ควรแก้รัฐธรรมนูญหรือไม่..อ่านบทสัมภาษณ์.."มีชัย ฤชุพันธ
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
ควรแก้รัฐธรรมนูญหรือไม่..อ่านบทสัมภาษณ์.."มีชัย ฤชุพันธ
โพสต์ที่ 1
"มีชัย ฤชุพันธุ์"...ฟันธง จุดด้อย-จุดดี "รัฐธรรมนูญ"
สัมภาษณ์พิเศษ
โดย อริน เจียจันทร์พงษ์
"...พระองค์ท่านอยู่เหนือการเมือง ที่นำมาพูดกันคือนำพระองค์ท่านมาเกี่ยวกับการเมืองทั้งนั้น แล้วพระองค์ท่านก็ไม่ได้รู้เห็นอะไรด้วย คนที่หยิบมาก็พยายามหยิบมาเพื่อให้เข้าข้าง..."
"เมื่อใช้รัฐธรรมนูญครบ 5 ปี ผมเคยเสนอว่า องค์กรทุกองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ควรจะตั้งตัวแทนของตนเองที่เป็นคนนอก แล้วมาร่วมศึกษาทั้งหมดว่า วันแรกที่ออกรัฐธรรมนูญมาตั้งใจให้มันเป็นอะไร วันนี้มันเป็นอย่างนั้นหรือไม่ ถ้ามันไม่เป็น มันเกิดอะไร ควรจะแก้มันอย่างไร คืออย่าเพิ่งไปบอกว่าแก้หรือไม่แก้ ต้องศึกษาก่อนจะดำเนินการฟันธงไปข้างหนึ่งข้างใด
"มีชัย ฤชุพันธุ์" อดีตประธานวุฒิสภา และอาจารย์-นักกฎหมายมือหนึ่งผู้คร่ำหวอดในวงการการเมืองกว่า 3 ทศวรรษ ให้ข้อคิดท่ามกลางกระแสการเคลื่อนไหวให้มีการปฏิรูปการเมืองครั้งที่ 2 โดยให้มีการแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับ
"มติชน" มีโอกาสถ่ายทอดแนวทางการปฏิรูปการเมืองครั้งที่ 2 จาก "มีชัย ฤชุพันธุ์" มานำเสนอ
**แนวคิดการปฏิรูปการเมืองครั้งที่ 2 เกิดจากการมองว่ากลไกการตรวจสอบไม่มีประสิทธิภาพ ขณะที่อีกกลุ่มมองว่ารัฐธรรมนูญไม่มีปัญหา คนใช้รัฐธรรมนูญต่างหากที่มีปัญหา อาจารย์เห็นว่าอย่างไร
รัฐธรรมนูญฉบับนี้เขียนโดยพื้นฐานของคนเยอรมัน กับคนฝรั่งเศส คือเอานิสัยของคนเยอรมันกับฝรั่งเศสมาใช้ โดยคิดว่าคนไทยเป็นอย่างนั้น ซึ่งรัฐธรรมนูญอย่างนี้ใช้ได้ในต่างประเทศ เพราะคนของเขาเป็นอย่างนั้น เวลามาทำงานการเมืองเขารู้หน้าที่ มีความภูมิใจ(pround) ในหน้าที่และสิทธิ แล้วเขาก็จะจำกัดอำนาจตัวเองตามกรอบที่วางไว้ แต่คนไทยเราไม่ และสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ(ส.ส.ร.) ก็คิดว่าคนไทยควรจะคิดแบบนั้น แต่จริงๆ คนไทยไม่ได้คิดอย่างนั้น
**แสดงว่ารัฐธรรมนูญในแบบอุดมคติ คนไทยยังไปไม่ถึง
เราอยาก...เราอยาก(เน้นเสียง) รัฐธรรมนูญฉบับนี้คือความอยาก แต่ว่าผิดฝาผิดตัว มันเหมือนกับที่ฮ่องกง สิงคโปร์เวลาเรียกแท็กซี่ต้องเข้าแถว แต่ถ้าไปจีน ขืนไปเข้าแถวก็เรียกไม่ได้เลย ถ้าวันหนึ่งจีนเกิดออกกฎหมายว่าให้คนเข้าแถวล่ะ กฎหมายนั้นใช้ได้มั้ย ก็ใช้ไม่ได้ หรือคนญี่ปุ่นซดน้ำแกงต้องเสียงดัง ยิ่งกินในบ้านยิ่งต้องดังเป็นการชื่นชมอาหาร แต่คนไทยเราซดดังก็ว่าไม่มีมารยาท
ตอนที่ ส.ส.ร.ยกร่างรัฐธรรมนูญ เขาทำโดยหวังว่า รัฐธรรมนูญนี้จะต้องออกมาแล้วชอบ เพราะฉะนั้น ใครอยากได้อะไรก็ไปใส่ คนนี้อยากได้อะไรก็ไปใส่ ก็ใส่ให้หมดทุกคน เลยกลายเป็นดีที่สุดเท่าที่เคยมีมา เพราะก่อนหน้านี้ไม่เคยมีใครมาถามเราเลยว่าอยากได้อะไร
อย่างไรก็ดี ไอ้ที่ว่าดีของคุณ มันอาจจะร้ายกับอีกคนได้ เช่น คุณเป็นสื่อ เขาก็บอกว่า ห้ามตรวจข่าว ห้ามปิดหนังสือพิมพ์ ห้ามฟ้องหมิ่นประมาท ถามว่าดีกับคุณมั้ย ดี แต่ดีกับผมมั้ย ไม่ดี เวลาคุณด่าผม ผมด่าคุณคุณฟ้องผมได้ แต่คุณด่าผมผมฟ้องคุณไม่ได้ มันจะมีอย่างนี้เป็นจุด จุด จุดมาโดยตลอด แล้วพอถึงวันหนึ่งปัญหาทั้งหมดก็โผล่
เป็นประธานเสวนาเรื่อง "คุณสมบัติของผู้สมัครส.ว." เมื่อปี 2542 เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้สมัครส.ว.ในปี 2543 ถือเป็นการเลือกตั้งส.ว.ครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญปี 2540
**ตอนนั้น ส.ส.ร.คงคิดไม่ถึงว่าการเมืองบ้านเราจะไปไม่เร็วขนาดนั้น
ไม่...ผมคิด...คิด...ผมคิด(พยักหน้า) คิดว่าจะเป็นอย่างนี้ แต่ตอนนั้นส่วนมากคิดกันว่า นักการเมืองแย่มาก เพราะฉะนั้นต้องตรวจสอบมันให้หมด ก็เห็นด้วยว่าถ้ามันสอบได้หมดจริงมันก็ดี แต่กลับกลายเป็นว่า เฮ้ย...ไอ้นี่มันมีอำนาจตรวจสอบเรา เราก็เอามันมาเป็นพวกเราซะ ซึ่งคนเยอรมัน ฝรั่งเศสเขาไม่ทำ แต่คนไทยทำก็เลยกลายเป็นแบบนี้
ตอนนั้นผมค้านโดยทำบันทึกไว้ว่า ในที่สุดมันจะเป็นอย่างนี้ และบอกด้วยว่า เมื่อ ส.ว.มาจากการเลือกตั้ง กลไกต่อไป ส.ว.ก็จะทำอย่างเดียวกับ ส.ส. และพอถึงจุดจุดหนึ่งคนก็จะบอกว่า เฮ้ย...แล้วจะมี ส.ว.ไปทำไม ซึ่งไม่นานก็มีคนเริ่มพูดแล้วว่าจะมีไปทำไม(อมยิ้ม)
สัมภาษณ์พิเศษ
โดย อริน เจียจันทร์พงษ์
"...พระองค์ท่านอยู่เหนือการเมือง ที่นำมาพูดกันคือนำพระองค์ท่านมาเกี่ยวกับการเมืองทั้งนั้น แล้วพระองค์ท่านก็ไม่ได้รู้เห็นอะไรด้วย คนที่หยิบมาก็พยายามหยิบมาเพื่อให้เข้าข้าง..."
"เมื่อใช้รัฐธรรมนูญครบ 5 ปี ผมเคยเสนอว่า องค์กรทุกองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ควรจะตั้งตัวแทนของตนเองที่เป็นคนนอก แล้วมาร่วมศึกษาทั้งหมดว่า วันแรกที่ออกรัฐธรรมนูญมาตั้งใจให้มันเป็นอะไร วันนี้มันเป็นอย่างนั้นหรือไม่ ถ้ามันไม่เป็น มันเกิดอะไร ควรจะแก้มันอย่างไร คืออย่าเพิ่งไปบอกว่าแก้หรือไม่แก้ ต้องศึกษาก่อนจะดำเนินการฟันธงไปข้างหนึ่งข้างใด
"มีชัย ฤชุพันธุ์" อดีตประธานวุฒิสภา และอาจารย์-นักกฎหมายมือหนึ่งผู้คร่ำหวอดในวงการการเมืองกว่า 3 ทศวรรษ ให้ข้อคิดท่ามกลางกระแสการเคลื่อนไหวให้มีการปฏิรูปการเมืองครั้งที่ 2 โดยให้มีการแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับ
"มติชน" มีโอกาสถ่ายทอดแนวทางการปฏิรูปการเมืองครั้งที่ 2 จาก "มีชัย ฤชุพันธุ์" มานำเสนอ
**แนวคิดการปฏิรูปการเมืองครั้งที่ 2 เกิดจากการมองว่ากลไกการตรวจสอบไม่มีประสิทธิภาพ ขณะที่อีกกลุ่มมองว่ารัฐธรรมนูญไม่มีปัญหา คนใช้รัฐธรรมนูญต่างหากที่มีปัญหา อาจารย์เห็นว่าอย่างไร
รัฐธรรมนูญฉบับนี้เขียนโดยพื้นฐานของคนเยอรมัน กับคนฝรั่งเศส คือเอานิสัยของคนเยอรมันกับฝรั่งเศสมาใช้ โดยคิดว่าคนไทยเป็นอย่างนั้น ซึ่งรัฐธรรมนูญอย่างนี้ใช้ได้ในต่างประเทศ เพราะคนของเขาเป็นอย่างนั้น เวลามาทำงานการเมืองเขารู้หน้าที่ มีความภูมิใจ(pround) ในหน้าที่และสิทธิ แล้วเขาก็จะจำกัดอำนาจตัวเองตามกรอบที่วางไว้ แต่คนไทยเราไม่ และสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ(ส.ส.ร.) ก็คิดว่าคนไทยควรจะคิดแบบนั้น แต่จริงๆ คนไทยไม่ได้คิดอย่างนั้น
**แสดงว่ารัฐธรรมนูญในแบบอุดมคติ คนไทยยังไปไม่ถึง
เราอยาก...เราอยาก(เน้นเสียง) รัฐธรรมนูญฉบับนี้คือความอยาก แต่ว่าผิดฝาผิดตัว มันเหมือนกับที่ฮ่องกง สิงคโปร์เวลาเรียกแท็กซี่ต้องเข้าแถว แต่ถ้าไปจีน ขืนไปเข้าแถวก็เรียกไม่ได้เลย ถ้าวันหนึ่งจีนเกิดออกกฎหมายว่าให้คนเข้าแถวล่ะ กฎหมายนั้นใช้ได้มั้ย ก็ใช้ไม่ได้ หรือคนญี่ปุ่นซดน้ำแกงต้องเสียงดัง ยิ่งกินในบ้านยิ่งต้องดังเป็นการชื่นชมอาหาร แต่คนไทยเราซดดังก็ว่าไม่มีมารยาท
ตอนที่ ส.ส.ร.ยกร่างรัฐธรรมนูญ เขาทำโดยหวังว่า รัฐธรรมนูญนี้จะต้องออกมาแล้วชอบ เพราะฉะนั้น ใครอยากได้อะไรก็ไปใส่ คนนี้อยากได้อะไรก็ไปใส่ ก็ใส่ให้หมดทุกคน เลยกลายเป็นดีที่สุดเท่าที่เคยมีมา เพราะก่อนหน้านี้ไม่เคยมีใครมาถามเราเลยว่าอยากได้อะไร
อย่างไรก็ดี ไอ้ที่ว่าดีของคุณ มันอาจจะร้ายกับอีกคนได้ เช่น คุณเป็นสื่อ เขาก็บอกว่า ห้ามตรวจข่าว ห้ามปิดหนังสือพิมพ์ ห้ามฟ้องหมิ่นประมาท ถามว่าดีกับคุณมั้ย ดี แต่ดีกับผมมั้ย ไม่ดี เวลาคุณด่าผม ผมด่าคุณคุณฟ้องผมได้ แต่คุณด่าผมผมฟ้องคุณไม่ได้ มันจะมีอย่างนี้เป็นจุด จุด จุดมาโดยตลอด แล้วพอถึงวันหนึ่งปัญหาทั้งหมดก็โผล่
เป็นประธานเสวนาเรื่อง "คุณสมบัติของผู้สมัครส.ว." เมื่อปี 2542 เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้สมัครส.ว.ในปี 2543 ถือเป็นการเลือกตั้งส.ว.ครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญปี 2540
**ตอนนั้น ส.ส.ร.คงคิดไม่ถึงว่าการเมืองบ้านเราจะไปไม่เร็วขนาดนั้น
ไม่...ผมคิด...คิด...ผมคิด(พยักหน้า) คิดว่าจะเป็นอย่างนี้ แต่ตอนนั้นส่วนมากคิดกันว่า นักการเมืองแย่มาก เพราะฉะนั้นต้องตรวจสอบมันให้หมด ก็เห็นด้วยว่าถ้ามันสอบได้หมดจริงมันก็ดี แต่กลับกลายเป็นว่า เฮ้ย...ไอ้นี่มันมีอำนาจตรวจสอบเรา เราก็เอามันมาเป็นพวกเราซะ ซึ่งคนเยอรมัน ฝรั่งเศสเขาไม่ทำ แต่คนไทยทำก็เลยกลายเป็นแบบนี้
ตอนนั้นผมค้านโดยทำบันทึกไว้ว่า ในที่สุดมันจะเป็นอย่างนี้ และบอกด้วยว่า เมื่อ ส.ว.มาจากการเลือกตั้ง กลไกต่อไป ส.ว.ก็จะทำอย่างเดียวกับ ส.ส. และพอถึงจุดจุดหนึ่งคนก็จะบอกว่า เฮ้ย...แล้วจะมี ส.ว.ไปทำไม ซึ่งไม่นานก็มีคนเริ่มพูดแล้วว่าจะมีไปทำไม(อมยิ้ม)
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
ควรแก้รัฐธรรมนูญหรือไม่..อ่านบทสัมภาษณ์.."มีชัย ฤชุพันธ
โพสต์ที่ 2
**เป้าหมายที่แท้จริงที่ทำให้มีการปฏิรูปการเมืองครั้งที่แล้วคืออะไร
เป้าหมายหลักของผู้ร่างคือ ต้องการรัฐบาลที่มีเสถียรภาพ เป้าหมายสุดท้ายคือมีพรรค 2 พรรค นี่เรายังไม่ทันมีพรรค 2 พรรคเลย เราทนไม่ได้แล้ว(หัวเราะในลำคอ) ใช่มั้ย รัฐบาลมีเสถียรภาพเราชักทนไม่ได้แล้ว
**มองว่าสถานการณ์การเมืองในขณะนี้เดินทางมาถึงจุดที่ต้องทบทวนรัฐธรรมนูญทั้งฉบับหรือยัง
เมื่อตอนใช้รัฐธรรมนูญครบ 5 ปี ผมเคยพูดครั้งหนึ่งว่า องค์กรทุกองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ควรจะตั้งตัวแทนของตนเอง คือตั้งคนมาจากนอกองค์กรตนเอง แล้วมาร่วมหารือ มาศึกษาทั้งหมดว่า วันแรกที่ออกรัฐธรรมนูญมาตั้งใจให้มันเป็นอะไร วันนี้มันเป็นอย่างนั้นหรือไม่ ถ้าเป็นอย่างนั้นก็โอเค ถ้ามันไม่เป็น มันเกิดอะไร ควรจะแก้มันยังไง คืออย่าเพิ่งไปบอกว่าแก้หรือไม่แก้ เอามาศึกษาก่อน แต่คราวนั้นก็ไม่มีใครเอา แล้วก็ปล่อยเรื่อยมา มันก็บ่มตัวมันเองและก็สร้างเกราะของตัวมันเองด้วย
