มะเร็งร้ายชื่อคอร์รัปชั่น
โดย วรากรณ์ สามโกเศศ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาผมได้ไปร่วมงานมอบรางวัลข่าวทุจริตเชิงสืบสวนยอดเยี่ยม ประจำปี 2548 ขององค์กรเพื่อความโปร่งใสในประเทศไทย(Transparency Thailand) ที่คุณอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธานและ ดร.จุรี วิจิตวาทการ เป็นเลขาธิการ
มีผู้คนไปร่วมงานกันแน่นขนัดห้องประชุมโรงแรมเวียงใต้ด้วยความศรัทธาและเพื่อให้กำลังใจองค์การนี้ ซึ่งพยายามผลักดันการต่อต้านคอร์รัปชั่นในสังคมของเรา ได้ฟังการบรรยายของประธานที่กล่าวถึงคอร์รัปชั่นในบ้านเราอย่างเผ็ดร้อนและน่ารับฟัง และได้รับทราบการต่อสู้ปัญหาคอร์รัปชั่นโดยสื่อของบ้านเราอย่างน่าชื่นชม
รางวัลยอดเยี่ยมได้แก่ข่าวสืบสวนนายทุนกว้านซื้อที่ดินนับพันไร่ในอำเภอปะทิว ชุมพร อย่างทุจริตจนในที่สุดเอาผิดทางกฎหมายได้ของหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ รางวัลเกียรติคุณคือเรื่องเครื่องทดสอบระเบิด CTX 9000 ของหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ และรางวัลชมเชยคือเรื่องหุ้นบริษัทปิคนิคของหนังสือพิมพ์มติชน ทั้งหมดนี้อยากรู้ว่าใครทำอะไรเลวทรามไว้ กรุณาดูได้ที่ Transparency-Thailand.org.
วันที่ 9 ธันวาคม 2548 เป็นวันต่อต้านคอร์รัปชั่นโลก บ้านเรามีการอภิปรายกันหลายแห่ง ในการอภิปรายเหล่านี้คำศัพท์ใหม่ที่เกิดขึ้นโดยการเสนอของ ดร.วุฒิพงษ์ เพรียบจริยวัฒน์ ก็คือศิลปะแขนงใหม่ที่เรียกว่า "วิจิตรโจรกรรม" ซึ่งเป็นการคอร์รัปชั่นที่น่ากลัวที่สุด เพระเป็นคอร์รัปชั่นอย่างถูกกฎหมาย เพราะคนคอร์รัปชั่นเป็นผู้เขียนกฎหมาย
ขอนำข้อเขียนในเรื่องคอร์รัปชั่นที่ผมได้เคยเขียนไว้มาปรับปรุงเพื่อสนับสนุนความพยายามของคนกลุ่มหนึ่งในบ้านเราที่ต้องการชี้ให้สังคมเห็นว่าคอร์รัปชั่นที่หนักหน่วงในบ้านเราเป็นมะเร็งร้ายที่กำลังทำร้ายสังคมของเราและของลูกหลานเราในอนาคต
ผู้เขียนนึกถึงการประชุมนานาชาติครั้งสำคัญ ในปี 1997 ที่กรุงลิมา ประเทศเปรูเรื่องคอร์รัปชั่นที่มีข้อสรุปที่น่าสนใจ บ่อยครั้งที่ผู้คนมักคิดว่าคอร์รัปชั่นเป็นเพียงเรื่องของการสูญเสียเงินทองที่ไม่ควรเสียไปเท่านั้น แต่แท้จริงแล้วคอร์รัปชั่นทำลายสังคมเราได้มากกว่านั้นมากมายนัก ผลเสียของคอร์รัปชั่นมีด้วยกันอย่างน้อย 7 ประการ ดังต่อไปนี้
(1) คอร์รัปชั่นบ่อนทำลายและเซาะกร่อนพื้นฐานศีลธรรมของทุกสังคม การโกงกินไม่ว่าตามน้ำหรือทวนน้ำอย่างไม่ละอายผีสางเทวดาอย่างกว้างขวางจะทำให้ผู้คนเห็นคอร์รัปชั่นเป็นเรื่องธรรมดา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้กระทำไม่ถูกลงโทษ อุปมาเหมือนกับครอบครัวใดที่พ่อแม่พูดกันถึงเรื่องลักขโมย คดโกง หลอกลวงคนอื่นอย่างเป็นเรื่องธรรมดา ครอบครัวนั้นย่อมมีมาตรฐานของศีลธรรมในระดับต่ำ ลูกหลานก็จะเลียนแบบ เห็นว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องปกติ และก็จะกระทำการอื่นๆ ที่ขาดจริยธรรมอย่างกว้างขวางขึ้น
