E-auction ฮั้วประมูลได้ ????

เชิญมาพักผ่อน คลายร้อนนั่งเล่น คุยกันเย็นๆ พร้อมเรื่องกีฬา สัพเพเหระ ทัศนะนานา ชีวิตชีวา สุขภาพทั่วไป บันเทิงขำขัน รอบเรื่องเมืองไทย ชวนเที่ยวที่ไหน อยากไปก็นัดมา ...โย่วๆ

ล็อคหัวข้อ
โป้ง
Verified User
โพสต์: 2326
ผู้ติดตาม: 0

E-auction ฮั้วประมูลได้ ????

โพสต์ที่ 1

โพสต์

รายงาน : E-Auction ก็ฮั้วได้ กทม.เทกระจาด2หมื่นล้าน

22 ธันวาคม 2548 20:58 น.

มีคนสงสัยกันมากว่า E-aution ป้องกันการ "ฮั้ว"ได้จริงหรือไม่ คำถามก็คือ ไม่จริง ทุกอย่างยัง"ฮั้ว"กันเหมือนเดิม ซึ่งตัวอย่างล่าสุดคือ การก่อสร้างโครงการทางลอดและถนนของกรุงเทพมหานคร(กทม.) มูลค่า 20,000 ล้านบาท

เมื่อรัฐบาลประกาศให้หน่วยงานของรัฐทั้งหมด หันมาใช้การประมูลโครงการรัฐผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์(E-auction) เพื่อป้องกันการ"ฮั้ว"ของผู้รับเหมา ซึ่งเป็นกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐที่มีมานาน


วัตถุประสงค์ก็เพื่อป้องกันการ"ฮั้ว" เพราะต่างคนต่างไม่เห็น ต่างคนต่างไม่รู้ว่าใครจะเสนอราคาเท่าไร ซึ่งหากผู้รับเหมาสู้ราคากันจริง ก็จะทำให้รัฐได้งานในราคาถูก นั่นคือใช้กลไกของตลาดเสรีเป็นตัวขับเคลื่อน เพื่อให้ภาครัฐได้งานที่มีคุณภาพและราคาถูกที่สุด


แต่มีคนสงสัยกันมากว่า E-aution ป้องกันการ "ฮั้ว"ได้จริงหรือไม่ คำถามก็คือ ไม่จริง ทุกอย่างยัง"ฮั้ว"กันเหมือนเดิม ซึ่งตัวอย่างล่าสุดคือ การก่อสร้างโครงการทางลอดและถนนของกรุงเทพมหานคร(กทม.) มูลค่า 20,000 ล้านบาท


อันที่จริง การก่อสร้างทางลอดหรืออุโมงค์ลอดถนน กทม.เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2540 ซึ่งในครั้งนั้น มีการเปิดประมูลกันอย่างเปิดเผย โดยกทม.ตั้งราคากลางไว้ประมาณแห่งละ 650 ล้านบาท แต่เนื่องจากมีผู้รับเหมานับสิบรายเข้ามาแข้ง ส่งผลให้ราคาที่ประมูลได้ลดลงมาเหลือประมาณ 450 ล้านบาท นั่นคือเป็นระบบการแข่งขันที่ทำงานได้จริง


แต่การก่อสร้างอุโมงค์ สะพานข้ามและถนน ที่สำนักงานโยธา กทม.เปิดประมูลไปเมื่อวันที่ 21-22 ธ.ค. วันละ 5 โครงการ เป็นการล็อกสเปคกันตั้งแต่ต้น เนื่องจากมูลค่าโครงการนับหมื่นล้านบาท และโครงการนี้มีการร้องเรียนจากผู้รับเหมารายที่เคยยื่นประมูลในรอบแรก โดยผู้รับเหมาเหล่านี้เห็นว่า "ไม่เป็นธรรม" เพราะเป็นการล็อคสเปคให้กับ 5 ยักษ์ใหญ่โดยเฉพาะ


เมื่อกทม.แจ้งประกาศประกวดราคาในครั้งแรก ปรากฏว่ามีการกำหนดสเปคผู้สามารถยื่นเสนอราคาได้ โดยกำหนดเฉพาะเจาะจงลงไปว่าต้องเป็นผู้รับเหมาที่เคยผ่านการทำงาน"อุโมงค์"มาเท่านั้น


