ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากในภาคใต้ อาจเป็นแค่สัญญาณเตือนภัยน้ำท่วมโลก ที่เคยเกิดขึ้นเมื่อ 6,000 ปีก่อน นักวิชาการเชื่อ อีก 60 ปีข้างหน้า ภาคตะวันออกและภาคใต้ของไทยต้องรับมือกับปัญหาน้ำท่วมฉับพลัน พายุใต้ฝุ่น ตลอดจนปัญหาแผ่นดินถล่มมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น สืบเนื่องจากสภาวะโลกร้อน ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรวางแผนการผลิตด้านการเกษตรใหม่ โดยเฉพาะพื้นที่ปลูกยางพารา อาจได้รับความเสียหายจากปัญหาน้ำท่วมรุนแรงในอนาคต
รศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล ภาคธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงสภาพปัญหาน้ำท่วมในหลายจังหวัดภาคใต้ว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกที่ร้อนขึ้น ส่งผลให้เกิดสภาพภูมิอากาศแปรปรวน มวลอากาศจากสภาพอากาศร้อนจะลอยสูงกว่ามวลอากาศฤดูหนาวที่มาจากประเทศจีน ส่งผลให้เกิดฝนตกบริเวณภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันออก จะทำให้มีฝนตกอย่างหนักในช่วงมรสุมฤดูหนาว ทั้งนี้ แนวโน้มของปริมาณฝนน้ำฝนและจำนวนวันที่ฝนตกก็จะเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ โดยมีพื้นที่เป้าหมายในบริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก กรุงเทพมหานคร และบริเวณภาคใต้ทั้งหมด
ทั้งนี้ รศ.ดร.ธนวัฒน์ ผู้ศึกษาและวิจัยสภาพภูมิอากาศที่แปลงแปลงจากสภาวะโลกร้อน กล่าวว่า จากศึกษาสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงในรอบ 100 ปีข้างหน้า โดยแบ่งเป็น 3 ช่วง ช่วงละ 30 ปี ขณะนี้เราอยู่ในช่วง 30 ปีแรก ก็เริ่มเผชิญกับปัญหาฝนตกหนักและน้ำท่วมฉับพลันในหลายพื้นที่ของประเทศ ส่วนอีก 30 ปีต่อก็จะได้รับอิทธิผลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ช่วงเดือนพฤศจิกายนจะไม่ค่อยมีฝน แต่หลังจากนั้นจะมีฝนตกยาวนานไปจนถึงเดือนมกราคม และในช่วง 30 ปีสุดท้ายฝนจะตกน้อยลง สภาพอากาศก็จะแปรปรวนมากขึ้น นอกจากนี้ พายุต่างๆ จะมีแนวโน้มเข้าสู่ฝั่งอ่าวไทยมากขึ้น ในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม จะมีแนวโน้มการเกิดพายุเข้าบริเวณฝั่งตะวันออก โดยเฉพาะกรุงเทพฯ จันทบุรี ชลบุรี และระยอง และช่วงเดือนพฤศจิกายน-มกราคม มีก็อาจเกิดพายุบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออก ตั้งแต่เพชรบุรีจนถึงนราธิวาส โดยเฉพาะ จ.นครศรีธรรมราช มีโอกาสเจอพายุบ่อยขึ้น
"ปีนี้แม้ว่าเกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่ของภาคใต้ เนื่องมาจากอิทธิพลย่อมความกดอากาศต่ำ แต่ก็ถือว่าโชคดีที่ไม่ยังเจอพายุ แต่ทว่าโอกาสการเกิดพายุก็มีแนวโน้มสูงขึ้นเช่นกัน ขณะที่สมัยก่อนประเทศไทยจะเกิดพายุเข้า 3-5 ปี ต่อ 1 ลูกเท่านั้น แต่ 10 ปีที่ผ่านมา มักเกิดพายุและมีน้ำท่วมฉับพลันในรอบ 1-2 ปีต่อครั้ง อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่เกิดขึ้น จะมีผลทำให้ฝนตกในช่วงฤดูฝนสั้นลง หรือมีจำนวนน้อย ฝนตกทิ้งช่วง แต่ปริมาณน้ำฝนเท่ากับปริมาณฝนที่ตกช่วงฤดูฝนปกติ อย่างปกติฝนตก 100 วัน จะเหลือเพียง 60-70 วัน แต่ฝนจะมีลักษณะการตกเหมือนการเทน้ำ ขณะเดียวกัน ในช่วงฤดูร้อนก็จะยาวนานขึ้น และทำให้ประสบปัญหาภัยแล้ง" รศ.ดร.ธนวัฒน์ วิเคราะห์สถานการณ์
รศ.ดร.ธนวัฒน์ กล่าวว่า ประเทศไทยเมื่อ 6,000 ปีก่อน เคยเกิดน้ำท่วมสูง 2-3 เมตร มองไม่เห็นจังหวัดภาคใต้ทั้งหมด ก็จะมีลักษณะสภาพภูมิอากาศคล้ายๆ กันคือ เริ่มจากอุณหภูมิของโลกเพิ่มสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น 1-2 เมตร กระแสน้ำเปลี่ยนทิศทาง เกิดปัญหาการกัดเซาะหลายพื้นที่ ซึ่งจากการวิเคราะห์แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ทั่วโลก มีความสอดคล้องกับเหตุการณ์น้ำท่วมที่เคยเกิดขึ้นเมื่อ 6,000 ปีก่อน และเชื่อว่าปรากฏการณ์เหล่านี้กำลังจะเกิดขึ้นอีกครั้ง เป็นการเสมือนวงจรการปรับสมดุลของโลก
"เราต้องยอมรับสภาพปัญหาภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้น เพราะในอนาคตยิ่งมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น เราต้องมีการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและการเกษตร อย่างการปลูกยางพาราในพื้นที่ภาคใต้ ถ้าเกิดสภาพปัญหาฝนตกและน้ำท่วมยังมีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ควรต้องเปลี่ยนพื้นที่ปลูกยางพารา และควรนำความรู้ด้านสภาพภูมิอากาศมาวางแผนด้านการเกษตรกรรมในอนาคตด้วย" รศ.ดร.ธนวัฒน์ กล่าวทิ้งท้าย
ที่มาจากหนังสือพิมพ์ คมชัดลึก
น้ำท่วม...
-
- Verified User
- โพสต์: 479
- ผู้ติดตาม: 0
น้ำท่วม...
โพสต์ที่ 1
*****