การเรียนรู้ของมนุษย์ ตั้งแต่สำนักตักศิลา โรงเรียนในยุคกลาง มหาวิทยาลัยฮุมโบลท์ มหาวิทยาลัยสมัยใหม่ และมหาวิทยาลัยในประเทศกำลังพัฒนา
โดย สิปปนนท์ เกตุทัต [email protected]
วันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549
อยากจะเขียนเรื่อง "มนุษย์และการเรียนรู้" มานานแล้ว ตั้งแต่เรียนรู้จากคุณพ่อ คุณแม่ และพี่ๆ น้องๆ ดังกล่าวตั้งแต่ 70 ปี และเรียนรู้จากคุณครู เพิ่งมามีโอกาสได้เขียนเมื่อนอนป่วยอยู่ที่โรงพยาบาล และได้เห็นในหนังสือพิมพ์ที่มีการเรียนรู้ของเด็กนุ่งกางเกงขาสั้น ซึ่งตรงกันข้ามกับเด็กนุ่งกางเกงขายาวในมหาวิทยาลัย ซึ่งไม่ได้เรียนรู้อะไรเลย และไม่กล้าเขียนอะไรเลยลงในสื่อมวลชน
ขอเริ่มตั้งแต่การเรียนรู้ที่สำนักตักศิลา บริเวณรอบๆ สำนักตักศิลามีโบสถ์ มีวัด อยู่เป็นจำนวนมากมาย ในแต่ละโบสถ์ แต่ละวัด มีนักบวชหรือพระมานั่งสนทนากัน ชี้แง่มุมต่างๆ ที่ตนได้ปฏิบัติมา นั่งถกเถียงกันอย่างชัดเจน ในลักษณะเช่นนี้จึงทำให้สำนักตักศิลาเจริญขึ้นในทางสังคมอย่างงอกงามมากกว่าที่อื่น
ต่อมาในยุคกลางมีโรงเรียนตั้งขึ้นมากมาย ส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนทางศาสนา ซึ่งมักจะสอนในเรื่องเดียวกัน บอกให้เชื่อในเรื่องเดียวกัน เช่น โลกนี้เป็นโลกแบน ไม่ใช่เป็นโลกกลม ทำให้ผู้ที่เชื่อว่าเป็นโลกกลมต้องติดคุกอยู่ในนั้นเป็นเวลานาน
ยุคต่อมาเป็นยุคที่เริ่มเปิดแนวความคิดต่างๆ ได้ คือ มหาวิทยาลัยโบโลญญ่า (Bologna) ในประเทศอิตาลี มหาวิทยาลัยแห่งนี้มีการสอนหลายด้าน ทั้งด้านศาสนา การแพทย์ การปกครอง และด้านต่างๆ
ทำให้โลกในยุคมหาวิทยาลัยโบโลญญ่า เจริญขึ้นอย่างมากมาย
ถัดมาเป็นยุคที่เจริญที่สุดในทางปัญญา เป็นยุคของ วิลเฮ็ม ฟอน ฮุมโบลท์ (Wilhelm Von Humbolt) ซึ่งเป็นนักปราชญ์ และพี่ชายของนักปราชญ์ Alexander von Humbolt ที่ให้คนเก่งๆ ไปเรียนทั่วเยอรมัน และคนเยอรมันไปเรียนทั่วโลก
วิลเฮ็ม ฟอน ฮุมโบลท์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแห่งรัฐปรัสเซีย ท่านผู้นี้มองเห็นว่า วิธีที่จะทำให้สังคมเจริญได้นั้นรัฐบาลจะต้องสนับสนุนในเรื่องการวิจัยและการสอนแก่มหาวิทยาลัย โดยรัฐบาลไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวใดๆ ทั้งสิ้น ให้เงินสนับสนุนและให้โอกาสเสรีในเรื่องการเรียน การสอน และการวิจัยมหาวิทยาลัยในประเทศต่างๆ ทั่วโลก
เช่น มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในอังกฤษ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และมหาวิทยาลัยจอห์นส์ ฮ๊อปกินส์ ในสหรัฐอเมริกา ได้เริ่มผสมผสานการเรียนรู้ การวิจัย และการพัฒนา โดยถือว่าขอบเขตของมหาวิทยาลัยไม่ได้อยู่ในรั้วของมลรัฐเท่านั้น ยังมีหน้าที่เพิ่มเติม คือ ช่วยพัฒนามลรัฐด้วย โดยเฉพาะในการนำความรู้ทางเทคนิคมาผสมผสานกับความรู้ทางเกษตรกรรม มีการนำเครื่องจักรกลทางเกษตรกรรมมาใช้ทำให้สหรัฐอเมริกาเจริญก้าวหน้าขึ้นเป็นอันมาก
ในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายพยายามลอกเลียนแบบจากมหาวิทยาลัยสมัยใหม่ในสหรัฐอเมริกา โดยเพิ่มบทบาทด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และให้รัฐบาลเข้าไปควบคุมมหาวิทยาลัยได้มากขึ้น
มหาวิทยาลัยไทยก็อยู่ในกลุ่มนี้ แต่สำหรับมหาวิทยาลัยไทยในยุคแรกๆ นั้น มีผู้ที่เข้าใจบทบาทของมหาวิทยาลัยอย่างมาก เช่น ล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 รัชกาลที่ 6 และต่อมาสมเด็จพระบรมราชชนกทรงเป็นอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลั ซึ่งในสมัยนั้นเรียกว่าผู้บัญชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 ได้ทรงเล็งเห็นว่าถ้าประเทศไทยจะเจริญก้าวหน้าไปได้จำเป็นต้องมีข้าราชการที่ดี ดังนั้นจึงได้ผนวกรวมรัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ และแพทยศาสตร์ เข้าไว้เป็นหัวใจหลักของการศึกษาไทย