**แสดงว่าแต่ละองค์กรกลัวสูญเสียอำนาจ
แต่ละองค์กรก็มีอำนาจเยอะตามที่รัฐธรรมนูญให้ไว้ เขาก็เลยกลัว แก้แล้วเดี๋ยวจะกระทบอำนาจเขา ทั้งที่หลายองค์กรมีปัญหาอยู่ในองค์กรจนทำให้ทำงานไม่ได้ เช่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ก็มีปัญหา แต่เขาคิดว่าเขาทนได้ เพราะเมื่อเขามีอำนาจเด็ดขาด เขาจะทำอย่างไรก็ไม่มีใครว่าอะไรเขาได้ เช่น กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ซึ่งต้องโหวตด้วยคะแนนเสียงเอกฉันท์ ในการประกาศรับรองผลเลือกตั้ง แต่ถ้าจะให้ใบแดงใบเหลืองก็ต้องเอกฉันท์ จึงกลายเป็นถ้าจะให้คุณไปก็ต้องเอกฉันท์ ถ้าจะให้อยู่ก็ต้องเอกฉันท์ สรุปคืออยู่ก็ไม่ได้ ไปก็ไม่ได้ คดีจึงค้างมาเรื่อย
**ในการริเริ่มแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งใหม่ ใครจะเป็นผู้ริเริ่ม หรือจะรอให้เกิดปัญหาก่อนแล้วค่อยแก้ไปทีละเปราะ
การแก้ทีละเปราะก็เพื่อให้ทำงานได้ แต่ถ้าจะแก้ให้เกิดประโยชน์ทั้งระบบก็ต้องมาศึกษาทุกจุด คือถ้าพูดรวมๆ ก็บอกกันว่ามันมีปัญหา แต่ถ้าถามว่าปัญหาตรงไหนและแก้อย่างไร เราลองมาทุกวิธีลองมาหลายแบบแล้ว พออยู่ๆ ไปมันก็มีปัญหาทุกที มันน่าจะลองศึกษาว่าคนไทยคือคนอย่างไร แล้วถ้าไปหยิบรัฐธรรมนูญทั่วโลกมาใช้กับคนไทยได้ ก็ใช้ ถ้าอันไหนใช้ไม่ได้ ก็สร้างมันขึ้นมาใหม่ ให้เหมาะกับคนไทย
**วันนี้คนที่จะริเริ่มล้วนมีวาระซ่อนเร้นทั้งสิ้น อย่าง ส.ส.เสนอแก้ไขเรื่องสังกัดพรรค 90 วัน ส่วน ส.ว.ขอให้ลงสมัครสมัยที่ 2 ได้
ผมมองว่าใครมาเริ่มต้นก่อนแล้วมันจะออกมาอย่างไร ก็ใช่ว่าจะออกมาเป็นแบบที่เขาต้องการนี่ ก็เสนอมา แต่ขออย่างเดียวให้เขียนหลักการให้กว้างหน่อย ใครอยากได้อะไรก็ใส่มา ไปถาม ส.ว.อยากได้อะไรก็ใส่มา ศาลรัฐธรรมนูญอยากได้อะไรก็ใส่มา ใครอยากได้อะไรก็ใส่มาให้หมด แล้วคุณก็ไปศึกษา ใช้ได้หรือไม่ได้ก็อีกเรื่องหนึ่ง แต่ต้องมีคนมาศึกษา
**หมายความว่าน่าจะมี ส.ส.ร. 2 ขึ้นมาศึกษาภาพรวมทั้งหมด
ไม่จำเป็นต้องมากขนาดนั้น 10-20 คน ไปศึกษาแล้วทำรายงานออกมา ให้รู้ว่าเรื่องนี้ดี เรื่องนี้ไม่ดี แล้วยังมีเรื่องที่ไม่ดีอะไรเหลืออีก ถ้าไม่ดีจะทำอย่างไร แล้วก็ให้สาธารณชนมาดูกัน ทั้งนี้ องค์ประกอบของคนที่จะมาศึกษา ผมเคยเสนอให้แต่ละองค์กรในรัฐธรรมนูญไปหาคนมาที่ไม่ใช่คนของตัว ศาลฎีกาก็ไม่ใช่ผู้พิพากษาศาลฎีกา แต่เอาคนที่คิดว่าดีที่สุด ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ กกต. ป.ป.ช. สภาผู้แทนราษฎร ทุกองค์กรหามา แต่ต้องไม่ใช่คนที่ทำงานในนั้น ต้องเป็นคนนอก ต่างคนต่างไปหา แล้วหาใครมาก็สะท้อนความคิดของคนที่ไปหามาเองนั่นแหละ
**แล้วข้อเสนอของนักวิชาการบางคนที่ให้ถวายคืนพระราชอำนาจมีทางจะเป็นไปได้หรือไม่
เอาทุกข์ไปให้พระองค์ท่านอยู่เรื่อย ต้องทำกันเอง วิกฤตยังไม่ถึงขนาดนั้น ดูแล้วเหตุการณ์ยังไม่สุกงอม ทุกคนยังสบายอกสบายใจได้ หงุดหงิดกันนิดๆ หน่อยๆ แต่ถ้าถึงขนาดไม่ต้องมีคนมาพยักหน้าแล้วคุณก็เดินออกไปเอง ถึงเวลาความรู้สึกมันสอดคล้องกันมันก็เคลื่อนกันเอง เหมือนคราวก่อนตอนธงเขียว การเมืองมันเป็นไปตามรูปแบบเดิมมานาน คนมันก็เลยคิดสอดคล้องกัน
ทุกคนก็เฮบังคับพรรคการเมือง ไปจี้ถามว่า ไหนคุณว่าไง เรื่องนี้คุณว่าไง ทุกคนบอกว่า ปฏิรูป ปฏิรูป ปฏิรูป พอถึงเวลามันก็ต้องทำ
เป้าหมายหลักของผู้ร่างคือ ต้องการรัฐบาลที่มีเสถียรภาพ เป้าหมายสุดท้ายคือมีพรรค 2 พรรค นี่เรายังไม่ทันมีพรรค 2 พรรคเลย เราทนไม่ได้แล้ว(หัวเราะในลำคอ) ใช่มั้ย รัฐบาลมีเสถียรภาพเราชักทนไม่ได้แล้ว
**มองว่าสถานการณ์การเมืองในขณะนี้เดินทางมาถึงจุดที่ต้องทบทวนรัฐธรรมนูญทั้งฉบับหรือยัง
เมื่อตอนใช้รัฐธรรมนูญครบ 5 ปี ผมเคยพูดครั้งหนึ่งว่า องค์กรทุกองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ควรจะตั้งตัวแทนของตนเอง คือตั้งคนมาจากนอกองค์กรตนเอง แล้วมาร่วมหารือ มาศึกษาทั้งหมดว่า วันแรกที่ออกรัฐธรรมนูญมาตั้งใจให้มันเป็นอะไร วันนี้มันเป็นอย่างนั้นหรือไม่ ถ้าเป็นอย่างนั้นก็โอเค ถ้ามันไม่เป็น มันเกิดอะไร ควรจะแก้มันยังไง คืออย่าเพิ่งไปบอกว่าแก้หรือไม่แก้ เอามาศึกษาก่อน แต่คราวนั้นก็ไม่มีใครเอา แล้วก็ปล่อยเรื่อยมา มันก็บ่มตัวมันเองและก็สร้างเกราะของตัวมันเองด้วย
**แสดงว่าแต่ละองค์กรกลัวสูญเสียอำนาจ
แต่ละองค์กรก็มีอำนาจเยอะตามที่รัฐธรรมนูญให้ไว้ เขาก็เลยกลัว แก้แล้วเดี๋ยวจะกระทบอำนาจเขา ทั้งที่หลายองค์กรมีปัญหาอยู่ในองค์กรจนทำให้ทำงานไม่ได้ เช่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ก็มีปัญหา แต่เขาคิดว่าเขาทนได้ เพราะเมื่อเขามีอำนาจเด็ดขาด เขาจะทำอย่างไรก็ไม่มีใครว่าอะไรเขาได้ เช่น กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ซึ่งต้องโหวตด้วยคะแนนเสียงเอกฉันท์ ในการประกาศรับรองผลเลือกตั้ง แต่ถ้าจะให้ใบแดงใบเหลืองก็ต้องเอกฉันท์ จึงกลายเป็นถ้าจะให้คุณไปก็ต้องเอกฉันท์ ถ้าจะให้อยู่ก็ต้องเอกฉันท์ สรุปคืออยู่ก็ไม่ได้ ไปก็ไม่ได้ คดีจึงค้างมาเรื่อย
**ในการริเริ่มแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งใหม่ ใครจะเป็นผู้ริเริ่ม หรือจะรอให้เกิดปัญหาก่อนแล้วค่อยแก้ไปทีละเปราะ
การแก้ทีละเปราะก็เพื่อให้ทำงานได้ แต่ถ้าจะแก้ให้เกิดประโยชน์ทั้งระบบก็ต้องมาศึกษาทุกจุด คือถ้าพูดรวมๆ ก็บอกกันว่ามันมีปัญหา แต่ถ้าถามว่าปัญหาตรงไหนและแก้อย่างไร เราลองมาทุกวิธีลองมาหลายแบบแล้ว พออยู่ๆ ไปมันก็มีปัญหาทุกที มันน่าจะลองศึกษาว่าคนไทยคือคนอย่างไร แล้วถ้าไปหยิบรัฐธรรมนูญทั่วโลกมาใช้กับคนไทยได้ ก็ใช้ ถ้าอันไหนใช้ไม่ได้ ก็สร้างมันขึ้นมาใหม่ ให้เหมาะกับคนไทย
**วันนี้คนที่จะริเริ่มล้วนมีวาระซ่อนเร้นทั้งสิ้น อย่าง ส.ส.เสนอแก้ไขเรื่องสังกัดพรรค 90 วัน ส่วน ส.ว.ขอให้ลงสมัครสมัยที่ 2 ได้
ผมมองว่าใครมาเริ่มต้นก่อนแล้วมันจะออกมาอย่างไร ก็ใช่ว่าจะออกมาเป็นแบบที่เขาต้องการนี่ ก็เสนอมา แต่ขออย่างเดียวให้เขียนหลักการให้กว้างหน่อย ใครอยากได้อะไรก็ใส่มา ไปถาม ส.ว.อยากได้อะไรก็ใส่มา ศาลรัฐธรรมนูญอยากได้อะไรก็ใส่มา ใครอยากได้อะไรก็ใส่มาให้หมด แล้วคุณก็ไปศึกษา ใช้ได้หรือไม่ได้ก็อีกเรื่องหนึ่ง แต่ต้องมีคนมาศึกษา
**หมายความว่าน่าจะมี ส.ส.ร. 2 ขึ้นมาศึกษาภาพรวมทั้งหมด
ไม่จำเป็นต้องมากขนาดนั้น 10-20 คน ไปศึกษาแล้วทำรายงานออกมา ให้รู้ว่าเรื่องนี้ดี เรื่องนี้ไม่ดี แล้วยังมีเรื่องที่ไม่ดีอะไรเหลืออีก ถ้าไม่ดีจะทำอย่างไร แล้วก็ให้สาธารณชนมาดูกัน ทั้งนี้ องค์ประกอบของคนที่จะมาศึกษา ผมเคยเสนอให้แต่ละองค์กรในรัฐธรรมนูญไปหาคนมาที่ไม่ใช่คนของตัว ศาลฎีกาก็ไม่ใช่ผู้พิพากษาศาลฎีกา แต่เอาคนที่คิดว่าดีที่สุด ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ กกต. ป.ป.ช. สภาผู้แทนราษฎร ทุกองค์กรหามา แต่ต้องไม่ใช่คนที่ทำงานในนั้น ต้องเป็นคนนอก ต่างคนต่างไปหา แล้วหาใครมาก็สะท้อนความคิดของคนที่ไปหามาเองนั่นแหละ
**แล้วข้อเสนอของนักวิชาการบางคนที่ให้ถวายคืนพระราชอำนาจมีทางจะเป็นไปได้หรือไม่
เอาทุกข์ไปให้พระองค์ท่านอยู่เรื่อย ต้องทำกันเอง วิกฤตยังไม่ถึงขนาดนั้น ดูแล้วเหตุการณ์ยังไม่สุกงอม ทุกคนยังสบายอกสบายใจได้ หงุดหงิดกันนิดๆ หน่อยๆ แต่ถ้าถึงขนาดไม่ต้องมีคนมาพยักหน้าแล้วคุณก็เดินออกไปเอง ถึงเวลาความรู้สึกมันสอดคล้องกันมันก็เคลื่อนกันเอง เหมือนคราวก่อนตอนธงเขียว การเมืองมันเป็นไปตามรูปแบบเดิมมานาน คนมันก็เลยคิดสอดคล้องกัน
ทุกคนก็เฮบังคับพรรคการเมือง ไปจี้ถามว่า ไหนคุณว่าไง เรื่องนี้คุณว่าไง ทุกคนบอกว่า ปฏิรูป ปฏิรูป ปฏิรูป พอถึงเวลามันก็ต้องทำ
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
ควรแก้รัฐธรรมนูญหรือไม่..อ่านบทสัมภาษณ์.."มีชัย ฤชุพันธ
โพสต์ที่ 3
**มองเรื่องการกล่าวอ้างพระราชอำนาจของแต่ละฝ่ายอย่างไร เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน?
ผมถึงบอกว่ามันเป็นอันตรายทั้ง 2 ข้าง เพราะพระองค์ท่านอยู่เหนือการเมือง ที่นำมาพูดกันคือนำพระองค์ท่านมาเกี่ยวกับการเมืองทั้งนั้น แล้วพระองค์ท่านก็ไม่ได้รู้เห็นอะไรด้วย คนที่หยิบมาก็พยายามหยิบมาเพื่อให้เข้าข้าง ลองสังเกตเวลาพระองค์ท่านลงมาเวลาวิกฤต พระองค์ท่านเคยบอกหรือไม่ว่าใครผิด พระองค์ท่านไม่เคยนะ พระองค์ท่านบอกให้ไปร่วมมือกันแก้ไข ไม่ใช่เรื่องที่พระองค์ท่านจะตัดสิน
เหมือนบทเรียนเรื่องผู้ว่าการ สตง. การส่งไปหมายความว่าให้พระองค์ท่านตัดสินว่าใครผิดใครถูก พระองค์ท่านยังไม่ตัดสิน หากพระองค์ท่านตัดสินว่าทำอย่างหนึ่งอย่างใด ก็จะมีคนสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งชอบ อีกกลุ่มไม่ชอบ ซึ่งอันตราย คุณทะเลาะกันเองก็ไปทะเลาะกันให้จบแล้วค่อยบอกว่าจบแล้วครับ บ้านเราที่รอดมาได้เพราะพระองค์ท่าน พอถึงคราวเลือดตกยางออก ไม่มีใครทำอะไรได้ พระองค์ท่านก็จะลงมาอย่างนิ่มนวลและเป็นกลาง ไม่บอกว่าใครผิด คนสมัยก่อนที่จงรักภักดี เขารู้ว่าเรื่องจะไปถึงพระองค์ท่านเขาก็รีบไปกราบบังคมทูล แต่ตอนนี้น่ากลัวที่มีการนำมาพูดกัน ไม่ดีเลย
**ตอนนี้ความรู้สึกร่วมของคนในสังคมที่จะไปถึงปฏิรูปการเมืองครั้งที่ 2 พอหรือยัง
ยังไม่พอ ยกเว้นไอ้ที่กดดันอยู่ มันไปบีบคั้นทำให้รัฐบาลเข้าตาจน และถ้าทางออกคือการแก้รัฐธรรมนูญ เขาก็จะแก้
**ปัจจัยเรื่องรัฐบาลมีอำนาจมากไปจนไม่สามารถตรวจสอบได้ เพียงพอที่จะทำให้เกิดการปฏิรูปการเมืองหรือไม่
รัฐบาลเขาก็ปฏิเสธ บอกว่าตรวจสอบเราได้ ส่วนจะพีคได้มั้ย ก่อนอื่นอย่าลืมว่า คนถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน เราก็ไม่รู้ว่าส่วนไหนมากกว่ากัน ส่วนหนึ่งเขาก็ยังเชื่อรัฐบาล เชื่อว่ารัฐบาลทำดี อีกส่วนก็ค้าน คือคนที่ได้ประโยชน์ก็บอกว่ารัฐบาลทำดีมีผลงาน ส่วนพ่อค้าที่ไม่ได้งานเลย ก็ต้องบอกว่ารัฐบาลไม่ดี
คิดง่ายๆ เอาแค่สื่อ คราวนี้เป็นครั้งแรกที่สื่อถูกแบ่งออกเป็น 2 ขั้วอย่างรุนแรง และสื่อที่แยกออกมาก็เพราะมีเรื่อง ถ้าไม่เช่นนั้นสื่อก็จะเงียบกริบ ซึ่งการแบ่งขั้วชอบหรือไม่ชอบรัฐบาล การแบ่งขั้วมันเกิดจากความไม่ชอบเพราะการกระทำโดยแท้ หรือไม่ชอบเพราะขัดกัน การกระทำโดยแท้ มันหยิบขึ้นมาได้ร้อยแปดพันเก้า แต่ถ้าไม่ขัดกันคุณจะหยิบหรือไม่ ทั้งนี้ ฝูงชนเดายากว่าขึ้นกับฟางเส้นไหน แต่วันนี้ทุกคนยังเฉลี่ยแบกกันไปได้
**รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันกำหนดให้ประชาชนมีส่วนร่วมกำหนดนโยบาย แต่ท้ายสุดประชาชนไม่ได้มีอำนาจใดๆ เลย
ก็ไม่มี...เขาเขียนมาเพื่อให้พอใจเท่านั้น ส่วนการร่วมกำหนดนโยบาย บอก 50,000 ชื่อเสนอกฎหมายได้ ถามหน่อย ใครคือผู้พิจารณา ตอบได้ว่าสภา และถ้าสภาไม่ผ่านกฎหมายจะทำอย่างไร ส่งหมูเข้าไปแล้วเขาแก้มาเป็นไก่จะทำอย่างไร มันเขียนไว้แต่เพียงให้บางฝ่ายได้ชื่นชม
**ในระหว่างที่ยังไม่มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ประชาชนควรทำตัวอย่างไรเพื่อให้รู้เท่าทันการเมือง
...เข้าวัด...เข้าวัด(หัวเราะในลำคอ) ท่องเอาไว้ว่า มันก็เป็นของมันเช่นนั้นเอง คุณมาถามคนอายุ 60 กว่าแล้วคำตอบมันก็เป็นอย่างนี้แหละ... ถ้ามาถามเมื่อ 40 ปีที่แล้ว ผมอาจบอกว่า เฮ้ย...ออกไปสู้มัน แต่ตอนนี้ผมออกไปสู้ไม่ไหวแล้วล่ะ ต้องเข้าวัด
หน้า 11
มติชนรายวัน
29/11/48
ผมถึงบอกว่ามันเป็นอันตรายทั้ง 2 ข้าง เพราะพระองค์ท่านอยู่เหนือการเมือง ที่นำมาพูดกันคือนำพระองค์ท่านมาเกี่ยวกับการเมืองทั้งนั้น แล้วพระองค์ท่านก็ไม่ได้รู้เห็นอะไรด้วย คนที่หยิบมาก็พยายามหยิบมาเพื่อให้เข้าข้าง ลองสังเกตเวลาพระองค์ท่านลงมาเวลาวิกฤต พระองค์ท่านเคยบอกหรือไม่ว่าใครผิด พระองค์ท่านไม่เคยนะ พระองค์ท่านบอกให้ไปร่วมมือกันแก้ไข ไม่ใช่เรื่องที่พระองค์ท่านจะตัดสิน
เหมือนบทเรียนเรื่องผู้ว่าการ สตง. การส่งไปหมายความว่าให้พระองค์ท่านตัดสินว่าใครผิดใครถูก พระองค์ท่านยังไม่ตัดสิน หากพระองค์ท่านตัดสินว่าทำอย่างหนึ่งอย่างใด ก็จะมีคนสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งชอบ อีกกลุ่มไม่ชอบ ซึ่งอันตราย คุณทะเลาะกันเองก็ไปทะเลาะกันให้จบแล้วค่อยบอกว่าจบแล้วครับ บ้านเราที่รอดมาได้เพราะพระองค์ท่าน พอถึงคราวเลือดตกยางออก ไม่มีใครทำอะไรได้ พระองค์ท่านก็จะลงมาอย่างนิ่มนวลและเป็นกลาง ไม่บอกว่าใครผิด คนสมัยก่อนที่จงรักภักดี เขารู้ว่าเรื่องจะไปถึงพระองค์ท่านเขาก็รีบไปกราบบังคมทูล แต่ตอนนี้น่ากลัวที่มีการนำมาพูดกัน ไม่ดีเลย
**ตอนนี้ความรู้สึกร่วมของคนในสังคมที่จะไปถึงปฏิรูปการเมืองครั้งที่ 2 พอหรือยัง
ยังไม่พอ ยกเว้นไอ้ที่กดดันอยู่ มันไปบีบคั้นทำให้รัฐบาลเข้าตาจน และถ้าทางออกคือการแก้รัฐธรรมนูญ เขาก็จะแก้
**ปัจจัยเรื่องรัฐบาลมีอำนาจมากไปจนไม่สามารถตรวจสอบได้ เพียงพอที่จะทำให้เกิดการปฏิรูปการเมืองหรือไม่
รัฐบาลเขาก็ปฏิเสธ บอกว่าตรวจสอบเราได้ ส่วนจะพีคได้มั้ย ก่อนอื่นอย่าลืมว่า คนถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน เราก็ไม่รู้ว่าส่วนไหนมากกว่ากัน ส่วนหนึ่งเขาก็ยังเชื่อรัฐบาล เชื่อว่ารัฐบาลทำดี อีกส่วนก็ค้าน คือคนที่ได้ประโยชน์ก็บอกว่ารัฐบาลทำดีมีผลงาน ส่วนพ่อค้าที่ไม่ได้งานเลย ก็ต้องบอกว่ารัฐบาลไม่ดี
คิดง่ายๆ เอาแค่สื่อ คราวนี้เป็นครั้งแรกที่สื่อถูกแบ่งออกเป็น 2 ขั้วอย่างรุนแรง และสื่อที่แยกออกมาก็เพราะมีเรื่อง ถ้าไม่เช่นนั้นสื่อก็จะเงียบกริบ ซึ่งการแบ่งขั้วชอบหรือไม่ชอบรัฐบาล การแบ่งขั้วมันเกิดจากความไม่ชอบเพราะการกระทำโดยแท้ หรือไม่ชอบเพราะขัดกัน การกระทำโดยแท้ มันหยิบขึ้นมาได้ร้อยแปดพันเก้า แต่ถ้าไม่ขัดกันคุณจะหยิบหรือไม่ ทั้งนี้ ฝูงชนเดายากว่าขึ้นกับฟางเส้นไหน แต่วันนี้ทุกคนยังเฉลี่ยแบกกันไปได้
**รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันกำหนดให้ประชาชนมีส่วนร่วมกำหนดนโยบาย แต่ท้ายสุดประชาชนไม่ได้มีอำนาจใดๆ เลย
ก็ไม่มี...เขาเขียนมาเพื่อให้พอใจเท่านั้น ส่วนการร่วมกำหนดนโยบาย บอก 50,000 ชื่อเสนอกฎหมายได้ ถามหน่อย ใครคือผู้พิจารณา ตอบได้ว่าสภา และถ้าสภาไม่ผ่านกฎหมายจะทำอย่างไร ส่งหมูเข้าไปแล้วเขาแก้มาเป็นไก่จะทำอย่างไร มันเขียนไว้แต่เพียงให้บางฝ่ายได้ชื่นชม
**ในระหว่างที่ยังไม่มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ประชาชนควรทำตัวอย่างไรเพื่อให้รู้เท่าทันการเมือง
...เข้าวัด...เข้าวัด(หัวเราะในลำคอ) ท่องเอาไว้ว่า มันก็เป็นของมันเช่นนั้นเอง คุณมาถามคนอายุ 60 กว่าแล้วคำตอบมันก็เป็นอย่างนี้แหละ... ถ้ามาถามเมื่อ 40 ปีที่แล้ว ผมอาจบอกว่า เฮ้ย...ออกไปสู้มัน แต่ตอนนี้ผมออกไปสู้ไม่ไหวแล้วล่ะ ต้องเข้าวัด
หน้า 11
มติชนรายวัน
29/11/48
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
ควรแก้รัฐธรรมนูญหรือไม่..อ่านบทสัมภาษณ์.."มีชัย ฤชุพันธ
โพสต์ที่ 4
- por_jai
- Verified User
- โพสต์: 14338
- ผู้ติดตาม: 0
ควรแก้รัฐธรรมนูญหรือไม่..อ่านบทสัมภาษณ์.."มีชัย ฤชุพันธ
โพสต์ที่ 5
8) ขอบคุณครับ ที่โพสมาให้อ่าน
ผมว่าลำพัง คนๆเดียวไม่สามารถเข้าถึง
ข้อมูลที่น่าสนใจ ได้มากมายนักหรอก
ใครอ่านอะไรประจำ ก็ได้จากแหล่งนั้นเท่านั้น
แต่ในเวปนี้ก็มีอะไรที่ดีๆมาให้อ่านอยู่เรื่อย
แต่ทั้งบทความ อ่านแล้วสะกิดใจตรงนี้
เอ..คนไทยเราไม่มีคุณภาพแบบที่ท่านมีชัยว่ามาหรือเปล่า
ผมว่าลำพัง คนๆเดียวไม่สามารถเข้าถึง
ข้อมูลที่น่าสนใจ ได้มากมายนักหรอก
ใครอ่านอะไรประจำ ก็ได้จากแหล่งนั้นเท่านั้น
แต่ในเวปนี้ก็มีอะไรที่ดีๆมาให้อ่านอยู่เรื่อย
แต่ทั้งบทความ อ่านแล้วสะกิดใจตรงนี้
เอ..คนไทยเราไม่มีคุณภาพแบบที่ท่านมีชัยว่ามาหรือเปล่า
รัฐธรรมนูญฉบับนี้เขียนโดยพื้นฐานของคนเยอรมัน กับคนฝรั่งเศส คือเอานิสัยของคนเยอรมันกับฝรั่งเศสมาใช้ โดยคิดว่าคนไทยเป็นอย่างนั้น ซึ่งรัฐธรรมนูญอย่างนี้ใช้ได้ในต่างประเทศ เพราะคนของเขาเป็นอย่างนั้น เวลามาทำงานการเมืองเขารู้หน้าที่ มีความภูมิใจ(pround) ในหน้าที่และสิทธิ แล้วเขาก็จะจำกัดอำนาจตัวเองตามกรอบที่วางไว้ แต่คนไทยเราไม่ และสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ(ส.ส.ร.) ก็คิดว่าคนไทยควรจะคิดแบบนั้น แต่จริงๆ คนไทยไม่ได้คิดอย่างนั้น
กรูเก่ง กิเลสเก่งกว่า
-
- Verified User
- โพสต์: 857
- ผู้ติดตาม: 0
ควรแก้รัฐธรรมนูญหรือไม่..อ่านบทสัมภาษณ์.."มีชัย ฤชุพันธ
โพสต์ที่ 6
โดนใจหลายอันเลยครับ :oops:
bsk(มหาชน) เขียน:**เป้าหมายที่แท้จริงที่ทำให้มีการปฏิรูปการเมืองครั้งที่แล้วคืออะไร
เป้าหมายหลักของผู้ร่างคือ ต้องการรัฐบาลที่มีเสถียรภาพ เป้าหมายสุดท้ายคือมีพรรค 2 พรรค นี่เรายังไม่ทันมีพรรค 2 พรรคเลย เราทนไม่ได้แล้ว(หัวเราะในลำคอ) ใช่มั้ย รัฐบาลมีเสถียรภาพเราชักทนไม่ได้แล้ว
bsk(มหาชน) เขียน:**มองเรื่องการกล่าวอ้างพระราชอำนาจของแต่ละฝ่ายอย่างไร เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน?
ผมถึงบอกว่ามันเป็นอันตรายทั้ง 2 ข้าง เพราะพระองค์ท่านอยู่เหนือการเมือง ที่นำมาพูดกันคือนำพระองค์ท่านมาเกี่ยวกับการเมืองทั้งนั้น แล้วพระองค์ท่านก็ไม่ได้รู้เห็นอะไรด้วย คนที่หยิบมาก็พยายามหยิบมาเพื่อให้เข้าข้าง ลองสังเกตเวลาพระองค์ท่านลงมาเวลาวิกฤต พระองค์ท่านเคยบอกหรือไม่ว่าใครผิด พระองค์ท่านไม่เคยนะ พระองค์ท่านบอกให้ไปร่วมมือกันแก้ไข ไม่ใช่เรื่องที่พระองค์ท่านจะตัดสิน
เหมือนบทเรียนเรื่องผู้ว่าการ สตง. การส่งไปหมายความว่าให้พระองค์ท่านตัดสินว่าใครผิดใครถูก พระองค์ท่านยังไม่ตัดสิน หากพระองค์ท่านตัดสินว่าทำอย่างหนึ่งอย่างใด ก็จะมีคนสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งชอบ อีกกลุ่มไม่ชอบ ซึ่งอันตราย คุณทะเลาะกันเองก็ไปทะเลาะกันให้จบแล้วค่อยบอกว่าจบแล้วครับ บ้านเราที่รอดมาได้เพราะพระองค์ท่าน พอถึงคราวเลือดตกยางออก ไม่มีใครทำอะไรได้ พระองค์ท่านก็จะลงมาอย่างนิ่มนวลและเป็นกลาง ไม่บอกว่าใครผิด คนสมัยก่อนที่จงรักภักดี เขารู้ว่าเรื่องจะไปถึงพระองค์ท่านเขาก็รีบไปกราบบังคมทูล แต่ตอนนี้น่ากลัวที่มีการนำมาพูดกัน ไม่ดีเลย
bsk(มหาชน) เขียน:**ปัจจัยเรื่องรัฐบาลมีอำนาจมากไปจนไม่สามารถตรวจสอบได้ เพียงพอที่จะทำให้เกิดการปฏิรูปการเมืองหรือไม่
รัฐบาลเขาก็ปฏิเสธ บอกว่าตรวจสอบเราได้ ส่วนจะพีคได้มั้ย ก่อนอื่นอย่าลืมว่า คนถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน เราก็ไม่รู้ว่าส่วนไหนมากกว่ากัน ส่วนหนึ่งเขาก็ยังเชื่อรัฐบาล เชื่อว่ารัฐบาลทำดี อีกส่วนก็ค้าน คือคนที่ได้ประโยชน์ก็บอกว่ารัฐบาลทำดีมีผลงาน ส่วนพ่อค้าที่ไม่ได้งานเลย ก็ต้องบอกว่ารัฐบาลไม่ดี
คิดง่ายๆ เอาแค่สื่อ คราวนี้เป็นครั้งแรกที่สื่อถูกแบ่งออกเป็น 2 ขั้วอย่างรุนแรง และสื่อที่แยกออกมาก็เพราะมีเรื่อง ถ้าไม่เช่นนั้นสื่อก็จะเงียบกริบ ซึ่งการแบ่งขั้วชอบหรือไม่ชอบรัฐบาล การแบ่งขั้วมันเกิดจากความไม่ชอบเพราะการกระทำโดยแท้ หรือไม่ชอบเพราะขัดกัน การกระทำโดยแท้ มันหยิบขึ้นมาได้ร้อยแปดพันเก้า แต่ถ้าไม่ขัดกันคุณจะหยิบหรือไม่ ทั้งนี้ ฝูงชนเดายากว่าขึ้นกับฟางเส้นไหน แต่วันนี้ทุกคนยังเฉลี่ยแบกกันไปได้
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
ควรแก้รัฐธรรมนูญหรือไม่..อ่านบทสัมภาษณ์.."มีชัย ฤชุพันธ
โพสต์ที่ 8
มีการอภิปรายที่น่าสนใจ เห็นว่าอาจจะเป็นประโยชน์ต่อท่านที่สนใจและพยายามทำความเข้าใจถึงปัญหาและทางตัน ตลอดจนกระบวนการที่น่าจะนำไปสู่การแ้ไข รธน.2540 จึงขอยกมาให้อ่านกันบางส่วนบางตอนที่เห็นว่าน่าสนใจและโดยเฉพาะผู้อภิปรายได้มองเห็นปัญหาที่จะเกิดขึ้นและติดตามศึกษามาจนถึงปัจจุบัน ดังข้อความต่อไปนี้คับ..
*******************************************************************
มีการอภิปรายทางวิชาการเรื่อง พระราชอำนาจกับการปฏิรูปการเมือง ครั้งที่ 2 ที่หอประชุมใหญ่ โดยมีผู้ร่วมอภิปรายคือ ศ.ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ สว.อุบลฯ นายกล้านรงค์ จันทิก อดีตเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) นายประมวล รุจนเสรี ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคไทยรักไทย และนายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ดำเนินรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ และผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ โดยมี นายสมยศ เชื้อไทย อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย
รศ.สมยศ เชื้อไทย - ท่านพี่น้องประชาชนเจ้าของประเทศ ผู้ทรงเกียรติ ที่เคารพทุกท่านครับ การอภิปรายในวันนี้เป็นการอภิปรายในทางวิชาการ เป็นเวทีสาธารณะอย่างที่ท่านอธิการบดีได้กล่าวไว้ ทุกความเห็นได้แสดงออกซึ่งความคิดเห็น แม้ว่าความคิดเห็นนั้นเราจะไม่เห็นด้วย แต่เราจะต่อสู้ให้ความคิดเห็นนั้นได้แสดงออก นี่น่าจะเป็นส่วนที่เป็นสาระสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย หอประชุมแห่งนี้เคยทำหน้าที่หลายครั้งในการสนับสนุนการอภิปราย ให้ความเห็นในเรื่องการเมืองการปกครอง และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีหลายครั้ง ผมก็เข้าใจว่า ในวันนี้ การอภิปรายในครั้งนี้เราอยากเห็นการอภิปรายนี้นำไปสู่ภาวะที่ดีกว่า นำไปสู่ภาวะที่จะมีการเปลี่ยนแปลงในทางการเมือง ซึ่งเป็นการเมืองที่ดี เพราะฉะนั้นเป้าหมายของการอภิปรายในวันนี้จะนำไปสู่ความคิดเห็นในเรื่องการปฏิรูปการเมือง ครั้งที่ 2 หรือการปฏิรูปการเมืองครั้งใหม่
ความคิดเห็นของวิทยากรในวันนี้เป็นความคิดเห็นโดยอิสระ โดยเสรี ไม่ผูกพันสมาคมนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไม่ผูกพันสถาบันสัญญา ธรรมศักดิ์ เพื่อประชาธิปไตย ในการแสดงออกซึ่งเสรีภาพ ที่เราจะพยายามใช้สิทธิเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้ประกันเอาไว้ เพื่ออภิปรายแสดงความคิดเห็นเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม เสรีภาพในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ผมคิดว่ามันเป็นลมหายใจของประชาธิปไตย ไม่มีสิ่งนี้แล้วประชาธิปไตยก็คงตายไปแล้ว เพราะฉะนั้น การแสดงออกซึ่งความเห็นเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ เพื่อประโยชน์สาธารณะจึงเป็นรากฐานที่สำคัญของระบอบประชาธิปไตย อย่างที่ผมเรียนไว้ตั้งแต่ตอนต้น ปัญหาในวันนี้คือการชี้ทางออกในขณะที่การเมืองถึงทางตัน เป็นวิกฤติ แต่เราทั้งหลายเห็นว่ามีโอกาส โอกาสที่จะเปิดทางตันเพื่อไปสู่การปฏิรูปการเมืองครั้งที่ 2 มีบางท่านอาจจะสงสัยหรือมีคำถามอยู่ในใจว่าทำไมต้องปฏิรูปครั้งที่ 2 เราปฏิรูปไปแล้วไม่ใช่หรือ เราได้รัฐธรรมนูญที่ดีที่สุดไม่ใช่หรือ เราได้รัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยได้รัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูปการเมือง ทำไมต้องปฏิรูปอีกครั้งหนึ่ง ท่านทั้งหลายต้องย้อนกลับไปพิจารณาเรื่องราวในอดีตเพื่อจะมาเห็นสถานะในปัจจุบันและพวกเราจะได้มองไปเห็นอนาคต
การเมืองนั้นต้องมองไปข้างหน้า ถ้าเราย้อนไปดูที่ผ่านมา การปฏิรูปครั้งที่ 1 เป้าหมายที่สำคัญ 3 ประการ เป้าหมายเหล่านี้คือ การจัดทำรัฐธรรมนูญร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเพื่อที่จะให้บรรลุเป้าหมายต่อไปนี้ ต่อมาจะทบทวนให้ท่านทั้งหลายได้เห็น ประการที่ 1 เป้าหมายต้องการให้มีการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน ต้องการให้ลดการซื้อสิทธิ์ขายเสียงในการเลือกตั้ง ว่าจะซื้อสิทธิ์ขายเสียงเข้ามาสู่อำนาจ แล้วก็ใช้อำนาจนั้นโกงกินบ้านเมือง เราจะแก้ปัญหานี้อย่างไร รัฐบาลสมัยหนึ่งถูกกล่าวหาว่าเป็นบุฟเฟต์ คาบิเนต เป็นคณะรัฐมนตรีกินเลี้ยง เข้ามาก็กินเลี้ยงกัน หาประโยชน์ อันนี้ก็เป็นส่วนสำคัญในการนำมาสู่กระบวนการปฏิรูปในทางการเมือง ในปัญหาที่ 2 ก็บอกกันว่าเรามีเสรีภาพน้อยประชาชนมีส่วนร่วมน้อย เลือกตั้งไปแล้วผู้แทนก็บอกว่าประชาชนไม่ต้องมายุ่ง ผู้แทนจะทำเอง เรื่องการเมืองเป็นเรื่องของผู้แทนเท่านั้นประชาชนไม่มีส่วนร่วม อันนี้จะทำอย่างไรให้ประชาชนมีหลักประกัน มีสิทธิเสรีภาพมากขึ้น มีส่วนร่วมในการเมืองมากขึ้น
ในประการที่ 3 เรามีรัฐบาลที่ไม่แข็งแรง รัฐบาลในระบบรัฐสภาที่อ่อนแอ สามวันดีสี่วันไข้ ปีหนึ่งอยู่สองปีไป มันแก้ปัญหาของประเทศไม่ได้ มันพัฒนาประเทศไม่ได้ ทำอย่างไรให้มีรัฐบาลที่แข็งแรง ที่เข้มแข็ง มีนายกรัฐมนตรีที่เป็นผู้นำในนโยบายที่ชัดเจน และจะควบคุมตรวจสอบไม่ให้นายกรัฐมนตรีนั้นมีอำนาจมากเกินไป หรือเป็นเผด็จการ ได้อย่างไร ทั้งให้อำนาจและควบคุมอำนาจในเวลาเดียวกัน จะทำได้อย่างไร เป้าหมายเหล่านี้เป็นสิ่งที่ผู้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันนั้นได้วางเอาไว้
*******************************************************************
มีการอภิปรายทางวิชาการเรื่อง พระราชอำนาจกับการปฏิรูปการเมือง ครั้งที่ 2 ที่หอประชุมใหญ่ โดยมีผู้ร่วมอภิปรายคือ ศ.ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ สว.อุบลฯ นายกล้านรงค์ จันทิก อดีตเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) นายประมวล รุจนเสรี ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคไทยรักไทย และนายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ดำเนินรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ และผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ โดยมี นายสมยศ เชื้อไทย อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย
รศ.สมยศ เชื้อไทย - ท่านพี่น้องประชาชนเจ้าของประเทศ ผู้ทรงเกียรติ ที่เคารพทุกท่านครับ การอภิปรายในวันนี้เป็นการอภิปรายในทางวิชาการ เป็นเวทีสาธารณะอย่างที่ท่านอธิการบดีได้กล่าวไว้ ทุกความเห็นได้แสดงออกซึ่งความคิดเห็น แม้ว่าความคิดเห็นนั้นเราจะไม่เห็นด้วย แต่เราจะต่อสู้ให้ความคิดเห็นนั้นได้แสดงออก นี่น่าจะเป็นส่วนที่เป็นสาระสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย หอประชุมแห่งนี้เคยทำหน้าที่หลายครั้งในการสนับสนุนการอภิปราย ให้ความเห็นในเรื่องการเมืองการปกครอง และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีหลายครั้ง ผมก็เข้าใจว่า ในวันนี้ การอภิปรายในครั้งนี้เราอยากเห็นการอภิปรายนี้นำไปสู่ภาวะที่ดีกว่า นำไปสู่ภาวะที่จะมีการเปลี่ยนแปลงในทางการเมือง ซึ่งเป็นการเมืองที่ดี เพราะฉะนั้นเป้าหมายของการอภิปรายในวันนี้จะนำไปสู่ความคิดเห็นในเรื่องการปฏิรูปการเมือง ครั้งที่ 2 หรือการปฏิรูปการเมืองครั้งใหม่
ความคิดเห็นของวิทยากรในวันนี้เป็นความคิดเห็นโดยอิสระ โดยเสรี ไม่ผูกพันสมาคมนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไม่ผูกพันสถาบันสัญญา ธรรมศักดิ์ เพื่อประชาธิปไตย ในการแสดงออกซึ่งเสรีภาพ ที่เราจะพยายามใช้สิทธิเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้ประกันเอาไว้ เพื่ออภิปรายแสดงความคิดเห็นเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม เสรีภาพในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ผมคิดว่ามันเป็นลมหายใจของประชาธิปไตย ไม่มีสิ่งนี้แล้วประชาธิปไตยก็คงตายไปแล้ว เพราะฉะนั้น การแสดงออกซึ่งความเห็นเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ เพื่อประโยชน์สาธารณะจึงเป็นรากฐานที่สำคัญของระบอบประชาธิปไตย อย่างที่ผมเรียนไว้ตั้งแต่ตอนต้น ปัญหาในวันนี้คือการชี้ทางออกในขณะที่การเมืองถึงทางตัน เป็นวิกฤติ แต่เราทั้งหลายเห็นว่ามีโอกาส โอกาสที่จะเปิดทางตันเพื่อไปสู่การปฏิรูปการเมืองครั้งที่ 2 มีบางท่านอาจจะสงสัยหรือมีคำถามอยู่ในใจว่าทำไมต้องปฏิรูปครั้งที่ 2 เราปฏิรูปไปแล้วไม่ใช่หรือ เราได้รัฐธรรมนูญที่ดีที่สุดไม่ใช่หรือ เราได้รัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยได้รัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูปการเมือง ทำไมต้องปฏิรูปอีกครั้งหนึ่ง ท่านทั้งหลายต้องย้อนกลับไปพิจารณาเรื่องราวในอดีตเพื่อจะมาเห็นสถานะในปัจจุบันและพวกเราจะได้มองไปเห็นอนาคต
การเมืองนั้นต้องมองไปข้างหน้า ถ้าเราย้อนไปดูที่ผ่านมา การปฏิรูปครั้งที่ 1 เป้าหมายที่สำคัญ 3 ประการ เป้าหมายเหล่านี้คือ การจัดทำรัฐธรรมนูญร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเพื่อที่จะให้บรรลุเป้าหมายต่อไปนี้ ต่อมาจะทบทวนให้ท่านทั้งหลายได้เห็น ประการที่ 1 เป้าหมายต้องการให้มีการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน ต้องการให้ลดการซื้อสิทธิ์ขายเสียงในการเลือกตั้ง ว่าจะซื้อสิทธิ์ขายเสียงเข้ามาสู่อำนาจ แล้วก็ใช้อำนาจนั้นโกงกินบ้านเมือง เราจะแก้ปัญหานี้อย่างไร รัฐบาลสมัยหนึ่งถูกกล่าวหาว่าเป็นบุฟเฟต์ คาบิเนต เป็นคณะรัฐมนตรีกินเลี้ยง เข้ามาก็กินเลี้ยงกัน หาประโยชน์ อันนี้ก็เป็นส่วนสำคัญในการนำมาสู่กระบวนการปฏิรูปในทางการเมือง ในปัญหาที่ 2 ก็บอกกันว่าเรามีเสรีภาพน้อยประชาชนมีส่วนร่วมน้อย เลือกตั้งไปแล้วผู้แทนก็บอกว่าประชาชนไม่ต้องมายุ่ง ผู้แทนจะทำเอง เรื่องการเมืองเป็นเรื่องของผู้แทนเท่านั้นประชาชนไม่มีส่วนร่วม อันนี้จะทำอย่างไรให้ประชาชนมีหลักประกัน มีสิทธิเสรีภาพมากขึ้น มีส่วนร่วมในการเมืองมากขึ้น
ในประการที่ 3 เรามีรัฐบาลที่ไม่แข็งแรง รัฐบาลในระบบรัฐสภาที่อ่อนแอ สามวันดีสี่วันไข้ ปีหนึ่งอยู่สองปีไป มันแก้ปัญหาของประเทศไม่ได้ มันพัฒนาประเทศไม่ได้ ทำอย่างไรให้มีรัฐบาลที่แข็งแรง ที่เข้มแข็ง มีนายกรัฐมนตรีที่เป็นผู้นำในนโยบายที่ชัดเจน และจะควบคุมตรวจสอบไม่ให้นายกรัฐมนตรีนั้นมีอำนาจมากเกินไป หรือเป็นเผด็จการ ได้อย่างไร ทั้งให้อำนาจและควบคุมอำนาจในเวลาเดียวกัน จะทำได้อย่างไร เป้าหมายเหล่านี้เป็นสิ่งที่ผู้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันนั้นได้วางเอาไว้
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
ควรแก้รัฐธรรมนูญหรือไม่..อ่านบทสัมภาษณ์.."มีชัย ฤชุพันธ
โพสต์ที่ 9
ท่านลองดู ในวันนี้เราได้เชิญผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์กรและสถาบันทางการเมือง ผู้นำความคิดทางด้านการปฏิรูปการเมืองมาอภิปราย แสดงให้เห็นว่า การปฏิรูปการเมืองดังกล่าวนั้น รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันนั้นมันบรรลุเป้าหมายไหม ด้านหนึ่งคือผู้ที่นำเสนอความคิดในเรื่องการปฏิรูปการเมือง เป็นผู้นำเสนอการปฏิรูปการเมืองที่แท้จริง ด้านหนึ่งก็เป็นกลุ่มของสถาบันรัฐสภา ส.ส. ส.ว. และอีกท่านหนึ่งก็เป็นผู้อยู่ในองค์กรอิสระ ที่เป็นประดิษฐกรรมของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ในเบื้องต้นผมขออนุญาตแนะนำท่านแรกที่มีความสำคัญต่อความคิดในเรื่องการปฏิรูปทางการเมือง คือท่าน ศ.ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ ท่าน ศ.ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ เป็นของแท้ในเรื่องการปฏิรูปการเมือง นักปราชญ์ก็บอกว่าคนที่มีโสตประสาทตาที่ดี ไม่ใช่มองเห็นภูเขา แต่คนที่มองเห็นอนาคต มองเห็นเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตข้างหน้า ผมว่าท่านอาจารย์อมรนี่ล่ะเป็นผู้ที่มองเห็นเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ท่านเคยเสนอความคิดในเรื่องศาลปกครองมาตั้งแต่ก่อนรัฐธรรมนูญปี 2517 จนกระทั่งมีศาลปกครองโดยรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ปี 2540 ท่านก็ไม่ได้เป็นผู้พิพากษาศาลปกครอง ท่านไม่ได้เป็นประธานศาลปกครองสูงสุด เสนอความคิดเรื่องการปฏิรูปการเมือง มีรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ท่านก็ไม่ได้เป็นวุฒิสมาชิก ท่านไม่ได้เป็นนายกรัฐมนตรี ท่านไม่ได้เป็นศาลรัฐธรรมนูญ ไม่มีอะไรเลยนะครับ ในตำแหน่งหน้าที่ที่ใหญ่โต แต่ผมคิดว่าท่านยิ่งใหญ่ ยิ่งใหญ่กว่าตำแหน่งที่ยิ่งใหญ่ทั้งหลาย ยิ่งใหญ่ในความคิด อดีตนั้นเป็นเพียงเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาเท่านั้น แต่ท่านเป็นนักคิดตลอด เป็นนักคิดเพื่อส่วนรวมที่แท้จริง ไม่ใช่เพื่อแสวงหาอำนาจ
ถ้าย้อนดู ผมลองพลิกดูว่า ท่านได้นำเสนอความคิดเรื่องการปฏิรูปการเมืองมาอย่างไร ปี 2537 เขียนความรู้เบื้องต้นในการเขียนรัฐธรรมนูญสมัยใหม่ ที่ท่านเขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า เป็น Constitutionalism พูดง่ายๆ คือ ลัทธิรัฐธรรมนูญนิยม ระบบรัฐธรรมนูญนิยม นี่เป็นแนวทางที่จะเขียนรัฐธรรมนูญสมัยใหม่ เพื่อจะแก้ปัญหาระบบการเมือง เพื่อหนีออกจากรัฐธรรมนูญแบบเก่าๆ แก้ซ้ำแล้วซ้ำอีกมา 10 กว่าฉบับ ปี 2539 เขียนเรื่องความสำคัญขององค์กรยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่จะเป็นองค์กรปฏิรูปการเมือง และก็เขียนวิจารณ์ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2539 คือรัฐธรรมนูญปี 2534 แก้เพิ่มเติมฉบับที่ 6 ว่าจะปฏิรูปการเมืองได้หรือ ชี้ให้เห็นเลยว่า องค์กรปฏิรูปที่เกิดขึ้นตามรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 6 พ.ศ.2539 จะล้มเหลว ไม่มีใครกล่าวถึง ปี 2546 ท่านเขียนแนวทางของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ถ้าจะมี เสนอแนวทางในการเขียนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แล้วก็ปี 2547 เช่นเดียวกัน เสนอการปฏิรูปการเมืองครั้งที่ 2 จะเกิดขึ้นได้หรือไม่ นี่เป็นเส้นทางความคิดเป็นแผนที่ทางความคิดที่ทำเรื่อยมา ในช่วงการเลือกตั้งที่ผ่านมามีกลุ่มเยาวชนรุ่นใหม่นำความคิดของท่านไปตั้งพรรคทางเลือกที่ 3 เพื่อที่จะผลักดันไปสู่การปฏรูปครั้งใหม่เพื่อที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน เปิดทางให้มีการปฏิรูปครั้งใหม่ ท่านทราบไหมว่าได้เสียงเท่าไร เกือบ 20,000 เสียง โดยการแจกเพียงเศษกระดาษ ความคิดของท่าน แล้วพักนี้ศาลรัฐธรรมนูญก็ยุบไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พรรคการเมืองตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้ตั้งง่ายแต่ตายเร็ว อยู่ไม่ได้นาน มีแต่พรรคการเมืองใหญ่ๆ ที่มีเงินใหญ่ ซื้อเสียงได้มาก ซื้อ ส.ส.ได้มาก รัฐธรรมนูญบอกว่าจ่ายเงินสนับสนุนจ่ายงบประมาณให้พรรคเหล่านี้ที่ได้ ส.ส.มากจากการซื้อสิทธิ์ขายเสียง ก็กลายเป็นว่าสนับสนุนการซื้อสิทธิ์ขายเสียง นี่เป็นประดิษฐกรรมที่อยู่ในรัฐธรรมนูญฉบับนี้
สิ่งนี่ที่ผมเรียนให้ท่านได้ทราบมาเพื่อให้เห็นว่า ท่าน ศ.ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ ท่านเป็นนักคิด ขายความคิดนี้ตลอดเวลา และสิ่งที่ท่านพูดไว้ขณะนี้เป็นจริงอย่างที่ท่านว่า ท่านจะเรียกว่าเป็นนักปราชญ์หรือนักคิดที่ยิ่งใหญ่ แต่ท่านไม่ได้มีตำแหน่งที่ยิ่งใหญ่แต่ผมคิดว่า นี่คือสิ่งที่ยิ่งใหญ่ วันนี้ท่านอาจจะช่วยชี้ทางออกให้เพื่อผ่าทางตันในทางการเมือง เพื่อผ่าวิกฤติการทางการเมืองไม่ให้ไปสู่การนองเลือด ผมเคยอยู่บนเวทีนี้หลายครั้ง ท่านทั้งหลายก็คงจะจำได้ในเหตุการณ์ที่ผ่านมา แต่ผมคิดว่านี่เป็นทางออกทางเดียวที่เป็นทางออกที่ไม่ไปสู่ความรุนแรง
ผมจะเรียนเชิญท่านอาจารย์อมร จันทรสมบูรณ์ กล่าวถึงว่าทำไมต้องปฏิรูปครั้งที่ 2 การปฏิรูปครั้งที่ 2 จะมีกระบวนการอย่างไร มีรูปแบบอย่างไร ทำไมท่านต้องเสนอให้มีพระราชอำนาจเกี่ยวข้องกับการปฏิรูปการเมืองครั้งที่ 2 ท่านบอกว่าองค์ประกอบในการปฏิรูปการเมืองที่สำคัญที่จะนำไปสู่การปฏิรูปความสำเร็จมี 3 ประการ ประการที่ 1 ต้องมีผู้นำ ผู้ที่เป็นรัฐบุรุษนะครับไม่ใช่นักการเมือง ผู้นำที่ประชาชนเห็นด้วยที่ประชาชนศรัทธา เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม เห็นแก่ประโยชน์ของประเทศชาติ ไม่ใช่เห็นแก่ประโยชน์พวกพ้อง นี่คือประการแรก ประการที่ 2 ต้องมีผู้เชี่ยวชาญ ต้องมีผู้ยกร่างรัฐธรรมนูญ เหมือนเราทั้งหลายอยากได้แหวนมาสวมใส่ เราทั้งหลายก็ทำเองไม่ได้ต้องหาช่างมาทำ รัฐธรรมนูญก็เช่นเดียวกัน ท่านต้องหาช่างที่มีฝีมือมาร่างรัฐธรรมนูญ ในประการที่ 3 คือต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ต้องให้ประชาชนรับรอง ต้องให้ประชาชนแสดงประชามติ ถามท่านทั้งหลายว่ารัฐธรรมนูญฉบับที่แล้ว เป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ประชาชนได้แสดงออก รับรองรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันหรือไม่ ไม่ เขียนไว้ในฉบับแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับที่ 6 ว่ามีการแสดงประชามติ แต่มันหมกเม็ด ไม่มีหรอกครับ ท่านลองไปดู อันนี้คือความพยายามที่จะให้มีการปฏิรูปการเมืองนะครับ ผมจะขออนุญาตให้ท่านอาจารย์อมรช่วยขยายความต่อไปครับ ขอเรียนเชิญครับ
ถ้าย้อนดู ผมลองพลิกดูว่า ท่านได้นำเสนอความคิดเรื่องการปฏิรูปการเมืองมาอย่างไร ปี 2537 เขียนความรู้เบื้องต้นในการเขียนรัฐธรรมนูญสมัยใหม่ ที่ท่านเขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า เป็น Constitutionalism พูดง่ายๆ คือ ลัทธิรัฐธรรมนูญนิยม ระบบรัฐธรรมนูญนิยม นี่เป็นแนวทางที่จะเขียนรัฐธรรมนูญสมัยใหม่ เพื่อจะแก้ปัญหาระบบการเมือง เพื่อหนีออกจากรัฐธรรมนูญแบบเก่าๆ แก้ซ้ำแล้วซ้ำอีกมา 10 กว่าฉบับ ปี 2539 เขียนเรื่องความสำคัญขององค์กรยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่จะเป็นองค์กรปฏิรูปการเมือง และก็เขียนวิจารณ์ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2539 คือรัฐธรรมนูญปี 2534 แก้เพิ่มเติมฉบับที่ 6 ว่าจะปฏิรูปการเมืองได้หรือ ชี้ให้เห็นเลยว่า องค์กรปฏิรูปที่เกิดขึ้นตามรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 6 พ.ศ.2539 จะล้มเหลว ไม่มีใครกล่าวถึง ปี 2546 ท่านเขียนแนวทางของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ถ้าจะมี เสนอแนวทางในการเขียนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แล้วก็ปี 2547 เช่นเดียวกัน เสนอการปฏิรูปการเมืองครั้งที่ 2 จะเกิดขึ้นได้หรือไม่ นี่เป็นเส้นทางความคิดเป็นแผนที่ทางความคิดที่ทำเรื่อยมา ในช่วงการเลือกตั้งที่ผ่านมามีกลุ่มเยาวชนรุ่นใหม่นำความคิดของท่านไปตั้งพรรคทางเลือกที่ 3 เพื่อที่จะผลักดันไปสู่การปฏรูปครั้งใหม่เพื่อที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน เปิดทางให้มีการปฏิรูปครั้งใหม่ ท่านทราบไหมว่าได้เสียงเท่าไร เกือบ 20,000 เสียง โดยการแจกเพียงเศษกระดาษ ความคิดของท่าน แล้วพักนี้ศาลรัฐธรรมนูญก็ยุบไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พรรคการเมืองตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้ตั้งง่ายแต่ตายเร็ว อยู่ไม่ได้นาน มีแต่พรรคการเมืองใหญ่ๆ ที่มีเงินใหญ่ ซื้อเสียงได้มาก ซื้อ ส.ส.ได้มาก รัฐธรรมนูญบอกว่าจ่ายเงินสนับสนุนจ่ายงบประมาณให้พรรคเหล่านี้ที่ได้ ส.ส.มากจากการซื้อสิทธิ์ขายเสียง ก็กลายเป็นว่าสนับสนุนการซื้อสิทธิ์ขายเสียง นี่เป็นประดิษฐกรรมที่อยู่ในรัฐธรรมนูญฉบับนี้
สิ่งนี่ที่ผมเรียนให้ท่านได้ทราบมาเพื่อให้เห็นว่า ท่าน ศ.ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ ท่านเป็นนักคิด ขายความคิดนี้ตลอดเวลา และสิ่งที่ท่านพูดไว้ขณะนี้เป็นจริงอย่างที่ท่านว่า ท่านจะเรียกว่าเป็นนักปราชญ์หรือนักคิดที่ยิ่งใหญ่ แต่ท่านไม่ได้มีตำแหน่งที่ยิ่งใหญ่แต่ผมคิดว่า นี่คือสิ่งที่ยิ่งใหญ่ วันนี้ท่านอาจจะช่วยชี้ทางออกให้เพื่อผ่าทางตันในทางการเมือง เพื่อผ่าวิกฤติการทางการเมืองไม่ให้ไปสู่การนองเลือด ผมเคยอยู่บนเวทีนี้หลายครั้ง ท่านทั้งหลายก็คงจะจำได้ในเหตุการณ์ที่ผ่านมา แต่ผมคิดว่านี่เป็นทางออกทางเดียวที่เป็นทางออกที่ไม่ไปสู่ความรุนแรง
ผมจะเรียนเชิญท่านอาจารย์อมร จันทรสมบูรณ์ กล่าวถึงว่าทำไมต้องปฏิรูปครั้งที่ 2 การปฏิรูปครั้งที่ 2 จะมีกระบวนการอย่างไร มีรูปแบบอย่างไร ทำไมท่านต้องเสนอให้มีพระราชอำนาจเกี่ยวข้องกับการปฏิรูปการเมืองครั้งที่ 2 ท่านบอกว่าองค์ประกอบในการปฏิรูปการเมืองที่สำคัญที่จะนำไปสู่การปฏิรูปความสำเร็จมี 3 ประการ ประการที่ 1 ต้องมีผู้นำ ผู้ที่เป็นรัฐบุรุษนะครับไม่ใช่นักการเมือง ผู้นำที่ประชาชนเห็นด้วยที่ประชาชนศรัทธา เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม เห็นแก่ประโยชน์ของประเทศชาติ ไม่ใช่เห็นแก่ประโยชน์พวกพ้อง นี่คือประการแรก ประการที่ 2 ต้องมีผู้เชี่ยวชาญ ต้องมีผู้ยกร่างรัฐธรรมนูญ เหมือนเราทั้งหลายอยากได้แหวนมาสวมใส่ เราทั้งหลายก็ทำเองไม่ได้ต้องหาช่างมาทำ รัฐธรรมนูญก็เช่นเดียวกัน ท่านต้องหาช่างที่มีฝีมือมาร่างรัฐธรรมนูญ ในประการที่ 3 คือต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ต้องให้ประชาชนรับรอง ต้องให้ประชาชนแสดงประชามติ ถามท่านทั้งหลายว่ารัฐธรรมนูญฉบับที่แล้ว เป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ประชาชนได้แสดงออก รับรองรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันหรือไม่ ไม่ เขียนไว้ในฉบับแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับที่ 6 ว่ามีการแสดงประชามติ แต่มันหมกเม็ด ไม่มีหรอกครับ ท่านลองไปดู อันนี้คือความพยายามที่จะให้มีการปฏิรูปการเมืองนะครับ ผมจะขออนุญาตให้ท่านอาจารย์อมรช่วยขยายความต่อไปครับ ขอเรียนเชิญครับ
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
ควรแก้รัฐธรรมนูญหรือไม่..อ่านบทสัมภาษณ์.."มีชัย ฤชุพันธ
โพสต์ที่ 10
ศ.ดร.อมร จันทรสมบูรณ์
ขอบคุณครับท่านอาจารย์สมยศ และก็ขอบคุณท่านทั้งหลายที่กรุณามาฟังนะครับ ผมฝันไป ผมก็ฝันไปเรื่อยๆ ก่อนอื่นผมอยากจะเรียนว่า ขณะนี้ผมไม่ได้โทษรัฐบาลหรือโทษใคร รัฐธรรมนูญปัจจุบันเหมือนกับตั้งโต๊ะอาหาร ว่าถ้าใครมานั่งกิน กินได้สารพัดอย่าง มีอำนาจเต็มที่นะครับ มีทั้งสนามบิน มีทั้งองค์การโทรศัพท์ มี กฟผ. มี ปตท. สารพัดอย่าง ตั้งอยู่บนโต๊ะ ใครมีอำนาจ เอาไปได้ ถามว่าในฐานะนักวิชาการ ใครจะมากิน ผมไม่เคยโทษเลยคนที่เข้ามากิน แต่ผมโทษคนที่ตั้งโต๊ะ นั่นคือคนที่เขียนรัฐธรรมนูญ คนที่เขียนรัฐธรรมนูญนี่เขียนขึ้นมาได้อย่างไร ดังนั้นการที่ใครจะโทษนักการเมืองว่าคนไหนกินมูมมาม คนไหนกินอย่างสุภาพ เรียบร้อย ก็คงจะเป็นหน้าที่ของคนอื่นนะครับ ไม่ใช่หน้าที่ผม หน้าที่ผมคือจะชี้ให้เห็นว่า ความผิดนั้นอยู่ที่คนตั้งโต๊ะ ถ้าจะพูดกันให้ตรงๆ ก็คือ ส.ส.ร. กับสมาชิกสภาฯ ที่ให้ความเห็นชอบรัฐธรรมนูญปี พ.ศ.2540 นั่นเอง นะครับ ดังนั้นความเห็นของผมนั้น ผมเห็นว่ามีการตั้งโต๊ะผมก็วิจารณ์ได้แล้วว่า ข้างหน้านี้คงจะมีคนที่เข้ามาช่วยกันกิน บางคนอาจจะกินสุภาพเรียบร้อย ค่อยๆ เม้มกิน บางคนอาจจะเข้ามากินอย่างมูมมาม อันนี้ไม่ใช่เรื่องของผม ดังนั้นในวันนี้ ผมจะพูดอย่างสั้นๆ จริงๆ แล้วผมอยากจะแยกเป็น 2 ตอน ตอนแรกก็คือว่า รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของเรามันมีข้อบกพร่องอย่างไร แล้วเราจะแก้อย่างไร ตอนที่ 2 จะเป็นเรื่องพื้นฐานความรู้ว่า ทำไมเราจึงจะแก้อย่างนั้น เดิมทีผมคิดว่าผมจะพูดพื้นฐานความรู้ก่อน แล้วเอาปัจจุบันมาไว้ทีหลัง แต่ผมคิดว่าเพื่อเราจะได้มองเห็นสภาพปัญหาของปัจจุบัน ผมคิดว่าเราจะพูดกลับกัน นะครับ
ในประการแรก อยากจะเรียนถามว่า กฎหมายมหาชน คืออะไร เพราะเวลานี้เราเต็มไปด้วยนักกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นผู้บริการใคร เรามีศรีธนญชัยเต็มบ้านเต็มเมือง แต่ทำไมคอร์รัปชั่นมันถึงเต็มบ้านเต็มเมือง เพราะกฎหมายมันไม่ดี กฎหมามหาชนนั้น ง่ายๆ เลย กฎหมายมหาชนนั้นเป็นกฎเกณฑ์ที่มนุษย์เราวางขึ้นเพื่อที่จะควบคุมพฤติกรรมมนุษย์ พฤติกรรมของคนที่จะเข้ามาใช้อำนาจแทนประชาชน เพราะฉะนั้น ถ้าหากว่าปรากฏว่ามีการรั่วไหลมาก มีการทุจริตมาก มันบอกอยู่ในตัวว่า กฎหมายนั้นไม่ดี เพราะฉะนั้น กฎหมายจึงต้องสร้างขึ้นโดยศึกษาพฤติกรรมของคนเสียก่อน แล้วจึงจะเขียนกฎหมายเพื่อจะมาวางหลักเกณฑ์และควบคุมพฤติกรรม กฎหมายนั้นมีตั้งแต่กฎหมายเล็กๆ เช่น กฎหมายอาญาไปจนถึงกฎหมายที่สำคัญคือรัฐธรรมนูญ เพราะฉะนั้นที่เราพูดว่าการเลือกตั้ง เลือกตั้งนั้นน่ะเราเคยรู้หรือไม่ว่ากฎหมายรัฐธรรมนูญมันมีตั้งกี่รูปแบบ และกฎหมายรัฐธรรมนูญนั่นเป็นกฎหมายมหาชนนะ ไม่ใช่ลอกเลียนกันได้เราต้องศึกษาพฤติกรรมของคนของเราก่อน ชุมชนของเรา นักการเมืองของเราว่าเป็นคนอย่างไรก่อน แล้วเราจึงจะออกแบบรัฐธรรมนูญออกมาเพื่อที่จะควบคุมพฤติกรรมของผู้ใช้อำนาจเหล่านั้น กฎหมายมหาชนฟังดูก็ง่ายนะ หลักการน่ะง่าย แต่เวลาสร้างกลไกหรือระบบนั้นยากนะ
