ทำไมต้องทำประกันชีวิตด้วย
-
- Verified User
- โพสต์: 1301
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมต้องทำประกันชีวิตด้วย
โพสต์ที่ 2
ประเด็นหลัก สำหรับทำประกัน ถ้าเสียชีวิต แล้วได้เงินก้อน
คำถามก็คือ รายได้ของเรามีคนมาพึ่งพิง หรือ ร่วมใช้หรือเปล่า เช่น ลูก สามี ภรรยา พ่อ แม่ ฯลฯ
ถ้าไม่มี ก็ไม่ต้องทำ อาจทำแค่ให้พอค่างานศพก็ได้ จะได้ไม่อุจาด :)
ถ้ามี ประโยชน์ก็คือ ถ้าเกิดเหตุเป็นไป ชีวิตของผู้พึ่งพิงรายได้เราก็จะกระทบน้อยลง หรือ ไม่กระทบเลย เฉพาะเรื่องทางเศรษฐกิจเท่านั้น
การทำประกันแบบสะสมทรัพย์ ถ้าหากไม่ตายก่อน ยังไงก็ไม่คุ้ม IRR ของกรมธรรม์ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมาอยู่แค่ 2.x% (ลองคำนวณจากแผนกรมธรรม์ของ AIA, Ayud, BBL, SCB) ทั้งนี้ไม่เอาส่วนที่ประหยัดภาษีมาคำนวณด้วยนะ เรียกว่าฝากเงินประจำยังได้มากกว่า
การทำประกันเมื่อถึงจุดหนึ่งยอมซื้อแบบเสียค่าเบี้ยไปเลยดีกว่า แล้วนำเงินสำหรับสะสมไปลงทุนทางอื่น
แต่ประกันชีวิตแบบสะสม ความเสี่ยงค่อนข้างต่ำมาก
นอกเหนือจากประเด็นหลัก ก็แล้วแต่แล้วว่า ประกันอุบัติเหตุ ประกันโรคร้ายแรง ประกันขาดรายได้ ฯลฯ เป็นสิ่งที่สนใจหรือเปล่า หรือประเด็นข้างเคียงชนิด เก็บเงินเองไม่เป็น อะไรแบบนั้น ก็ใช้ประกันเป็นเครื่องมือในการเก็บเงิน
คนอีกประเภทที่อาจไม่จำเป็นต้องทำประกัน ก็คือ รวยมากๆ ต่อให้ไม่มีรายได้ ทุกคนก็ยังมีกินมีใช้แบบเดิมไปได้เรื่อยๆ รวยขนาดนี้ เอาเงินไปลงทุนบริษัทประกันดีกว่ามั้ง :D
คำถามก็คือ รายได้ของเรามีคนมาพึ่งพิง หรือ ร่วมใช้หรือเปล่า เช่น ลูก สามี ภรรยา พ่อ แม่ ฯลฯ
ถ้าไม่มี ก็ไม่ต้องทำ อาจทำแค่ให้พอค่างานศพก็ได้ จะได้ไม่อุจาด :)
ถ้ามี ประโยชน์ก็คือ ถ้าเกิดเหตุเป็นไป ชีวิตของผู้พึ่งพิงรายได้เราก็จะกระทบน้อยลง หรือ ไม่กระทบเลย เฉพาะเรื่องทางเศรษฐกิจเท่านั้น
การทำประกันแบบสะสมทรัพย์ ถ้าหากไม่ตายก่อน ยังไงก็ไม่คุ้ม IRR ของกรมธรรม์ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมาอยู่แค่ 2.x% (ลองคำนวณจากแผนกรมธรรม์ของ AIA, Ayud, BBL, SCB) ทั้งนี้ไม่เอาส่วนที่ประหยัดภาษีมาคำนวณด้วยนะ เรียกว่าฝากเงินประจำยังได้มากกว่า