คอร์รัปชั่นเป็นเชื้อร้ายที่ติดกันได้ง่ายและทำให้เห็นสิ่งผิดเป็นถูก เห็นกงจักรเป็นดอกบัว คงไม่มีใครอยากเห็นสังคมไทยเป็นสังคมที่ขาดเข็มทิศศีลธรรม(moral compass) เยาวชนไม่รู้ว่าอะไรผิดอะไรคือถูก เสาคุณธรรมของสังคมไทยก็จะสั่นคลอนเพราะไม่รู้ว่าอะไรคือสิ่งที่ควรกระทำ
(2) คอร์รัปชั่นลุกล้ำสิทธิทางสังคมและเศรษฐกิจของคนยากจนและคนอ่อนแอ คอร์รัปชั่นนั้นจำเป็นต้องมีอำนาจเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ มีงานวิชาการที่เสนอว่าคอร์รัปชั่นเท่ากับการผูกขาด(monopoly) + วิจารณญาณ(discretion)-การรับผิดรับชอบ(accountability)
การผูกขาดและวิจารณญาณเป็นสิ่งซึ่งผูกพันกับการมีอำนาจ ถ้าบุคคลหนึ่งมีการผูกขาดและมีโอกาสในการใช้วิจารณญาณ(ไม่ว่าจะเกิดจากกฎหมายหรือสิ่งใดก็ตามที) จะทำให้มีอำนาจ ยกตัวอย่างเช่น เป็นผู้สามารถตกลงในการจัดซื้อจัดจ้างคนเดียวและเลือกรายใดก็ได้ พลังคอร์รัปชั่นก็จะเกิดขึ้นอย่างรุนแรงถ้าไม่มีการรับผิดรับชอบมาคานไว้
คนยากจนและคนอ่อนแอจะไม่มีโอกาสมีอำนาจเช่นนี้ การถูกรุกล้ำสิทธิทางสังคม (ผู้หญิงถูกลิดรอนสิทธิเพราะผู้ชายเป็นผู้ออกกฎหมาย คนไทยภูเขาได้รับสัญชาติยากเย็นถ้าไม่มีสีม่วงเข้มจัดติดปลายนวม) และการถูกรุกล้ำสิทธิทางเศรษฐกิจ(คนรวยได้โฉนดที่ดินประเภทสีเทาเสมอ คนจนเหยื่อสึนามิจำนวนหนึ่งสูญเสียความเป็นเจ้าของที่ดินที่เคยอยู่มา) จึงมักเกิดขึ้น
(3) คอร์รัปชั่นทำให้ประชาธิปไตยอ่อนแอ คนรวยมีโอกาสมีสิทธิในเรื่องต่างๆ มากกว่าคนไม่มีเงิน ในสังคมที่คนมีเงินได้สิ่งต่างๆ ผ่านช่องทางคอร์รัปชั่นด้วยการใช้เงิน ตัวอย่างได้แก่ การให้เงินอุดหนุนปฏิวัติโดยคนรวย และต่อมาได้รับสัมปทานต่างๆ อย่างสะดวกจากคณะปฏิวัติ หรือการที่คนมีเงินซื้อเสียงเข้าไปเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือคนรวยใช้เงินซื้อบัตรประชาชน
ประชาธิปไตยอยู่ได้ด้วยศรัทธาของประชาชน ถ้าคนไม่เห็นว่าประชาธิปไตยให้ประโยชน์เพราะภายใต้ระบอบนี้ชุกชุมด้วยคอร์รัปชั่นจนทำให้คนมีสิทธิไม่เท่ากัน ผู้คนก็จะหันไปสู่อำนาจนิยม ซึ่งโดยแท้จริงแล้วภายใต้ระบอบนี้โอกาสที่คนจนจะมีสิทธิเท่าเทียมกับคนรวยจะยิ่งมีน้อยลง
(4) คอร์รัปชั่นบ่อนทำลายกฎกติกา กฎหมาย ซึ่งเป็นพื้นฐานของทุกสังคม ในสังคมที่คอร์รัปชั่นชุกชุม กฎกติกาหรือแม้แต่กฎหมายก็ถูกละเลยหรือยกเว้น หรือแม้แต่ถูกแก้ไขเพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ ในสังคมที่ยอมแพ้คอร์รัปชั่น เงินจะ "ง้าง" ทุกสิ่งไม่ว่ากฎเกณฑ์ หรือกติกาได้อย่างง่ายดาย คนสามารถเข้าสู่ตำแหน่งด้วยการจ่ายเงินแหกกฎกติกาที่ตั้งไว้โดยไม่ต้องคำนึงถึงความเหมาะสม
