VI สายธรรมะ แนวพุทธปัญญา

เชิญมาพักผ่อน คลายร้อนนั่งเล่น คุยกันเย็นๆ พร้อมเรื่องกีฬา สัพเพเหระ ทัศนะนานา ชีวิตชีวา สุขภาพทั่วไป บันเทิงขำขัน รอบเรื่องเมืองไทย ชวนเที่ยวที่ไหน อยากไปก็นัดมา ...โย่วๆ
ภาพประจำตัวสมาชิก
luangrit
Verified User
โพสต์: 376
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI สายธรรมะ แนวพุทธปัญญา

โพสต์ที่ 61

โพสต์

เด็กใหม่ไฟแรง เขียน:ผมยังมีปัญหาที่ค้างคาใจ พยายามหาคำตอบอยู่หลายปีแล้ว ยังไม่เห็นหนทางที่ชัดเจน
ผมคาใจว่า การลงทุนหุ้นแบบทุ่มเท ที่พวกเรา vi ส่วนใหญ่ทำกันนั้น เป็นหนทางจัดการกับความมั่งคั่ง ที่เป็นอุปสรรคกับความเจริญก้าวหน้าทางธรรมหรือไม่
เป็นคำถามที่ถามหลายท่าน หลายพระอาจารย์ หลายอาจารย์ หลายๆเพื่อนร่วมเส้นทาง และหลายๆเพื่อน vi สายธรรมะที่เน้นการภาวนาเพื่อความก้าวหน้าในธรรม
ผมมีความคิดว่า การลงทุนในหุ้น แม้แต่แนว vi เราก็ต้องติดตาม ต้องค้นคว้า ต้องคิดกลยุทธ์ ต้องหมั่นทบทวน และต้องปรับแต่งการลงทุน
ทำไปทำมา ทุกครั้งที่มีกิจกรรม ไม่ว่าใหญ่หรือเล็ก ล้วนแต่เกี่ยวข้องกับกิเลส และทำให้จิตฟุ้งทุกครั้ง
ได้คำแนะนำจากหลายๆท่านว่า ให้รู้ตัวมีสติว่ากำลังทำอะไร ถือเป็นแบบฝึกหัดเสียด้วยซ้ำ
แต่ท่านที่เคยปฏิบัติภาวนาแบบเคร่งครัดแบบทุ่มเท ก็จะทราบว่าส่วนใหญ่ เราจะพยายามไม่พูดไม่คิดนอกเรื่อง ไม่สื่อสาร รวมๆคือไม่ส่งจิตออกนอก พยายามมีสติและไม่ให้การสติขาดตอน
ทำให้ทุกวันนี้ ผมยังมีความเชื่ออยู่ตลอดว่า การลงทุนในหุ้น เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติธรรม โดยเฉพาะหากต้องการก้าวหน้าเพื่อความหลุดพ้น
เราอาจจะต้องจัดการความมั่งคั่งแบบการเมืองที่กำหนดให้เอาเงินทองที่ต้องบริหารไปให้กองทุนรวม หรือกองทุนบริหารความมั่งคั่งส่วนบุคคลดูแล เราไม่ต้องไปยุ่งเกี่ยว นานๆติดตามที กำหนดทิศทางนโยบายให้เขาทำให้
พวกเราคิดเห็นเป็นอย่างไรครับ

แบบนี้ดีมั้ยครับ
ให้คิดว่าการลงทุนนั้นเป็นสัมมาอาชีวะอย่างหนึ่ง
ซึ่งสามารถทำให้เรามีเวลาปฏิบัติธรรมได้อย่างเต็มที่

คือเมื่อเทียบกับอาชีพอื่นๆ ที่ต้องให้เวลากับการทำงานอย่างมากแล้ว
อาชีพนักลงทุนถือว่าได้เปรียบในแง่ของเวลา

ซึ่งก็เป็นจุดที่หลายๆคนหันมาสนใจการลงทุนในหุ้นมากขึ้น
เพราะเค้าจะได้มีเวลาทำในสิ่งที่ตนเองรัก

กลับมาที่การปฏิบัติธรรม
ผมรู้สึกว่าการปฏิบัติต่างหาก ที่จะช่วยขัดเกลาความฟุ้งซ่านเกี่ยวกับหุ้น
มีสติมากขึ้น ไม่กังวลใจกับเหตุการณ์อะไรง่ายๆ
และมีความทุกข์น้อยและสั้นลงอย่างชัดเจน

ความโลภที่เคยมีนั้นกลับค่อยๆเจือจาง
ทำให้เราพอใจกับผลตอบแทนได้ง่ายขึ้น

เมื่อปฏิบัตินานเข้า
คุณจะได้คำตอบเองครับว่า ถ้าต้องการกำจัดกิเลสอย่างละเอียด
คุณควรจะเดินไปในทางใหน

แต่เบื้องต้น
การปฏิบัติธรรมจะช่วยเกื้อหนุนให้คุณลงทุนอย่างมีสติ พอเพียง
และทุกข์น้อยลงได้ครับ
Pekko
Verified User
โพสต์: 671
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI สายธรรมะ แนวพุทธปัญญา

โพสต์ที่ 62

โพสต์

luangrit เขียน:
เด็กใหม่ไฟแรง เขียน:ผมยังมีปัญหาที่ค้างคาใจ พยายามหาคำตอบอยู่หลายปีแล้ว ยังไม่เห็นหนทางที่ชัดเจน
ผมคาใจว่า การลงทุนหุ้นแบบทุ่มเท ที่พวกเรา vi ส่วนใหญ่ทำกันนั้น เป็นหนทางจัดการกับความมั่งคั่ง ที่เป็นอุปสรรคกับความเจริญก้าวหน้าทางธรรมหรือไม่
เป็นคำถามที่ถามหลายท่าน หลายพระอาจารย์ หลายอาจารย์ หลายๆเพื่อนร่วมเส้นทาง และหลายๆเพื่อน vi สายธรรมะที่เน้นการภาวนาเพื่อความก้าวหน้าในธรรม
ผมมีความคิดว่า การลงทุนในหุ้น แม้แต่แนว vi เราก็ต้องติดตาม ต้องค้นคว้า ต้องคิดกลยุทธ์ ต้องหมั่นทบทวน และต้องปรับแต่งการลงทุน
ทำไปทำมา ทุกครั้งที่มีกิจกรรม ไม่ว่าใหญ่หรือเล็ก ล้วนแต่เกี่ยวข้องกับกิเลส และทำให้จิตฟุ้งทุกครั้ง
ได้คำแนะนำจากหลายๆท่านว่า ให้รู้ตัวมีสติว่ากำลังทำอะไร ถือเป็นแบบฝึกหัดเสียด้วยซ้ำ
แต่ท่านที่เคยปฏิบัติภาวนาแบบเคร่งครัดแบบทุ่มเท ก็จะทราบว่าส่วนใหญ่ เราจะพยายามไม่พูดไม่คิดนอกเรื่อง ไม่สื่อสาร รวมๆคือไม่ส่งจิตออกนอก พยายามมีสติและไม่ให้การสติขาดตอน
ทำให้ทุกวันนี้ ผมยังมีความเชื่ออยู่ตลอดว่า การลงทุนในหุ้น เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติธรรม โดยเฉพาะหากต้องการก้าวหน้าเพื่อความหลุดพ้น
เราอาจจะต้องจัดการความมั่งคั่งแบบการเมืองที่กำหนดให้เอาเงินทองที่ต้องบริหารไปให้กองทุนรวม หรือกองทุนบริหารความมั่งคั่งส่วนบุคคลดูแล เราไม่ต้องไปยุ่งเกี่ยว นานๆติดตามที กำหนดทิศทางนโยบายให้เขาทำให้
พวกเราคิดเห็นเป็นอย่างไรครับ
แบบนี้ดีมั้ยครับ
ให้คิดว่าการลงทุนนั้นเป็นสัมมาอาชีวะอย่างหนึ่ง
ซึ่งสามารถทำให้เรามีเวลาปฏิบัติธรรมได้อย่างเต็มที่

คือเมื่อเทียบกับอาชีพอื่นๆ ที่ต้องให้เวลากับการทำงานอย่างมากแล้ว
อาชีพนักลงทุนถือว่าได้เปรียบในแง่ของเวลา

ซึ่งก็เป็นจุดที่หลายๆคนหันมาสนใจการลงทุนในหุ้นมากขึ้น
เพราะเค้าจะได้มีเวลาทำในสิ่งที่ตนเองรัก

กลับมาที่การปฏิบัติธรรม
ผมรู้สึกว่าการปฏิบัติต่างหาก ที่จะช่วยขัดเกลาความฟุ้งซ่านเกี่ยวกับหุ้น
มีสติมากขึ้น ไม่กังวลใจกับเหตุการณ์อะไรง่ายๆ
และมีความทุกข์น้อยและสั้นลงอย่างชัดเจน

ความโลภที่เคยมีนั้นกลับค่อยๆเจือจาง
ทำให้เราพอใจกับผลตอบแทนได้ง่ายขึ้น

เมื่อปฏิบัตินานเข้า
คุณจะได้คำตอบเองครับว่า ถ้าต้องการกำจัดกิเลสอย่างละเอียด
คุณควรจะเดินไปในทางใหน

แต่เบื้องต้น
การปฏิบัติธรรมจะช่วยเกื้อหนุนให้คุณลงทุนอย่างมีสติ พอเพียง
และทุกข์น้อยลงได้ครับ
เห็นด้วยทุกประการกับคุณ luangrit คุณเด็กใหม่ไฟแรงอย่ากังวลมากเกินครับ
ผมเองปฏิบัติธรรมะมา เกือบ 2 ปี (เฉียดตายมา 2 ครั้งแบบยอมเอาตัวเข้าแลก) ขอใช้ความรู้ที่มีบ้างอธิบายนะครับ
ธรรมบทแรกที่พระพุทธองค์ทรงแสดง คือ ธัมมจักรกัปวัตนะสูตร ซึ่งมีใจความว่า นักบวชไม่ควรยุ่ง 2 ทาง คือ
1. ทางที่เบียดเบียนตนเองจนเกิดทุกข์
2. ทางที่ตนเองหย่อนยานตกอยู่ในอำนาจกิเลส
จากนั้นท่านจึงตรัสสอนอริยสัจ 4 โดยเน้นทางปฏิบัติธรรมสายกลาง 8 ประการ (มรรคทั้ง 8)

การลงทุนหุ้น ถือเป็นสัมมาอาชีวะอย่างหนึ่ง เสมือนการทำงาน แต่นั่นก็ยังไม่เพียงพอต่อการบรรลุธรรม จำเป็นต้องมีมรรคอีก 7 ข้อประกอบด้วย เพียงแต่ในกรณีสัมมาอาชีวะเด่นมากกว่าสัมมาข้ออื่นเท่านั้น ซึ่งการมีสัมมาอาชีวะถือเป็นฐานบทที่ทุกคนต้องมี

