บทเรียนจากเกาหลีใต้

เชิญมาพักผ่อน คลายร้อนนั่งเล่น คุยกันเย็นๆ พร้อมเรื่องกีฬา สัพเพเหระ ทัศนะนานา ชีวิตชีวา สุขภาพทั่วไป บันเทิงขำขัน รอบเรื่องเมืองไทย ชวนเที่ยวที่ไหน อยากไปก็นัดมา ...โย่วๆ

ล็อคหัวข้อ
ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

บทเรียนจากเกาหลีใต้

โพสต์ที่ 1

โพสต์

บทเรียนจากเกาหลีใต้

โดย ดร.พีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ

เมื่อปี 2503 ประเทศเกาหลีใต้มีรายได้ประชาชาติเพียง 80 เหรียญ ในขณะที่ไทยมีรายได้ประชาชาติมากกว่าเกาหลีใต้ถึง 4 เท่า!!


ประเทศเกาหลีใต้ที่มีขนาดเล็กมีประชากร 48.2 ล้านคน (ไทย 65.08 ล้านคน) มีขนาดผลิตภัณฑ์มวลประชาชาติเท่ากัน 679.9 พันล้านเหรียญ ใหญ่กว่าไทยมากกว่า 4 เท่า (ไทย 163.3 พันล้านเหรียญ) แต่เมื่อรวมค่าครองชีพของเกาหลีใต้ที่สูงกว่าไทยด้วย ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติของเกาหลีใต้มีขนาด 901 พันล้านเหรียญ เป็นอันดับที่ 14 ส่วนไทยอยู่ในอันดับที่ 20 ที่ 499 พันล้านเหรียญ ต่างกันอยู่เพียงเกือบ 2 เท่า เกาหลีใต้เป็นประเทศที่มีกำลังซื้อสูงกว่าไทย โดยมีรายได้ประชาชาติ 14,105 เหรียญ ในขณะที่ไทยเพียง 2,509 เหรียญ

ปีที่ผ่านมาการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้อยู่ที่ 6.6% สูงกว่าไทยเล็กน้อย (6.1%) แต่มีอัตราเงินเฟ้อ 3.6% สูงกว่าไทยที่ 2.7% เกาหลีใต้เกินดุลชำระเงินอยู่ 27.6 พันล้านเหรียญ คิดเป็นกว่า 4% ของ GDP ในขณะที่ไทยเกินดุลชำระเงินอยู่ 7.3 พันล้านเหรียญ คิดเป็นราว 4.5% ของ GDP เช่นกัน

กำลังซื้อและความเป็นอยู่ของประชากรเกาหลีใต้ดีกว่าไทย เพราะทางด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านการพัฒนาคน พัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเน้นก้าวหน้าไทยมาก และสามารถนำผลวิจัยพัฒนาออกสู่การค้าได้จริงจัง

ในกลุ่มดัชนีย่อยประสิทธิภาพแรงงาน เกาหลีใต้อยู่ในอันดับที่ 42 ต้องปรับปรุง แต่ไทยอยู่รั้งท้ายตารางในอันดับที่ 56 ซึ่งดัชนีตัวนี้มีผลทำให้พัฒนาการของไทยช้ากว่าประเทศอื่นๆ ทั่วโลกและทำให้เราตกอยู่ในประเภทของประเทศที่พัฒนามาโดยตลอด โดยที่เกาหลีใต้ได้หนีขึ้นจากประเทศกำลังพัฒนาจ่อแถวเข้าสู่ประเทศที่เกือบจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว

จุดน่าสังเกตคือ เกาหลีใต้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาก และมีงานวิจัยจำนวนมากออกมาสู่สังคมได้อย่างเป็นรูปธรรม ใช้จ่ายเงินในด้านเหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีคนที่มีคุณภาพช่วยทำงานวิจัยและพัฒนาในจำนวนที่เพียงพอ เกาหลีใต้มีนักวิจัย 39 คนในประชากร 10,000 คน และมีงบประมาณการวิจัยราว 2.64% ของ GDP ในขณะที่ไทยมีนักวิจัย 3.8 คน ในประชากร 10,000 คน และมีงบประมาณการวิจัยอยู่ 0.26% ของ GDP เมื่อนำมาหารด้วยนักวิจัยแล้วจะเห็นได้ว่าผลลัพธ์ที่ได้ในประเทศไทยด้านงานวิจัยและพัฒนาด้อยประสิทธิภาพเกือบจะมากที่สุดในโลกในภาพรวม เพราะไม่สามารถให้ผลต่อเศรษฐกิจได้จริงจัง นอกจากเสริมสร้างรายได้ให้แก่นักวิจัยเองเป็นกลุ่มจำกัดอยู่เท่านั้น

เกาหลีใต้มีสิทธิบัตรที่จดโดยคนในประเทศ (ปี 2545) จำนวนมากถึง 24,984 ชิ้น!! ขณะที่ไทยมีสิทธิบัตรที่จดโดยคนในประเทศ (ปี 2545) จำนวน 98 ชิ้น ส่วนคนเกาหลีที่ไปจดสิทธิบัตรในต่างประเทศอันเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างความมั่งคั่งให้ประชาชาติ (ปี 2545) จำนวนมากถึง 8,673 ชิ้น!! ในขณะที่คนไทยที่ไปจดสิทธิบัตรในต่างประเทศอันเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างความมั่งคั่งให้ประชาชาติ (ปี 2545) มีจำนวนเพียง 43 ชิ้นเท่านั้น!!

ปัญหาของไทยอันแรกคือ การเพิ่มประสิทธิภาพของการทำการวิจัยและพัฒนาไปใช้ให้ได้จริง และปัญหารองอันต่อมาจะเป็นการเร่งเพิ่มนักวิจัยให้มีคุณภาพและปริมาณให้ได้ถึง 30 คนในประชากร 10,000 คนแล้ว การใช้เงินลงทุนในการวิจัยที่เป็นสัดส่วนสูงขึ้นต่อ GDP เป็นอันดับท้ายสุด มิใช่ใช้จ่ายเงินวิจัยให้มากขึ้นก่อนการสร้างพื้นฐานด้านประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และด้านบริหารกำลังบุคคล

กลุ่มดัชนีย่อยด้านโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีเกาหลีใต้เป็นผู้นำโลกอยู่ในอันดับที่ 2 เป็นรองอเมริกา ในขณะที่ไทยอยู่ในอันดับ 45 ด้านโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เกาหลีใต้อยู่ในอันดับที่ 15 อัตราส่วนปริญญาตรีทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มีถึง 46.18% ในขณะที่ไทยมีเพียง 26.13% (คนอายุ 25-34 ของเกาหลีใต้จบปริญญาตรี 41 ไทย 14 !!)

จุดมุ่งหมายในการพัฒนาประเทศของเกาหลีใต้จัดได้ชัดเจนเป็นรูปธรรมมาก สั้น และเน้นใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นหัวหอก โดยมีจุดมุ่งหมายภายใน 5 ปีอยู่ที่

1.รายได้ประชาชาติเพิ่มขึ้นเป็นระดับ 20,000 เหรียญ ในระดับเดียวกับประเทศที่พัฒนาแล้ว

2.ขนาดผลิตภัณท์มวลรวมประชาชาติอยู่ในอันดับ 10 ของโลก

3.ขีดความสามารถทางวิทยาศาสตร์อยู่ในอันดับ 8 ของโลก

แล้วประเทศไทยที่รักของเราจะใช้งบประมาณทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีตัวชี้วัดที่สะท้อนผลลัพธ์อย่างไม่เป็นรูปธรรมอยู่เหมือนเดิมหรือเปล่า!!
ล็อคหัวข้อ