การมุ่งหวังนิพพาน แสดงว่ายังมี ตัวกู ของกูอยู่ใช่ไหม
-
- Verified User
- โพสต์: 3
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การมุ่งหวังนิพพาน แสดงว่ายังมี ตัวกู ของกูอยู่ใช่ไหม
โพสต์ที่ 61
เรียนท่านพีซเดฟ ผมจะอธิบายความดังนี้สมัยก่อนพุทธกาลหรือกระทั่งสมัยนี้ในไทยก็เถอะความเชื่อเรื่องอภินิหารเป็นเรื่องปกติในสังคมยิ่งในอินเดียมีการแบ่งชั้นวรรณะอีก เทพของพราหมนี่ไม่น้อยกว่าทางกรีกเลยนะ การที่พระพุทธเจ้าเผยแพร่หนทางดับทุกข์ไม่มีการใช้ปาฏิหารย์ใดๆทั้งสิ้นจนความเชื่อแบบพราหมหมดไปจากอินเดียกระจายไปทั่วเอเซียด้วยซ้ำเป็นเรื่องที่แทบเป็นไปไม่ได้เลย(ก่อนจะบรรลุอรหันต์จิตของท่านเหล่านั้นจะแข็งแกร่งจนบันดาลให้เกิดปาฏิหารย์ได้ครับพระพุทธเจ้าเคยติดอยู่ในภวังนี้หลายปีเลยจึงมาสั่งสอนว่าเป็นเดรฉานวิชา) คนที่ศรัทธาแก่กล้าอยากจะให้พุทธศาสนาเผยแพร่แรงๆอีกก็จะเขียนแบบจัดเต็มเลย(แต่มีปริศนาธรรมแทรกตลอดเช่นตอนพระพุทธเจ้าเกิดเดินได้เลย จำนวนก้าวที่เดินก็เป็นปริศนาธรรมอีก) การอ่านเรื่องทางพุทธต้องตีความตลอดว่าต้องการบอกอะไรเรา เช่นพระเถระพิจารณาเห็นกรรมเก่า แน่นอนคนเขียนเน้นเรื่องอย่าทำชั่วนะเป็นพระอรหันต์ยังตามทันเลยซึ่งเรื่องพวกนี้เป็นกระพี้ไม่ใช่แก่นถ้าเราต้องการหลุดพ้นจริงๆ เช่นมีพราหมถามว่าพุทธองค์เชื่อในเทพ เทวดา
หรือไม่ พระพุทธเจ้าก็ตอบว่าเชื่อหรือไม่เชื่อจะทำให้เราพ้นทุกข์หรือไม่ คือพุทธศาสนาเน้นเรื่องการพ้นทุกข์ตายแล้วไม่มาเกิดอีกแล้ว เมื่อพระพุทธองค์ปรินิพพาน พระอรหันต์จะทำการเขียนพระไตรปิฎกขึ้นมาแต่พระอานนท์ยังไม่เป็นพระอรหันต์จนแล้วจนรอดก็ไม่เป็นจนคืนวันสุดท้ายก็ปลงละคงไม่ได้เข้าร่วมเท่านั้นแหละจะล้มตัวนอนก็สำเร็จอรหันต์เลย(พระอานนท์มีความสำคัญมากเนื่องจากติดตามพระพุทธเจ้าตลอดเวลาคำสอนต่างๆจะรู้มากที่สุดงานหนักที่สุดเลยไม่ได้เป็นอรหันต์ซะที สมัยพุทธกาลคนอ่านหนังสือออกจะมีน้อยมากดังนั้นคำสอนของพระพุทธเจ้าจะต้องจดบันทึกออกมาเป็นตัวอักษรให้หมดซึ่งต้องอาศัยพระอานนท์ดังกล่าวเมื่อจดบันทึกออกมาแล้วก็ต้องให้พระสงฆ์ท่องจำก็อ่านไม่ออกนิ บทสวดมนต์ที่เราได้ยินหรือท่องตั้งแต่เด็กนี่คือคำสอนของพระพุทธเจ้าละครับท่องมาสองพันกว่าปีละ อยากรู้พระพุทธเจ้าสอนอะไรก็แกะจากบทสวดมนต์นี่แหละของไทยเรานี่ของแท้นะครับ คือท่องจำมานานเวลาไปประเทศต่างๆเช่นจีนก็จะเพี้ยนไป คือทุกชาติรับมาจากอินเดียทั้งสิ้นแต่แตกเป็นนิกายจากความศรัทธาส่วนบุคคลของผู้นำไปเผยแพร่ ถ้าคำสอนเปลี่ยนไปเป็นอิทธิปาฏิหารย์พระพุทธเจ้ายังอยู่นะใครทำดีจะได้เจอ ใครบริจาคเยอะได้เจอไรทำนองนี้นี่เพี้ยนละ ของแท้ต้องแสวงหาหนทางดับทุกข์ ) มนุษย์ก็คือมนุษย์มีกิเลศอยากได้ใคร่ดี ถึงพุทธศาสนาจะเพี้ยนไปในบางที่ บางแห่ง ก็ไม่เป็นสาระสำคัญขอให้ยังคงคำสอนหลักเช่นศีล5 อริยสัจ4 มนุษย์ก็ยังอยู่ร่วมกันได้ อย่างผมบางครั้งเสียหุ้นมากมายก็เฉยๆเนื่องจากเน่นในพุทธเชื่อในเกิด แก่ เจ็บ ตาย มีได้ ก็มีเสีย ได้มาก็ไม่ได้ใช้ เสียไปก็ไม่ทำให้เดือดร้อน ก็รอลูกโตหมดภาระจะแสวงทางธรรมจริงๆอยากหลุดพ้นนะครับ
หรือไม่ พระพุทธเจ้าก็ตอบว่าเชื่อหรือไม่เชื่อจะทำให้เราพ้นทุกข์หรือไม่ คือพุทธศาสนาเน้นเรื่องการพ้นทุกข์ตายแล้วไม่มาเกิดอีกแล้ว เมื่อพระพุทธองค์ปรินิพพาน พระอรหันต์จะทำการเขียนพระไตรปิฎกขึ้นมาแต่พระอานนท์ยังไม่เป็นพระอรหันต์จนแล้วจนรอดก็ไม่เป็นจนคืนวันสุดท้ายก็ปลงละคงไม่ได้เข้าร่วมเท่านั้นแหละจะล้มตัวนอนก็สำเร็จอรหันต์เลย(พระอานนท์มีความสำคัญมากเนื่องจากติดตามพระพุทธเจ้าตลอดเวลาคำสอนต่างๆจะรู้มากที่สุดงานหนักที่สุดเลยไม่ได้เป็นอรหันต์ซะที สมัยพุทธกาลคนอ่านหนังสือออกจะมีน้อยมากดังนั้นคำสอนของพระพุทธเจ้าจะต้องจดบันทึกออกมาเป็นตัวอักษรให้หมดซึ่งต้องอาศัยพระอานนท์ดังกล่าวเมื่อจดบันทึกออกมาแล้วก็ต้องให้พระสงฆ์ท่องจำก็อ่านไม่ออกนิ บทสวดมนต์ที่เราได้ยินหรือท่องตั้งแต่เด็กนี่คือคำสอนของพระพุทธเจ้าละครับท่องมาสองพันกว่าปีละ อยากรู้พระพุทธเจ้าสอนอะไรก็แกะจากบทสวดมนต์นี่แหละของไทยเรานี่ของแท้นะครับ คือท่องจำมานานเวลาไปประเทศต่างๆเช่นจีนก็จะเพี้ยนไป คือทุกชาติรับมาจากอินเดียทั้งสิ้นแต่แตกเป็นนิกายจากความศรัทธาส่วนบุคคลของผู้นำไปเผยแพร่ ถ้าคำสอนเปลี่ยนไปเป็นอิทธิปาฏิหารย์พระพุทธเจ้ายังอยู่นะใครทำดีจะได้เจอ ใครบริจาคเยอะได้เจอไรทำนองนี้นี่เพี้ยนละ ของแท้ต้องแสวงหาหนทางดับทุกข์ ) มนุษย์ก็คือมนุษย์มีกิเลศอยากได้ใคร่ดี ถึงพุทธศาสนาจะเพี้ยนไปในบางที่ บางแห่ง ก็ไม่เป็นสาระสำคัญขอให้ยังคงคำสอนหลักเช่นศีล5 อริยสัจ4 มนุษย์ก็ยังอยู่ร่วมกันได้ อย่างผมบางครั้งเสียหุ้นมากมายก็เฉยๆเนื่องจากเน่นในพุทธเชื่อในเกิด แก่ เจ็บ ตาย มีได้ ก็มีเสีย ได้มาก็ไม่ได้ใช้ เสียไปก็ไม่ทำให้เดือดร้อน ก็รอลูกโตหมดภาระจะแสวงทางธรรมจริงๆอยากหลุดพ้นนะครับ
- peacedev
- Verified User
- โพสต์: 668
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การมุ่งหวังนิพพาน แสดงว่ายังมี ตัวกู ของกูอยู่ใช่ไหม
โพสต์ที่ 62
หวัดดีครับพี่ huaxian
ผมเห็นด้วยกับพี่เป็นส่วนใหญ่คับ
แต่ประโยค Highlight ก่อนหน้านี้ แค่เพียงต้องการอ้างอิงว่า พระอรหันต์วางเฉย แต่ไม่ได้เฉยเมยกับทุกสิ่ง เช่น สิ่งที่เป็นภยันตรายต่อตนเอง เท่านั้นเองครับ
ผมเห็นด้วยกับพี่เป็นส่วนใหญ่คับ
แต่ประโยค Highlight ก่อนหน้านี้ แค่เพียงต้องการอ้างอิงว่า พระอรหันต์วางเฉย แต่ไม่ได้เฉยเมยกับทุกสิ่ง เช่น สิ่งที่เป็นภยันตรายต่อตนเอง เท่านั้นเองครับ
http://peacedev.wordpress.com
"The Quant"
"The Quant"
- KGYF
- Verified User
- โพสต์: 399
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การมุ่งหวังนิพพาน แสดงว่ายังมี ตัวกู ของกูอยู่ใช่ไหม
โพสต์ที่ 63
chatchai เขียน:ด้วยความรู้อันน้อยนิดของผม เลยไม่ค่อยเข้าใจซักเท่าไร จะมีกรุณาช่วยอธิบายให้เข้าใจง่ายๆได้บ้างครับLionel เขียน: 6) ถ้าถามว่า ถ้าคนเขาอยากไปพระนิพพานเป็นตัณหาไหม ก็เห็นจะ 99 เปอร์เซ็นต์ที่ตอบว่า คำว่าอยาก แปลว่า ตัณหา ในเมื่ออยากไปพระนิพพาน ก็แสดงว่าเป็นตัณหาเหมือนกัน ก็เลยบอกว่านี่แกเทศน์แล้วแกก็เดินลงนรกเลยสบาย ไปเสียคนเดียวก่อน ดีกว่ามาชวนชาวบ้านเขาไปอีก ถ้าต้องการไปนิพพาน เขาเรียกว่า ธรรมะฉันทะ มีความพอใจในธรรม เป็นอาการซึ่งทรงความดี พวกเราฟังแล้วจำไว้ด้วยนะ ถ้าใครเขาถามจะได้ตอบถูก
ด้วยปัญญาอันน้อยนิดของผม จะลอง อธิบายตามความเข้าใจนะครับ
กิเลส,ตัณหา = อยากแล้วเป็นทุกข์
ฉันทะ = อยากแล้วเป็นสุข,เป็นประโยชน์
ตัวอย่าง
หิวข้าว = อยาก เมื่ออยากแล้ว ได้กินข้าวแล้ว รู้สึก? ผลที่ตามมาคือ?