ในทางธรรมมรรคเป็นตัวปรับกับสมุทัย คนเราเป็นทุกข์เพราะส่วนหนึ่งไม่พอกินไม่พอใช้ (เหตุมีมากมาย ไม่ขอกล่าวถึง) การมีอาชีพที่สุจริตเพื่อหาเงินเลี้ยงชีพนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องในระดับหนึ่งแล้วครับ การทุ่มเทให้กับหุ้น(ผมก็เหมือนกัน) ถ้าเรามีมรรค 8 รู้ทันอุปทานตามระดับเรา ไม่ถือว่าเป็นอุปสรรคนะครับ การกำจัดความยึดมั่นในเรื่องต่างๆ เช่น เฮอาฉลองแอลกอกอฮอล์เพราะกำไรมาก หรือโกรธอารมณ์เสียเพราะขาดทุนเยอะ หรืออยากซื้อตัวนั้นต้องไปเบียดเบียนตัวเอง/คนอื่น หรือกู้หนี้ยืมสินเกินกำลังตัวเอง นั่นต่างหากเป็นตัวที่ต้องแก้ แก้ที่ตัวเรา ไม่ใช่แก้ที่ราคาหุ้นหรือหุ้น

ผมเองเห็นการ POST ว่า เล่นหุ้นเก็งกำไร(เสมือนการพนัน) หรือใช้เทคนิคเล่นผิดศีลผิดธรรมไหม ผมคิดว่า เจตนาของท่านที่เล่นเหล่านั้นแหละเป็นตัวกำหนด (เป็นเรื่องปัจจัตตัง เฉพาะตัว คนอื่นรู้แทน เห็นแทนไม่ได้) ถ้าเล่นเสมือนพนันก็ไม่ผิด แต่เป็นทางอบาย(ทางไปสู่ความเสื่อม) หรือบางท่านถามว่า ลงทุนหุ้นในกิจการที่ผิดศีล จะบาปไหม ผมคิดว่าเราเลือกได้ เลือกที่จะรวยโดยไม่ต้องเบียดเบียนชีวิตใคร โกงใคร มอมเมาใครได้ เหมือนที่คุณเด็กใหม่ไฟแรง และอีกหลายๆ ท่านดำเนินอยู่ โดยส่วนตัวผมชื่นชม อ.ไพบูลย์ คุณดนัย มากเป็นพิเศษ (โดยเฉพาะคุณดนัยเคยเป็นวิทยากรสอนผมครั้งนึง รู้สึกได้เลยว่าท่านไปไกลทางธรรมมาก) คุณภาพกิจการที่เลือก = คุณภาพ/คุณธรรมในระดับแต่ละบุคคล

ผมเองก็เคยซื้อทั้ง CPF และ CHOTI ไว้เมื่อปี 51-53 หลังจากปฏิบัติธรรมไม่นาน ผมยอมขายขาดทุนทิ้งทันที ถึงจะขาดทุนตัวเงิน แต่ผมได้กำไรทางใจก็เพียงพอแล้วครับ

สำหรับที่คุณเด็กใหม่ฯ ได้รับคำแนะนำเรื่องอย่าส่งจิตออกนอก ความหมายคืออย่าส่งจิตออกนอกธรรมครับ ธรรมในที่นี้เยี่ยมยอดที่สุด คือ พระไตรลักษณ์ ให้ระลึกเสมอว่า การที่คุณเด็กใหม่ต้องติดตาม ต้องค้นคว้า ต้องคิดกลยุทธ์ ต้องหมั่นทบทวน และต้องปรับแต่งการลงทุน มันมีอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตาเกิดขึ้นทุกขณะจิตก็เท่านั้นเอง เป็นการลับปัญญาเพื่อไว้ต่อกรกับมิจฉาทิฐิของตน หรือที่ฝรั่งเรียกว่า ego นั่นเอง ให้รู้เรื่องหุ้น คือรู้เรื่องกิจการ พื้นฐาน จริยธรรมผู้บริหารแบบนักลงทุน VI มิใช่รู้ว่าเจ้าปั่นเมื่อไร หลอกรายย่อยใครบ้าง แล้วเราจะขอมีส่วนร่วมเรื่องนี้ได้อย่างไร

คนพุทธเรา รู้จักทุกข์ แต่น้อยคนรู้จัก กิเลส ตัณหา และน้อยลงไปอีกที่รู้จักทางดับทุกข์ และยิ่งน้อยลงไปอีกที่จะรู้จักหรือสนใจข้อปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ และแทบไม่มีเลยที่จะเข้าใจธรรมทั้ง 4 ประการรวดเดียว
แต่เมื่อเราเข้าใจด้วยจิตอย่างไม่แทรกแซง(ไม่มีอคติ) มีศรัทธาต่อพระรัตนตรัยแล้ว ความเป็นอริยบุคคลก็จะเกิดขึ้นกับทุกคนครับ ดังที่ผมมี motto ข้างล่างไว้ครับ
สติปัฎฐาน 4
กาย เวทนา จิต ธรรม
ภาพประจำตัวสมาชิก
tum_H
Verified User
โพสต์: 1857
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI สายธรรมะ แนวพุทธปัญญา

โพสต์ที่ 63

โพสต์

เด็กใหม่ไฟแรง เขียน: ทำให้ทุกวันนี้ ผมยังมีความเชื่ออยู่ตลอดว่า การลงทุนในหุ้น เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติธรรม โดยเฉพาะหากต้องการก้าวหน้าเพื่อความหลุดพ้น
ผมก็เคยมีความคิดอย่างนี้เหมือนกันครับ ในวันที่วุ่นวายในชีวิตการทำงาน ทำให้เราอยากละวาง
ทุกอย่าง เพื่อแสวงหาทางสว่างแห่งความหลุดพ้น

การลงทุนสำหรับผม เป็นเหมือนสารอาหาร ที่คอยหล่อเลี้ยงชีวิต ให้สามารถดำรงอยู่ได้
ซึ่งเป็นไปตามหลักธรรมชาติของมนุษย์ ที่ต้องอาศัยปัจจัยเหล่านี้
การเข้าถึงพระนิพพานก็ต้องอาศัยกิเลสเป็นตัวพา จนกว่าเราจะถึงจุดหมาย จึงจะสามารถละวางได้เช่นกัน

มองย้อนกลับมาที่การลงทุน กับ การปฏิบัติธรรม หลายคนอาจจะก้าวข้ามเป้าหมายของการลงทุน
ไปแล้ว ซึ่งนั่นก็หมายความว่าเป้าหมายในทางโลกได้บรรลุผล ซึ่งก็เหลือแค่เพียงเป้าหมายในทางธรรม
ที่ต้องเร่งบำเพ็ญเพียร

สำหรับคุณเด็กใหม่ไฟแรง เป้าหมายทางโลก ผมเชื่อว่าคงสำเร็จไปนานแล้ว คงเหลือเพียงเป้าหมายสูงสุด
ในชีวิตของความเป็นมนุษย์ คือความหลุดพ้นนั่นเอง

ตอนนี้คงเหลือแค่ขั้นตอนการวางรูปแบบการลงทุน เพื่อให้เกิดการละวางของจิต จากภาวะที่เป็นอยู่ใน
ปัจจุบัน โดยอาจมองการลงทุนเป็นแค่อาหาร 3 มื้อ กินพออิ่ม เหลือก็แบ่งปันให้ผู้อื่นได้มีโอกาสเห็นธรรม
เช่นเดียวกับคุณเด็กใหม่ไฟแรง โดยใช้หลักการ"กินแค่พออิ่ม ส่วนที่เกินก็แบ่ง" เพื่อให้ทานจากการแบ่ง
นั้น ขัดเกลากิเลส ลดความยึดติด

หากยังยึดหลัก มัชฌิมาปฏิปทา ค่อยๆเป็นค่อยๆไป ผู้ที่บรรลุพระโสดาบัน ขั้นละเอียดเกิดอีกหนึ่งชาติ
ก็บรรลุมรรคผลนิพพาน หรือขณะอยู่บนสวรรค์ ยังคงปฏิบัติต่อเนื่อง ก็ยังสามารถบรรลุธรรมขั้นต่างๆ
จนเข้าสู่กระแสพระนิพพาน ซึ่งก็มีมากมายนับไม่ถ้วนครับ

:D
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
เด็กใหม่ไฟแรง
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 1575
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI สายธรรมะ แนวพุทธปัญญา

โพสต์ที่ 64

โพสต์

บริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ประกอบธุรกิจที่หลากหลายแตกต่างกัน
จำแนกโดยวิธีทางโลก ธุรกิจก็แตกต่างกัน จำแนกโดยวิธีทางธรรม ธุรกิจก็แตกต่างกัน

ในทางโลก มีการแบ่งกลุ่มแบ่งเหล่าของกิจการในตลาดหลักทรัพย์
แบ่งเป็นหมวดหมู่ตามอุตสาหกรรม และนักลงทุนยังมาแบ่งต่อในรายละเอียด
ส่งผลให้กิจการต่างๆ ได้รับการประเมินราคาที่แตกต่างกัน
เช่นในปจจุบัน ค้าปลีก จะได้รับการประเมินราคาที่สูงกว่า รับเหมา หรือ อสังหา เป็นอย่างมาก

ในทางธรรมก็น่าจะเป็นเช่นเดียวกัน
หากนักลงทุนสายธรรมะ จัดหมวดหมู่ของหุ้น ตามแนวความคิดทางธรรม
ก็จะมีหุ้นบางกิจการที่ได้รับการประเมินมูลค่าสูง บางกิจการก็ต่ำ
แตกต่างกันออกไปตามความเชื่อของผู้ประเมินว่ากิจการนั้นๆประกอบธุรกิจที่หนุนหรือขัดต่อทางธรรม
เช่น หุ้นที่เกี่ยวข้องกับการฝืนศีลตามหลักศาสนาพุทธ
เช่นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าสัตว์ ธุรกิจผลิตหรือจำหน่ายเครื่องมีนเมา
หรือในต่างประเทศก็จะมีธุรกิจการพนัน ธุรกิจค้าหรือผลิตอาวุธ หรือแม้แต่ธุรกิจค้ากาม

หลายกิจการลักษณะธุรกิจก็ก้่ำกึ่ง ว่าเดินในแนวทางธรรมหรือไม่
เช่นธุรกิจเกมส์ที่อาจจะเป็นปัญหาครอบครัวหรือสังคม ธุรกิจ entertainment บางอย่าง

ส่วนกิจการที่ได้รับการประเมินสูงทางธรรม มักจะไม่ได้จดทะเบียนโดยตรงในตลาดหลักทรัพย์ เช่น Social Enterprise
ส่วนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ มักจะมองไปที่เจตจำนงค์ของผู้บริหารว่า
มีธรรมาภิบาล และเป้าหมายทางธรรมอย่างไร
เช่น s@p แม้ทำเบเกอรี่และอาหารขาย แต่ผู้บริหารส่งเสริมทางธรรม พนักงานส่วนใหญ่ผ่านหลักสูตรปฏิบัติธรรม
บริษัทผลิตจำหน่ายหนังสือเช่น Aprint Se-ed ทำและขายแต่หนังสือที่ส่งเสริมสังคม ไม่เอาพวกมอมเมา

ในขณะเดียวกันบางธุรกิจ ก็ประเมินทางธรรมได้ยาก
เช่นโรงพยาบาล ซึ่งตามหลักเป็นอาชีพที่ช่วยให้คนพ้นทุกข์
แต่เมื่อเน้นการสร้างกำไรให้ผู้ถือหุ้น เป้าหมายที่ควรก็เริ่มขัดแย้งกับกลยุทธ์ธุรกิจครับ

พวกเราเองเลือกถือหู้นในธุรกิจประเภทไหนและใช้เกณฑ์อะไรเลือกหุ้นครับ
ดู clip รายการ money talk ย้อนหลังได้ที่
http://www.facebook.com/MoneyTalkTV
ภาพประจำตัวสมาชิก
luangrit
Verified User
โพสต์: 376
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI สายธรรมะ แนวพุทธปัญญา