การกำหนดเช่นนี้เท่ากับล็อกให้กับผู้รับเหมาเพียง 6-7 ราย นั่นคือ  บริษัท ช.การช่าง, หจก.นภาก่อสร้าง, บริษัทพรหมวิวัฒน์ก่อสร้าง จำกัด, บริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด และบริษัทยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด บริษัทกรุงธน เอ็นจิเนียริ่ง และบริษัท ซิโน-ไทย จำกัด


แต่ผู้รับเหมารายอื่นก็ร้องเรียนต่อกรรมาธิการและกระทรวงมหาดไทย จนกระทั่งสำนักงานโยธา ได้ยกเลิกการประกาศประกวดราคาเดิมและประกาศประกวดราคาใหม่ ซึ่งมีการกำหนดเงื่อนไขที่ดูเหมือนเปิดกว้าง แต่ปรากฏว่าในขั้นตอนการพิจารณาตัดสิน มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งพิจารณาคุณสมบัติของแค่ละบริษัท


ปรากฏว่าผู้ที่ผ่านเป็น 6-7 ยักษ์ใหญ่รายเดิม ที่มีสิทธิ "เคาะ"ราคา


จากนั้นกทม.ก็เดินหน้าเคาะราคาด้วย E-auction ทันที โดยใช้เวลาเพียง 2 วัน 10 โครงการ


วันแรก  เปิดประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-auction) 5 โครงการ ประกอบด้วย โครงการก่อสร้างอุโมงค์ลอดทางแยก 3 โครงการ คือ อุโมงค์ลอดทางแยกตามแนวถนนจรัญสนิทวงศ์-แยกบรมราชชนนี โครงการก่อสร้างอุโมงค์ลอดทางแยกถนนจรัญสนิทวงศ์-แยกพรานนก โครงการก่อสร้างอุโมงค์ลอดทางแยก ถนนตากสินกับถนนรัชดาภิเษก รวมทั้งโครงการก่อสร้างทางยกระดับสุวินทวงศ์ และโครงการขยายพื้นที่สวนหลวง ร.9 รวมวงเงินงบประมาณเกือบ 5,000 ล้านบาท


โครงการก่อสร้างอุโมงค์ลอดทางแยกถนนจรัญสนิทวงศ์-แยกบรมราชชนนี โดยมีงานสาธารณูปโภคของการประปานครหลวง (กปน.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และงานของบริษัททีโอที จำกัด(มหาชน) ร่วมประมูลด้วย ราคาเริ่มต้นประมูล 1,032,630,021.96 บาท มีบริษัทผู้เข้าร่วมการประมูลจำนวน 5 ราย ประกอบด้วย บริษัท ช.การช่าง, หจก.นภาก่อสร้าง, บริษัทพรหมวิวัฒน์ก่อสร้าง จำกัด, บริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด และบริษัทยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด ซึ่งบริษัท ช.การช่าง เสนอราคาในการประมูลต่ำสุด วงเงิน 1,020,000,000 บาท


โครงการก่อสร้างอุโมงค์ลอดทางแยกถนนจรัญสนิทวงศ์-แยกพรานนก มีงานของ กปน. กฟน. บริษัททีโอทีฯ และบริษัท กสท.โทรคมนาคม ร่วมประมูลด้วย ราคาเริ่มต้นประมูล 973,016,146.69 บาท มีบริษัทผู้เข้าร่วมการประมูลจำนวน 5 ราย ประกอบด้วย บริษัท ช.การช่าง, หจก.นภาก่อสร้าง, บริษัทพรหมวิวัฒน์ก่อสร้าง จำกัด, บริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด และบริษัทยูนิค เอ็นจิเนียริ่งฯ จำกัด ผลปรากฏผู้ที่เสนอราคาการประมูลต่ำสุด คือหจก.นภาก่อสร้าง วงเงิน 969,000,000 บาท


โครงการก่อสร้างอุโมงค์ลอดทางแยก ถนนตากสินกับถนนรัชดาภิเษก มีงานของ กปน. กฟน. และบริษัททีโอทีฯ ร่วมประมูลด้วย ราคาเริ่มต้นประมูล 1,165,518,408.76 บาท มีบริษัทผู้เข้าร่วมการประมูลจำนวน 5 ราย ประกอบด้วย บริษัท ช.การช่าง, หจก.นภาก่อสร้าง, บริษัทพรหมวิวัฒน์ก่อสร้าง จำกัด, บริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด และบริษัทยูนิค เอ็นจิเนียริ่งฯจำกัด ผู้ที่เสนอราคาการประมูลต่ำสุด คือ บริษัทพรหมวิวัฒน์ก่อสร้าง วงเงิน 1,156,000,000 บาท