การทำประกันเมื่อถึงจุดหนึ่งยอมซื้อแบบเสียค่าเบี้ยไปเลยดีกว่า แล้วนำเงินสำหรับสะสมไปลงทุนทางอื่น
แต่ประกันชีวิตแบบสะสม ความเสี่ยงค่อนข้างต่ำมาก
นอกเหนือจากประเด็นหลัก ก็แล้วแต่แล้วว่า ประกันอุบัติเหตุ ประกันโรคร้ายแรง ประกันขาดรายได้ ฯลฯ เป็นสิ่งที่สนใจหรือเปล่า หรือประเด็นข้างเคียงชนิด เก็บเงินเองไม่เป็น อะไรแบบนั้น ก็ใช้ประกันเป็นเครื่องมือในการเก็บเงิน
คนอีกประเภทที่อาจไม่จำเป็นต้องทำประกัน ก็คือ รวยมากๆ ต่อให้ไม่มีรายได้ ทุกคนก็ยังมีกินมีใช้แบบเดิมไปได้เรื่อยๆ รวยขนาดนี้ เอาเงินไปลงทุนบริษัทประกันดีกว่ามั้ง :D
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 6447
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมต้องทำประกันชีวิตด้วย
โพสต์ที่ 3
อ่านที่ดร.วลัย เขียนหนังสือ และผมก็คิดว่ามีเหตุมีผลดี
-คนรวยมากๆไม่ต้องทำ เพราะทำหรือไม่ทำ คนข้างหลังไม่เดือดร้อนอยู่แล้ว
-เบี้ยที่จ่ายไป 100 บ. ผลประโยชน์จะกระจายไป
-คนรวยมากๆไม่ต้องทำ เพราะทำหรือไม่ทำ คนข้างหลังไม่เดือดร้อนอยู่แล้ว
-เบี้ยที่จ่ายไป 100 บ. ผลประโยชน์จะกระจายไป
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
- Coca-Cola
- Verified User
- โพสต์: 326
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมต้องทำประกันชีวิตด้วย
โพสต์ที่ 6
ผมอ่านแล้วก็ว่าใช่เลยครับ..ลูกอิสาน เขียน:-คนรวยมากๆไม่ต้องทำ เพราะทำหรือไม่ทำ คนข้างหลังไม่เดือดร้อนอยู่แล้ว
แต่ก็งง ----- +++++ แล้วทำไมคนรวย คนที่มีฐานะระดับบน ถึงทำกันเกือบทุกคนหละครับ
อย่างเช่น คุณ ตัน ภาสกรณที ก็ทำประกันชีวิตเกือบ 1,000 ล้าน บาท (ฟังมาอีกทีครับ) หรือดาราฮอลลีวู้ดบางคน ก็ถึงขั้นทำประกัน "ขน" ............ .. บนแผงหน้าอก ของตัวเองเลยทีเดียว(หมายถึงนอกจากที่เขาได้ทำประกันชีวิตไปก่อนแล้วนะครับ)
และในมุมมองของผม คนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มคนที่มักจะคิดอะไรละเอียดรอบคอบ ดังนั้นแล้ว การทำประกันชีวิตของคนกลุ่มนี้ คงไม่ใช่เหตุมาจากการมองว่าเป็นแค่ เศษเงิน หรือทำงั้นๆ แน่ๆ ต้องมีเหตุผลที่เป็นปัจจัยที่มีน้ำหนักเพียงพอ และคุ้มค่าในการทำ
ช่วยกันไขความลับหน่อยครับ ผมหละงง...
และก็ยังไม่ได้ทำประกันชีวิตด้วย เลยอยากรู้คุณประโยชน์นะครับ :lol: :lol: :lol:
CI(Celebrity Investment) <----- oh! My GOD ผมเกิดมาเพื่อสิ่งนี้
- tum_H
- Verified User
- โพสต์: 1857
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมต้องทำประกันชีวิตด้วย
โพสต์ที่ 7
ของผมเน้นไปทางประกันสุขภาพ บวก เงินชดเชยรายได้รายวัน
กลัวว่าหากบางที เกินงบของบริษัท อาจเข้าเนื้อตัวเอง
เลยทำเผื่อไว้ จะได้ไม่ต้องเสียตังค์เองเยอะมากนัก หากเกิดเหตุฉุกเฉิน
พูดง่ายๆก็คือ เป็นการซื้อความเสี่ยง นั่นเอง
กลัวว่าหากบางที เกินงบของบริษัท อาจเข้าเนื้อตัวเอง
เลยทำเผื่อไว้ จะได้ไม่ต้องเสียตังค์เองเยอะมากนัก หากเกิดเหตุฉุกเฉิน
พูดง่ายๆก็คือ เป็นการซื้อความเสี่ยง นั่นเอง
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
-
- Verified User
- โพสต์: 1992
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมต้องทำประกันชีวิตด้วย
โพสต์ที่ 8
ผมทำประกันชีวิตเยอะมากครับ ทำกันทั้งบ้าน
ผมถือว่าการทำประกันเป็น hedging against risk อย่างหนึ่ง
ทุกวันนี้ผมมีรายได้หลักจากการทำงาน อาชีพผมถ้าไม่ทำก็ไม่ได้เงิน แถมถ้าเจ็บป่วยนอกจากจะไม่ได้เงิน ยังเสียเงิน (ค่ารักษาพยาบาล) อีก ผมถือว่าถ้าเราสามารถป้องกันความเสี่ยงของการสูญเสียรายได้ โดยการซื้อประกันเพื่อให้มีผลประโยชน์ชดเชยเวลาทำงานไม่ได้ ผมว่าคุ้ม
แถมทำประกันยังลดหย่อนภาษีได้ด้วย (มันน่าจะหักได้มากกว่านี้อ่ะ)
สำหรับคนรวย ๆ บางทีเขาทำประกันเพื่อปิดความเสี่ยงหนี้สินของกิจการครับ ถ้าเขาตาย เอาเงินสินไหมมาชำระหนี้สิน กิจการก็ดำเนินต่อไปได้ หรือไม่ก็เอาไว้เป็นเงินสำหรับครอบครัว เพราะพอเจ้าของตาย คู่สมรส ลูกหลานอาจจะบริหารกิจการต่อไม่เป็น หรือโดนเจ้าหนี้ยึด
แต่เงินสินไหมที่บริษัทประกันจ่าย ตามกฏหมายถือเป็นเงินของผู้รับผลประโยชน์ เงินก้อนนี้เจ้าหนี้ยึดไม่ได้ครับ ต้องให้ลูกเมียคนตายไปเต็ม ๆ :8)
ถือเป็นมรดกชิ้นสุดท้าย ที่ได้แน่ ๆ ไม่ต้องกังวลเรื่องหักลบกลบหนี้มรดก
ผมถือว่าการทำประกันเป็น hedging against risk อย่างหนึ่ง
ทุกวันนี้ผมมีรายได้หลักจากการทำงาน อาชีพผมถ้าไม่ทำก็ไม่ได้เงิน แถมถ้าเจ็บป่วยนอกจากจะไม่ได้เงิน ยังเสียเงิน (ค่ารักษาพยาบาล) อีก ผมถือว่าถ้าเราสามารถป้องกันความเสี่ยงของการสูญเสียรายได้ โดยการซื้อประกันเพื่อให้มีผลประโยชน์ชดเชยเวลาทำงานไม่ได้ ผมว่าคุ้ม
แถมทำประกันยังลดหย่อนภาษีได้ด้วย (มันน่าจะหักได้มากกว่านี้อ่ะ)
สำหรับคนรวย ๆ บางทีเขาทำประกันเพื่อปิดความเสี่ยงหนี้สินของกิจการครับ ถ้าเขาตาย เอาเงินสินไหมมาชำระหนี้สิน กิจการก็ดำเนินต่อไปได้ หรือไม่ก็เอาไว้เป็นเงินสำหรับครอบครัว เพราะพอเจ้าของตาย คู่สมรส ลูกหลานอาจจะบริหารกิจการต่อไม่เป็น หรือโดนเจ้าหนี้ยึด
แต่เงินสินไหมที่บริษัทประกันจ่าย ตามกฏหมายถือเป็นเงินของผู้รับผลประโยชน์ เงินก้อนนี้เจ้าหนี้ยึดไม่ได้ครับ ต้องให้ลูกเมียคนตายไปเต็ม ๆ :8)
ถือเป็นมรดกชิ้นสุดท้าย ที่ได้แน่ ๆ ไม่ต้องกังวลเรื่องหักลบกลบหนี้มรดก
ไม่สน return rate เยอะ, ขอแค่ financial freedom ภายใน 14 ปีก็พอ..
------------------------
------------------------
-
- Verified User
- โพสต์: 393
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมต้องทำประกันชีวิตด้วย
โพสต์ที่ 9
ครับมาเห็นด้วยกับข้อที่ว่าใช้หักภาษีได้ ชนชั้นกลางส่วนใหญ่ที่เป็นลูกจ้างทำเพราะข้อนี้รึป่าวครับ?
ของผมเป็นลูกจ้าง และทำเพราะเอามาหักภาษีครับ อย่างอื่นไม่ได้คิดเลย.......
ของผมเป็นลูกจ้าง และทำเพราะเอามาหักภาษีครับ อย่างอื่นไม่ได้คิดเลย.......
- PrasertsakK
- Verified User
- โพสต์: 286
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมต้องทำประกันชีวิตด้วย
โพสต์ที่ 11
ในความคิดของผม ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งว่าคนธรรมดา(ทั้งรวยและจน)ควรทำประกัน เพราะเราจะได้สิทธิทางภาษี และ การเป็นการลงทุนในระยะยาวด้วย(ยาวมากจนผมว่ามันคงไม่ใช้เงินของผม) แต่ผมว่าถ้าทำเยอะ ๆ คงไม่ค่อยดีเท่าไร เพราะว่า ถ้าคิดเป็นอัตตราการตอบแทนแล้วมันห่วยมาก ๆ (ยกเว้น เราพึ่งจ่ายเบี้ยแล้วตายเร็ว)A man from the Islay เขียน:ครับมาเห็นด้วยกับข้อที่ว่าใช้หักภาษีได้ ชนชั้นกลางส่วนใหญ่ที่เป็นลูกจ้างทำเพราะข้อนี้รึป่าวครับ?
ของผมเป็นลูกจ้าง และทำเพราะเอามาหักภาษีครับ อย่างอื่นไม่ได้คิดเลย.......
PS : จริง ๆ ผมก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่ามันได้ผลตอบแทนเท่าไร ผมคำนวนคราว ๆ ไม่คิดผมประโยชน์ทางภาษี ส่วนมาก ก็ไม่ถึง 1-2 % ผมอยากรบกวนให้ผู้รู้ช่วยคำนวนหน่อย เืมื่อคำนวนประโยชน์ทางภาษีบวกกับดอกเบี้ยที่บริษัทประกันให้แล้วสรุปว่าเราได้ผลตอบแทนประมาณกี่ % (ทบต้น) ผมว่าถ้าเกิน 3% ก็ OK แล้วนะครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 234
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมต้องทำประกันชีวิตด้วย
โพสต์ที่ 12
ผมว่า แนวคิดที่ว่า จะทำประกันชีวิตดีหรือไม่ ให้แยกคิดเป็น 2 ประเด็นครับ
ประเด็นแรก คือ ความจำเป็น
ประเด็นที่สอง คือ ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์
ขอพูดถึงประเด็นแรก เรื่องความจำเป็นในการทำประกันก่อนครับ
หากมีความจำเป็นต้องทำประกัน ควรดูจากประกันชีวิตแบบจ่ายแล้วหมดไปไม่ต้องมีเงินคืน เป็นหลัก เพื่อจะได้ความคุ้มครองวงเงินสูง แต่จ่ายเบี้ยไม่มาก
จริงๆแล้วควรจะแยกออกมาอีก ว่าสิ่งที่เราจำเป็นต้องใช้ คือประกันชีวิตหรือประกันสุขภาพ
ประกันทุกบริษัทเท่าที่ทราบ ต้องทำกรมธรรม์ประกันชีวิตเป็นกรมธรรม์หลักก่อน แล้วจึง add on เรื่องประกันสุขภาพเพิ่มเข้าไป
ความจำเป็นในการทำประกันชีวิต มีหลายท่านพูดถึงแล้ว
เรื่องที่อาจไม่ค่อยมีใครพูดถึง คือเรื่องวงเงินประกัน กับระยะเวลาในการทำประกัน
วงเงินประกัน
- เท่าที่เคยอ่านหนังสือของดร.สุวรรณ รู้สึกจะแนะนำให้วงเงินประกัน เพียงพอให้คนข้างหลัง อยู่ได้ประมาณ 5 ปี เพราะหากเราเสียชีวิตไป คนข้างหลังจะพอมีเวลาปรับตัวได้ (ถ้าเตรียมวงเงินไว้ให้คนข้างหลังอยู่ได้ชั่วชีวิต เบี้ยประกันอาจจะแพงมากจนจ่ายไม่ไหว)
- อีกสูตรหนึ่ง คือจัดวงเงินประกันตามหนี้สินที่ครอบครัวมีอยู่ เช่นกู้เงินมาซื้อบ้าน ก็ทำประกันตามมูลหนี้นั้น
ระยะเวลาที่กรมธรรม์คุ้มครอง
- การทำประกันชีวิตแบบตลอดชีพ ผมมองว่าเป็นข้อผิดพลาดที่พบได้บ่อยมาก เนื่องจากจริงๆแล้ว ไม่ได้ต้องการประกันนานขนาดนั้น เราต้องการให้ประกันคุ้มครองเรานานพอที่ครอบครัวของเราจะสะสมทรัพย์สินได้จนมั่นคงเท่านั้น
เช่น ตอนนี้ผมอายุ 26 ปี ถ้าผมคาดว่าจะมีอิสระทางการเงินต้องใช้เงิน x บาท สมมติว่าใช้เวลา 15 ปี ผมจะต้องการความคุ้มครองเพียงแค่ช่วง 15-20 ปีก็พอ เพราะหลังจากเวลานั้น ผมจะมีสินทรัพย์มากพอทีครอบครัวจะไม่ลำบากทางการเงิน ถ้าผมตายหลังจากเวลานั้น ประกันที่ทำไว้จนถึงอายุ 60 จะแทบไม่มีประโยชน์อะไรเลยสำหรับผม (แถมตอนนั้น เงินเฟ้อคงจะกัดกินมูลค่าที่แท้จริงของวงเงินประกันไปมากอยู่ จนวงเงินประกันแทบไม่มีค่า)
หรืออีกตัวอย่างหนึ่ง สมมติผมกู้เงินมาเพื่อมาซื้อบ้าน ผมกลัวว่าถ้าผมตายก่อนผ่อนบ้านหมด ครอบครัวจะลำบาก(จริงๆยังไม่มีครอบครัวนะครับ) สิ่งที่ผมต้องทำก็คือ ทำประกันให้วงเงินประกันเท่ากับมูลหนี้ที่เหลืออยู่ และให้ความคุ้มครองลดลงเมื่อเวลาผ่านไป(ลดลงตามมูลหนี้ที่เหลือ)
ประเด็นแรก คือ ความจำเป็น
ประเด็นที่สอง คือ ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์
ขอพูดถึงประเด็นแรก เรื่องความจำเป็นในการทำประกันก่อนครับ
หากมีความจำเป็นต้องทำประกัน ควรดูจากประกันชีวิตแบบจ่ายแล้วหมดไปไม่ต้องมีเงินคืน เป็นหลัก เพื่อจะได้ความคุ้มครองวงเงินสูง แต่จ่ายเบี้ยไม่มาก
จริงๆแล้วควรจะแยกออกมาอีก ว่าสิ่งที่เราจำเป็นต้องใช้ คือประกันชีวิตหรือประกันสุขภาพ
ประกันทุกบริษัทเท่าที่ทราบ ต้องทำกรมธรรม์ประกันชีวิตเป็นกรมธรรม์หลักก่อน แล้วจึง add on เรื่องประกันสุขภาพเพิ่มเข้าไป
ความจำเป็นในการทำประกันชีวิต มีหลายท่านพูดถึงแล้ว
เรื่องที่อาจไม่ค่อยมีใครพูดถึง คือเรื่องวงเงินประกัน กับระยะเวลาในการทำประกัน
วงเงินประกัน
- เท่าที่เคยอ่านหนังสือของดร.สุวรรณ รู้สึกจะแนะนำให้วงเงินประกัน เพียงพอให้คนข้างหลัง อยู่ได้ประมาณ 5 ปี เพราะหากเราเสียชีวิตไป คนข้างหลังจะพอมีเวลาปรับตัวได้ (ถ้าเตรียมวงเงินไว้ให้คนข้างหลังอยู่ได้ชั่วชีวิต เบี้ยประกันอาจจะแพงมากจนจ่ายไม่ไหว)
- อีกสูตรหนึ่ง คือจัดวงเงินประกันตามหนี้สินที่ครอบครัวมีอยู่ เช่นกู้เงินมาซื้อบ้าน ก็ทำประกันตามมูลหนี้นั้น
ระยะเวลาที่กรมธรรม์คุ้มครอง
- การทำประกันชีวิตแบบตลอดชีพ ผมมองว่าเป็นข้อผิดพลาดที่พบได้บ่อยมาก เนื่องจากจริงๆแล้ว ไม่ได้ต้องการประกันนานขนาดนั้น เราต้องการให้ประกันคุ้มครองเรานานพอที่ครอบครัวของเราจะสะสมทรัพย์สินได้จนมั่นคงเท่านั้น
เช่น ตอนนี้ผมอายุ 26 ปี ถ้าผมคาดว่าจะมีอิสระทางการเงินต้องใช้เงิน x บาท สมมติว่าใช้เวลา 15 ปี ผมจะต้องการความคุ้มครองเพียงแค่ช่วง 15-20 ปีก็พอ เพราะหลังจากเวลานั้น ผมจะมีสินทรัพย์มากพอทีครอบครัวจะไม่ลำบากทางการเงิน ถ้าผมตายหลังจากเวลานั้น ประกันที่ทำไว้จนถึงอายุ 60 จะแทบไม่มีประโยชน์อะไรเลยสำหรับผม (แถมตอนนั้น เงินเฟ้อคงจะกัดกินมูลค่าที่แท้จริงของวงเงินประกันไปมากอยู่ จนวงเงินประกันแทบไม่มีค่า)
หรืออีกตัวอย่างหนึ่ง สมมติผมกู้เงินมาเพื่อมาซื้อบ้าน ผมกลัวว่าถ้าผมตายก่อนผ่อนบ้านหมด ครอบครัวจะลำบาก(จริงๆยังไม่มีครอบครัวนะครับ) สิ่งที่ผมต้องทำก็คือ ทำประกันให้วงเงินประกันเท่ากับมูลหนี้ที่เหลืออยู่ และให้ความคุ้มครองลดลงเมื่อเวลาผ่านไป(ลดลงตามมูลหนี้ที่เหลือ)
"Many shall be restored that are now fallen and many shall fall that are now in honor."
-
- Verified User
- โพสต์: 234
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมต้องทำประกันชีวิตด้วย
โพสต์ที่ 13
ต่อจากข้างต้น
คราวนี้มาดูเรื่องความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์บ้าง
อันนี้ขอเน้นที่ประกันแบบออมทรัพย์เป็นหลักครับ
อย่างที่ทุกท่านทราบ ว่าเบี้ยประกันของเรา จะถูกแบ่งไปหลายส่วน ทั้งให้ตัวแทนประกัน ค่าประกันความเสี่ยงให้เรา และค่าใช้จ่ายอื่นของบริษัทประกัน ดังนั้นจึงเหลือเงินส่วนที่จะถูกนำไปลงทุนจริงๆไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย ดังจะเห็นจาก IRR ของประกันแบบออมทรัพย์ ส่วนมากจะอยู่ราว 1%-2% ต่อปีเท่านั้น
แต่สิ่งสำคัญที่ทำให้ประกันชีวิตแบบออมทรัพย์น่าสนใจ ก็คือการลดหย่อนภาษีนี่แหละ
ผมจึงมาคิดว่าทำยังไงให้ การจ่ายเบี้ยประกันออมทรัพย์ คุ้มค่ามากที่สุด
1. ต้องมีฐานภาษีที่สูง 30%-37%
2. ควรจ่ายเบี้ยประกันทุกปี ปีละเท่าๆกัน ไม่เกิน 1แสนบาท เพื่อจะได้ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีให้มากครั้งที่สุด
3. ควรได้เงินคืนมากๆ ถ้ายิ่งคืนเงินเร็วตั้งแต่ปีแรกๆยิ่งดี
ผมเคยลองไปเดินห้าง แล้วไปขอโบรชัวร์กรมธรรม์หลายๆบริษัทมาลองคิด IRR พบว่าด้วยฐานภาษี 30% บางกรมธรรม์จะได้ IRR ถึง 8% ใครฐานภาษีสูงๆ และมั่นใจว่าบริษัทประกันจะไม่ล้ม ลองดูได้ครับ
คราวนี้มาดูเรื่องความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์บ้าง
อันนี้ขอเน้นที่ประกันแบบออมทรัพย์เป็นหลักครับ
อย่างที่ทุกท่านทราบ ว่าเบี้ยประกันของเรา จะถูกแบ่งไปหลายส่วน ทั้งให้ตัวแทนประกัน ค่าประกันความเสี่ยงให้เรา และค่าใช้จ่ายอื่นของบริษัทประกัน ดังนั้นจึงเหลือเงินส่วนที่จะถูกนำไปลงทุนจริงๆไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย ดังจะเห็นจาก IRR ของประกันแบบออมทรัพย์ ส่วนมากจะอยู่ราว 1%-2% ต่อปีเท่านั้น
แต่สิ่งสำคัญที่ทำให้ประกันชีวิตแบบออมทรัพย์น่าสนใจ ก็คือการลดหย่อนภาษีนี่แหละ
ผมจึงมาคิดว่าทำยังไงให้ การจ่ายเบี้ยประกันออมทรัพย์ คุ้มค่ามากที่สุด
1. ต้องมีฐานภาษีที่สูง 30%-37%
2. ควรจ่ายเบี้ยประกันทุกปี ปีละเท่าๆกัน ไม่เกิน 1แสนบาท เพื่อจะได้ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีให้มากครั้งที่สุด
3. ควรได้เงินคืนมากๆ ถ้ายิ่งคืนเงินเร็วตั้งแต่ปีแรกๆยิ่งดี
ผมเคยลองไปเดินห้าง แล้วไปขอโบรชัวร์กรมธรรม์หลายๆบริษัทมาลองคิด IRR พบว่าด้วยฐานภาษี 30% บางกรมธรรม์จะได้ IRR ถึง 8% ใครฐานภาษีสูงๆ และมั่นใจว่าบริษัทประกันจะไม่ล้ม ลองดูได้ครับ
"Many shall be restored that are now fallen and many shall fall that are now in honor."