โพสต์ที่ 65

โพสต์

พวกเราเองเลือกถือหู้นในธุรกิจประเภทไหนและใช้เกณฑ์อะไรเลือกหุ้นครับ
ส่วนตัวใช้วิธีเลือกโดยความสบายใจครับ

ถ้าลงทุนในกิจการใดแล้วรู้สึกไม่สบายใจ
เช่น กิจการที่เกี่ยวกับการฆ่าสัตว์ ผมก็จะไม่ลงทุน
แม้จะรู้อยู่ในใจลึกๆแล้วว่า เป็นหุ้นที่มีการเติบโตที่ดีในระยะยาวก็ตาม

เพราะเมื่อเปรียบเทียบกับความทุกข์ ความไม่สบายใจ
ที่เกิดขึ้นภายในจิตใจแล้ว การลงทุนในกิจการแบบนี้
มีแต่จะทำให้เรามีภาระทางใจเพิ่ม

แม้ว่าจะเป็นปาปหรือไม่ตาม แต่ความทุกข์ทางใจนั้นได้ก่อตัวขึ้นมาแล้ว
ดังนั้นเราเลือกที่จะไม่ลงทุนดีกว่า

คิดในใจว่า
"ถ้าไม่เลือกลงทุนในหุ้นตัวนี้ เราอาจจะมีอิสระทางด้านการเงินช้าหน่อย
แต่ก็ยังดีกว่า ไปเบียดเบียนดวงจิตดวงใจของผู้อื่น
ไม่ว่าจะเป็นคนหรือสัตว์ ชั้นวรรณะใดก็ตาม"

ส่วนการถือหุ้นนั้น
ถ้าพ้นจากการเบียดเบียนผู้อื่นแล้ว
ก็จะมองไปที่ธรรมาภิบาลของผู้บริหารเป็นอันดับต้นๆครับ

ส่วนใหญ่ ถ้าผู้บริหารมีธรรมาภิบาลที่ดี
ท่านจะเลือกดูแลทุกๆฝ่ายให้เท่าเทียมกัน
(ซึ่งรายละเอียดปลีกย่อย มันซับซ้อน ดังนั้นไม่ขอพูดถึงนะครับ)
ภาพประจำตัวสมาชิก
tum_H
Verified User
โพสต์: 1857
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI สายธรรมะ แนวพุทธปัญญา

โพสต์ที่ 66

โพสต์

luangrit เขียน:
พวกเราเองเลือกถือหู้นในธุรกิจประเภทไหนและใช้เกณฑ์อะไรเลือกหุ้นครับ
ส่วนตัวใช้วิธีเลือกโดยความสบายใจครับ
เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ เน้นที่ความเบาของใจเป็นหลัก

พระพุทธองค์ตรัสว่า ผู้ที่ไม่ได้รู้เห็น หรือมีเจตนาร่วมซึ่งความเบียดเบียนนั้น ย่อมเป็นผู้ที่มีความไม่เบียดเบียน
เช่นเดียวกับการไปซื้อ เนื้อหมู เนื้อปลา ในตลาดที่เขาฆ่าเสร็จแล้ว เราย่อมไม่มีส่วนในความเบียดเบียนเช่นกัน

การลงทุนก็เหมือนกัน หากเราซื้อหุ้นที่มีการขัดต่อศีล นำมาซึ่งความเศร้าหมองของจิต เราก็สามารถเปลี่ยน
การลงทุนให้ถูกกับจริต ซึ่งขึ้นอยู่กับการพิจารณาของบุคคลแต่ละบุคคล

เพราะหากมีศีล ย่อมนำมาซึ่งความไม่เบียดเบียน เมื่อมีศีลบริบรูณ์ จิตย่อมผ่องใส เหมือนดังพระโสดาบัน ผู้ซึ่ง
กล่าวได้ว่าเป็นผู้ทรงศีล 5 บริสุทธิ์ นำมาซึ่งการไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เจริญสมาธิก็ง่าย เพราะจิตไม่
เศร้าหมอง เพราะมีความไม่เบียดเบียน

สำหรับผม เน้นการลงทุนที่ให้ความสบายใจเป็นหลัก เพราะเงินที่ผ่านตลาดหลักทรัพย์ ย่อมเป็นเงินที่ถูกต้อง
ตามกฏหมาย แน่นอนว่า ที่มาของเงินนั้นเราไม่อาจทราบได้ว่ามาจากไหน ซึ่งก็จะเข้าหลัก การไม่เบียดเบียน
แต่หากรู้ก็จงหยุด และเปลี่ยน เพื่อไม่ให้เกิดการเบียดเบียนทั้งตัวเองและผู้อื่น

:idea:
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
ภาพประจำตัวสมาชิก
tum_H
Verified User
โพสต์: 1857
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI สายธรรมะ แนวพุทธปัญญา

โพสต์ที่ 67

โพสต์

ไม่ทราบว่าเพื่อนๆ มีวิธีการฝึกสมาธิกันอย่างไรบ้างครับ
อยากทราบวิธีการที่ถูกกับจริตของแต่ละบุคคลครับ

สำหรับผม เพิ่งมาเริ่มตั้งไข่เมื่อปีนี้เอง แต่ก็สะสมบุญอย่างจริงจัง
ในการทำทานมาตั้งแต่ปีที่แล้ว (เน้นการพิมพ์หนังสือธรรมะ)

ตอนเด็กๆ ชอบไปวัดทำบุญกับคุณยายมาก ไปไม่ได้ขาด หยุดโรงเรียน
เมื่อไหร่หรือมีโอกาส ก็จะเข้าวัดทันที แต่สมัยนั้นยังไม่ค่อยรู้เรื่องรู้ราวเท่าไหร่
มีแต่ใจใฝ่ทาน ได้ยินแต่เขาเล่าว่า จะได้ไปสวรรค์ จะได้เกิดมาไม่มีทุกข์บ้าง
เลยรู้สึกกลัวต่อการทำบาป เลยเข้าวัดมาตั้งแต่สมัยเด็ก

พอโตขึ้นมากหน่อย สมัยมัธยม เข้าสู่ช่วงวัยรุ่น เลยห่างหายไป เพราะติดเล่น
ติดโน่นติดนี่ ยิ่งสมัยเรียนมหาลัย ไม่ต้องพูดถึง จนเข้าสู่วัยทำงาน มาเกือบ 9 ปี
ปีที่ 8 ถึงได้รู้สึกว่าเราพลาดสิ่งสำคัญ ที่เคยทำตอนเด็กมา

จำได้แม่นเลย เมื่อปีที่แล้วต้นปี ไปวัดบวรนิเวศ จุดประสงค์ที่ไปเพราะอยากได้
พระเครื่องของสมเด็จพระสังฆราช มาสักการะบูชา เพราะพระองค์ประทานรุ่นที่
เคยสร้างเอาไว้เมื่อ 10 ปีที่แล้วลงมาให้กับผู้ที่ร่วมทำบุญสร้างวิหาร เลยได้โอกาส
และถือเอาเวลานั้น ไปถ่ายรูปด้วย(ชอบถ่ายรูป สถานที่ต่างๆครับ)

เลยร่วมทำบุญไปประมาณ 5,000 พอดีเห็นที่โต๊ะมีหนังสือธรรมะแจก เลยขอกับ
กรรมการวัดมา 1 เล่มกับ CD ธรรมะ(ปรกติเป็นคนชอบอ่านหนังสือ) กะเอาไว้ว่า
จะเอากลับมาอ่านที่ห้อง ระหว่างขากลับเลยถือโอกาสเปิดฟัง เรื่อง วิธีการสร้างบุญบารมี
ทำให้รู้สึกว่าจิตใจสงบและได้รู้ข้อธรรม จนทำให้เข้าใจเรื่องอานิสงค์ของการทำทาน
ในแบบที่ไม่เคยรู้มาก่อน
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
ภาพประจำตัวสมาชิก
tum_H
Verified User
โพสต์: 1857
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI สายธรรมะ แนวพุทธปัญญา

โพสต์ที่ 68

โพสต์

วิธีการสร้างบุญบารมี นั้นเริ่มต้นจากหลักง่ายๆ ไปจนถึงการลงมือปฎิบัติ
ซึ่งประกอบไปด้วย การให้ทาน การรักษาศีล และการเจริญปัญญา(ภาวนา)

ทาน คือการให้ด้วยจิตที่บริสุทธิ์ จะถึงพร้อมได้ก็ต่อเมื่อต้องให้ครบทั้ง
ก่อนจะให้ ขณะที่ให้ และหลังจากให้ พูดง่ายๆคือต้องครบ 3 ให้กุศลจะแรงมาก
ผมอ่านหนังสือไปสะดุด ตรงเรื่องการถวายทานพระพุทธเจ้า 100 ครั้ง ก็ยังไม่เท่ากับ
การสร้างวิหารทาน การสร้างวิหารทาน 100 ครั้ง ก็ยังไม่เท่ากับการให้ธรรมทาน
การให้ธรรมทาน 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการให้อภัยทานแค่ครั้งเดียว

การรักษาศีล 5 แค่เพียงครั้งเดียว มีอานิสงค์มากกว่าการให้ทานทั้งปวง ตรงจุดนี้
หลังจากที่ผมอ่านหนังสือทำให้รู้สึกขนลุกซู่ เพราะเพิ่งจะรู้ว่าอานิสงค์ของการรักษา
ศีล 5 ข้อ เพียงครั้งเดียว ได้บุญมากกว่าการถวายทานให้กับพระพุทธเจ้าเสียอีก
(หลวงพ่อฤาษีลิงดำ สอนว่า การรักษาศีลสามารถกำหนดเป็นช่วงเวลาได้ เพื่อจะได้สะดวก
ต่อการปฏิบัติ จากวันละชั่วโมงครั้งแรก เพิ่มเป็นวัน เดือน ปี และตลอดชีวิตได้เพราะทำสม่ำเสมอจน
กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต)

ผมเนี่ยหูตามืดบอดมานาน เข้าวัดเสียมาก(เมื่อตอนเด็ก) เพิ่งจะมาถึงบางอ้อเมื่อปีที่แล้วนั่นเอง
(หลายท่านคงจะรู้อานิสงค์กันมาบ้าง) เลยทำให้เกิดความรู้สึกว่า การทำบุญให้ได้
อานิสงค์มากๆ ไม่ต้องไปไหนไกลเลย เริ่มจากตัวเรานั่นเอง การไม่เบียดเบียนตน
ย่อมนำมาซึ่ง การไม่เบียดเบียนผู้อื่น

มิน่าภาษาบาลีเวลาท่านเทศ ท่านถึงกล่าวว่า

สีเลนะ โภคะสัมปะทา
สีเลนะ สุคติง ยันติ
สีเลนะ นิพพุติง ยันติ

ศีลนำมาซึ่งทรัพย์อันบริสุทธิ์
ศีลนำมาซึ่งความสุข
ศีลนำไปสู่ความหลุดพ้นนั้นแล

ก็เคยสงสัยว่าบาลีเหล่านี้เวลาพระท่านให้พรแปลว่าอะไร แต่ไม่เคยไปคนคว้าเลย
พอได้หนังสือเล่มนี้มา หูตาดูเหมือนจะสว่าง รีบไปค้นหาข้อมูลใน google เกี่ยว
กับธรรมะข้อต่างๆที่อยากรู้

ถึงได้รู้ว่าการรักษาศีลนั้นประเสริฐเพียงใด

:idea:
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
ภาพประจำตัวสมาชิก
tum_H
Verified User
โพสต์: 1857
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI สายธรรมะ แนวพุทธปัญญา

โพสต์ที่ 69

โพสต์

ต่อครับ (โทดที ก่อนจะเข้าเรื่องสมาธิ ขอเกริ่นนำหน่อย)

การให้ทาน ย่อมนำมาซึ่งความมั่งมี ผูลผล ไม่อดอยาก
การรักษาศีล ย่อมทำให้บุคคลนั้นๆ มีความสมบรูณ์ของร่างกายครบถ้วน สวยงาม เป็นที่รักใคร่

การรักษาศีล 227 ข้ออย่างบริบรูณ์ ยังได้บุญน้อยกว่า "การทำสมาธิ" ให้จิตใจสงบ
เพียงชั่วไก่กระพือปีก ช้างกระดิกหู ตรงนี้แหละครับเป็นไฮไลต์ของหนังสือเล่มนี้

เพราะการให้ทานและถือศีล ยังเป็นเพียงแค่ การรักษากาย วาจา ให้ผ่องแผ้ว แต่ไม่ใช่
การขัดเกลาจิต หรือ การจัดการกิเลส ซึ่งเป็นหัวใจหลักของพุทธศาสนานั่นเอง

ท่านว่าเส้นผมบังภูเขา เป็นอย่างนี้นี่เอง การสร้างมหากุศลให้กับตนเองและผู้อื่น ทำได้
ง่ายๆโดยที่ไม่ต้องลงทุนอะไรมากมายเลย อยู่ใกล้แค่เอื้อมคือตัวเรานั่นเอง

หนังสือเล่มนี้ จึงจุดประกายความรู้ที่คร่ำครึ่ของผมที่ฝังมานาน ให้ตื้นขึ้นจนพอที่จะใช้
มือดันตัวเองให้ขึ้นจากหลุมมาได้(ที่กล่าวมาทั้งหมด ผมยังไม่บรรลุธรรมขั้นไหนเลยนะครับ)
ทำให้มองย้อนกลับไปในห้วงอดีตที่ผ่านมา ว่าเราชั่งปล่อยเวลาให้สูญเปล่าไปอย่างน่าเสียดายจริงๆ
(แต่พอลองมาฝึกจริงๆ ถึงได้รู้ว่าทำไมถึงได้บุญมาก เพราะยากจริงๆ ณ เวลานี้ก็ยังลุ่มๆดอนๆอยู่)

สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ปัจจุบัน เป็นผู้ที่มีสายพระเนตรแหลมคมจริงๆ พระองค์ทรงนิพนธ์
หนังสือเล่มนี้ได้อย่างหมดจดจริงๆครับ
(พอลองไปหาข้อมูลที่ google ดู ก็ถึงบางอ้อ เพราะพระองค์เป็นผู้ที่สนใจในวิปัสสนาเป็นอย่างมาก
มีอยู่คราวหนึ่ง ที่เสด็จไปเจริญกรรมฐานร่วมกับหลวงตามหาบัว ที่วัดป่าบ้านตาด เมื่อครั้งที่ยังไม่ได้
เป็นสมเด็จพระสังฆราช เมื่อหลายสิบปีที่แล้ว)

จึงเป็นหนังสือที่จุดประกาย ให้ผมเริ่มรู้สึกตัวว่า ขืนรอช้าต่อไปก็จะเสียโอกาสดีๆไปเปล่าๆ
โอกาสที่ได้เกิดในแผ่นดินไทย โอกาสที่ได้อยู่ใต้ร่มพระบารมีขององค์พระโพธิสัตย์ โอกาสที่ได้
เจอพุทธศาสนา โอกาสที่มีพระอรหันต์มากมายในแผ่นดินสอนอรรถสอนธรรม ชี้ทางแห่งความหลุดพ้น
จากวัฎฏสงสาร ให้กับเหล่าสัตว์โลกทั้งหลายได้เห็นทางสว่าง ได้เกิดมาในยุคสมัยนี้ทั้งที ไม่เสียชาติเกิด
จริงๆครับ

หลังจากนั้นก็เลยเริ่มทำทาน ให้มากขึ้นตามกำลังทรัพย์ ทำด้วยจิตที่มีสุข ทำด้วยจิตที่อยากทำ
ทำด้วยจิตที่อยากให้ ทำด้วยการไม่เบียดเบียน เมื่อมองย้อนกลับไป รู้สึกเสียดายโอกาสดีๆหลายครั้ง
เช่น หลวงตามหาบัว ท่านเทศน์สั่งสอนมาตั้งนาน ก็ยังไม่เคยได้ทำบุญกับท่าน หลวงพ่อหลายๆท่าน
ที่ขณะท่านยังดำรงธาตุขันธ์ แต่เราก็ยังตามือบอด จนตามาสว่างจ้า หลังจากท่านละขันธ์ไปแล้วนั่นเอง

การแชร์วิธีการฝึกสมาธิขอแชร์วันหลังนะครับ วันนี้ขออาบน้ำ นั่งสมาธิเสียหน่อย
ท่านใดมีข้อธรรมดีจากการปฏิบัติ ช่วยแนะนำด้วยนะครับ

การให้ธรรมะเป็นทาน แม้แต่เพียงชี้แนะให้ผู้อื่นเข้าใจเพียงครั้งเดียว ได้มหานิสงค์เหลือประมาณ


:pray:
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
ภาพประจำตัวสมาชิก
luangrit
Verified User
โพสต์: 376
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI สายธรรมะ แนวพุทธปัญญา

โพสต์ที่ 70

โพสต์

tum_H เขียน:ไม่ทราบว่าเพื่อนๆ มีวิธีการฝึกสมาธิกันอย่างไรบ้างครับ
อยากทราบวิธีการที่ถูกกับจริตของแต่ละบุคคลครับ
สำหรับผมใช้วิธีตามรู้ขันธ์ ๕ ครับ

แต่ในขณะที่ตามรู้นั้นก็ไม่ได้เจาะจงว่า
สภาวะที่เกิดขึ้นคืออะไร มีชื่อว่าอะไร

เพียงแค่รู้แล้วก็วาง
รู้แล้วปล่อย ไม่เพิ่ม ไม่ปรุง ไม่ตาม

ก็จะมีบางช่วงที่กำลังของสตินั้นอ่อนลง
จนรู้ตัวว่าเรานั้นหลงไปแล้ว
(โดยส่วนใหญ่จะเป็นการหลงไปในทางความคิด)
ก็จะใช้วิธีเจริญสมถะกรรมฐานง่ายๆเช่น ตามรู้ลมหายใจเข้าออก

นั่งไปสักพักเมื่อรู้ว่าพอมีกำลังของสติแล้ว
ก็จะกลับไปรู้รูปนาม ขันธ์ ๕ ตามเดิมครับ
Pekko
Verified User
โพสต์: 671
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI สายธรรมะ แนวพุทธปัญญา

โพสต์ที่ 71

โพสต์

พระพุทธองค์ทรงแบ่งจริตของบุคคลไว้ 6 ประเภท มีกรรมฐาน 40 กอง ซึ่งบุคคลแต่ละคนสามารถใช้มากกว่า 1 กองได้ เช่น บางคนชอบทำบุญ ก็ให้ระลึกถึง เทวดา/จาคานุสติ หรือบางคนรักษาศีล ก็ให้นึกถึงกรรมฐานที่มีศีล (ขออภัยครับจำชื่อไม่ได้) แต่ส่วนใหญ่ที่นิยมใช้ คือ อาณาปาณสติ (ลมหายใจ) พุทธา/ธัมมา/สังฆานุสติภาวนา กสิณ 10 และ กายคตานุสติภาวนา

ส่วนผมเลือกใช้ อาณาปาณสติภาวนาเป็นหลักครับ โดยใช้แนวทางของท่านพุทธทาส และสมเด็จพระญาณสังวร (สมเด็จพระสังฆราช) คือ หนังสือคู่มืออาณาปาณสติ 16 ขั้น และหนังสือหายใจให้เป็นสุขครับ ส่วนกรรมฐานกองอื่นก็เอามาใช้ประกอบด้วยเอาไว้แก้วิตก วิจาร เช่น พุทโธ(เน้นการบริกรรมให้จิตสงบ) กายคตา อสุภะ(เน้นทางด้านปัญญา)
สำหรับหนังสือที่คุณ tum_H เป็นหนังสือที่ดีมาก เหมาะแก่การจุดประกายให้คนมาประพฤติปฏิบัติ ทั้งทาน ศีล ภาวนาไม่ว่าเริ่มจุดไหนก่อนย่อมทำให้จุดที่เหลือสมบูรณ์และเจริญยิ่งๆ ขึ้น จนกว่าจะหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวงครับ

ผมเองก็เสียเวลามาอย่างไร้ค่ามา 10 ปี(ทำแต่งานอย่างเดียว) แต่ตั้งแต่ปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง 2-3 ปีที่ผ่านมา เป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดในชีวิต ถ้าวันนี้จะต้องตายก็ไม่เสียดายชีวิตแล้วครับ
สติปัฎฐาน 4
กาย เวทนา จิต ธรรม
ภาพประจำตัวสมาชิก
tum_H
Verified User
โพสต์: 1857
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI สายธรรมะ แนวพุทธปัญญา

โพสต์ที่ 72

โพสต์

Pekko เขียน:ผมเองก็เสียเวลามาอย่างไร้ค่ามา 10 ปี(ทำแต่งานอย่างเดียว) แต่ตั้งแต่ปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง 2-3 ปีที่ผ่านมา เป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดในชีวิต ถ้าวันนี้จะต้องตายก็ไม่เสียดายชีวิตแล้วครับ
ปฎิบัติมา 2-3 ปีนี่จิตคงสงบและนิ่งมากเลยนะครับ ขนาดผม 2-3 เดือนแบบลุ่มๆดอนๆ ยังสัมผัสถึงความ
สงบสุข อย่างน่าอัศจรรย์ (หมายถึงตอนที่จิตเป็นสมาธิ แต่ถ้าอยู่ในภาวะวุ่นวายใจ ก็ไม่ค่อยอยากนั่งเท่าไหร่)
มิน่าจึงมีคนกล่าวว่า หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง หลังฉันจังหันเสร็จ จะจะรีบขึ้นกุฏิและล็อคประตูแล้วนั่ง
สมาธิอย่างเดียว แต่การควบคุมสภาวะจิตให้จดจ่อ ก็ยากเอาการ คงต้องใช้เวลาพอสมควรสำหรับผม

แต่เมื่อนึกถึงตอนที่นั่งแล้วจิตสงบ ทำให้เกิดกิเลสอยากได้แบบนั้นอีก ครั้งหนึ่ง ท่านพ่อลี วัดอโศการาม
เคยใช้วิธีฝึกท่านสมเด็จวัดแห่งหนึ่ง เนื่องจากท่านมีความไม่เข้าใจเกี่ยวกับวัดป่า พระป่า มัวหมกมุ่นอยู่
กับการปฏิบัติ แต่ท่านเจ้าประคุณท่านนี้เป็นผู้ที่มีคุณธรรมสูง ท่านพ่อลีเลยอยากให้ท่านได้เข้าใจสมาธิ
เสียใหม่ โดยการเพ่งกสินร้อน กสินเย็น ไปที่เจ้าคุณท่านนั้น ท่านจึงมีอาการเดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาว แต่
เมื่อเรียกท่านพ่อลี ไปอยู่ใกล้ๆอาการก็หายไปอย่างสิ้นเชิง
เนื่องจากท่านเป็นผู้มีไหวพริบปัญญา จึงรู้ว่าเกิดจากท่านพ่อลีแน่ๆ ท่านจึงให้ท่านพ่อลีสอนกรรมฐานให้
หลังจากที่ท่านได้ฝึก ถึงกับออกปากว่า เพิ่งรู้ว่าสมาธินี้ดีจริงๆ เมื่อพบหน้าท่านพระอจารย์มั่น ท่านยังออกปาก
ขอโทษ เมื่อครั้นเคยไล่ให้ออกจากป่ามาอยู่ในเมือง