โครงการก่อสร้างทางยกระดับสุวินทวงศ์ มีงานของกปน. และบริษัททีโอทีฯ ร่วมประมูลด้วย ราคาเริ่มต้นประมูล 1,377,537,141.85 บาท มีบริษัทผู้เข้าร่วมการประมูลจำนวน 5 ราย ประกอบด้วย บริษัท ช.การช่าง, บริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวลลอปเม้นท์, บริษัทชิโน-ไทย จำกัด, บริษัทยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด และบริษัทวิจิตรภัณฑ์ก่อสร้าง โดยผู้ที่เสนอราคาการประมูลต่ำสุด คือ บริษัท ช.การช่าง จำกัด วงเงิน 1,366,000,000 บาท


สุดท้ายโครงการขยายพื้นที่สวนหลวง ร.9 ราคาเริ่มต้นประมูล 365,792,247.75 บาท มีผู้ยื่นเสนอราคาประมูล 3 ราย ผลปรากฏว่า บริษัทซีฟโก้ จำกัด เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด วงเงิน 365,777,250 บาท


สำหรับโครงการสุดท้าย คือ โครงการขยายพื้นที่สวนหลวงนั้น เป็นโครงการเก่าที่ต่อเนื่องมานาน ไม่อยู่ในขบวนการ"ฮั้ว"ในครั้งนี้ด้วย


แต่ที่น่าแปลกก็คือ รายชื่อผู้รับเหมาที่จะได้งานนี้ไป รู้ล่วงหน้ามาก่อนหน้านี้แล้วว่าบริษัทไหนจะได้โครงการอะไร และบริษัทที่ไม่ได้ในวันแรก จะมีชื่อได้ประมูลโครงการในวันที่สอง


ต่อมาในวันที่ 22 ธ.ค. ได้เปิดประมูลโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ จำนวน 5 โครงการ ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-auction) ประกอบด้วย 1.โครงการก่อสร้างทางลอดถนนศรีนครินทร์ และโครงการปรับปรุงถนนศรีนครินทร์ โดยบริษัทยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด ชนะการประมูล 2.โครงการก่อสร้างถนนพรานนก- พุทธมณฑลสาย 4 โดยบริษัทอิตาเลี่ยนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด เป็นผู้ชนะการประมูล 3.โครงการก่อสร้างถนนกรุงเทพกรีฑา ช่วงที่ 1 บริษัทยูนิคฯ ชนะการประกวดราคา 4.โครงการก่อสร้างถนน กรุงเทพกรีฑา ช่วงที่ 2 บริษัท ซิโน-ไทย จำกัด ชนะการกระกวดราคา และ5. โครงการก่อสร้างถนน พหลโยธิน-รัตนโกสินทร์สมโภช บริษัท กรุงธน เอ็นจิเนียริ่ง ชนะการประกวดราคา


ดังนั้น 10 โครงการ มูลค่าเกือบ 20,000 ล้านบาท จึงถูกจัดสรรไปเรียบร้อยในกลุ่มผู้รับเหมา และข่าวว่าใครจะได้โครงการไหน เกิดขึ้นก่อนที่จะมีการประมูลเสียอีก และมูลค่าโครงการได้ถีบตัวสูงกว่าพันล้านแทบทั้งสิ้น


สรุปได้ว่า E-auction แก้ปัญหา "ฮั้ว"นั้นไม่เป็นจริง โครงการนี้จึงถือว่าเป็นปรากฏการณ์ของการ"ฮั้ว"แห่งปี และที่นายกรัฐมนตรีบอกว่าแก้ปัญหาได้นั้น เป็นเพียงความฝันลมๆแล้งๆเท่านั้นเอง
งด เลิก เสพ สุรา บุหรี่ วันนี้ เพื่อชีวิตที่ดีของท่าน
โป้ง
Verified User
โพสต์: 2326
ผู้ติดตาม: 0

E-auction ฮั้วประมูลได้ ????

โพสต์ที่ 2

โพสต์

เท่าที่ผมเคยรู้มา

การรับงานประมูล เขาเรื่องเครดิต ความน่าเชื่อถืออยู่ด้วยนะ
ถ้าขืนให้ใครรับงานประมูลไป เกิดทิ้งงาน จะทำยังไง ???

ข้อความที่ว่า e-auction แก้ปัญหาฮั้วประมูลไม่ได้ ประมีการกำหนดคุณสมบัติของผู้ประมูล ดูจะไม่เป็นความจริง (ควรจะเป็นเหตุผลอื่น)

ใครทำงานรับเหมา ช่วยคลายข้อสงสัยด้วยครับ
งด เลิก เสพ สุรา บุหรี่ วันนี้ เพื่อชีวิตที่ดีของท่าน
tainara
Verified User
โพสต์: 165
ผู้ติดตาม: 0

E-auction ฮั้วประมูลได้ ????

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ไม่น่าจะป้องกันได้ คงป้องกันผู้มีอิทธิพลท้องถิ่นมากกว่า ลองดูงานเล็กๆตามต่างจังหวัดนะ
- หากฮั้วกันก็จ่ายค่าฮั้ว แล้วไปลุ้นตอนยื่นซองว่าเบี้ยวหรือปล่าว พอ E-AUCTION จ่ายเงินเสร็จ เอารหัสมา หรือไม่ก็นั่งเคาะราคาข้างๆกัน
ส่วนตัวคิดว่าอยู่ที่เจ้าหน้าที่ครับ การป้องกันการฮั้วง่ายได้ผลระดับหนึ่งน่าจะเปิดสเปคให้ยื่นหลายราย จะฮั้วยากหน่อย แล้วอย่าให้มีงานมากกว่าจำนวนผู้ยื่นเช่น 10โครงการ ผู้ยื่น 6 ราย แบบนี้แบ่งเค็กง่าย หากยุบโครงการให้เหลือ 4 โครงการ แบบนี้ยากหน่อย
- อีกประเด็น รัฐบาลบังคับมา ผู้ว่าบังคับต่อ ในความเป็นจริงของบางอย่างในต่างจังหวัดหาผู้ขายยาก เช่นใน 3 จว ชายแดน กลายเป็นราคาที่ลดลงไม่คุ้มค่าธรรมเนียม หลายๆสัญญาก็เสียเป็นล้าน
แค่นี้ก่อน พิมพ์ไม่เก่ง
sunrise
Verified User
โพสต์: 2266
ผู้ติดตาม: 0

E-auction ฮั้วประมูลได้ ????

โพสต์ที่ 4

โพสต์

เค้าฮั๊วกันก่อนมานานก่อนทีจะมีทำ e-auction นานแล้วครับ

เวลาฮั๊ว ก็ไปเล็งๆ กันที่ตอนซื้อแบบ สมมุติมากัน 10 เจ้า
ขาใหญ่ก็จำๆ ไว้ พวกขาใหญ่ก็จะเรียกมาว่า
เอ้าๆๆ มีกี่งาน งานเท่าไหร่ แบ่งกัน ว่าใครจะเอางานไหน
พวกขาใหญ่พวกนี้มีกันไมกี่คนหรอกครับ สำหรับงานระหว่างประเทศอย่างนี้

คนที่ไม่ได้ คนที่ได้งาน ก็จ่ายค่าแรง ค่าแบบที่มาช่วยประมูล
เพราะถ้าฟันงานกัน ถ้าราคา กลางสิบล้าน อาจเหลือแค่ แปดล้าน
แต่ถ้าฮั๊วกัน ราคากลางสิบล้าน ไม่รู้เป็นไร คนที่ได้ประมูล ได้ที่ราคา 9,9XX,XXXX ทุกที

ถ้าบริษัทนอกลู่นอกทาง ก็ใช้วิธีล็อคเสปคซะ หมดเรื่อง
การลงทุนคือความเสี่ยง
แต่ความเสี่ยงสูงคือ ไม่รุ้ว่าอะไรคือจุดชี้เป็นชี้ตายของบริษัท
ความเสียงสุงที่สุด คือ ไม่รู้ว่าเลยว่าตัวเองทำอะไรอยู่
Dech
Verified User
โพสต์: 4596
ผู้ติดตาม: 0

E-auction ฮั้วประมูลได้ ????

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ถ้าไม่ใช่คู่แข่งกันโดยตรง เจอกันเอง 2 เจ้า ฮั้วได้แน่นอน 100%
ล็อคหัวข้อ