(5) คอร์รัปชั่นหน่วงเหนี่ยวการพัฒนา คอร์รัปชั่นทำให้การจัดสรรทรัพยากรบิดเบี้ยวมิได้เป็นไปตามหลักวิชา หากเป็นไปตามครรลองของการได้มาซึ่งเงิน การจัดซื้อจัดจ้างที่แพงเกินจริงเป็นการสูญเสียทรัพยากรที่สังคมมีอยู่จำกัดอย่างน่าเสียดาย ภาษีอากรที่จัดเก็บจากประชากรทุกบาทควรรับใช้สังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าการใช้จ่ายแบบกระเชอก้นรั่ว สถานการณ์รั่วไหลเช่นนี้ย่อมหน่วงเหนี่ยวการพัฒนาประเทศ เพราะทำให้การลงทุนทั้งในทรัพยากรมนุษย์และโครงสร้างพื้นฐานซึ่งเป็นหัวใจของการพัฒนาประเทศอยู่ในระดับต่ำกว่าที่ควรจะเป็น
(6) คอร์รัปชั่นทำให้สังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนยากไร้ไม่ได้รับประโยชน์จากระบบเศรษฐกิจเสรี แนวโน้มของโลกในการใช้เศรษฐกิจเสรีเป็นเครื่องมือในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ปรากฏชัดขึ้นเป็นลำดับ การแข่งขันอย่างเสรีภายใต้ระบบเศรษฐกิจนี้ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการสนองตอบความต้องการของสมาชิกในสังคมและทำให้ผู้คนลืมตาอ้าปากได้ อย่างไรก็ดี เมื่อมีการแข่งขันก็ย่อมมีผู้แพ้และผู้ชนะ และบ่อยครั้งที่ผู้ยากไร้เป็นผู้แพ้
ภาครัฐจึงมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนช่วยเหลือมิให้คนยากไร้เป็นผู้แพ้อย่างหมดท่า แต่ถ้ากลไกภาครัฐเป็นง่อยเพราะคอร์รัปชั่นแล้ว การช่วยเหลือนี้ก็ไม่เป็นผล ดังเช่นการให้สินเชื่อแก่เกษตรกรหรือธุรกิจขนาดเล็ก หากคอร์รัปชั่นแพร่กระจายในสังคม คนยากไร้ก็ไม่ได้รับประโยชน์จากระบบเศรษฐกิจเสรี จะกลายเป็นหอกดาบที่ทิ่มแทงคนยากจนและอ่อนแอในสังคมยิ่งขึ้นอีก
คอร์รัปชั่นเป็นโรคติดเชื้อที่น่ากลัวเพราะสามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วและรุนแรง ทั้งนี้ เนื่องจากผลประโยชน์อันหอมหวานที่บุคคลได้รับจากคอร์รัปชั่นที่ไม่ถูกลงโทษ คอร์รัปชั่นเป็นพิษภัยอย่างร้ายแรงแก่สังคมโดยความเลวร้ายที่สุดของมันก็คือการทำลายความศรัทธาในความดีงาม ซึ่งเป็นฐานสำคัญของสังคมที่มีคุณภาพ
จะหยุดการแพร่กระจายของการติดเชื้อคอร์รัปชั่นได้อย่างชะงัดก็ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างจริงจังและทันควัน โดยไม่ปล่อยให้มันลุกลามจนเกิดผลเสียอย่างมหาศาลแก่ชาติ
มะเร็งร้ายชื่อคอร์รัปชั่น
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
มะเร็งร้ายชื่อคอร์รัปชั่น
โพสต์ที่ 2
คู่มือทรราช เทคนิคการคอร์รัปชัน ปล้นชาติ ยึดประเทศ และทำลายคนดี
โดย..ดร.วุฒิพงษ์ เพรียบจริยวัฒน์
เป็นงานเขียนที่ตีพิมพ์ครั้งแรกเดือนมิ.ย.2543 สมัยรัฐบาลชวน 2 ที่ประเทศไทยอยู่ระหว่างการเข้าโปรแกรมกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟ ต้องแก้กฎหมายที่เรียกกันว่ากฎหมายขายชาติ 11 ฉบับ..
ส่งผลให้รัฐบาล(พรรค)ประชาธิปัตย์ก้าวสู่ขาลงสุดๆ (ก่อนจะพ่ายไทยรักไทย ในการเลือกตั้ง 6 ม.ค.44)
คู่มือทรราช งานเขียนเชิงเสียดสีประชดประชันแต่จริงจัง ได้แนะนำผู้ที่จะเป็นผู้นำทรราชด้วยบัญญัติ 10 ประการ ประกอบด้วย
1. ยึดรัฐบาล เริ่มด้วยการยึดสภาหรือกวาดซื้อส.ส. ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยมีรัฐบาลจากการเลือกตั้งพรรคเดียวเป็นครั้งแรก
2. ยึดธุรกิจผูกขาด เน้นที่ 6 ประเภทหลักคือ สถาบันการเงิน ธุรกิจการไฟฟ้า ธุรกิจน้ำมัน ธุรกิจโทรคมนาคม ธุรกิจขนส่ง ธุรกิจการประปา
3..ยึดองค์กรของรัฐ วางคนของตัวเองในตำแหน่งสำคัญ ๆ ในกระทรวงทบวงกรมต่างๆ และรัฐวิสาหกิจ เฉพาะด้านการทหารนอกจากวางคนของตัวเองในตำแหน่งผบ.สำคัญๆ แล้ว ต้องทำให้กองทัพอ่อนแอลงอย่างเป็นขั้นเป็นตอน..
4.ทำลายคู่แข่งทางการเมือง วิธีการทำลายที่ดีที่สุดก็คือทำลายภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือ
5.ทำลายคนดี ต้องทำลายเพราะคนดีเป็นอุปสรรคการโกงชาติ ปล้นประชาชน วิธีการที่ดีที่สุดคือซื้อสื่อ
6.ทำลายภาคประชาชน ให้ตัดไฟแต่ต้นลมด้วยการเตะถ่วงขัดขวางความเติบโตของภาคประชาชนด้วย การทำให้พวกเขาขาดแคลนใน3ชั่น คือ Education, Organization และ Information และวิธีการอื่นๆ
7.ขัดขวาง(ทำลาย)การปฏิรูปทางการเมือง
8.สร้างภาพลักษณ์ เน้นวิธีการ เอาดีใส่ตัว เอาชั่วใส่คนอื่น และซื้อนักวิชาการ
9.สร้างเครือข่ายพันธมิตร ควรประกอบด้วยบุคคลหลากหลายอาชีพ เช่น นักการเมือง,นักธุรกิจ,ข้าราชการระดับสูง, ผู้บริหารรัฐวิสาหกิจ,นายทหารระดับสูง,มาเฟีย ,สื่อมวลชนอาวุโส
10.สร้างการบริหารองค์กรทรราช ต้องบริหารแบบทรราชมืออาชีพ และพัฒนาฝีมือตนเองอยู่เสมอ เพื่อให้ได้รับความยอมรับและเชื่อมโยงกับทรราชสากล
นี่คือสูตร 3 ยึด 4 ทำลาย 3สร้าง ของดร.วุฒิพงษ์ เทียบเคียงกับสถานการณ์ประเทศไทยในห้วงเวลา 5 ปีที่ผ่านมาและวิธีการที่ได้มาซึ่งอำนาจ.. การรักษาอำนาจแล้วเป็นอย่างไร ก็สุดแท้แต่ท่านสาธุชนจะพิจารณากันเอง.....
โดย..ดร.วุฒิพงษ์ เพรียบจริยวัฒน์
เป็นงานเขียนที่ตีพิมพ์ครั้งแรกเดือนมิ.ย.2543 สมัยรัฐบาลชวน 2 ที่ประเทศไทยอยู่ระหว่างการเข้าโปรแกรมกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟ ต้องแก้กฎหมายที่เรียกกันว่ากฎหมายขายชาติ 11 ฉบับ..
ส่งผลให้รัฐบาล(พรรค)ประชาธิปัตย์ก้าวสู่ขาลงสุดๆ (ก่อนจะพ่ายไทยรักไทย ในการเลือกตั้ง 6 ม.ค.44)
คู่มือทรราช งานเขียนเชิงเสียดสีประชดประชันแต่จริงจัง ได้แนะนำผู้ที่จะเป็นผู้นำทรราชด้วยบัญญัติ 10 ประการ ประกอบด้วย
1. ยึดรัฐบาล เริ่มด้วยการยึดสภาหรือกวาดซื้อส.ส. ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยมีรัฐบาลจากการเลือกตั้งพรรคเดียวเป็นครั้งแรก
2. ยึดธุรกิจผูกขาด เน้นที่ 6 ประเภทหลักคือ สถาบันการเงิน ธุรกิจการไฟฟ้า ธุรกิจน้ำมัน ธุรกิจโทรคมนาคม ธุรกิจขนส่ง ธุรกิจการประปา
3..ยึดองค์กรของรัฐ วางคนของตัวเองในตำแหน่งสำคัญ ๆ ในกระทรวงทบวงกรมต่างๆ และรัฐวิสาหกิจ เฉพาะด้านการทหารนอกจากวางคนของตัวเองในตำแหน่งผบ.สำคัญๆ แล้ว ต้องทำให้กองทัพอ่อนแอลงอย่างเป็นขั้นเป็นตอน..
4.ทำลายคู่แข่งทางการเมือง วิธีการทำลายที่ดีที่สุดก็คือทำลายภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือ
5.ทำลายคนดี ต้องทำลายเพราะคนดีเป็นอุปสรรคการโกงชาติ ปล้นประชาชน วิธีการที่ดีที่สุดคือซื้อสื่อ
6.ทำลายภาคประชาชน ให้ตัดไฟแต่ต้นลมด้วยการเตะถ่วงขัดขวางความเติบโตของภาคประชาชนด้วย การทำให้พวกเขาขาดแคลนใน3ชั่น คือ Education, Organization และ Information และวิธีการอื่นๆ
7.ขัดขวาง(ทำลาย)การปฏิรูปทางการเมือง
8.สร้างภาพลักษณ์ เน้นวิธีการ เอาดีใส่ตัว เอาชั่วใส่คนอื่น และซื้อนักวิชาการ
9.สร้างเครือข่ายพันธมิตร ควรประกอบด้วยบุคคลหลากหลายอาชีพ เช่น นักการเมือง,นักธุรกิจ,ข้าราชการระดับสูง, ผู้บริหารรัฐวิสาหกิจ,นายทหารระดับสูง,มาเฟีย ,สื่อมวลชนอาวุโส
10.สร้างการบริหารองค์กรทรราช ต้องบริหารแบบทรราชมืออาชีพ และพัฒนาฝีมือตนเองอยู่เสมอ เพื่อให้ได้รับความยอมรับและเชื่อมโยงกับทรราชสากล
นี่คือสูตร 3 ยึด 4 ทำลาย 3สร้าง ของดร.วุฒิพงษ์ เทียบเคียงกับสถานการณ์ประเทศไทยในห้วงเวลา 5 ปีที่ผ่านมาและวิธีการที่ได้มาซึ่งอำนาจ.. การรักษาอำนาจแล้วเป็นอย่างไร ก็สุดแท้แต่ท่านสาธุชนจะพิจารณากันเอง.....