ต่อมาได้เพิ่มวิศวกรรมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์เข้าด้วยกัน โดยสมเด็จพระบรมราชชนกได้ทรงเล็งเห็นว่าวิศวกรรมศาสตร์ก็ดี แพทยศาสตร์ก็ดี จะไม่สามารถเจริญก้าวหน้าขึ้นได้เลย ถ้าไม่มีพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
ดังนั้น มหาวิทยาลัยไทยในยุคนั้น จึงมีวิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมศาสตร์ แพทยศาสตร์ รัฐศาสตร์ และนิติศาสตร์ เป็นต้น
ต่อมาเมื่อประเทศไทยได้พัฒนามากขึ้น โดยเฉพาะในยุคของจอมพล สฤษฎิ์ ธนะรัชต์ ได้เพิ่มการพัฒนามหาวิทยาลัย โดยเพิ่มบทบาทของรัฐเข้ามาบังคับมหาวิทยาลัยมากเกินไป จนมหาวิทยาลัยไทยไม่ได้เป็นสมองเหมือนมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ กลับกลายเป็นมือ เป็นเท้าของระบบการศึกษาไป
จะเห็นได้ว่า ไม่ว่าเรื่องของการพัฒนามหาวิทยาลัย หรือบทบาทที่มหาวิทยาลัยจะต้องทำ จะต้องสนองตอบต่อรัฐทั้งหมด
ที่จริงมหาวิทยาลัยทั่วโลก มีบทบาทหลัก 3 ประการ คือ
1.บทบาทในการสนองตอบต่อความต้องการของรัฐ ซึ่งอาจไม่เหมือนกับความต้องการของรัฐบาลก็ได้
การเรียนรู้ของมนุษย์....โดย สิปปนนท์ เกตุทัต
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
การเรียนรู้ของมนุษย์....โดย สิปปนนท์ เกตุทัต
โพสต์ที่ 1
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
การเรียนรู้ของมนุษย์....โดย สิปปนนท์ เกตุทัต
โพสต์ที่ 2
2.บทบาทที่ช่วยชี้นำความเจริญให้แก่รัฐ ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องเหมือนกับความเจริญของรัฐบาลก็ได้ เช่น รัฐบาลไทยบางยุคบางสมัยชอบที่จะให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่เน้นการบริโภคนิยม แต่ขณะเดียวกันประเทศไทยก็ได้เน้นความเจริญในทางเศรษฐกิจพอเพียงเช่นเดียวกัน
แต่ยุคนี้ เข้าใจว่าประเทศไทยกำลังตกอยู่ในพลังของโลกาภิวัตน์ ซึ่งเน้นเฉพาะการบริโภคนิยมเป็นหลัก แทนที่จะยึดเรื่องของการกินดี อยู่ดีของมนุษย์และสังคม เมื่อเป็นเช่นนี้ มหาวิทยาลัยทั้งหมดของไทย ทั้งมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน ไม่กล้าที่จะโต้ตอบกับรัฐบาล ทั้งๆ ที่เกือบทุกแห่งเห็นด้วยว่าจะต้องทำให้รัฐไทย ไม่พึ่งแต่บริโภคนิยม
3.บทบาทในการช่วยเตือนสติสังคม ซึ่งไม่มีใครกล้าทำในยุคนี้ ยกเว้นเด็กสามคน
เป็นที่น่าสังเกตว่า เด็กในยุคใหม่ ซึ่งในหนังสือพิมพ์ใช้ว่า "นุ่งกางเกงขาสั้น" เป็นผู้มีใจกล้ากว่าเด็กที่นุ่งกางเกงขายาวในมหาวิทยาลัย
เด็กที่นุ่งกางเกงขาสั้นทั้งหมดได้แถลงว่า เขาทำด้วยตัวของเขาเอง เป็นเด็กที่กล้ามาก ได้แก่ นายยศ ตันสกุล นายศิวาวุธ สิทธิเวช นายภัทรนันท์ ลิ้มอุดมพร ซึ่งกล้าพูดว่ารัฐบาลกำลังจะทำให้ประชาชนชาวไทยติดไปในคราบของซาตาน เป็นคำพูดที่กล้าหาญมาก จนกระทั่งครูไม่กล้าออกมาพูดว่านี่เป็นเรื่องที่ครูได้พูด แต่เป็นเรื่องที่นักเรียนพูดเอง
น่าเห็นใจครูและมหาวิทยาลัยทุกแห่งในประเทศไทย ที่ไม่กล้าต่อต้านรัฐบาล แม้คณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่กล้าออกมาพูดว่าคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ จะปล่อยให้เป็นอย่างปัจจุบันไม่ได้ จะต้องเปลี่ยนเป็นนักคิด แต่ขณะเดียวกันนักรัฐศาสตร์หลายคนยังมีนิสัยเป็นข้าราชการประจำอยู่ จำต้องตามรัฐบาลไม่ใช่ตามรัฐ
ทั้งหมดที่เขียนนี้ แสดงให้เห็นว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ ไม่ใช่เรียนรู้วิธีเดียวจากมหาวิทยาลัยหรือจากรัฐบาล ต้องเรียนรู้จากทั้งพ่อแม่ ทั้งครู จากชีวิตจริง ทั้งจากพระในศาสนาต่างๆ เพื่อให้เข้าใจว่าโลกของเราจะอยู่ได้ จะต้องมีความงดงาม ทั้งในทางสติปัญญาและในทางคุณธรรม จริยธรรมด้วย จึงจะทำให้เป็นรัฐที่สมบูรณ์ ที่ประชาชนทั่วไปสามารถเจริญเติบโตได้พร้อมๆ กัน ไม่มีคนรวยสุดยอด ไม่มีคนจนจนต้องไม่มีอะไรจะรับประทาน
ดังนั้น แนวนโยบายของประเทศไทย ซึ่งนำโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ประเทศไทยจะต้องหาความพอดีในการเดินในแนวเศรษฐกิจพอเพียง ขณะเดียวกันก็ยังอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีความเป็นวัตถุนิยม จะต้องหาความพอดีของความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ที่สามารถจะเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เพื่อความเป็นสุขของโลก
จุดนี้ขอสรรเสริญเด็กทั้งสามคน ที่ชี้ให้เห็นว่าเรากำลังเดินผิดทาง
และขอขอบคุณการเรียนรู้ของเด็กทั้งสามคน ซึ่งถ้าประเทศไทยสามารถจะปฏิรูปการศึกษา เพื่อให้เด็กไทยทุกคนได้คิดเป็น ได้สามารถปฏิบัติเป็น ได้รู้ว่าความพอดีระหว่างคุณธรรมจริยธรรม กับ วัตถุนิยม คืออะไร จะทำให้ประเทศไทยสามารถเจริญต่อไปได้
ขอสรรเสริญเด็กทั้งสามคน และขอความเห็นใจต่อครูและมหาวิทยาลัยที่จำต้องเดินตามรัฐบาลอย่างไม่ได้คิด แต่รัฐของไทยดำรงอยู่มาได้ถึง 800 ปี เพราะได้หาความพอดีระหว่างการทำมาหากินที่ตรงไป ตรงมา ไม่เอาเปรียบซึ่งกันและกัน ไม่บังคับให้เชื่อซึ่งกันและกัน การทำมาหากินที่ให้ความเป็นธรรมแก่ทุกๆ คน ทุกๆ ฝ่าย
และขอขอบคุณที่ได้ให้ความสนใจแก่บทความนี้
(บทความนี้เขียนโดยสิปปนนท์ เกตุทัต ระหว่างนอนพักรักษาตัวด้วยโรคมะเร็งในกระดูกที่โรงพยาบาลศิริราช)
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
การเรียนรู้ของมนุษย์....โดย สิปปนนท์ เกตุทัต
โพสต์ที่ 3
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
การเรียนรู้ของมนุษย์....โดย สิปปนนท์ เกตุทัต
โพสต์ที่ 4
ศ.ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต เสียชีวิตแล้ว
ศ.ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต อดีตรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ถึงแก่กรรมแล้วด้วยโรคมะเร็งในกระดูก
วันนี้ (16 ก.ค.) เวลาประมาณ 14.00 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศ.ดร.สิปปนนท์ เกตุทัตอดีตรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ถึงแก่กรรมแล้วด้วยโรคมะเร็งในกระดูก
น.ส.ธาริสา เกตุทัต บุตรสาว ศ.ดร.สิปปนนท์ กล่าวว่า ศ.ดร.สิปปนนท์ เสียชีวิตเมื่อเวลา 13.08 น.วันนี้ ที่โรงพยาบาลศิริราช หลังจากเข้ารักษาตัวตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา และเข้าออกโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่อง โดยในวันพรุ่งนี้ (17 ก.ค.) จะมีพิธีพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ เวลา 17.00 น. ศาลา 100 ปี ณ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม สวดพระอภิธรรมเวลา 19.00 น. ทั้งนี้ เจ้าภาพแจ้งของดพวงหรีด
สำหรับประวัติโดยย่อของ ศ.ดร.สิปปนนท์ศ.ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต
เกิดเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2474 ด้านการศึกษา ประถมศึกษาจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล มัธยมศึกษาจากโรงเรียนอำนวยศิลป์ โรงเรียนนันทนศึกษา โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