หิวบุหรี่ = อยาก เมื่ออยากแล้ว ได้ดูดบุหรี่ รู้สึก? ผลที่ตามมา คือ?
" สัพพะทานัง ธัมมะทานัง ชินาติ = การให้ธรรมะเป็นทาน ย่อมชนะการให้ทั้งปวง "
" ทุกข์มี เพราะยึด ทุกข์ยืด เพราะอยาก ทุกข์มาก เพราะพลอย ทุกข์น้อย เพราะหยุด ทุกข์หลุด เพราะปล่อย"
" ทุกข์มี เพราะยึด ทุกข์ยืด เพราะอยาก ทุกข์มาก เพราะพลอย ทุกข์น้อย เพราะหยุด ทุกข์หลุด เพราะปล่อย"
-
- Verified User
- โพสต์: 72
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การมุ่งหวังนิพพาน แสดงว่ายังมี ตัวกู ของกูอยู่ใช่ไหม
โพสต์ที่ 64
http://dungtrin.com/index.php?option=co ... Itemid=278
อยากให้ได้ลองอ่านเนื้อหาส่วนนี้ครับ
"เหตุผลของการเดินทาง"
“เนื้อหาสำคัญของพุทธศาสนาในสายตาของฉันนั้น ต้นสุด
คือให้มาเอา ไม่ใช่มาทิ้ง แต่ยอดสุดคือให้ไปทิ้ง ไม่ใช่ไปเอา
เบื้องต้นพุทธศาสนาให้มาเอาอะไร? ให้มาเอาบุญเพื่อให้
ตาสว่างเห็นความจริง ยิ่งบุญมากเท่าไร
จิตยิ่งต้องเห็นความจริงชัดขึ้นเท่านั้น
เบื้องปลายพุทธศาสนาให้ไปทิ้งอะไร? ให้ไปทิ้งความยึดมั่น
ถือมั่น ด้วยมรรคาคือทางที่พระพุทธองค์ปูไว้ให้แล้วพร้อมสรรพ”
“เป้าหมายของฉันไม่ใช่เพื่อเอา แต่เพื่อทิ้ง
ทิ้งอะไร? ดูดีๆ แล้วก็คือ ทิ้งทุกข์ ทิ้งสัมภาระพะรุงพะรัง
ทั้งปวงนั่นเอง คนเราพากันหวงทุกข์ไว้ กอดทุกข์ไว้แนบอก แบก
ทุกข์ ไว้หลังแอ่นยังไม่รู้ตัว มีคนบอกให้ทิ้งยังร้องอีกว่าเรื่องอะไรจะทิ้ง
หรืออย่างดีก็ถามว่าทำไมต้องทิ้ง มองไม่เห็นเหตุผลสมควรเลย”
......................
“เวลาคนเราทุกข์หนัก ก็มักปักใจเชื่อว่าไม่สามารถผ่าน
ความทุกข์นั้นๆ ไปได้ เผลอๆ อาจทึกทักว่าวันเวลาที่เหลืออีกทั้งชีวิต
คงต้องจมปลักอยู่อย่างนี้ ทั้งที่จริงแล้วถ้าแค่หยุดเพิ่มเหตุแห่งทุกข์ ทาง
ใจเข้าไป ความทุกข์ก็จะแสดงความไม่เที่ยง ไม่อาจตั้งอยู่ได้เกือบทันที
เหตุแห่งทุกข์ทางใจที่ว่านั้นก็คือ อาการครุ่นคิดซ้ำซากนั่นเอง
เพียงถ้ารู้ด้วยสติ เห็นตามจริงว่าอาการครุ่นคิดซ้ำซาก ก็แค่ของจร
เข้ามา ไม่ได้มีอยู่ก่อนในใจ และไม่อาจคงสภาพคิดๆๆ ได้ตลอดโดย
ไม่แปรปรวนไปเป็นระดับอ่อนแก่ต่างๆ เท่านั้น ก็ได้ชื่อว่าเหตุแห่งทุกข์
ถูกจับได้ไล่ทัน ถูกแทรกแซง ถูกแทนที่แล้ว”
๗ เดือนบรรลุธรรม