ครานี้เมื่อเรารู้แล้วว่า กฎหมายมหาชนคือการสร้างระบบเพื่อคุมพฤติกรรมของคนที่ใช้อำนาจ ถ้าปัจจุบันนี้การใช้อำนาจนั้นเต็มไปด้วยคอร์รัปชัน บอกอยู่ในตัวนะครับว่ารัฐธรรมนูญนั้นไม่ดี ใครอย่ามาบอกว่าดี ถ้าใครเห็นไม่ดีก็กลับไปเลือกตั้งใหม่ ถ้าเลือกตั้งใหม่อีก 4 ปี และคนที่กินอาหารอยู่บนโต๊ะนั้นน่ะ คุมสื่อคุมอำนาจจะเปิดเผยหรือไม่ผมว่าถ้ากลับไปเลือกตั้งใหม่ ประเทศคงเหลือแต่กระดูก
ดังนั้น เมื่อเรามองเห็นอย่างนั้นแล้วเราต้องรู้ว่ารัฐธรรมนูญนี้ไม่ดี แล้วทำไมเราถึงเชื่อนักการเมือง ฟังดูก็เพราะ ผมอยากจะเรียนว่าข้อสังเกตอีกอันหนึ่งก็คือว่า ระวังการให้ข้อเท็จจริงเพียงครึ่งเดียว เราอาจจะทำความดีแต่ขณะเดียวกันเราอาจจะเอาเงินใส่กระเป๋าด้วยก็ได้ เราก็จะพูดแต่ความดีแต่ส่วนที่เราเอาเงินใส่กระเป๋านั้นเราไม่ให้คนเห็น ดังนั้นท่านจะฟังใครก็ตามไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการ หรือนักการเมือง ระวัง Half Truth คือให้ข้อเท็จจริงบางส่วน อันนี้คือข้อสังเกตสองข้อที่ให้ไว้ หนึ่งกฎหมายมหาชนจะดีหรือไม่ดีดูผลนะครับ ถ้ามันเต็มไปด้วยคอร์รัปชัน การแสวงหาประโยชน์ส่วนตัวกฎหมายมันไม่ดีหรอก สองถ้ามีใครเขาออกมาพูดว่าดีอย่างโน้นดีอย่างนี้ ท่านต้องคิดว่าแล้วอีกครึ่งหนึ่งที่เขาไม่พูดนี่คืออะไร คราวนี้เราได้หลักแล้วนะครับ เรามาลองดูว่ารัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันที่เราเรียกว่าฉบับของประชาชน อย่างที่บอกว่าเรามีส่วนร่วมน่ะ ส่วนร่วมโดยใครล่ะ ส่วนร่วมโดย ส.ส.ที่เลือกตั้งไปซื้อเสียงมาแล้วก็มาโหวตเห็นชอบแล้วบอกว่าการเลือกตั้งคือประชาชนแล้วก็โหวตไปอย่างนั้นหรือ
อยากจะเรียนว่า ขณะนี้รัฐธรรมนูญของประเทศไทย ปี 2540 นี่ ที่เราเรียกว่าฉบับของประชาชนเนี่ย เป็นรัฐธรรมนูญหนึ่งเดียวในโลกที่ตั้งโต๊ะไว้ให้นักการเมืองเข้ามาคอรัปชั่น จะไม่มีนักวิชาการที่ไหนหรือแม้แต่นักการเมือง จะพูดว่า ทำไมถึงเป็นหนึ่งเดียว ทำไมถึงไม่มีคนพูด สิ่งที่ไม่มีคนพูดก็เพราะว่าเขาได้ประโยชน์จากสิ่งนี้ นั่นคือการบังคับสังกัดพรรค นะครับ ผมอยากจะเรียนว่า ในประเทศเสรีประชาธิปไตยนั้น ไม่มีผู้ใดที่มาบังคับสังกัดพรรค แล้วให้เจ้าของพรรคนั้นมาลงมติ แล้วก็ไล่ ส.ส.ออกจากพรรค และ ส.ส.ในฐานะผู้แทนฯ ก็หมดสภาพไปด้วย ไม่มีนะครับ ไม่มี ในประเทศเสรีประชาธิปไตยนั้นไม่มี
การบังคับสังกัดพรรคแล้วให้พรรคมีมติ ในขณะที่สังคมเรามีสภาพอ่อนแอ ผมไม่ได้บอกว่าสังคมอ่อนแอนั้นเป็นความผิดของใคร มันเป็นสภาพความเป็นจริง เรานั้น สังคมชนบทนั้น ขึ้นอยู่กับอิทธิพลทางการเงิน อิทธิพลบริหาร อิทธิพลท้องถิ่น สารพัดอย่าง ในสภาพสังคมอ่อนแออย่างนี้ ถ้าเราบอกบังคับสังกัดพรรค มันบอกอยู่ในตัวครับ มันเหมือนกับตั้งโต๊ะอาหาร แล้วบอกว่า ใครมีเงินมาร่วมทุนกัน แล้วก็ไปเลือกตั้งแล้วกลับเข้ามานั่งกินโต๊ะอาหารได้ แต่การบังคับสังกัดพรรคเป็นสิ่งที่แปลกก็คือว่า เรากลับมีนักวิชาการไปช่วยเหลือ บอกไม่บังคับสังกัดพรรคนี้มันดี เสร็จแล้วเราจะได้มีเสถียรภาพ คือให้มีคนมากินโต๊ะพวกเดียว ดังนั้น เราก็จะเห็นว่า นักวิชาการของเรานี่ ถามว่า ถ้าเราจะสร้างเสถียรภาพ สร้างด้วยวิธีอื่นโดยไม่บังคับสังกัดพรรค ทำได้หรือไม่ ท่านก็ไม่รู้ ดังนั้นผมอยากจะเรียนว่า สิ่งที่เราบอกว่า บังคับสังกัดพรรคให้เกิดเสถียรภาพนั้น มันไม่ใช่วิธีการเดียว การสร้างเสถียรภาพให้แก่รัฐบาลสามารถสร้างได้อย่างอื่น โดยไม่ใช่บังคับสังกัดพรรค
ผู้ที่ร่างรัฐธรรมนูญของเรานั้นเขียนบอกว่า ส.ว.ต้องเป็นอิสระ หาเสียงไม่ได้ ได้แต่แนะนำตัว ถามว่าคนดีๆ เข้าไปแนะนำตัว โดยไม่ได้หัวคะแนนจากพรรคมาอุดหนุน ได้รับเลือกตั้งไหม ไม่มีทาง ดังนั้นการที่รัฐธรรมนูญเขียนบอกว่า ส.ว.ไม่สังกัดพรรค แต่ในตามความเป็นจริงแล้ว เมื่อลงสมัครนี่ต้องการเงิน แล้วก็ต้องมีหัวคะแนน ถามว่าตามความเป็นจริง ส.ว.สังกัดพรรคหรือไม่ ดังนั้นเราจะเห็นว่า สภาพจริงๆ แล้วสิ่งที่อยู่เป็นลายลักษณ์อักษรนั้น มันลวงตา มันไม่ใช่สภาพความเป็นจริง อย่างกรณีขณะนี้เราจะเห็นว่า ปัจจุบันนี้ เรามีรัฐบาล /3 แล้ว เมื่อสมัยก่อนเรามี /10 นะครับ ก็หมายความว่าเราเปลี่ยนรัฐมนตรีกันบ่อยเหลือเกิน แต่ว่าสิ่งที่แปลกในปัจจุบันก็คือว่า คนที่มีอำนาจเปลี่ยนนั้น ถูกเปิดอภิปรายไม่ได้ คนมีอำนาจสูงสุดกลับไม่ต้องรับผิดชอบ แต่ว่าเรามาอภิปรายเปลี่ยนไอ้คนที่ถูกเปลี่ยน นะครับ นี่คือตัวอย่างง่ายๆ ที่จะเห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของเรานั้นมันพิการ มันตั้งโต๊ะเอาไว้ให้คนอื่นมาใช้อำนาจรัฐ แล้วก็มาช่วยกันเอาทรัพย์สินของสาธารณะนั้นไป คราวนี้เมื่อเรามองเห็นสภาพอันนี้แล้วว่า แล้วถามว่าใครจะมาแก้ ก็ในรัฐธรรมนูญที่ช่วยกันเขียนนี่เขาบอกว่า คนที่มีอำนาจนี่จะแก้ แล้วถามว่าแล้วคนมีอำนาจนี่จะแก้ไหม ถามตัวท่านเอง ถ้าท่านมีอำนาจอย่างนี้ นั่งกินโต๊ะอยู่อย่างนี้ แล้วอยู่ดีๆ ท่านบอกว่าไม่เอา เลิกโต๊ะ ถามว่าตัวท่านเองจะเลิกไหม ดังนั้นเราจะเห็นว่า ในสภาพปัจจุบันผู้ที่มีอำนาจรัฐอยู่ในปัจจุบันไม่มีทางที่จะแก้รัฐธรรมนูญ นะครับ แล้วเราจะแก้อย่างไร ปัญหาคือแล้วเราจะแก้อย่างไร ดังนั้นเราก็ต้อง อย่างที่เรียนว่า หาผู้ที่สามารถที่จะนำหรือมีบารมีให้คนไทยช่วยกันแก้รัฐธรรมนูญ ดังนั้น ผมกับอาจารย์ 2-3 ท่าน ก็มานั่งนึกดูว่า ถ้าเราจะแก้รัฐธรรมนูญ เราจะแก้ได้อย่างไร เราก็บอกว่า ก่อนอื่นต้องคิดออกเป็น 2 ขั้น ขั้นที่ 1 ก็คือว่า ใครจะมาแก้ ส่วนเมื่อมีใครมาแก้แล้ว เราก็ต้องคิดว่า แล้วถ้าแก้แล้ว จะแก้ไปทางไหนได้บ้าง มีทางเลือกอย่างไร ดังนั้นเราจะเห็นว่าการปฏิรูปการเมืองมันมี 2 ขั้น ขั้นแรกคือต้องหาผู้ที่จะมาแก้เสียก่อน แล้วขั้นที่ 2 ก็คือว่า ถ้าแก้แล้ว ถ้าจะแก้แล้วรัฐธรรมนูญข้างหน้าจะมีรูปร่างหน้าตาอย่างไร หรือมีทางเลือกอย่างไร ดังนั้นในขั้นแรก เราก็จะเห็นว่า เรา 2-3 คน ก็มานั่งคิดว่า แก้ 313 ให้เป็นองค์กรที่จะมาแก้ แล้วองค์กรที่จะมาแก้นั้นค่อยไปร่างรัฐธรรมนูญใหม่มาอีกหนึ่งสิ คราวนี้ในองค์กรที่จะมาแก้นี้ เมื่อกี้ท่านอาจารย์สมยศได้กล่าวแล้วว่า มันต้องมีเงื่อนไข 3 ประการ แล้วต้องครบทั้ง 3 ด้วยนะครับ อันใดอันหนึ่งนี่ไม่มีทาง หนึ่ง จะต้องมีผู้ที่เสียสละ มีบารมี แล้วก็มีอำนาจ ที่จะชี้นำประชาชนได้ สอง นักวิชาการอย่างผม นะเหรอครับ ไม่มีปัญญาหรอก อย่างดีก็นั่งคิดนั่งฝันไปเรื่อยๆ นะครับ ว่าอะไรมันควรจะเป็นอะไร แล้วเมื่อถ้าร่างออกมาแล้ว ผู้ที่มีบารมีนั้นเห็นด้วย แล้วเอาลงมาให้ประชาชนออกเสียงประชามติ ประชามติจริงๆ นะครับ ไม่ใช่ว่าอ้างเป็นตัวแทนประชาชน ดังนั้นเมื่อเราคิดอย่างนี้แล้วเราก็บอกว่าเราลองมาร่างองค์กรเพื่อที่จะออกจากวังวนนี้เสียเถอะ ดังนั้นร่างรัฐธรรมนูญนั้นก็ออกมาในรูปมาตรา 313 เราเขียนมาตรา 313 ก่อนที่ใครจะมาพูดปัญหาเรื่องนี้ใส่ไว้ในอินเตอร์เน็ตมาปีกว่าแล้ว ดูว่าใครจะมาดูบ้างก็ไม่เห็นใครจะมาดูสักที เพิ่งจะมาดูระยะหลังๆ เนี่ย ในมาตรา 313 มีอยู่ประมาณ 13 มาตรานี่จะมีองค์ประกอบครบถ้วน วางกระบวนการจนกระทั่งร่างรัฐธรรมนูญเสร็จนี่ 1 ปีครึ่ง เสร็จพอดีเลย วางระยะเวลาไว้เสร็จเลย
ขอบคุณครับท่านอาจารย์สมยศ และก็ขอบคุณท่านทั้งหลายที่กรุณามาฟังนะครับ ผมฝันไป ผมก็ฝันไปเรื่อยๆ ก่อนอื่นผมอยากจะเรียนว่า ขณะนี้ผมไม่ได้โทษรัฐบาลหรือโทษใคร รัฐธรรมนูญปัจจุบันเหมือนกับตั้งโต๊ะอาหาร ว่าถ้าใครมานั่งกิน กินได้สารพัดอย่าง มีอำนาจเต็มที่นะครับ มีทั้งสนามบิน มีทั้งองค์การโทรศัพท์ มี กฟผ. มี ปตท. สารพัดอย่าง ตั้งอยู่บนโต๊ะ ใครมีอำนาจ เอาไปได้ ถามว่าในฐานะนักวิชาการ ใครจะมากิน ผมไม่เคยโทษเลยคนที่เข้ามากิน แต่ผมโทษคนที่ตั้งโต๊ะ นั่นคือคนที่เขียนรัฐธรรมนูญ คนที่เขียนรัฐธรรมนูญนี่เขียนขึ้นมาได้อย่างไร ดังนั้นการที่ใครจะโทษนักการเมืองว่าคนไหนกินมูมมาม คนไหนกินอย่างสุภาพ เรียบร้อย ก็คงจะเป็นหน้าที่ของคนอื่นนะครับ ไม่ใช่หน้าที่ผม หน้าที่ผมคือจะชี้ให้เห็นว่า ความผิดนั้นอยู่ที่คนตั้งโต๊ะ ถ้าจะพูดกันให้ตรงๆ ก็คือ ส.ส.ร. กับสมาชิกสภาฯ ที่ให้ความเห็นชอบรัฐธรรมนูญปี พ.ศ.2540 นั่นเอง นะครับ ดังนั้นความเห็นของผมนั้น ผมเห็นว่ามีการตั้งโต๊ะผมก็วิจารณ์ได้แล้วว่า ข้างหน้านี้คงจะมีคนที่เข้ามาช่วยกันกิน บางคนอาจจะกินสุภาพเรียบร้อย ค่อยๆ เม้มกิน บางคนอาจจะเข้ามากินอย่างมูมมาม อันนี้ไม่ใช่เรื่องของผม ดังนั้นในวันนี้ ผมจะพูดอย่างสั้นๆ จริงๆ แล้วผมอยากจะแยกเป็น 2 ตอน ตอนแรกก็คือว่า รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของเรามันมีข้อบกพร่องอย่างไร แล้วเราจะแก้อย่างไร ตอนที่ 2 จะเป็นเรื่องพื้นฐานความรู้ว่า ทำไมเราจึงจะแก้อย่างนั้น เดิมทีผมคิดว่าผมจะพูดพื้นฐานความรู้ก่อน แล้วเอาปัจจุบันมาไว้ทีหลัง แต่ผมคิดว่าเพื่อเราจะได้มองเห็นสภาพปัญหาของปัจจุบัน ผมคิดว่าเราจะพูดกลับกัน นะครับ
ในประการแรก อยากจะเรียนถามว่า กฎหมายมหาชน คืออะไร เพราะเวลานี้เราเต็มไปด้วยนักกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นผู้บริการใคร เรามีศรีธนญชัยเต็มบ้านเต็มเมือง แต่ทำไมคอร์รัปชั่นมันถึงเต็มบ้านเต็มเมือง เพราะกฎหมายมันไม่ดี กฎหมามหาชนนั้น ง่ายๆ เลย กฎหมายมหาชนนั้นเป็นกฎเกณฑ์ที่มนุษย์เราวางขึ้นเพื่อที่จะควบคุมพฤติกรรมมนุษย์ พฤติกรรมของคนที่จะเข้ามาใช้อำนาจแทนประชาชน เพราะฉะนั้น ถ้าหากว่าปรากฏว่ามีการรั่วไหลมาก มีการทุจริตมาก มันบอกอยู่ในตัวว่า กฎหมายนั้นไม่ดี เพราะฉะนั้น กฎหมายจึงต้องสร้างขึ้นโดยศึกษาพฤติกรรมของคนเสียก่อน แล้วจึงจะเขียนกฎหมายเพื่อจะมาวางหลักเกณฑ์และควบคุมพฤติกรรม กฎหมายนั้นมีตั้งแต่กฎหมายเล็กๆ เช่น กฎหมายอาญาไปจนถึงกฎหมายที่สำคัญคือรัฐธรรมนูญ เพราะฉะนั้นที่เราพูดว่าการเลือกตั้ง เลือกตั้งนั้นน่ะเราเคยรู้หรือไม่ว่ากฎหมายรัฐธรรมนูญมันมีตั้งกี่รูปแบบ และกฎหมายรัฐธรรมนูญนั่นเป็นกฎหมายมหาชนนะ ไม่ใช่ลอกเลียนกันได้เราต้องศึกษาพฤติกรรมของคนของเราก่อน ชุมชนของเรา นักการเมืองของเราว่าเป็นคนอย่างไรก่อน แล้วเราจึงจะออกแบบรัฐธรรมนูญออกมาเพื่อที่จะควบคุมพฤติกรรมของผู้ใช้อำนาจเหล่านั้น กฎหมายมหาชนฟังดูก็ง่ายนะ หลักการน่ะง่าย แต่เวลาสร้างกลไกหรือระบบนั้นยากนะ
ครานี้เมื่อเรารู้แล้วว่า กฎหมายมหาชนคือการสร้างระบบเพื่อคุมพฤติกรรมของคนที่ใช้อำนาจ ถ้าปัจจุบันนี้การใช้อำนาจนั้นเต็มไปด้วยคอร์รัปชัน บอกอยู่ในตัวนะครับว่ารัฐธรรมนูญนั้นไม่ดี ใครอย่ามาบอกว่าดี ถ้าใครเห็นไม่ดีก็กลับไปเลือกตั้งใหม่ ถ้าเลือกตั้งใหม่อีก 4 ปี และคนที่กินอาหารอยู่บนโต๊ะนั้นน่ะ คุมสื่อคุมอำนาจจะเปิดเผยหรือไม่ผมว่าถ้ากลับไปเลือกตั้งใหม่ ประเทศคงเหลือแต่กระดูก
ดังนั้น เมื่อเรามองเห็นอย่างนั้นแล้วเราต้องรู้ว่ารัฐธรรมนูญนี้ไม่ดี แล้วทำไมเราถึงเชื่อนักการเมือง ฟังดูก็เพราะ ผมอยากจะเรียนว่าข้อสังเกตอีกอันหนึ่งก็คือว่า ระวังการให้ข้อเท็จจริงเพียงครึ่งเดียว เราอาจจะทำความดีแต่ขณะเดียวกันเราอาจจะเอาเงินใส่กระเป๋าด้วยก็ได้ เราก็จะพูดแต่ความดีแต่ส่วนที่เราเอาเงินใส่กระเป๋านั้นเราไม่ให้คนเห็น ดังนั้นท่านจะฟังใครก็ตามไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการ หรือนักการเมือง ระวัง Half Truth คือให้ข้อเท็จจริงบางส่วน อันนี้คือข้อสังเกตสองข้อที่ให้ไว้ หนึ่งกฎหมายมหาชนจะดีหรือไม่ดีดูผลนะครับ ถ้ามันเต็มไปด้วยคอร์รัปชัน การแสวงหาประโยชน์ส่วนตัวกฎหมายมันไม่ดีหรอก สองถ้ามีใครเขาออกมาพูดว่าดีอย่างโน้นดีอย่างนี้ ท่านต้องคิดว่าแล้วอีกครึ่งหนึ่งที่เขาไม่พูดนี่คืออะไร คราวนี้เราได้หลักแล้วนะครับ เรามาลองดูว่ารัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันที่เราเรียกว่าฉบับของประชาชน อย่างที่บอกว่าเรามีส่วนร่วมน่ะ ส่วนร่วมโดยใครล่ะ ส่วนร่วมโดย ส.ส.ที่เลือกตั้งไปซื้อเสียงมาแล้วก็มาโหวตเห็นชอบแล้วบอกว่าการเลือกตั้งคือประชาชนแล้วก็โหวตไปอย่างนั้นหรือ
อยากจะเรียนว่า ขณะนี้รัฐธรรมนูญของประเทศไทย ปี 2540 นี่ ที่เราเรียกว่าฉบับของประชาชนเนี่ย เป็นรัฐธรรมนูญหนึ่งเดียวในโลกที่ตั้งโต๊ะไว้ให้นักการเมืองเข้ามาคอรัปชั่น จะไม่มีนักวิชาการที่ไหนหรือแม้แต่นักการเมือง จะพูดว่า ทำไมถึงเป็นหนึ่งเดียว ทำไมถึงไม่มีคนพูด สิ่งที่ไม่มีคนพูดก็เพราะว่าเขาได้ประโยชน์จากสิ่งนี้ นั่นคือการบังคับสังกัดพรรค นะครับ ผมอยากจะเรียนว่า ในประเทศเสรีประชาธิปไตยนั้น ไม่มีผู้ใดที่มาบังคับสังกัดพรรค แล้วให้เจ้าของพรรคนั้นมาลงมติ แล้วก็ไล่ ส.ส.ออกจากพรรค และ ส.ส.ในฐานะผู้แทนฯ ก็หมดสภาพไปด้วย ไม่มีนะครับ ไม่มี ในประเทศเสรีประชาธิปไตยนั้นไม่มี
การบังคับสังกัดพรรคแล้วให้พรรคมีมติ ในขณะที่สังคมเรามีสภาพอ่อนแอ ผมไม่ได้บอกว่าสังคมอ่อนแอนั้นเป็นความผิดของใคร มันเป็นสภาพความเป็นจริง เรานั้น สังคมชนบทนั้น ขึ้นอยู่กับอิทธิพลทางการเงิน อิทธิพลบริหาร อิทธิพลท้องถิ่น สารพัดอย่าง ในสภาพสังคมอ่อนแออย่างนี้ ถ้าเราบอกบังคับสังกัดพรรค มันบอกอยู่ในตัวครับ มันเหมือนกับตั้งโต๊ะอาหาร แล้วบอกว่า ใครมีเงินมาร่วมทุนกัน แล้วก็ไปเลือกตั้งแล้วกลับเข้ามานั่งกินโต๊ะอาหารได้ แต่การบังคับสังกัดพรรคเป็นสิ่งที่แปลกก็คือว่า เรากลับมีนักวิชาการไปช่วยเหลือ บอกไม่บังคับสังกัดพรรคนี้มันดี เสร็จแล้วเราจะได้มีเสถียรภาพ คือให้มีคนมากินโต๊ะพวกเดียว ดังนั้น เราก็จะเห็นว่า นักวิชาการของเรานี่ ถามว่า ถ้าเราจะสร้างเสถียรภาพ สร้างด้วยวิธีอื่นโดยไม่บังคับสังกัดพรรค ทำได้หรือไม่ ท่านก็ไม่รู้ ดังนั้นผมอยากจะเรียนว่า สิ่งที่เราบอกว่า บังคับสังกัดพรรคให้เกิดเสถียรภาพนั้น มันไม่ใช่วิธีการเดียว การสร้างเสถียรภาพให้แก่รัฐบาลสามารถสร้างได้อย่างอื่น โดยไม่ใช่บังคับสังกัดพรรค
ผู้ที่ร่างรัฐธรรมนูญของเรานั้นเขียนบอกว่า ส.ว.ต้องเป็นอิสระ หาเสียงไม่ได้ ได้แต่แนะนำตัว ถามว่าคนดีๆ เข้าไปแนะนำตัว โดยไม่ได้หัวคะแนนจากพรรคมาอุดหนุน ได้รับเลือกตั้งไหม ไม่มีทาง ดังนั้นการที่รัฐธรรมนูญเขียนบอกว่า ส.ว.ไม่สังกัดพรรค แต่ในตามความเป็นจริงแล้ว เมื่อลงสมัครนี่ต้องการเงิน แล้วก็ต้องมีหัวคะแนน ถามว่าตามความเป็นจริง ส.ว.สังกัดพรรคหรือไม่ ดังนั้นเราจะเห็นว่า สภาพจริงๆ แล้วสิ่งที่อยู่เป็นลายลักษณ์อักษรนั้น มันลวงตา มันไม่ใช่สภาพความเป็นจริง อย่างกรณีขณะนี้เราจะเห็นว่า ปัจจุบันนี้ เรามีรัฐบาล /3 แล้ว เมื่อสมัยก่อนเรามี /10 นะครับ ก็หมายความว่าเราเปลี่ยนรัฐมนตรีกันบ่อยเหลือเกิน แต่ว่าสิ่งที่แปลกในปัจจุบันก็คือว่า คนที่มีอำนาจเปลี่ยนนั้น ถูกเปิดอภิปรายไม่ได้ คนมีอำนาจสูงสุดกลับไม่ต้องรับผิดชอบ แต่ว่าเรามาอภิปรายเปลี่ยนไอ้คนที่ถูกเปลี่ยน นะครับ นี่คือตัวอย่างง่ายๆ ที่จะเห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของเรานั้นมันพิการ มันตั้งโต๊ะเอาไว้ให้คนอื่นมาใช้อำนาจรัฐ แล้วก็มาช่วยกันเอาทรัพย์สินของสาธารณะนั้นไป คราวนี้เมื่อเรามองเห็นสภาพอันนี้แล้วว่า แล้วถามว่าใครจะมาแก้ ก็ในรัฐธรรมนูญที่ช่วยกันเขียนนี่เขาบอกว่า คนที่มีอำนาจนี่จะแก้ แล้วถามว่าแล้วคนมีอำนาจนี่จะแก้ไหม ถามตัวท่านเอง ถ้าท่านมีอำนาจอย่างนี้ นั่งกินโต๊ะอยู่อย่างนี้ แล้วอยู่ดีๆ ท่านบอกว่าไม่เอา เลิกโต๊ะ ถามว่าตัวท่านเองจะเลิกไหม ดังนั้นเราจะเห็นว่า ในสภาพปัจจุบันผู้ที่มีอำนาจรัฐอยู่ในปัจจุบันไม่มีทางที่จะแก้รัฐธรรมนูญ นะครับ แล้วเราจะแก้อย่างไร ปัญหาคือแล้วเราจะแก้อย่างไร ดังนั้นเราก็ต้อง อย่างที่เรียนว่า หาผู้ที่สามารถที่จะนำหรือมีบารมีให้คนไทยช่วยกันแก้รัฐธรรมนูญ ดังนั้น ผมกับอาจารย์ 2-3 ท่าน ก็มานั่งนึกดูว่า ถ้าเราจะแก้รัฐธรรมนูญ เราจะแก้ได้อย่างไร เราก็บอกว่า ก่อนอื่นต้องคิดออกเป็น 2 ขั้น ขั้นที่ 1 ก็คือว่า ใครจะมาแก้ ส่วนเมื่อมีใครมาแก้แล้ว เราก็ต้องคิดว่า แล้วถ้าแก้แล้ว จะแก้ไปทางไหนได้บ้าง มีทางเลือกอย่างไร ดังนั้นเราจะเห็นว่าการปฏิรูปการเมืองมันมี 2 ขั้น ขั้นแรกคือต้องหาผู้ที่จะมาแก้เสียก่อน แล้วขั้นที่ 2 ก็คือว่า ถ้าแก้แล้ว ถ้าจะแก้แล้วรัฐธรรมนูญข้างหน้าจะมีรูปร่างหน้าตาอย่างไร หรือมีทางเลือกอย่างไร ดังนั้นในขั้นแรก เราก็จะเห็นว่า เรา 2-3 คน ก็มานั่งคิดว่า แก้ 313 ให้เป็นองค์กรที่จะมาแก้ แล้วองค์กรที่จะมาแก้นั้นค่อยไปร่างรัฐธรรมนูญใหม่มาอีกหนึ่งสิ คราวนี้ในองค์กรที่จะมาแก้นี้ เมื่อกี้ท่านอาจารย์สมยศได้กล่าวแล้วว่า มันต้องมีเงื่อนไข 3 ประการ แล้วต้องครบทั้ง 3 ด้วยนะครับ อันใดอันหนึ่งนี่ไม่มีทาง หนึ่ง จะต้องมีผู้ที่เสียสละ มีบารมี แล้วก็มีอำนาจ ที่จะชี้นำประชาชนได้ สอง นักวิชาการอย่างผม นะเหรอครับ ไม่มีปัญญาหรอก อย่างดีก็นั่งคิดนั่งฝันไปเรื่อยๆ นะครับ ว่าอะไรมันควรจะเป็นอะไร แล้วเมื่อถ้าร่างออกมาแล้ว ผู้ที่มีบารมีนั้นเห็นด้วย แล้วเอาลงมาให้ประชาชนออกเสียงประชามติ ประชามติจริงๆ นะครับ ไม่ใช่ว่าอ้างเป็นตัวแทนประชาชน ดังนั้นเมื่อเราคิดอย่างนี้แล้วเราก็บอกว่าเราลองมาร่างองค์กรเพื่อที่จะออกจากวังวนนี้เสียเถอะ ดังนั้นร่างรัฐธรรมนูญนั้นก็ออกมาในรูปมาตรา 313 เราเขียนมาตรา 313 ก่อนที่ใครจะมาพูดปัญหาเรื่องนี้ใส่ไว้ในอินเตอร์เน็ตมาปีกว่าแล้ว ดูว่าใครจะมาดูบ้างก็ไม่เห็นใครจะมาดูสักที เพิ่งจะมาดูระยะหลังๆ เนี่ย ในมาตรา 313 มีอยู่ประมาณ 13 มาตรานี่จะมีองค์ประกอบครบถ้วน วางกระบวนการจนกระทั่งร่างรัฐธรรมนูญเสร็จนี่ 1 ปีครึ่ง เสร็จพอดีเลย วางระยะเวลาไว้เสร็จเลย
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
ควรแก้รัฐธรรมนูญหรือไม่..อ่านบทสัมภาษณ์.."มีชัย ฤชุพันธ
โพสต์ที่ 11
ครานี้การเขียนนี่เราเขียนไว้ก่อนนานแล้ว ทิ้งไว้ตั้งนานแล้วเรายังนึกว่า เอ...ถ้าเราเขียนอย่างนี้เราจะไม่มีโอกาสอธิบายว่าทำไม 313 นี่เราเขียนอย่างนี้ เดี๋ยวผมจะบอกให้นะครับว่าเราเขียนอย่างไร ใน 313 นี่ก็จะมีพระบารมีของเรา ไอ้ตรงบารมีของเรานี่อธิบายยาก ถ้าเมื่อปีก่อนนี่ยกปัญหานี้ขึ้นพูดนี่ผมว่าไม่มีใครรู้จัก แต่ปัจจุบันนี้ต้องขอบคุณ คุณประมวล รุจนเสรี นะครับ ที่กรุณาเขียนหนังสือพระราชอำนาจขึ้นมา ทำให้เราอธิบายมาตรา 313 ที่เขียนไว้ก่อนนี้ง่ายมาก เพราะไม่เช่นนั้นนี้อธิบายที่ไหนก็ไม่มีใครเข้าใจ
ในมาตรา 313 ซึ่งบังเอิญผมถามท่านอาจารย์สมยศว่าแจกไปหรือเปล่า ท่านอาจารย์สมยศบอกว่ายังไม่ได้แจก แต่หนังสือผู้จัดการนำไปลงไว้ในอินเตอร์เน็ต ผมก็อยากจะเรียนว่า ใน 313 ผมอยากจะย่อสั้นๆ ครับว่า 313 นี่อาศัยพระบารมีที่จะให้พระองค์ท่านพระราชทานคำแนะนำ โดยผ่านประธานองคมนตรี ดังนั้น ใน 313 จะมีคณะกรรมการพิเศษอยู่ 7 คน ฟังดูก็ไม่มาก แล้ว 7 คนนี่ใครตั้งล่ะ 7 คนนี่นะครับจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ประเภทที่ 1 คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างที่ผมว่าต้องหานักวิชาการ มีอยู่ 5 คน 5 คนนี่มาจากไหน 5 คนนี่ อันนี้ผมย่อนะครับ 10 นาทีก็เสร็จแล้ว 5 คนนี่ 2 คนเสนอถวายชื่อโดยประธานองคมนตรีโดยคำแนะนำของคณะองคมนตรี 2 คน 1 คนประธานวุฒิฯ เสนอชื่อโดยวุฒิสมาชิก 2 คน ผู้ทรงคุณวุฒิเสนอโดยสภาผู้แทนราษฎร โดยคนหนึ่งนั้นแนะนำโดย ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลอีกคนหนึ่งนั้นเป็นส.ส.ฝ่ายค้าน เพราะฉะนั้นผู้ทรงคุณวุฒินี่ 5 คนเลือกกันมาเลย อีก 2 คนนั้นเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ทางการเมือง ได้แก่อดีตนายกรัฐมนตรี 2 ท่าน ที่ประธานองคมนตรีถวายรายชื่อ เพราะฉะนั้นใน 7 คนนี่เป็นกลางทั้งสิ้น แล้ว 7 คนนี่มาทำอะไร 7 คนนี้ก็จะมายกร่างโดยมีประธาน ตัวประธานนี่เป็นคนสำคัญเพราะเป็นผู้ที่จะต้องคอยรับพระราชทานข้อสังเกตของพระองค์ท่าน ประธานนี่เสนอโดยประธานองคมนตรีโดยคำแนะนำขององคมนตรี เพราะฉะนั้นองค์กรนี้สมบูรณ์ เมื่อเราสร้างรูปแบบนี้ขึ้นมา เรารู้ว่าพระมหากษัตริย์ของเราปัจจุบันนี้ ตามที่ท่านประมวลว่า ท่านมีพระราชอำนาจที่จะพระราชทานคำแนะนำ เราก็สร้างให้องค์กรนี้สามารถที่จะรับพระราชทานคำแนะนำได้ตลอดเวลา แล้วเมื่อร่างเสร็จแล้วทำอย่างไร เมื่อยกร่างมาเสร็จแล้ว ส่งไปให้ทั้งสองสภาวิจารณ์ว่าท่านจะแก้อย่างไรบ้าง ในรัฐธรรมนูญ 313 นี่ก็จะบอกว่า ทั้งสองสภานี้จะต้องส่งบันทึกความเห็นมาว่า ควรจะแก้อย่างไร วุฒิสภาจะต้องทำมา 1 ความเห็น ว่าความเห็นเขาควรจะเป็นอย่างไร สภาผู้แทนฯ จะต้องทำมา 2 ความเห็นนะครับ ความเห็นหนึ่งเป็นสมาชิกฝ่ายรัฐบาล อีกความเห็นหนึ่งนั้นเป็นสมาชิกฝ่ายค้าน เปิดเผยหมดครับ ใน 313 จะบอกว่า ทุกอย่างจะต้องเอามาเปิดเผย จะต้องเอามา discuss แล้วเอามาทำประชาพิจารณ์กัน เมื่อร่างเสร็จแล้ว ปัญหาอะไรที่มีทางเลือกได้ หมายความว่า ได้ผลทั้งคู่ เราจะกำหนดให้มี consultative referendum ก่อนที่จะให้ความเห็นชอบนั้น ให้ประชาชนเลือกเอาว่า ใน 2 ข้างที่มันดีเหมือนๆ กัน ท่านจะเอาข้างไหน เมื่อได้ consultative referendum มาแล้ว คณะกรรมการพิเศษก็จะมายกร่างขึ้น แน่นอนนะครับ พระองค์ท่านก็คงจะพระราชทานข้อสังเกต เสร็จแล้วเอาร่างที่คณะกรรมการแก้นี้ เข้า referendum ทั่วประเทศเลย โดยมีคำอธิบายเสร็จ ดังนั้น ผมก็คิดว่า 313 นี่ ถ้าท่านมีเวลาลองไปอ่านในรายละเอียด ท่านก็จะรู้ว่า องค์ประกอบทั้ง 3 อย่างนั้น อยู่ในรัฐธรรมนูญแค่ 10 กว่ามาตรา
เมื่อเราเขียน ผมหมายถึงเพื่อนนักกฎหมายมหาชน เมื่อเขาเขียน 313 ขึ้นมาแล้ว เราก็มาบอกว่า เมื่อเราได้ 313 มาแล้ว เราจะต้องเขียนอีกครึ่งหนึ่ง ก็คือว่า 313 นี่ รัฐธรรมนูญใหม่ควรจะเป็นอย่างไรได้บ้าง เพราะฉะนั้นก็เลยเป็นโครงการของศูนย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กับสมาคมนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าเราจะทำหนังสืออีก 1 ฉบับ ว่า ในทางวิชาการนั้น ในรูปแบบของเราที่มีองค์พระมหากษัตริย์เป็นประมุขนั้น จะสร้างรัฐธรรมนูญได้อย่างไรที่รัฐบาลมีเสถียรภาพ เรากำลังทำนะครับ แต่ยังไม่เสร็จ เพราะฉะนั้นอีกสัก 4-5 เดือนอาจจะเสร็จ ผมไม่ทราบนะ ต้องลองถามอาจารย์สมยศ กับผู้ร่วมทำของเรา นี่คือแนวเรา
เอาล่ะ เมื่อกี้ผมพูดมาว่าผมจะพูดถึง 2 ตอน ตอนที่ 1 ผมพูดแล้ว ทีนี้ผมจะพูดถึงตอนที่ 2 คือในด้านพื้นฐานความรู้ ว่า ทำไมเราจึงต้องหันไปหาพระบารมีของ สเตจเมนต์ ของเรา อย่างที่ผมเรียนนะครับ คนที่จะเสียประโยชน์หรือกุมอำนาจนี่ไม่มีทาง ไม่มีทางจะเสียอำนาจให้แก่ตัวเอง คราวนี้หลายท่านก็บอกว่า อย่าไปดึงฟ้าลงมาต่ำสิ ผมว่าเราไม่ได้ดึงให้ต่ำนะครับ แต่เรากำลังจะจมดินเราต้องเกาะให้แน่น ฟ้าไม่มีทางต่ำหรอกสูงอย่างไรก็สูงอย่างนั้น แต่ถ้าเรากำลังจะจมดินเราต้องเกาะให้แน่น ถ้าไม่เกาะให้แน่นเรากับฟ้าก็จะแยกจากกัน
ผมบอกว่าถามจริงๆ เถอะในอดีตนั้นฟ้าน่ะ ในต่างประเทศหรือประวัติศาสตร์โลก เคยช่วยประชาชนในการปฏิรูปการเมืองไหม ผมจะหยิบรัฐธรรมนูญมาหนึ่งฉบับแต่ไม่บอกว่าประเทศไหนนะครับ ผมจะบอกทีหลัง ท่านอาจจะไม่เคยได้ยินเลยนะครับว่าจะมีรัฐธรรมนูญที่ไหนเขียนอย่างนี้ รัฐธรรมนูญในมาตรา 17 เขียนอย่างนี้นะครับว่า คณะรัฐมนตรีจะมีประธานโดยพระมหากษัตริย์ คือพระมหากษัตริย์นั้นเป็นประธานในการประชุมคณะรัฐมนตรีแล้วก็รัฐมนตรีเป็นคนแต่งตั้งและปลดนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี แต่สภาผู้แทนราษฎรนั้นอาจจะโหวตให้นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีนั้นออกได้ ถามว่าเคยได้ยินไหมว่ามีประเทศใดในโลกที่พระมหากษัตริย์เป็นประธานในการประชุมคณะรัฐมนตรี ที่ผมยกตัวอย่างนี้ก็เพื่อจะให้เห็นว่าฟ้ามันไม่ใช่เหมือนกับที่เราถูกสอนอยู่อย่างนี้ ในอดีตฟ้าช่วยปฏิรูปการเมืองมาหลายประเทศแล้ว และถ้าหากท่านอยากจะรู้ว่ารัฐธรรมนูญนี้เป็นของประเทศไหนแล้วล่ะก็ ผมอยากจะบอกว่าหลายประเทศที่ผมกำลังอ่านนี้เป็นของเดนมาร์ก รัฐธรรมนูญปัจจุบัน แล้วที่บอกกันว่าอย่าไปให้พระองค์ท่านลงมา เราสอนกันมาตั้งแต่ปี 2475 แล้วก็เชื่อกันมา เราไปอ่านรัฐธรรมนูญของอังกฤษทำไมไม่ไปอ่านรัฐธรรมนูญของยุโรปที่มีพระมหากษัตริย์บ้าง ประเทศในยุโรปที่มีพระมหากษัตริย์นั้นพระมหากษัตริย์ได้ลงมาปฏิรูปการเมือง ดังนั้นฟ้าคือฟ้านะครับแต่ว่าเราเกาะได้ เกาะยึดให้มั่น
ในมาตรา 313 ซึ่งบังเอิญผมถามท่านอาจารย์สมยศว่าแจกไปหรือเปล่า ท่านอาจารย์สมยศบอกว่ายังไม่ได้แจก แต่หนังสือผู้จัดการนำไปลงไว้ในอินเตอร์เน็ต ผมก็อยากจะเรียนว่า ใน 313 ผมอยากจะย่อสั้นๆ ครับว่า 313 นี่อาศัยพระบารมีที่จะให้พระองค์ท่านพระราชทานคำแนะนำ โดยผ่านประธานองคมนตรี ดังนั้น ใน 313 จะมีคณะกรรมการพิเศษอยู่ 7 คน ฟังดูก็ไม่มาก แล้ว 7 คนนี่ใครตั้งล่ะ 7 คนนี่นะครับจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ประเภทที่ 1 คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างที่ผมว่าต้องหานักวิชาการ มีอยู่ 5 คน 5 คนนี่มาจากไหน 5 คนนี่ อันนี้ผมย่อนะครับ 10 นาทีก็เสร็จแล้ว 5 คนนี่ 2 คนเสนอถวายชื่อโดยประธานองคมนตรีโดยคำแนะนำของคณะองคมนตรี 2 คน 1 คนประธานวุฒิฯ เสนอชื่อโดยวุฒิสมาชิก 2 คน ผู้ทรงคุณวุฒิเสนอโดยสภาผู้แทนราษฎร โดยคนหนึ่งนั้นแนะนำโดย ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลอีกคนหนึ่งนั้นเป็นส.ส.ฝ่ายค้าน เพราะฉะนั้นผู้ทรงคุณวุฒินี่ 5 คนเลือกกันมาเลย อีก 2 คนนั้นเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ทางการเมือง ได้แก่อดีตนายกรัฐมนตรี 2 ท่าน ที่ประธานองคมนตรีถวายรายชื่อ เพราะฉะนั้นใน 7 คนนี่เป็นกลางทั้งสิ้น แล้ว 7 คนนี่มาทำอะไร 7 คนนี้ก็จะมายกร่างโดยมีประธาน ตัวประธานนี่เป็นคนสำคัญเพราะเป็นผู้ที่จะต้องคอยรับพระราชทานข้อสังเกตของพระองค์ท่าน ประธานนี่เสนอโดยประธานองคมนตรีโดยคำแนะนำขององคมนตรี เพราะฉะนั้นองค์กรนี้สมบูรณ์ เมื่อเราสร้างรูปแบบนี้ขึ้นมา เรารู้ว่าพระมหากษัตริย์ของเราปัจจุบันนี้ ตามที่ท่านประมวลว่า ท่านมีพระราชอำนาจที่จะพระราชทานคำแนะนำ เราก็สร้างให้องค์กรนี้สามารถที่จะรับพระราชทานคำแนะนำได้ตลอดเวลา แล้วเมื่อร่างเสร็จแล้วทำอย่างไร เมื่อยกร่างมาเสร็จแล้ว ส่งไปให้ทั้งสองสภาวิจารณ์ว่าท่านจะแก้อย่างไรบ้าง ในรัฐธรรมนูญ 313 นี่ก็จะบอกว่า ทั้งสองสภานี้จะต้องส่งบันทึกความเห็นมาว่า ควรจะแก้อย่างไร วุฒิสภาจะต้องทำมา 1 ความเห็น ว่าความเห็นเขาควรจะเป็นอย่างไร สภาผู้แทนฯ จะต้องทำมา 2 ความเห็นนะครับ ความเห็นหนึ่งเป็นสมาชิกฝ่ายรัฐบาล อีกความเห็นหนึ่งนั้นเป็นสมาชิกฝ่ายค้าน เปิดเผยหมดครับ ใน 313 จะบอกว่า ทุกอย่างจะต้องเอามาเปิดเผย จะต้องเอามา discuss แล้วเอามาทำประชาพิจารณ์กัน เมื่อร่างเสร็จแล้ว ปัญหาอะไรที่มีทางเลือกได้ หมายความว่า ได้ผลทั้งคู่ เราจะกำหนดให้มี consultative referendum ก่อนที่จะให้ความเห็นชอบนั้น ให้ประชาชนเลือกเอาว่า ใน 2 ข้างที่มันดีเหมือนๆ กัน ท่านจะเอาข้างไหน เมื่อได้ consultative referendum มาแล้ว คณะกรรมการพิเศษก็จะมายกร่างขึ้น แน่นอนนะครับ พระองค์ท่านก็คงจะพระราชทานข้อสังเกต เสร็จแล้วเอาร่างที่คณะกรรมการแก้นี้ เข้า referendum ทั่วประเทศเลย โดยมีคำอธิบายเสร็จ ดังนั้น ผมก็คิดว่า 313 นี่ ถ้าท่านมีเวลาลองไปอ่านในรายละเอียด ท่านก็จะรู้ว่า องค์ประกอบทั้ง 3 อย่างนั้น อยู่ในรัฐธรรมนูญแค่ 10 กว่ามาตรา
เมื่อเราเขียน ผมหมายถึงเพื่อนนักกฎหมายมหาชน เมื่อเขาเขียน 313 ขึ้นมาแล้ว เราก็มาบอกว่า เมื่อเราได้ 313 มาแล้ว เราจะต้องเขียนอีกครึ่งหนึ่ง ก็คือว่า 313 นี่ รัฐธรรมนูญใหม่ควรจะเป็นอย่างไรได้บ้าง เพราะฉะนั้นก็เลยเป็นโครงการของศูนย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กับสมาคมนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าเราจะทำหนังสืออีก 1 ฉบับ ว่า ในทางวิชาการนั้น ในรูปแบบของเราที่มีองค์พระมหากษัตริย์เป็นประมุขนั้น จะสร้างรัฐธรรมนูญได้อย่างไรที่รัฐบาลมีเสถียรภาพ เรากำลังทำนะครับ แต่ยังไม่เสร็จ เพราะฉะนั้นอีกสัก 4-5 เดือนอาจจะเสร็จ ผมไม่ทราบนะ ต้องลองถามอาจารย์สมยศ กับผู้ร่วมทำของเรา นี่คือแนวเรา
เอาล่ะ เมื่อกี้ผมพูดมาว่าผมจะพูดถึง 2 ตอน ตอนที่ 1 ผมพูดแล้ว ทีนี้ผมจะพูดถึงตอนที่ 2 คือในด้านพื้นฐานความรู้ ว่า ทำไมเราจึงต้องหันไปหาพระบารมีของ สเตจเมนต์ ของเรา อย่างที่ผมเรียนนะครับ คนที่จะเสียประโยชน์หรือกุมอำนาจนี่ไม่มีทาง ไม่มีทางจะเสียอำนาจให้แก่ตัวเอง คราวนี้หลายท่านก็บอกว่า อย่าไปดึงฟ้าลงมาต่ำสิ ผมว่าเราไม่ได้ดึงให้ต่ำนะครับ แต่เรากำลังจะจมดินเราต้องเกาะให้แน่น ฟ้าไม่มีทางต่ำหรอกสูงอย่างไรก็สูงอย่างนั้น แต่ถ้าเรากำลังจะจมดินเราต้องเกาะให้แน่น ถ้าไม่เกาะให้แน่นเรากับฟ้าก็จะแยกจากกัน
ผมบอกว่าถามจริงๆ เถอะในอดีตนั้นฟ้าน่ะ ในต่างประเทศหรือประวัติศาสตร์โลก เคยช่วยประชาชนในการปฏิรูปการเมืองไหม ผมจะหยิบรัฐธรรมนูญมาหนึ่งฉบับแต่ไม่บอกว่าประเทศไหนนะครับ ผมจะบอกทีหลัง ท่านอาจจะไม่เคยได้ยินเลยนะครับว่าจะมีรัฐธรรมนูญที่ไหนเขียนอย่างนี้ รัฐธรรมนูญในมาตรา 17 เขียนอย่างนี้นะครับว่า คณะรัฐมนตรีจะมีประธานโดยพระมหากษัตริย์ คือพระมหากษัตริย์นั้นเป็นประธานในการประชุมคณะรัฐมนตรีแล้วก็รัฐมนตรีเป็นคนแต่งตั้งและปลดนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี แต่สภาผู้แทนราษฎรนั้นอาจจะโหวตให้นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีนั้นออกได้ ถามว่าเคยได้ยินไหมว่ามีประเทศใดในโลกที่พระมหากษัตริย์เป็นประธานในการประชุมคณะรัฐมนตรี ที่ผมยกตัวอย่างนี้ก็เพื่อจะให้เห็นว่าฟ้ามันไม่ใช่เหมือนกับที่เราถูกสอนอยู่อย่างนี้ ในอดีตฟ้าช่วยปฏิรูปการเมืองมาหลายประเทศแล้ว และถ้าหากท่านอยากจะรู้ว่ารัฐธรรมนูญนี้เป็นของประเทศไหนแล้วล่ะก็ ผมอยากจะบอกว่าหลายประเทศที่ผมกำลังอ่านนี้เป็นของเดนมาร์ก รัฐธรรมนูญปัจจุบัน แล้วที่บอกกันว่าอย่าไปให้พระองค์ท่านลงมา เราสอนกันมาตั้งแต่ปี 2475 แล้วก็เชื่อกันมา เราไปอ่านรัฐธรรมนูญของอังกฤษทำไมไม่ไปอ่านรัฐธรรมนูญของยุโรปที่มีพระมหากษัตริย์บ้าง ประเทศในยุโรปที่มีพระมหากษัตริย์นั้นพระมหากษัตริย์ได้ลงมาปฏิรูปการเมือง ดังนั้นฟ้าคือฟ้านะครับแต่ว่าเราเกาะได้ เกาะยึดให้มั่น
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
ควรแก้รัฐธรรมนูญหรือไม่..อ่านบทสัมภาษณ์.."มีชัย ฤชุพันธ
โพสต์ที่ 12
ครานี้เรามาดูที่ประวัติศาสตร์ไทยกันบ้าง เมื่อสมัยรัชกาลที่ 5 ครั้งพระองค์ท่านมีพระชนมายุได้ 57 ชันษา พระองค์ท่านเคยตรัสไว้ว่าอย่างไร เมื่อพระองค์ท่านพระชนมายุ 57 ชันษา ได้มีการพิจารณาว่าจะพระราชทานรัฐธรรมนูญของเราอย่างไร ผมจะอ่านนะครับ รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชดำรัสไว้ว่า ฉันคิดว่าจะต้องตั้งพาลิเมนต์ และให้ Constitution แก่ราษฏร และจะสละราชสมบัติยกบังลลังก์ให้กับลูกวชิราวุธ ในคราวทำแซยิดครบรอบ 60 ปี ซึ่งเป็นเวลาที่จะถึงข้างหน้าอีก 3 ปี แล้วฉันจะให้ลูกวชิราวุธนั้นมอบของขวัญแก่พลเมืองในทันทีที่ได้ขึ้นสู่บัลลังก์ ในฐานะสืบตำแหน่งกษัตริย์ กล่าวคือ ฉันจะให้เขาให้ Parliament และ Constitution อีก 3 ปีเท่านั้น คงไม่ช้านักมิใช่หรือ แต่บังเอิญหลังจากที่พระองค์ท่านมีพระราชดำรัส ต่อมาอีก 3 เดือน ท่านเสด็จสวรรคต เราก็เลยไม่มีใครมาพระราชทานให้เรา เรารอมาจนกระทั่งถึงรัชกาลที่ 7 เราก็ถูกคณะราษฎรปฏิวัติเอาพระราชอำนาจนั้นไป แล้วทำไมรัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สละราชสมบัติ ท่านสละราชสมบัติในเดือนมีนาคม 2477 ท่านก็บอกว่า พระราชหัตถเลขา บ้านประเทศอังกฤษ ผมจะเลือกบางตอน เอาสั้นๆ นะครับ พระองค์ท่านบอกว่า การที่ข้าพเจ้ายินยอมให้มีสมาชิก 2 ประเภท ก็โดยหวังว่าสมาชิกประเภทที่ 2 ซึ่งข้าพเจ้าตั้งนั้น จะเลือกจากบุคคลที่รอบรู้การงาน และชำนาญในวิธี ดำเนินการปกครองแผ่นดินโดยทั่วๆ ไป ไม่จำกัดว่าเป็นพวกใด คณะใด เพื่อจะได้ช่วยเหลือนำทางให้แก่สมาชิกที่ราษฎรเลือกตั้ง แต่ครั้น เมื่อถึงเวลาที่จะตั้งสมาชิกประเภท 2 ขึ้น ข้าพเจ้าหาได้มีโอกาสแนะนำในการเลือกเลย เห็นไหมฮะ คณะราษฎรเอาอำนาจไปหมดแล้ว ขณะนี้เราคิดว่าถ้าจะไปหาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไปถวายฎีกา ผมได้ยินอยู่ อ่านหนังสือทีไร ถวายฎีกาอยู่เรื่อย ท่านถวายก็ถวายไป แต่พระราชอำนาจท่าน ท่านถูกจำกัดโดยรัฐธรรมนูญหมดแล้วนะครับ ไม่เหมือนสมัยรัชกาลที่ 5 ท่านมีพระราชอำนาจโดยสิทธิขาด ดังนั้นการที่จะไปถวายฎีกา บอกว่าให้พระราชทานรัฐธรรมนูญนั้น เป็นไปไม่ได้หรอก ท่านต้องคืนพระราชอำนาจด้วยการแก้รัฐธรรมนูญครับ ผมคิดว่า ผมได้ให้พื้นฐานของท่านพอแล้วครับ ขอบคุณครับ
รศ.สมยศ ผู้ดำเนินรายการ กล่าวต่อว่า ที่ท่านอาจารย์อมรกล่าวถึงข้อบกพร่องของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันนี้นะครับ ท่านกล่าวถึงมาตรา 313 ผมขอขยายความนิดหนึ่งว่า 313 ที่อยู่ในบทบัญญัติรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ก็คือการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการแก้ไข ฉะนั้นถ้าจะปฏิรูปการเมืองครั้งที่ 2 ก็หมายถึงว่าต้องเปิดประตูนี้ใหม่ ต้องแก้ไขมาตรา 313 เพื่อเพิ่มเติมให้มีการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ และก็ตามข้อเสนอที่ท่านอาจารย์ได้กล่าวมา รัฐธรรมนูญฉบับนี้มันสวยงาม เหมือนเรากำลังจะสร้างคลองชลประทานเพื่อจะให้น้ำไปสู่ประชาชนที่ขาดแคลนน้ำ คลองนี้สวยงามมาก แต่ปรากฏว่าพอคลองเสร็จ เราเทน้ำลงไป ปรากฏน้ำไม่ไหล มันย้อนคืนมาหมด มันเป็นคลองเทียม คลองที่ไม่มีน้ำ รัฐธรรมนูญฉบับนี้มุ่งที่จะปฏิรูปการเมือง ดูแล้วสวยงาม แต่เป้าหมายทั้ง 3 ประการ ที่ผมได้กล่าวถึงเมื่อตอนต้น มันล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง เราจะอยู่กับความล้มเหลวอันนี้หรือไม่ หรือจะต้องหาทางออกใหม่ นี่ล่ะทางออกที่ ศ.ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ ได้นำเสนอครับ
รศ.สมยศ ผู้ดำเนินรายการ กล่าวต่อว่า ที่ท่านอาจารย์อมรกล่าวถึงข้อบกพร่องของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันนี้นะครับ ท่านกล่าวถึงมาตรา 313 ผมขอขยายความนิดหนึ่งว่า 313 ที่อยู่ในบทบัญญัติรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ก็คือการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการแก้ไข ฉะนั้นถ้าจะปฏิรูปการเมืองครั้งที่ 2 ก็หมายถึงว่าต้องเปิดประตูนี้ใหม่ ต้องแก้ไขมาตรา 313 เพื่อเพิ่มเติมให้มีการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ และก็ตามข้อเสนอที่ท่านอาจารย์ได้กล่าวมา รัฐธรรมนูญฉบับนี้มันสวยงาม เหมือนเรากำลังจะสร้างคลองชลประทานเพื่อจะให้น้ำไปสู่ประชาชนที่ขาดแคลนน้ำ คลองนี้สวยงามมาก แต่ปรากฏว่าพอคลองเสร็จ เราเทน้ำลงไป ปรากฏน้ำไม่ไหล มันย้อนคืนมาหมด มันเป็นคลองเทียม คลองที่ไม่มีน้ำ รัฐธรรมนูญฉบับนี้มุ่งที่จะปฏิรูปการเมือง ดูแล้วสวยงาม แต่เป้าหมายทั้ง 3 ประการ ที่ผมได้กล่าวถึงเมื่อตอนต้น มันล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง เราจะอยู่กับความล้มเหลวอันนี้หรือไม่ หรือจะต้องหาทางออกใหม่ นี่ล่ะทางออกที่ ศ.ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ ได้นำเสนอครับ
- bsk(มหาชน)
- Verified User
- โพสต์: 3206
- ผู้ติดตาม: 0
ควรแก้รัฐธรรมนูญหรือไม่..อ่านบทสัมภาษณ์.."มีชัย ฤชุพันธ
โพสต์ที่ 13
"กลไกประชาธิปไตยยามถูกบิดเบือนก็ไม่ต่างอะไรกับการสร้างบ้านไว้ดีแล้ว แต่โจรขึ้นบ้าน แล้วเรามาบอกกันว่าหลักการต่างๆ วางไว้ดีหมด แต่ลืมว่าวันนี้โจรเข้าไปยึดหมดแล้ว แล้วเราก็ยังบอกกันว่าต้องปล่อยตามโจร เพราะโจรมาตามระบอบ"
คณิน บุญสุวรรณ อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.)
รัฐธรรมนูญ 2540 มีเป้าหมายจะสร้างการเมืองภาคประชาชนที่เข้มแข็ง ด้วยตระหนักดีว่าพลังประชาชนสามารถถ่วงดุลการใช้อำนาจรัฐ ไม่ให้ใช้อำนาจเกินเลยตามอำเภอใจ และตรวจสอบคอร์รัปชันได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งยังร่วมกำหนดทิศทางการเมือง ไม่ให้นักการเมืองฉกฉวยผลประโยชน์ทับซ้อนต่างๆ แต่แล้วท้ายที่สุดก็หาได้เป็นไปตามเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญไม่ ด้วยวันนี้กลไกการเมืองภาคประชาชนเสมือนหนึ่งจะเป็นอัมพาตไปแล้ว
อ่านทั้งหมดได้ที่...
**73 ปีประชาธิปไตย เปลวเทียนประชาชน 'มอดไหม้แต่ไม่มอดดับ'
คณิน บุญสุวรรณ อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.)
รัฐธรรมนูญ 2540 มีเป้าหมายจะสร้างการเมืองภาคประชาชนที่เข้มแข็ง ด้วยตระหนักดีว่าพลังประชาชนสามารถถ่วงดุลการใช้อำนาจรัฐ ไม่ให้ใช้อำนาจเกินเลยตามอำเภอใจ และตรวจสอบคอร์รัปชันได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งยังร่วมกำหนดทิศทางการเมือง ไม่ให้นักการเมืองฉกฉวยผลประโยชน์ทับซ้อนต่างๆ แต่แล้วท้ายที่สุดก็หาได้เป็นไปตามเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญไม่ ด้วยวันนี้กลไกการเมืองภาคประชาชนเสมือนหนึ่งจะเป็นอัมพาตไปแล้ว
อ่านทั้งหมดได้ที่...
**73 ปีประชาธิปไตย เปลวเทียนประชาชน 'มอดไหม้แต่ไม่มอดดับ'