ประวัติการศึกษา
พ.ศ.2496 - B.S.ฟิสิกส์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย
พ.ศ.2497- A.M.ฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
พ.ศ.2500 - Ph.D.ฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
พ.ศ.2519 - ปริญญาบัตร วปอ.รุ่นที่ 18
พ.ศ.2525 - ปริญญาบัตรกิตติมศักดิ์ วิทยาลัยการทัพอากาศ, กศ.ด.กิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, กศ.ด.กิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
พ.ศ.2530 - กศ.ด.กิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
พ.ศ.2535 - วศ.ด.กิตติมศักดิ์ สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้
พ.ศ.2537 - วท.ด.กิตติมศักดิ์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
พ.ศ.2538 - วท.ด.กิตติมศักดิ์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, กศ.ด.กิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
พ.ศ.2540 - พบ.ด.กิตติมศักดิ์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ประวัติการทำงาน
ศาสตราจารย์ ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประธานคณะศึกษา การศึกษาไทยในยุคโลกาภิวัตน์ ธนาคารกสิกรไทย ประธานกรรมการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประธานกรรมการบริษัท เอ็ฟเฟ็กทีฟ แพลนเนอร์ นายกสภามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ศาสตราจารย์กิตติคุณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัยในประเทศ 6 แห่ง (จุฬาฯ, มหิดล, ศิลปากร, ศรีนครินทรวิโรฒ, สงขลานครินทร์ และรังสิต) รวมทั้งดำรงตำแหน่งกรรมการระดับชาติอีกหลายกรรมการ อาทิ กรรมการการศึกษาแห่งชาติ กรรมการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน กรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ฯลฯ รวมทั้งเป็นกรรมการมูลนิธิเพื่อการศึกษาและวิทยาศาสตร์หลายแห่ง
ในอดีตเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ สมาชิกวุฒิสภา ประธานกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติ ประธานกรรมการกองทุนสนับสนุนการวิจัย ประธานกรรมการการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ประธานกรรมการบริษัท ปิโตรเคมีแห่งประเทศไทย จำกัด (มหาชน) เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ รองผู้อำนวยการซีเมนส์ กรรมการสภาสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย และกรรมการสภามหาวิทยาลัยสหประชาชาติ
ศาสตราจารย์ ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต ได้รับทุนรัฐบาล (คุรุสภา) ไปศึกษาวิชาฟิสิกส์เป็นเวลา 9 ปี ตั้งแต่ 29 มีนาคม พ.ศ.2492 จนถึง 15 พฤษภาคม พ.ศ.2501 ตั้งแต่ระดับปริญญาตรี โท และเอก รวมทั้งปฏิบัติการวิจัยหลังปริญญาเอก และได้รับทุนวิจัยไปทำงานวิจัยในสหรัฐอเมริกา 2 และเยอรมนี อีก 1 ปี
ศาสตราจารย์ ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก สาขานิวเคลียร์ฟิสิกส์ จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด มีประสบการณ์ทำงานหลายด้าน เคยดำรงตำแหน่งสำคัญในมหาวิทยาลัย ในส่วนราชการหลายแห่ง และในทางการเมืองก่อนที่จะเข้ามามีบทบาททางธุรกิจและอุตสาหกรรมของชาติ รวมทั้งการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
ในช่วงเวลาเกือบสิบปี นับตั้งแต่ พ.ศ.2517 ศาสตราจารย์ ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต มีบทบาทสำคัญในการปฏิรูปการศึกษาของไทย และในช่วงเวลาเดียวกันนี้เคยเป็นที่ปรึกษาธนาคารโลกองค์การยูเนสโก และมูลนิธิการศึกษาต่างๆ
นับตั้งแต่ พ.ศ.2527 เป็นต้นมา ศาสตราจารย์ ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต ได้เป็นผู้บุกเบิกอุตสาหกรรมปิโตรเคมีตามแผนพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก และได้มีส่วนสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมก๊าซธรรมชาติและอุตสาหกรรมน้ำมันของประเทศด้วย
ศาสตราจารย์ ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต มีผลงานที่เป็นภาษาไทยรวมกว่า 200 เรื่อง ภาษาอังกฤษรวมกว่า 90 เรื่อง
ด้านผศ.ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ อาจารย์คณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่ารู้สึกเสียใจกับการสูญเสียครั้งนี้ เพราะท่านถือเป็นหลักความคิดด้านการศึกษาคนหนึ่ง ก่อนที่จะมีพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ 2542 ท่านเป็นผู้หนึ่งที่ผลักดันให้เกิดการปฏิรูปการศึกษาให้สังคมไทยมาจนถึงปัจจุบัน
"เมื่อปี 2537-2538 ท่านดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการการศึกษาไทยยุคโลกาภิวัฒน์ที่สนับสนุนโดยธนาคารกสิกรไทย เป็นผู้ริเริ่มเปิดเวที ทำหนังสือ การประชุม สัญจร 4 ภาค ระดมความคิดออกมาเป็นแนวทางการปฎิบัติออกมาเป็นพิมพ์เขียว แผนแม่บทของร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ 2542 รวมไปถึงอยู่เบื้องหลังการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น มาตรฐานอาชีพครู ประกันคุณภาพ โดยเฉพาะการเรียนเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อให้นักเรียนพัฒนาศักยภาพการเรียนได้อย่างเต็มที่"ผศ.ดร.อมรวิชช์ กล่าว
อาจารคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวอีกว่า หลายคนมักวิพากษ์วิจารณ์ หงุดหงิดกับการพัฒนาการศึกษาตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ แต่ในมุมมองของตนเห็นว่า การศึกษาไทยเริ่มพัฒนาดีขึ้นเรื่อยๆ อาจจะช้าไม่ทันใจบางคนแต่สิ่งที่นายสิปปานนท์คิดไว้ได้ซึมลึกให้นักการศึกษารุ่นใหม่ รวมถึงตนเอง ให้สานต่อแนวคิดที่ดีให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม และการปฎิรูปการศึกษาไทย พร้อมจะสืบสานแนวคิดให้ประสบความสำเร็จในที่สุด
"ความสูญเสียครั้งนี้ไม่ใช่เป็นแค่การสูญเสียนักการศึกษาครั้งใหญ่เท่านั้น สังคมไทยยังสูญเสียผู้ใหญ่ที่คอยเป็นหลักให้พวกเรา พวกเรารักเคารพอย่างเต็มหัวใจ ท่านเป็นคนดี น่ารัก ให้โอกาสทุกคนได้คิดได้ทำสิ่งที่ดี มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด โอบอ้อมอารี มีเมตตาต่อคนรุ่นหนุ่มสาว ผมถือว่าท่านเป็นแบบอย่างที่ดีด้านผู้มีคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต ด้วย สมควรอย่างยิ่งที่นักการศึกษารุ่นใหม่จะดำเนินรอยตามท่าน"ผศ.ดร.อมรวิชช์ กล่าว
ศ.ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต อดีตรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ถึงแก่กรรมแล้วด้วยโรคมะเร็งในกระดูก
วันนี้ (16 ก.ค.) เวลาประมาณ 14.00 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศ.ดร.สิปปนนท์ เกตุทัตอดีตรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ถึงแก่กรรมแล้วด้วยโรคมะเร็งในกระดูก
น.ส.ธาริสา เกตุทัต บุตรสาว ศ.ดร.สิปปนนท์ กล่าวว่า ศ.ดร.สิปปนนท์ เสียชีวิตเมื่อเวลา 13.08 น.วันนี้ ที่โรงพยาบาลศิริราช หลังจากเข้ารักษาตัวตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา และเข้าออกโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่อง โดยในวันพรุ่งนี้ (17 ก.ค.) จะมีพิธีพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ เวลา 17.00 น. ศาลา 100 ปี ณ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม สวดพระอภิธรรมเวลา 19.00 น. ทั้งนี้ เจ้าภาพแจ้งของดพวงหรีด
สำหรับประวัติโดยย่อของ ศ.ดร.สิปปนนท์ศ.ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต
เกิดเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2474 ด้านการศึกษา ประถมศึกษาจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล มัธยมศึกษาจากโรงเรียนอำนวยศิลป์ โรงเรียนนันทนศึกษา โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
ประวัติการศึกษา
พ.ศ.2496 - B.S.ฟิสิกส์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย
พ.ศ.2497- A.M.ฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
พ.ศ.2500 - Ph.D.ฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
พ.ศ.2519 - ปริญญาบัตร วปอ.รุ่นที่ 18
พ.ศ.2525 - ปริญญาบัตรกิตติมศักดิ์ วิทยาลัยการทัพอากาศ, กศ.ด.กิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, กศ.ด.กิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
พ.ศ.2530 - กศ.ด.กิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
พ.ศ.2535 - วศ.ด.กิตติมศักดิ์ สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้
พ.ศ.2537 - วท.ด.กิตติมศักดิ์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
พ.ศ.2538 - วท.ด.กิตติมศักดิ์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, กศ.ด.กิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
พ.ศ.2540 - พบ.ด.กิตติมศักดิ์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ประวัติการทำงาน
ศาสตราจารย์ ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประธานคณะศึกษา การศึกษาไทยในยุคโลกาภิวัตน์ ธนาคารกสิกรไทย ประธานกรรมการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประธานกรรมการบริษัท เอ็ฟเฟ็กทีฟ แพลนเนอร์ นายกสภามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ศาสตราจารย์กิตติคุณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัยในประเทศ 6 แห่ง (จุฬาฯ, มหิดล, ศิลปากร, ศรีนครินทรวิโรฒ, สงขลานครินทร์ และรังสิต) รวมทั้งดำรงตำแหน่งกรรมการระดับชาติอีกหลายกรรมการ อาทิ กรรมการการศึกษาแห่งชาติ กรรมการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน กรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ฯลฯ รวมทั้งเป็นกรรมการมูลนิธิเพื่อการศึกษาและวิทยาศาสตร์หลายแห่ง
ในอดีตเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ สมาชิกวุฒิสภา ประธานกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติ ประธานกรรมการกองทุนสนับสนุนการวิจัย ประธานกรรมการการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ประธานกรรมการบริษัท ปิโตรเคมีแห่งประเทศไทย จำกัด (มหาชน) เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ รองผู้อำนวยการซีเมนส์ กรรมการสภาสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย และกรรมการสภามหาวิทยาลัยสหประชาชาติ
ศาสตราจารย์ ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต ได้รับทุนรัฐบาล (คุรุสภา) ไปศึกษาวิชาฟิสิกส์เป็นเวลา 9 ปี ตั้งแต่ 29 มีนาคม พ.ศ.2492 จนถึง 15 พฤษภาคม พ.ศ.2501 ตั้งแต่ระดับปริญญาตรี โท และเอก รวมทั้งปฏิบัติการวิจัยหลังปริญญาเอก และได้รับทุนวิจัยไปทำงานวิจัยในสหรัฐอเมริกา 2 และเยอรมนี อีก 1 ปี
ศาสตราจารย์ ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก สาขานิวเคลียร์ฟิสิกส์ จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด มีประสบการณ์ทำงานหลายด้าน เคยดำรงตำแหน่งสำคัญในมหาวิทยาลัย ในส่วนราชการหลายแห่ง และในทางการเมืองก่อนที่จะเข้ามามีบทบาททางธุรกิจและอุตสาหกรรมของชาติ รวมทั้งการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
ในช่วงเวลาเกือบสิบปี นับตั้งแต่ พ.ศ.2517 ศาสตราจารย์ ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต มีบทบาทสำคัญในการปฏิรูปการศึกษาของไทย และในช่วงเวลาเดียวกันนี้เคยเป็นที่ปรึกษาธนาคารโลกองค์การยูเนสโก และมูลนิธิการศึกษาต่างๆ
นับตั้งแต่ พ.ศ.2527 เป็นต้นมา ศาสตราจารย์ ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต ได้เป็นผู้บุกเบิกอุตสาหกรรมปิโตรเคมีตามแผนพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก และได้มีส่วนสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมก๊าซธรรมชาติและอุตสาหกรรมน้ำมันของประเทศด้วย
ศาสตราจารย์ ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต มีผลงานที่เป็นภาษาไทยรวมกว่า 200 เรื่อง ภาษาอังกฤษรวมกว่า 90 เรื่อง
ด้านผศ.ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ อาจารย์คณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่ารู้สึกเสียใจกับการสูญเสียครั้งนี้ เพราะท่านถือเป็นหลักความคิดด้านการศึกษาคนหนึ่ง ก่อนที่จะมีพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ 2542 ท่านเป็นผู้หนึ่งที่ผลักดันให้เกิดการปฏิรูปการศึกษาให้สังคมไทยมาจนถึงปัจจุบัน
"เมื่อปี 2537-2538 ท่านดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการการศึกษาไทยยุคโลกาภิวัฒน์ที่สนับสนุนโดยธนาคารกสิกรไทย เป็นผู้ริเริ่มเปิดเวที ทำหนังสือ การประชุม สัญจร 4 ภาค ระดมความคิดออกมาเป็นแนวทางการปฎิบัติออกมาเป็นพิมพ์เขียว แผนแม่บทของร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ 2542 รวมไปถึงอยู่เบื้องหลังการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น มาตรฐานอาชีพครู ประกันคุณภาพ โดยเฉพาะการเรียนเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อให้นักเรียนพัฒนาศักยภาพการเรียนได้อย่างเต็มที่"ผศ.ดร.อมรวิชช์ กล่าว
อาจารคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวอีกว่า หลายคนมักวิพากษ์วิจารณ์ หงุดหงิดกับการพัฒนาการศึกษาตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ แต่ในมุมมองของตนเห็นว่า การศึกษาไทยเริ่มพัฒนาดีขึ้นเรื่อยๆ อาจจะช้าไม่ทันใจบางคนแต่สิ่งที่นายสิปปานนท์คิดไว้ได้ซึมลึกให้นักการศึกษารุ่นใหม่ รวมถึงตนเอง ให้สานต่อแนวคิดที่ดีให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม และการปฎิรูปการศึกษาไทย พร้อมจะสืบสานแนวคิดให้ประสบความสำเร็จในที่สุด
"ความสูญเสียครั้งนี้ไม่ใช่เป็นแค่การสูญเสียนักการศึกษาครั้งใหญ่เท่านั้น สังคมไทยยังสูญเสียผู้ใหญ่ที่คอยเป็นหลักให้พวกเรา พวกเรารักเคารพอย่างเต็มหัวใจ ท่านเป็นคนดี น่ารัก ให้โอกาสทุกคนได้คิดได้ทำสิ่งที่ดี มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด โอบอ้อมอารี มีเมตตาต่อคนรุ่นหนุ่มสาว ผมถือว่าท่านเป็นแบบอย่างที่ดีด้านผู้มีคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต ด้วย สมควรอย่างยิ่งที่นักการศึกษารุ่นใหม่จะดำเนินรอยตามท่าน"ผศ.ดร.อมรวิชช์ กล่าว