หากใครสนใจ และไปหาเจ็ดเดือนบรรลุธรรมฉบับเต็มมาอ่าน
(มีให้อ่านออนไลน์ได้ฟรี)
ก็จะเห็นประสบการณ์ปฏิบัติในเชิงลึกยิ่งขึ้นครับ
http://dungtrin.com/index.php?option=co ... Itemid=287
คอนเฟิร์มว่าดีมากๆ
นักเขียนท่านนี้ พลิกชีวิตผมเลยทีเดียว
เจริญในธรรมครับ
อยากให้ได้ลองอ่านเนื้อหาส่วนนี้ครับ
"เหตุผลของการเดินทาง"
“เนื้อหาสำคัญของพุทธศาสนาในสายตาของฉันนั้น ต้นสุด
คือให้มาเอา ไม่ใช่มาทิ้ง แต่ยอดสุดคือให้ไปทิ้ง ไม่ใช่ไปเอา
เบื้องต้นพุทธศาสนาให้มาเอาอะไร? ให้มาเอาบุญเพื่อให้
ตาสว่างเห็นความจริง ยิ่งบุญมากเท่าไร
จิตยิ่งต้องเห็นความจริงชัดขึ้นเท่านั้น
เบื้องปลายพุทธศาสนาให้ไปทิ้งอะไร? ให้ไปทิ้งความยึดมั่น
ถือมั่น ด้วยมรรคาคือทางที่พระพุทธองค์ปูไว้ให้แล้วพร้อมสรรพ”
“เป้าหมายของฉันไม่ใช่เพื่อเอา แต่เพื่อทิ้ง
ทิ้งอะไร? ดูดีๆ แล้วก็คือ ทิ้งทุกข์ ทิ้งสัมภาระพะรุงพะรัง
ทั้งปวงนั่นเอง คนเราพากันหวงทุกข์ไว้ กอดทุกข์ไว้แนบอก แบก
ทุกข์ ไว้หลังแอ่นยังไม่รู้ตัว มีคนบอกให้ทิ้งยังร้องอีกว่าเรื่องอะไรจะทิ้ง
หรืออย่างดีก็ถามว่าทำไมต้องทิ้ง มองไม่เห็นเหตุผลสมควรเลย”
......................
“เวลาคนเราทุกข์หนัก ก็มักปักใจเชื่อว่าไม่สามารถผ่าน
ความทุกข์นั้นๆ ไปได้ เผลอๆ อาจทึกทักว่าวันเวลาที่เหลืออีกทั้งชีวิต
คงต้องจมปลักอยู่อย่างนี้ ทั้งที่จริงแล้วถ้าแค่หยุดเพิ่มเหตุแห่งทุกข์ ทาง
ใจเข้าไป ความทุกข์ก็จะแสดงความไม่เที่ยง ไม่อาจตั้งอยู่ได้เกือบทันที
เหตุแห่งทุกข์ทางใจที่ว่านั้นก็คือ อาการครุ่นคิดซ้ำซากนั่นเอง
เพียงถ้ารู้ด้วยสติ เห็นตามจริงว่าอาการครุ่นคิดซ้ำซาก ก็แค่ของจร
เข้ามา ไม่ได้มีอยู่ก่อนในใจ และไม่อาจคงสภาพคิดๆๆ ได้ตลอดโดย
ไม่แปรปรวนไปเป็นระดับอ่อนแก่ต่างๆ เท่านั้น ก็ได้ชื่อว่าเหตุแห่งทุกข์
ถูกจับได้ไล่ทัน ถูกแทรกแซง ถูกแทนที่แล้ว”
๗ เดือนบรรลุธรรม
หากใครสนใจ และไปหาเจ็ดเดือนบรรลุธรรมฉบับเต็มมาอ่าน
(มีให้อ่านออนไลน์ได้ฟรี)
ก็จะเห็นประสบการณ์ปฏิบัติในเชิงลึกยิ่งขึ้นครับ
http://dungtrin.com/index.php?option=co ... Itemid=287
คอนเฟิร์มว่าดีมากๆ
นักเขียนท่านนี้ พลิกชีวิตผมเลยทีเดียว
เจริญในธรรมครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 72