ประโยชน์ของสมาธินั้นมีมาก ผมเองก็พยามยามฝึกอย่างค่อยเป็นค่อยไป หาเวลาที่จิตสงบฝึก
สะสมไปทีละเล็กละน้อย ก่อนที่จะค่อยๆดัดให้เป็นนิสัย
:D
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
ภาพประจำตัวสมาชิก
tum_H
Verified User
โพสต์: 1857
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI สายธรรมะ แนวพุทธปัญญา

โพสต์ที่ 73

โพสต์

luangrit เขียน:สำหรับผมใช้วิธีตามรู้ขันธ์ ๕ ครับ
สอบถามหน่อยครับ
เวลาภาวนา ใช้จิตให้ไปจ่ออยู่กับ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญาณเลยหรือเปล่าครับ
หรือว่าให้จิตสงบก่อน โดยใช้หลักอานาปานสติ หลังจากนั้นค่อยพิจารณา ขันธ์ 5


:?:
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
ภาพประจำตัวสมาชิก
luangrit
Verified User
โพสต์: 376
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI สายธรรมะ แนวพุทธปัญญา

โพสต์ที่ 74

โพสต์

tum_H เขียน:
luangrit เขียน:สำหรับผมใช้วิธีตามรู้ขันธ์ ๕ ครับ
สอบถามหน่อยครับ
เวลาภาวนา ใช้จิตให้ไปจ่ออยู่กับ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญาณเลยหรือเปล่าครับ
หรือว่าให้จิตสงบก่อน โดยใช้หลักอานาปานสติ หลังจากนั้นค่อยพิจารณา ขันธ์ 5


:?:
เบื้องต้นก็เริ่มจากสมถะกรรมฐานครับ
ส่วนใหญ่ใช้ดูลมหายใจเข้าออก
และการเดินจงกลม

หลังจากนั้นดูที่ขันธ์ ๕ เลยครับ
แต่ไม่ได้ใช้จิตจ่อ หรือเพ่งนะครับ
รู้ตามเท่าที่มันเกิด
อะไรเกิดก็รู้

ถ้าสติมันเริ่มอ่อนกำลัง
เช่นหลงไปในความคิดนานๆ
ก็จะกลับมารู้ลมหายใจครับ
เพื่อที่จะให้สติมีกำลัง
ก่อนที่จะเข้าไปตามรู้รูปนามใหม่(ขันธ์ ๕)อีกครั้ง

โดยปกติจะรู้นะครับว่าจิตสงบหรือไม่สงบ
จิตสงบก็รู้
ไม่สงบก็รู้
พอรู้ไปเรื่อยๆ มันก็สงบ
พอสงบสักพัก มันก็ถอน

คล้ายๆว่ามันจะบังคับไม่ได้ครับ
สำหรับความรู้สึกอย่างนี้
เด็กใหม่ไฟแรง
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 1575
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI สายธรรมะ แนวพุทธปัญญา

โพสต์ที่ 75

โพสต์

ผมตามอ่านอยู่นะครับ
ดู clip รายการ money talk ย้อนหลังได้ที่
http://www.facebook.com/MoneyTalkTV
ภาพประจำตัวสมาชิก
tum_H
Verified User
โพสต์: 1857
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI สายธรรมะ แนวพุทธปัญญา

โพสต์ที่ 76

โพสต์

luangrit เขียน: เบื้องต้นก็เริ่มจากสมถะกรรมฐานครับ
ส่วนใหญ่ใช้ดูลมหายใจเข้าออก
และการเดินจงกลม
ขอบคุณมากครับ

ผมก็ใช้วิธีนี้เหมือนกันครับ เพราะกำลังประคองให้จิตมีสมาธิ
แต่ยังไม่ได้ค่อยพิจารณาเท่าไหร่ กำลังฝึกให้จิตมีกำลัง
จดจ่ออยู่กับลม ออกจากลมก็ใช้สังฆานุสสติ สงบก็จ่อลมใหม่
ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนลมเริ่มเบา


:D
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
ภาพประจำตัวสมาชิก
tum_H
Verified User
โพสต์: 1857
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI สายธรรมะ แนวพุทธปัญญา

โพสต์ที่ 77

โพสต์

ต่อจากที่เขียนไว้เมื่อวานครับ

เมื่อรู้จักการให้ทาน พร้อมการรักษาศีล(ข้อสี่ยากสุดสำหรับผม) จนถึงขึ้นสูงสุด
คือการเจริญปัญญา(ภาวนา) จิตเริ่มพบกับความสว่าง ถึงแม้จะเป็นเพียงแค่จุด
เริ่มต้น แต่ก็ทำให้มีพลังใจอย่างน่าประหลาด

เริ่มรู้จักการปล่อยวาง ไม่ยึดมั่นถือมั่น เมื่อมีอารมณ์โมโห เครียด ก็จะเป็นแค่สักพัก
เพราะจิตจะเตือนให้รู้ ว่าไม่มีประโยชน์อันใดที่ต้องไปจดจ่อกับเรื่องที่ไม่มีแก่นสารประเภทนั้น
และทุกครั้งที่มีสิ่งเร้ามากระทบ ก็จะรู้สึกติ๊ดทุกครั้งก่อนที่จะละวางได้(ยังแก้ไม่ได้)

พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า ไม่ต้องไปว่าคนอื่นอย่างนั้นอย่างนี้ เพราะคนที่สมควรถูกตำหนิ
มากที่สุดก็คือตัวเรานั่นเอง คนที่เอาแต่ตำหนิคนอื่น ย่อมเป็นผู้ที่เลวกว่าผู้ที่ถูกตำหนิฉันนั้น

ซึ่งเป็นสื่งที่ผมค้านไม่ได้เลย เพราะเกิดขึ้นกับตัวเองบ่อยๆ เวลาเห็นคนอื่นทำอย่างนั้นอย่างนี้
เราก็มักนึกในใจว่า ทำไมเขาทำอย่างนั้น แต่เมื่อนำกลับมาพิจารณา เราจะทราบได้เลยว่า
เราก็เคยทำอย่างเขามาเหมือนกัน ซึ่งน่าละอายที่ไปว่าคนอื่นแม้แต่เพียงในใจตน

หลังจากนั้นเป็นต้นมาก็เริ่มศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม เกี่ยวกับธรรมะของท่านพระอาจารย์วัด
ต่างๆ ที่เป็นศิษย์สำนักของพระพุทธเจ้า ซึ่งทำให้พบว่าพระอาจารย์ท่านต่างๆ มีรูปแบบการ
ฝึกที่แตกต่างไปตามจริตของตน แต่ทุกท่านก็ยึดหลักคำสอนขององค์พระชินนสีห์ ได้
อย่างครบถ้วนน่าเลื่อมใส

หลายท่านออกไปแนวอภินิหาร จนยากที่จะเชื่อ แต่พระพุทธองค์ก็ทรงแนะนำว่า ให้เราใช้หลัก
กาลามาสูตร ในการพิจารณาตามเหตุและผล ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องยากมากนักหากเรายึดตามหลักที่
พระองค์ทรงแนะนำไว้ อย่างพระอาจารย์มีชื่อทั้งหลาย หากเราไปอ่านหนังสือธรรมะที่ท่านแต่ง
หรือฟังคำบรรยาย ก็จะพบว่าไม่มีคำไหนที่ผิดเพี้ยนไปจากหลักคำสอนของสมเด็จพระจอมไตร
มีแต่คำสรรเสริญเชิดชู องค์พระบรมครู ที่ทรงมีพระเมตตาชี้ทางหลุดพ้น ให้แก่เหล่ามนุษย์ทั้งหลาย

ซึ่งพระสงฆ์สาวกเหล่านั้น สมควรอย่างยิ่งแก่การนำมาเป็นแบบอย่างในปัจจุบันในเรื่องความ
กตัญญูกตเวที ซึ่งในสังคมเรานับวันจะหายากยิ่ง

ผมเองก็ได้มีโอกาสไปนมัสการวัดวาอาราม สถานที่ต่างๆนับจากนั้นมา ซึ่งเป็นอีกทางหนึ่งที่
จะทำให้จิตของเราน้อมนำไปสู่กุศล เป็นการเกลากิเลสในเบื้องต้นได้ดีสำหรับผมครับ และอีก
สิ่งหนึ่งที่ได้จากการตะเวนไปตามวัดวาอารามต่างๆหรือหาข้อมูลเกร็ดธรรมะ ผ่านทาง internet
ก็คือ ความรู้ที่พอกพูนขึ้นเรื่อยๆ จากการได้เรียนรู้ปฎิปทา ของพ่อแม่ครูอาจารย์ และหาวิธีที่เหมาะสม
กับจริตของตน (ท่านแนะนำให้ปฏิบัติเลย ไม่ต้องศึกษาอะไรให้มากจนเกินพอดี แต่สำหรับผมถือ
โอกาสเกลากิเลสที่หนาทึบไปในตัวครับ)

:pray:
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
Pekko
Verified User
โพสต์: 671
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI สายธรรมะ แนวพุทธปัญญา

โพสต์ที่ 78

โพสต์

tum_H เขียน:
luangrit เขียน: เบื้องต้นก็เริ่มจากสมถะกรรมฐานครับ
ส่วนใหญ่ใช้ดูลมหายใจเข้าออก
และการเดินจงกรม
ขอบคุณมากครับ

ผมก็ใช้วิธีนี้เหมือนกันครับ เพราะกำลังประคองให้จิตมีสมาธิ
แต่ยังไม่ได้ค่อยพิจารณาเท่าไหร่ กำลังฝึกให้จิตมีกำลัง
จดจ่ออยู่กับลม ออกจากลมก็ใช้สังฆานุสสติ สงบก็จ่อลมใหม่
ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนลมเริ่มเบา
:D
สำหรับผู้ปฏิบัติใหม่ๆ ต้องถามตัวเองก่อนว่ามาปฏิบัติทำไม ถ้าช่วงนั้นมีความทุกข์มาก ไม่ควรนั่งสมาธิใดๆ ทั้งสิ้น (เว้นแต่มีพระอาจารย์ที่เข้าใจ) ควรกำหนดรู้ในเรื่องรูปนามไปก่อน
ช่วง 1-2 เดือนแรก ก็มีล้มลุกคลุกคลานบ้าง เป็นเรื่องปกติ จิตยินดีในความสงบที่คุณ tum_H ต้องการนั้น เป็นปกติครับ เพราะจิต(เรา)ชอบส่งออกนอก ไปยุ่งเรื่องนั้นเรื่องนี้โดยเฉพาะทางกาม เมื่อจิตสงบมันมีความสุขแบบปราณีต มันก็ย้ายจากข้างนอก มาสู่ข้างใน ทำให้จิตมีกำลัง มีความสุขยิ่งกว่าเสพสุขทางโลก (ปีติ และสุข)

เราก็จะใช้ปิติ และสุขนี่เหละเป็นเครื่องล่อจิตก่อน เมื่อจิตติดกับดัก เราก็จะเจริญปัญญา โดยพิจารณาขันธ์ 5 โดยให้เริ่มจากกายก่อน(เพราะง่ายที่สุด) ซึ่งตรงนี้เราสามารถใช้กายคตานุสติกรรมฐาน(การปฏิบัติอย่างง่ายนั้น มีอยู่ในหนังสือของสมเด็จพระสังฆราชที่คุณ tum_H มีนั่นแหละ)มาปฏิบัติพร้อมกันได้ เพราะเราจะปล่อยให้จิตอยู่ในสมาธิ ติดปีติ ติดสุขนานๆนั้นไม่ได้ เพราะจะกลายเป็นมิจฉาสมาธิ (สมาธิที่ไม่เป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์)

สำหรับคำว่า สมถะ หรือวิปัสสนานั้น ด้วยความเคารพฯ ผมโยนทิ้งไปแล้วครับ มัวแต่มาสงสัยว่าอันไหนสมถะ อันไหนวิปัสสนา การปฏิบัติมันก็ไม่คืบหน้า

อาณาปาณสติภาวนานั้น ตามหลักของท่านพุทธทาสถือว่าเป็นสมถะและวิปัสสนาพร้อมกันในตัว ไม่ต้องเสียเวลาทำทีละอย่าง กล่าวคือ เมื่อเราระลึกถึงลมเข้า นั่นคือ วิตก เมื่อระลึกถึงลมออก คือ วิจาร จิตจะเพ่งความสนใจ จึงเรียกว่า สมถะ แต่เมื่อเราพิจารณาว่าลมหายใจเข้า/ออก แต่ละครั้ง ว่าเท่ากันมั้ย เท่ากับก่อนหน้ามั้ย เห็นกายขยับไหม นั่นแหละเราก็จะเห็นตัวอนิจจัง/ทุกขัง/อนัตตา (ตัวหนึ่งตัวใดเด่นชัดก็ได้ ขึ้นอยู่กับจริตแต่ละบุคคล) ว่ามันอยู่ในกาย ในจิต(เรา)นี่แหละ เห็นความขี้โกงของกิเลสและอุปทานในจิต(ตัวกรู/ของกรู) เรียกว่า วิปัสสนา
ดังนั้น การบรรลุนิพพาน จึงมี 3 แบบแยกตามพระไตรลักษณ์ เห็นตัวหนึ่งตัวใดก็พอ แต่ต้องเห็นแบบสัมมาญาณะนะครับ แล้วจะเชื่อมโยงตัวอื่นได้เอง ถ้า CLEAR กิเลสได้หมด คือ สัมมาวิมุต จบกิจพระพุทธศาสนา ดังที่ท่านพุทธกล่าวไว้
หลักสูตรของศาสนาพุทธ คือ สัมมามัตตะ (ทางสายกลาง 8 เส้น + รู้อย่างถูกต้อง + จิตหลุดพ้น)ครับ
สติปัฎฐาน 4
กาย เวทนา จิต ธรรม
ภาพประจำตัวสมาชิก
tum_H
Verified User
โพสต์: 1857
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI สายธรรมะ แนวพุทธปัญญา

โพสต์ที่ 79

โพสต์

ต่อครับ
เป็นเรื่องที่น่าแปลกมาก ที่จิตรู้สึกสงบและปล่อยวางได้ดีขึ้นมาก
คงเป็นเพราะคำสอนของพระพุทธองค์ที่กล่าวว่า

อานันทะ ดูก่อนอานนท์ เธอนึกถึงความตายวันละกี่ครั้ง พระอานนท์กราบทูล ตอบว่า
นึกถึงความตายวันละเจ็ดครั้งพระเจ้าข้า พระองค์ตรัสว่า ยังห่างมากอานนท์ ตถาคตนึกถึง
ความตายทุกลมหายใจเข้าออก

ซึ่งก็เป็นหนึ่งในกรรมฐาน 40 กอง ที่ทรงชี้แนะไว้ เพราะหากเรามองรอบกายเรา เราจะพบ
ได้ว่ามีแต่ความไม่เที่ยงอยู่เต็มไปหมด วันดีคืนดี เพื่อนที่นั่งใกล้ๆ ก็เป็นลมหมดสติ ไปให้
หมอตรวจดูก็กลายเป็นโรคหัวใจซะงั้น ทั้งที่เห็นแข็งแรงอยู่ดีๆ ไม่มีท่าทีว่าจะป่วย หรือ ไม่ก็
คนที่รู้จัก โดนรถชนตาย ไปแบบงงๆ ว่าเกิดขึ้นได้ไง

หันมามองดูตัวเอง ก็เป็นนั่นเป็นนี่อยู่บ่อยๆ สั่งร่างกายให้รักษาตัวเองก็ทำไม่ได้ ต้องถ่อสังขาร
ไปหาหมอ เสียตังค์ไปก็เยอะดันไม่หายอีก วันดีคืนดีก็หายไปเองซะงั้นก็มี วันไหนไม่อาบน้ำล้างหน้า
หน้าตาก็ดูไม่ได้ ทั้งที่เป็นร่างกายของเรา แต่เต็มไปด้วยอะไรก็ไม่รู้ที่ต้องตามแก้เรื่อยไป

เมื่อนึกถึงมรณานุสติ ทุกครั้งรู้สึกว่า การใช้ชีวิตของตนตั้งอยู่ในความไม่ประมาท มีความสุข
อย่างบอกไม่ถูกเพราะไม่ต้องคอยห่วงนั่นห่วงนี่ มีเพื่อนถามว่า เงินที่มีอยู่ไม่ได้ใช้ ตายไปแล้ว
เสียดายไหม ทำไมไม่รีบๆใช้ รีบๆกินรีบๆเที่ยว
สำหรับผมเงินเหล่านี้เป็นเงินสำหรับอนาคต เพื่อใช้ประคองธาตุขันธ์ในวันที่มีอิสระภาพทางการเงิน
และอิสระภาพทางการเงินนั้น ก็จะเป็นทางเบื้องต้นสู่พระนิพพานเช่นกัน จึงตอบได้เต็มปากว่า
ไม่รู้สึกเสียดายเลย หากไม่ได้ใช้เงินเหล่านี้ เพราะชีวิตปัจจุบันใช้มันอย่างเพียงพอ และมีความสุข
ตามอรรถภาพอยู่แล้ว

ยิ่งได้อ่านหนังสือของครูบาอาจารย์หลายๆท่าน ยิ่งทำให้รู้ว่าพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์
ประมาณค่าไม่ได้เลย ยิ่งอ่านมากยิ่งทำให้อยากเร่งความเพียรมากขึ้น(เป็นกิเลสอย่างหนึ่ง)

จึงเป็นอีกเรื่องหนึ่งของการให้ทานของผมคือ การให้ธรรมเป็นทาน เพราะหากได้อ่านหนังสือธรรมะ
ดีๆแล้วอยากจะพิมพ์หรือเผื่อแผ่ให้ผู้อื่นบ้าง อยากให้ทุกท่านได้รับอรรถรสแห่งธรรมที่ผมได้สัมผัสมา
ถึงแม้จะน้อยนิดแต่ก็ทำให้รู้ว่าพระธรรมคำสอนนั้นประเสริฐจริงๆครับ

มีบางครั้งที่แจกหนังสือเสร็จ แอบไปนั่งข้างๆคนที่รับหนังสือเราไป เพราะอยากรู้ความสึกของท่าน
เหล่านั้นว่าตรงกับเราไหม(แอบสังเกตุแต่ไม่ได้ถาม) ก็ได้แต่แอบยิ้มเล็กๆ เพราะนึกว่ามีแค่เราที่
อ่านแล้วไม่วาง บางคนก็ยกมือไหว้แล้วไหว้อีก เพราะดีใจเหลือเกินที่ได้หนังสือเล่มนั้น บางท่าน
เปิดโรงทานอยู่ข้างๆ ก็คะยั้นคะยอ ให้กินอาหาร ของว่างที่นำมาทำทานนั้น เพราะอยากได้บุญร่วม

สุขของการให้ ยิ่งใหญ่จริงๆครับ :D
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
ภาพประจำตัวสมาชิก
tum_H
Verified User
โพสต์: 1857
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI สายธรรมะ แนวพุทธปัญญา

โพสต์ที่ 80

โพสต์

Pekko เขียน: สำหรับคำว่า สมถะ หรือวิปัสสนานั้น ด้วยความเคารพฯ ผมโยนทิ้งไปแล้วครับ มัวแต่มาสงสัยว่าอันไหนสมถะ อันไหนวิปัสสนา การปฏิบัติมันก็ไม่คืบหน้า
ตอนแรกๆผมก็เป็นอย่างนี้เหมือนกันครับ ด้วยความอยากรู้ อยากเห็นว่าเป็นไปตามตำราไหมที่ว่า

ขณิกะ จิตจดจ่อชั่วอารมณ์
อุปจาระ จิตทรงตัวอยู่นาน มีอาการขนลุก น้ำตาไหล เกิดปีติอย่างบอกไม่ถูก
ฌาณ ถึงขั้นที่จิตกับกายแยกกัน ไม่รับรู้เสียงภายนอก ทรงตัวได้ตามต้องการ

ถึงตอนนี้ก็ไม่อยากรู้แล้ว ทำอย่างคุณ Pekko ว่าเน้นความสงบของจิตอย่างเดียว
แค่นี้ก็บรมสุขแล้วครับ ขืนปล่อยจิตออกไปมาก อาการบ้าจะกินครับ รู้อยู่ข้างในดีที่สุด
:idea:
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
Pekko
Verified User
โพสต์: 671
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI สายธรรมะ แนวพุทธปัญญา

โพสต์ที่ 81

โพสต์

โค้ด: เลือกทั้งหมด

ตอนแรกๆผมก็เป็นอย่างนี้เหมือนกันครับ ด้วยความอยากรู้ อยากเห็นว่าเป็นไปตามตำราไหมที่ว่า

ขณิกะ จิตจดจ่อชั่วอารมณ์
อุปจาระ จิตทรงตัวอยู่นาน มีอาการขนลุก น้ำตาไหล เกิดปีติอย่างบอกไม่ถูก
ฌาณ  ถึงขั้นที่จิตกับกายแยกกัน ไม่รับรู้เสียงภายนอก ทรงตัวได้ตามต้องการ 

ถึงตอนนี้ก็ไม่อยากรู้แล้ว ทำอย่างคุณ Pekko ว่าเน้นความสงบของจิตอย่างเดียว
แค่นี้ก็บรมสุขแล้วครับ ขืนปล่อยจิตออกไปมาก อาการบ้าจะกินครับ รู้อยู่ข้างในดีที่สุด
 :idea:

ดีแล้วครับ จิตทุกคนเป็นของสูง แต่เมื่อเกลือกกลั้วกับกิเลส(เพราะรู้ไม่เท่าทัน รู้ไม่ลึก รู้ไม่จริง รู้ไม่หลุดพ้น)จิตก็ตกต่ำลง แต่เมื่อจิตมีความสงบมากขึ้นมันก็กลับมาดีขึ้น ทำให้การปฏิบัติจะถูกจุดมากขึ้น จากที่เคยสงสัยก็จะเฉยๆ จากที่เฉยๆ จะมีความรู้มากขึ้น ค่อยๆ หายสงสัยไปเอง ซึ่งตรงนี้ปัญญาทางธรรมมันก็จะตามมาเอง ไม่ต้องเร่งมากแต่ตองทำทุกวัน เอาแบบพอดีๆ ตามกำลังกายและกำลังใจที่คุณ tum_H มี ณ ขณะนั้นๆ

ส่วนเรื่อง ขณิกะ อุปจาระ อัปปนา(ฌาน) นั้นอย่าไปใส่ใจมากนัก ท่านหลวงปู่ดูลย์ อตุโลกล่าวสั้นๆ ว่า เมื่อจิตเข้าสู่สมาธิ จิต(เรา)มันไม่มัวมานั่งนับหรอกว่าเข้าสู่ขณิกะ หรือฌานไหน ให้จิตสงบพร้อมใช้ปัญญาแทงอริยาญธรรมก็พอแล้ว (ใช้สมาธิเป็นทางผ่านเพื่ออบรมปัญญา)

โดยส่วนตัวผมมีความเห็นว่า ฌานแบบพุทธ กับ ฌานแบบพราหมณ์ต่างกัน เพราะจุดมุ่งหมายต่างกัน ผู้ที่รู้ว่าตนได้ฌานขั้นใด (ต้องรู้เองนะครับ ไม่ใช่ต้องไปถามผู้อื่น ธรรมแต่ละคนไม่เหมือนกัน) ต้องเป็นผู้ปฏิบัติมานานมาก อาจจะมากกว่า 1 ชาติ ผมเองเคยหลงทางจนเกือบเสียสติมาแล้วครับ ผู้ปฏิบัติใหม่พึงระมัดระวังไว้ด้วยครับ

ขอแก้คำผิดครับ อาณาปาณสติ ที่ถูกต้องใช้ อานาปานสติ ตามที่คุณ luangrit เขียนไว้ครับ ขออภัยครับ

อานาปานสติภาวนา 16 ขั้น ก็คือ สติปัฏฐาน 4 หรือนั่นก็คือมรรค 8 ทางสายเอกสายเดียวที่จะนำทุกคนหลุดพ้นจากอุปทานในสิ่งสมมติใดๆ ทั้งปวงครับ
สติปัฎฐาน 4
กาย เวทนา จิต ธรรม
Pekko
Verified User
โพสต์: 671
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI สายธรรมะ แนวพุทธปัญญา

โพสต์ที่ 82

โพสต์

tum_H เขียน:ปฎิบัติมา 2-3 ปีนี่จิตคงสงบและนิ่งมากเลยนะครับ
ไม่เกี่ยวกับเวลาครับ พระธรรม คือ อกาลิโก ให้ผลโดยไม่จำกัดกาล มันขึ้นอยู่กับคุณภาพของการปฏิบัติมากกว่าครับ ผมเองก็ไม่นิ่งสงบตลอดเวลาหรอกครับ ผู้ที่ปฏิบัติสัก 7-15 วัน จิตสงบและนิ่งมากกว่าผมมีมากนะครับ และผมเองไม่ต้องความสงบและนิ่งหรอกครับ (เคยติดมิจฉาสมาธิแทบแย่) ที่ผมต้องการ คือปัญญาครับ เอาปัญญาเพื่อชำแรกกิเลส เพราะสมาธิแค่คุม/ข่มนิวรณ์ได้ชั่วคราว (ยังไม่หลุดพ้น) ที่เขียนมาไม่ได้ดูถูกสมาธินะครับ เพราะถ้าไม่มีสมาธิก็ไปนิพพานไม่ได้เหมือนกัน

หรือคุณ tum_H ทำตามหลวงพ่อฤาษีลิงดำ (วัดท่าซุง) ที่ท่านสอนว่า "เวลาทำงาน ให้สติ/จิตจดจ่องาน เวลาว่างงาน ให้สติ/จิตจดจ่อพระกรรมฐาน (เช่น ลมหายใจ คำบริกรรม กายานุฯ อิริยาบท 4)" ก็ได้ครับ
สติปัฎฐาน 4
กาย เวทนา จิต ธรรม
ภาพประจำตัวสมาชิก
ดำ
Verified User
โพสต์: 4214
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI สายธรรมะ แนวพุทธปัญญา

โพสต์ที่ 83

โพสต์

Pekko เขียน:กล่าวคือ เมื่อเราระลึกถึงลมเข้า นั่นคือ วิตก เมื่อระลึกถึงลมออก คือ วิจาร จิตจะเพ่งความสนใจ จึงเรียกว่า สมถะ
ช่วยอธิบาย วิตก กับ วิจาร อีกหน่อยได้มั้ยครับ
กราฟที่มองไม่เห็นกับกราฟที่มองเห็น
Pekko
Verified User
โพสต์: 671
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI สายธรรมะ แนวพุทธปัญญา

โพสต์ที่ 84

โพสต์

ดำ เขียน:
Pekko เขียน:กล่าวคือ เมื่อเราระลึกถึงลมเข้า นั่นคือ วิตก เมื่อระลึกถึงลมออก คือ วิจาร จิตจะเพ่งความสนใจ จึงเรียกว่า สมถะ
ช่วยอธิบาย วิตก กับ วิจาร อีกหน่อยได้มั้ยครับ
วิตก = ตรึก นึก คิด (สติ) วิจาร = ตรอง รู้ตัวทั่วพร้อม (สัมปชัญญะ)
สติปัฎฐาน 4
กาย เวทนา จิต ธรรม
wwwman
Verified User
โพสต์: 333
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI สายธรรมะ แนวพุทธปัญญา

โพสต์ที่ 85

โพสต์

:D ขอบคุณทุกท่านมากครับ "การให้ที่ยิ่งใหญ่ คือการให้ปัญญา" ได้เข้ามาอ่านแล้ว ทำให้ผมมีความศรัทธาในแนวทางของ VI เพิ่มมากขึ้น เพราะเป็นตอกย้ำ เป้าหมายในชีวิตของผมให้ชัดเจนขึ้น ก่อนที่ผมเข้ามารู้จักแนวทาง VI ผมไม่เคยลงทุนมาก่อน
แต่ผมมีความเลื่อมใส ศรัทธาในพระพุุทธศาสนา ผมมีความเชื่อในธรรมะของพระพุทธเจ้าว่าเป็นความจริงและพิสูจน์ด้วยตนเองมาแล้วทั้งเรื่องกฏแห่งกรรม และหลักธรรมที่พระพุทธองค์ได้วางให้ชาวพุทธทุกคน
ทุกวันนี้ผมยังต้องพยายามจัดการ กับความโลภ ความโกรธ ความหลงในตัวเอง ที่มันแสดงมาอยู่เสมอ สติน่าจะเป็นตัวที่ช่วยให้เราระลึกและรู้ทัน ผมยังต้องฝึกสติอีกเยอะคับ เห็นพี่ๆ หลายคนในนี้แล้วเป็นแนวทางที่ดีมากครับ
:D ผมได้ต้นแบบหลาย ๆคนจาก thai VI และรายการ Money Talk ครับ หนึ่งในนั้น คือ อจ.ไพบูลย์ และคุณ Picatos
ที่เคยออกรายการ
ภาพประจำตัวสมาชิก
tum_H
Verified User
โพสต์: 1857
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI สายธรรมะ แนวพุทธปัญญา

โพสต์ที่ 86

โพสต์

ไม่รู้ว่าตอนเด็กๆ ใครเป็นเหมือนผมบ้าง

ผมจำได้ว่าชอบตื่นขึ้นมาตักบาตรตอนเช้า และก่อนตักบาตรก็จะมีคำอธิฐานเป็นประจำๆคือ

"ข้าวขาวเหมือนดอกบัว
ยกขึ้นทูลหัว ตั้งจิตจำนง
ตักบาตรพระสงฆ์ มุ่งตรงพระศรีอาริย์
ขอให้พบดวงแก้ว ขอให้แคล้วงบ่วงมาร
ขอให้ทันพระศรีอาริย์ ในอนาคตกาลเบื้องหน้าโน้นด้วยเทอญ"

สมัยนั้นก็ยังไม่ค่อยรู้ความหมายเท่าไหร่ รู้แต่เพียงว่าเป็นคำอธิฐาน
ขอให้มีความสุขอย่ามีทุกข์ ซึ่งคำว่า "พระศรีอาริย์" ในวัยเด็กของผม
ผมก็ตีความหมายไปว่าพระองค์คือ สมเด็จพระพุทธโคดม พระองค์ปัจจุบัน
ก็ได้แต่สงสัยว่าทำไม ต้องอธิฐานให้ได้พบท่านในอนาคตด้วย เพราะท่านนิพพานไปนานแล้ว

ช่วง 2-3 ปีมานี้ก็สังเกต ครูบาอาจารย์ท่านมักจะกล่าวถึงพระพุทธเจ้าบ่อยๆ อย่างเช่น หลวงตามหาบัว
ท่านเคยพูดว่า พระพุทธเจ้ากี่ล้านพระองค์ ก็สอนธรรม ตรัสรู้ธรรมอันเดียวกัน หลวงพ่อฤาษีลิงดำ ที่วัด
ของท่านก็มีการสร้างพระพุทธรูปของสมเด็จองค์ปฐม เป็นจำนวนมาก ในหนังสือก็มีการกล่าวถึงการ
สร้างบารมีของพระโพธิสัตว์เป็นจำนวนมาก

จึงได้เริ่มศึกษาหาข้อมูล ถึงได้รู้ว่า พระพุทธเจ้า ตรัสรู้ธรรมมาแล้วเป็นจำนวนมาก ไม่ได้มีแค่พระองค์เดียว
ผู้ที่บำเพ็ญเพียร ทานบารมี และปราถนาจะสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าก็สามารถทำได้ แต่ระยะเวลานั้นขึ้นอยู่กับ
การสะสมบาระมีของแต่ละพระองค์ มากน้อยไม่เท่ากัน

1. ปัญญาธิกะ สร้างบารมีน้อย พระวรกายเล็ก
2. สัทธาธิกะ สร้างบารมีปานกลาง
3. วิริยาธิกะ สร้างบารมีนานสุด พระวรกายสูงใหญ่มาก

พระปัญญาธิกะ ใช้ระยะเวลาบำเพ็ญบารมี ๒๐ อสงไขยกับเศษอีก ๑๐๐,​๐๐๐ มหากัปป์ หนึ่ีง อสงไขย เท่ากับ
10 ยกกำลัง 140 อสงไขยเป็นปริมาณหรือจำนวนที่ไม่อาจคำนวณได้ มีอุปมาว่า เท่ากับฝนตกใหญ่อย่างมโหฬาร
ทั้งวันทั้งคืนเป็นเวลานานถึง 3 ปี ไม่ได้ขาดสายเลย จนกระทั่งน้ำฝนท่วมเต็มขอบจักรวาล ซึ่งมีระดับความสูง 84,000 โยชน์

ซึ่งไม่ต้องบอกก็รู้ว่านานแค่ไหน ที่ต้องเวียนว่ายตายเกิด เกิดแล้วเกิดอีก เวียนว่ายอยู่อย่างนั้น กว่าจะตรัสรู้
เป็นพระพุทธเจ้าได้ 1 พระองค์ และพระพุทธเจ้ายังแบ่งเป็น พระปัจเจกพุทธเจ้า กับ สัมมาสัมพุทธะเจ้า ซึ่ง
เป็นลักษณะอุปนิสัยในการสงเคราะห์โลกที่แตกต่างกัน

หลักของพระพุทธศาสนาทำให้เราเห็นว่า โลก ถือกำเนิดมาเป็นเวลานานมาก จนแทบลืมอายุก็ว่าได้
แปรเปลี่ยนไปตามกาลเวลา ไม่ได้แตกสลาย มีแต่มนุษย์ที่เกิดแล้วเกิดอีก เวียนว่ายไปตามกรรม ไม่มี
ที่สิ้นสุด จนกว่าจะได้พบแสงแห่งธรรมนำไปสู่มรรคผลนิพพานนั่นเอง


:D
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
ภาพประจำตัวสมาชิก
tum_H
Verified User
โพสต์: 1857
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI สายธรรมะ แนวพุทธปัญญา

โพสต์ที่ 87

โพสต์

...ท่านมาหามรรคผลนิพพานอยู่ที่ไหน? ดินเป็นดิน น้ำเป็นน้ำ ลมเป็นลม ไฟเป็นไฟ ฟ้าอากาศเป็นฟ้าอากาศ แร่ธาตุต่าง ๆ เป็นของเขาเอง เขาไม่ได้เป็นมรรคผลนิพพาน เขาไม่ได้เป็นกิเลส กิเลสจริง ๆ มรรคผลจริง ๆ อยู่ที่ใจ ขอให้ท่านกำหนดจิตจ่อด้วยสติที่หัวใจ ท่านจะเห็นความเคลื่อนไหวของทั้งธรรมของทั้งกิเลสอยู่ภายในใจ แล้วขณะเดียวกัน ท่านจะเห็นมรรคผลนิพพานไปโดยลำดับ...

เป็นอมตะวาจา ที่หลวงปู่มั่นท่านกล่าว ไขข้อข้องใจ ที่หลวงตามหาบัว ยังมีความสงสัยว่าสมัยนี้ มรรคผลนิพพาน
ยังมีอยู่จริงไหม ซึ่งอุบายธรรมที่หลวงปู่มั่นได้ให้ในครั้งนั้น ยังประโยชน์ให้กับพุทธศาสนิกชนอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
เพราะหลวงตามหาบัว ได้ปฏิบัติศาสนกิจเพื่อยังประโยชน์แก่ชาวโลกหาที่ประมาณมิได้

ผมก็เคยสงสัย แต่ความสงสัยเหล่านั้นได้หายไป เพราะการน้อมใจเข้าหาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์นั้น มีแต่
บ่อเกิดแห่งความสุข บางครั้งเราก็ลืมมองเรื่องง่ายๆใกล้ๆตัวคือ การปล่อยวาง ดังที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! เธอจงมองดูโลกนี้โดยความเป็นของว่างเปล่า มีสติอยู่ทุกเมื่อ ถอนอัตตานุทิฏฐิ คือความยึดมั่นถือมั่นเรื่องตัวตนเสีย ด้วยประการฉะนี้ เธอจะเบาสบายคลายทุกข์คลายกังวล ไม่มีความสุขใดยิ่งไปกว่าการปล่อยวางและการสำรวมตนอยู่ในธรรม

เพียงแค่เรานั่ง นอน ยืน เดิน โดยการควบคุมจิตให้มีสติระลึกรู้ ไม่ส่งจิตออกไปให้คิด ในเรื่องที่วุ่ยวาย
น่าปวดหัว ผมว่าทุกคนสัมผัสได้ถึงจิตที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความสุข ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีการคิดร้าย
ไม่เอาเรื่องยุ่งๆระหว่างวันหรือข้ามวัน มาสุมในหัว เพียงเราทำได้แค่ 30 วิ เราจะพบว่าโลกนี้ชั่งเบาสบาย
เย็นจิตเย็นใจไปเสียหมด

นี่แหละคำคือประโยชน์ของสมาธิ สังเกตุง่ายๆเมื่อตอนท้องหิว ถ้าเราเอาจิตไปจ่ออยู่ที่ท้อง รับรองว่าเรา
จะยิ่งหิวหนัก แต่ถ้ากำลังดูหนังหรือละครอย่างออกรส รับรองได้ว่า เราจะไม่นึกถึงความหิวเลย จิตจดจ่อ
ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยไม่วอกแวก นั่นแหละครับสมาธิขั้นต้น ซึ่งไม่ใช่ของยาก แต่ก็ไม่ง่ายหากเราไม่ละวาง
จากปัญหาหนักอก ในชีวิตประจำวันที่ยุ่งเหยิง กลับถึงบ้านเรื่องของงานก็ปล่อยมันไว้ เก็บมาด้วยก็มีแต่ทุกข์
แล้วเรายังแบกมันมานอนที่ห้อง ตอนเช้าก็นั่งรถไปทำงานด้วยกัน อย่างนี้ยิ่งทำให้บั่นทอนสุขภาพทางกายและใจ

ผมเองก็อยู่ระหว่างการตั้งไข่ ค่อยๆเกลาไปทีละนิด จากที่เคยนั่งสมาธิครั้งละ 10-20 นาที ก็เพิ่มเป็นชั่วโมง จนขณะ
นี้สามารถประคองได้เกือบๆ 3 ชั่วโมง(นานๆครั้ง) โดยแต่ละครั้งจะพยายามให้อยู่ประมาณ 1 ชั่วโมง โดยอาจจะเป็น
อาทิตย์ละครั้ง เดือนละครั้งแล้วแต่ช่วงที่จิตมีกำลัง

บางครั้งจิตสับสนวุ่นวาย ก็ได้หนังสือธรรมะที่ช่วยให้จิตมีกำลัง เพราะบางครั้งแต่ละวันเราผ่านเรื่องยุ่งๆมามาก
หากนั่งสมาธิเลย โดยไม่มีอะไรมาสร้างความเพียร หรือ แรงดึงดูดใจให้เกิดความมุ่งมั่น ก็จะนั่งสมาธิได้ไม่สงบ
ผมจึงใช้อุบายธรรมโดยการเกลากิเลสด้วยการอ่านหนังสือธรรมะก่อน หรือ ฟังเทศน์ MP3 ฟังบทสวดมนต์ เพื่อ
น้อมกายและใจให้นึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เมื่อนั้นการเจริญความเพียรก็จะทำได้ง่ายขึ้น

เคยถามท่านพระอาจารย์ตั๋น วัดบุญญาวาส เมื่อตอนไปทำบุญ เกี่ยวกับการทำสมาธิ ว่าทำไมฟังเทศน์ไปด้วย
แล้วรู้สึกว่าทำสมาธิได้ดี จิตสงบ ท่านเมตตาให้คำแนะนำว่า ให้ฟังแบบผ่านๆไม่ต้องไปสนใจคำเทศน์นั้น ให้
ใช้เป็นตัวนำเฉยๆ นำให้จิตสงบ เคยบริกรรมอะไรก็ให้ยึดบริกรรมนั้นไว้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิต

ขณะนั่งสมาธิหากจิตเกิดคิดนั่นคิดนี่ ก็ปล่อยไป อย่าไปฝืน คิดได้คิดไป จนจิตเหนื่อย สมาธิก็จะกลับมา
มีกำลัง หลังจากนั้นเราก็บริกรรมใหม่ เกิดซ้ำก็ทำซ้ำไปเรื่อยๆ อย่าไปฝืนจิต เพราะที่เขาบอกว่านั่งสมาธิ
แล้วบ้าก็เพราะเหตุนี้ คือพยามไปฝืนจิตที่คิดฟุ้งซ่านนั้นให้กลับมามีสมาธิ ซึ่งเป็นเรื่องที่อันตรายมาก
จะทำให้จิตเครียดสับสน จนอาจฝั่นเฝือนได้ ปล่อยให้คิดไป คิดจนเหนื่อยก็หยุดเอง ระหว่างที่คิดก็ไม่ต้อง
เอาจิตไปจ่อให้เกิดสมาธิ หยุดคิดค่อยจ่อใหม่

อาจจะใช้กรรมฐานบางกองมาช่วยเพิ่มเติมจากการกำหนดลม โดยผมจะใช้สังฆานุสติเข้ามาช่วย หายใจเข้า พุท
ออก โธ หากจิตเกิดอยากจะคิด ก็ให้ไปจ่อที่รูปครูบาอาจารย์ที่เรานับถือแทน กลายเป็นภาวนา พุทธ-โธ และจิต
ไปจับที่รูปครูอาจารย์ ก็จะไม่ออกนอกเรื่อง ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆจนจิตสงบ แค่นี้เราก็จะพบว่า ความสุขที่เกิดจาก
การนั่งภาวนา ไม่กี่นาที ให้ความรู้สึกเหมือนอยู่อีกโลกหนึ่งที่ว่าง แต่เบาสบาย ไม่มีความสุขใดเสมอเท่ากับจิตที่ปล่อยวาง

วันพรุ่งนี้จะเล่าขั้นต่อไปให้ฟังต่อครับ
:o
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
varintorn
Verified User
โพสต์: 37
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI สายธรรมะ แนวพุทธปัญญา

โพสต์ที่ 88

โพสต์

คุณtum อย่าไปยึดกับความสุขที่เกิดจากสมาธิให้มากครับ บ่อยๆ เข้าจะกลายเป็นยึด
ในโลกนี้ ทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น ตั้งอยู่กุ้งแห
varintorn
Verified User
โพสต์: 37
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI สายธรรมะ แนวพุทธปัญญา

โพสต์ที่ 89

โพสต์

varintorn เขียน:คุณtum อย่าไปยึดกับความสุขที่เกิดจากสมาธิให้มากครับ บ่อยๆ เข้าจะกลายเป็นยึด
ในโลกนี้ ทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น ตั้งอยู่กุ้งแห
แก้ไขครับ ทุกข์เท่านั้น เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
Pekko
Verified User
โพสต์: 671
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI สายธรรมะ แนวพุทธปัญญา

โพสต์ที่ 90

โพสต์

wwwman เขียน::D ขอบคุณทุกท่านมากครับ "การให้ที่ยิ่งใหญ่ คือการให้ปัญญา" ได้เข้ามาอ่านแล้ว ทำให้ผมมีความศรัทธาในแนวทางของ VI เพิ่มมากขึ้น เพราะเป็นตอกย้ำ เป้าหมายในชีวิตของผมให้ชัดเจนขึ้น ก่อนที่ผมเข้ามารู้จักแนวทาง VI ผมไม่เคยลงทุนมาก่อน
แต่ผมมีความเลื่อมใส ศรัทธาในพระพุุทธศาสนา ผมมีความเชื่อในธรรมะของพระพุทธเจ้าว่าเป็นความจริงและพิสูจน์ด้วยตนเองมาแล้วทั้งเรื่องกฏแห่งกรรม และหลักธรรมที่พระพุทธองค์ได้วางให้ชาวพุทธทุกคน
ทุกวันนี้ผมยังต้องพยายามจัดการ กับความโลภ ความโกรธ ความหลงในตัวเอง ที่มันแสดงมาอยู่เสมอ สติน่าจะเป็นตัวที่ช่วยให้เราระลึกและรู้ทัน ผมยังต้องฝึกสติอีกเยอะคับ เห็นพี่ๆ หลายคนในนี้แล้วเป็นแนวทางที่ดีมากครับ
:D ผมได้ต้นแบบหลาย ๆคนจาก thai VI และรายการ Money Talk ครับ หนึ่งในนั้น คือ อจ.ไพบูลย์ และคุณ Picatos
ที่เคยออกรายการ
แค่ความเลื่อมใส ก็มีชัยไปกว่าครึ่งแล้วครับ แต่ไม่ควรพยายามจัดการกับความโลภ ความโกรธ ความหลง เพราะมันจะเพิ่มความกดดันให้ตัวเอง ควรตามดูสิ่งเหล่านี้ด้วยปัญญาไปทีละขั้นก่อน ไม่นานนักธรรมก็จักบังเกิด
สติปัฎฐาน 4
กาย เวทนา จิต ธรรม