมากนัก ในหลายๆ ด้าน ซึ่งทำให้ Kahneman และ Krueger เชื่อว่าดัชนีดังกล่าวเป็นดัชนีที่จะใช้วัดระดับความสุขได้ดีอันหนึ่ง

การสร้างดัชนีวัดความสุขที่ผ่านไปนี้เป็นเพียงการสร้างดัชนีวัดความสุขในเชิงเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มคนกลุ่มเดียวกันข้ามเวลาเท่านั้น...นั่นคือ ดัชนีดังกล่าวมีความน่าเชื่อถือและคงเส้นคงวาในการวัดระดับความสุขของคนไทยในปีนี้เปรียบเทียบกับคนไทยในปีหน้า ยังไม่สามารถเปรียบเทียบระดับความสุขระหว่างคนไทยกับเพื่อนลาว หรือเพื่อนพม่าได้

ดัชนีวัดความสุขที่สามารถเปรียบเทียบข้ามกลุ่มคนต้องการกระบวนการเทียบเคียงเพื่อชี้ว่าระดับความสุขหนึ่งหน่วยในกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งจะมีค่าเป็นเท่าไรของระดับความสุขของกลุ่มคนอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างซับซ้อน...GDH เป็นดัชนีในลักษณะหลังนี้ ซึ่ง Kahneman และ Krueger มองว่ายังเป็นเรื่องที่ห่างไกลจากระดับความรู้ที่เรามีอยู่ในปัจจุบัน

ในความเห็นส่วนตัวของผม ผมเห็นด้วยกับ Kahneman และ Krueger ว่าการสร้างดัชนี GDH มาใช้ทดแทน GDP ยังเป็นเรื่องยากในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม การสร้างดัชนีวัดระดับความรู้สึกบางอย่างมาใช้ประกอบกับ GDP เป็นเรื่องที่เป็นไปได้

GDP สามารถใช้เป็นตัวแทนของสวัสดิการของผู้คนสำหรับกิจกรรมที่มีตลาดรองรับได้ดีระดับหนึ่ง ดังที่ผมได้อธิบายเอาไว้ในตอนต้น และ GDP ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับความทรงจำหรือทัศนคติส่วนบุคคลดังที่เกิดขึ้นกับดัชนีวัดระดับความสุข

ส่วนที่ตกหล่นหายไปใน GDP อาจทดแทนได้ด้วยการใช้ดัชนีวัดความรู้สึกเฉพาะกิจกรรมหลายๆ ตัวประกอบกัน ยกตัวอย่างเช่น ดัชนีความพอใจในงานที่ทำ ดัชนีความปลอดภัยในชีวิต ดัชนีความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมรอบๆ บ้านและเพื่อนบ้าน

ดัชนีกลุ่มหลังนี้มีปัญหาเกี่ยวกับความทรงจำน้อยกว่า เพราะเป็นเรื่องที่ผู้คนพบเจอทุกวัน แต่ก็ยังคงมีปัญหาเกี่ยวกับทัศนคติส่วนบุคคลอยู่ดี และไม่สามารถนำไปเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มบุคคลได้อยู่ดี อย่างไรก็ตามผมก็ยังคิดว่ามันอาจจะช่วยเสนอแง่มุมของการพัฒนาที่ GDP ไม่อาจนำเสนอได้บ้าง ไม่มากก็น้อย
Oatarm
Verified User
โพสต์: 1266
ผู้ติดตาม: 0

พลังความจงรักภักดี เรารักในหลวง ดันดัชนีความสุขคนไทยพุ่ง

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ขอบคุณครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

พลังความจงรักภักดี เรารักในหลวง ดันดัชนีความสุขคนไทยพุ่ง

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ดัชนีชี้ความสุข

คอลัมน์ คอลัมน์ที่13 ข่าวสด




เมื่อกลางสัปดาห์ มูลนิธิ "นิวอีโคโนมิกส์ ฟาวเดชั่นส์" (เอ็นไอเอฟ) ซึ่งเป็นหน่วยงานวิชาการในอังกฤษ ร่วมกับกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโลก "เฟรนส์ ออฟ ดิ เอิร์ธ" เปิดเผยผลสำรวจและจัดอันดับ "แฮปปี้ พลาเน็ต"

โดยศึกษาและใช้ข้อมูลวัดความสุขของประชาชน รวมถึงวิธีที่ประชาชนปฏิบัติต่อสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ

การสำรวจพิจารณาจากองค์ประกอบใหญ่ 3 ประการ คือ เป้าหมายด้านนิเวศวิทยา ความพอใจในชีวิตความเป็นอยู่ และอายุเฉลี่ยของประชากร (Life expectancy)

สามารถจัดลำดับประเทศที่มีความสุขในโลก 178 ประเทศ ดังนี้คือ 1.วานูอาตู 2.โคลัมเบีย 3.คอสตาริกา 4.โดมินิกา 5.ปานามา 6.คิวบา 7.ฮอนดูรัส 8.กัวเตมาลา 9.เอล ซัลวาดอร์ 10.เซนต์ วินเซนต์ และเกรนาดีนส์ 11.เซนต์ ลูเซีย 12.เวียดนาม 13.ภูฏาน 14.ซามัว(ตะวันตก) 15.ศรีลังกา 16.แอนติกัว และ บาร์บูดา 17.ฟิลิปปินส์ 18.นิการากัว 19.คีร์กิซสถาน 20.หมู่เกาะโซโลมอน

21.ตูนิเซีย 22.เซา ตูเม และ ปรินซิปี 23.อินโดนีเซีย 24.ตองกา 25.ทาจิกิสถาน 26.เวเนซุเอลา 27.สาธารณรัฐโดมินิกัน 28.กีอานา 29.เซนต์ คิตส์ และเนวิส 30.เซเชลส์ 31.จีน 32.ไทย 33.เปรู 34.ซูรินัม 35.เยเมน 36.ฟิจิ 37.โมร็อกโก 38.เม็กซิโก 39.มัลดีฟส์ 40.มัลตา

41.บังกลาเทศ 42.โคโมรอส 43.บาร์บาโดส 44.มาเลเซีย 45.ปาไลสเตน์ 46.เคปเวิร์ด 47.อาร์เจนตินา 48.ติมอร์-เลสเต 49.เบลิซ 50.ตรินิแดด และโตเบโก 51.ชิลี 52.ปารากวัย 53.จาเมกา 54.เนปาล 55.มอริเชียส 56.มองโกเลีย 57.อุรุกวัย 58.เอกวาดอร์ 59.อุซเบกิสถาน 60.เกรนาดา

61.ออสเตรีย 62.อินเดีย 63.บราซิล 64.ไอซ์แลนด์ 65.สวิตเซอร์แลนด์ 66.อิตาลี 67.อิหร่าน 68.กานา 69.โบลิเวีย 70.เนเธอร์แลนด์ 71.มาดากัสการ์ 72.ไซปรัส 73.แอลจีเรีย 74.ลักเซมเบิร์ก 75.บาฮามัส 76.ปาปัวนิวกินี 77.พม่า 78.เบลเยียม 79.สโลวีเนีย 80.โอมาน

81.เยอรมนี 82.โครเอเชีย 83.เลบานอน 84.ไต้หวัน 85.ตาฮิติ 86.ซีเรีย 87.สเปน 88.ฮ่องกง 89.ซาอุดีอาระเบีย 90.แกมเบีย 91.กัมพูชา 92.แอลเบเนีย 93.จอร์แดน 94.นิวซีแลนด์ 95.ญี่ปุ่น 96.คองโก 97.อียิปต์ 98.ตุรกี 99.เดนมาร์ก 100.บรูไน

101.จอร์เจีย 102.เกาหลี 103.บอสเนีย-เฮอร์เซโกวินา 104.เซเนกัล 105.อาเซอร์ไบจัน 106.กาบอง 107.ลิเบีย 108.อังกฤษ 109.ลาว 110.เบนิน 111.แคนาดา 112.ปากีสถาน 113.ไอร์แลนด์ 114.โปแลนด์ 115.นอร์เวย์ 116.มาซิโดเนีย 117.อิสราเอล 118.นามิเบีย 119.สวีเดน 120.โรมาเนีย

121.ฮังการี 122.กินี 123.ฟินแลนด์ 124.มอริเตเนีย 125.คาซัคสถาน 126.โตโก 127.เคนยา 128.เช็ก 129.ฝรั่งเศส 130.อาร์เมเนีย 131.สิงคโปร์ 132.สโลวะเกีย 133.กรีซ 134.แทนซาเนีย 135.กินี-บิสเซา 136.โปรตุเกส 137.เอริเทรีย

138.บาห์เรน 139.ออสเตรเลีย 140.มาลี

141.โมซัมบิก 142.แคเมรูน 143.จิบูตี 144.เอธิโอเปีย 145.บัลแกเรีย 146.ไนจีเรีย 147.มอลโดวา 148.บูร์กินาฟาโซ 149.ลิทัวเนีย 150.สหรัฐอเมริกา 151.ไอวอรี โคสต์ 152.รวันดา 153.เซียร์รา ลีโอน 154.สหรัฐอาหรับ เอมิเรสต์ 155.แองโกลา 156.แอฟริกาใต้ 157.ซูดาน 158.ยูกันดา 159.คูเวต 160.ลัตเวีย

161.ไนเจอร์ 162.มาลาวี 163.แซมเบีย 164.สาธารณรัฐแอฟริกากลาง 165.เบลารุส 166.กาตาร์ 167.บอตสวานา 168.แช็ด 169.เติร์กเมนิสถาน 170.อิเควทอเรียลกินี 171.เลโซโธ 172.รัสเซีย 173.เอสโตเนีย 174.ยูเครน 175.คองโก 176.บุรุนดี 177.สวาซิแลนด์ 178.ซิมบับเว

"วานูอาตู" เกาะเล็กๆ ในแปซิฟิกตอนใต้ มีประชากร 200,000 คน ขึ้นแท่นอันดับ 1 เพราะไม่ใช่สังคมบริโภค ประชาชนพอใจในวิถีชีวิต สิ่งที่มีคุณค่าต่อชีวิตคือครอบครัว ชุมชน และการปรารถนาดีต่อกัน

สิ่งที่ชาววานูอาตูกังวลมีเพียงไซโคลนหรือแผ่นดินไหวเท่านั้น

น่าสังเกตว่าประเทศร่ำรวย หรือชาติอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก (จี 8) ไม่มีประเทศใดติด 50 อันดับแรกเลย

ขณะที่ไทยติดอันดับที่ 32 มีเพื่อนบ้านคือเวียดนามเป็นชาติที่มีความสุขที่สุดในเอเชีย อยู่อันดับที่ 12
ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

พลังความจงรักภักดี เรารักในหลวง ดันดัชนีความสุขคนไทยพุ่ง

โพสต์ที่ 9

โพสต์

มาทำความเข้าใจ เศรษฐศาสตร์ที่ว่าด้วยความสุขกันดีกว่า

โดย ณัฐวุฒิ เผ่าทวี มหาวิทยาลัยลอนดอน




หลายๆ ท่านที่ได้ติดตามข่าวของประเทศภูฏานและ "ดัชนีความสุข" อาจจะยังสงสัยว่าความสุขของคนเรานั้นวัดได้จริงหรือ วัดยังไง ข้อมูลความสุขเชื่อถือได้มากน้อยขนาดไหน และจะเอามาวิเคราะห์ยังไง

การวิจัยเรื่องความสุขนี้ถือว่าไม่ใช่เรื่องที่ใหม่ และในหลายๆ ประเทศ โดยเฉพาะประเทศทางฝั่งตะวันตกก็มีการเก็บข้อมูลความสุขของประชาชนมาอยู่นานนับสิบๆ ปีแล้ว

ข้อมูลความสุขหรือ Happiness Data ซึ่งนำมาจากการกรอกแบบสอบถามอย่าง เช่น "ถ้าคุณลองคิดทบทวนชีวิตของคุณจนถึงทุกวันนี้ คุณคิดว่าคุณมีความสุขกับชีวิตมากน้อยขนาดไหน จาก 1 ถึง 7 โดย 1.ความสุขน้อยที่สุด ไปจนถึง 7.ความสุขมากที่สุด"

การศึกษาและวิจัยประเภทนี้ดำเนินการโดยนักจิตวิทยามานานพอสมควร โดยผลของการวิจัยส่วนใหญ่สรุปว่าข้อมูลความสุขนั้นมีความน่าเชื่อถือมากถึงระดับหนึ่ง

ยกตัวอย่างเช่น คนที่กรอกในแบบฟอร์มว่าตัวเองมีความสุขกับชีวิตมาก ก็จะมีเปอร์เซ็นต์ที่จะแต่งงานในอนาคตสูงกว่า มีโอกาสที่จะป่วยน้อยกว่า และมีเปอร์เซ็นต์ที่จะมีอายุยืนมากกว่า คนที่บอกว่าตัวเองไม่ค่อยมีความสุขกับชีวิตเท่าไหร่

พูดง่ายๆ ก็คือว่า ข้อมูลความสุขหรือ Happiness Data นั้นสามารถนำมาใช้เป็นดัชนีบ่งชี้ถึงความสุขของคนเราได้จริง

การนำข้อมูลความสุขมาวิเคราะห์ในวิชาเศรษฐศาสตร์ที่ว่าด้วยความสุข หรือ Economics of Happiness ส่วนใหญ่จะใช้เทคนิคทางคณิตศาสตร์และทางสถิติในทฤษฎีจุลภาค (Microeconometrics) มาอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างความสุข และปัจจัยชีวิต รวมทั้งปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจ อย่างเช่น เงิน ประวัติการว่างงาน การศึกษา ชีวิตแต่งงาน และทุนทางสังคม โดยนัก(?) Southern California ที่สหรัฐอเมริกา

ผลการวิจัยแรกๆ ของ Easterlin พบว่าคนที่มีเงินมากกว่า ส่วนใหญ่จะมีความสุขมากกว่าคนที่มีเงินน้อยกว่า แต่ว่าเมื่อรายได้ของคนทั้งประเทศเพิ่มขึ้นไปจนถึงจุดหนึ่งแล้วความสุขกลับไม่เพิ่มขึ้นตามไปด้วย

ปรากฏการณ์นี้ หรือที่เรียกกันในกลุ่มนักเศรษฐศาสตร์ว่า "Easterlin Paradox" สามารถอธิบายได้โดยใช้ทฤษฎีการเปรียบเทียบ (Social Comparison) และทฤษฎีการปรับตัว (Habituation) พูดง่ายๆ ก็คือว่า คนเรานั้นเมื่อมีรายได้ที่เพิ่มขึ้นไปจนถึงจุดหนึ่งแล้ว ก็จะเริ่มนำตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนอื่น

การนำตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนอื่นจะมีผลบวกกับความสุขก็ต่อเมื่อเรามีรายได้ที่มากกว่าคนอื่นเท่านั้น คนที่มีรายได้ที่น้อยกว่าคนทั่วไปส่วนใหญ่ ก็จะมีสุทธิความสุข หรือ Net Happiness ที่ได้มาจากการเปรียบเทียบทางสังคมเป็นค่าลงไป เพราะฉะนั้นการเปรียบเทียบทางสังคมก็จะส่งผลให้คนทั่วไปส่วนใหญ่ใช้ชีวิตในที่ทำงานมากขึ้น และมีเวลาให้กับครอบครัวน้อยลง เพื่อที่จะผลักดันให้ตนเองมีรายได้ที่ดีกว่าคนอื่น เพื่อจะได้มีความสุขมากกว่าคนอื่น

แต่ว่าการเปรียบเทียบทางสังคมนั้น กลับไม่ส่งผลประโยชน์ให้กับความสุขโดยรวม หรือ Social Happiness เลย เพราะว่าความสุขที่ได้มาจากการเปรียบเทียบเป็น Zero-sum Game ซึ่งจำนวนของคนที่ได้จะเท่ากับจำนวนของคนที่เสีย ส่วนความสุขโดยรวม อาจจะลดลงไปด้วยซ้ำ ถ้าหากว่าความสุขที่เราได้มาจากรายได้ที่เพิ่มขึ้นนั้นวัดได้น้อยกว่าความสุขที่เราควรจะได้รับมาจากการใช้เวลาอยู่กับครอบครัว และคนที่เรารัก

อีกเหตุผลหนึ่งก็คือ คนเรานั้นสามารถปรับตัวไปกับรายได้ที่เพิ่มขึ้นเร็วมาก จากผลการวิจัยของนักเศรษฐศาสตร์ชาวสวิส Alois Stutzer แห่งมหาวิทยาลัย Zurich สรุปให้เห็นว่า ความทะเยอทะยานทางด้านรายได้ (Income Aspiration) ของคนเรา ส่วนใหญ่จะเพิ่มขึ้นพร้อมๆ กันกับรายได้ที่เราได้รับมาซึ่งก็จะทำให้ความพึงพอใจกับรายได้ และชีวิตเราลดลงไปด้วย

Andrew Oswald นักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษแห่งมหาวิทยาลัย Warwick กล่าวว่า ความสุขที่เราได้มาจากเงินนั้นมีค่าน้อยมาก เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับความสุขที่เราได้มาจากปัจจัยอื่นๆ ในชีวิต

Oswald ได้ใช้เทคนิคที่ว่าด้วยสมการความสุข หรือ Happiness Equation มาแสดงให้เห็นว่า ถ้ารัฐบาลอังกฤษต้องการที่จะจ่ายค่าชดเชยคนๆ หนึ่ง ที่มีความทุกข์จากการว่างงาน เพื่อที่จะทำให้คนคนนั้นกลับไปมีความสุขเทียบเท่ากับตอนที่เขายังมีงานประจำทำ รัฐบาลจะต้องจ่ายเงินเขาเป็นจำนวน E 75,000 หรือเป็นเงินไทยก็ประมาณ 5.6 ล้านบาทต่อปี

ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ยรายได้ของคนอังกฤษ (ประมาณ E 9,800) เกือบถึง 8 เท่า

ส่วนคนที่แต่งงานแล้วนั้น เมื่อเทียบกันกับคนที่ยังไม่ได้แต่ง จะเหมือนกับมีเงินอยู่ในกระเป๋า E 70,000 หรือประมาณ 5.3 ล้านบาทต่อปี

นอกจากการวิจัยในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างรายได้และความสุขแล้วนั้น นักเศรษฐศาสตร์รุ่นใหม่หลายๆ ท่านก็ได้นำข้อมูลความสุขมาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์เศรษฐกิจ และสังคมในอีกหลายๆ ด้าน Rafael Di Tella แห่งมหาวิทยาลัย Harevard และ Robert MacCoulloch แห่งมหาวิทยาลัย Imperial College ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า คนที่อยู่กลุ่มหรือพรรคการเมืองฝ่ายขวา จะไม่ชอบเงินเฟ้อ (Inflation) และความสุขก็จะลดลง ถ้ามีเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นมากในประเทศ

ในทางกลับกัน คนที่อยู่กลุ่มหรือพรรคการเมืองฝ่ายซ้าย ก็จะไม่ชอบการว่างงาน (Unemployment) มากกว่าเงินเฟ้อ

ส่วนทางด้านเศรษฐศาสตร์พัฒนา Carol Graham และ Stefano Pettinato จากศูนย์วิจัย Brooking Institute ที่สหรัฐอเมริกา ได้แสดงให้เห็นว่า ความไม่เท่าเทียมกันของรายได้ในสังคม (Income Inequality) จะมีผลกับความสุขของคนที่มีรายได้ต่ำในประเทศละตินอเมริกา แต่จะมีผลบวกกับความสุขของคนที่มีรายได้สูงกว่าค่าเฉลี่ยของคนทั้งประเทศ

สรุปก็คือ สำหรับประเทศที่กำลังพัฒนา อย่างเช่นประเทศแถบละตินอเมริกานั้น การไม่มีความเท่าเทียมกันของรายได้ในสังคม ไม่ได้หมายความว่า คนที่มีรายได้ต่ำจะรู้สึกว่าตนเองก็มีโอกาสที่จะก้าวขึ้นไปจุดสูงสุดของรายได้ในสังคมได้

แต่กลับกลายเป็นว่า คนที่รวยในสังคมก็จะรู้สึกว่าตนเองมีโอกาสที่รวยต่อไปเรื่อยๆ ส่วนคนที่จนก็จะรู้สึกว่าตนเองนั้นจะจนอย่างนั้นต่อไป

น่าเสียดายที่เมืองไทยของเราในตอนนั้น ยังไม่ได้มีโครงการวางแผนที่จะเก็บข้อมูลความสุขที่เป็นรูปเป็นร่าง เพราะฉะนั้น คนไทยเราก็เลยยังไม่รู้ว่าอะไรทำให้คนไทยส่วนใหญ่มีความสุข และอะไรทำให้คนไทยมีความสุขที่สุด

ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่เราควรจะเริ่มวัดความสุขกันอย่างเป็นจริงเป็นจังสักที

โพสต์โพสต์