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การมุ่งหวังนิพพาน แสดงว่ายังมี ตัวกู ของกูอยู่ใช่ไหม
โพสต์ที่ 65
คุณดังตฤณเคยเปรียบการหาหนทางหลุดพ้นไว้เหมือนเราเดินบนเส้นทางสายหนึ่งเพื่อไปสู่จุดหมาย ในระยะเริ่มต้นนั้นจำเป็นที่ต้องมีความรู้ ความเห็นที่ถูกตรงเป็นเบื้องต้นก่อน ครับ ดังนั้นปัญญาในระดับความคิดจึงจำเป็นในระดับนี้ และความตั้งใจ ต้องการเดินบนเส้นทางนี้ก็จำเป็นครับ
เมื่อเดินไปเรื่อยๆ ตามเส้นทางที่ถูก
แม้ไม่อยากไปให้ถึง เพียงก้าวเท้าไปเรื่อยๆ
วันหนึ่งปลายทางย่อมมาถึงเองครับ
ถึงเวลานั้น ความอยากจะมีหรือไม่มี ก็ไม่ใช่ประเด็นแล้ว
เมื่อเดินไปเรื่อยๆ ตามเส้นทางที่ถูก
แม้ไม่อยากไปให้ถึง เพียงก้าวเท้าไปเรื่อยๆ
วันหนึ่งปลายทางย่อมมาถึงเองครับ
ถึงเวลานั้น ความอยากจะมีหรือไม่มี ก็ไม่ใช่ประเด็นแล้ว
- tum_H
- Verified User
- โพสต์: 1857
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การมุ่งหวังนิพพาน แสดงว่ายังมี ตัวกู ของกูอยู่ใช่ไหม
โพสต์ที่ 67
อิทธิบาท4 พระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโรtum_H เขียน:ถ้าอยากไปในทางโลก อยากไปในทางผิด ถือว่าเป็นสมุทัย คือจะทำจิตทำใจให้วุ่นวาย ความอยากจึงเป็นเชื้ออันหนึ่งซึ่งนำพวกเราท่านให้พากันประพฤติปฏิบัติคุณงามความดี ถ้าไม่มีความอยากก็ทำไม่ได้ การที่เราทำได้ก็เพราะความอยาก เราเดินจงกรมภาวนาก็เพราะความอยากให้จิตใจของเราสว่างไสว อยากให้จิตใจของเราสงบสงัด เราให้ท่าน ก็อยากให้เราได้บุญได้กุศล จึงค่อยทำลงไปได้
อยากส่วนนี้ไม่ใช่อยากส่วนสมุทัย เป็นอยากฝ่ายมรรค คืออยากในคุณความดี ถ้าหากเรายังไม่ได้ดีเต็มที่เต็มฐาน มีความอยากอยู่เสียก่อน ความอยากส่วนนี้ เหมือนกันกับเราขี่เรือข้ามน้ำ ต้องอาศัยไปเสียก่อน ต่อเมื่อเรือของเราข้ามน้ำถึงฝั่งเมื่อใด เราก็ไม่จำเป็นที่จะแบกหามเรือไป ว่ามันให้คุณให้ประโยชน์แก่เรา ไปสถานที่ใด จะแบกจะหามเรือไป เราข้ามฝั่งได้เพราะอาศัยเรือลำนี้ ไม่เป็นอย่างนั้น จะต้องทิ้งจะต้องปล่อย ถ้าไปถึงฝั่งเมื่อใด เราจะไปแต่ตัวของเราอย่างสะดวกสบาย
นี่การดำเนินทางจิตทางใจ ก็อาศัยความอยากเสียก่อน แต่ความอยากเป็นฝ่ายของมรรค ไม่ใช่อยากเป็นฝ่ายทางสมุทัย
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก