เปิดตัวรถพลังน้ำ วิ่งได้ 56 กิโลเมตร/ลิตร

เชิญมาพักผ่อน คลายร้อนนั่งเล่น คุยกันเย็นๆ พร้อมเรื่องกีฬา สัพเพเหระ ทัศนะนานา ชีวิตชีวา สุขภาพทั่วไป บันเทิงขำขัน รอบเรื่องเมืองไทย ชวนเที่ยวที่ไหน อยากไปก็นัดมา ...โย่วๆ

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
ปรัชญา
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 18252
ผู้ติดตาม: 0

เปิดตัวรถพลังน้ำ วิ่งได้ 56 กิโลเมตร/ลิตร

โพสต์ที่ 1

โพสต์

รูปภาพ

เปิดตัวรถพันธุ์ใหม่ 56 กิโลเมตร/ลิตร สุดประหยัดพลังงานไฮโดรเจน

      จากหนุ่มผู้ถูกเรียกขานนามว่า "พ่อมด" ในหมู่เพื่อน สานฝันตัวเองต่อเนื่อง ยกระดับสู่ "พ่อมดแห่งนาซา" วันนี้ สุมิตร อิศรางกูร ณ อยุธยา ก้าวพ้นความฝันเฟื่องสู่นวัตกรรมครั้งยิ่งใหญ่ของชีวิต ด้วยสิ่งประดิษฐ์ รถยนต์พลังไฮโดรเจน ประหยัดพลังงาน 56 กิโลเมตรต่อลิตร

      สุมิตร อิศรางกูร ณ อยุธยา
จากช่างเทคนิคลูกทัพฟ้าสู่พ่อมดแห่งนาซา นักประดิษฐ์ผู้ไม่ยอมแพ้ ทุ่มเทแรงกายแรงใจ พัฒนาอุปกรณ์แยกไฮโดรเจนจากน้ำที่สามารถไปติดตั้งไว้ในรถยนต์ได้เลย ทำให้รถยนต์สามารถใช้พลังน้ำแทนน้ำมันในการขับเคลื่อนได้สำเร็จ

      โดยเมื่อเช้าวันที่ 21 สิงหาคม มีการแถลงข่าวถึงความสำเร็จอันน่ายินดีนี้ ที่อาคารเฉลิมพระเกียรติ ชั้น 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี โดยมี ผศ.ดร.จรูญ ถาวรจักร อธิการบดี พร้อมด้วย ผศ.วิเชียร จันทะโชติ อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล นายสุมิตร อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้พัฒนาอุปกรณ์แยกไฮโดรเจนจากน้ำ "รีแอคเตอร์ 1" และนายสมชาย ไตรสุริยะธรรมา ผู้ร่วมพัฒนาอุปกรณ์ พร้อมกับนำรถยนต์ที่ติดตั้ง "รีแอคเตอร์ 1" ซึ่งเป็นกล่องโลหะสี่เหลี่ยมขนาดกว้าง 12 นิ้ว สูงประมาณ 10 นิ้ว อยู่ด้านท้ายของรถยนต์ฮอนด้า ซีวิค ขนาด 1,800 ซีซี มาให้ทดลองขับ

      ระยะทาง 100 เมตร ที่มีผู้ทดลองขับสลับเปลี่ยนกันไปหลายคน ต่างบอกว่า "ไม่แตกต่าง" กับรถยนต์ที่ใช้น้ำมันแต่อย่างใด ทั้งอัตราเร่งและความเร็ว...
ภาพประจำตัวสมาชิก
ปรัชญา
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 18252
ผู้ติดตาม: 0

เปิดตัวรถพลังน้ำ วิ่งได้ 56 กิโลเมตร/ลิตร

โพสต์ที่ 2

โพสต์

รูปภาพ

"สุมิตร" เล่าถึงที่มาของแนวคิดในการพัฒนาอุปกรณ์เพื่อนำเอาพลังงานน้ำมาใช้ว่า ตั้งใจทำให้คนไทยและโลกรู้ว่าน้ำเป็นพลังงานทดแทนได้ เพราะน้ำมีพลังงานมหาศาล แต่ยังไม่มีใครนำพลังงานของน้ำมาใช้อย่างเต็มที่ ในอดีตที่ผ่านมามีการนำพลังงานจากน้ำมาแปรรูปเพื่อใช้ประโยชน์ เช่น การพัฒนาเรือเหาะ เอดินเบิร์ก แต่ก็เกิดความล้มเหลว จากนั้นความพยายามดังกล่าวก็หายไป ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทาย ทำให้ตลอด 30 ปีของการทำงาน พยายามคิดค้นว่าจะเอาพลังงานที่จะเป็นพลังงานตลอดกาลมาใช้ได้อย่างไร

      ส่วนเทคโนโลยีพลังงานไฮโดรเจน อาศัยหลักการแยกน้ำด้วยไฟฟ้า ทำให้ได้ก๊าซไฮโดรเจน 2 อะตอม และ ออกซิเจน 1 อะตอม โดยใช้อุปกรณ์ที่พัฒนาขึ้นเรียกว่า "รีแอคเตอร์" เป็นตัวแยก เมื่อนำไปติดตั้งกับรถยนต์จะใช้ไฟฟ้ากระแสตรงจากแบตเตอรี่รถ 12 โวลต์ เข้ามาทำการแยกโดยขั้วบวกจะมีปฏิกิริยาของออกซิเจน ขั้วลบจะเป็นปฏิกิริยาของไฮโดรเจนในการแยกโมเลกุลน้ำ และได้ไฮโดรเจนซึ่งเป็นเชื้อเพลิง แล้วส่งเข้าไปสันดาปในเครื่องยนต์

      จุดเด่นของ "รีแอคเตอร์" คือ ปฏิกิริยาการแยกน้ำจะเกิดขึ้นทีละน้อย ตามความต้องการของเครื่องยนต์ โดยไม่ต้องนำไฮโดรเจนที่ได้ไปเก็บไว้ในถังเก็บ เมื่อผลิตไฮโดรเจนออกมาได้แล้วก็ส่งออกไปยังเครื่องยนต์ ทำให้เกิดการจุดระเบิดขึ้น เพราะคุณสมบัติที่ดีของไฮโดรเจนก็คือมีการเผาไหม้ได้สูงและมีการจุดระเบิด ที่ต่ำมาก เหมือนเครื่องยนต์ที่ใช้กันในปัจจุบัน เทคโนโลยีทุกวันนี้ในการผลิตไฮโดรเจนโดยใช้วิธีการคล้ายๆ กัน จะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "อิเล็กโทรไรท์เตอร์" ซึ่งจะเป็นเทคโนโลยีที่คล้ายๆ กันหมด

      "ปฏิกิริยาแยกน้ำจะเกิดความร้อนสูง ยากแก่การควบคุม ซึ่งเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดอันตรายได้ แต่รีแอคเตอร์ที่พัฒนาขึ้น สามารถควบคุมความร้อนให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย ที่สำคัญใช้น้ำเป็นวัตถุดิบต้นกำเนิดของเชื้อเพลิง ซึ่งหาได้ง่าย ราคาถูก และประการสุดท้าย คือ ไอเสียที่เกิดจากการสันดาปนั้น จะปนออกมารวมตัวกับออกซิเจนกลายเป็นน้ำอีกครั้ง ซึ่งถือว่าเป็นไอเสียบริสุทธิ์" นายสุมิตรกล่าว
ภาพประจำตัวสมาชิก
ปรัชญา
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 18252
ผู้ติดตาม: 0

เปิดตัวรถพลังน้ำ วิ่งได้ 56 กิโลเมตร/ลิตร

โพสต์ที่ 3

โพสต์

รูปภาพ

ส่วน เรื่องความปลอดภัยนั้น นายสุมิตรบอกว่า เป็นสิ่งที่ให้ความสำคัญอย่างมาก และยังคงมุ่งพัฒนาอย่างต่อเนื่อง พร้อมๆ กับการพัฒนา "รีแอคเตอร์ 2" ขณะนี้ได้ออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ให้เป็นตัวทำหน้าที่ตรวจสอบความผิดปกติ ของการทำงานในระบบทั้งหมด วงจรนี้จะทำงานร่วมกับ ไมโครคอนโทรลเลอร์ ที่จะเป็นตัวควบคุมการทำงานของรีแอคเตอร์กับเครื่องยนต์ เพื่อให้ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่น้อยลง และได้ผลผลิตคือ ไฮโดรเจนในปริมาณที่เป็นสัดส่วนกับความต้องการของเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด

      ก่อนหน้านี้ สมิตร เคยบอกเอาไว้ว่า รถยนต์ขับเครื่องด้วยพลังงานใหม่นี้ ใช้พลังงานผสมผสาน แบบประหยัดสุดๆ ระยะทางประมาณ 560 กิโลเมตร วิ่งจากกรุงเทพฯถึงอุดรธานี ใช้น้ำมันเสริมเพียง 10 ลิตร เท่ากับว่า รถที่ว่านี้มัอตราประหยัดพลังงานที่ 56 กิโลเมตรต่อลิตรนั่นเอง

      "จุดประสงค์ที่คิดค้นเกิดจากอยากให้โลกรู้ว่า น้ำสามารถเป็นพลังงานทดแทนได้ในอนาคต จึงได้พัฒนาอุปกรณ์ตัวนี้ขึ้นมา นอกจากนี้รีแอคเตอร์ยังเป็นตัวแก้ปัญหามลพิษ สภาวะปัญหาของโลกในปัจจุบันที่เกิดสภาวะโลกร้อน เพราะการใช้น้ำมาเป็นพลังงานเป็นเชื้อเพลิง จะทำให้ลดภาวะโลกร้อนและแก้ปัญหามลพิษไปด้วย ผลงานชิ้นนี้จะไม่ใช่ชิ้นแรกและชิ้นสุดท้าย ขอให้คนไทยเป็นกำลังใจให้ผมและทีมงานทำหน้าที่ต่อไปให้สำเร็จ เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติต่อไป" นายสุมิตรกล่าว

      ในเบื้องต้นทีมคิดค้นพัฒนา "รีแอคเตอร์" ยังไม่ได้กล่าวถึงต้นทุนการผลิต หรือการพัฒนาในเชิงพาณิชย์แต่อย่างใด

      นายสุมิตร อิศรางกูร ณ อยุธยา เดิมเป็นชาว จ.ราชบุรี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนเบญจมราชูทิศ และเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนจ่าอากาศ เริ่มต้นรับราชการที่กองบิน 23 จ.อุดรธานี เป็นเวลา 6 ปี จากนั้นได้ศึกษาต่อในหลายสถาบันทั้งในประเทศและต่างประเทศ กระทั่งจบการศึกษาในระดับปริญญาโท สาขาวิศวกรรม อากาศยาน จากประเทศสหรัฐอเมริกา มีประสบการณ์การทำงานกว่า 30 ปีในบริษัทผู้ผลิตอากาศยานยักษ์ใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น โบอิ้ง หรือ แอร์บัส ทำงานในองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา มีผลงานการประดิษฐ์ที่ทำให้ประหลาดใจหลายอย่าง จนเพื่อนร่วมงานขนานนามว่า "พ่อมด"

ที่มา...รูปภาพ
takechi
Verified User
โพสต์: 183
ผู้ติดตาม: 0

เปิดตัวรถพลังน้ำ วิ่งได้ 56 กิโลเมตร/ลิตร

โพสต์ที่ 4

โพสต์

:cool: :cool:
ภาพประจำตัวสมาชิก
กล้วยไม้ขาว
Verified User
โพสต์: 1074
ผู้ติดตาม: 0

เปิดตัวรถพลังน้ำ วิ่งได้ 56 กิโลเมตร/ลิตร

โพสต์ที่ 5

โพสต์

จากข่าวสดครับ
คนไทยเจ๋ง-ผลิตได้ ใช้"น้ำ"เติมรถยนต์

Imageตะลึง คนไทยใช้น้ำเปล่าเติมแทนน้ำมันให้รถยนต์วิ่งได้สำเร็จ เป็นอดีตทหารอากาศ ปัจจุบันทำงานอยู่กับ"นาซ่า" จับมือกับอาจารย์มรภ. อุดรธานี คิดค้นนาน 4 ปี สร้างเครื่องแยกก๊าซไฮโดร เจนออกจากน้ำแล้วนำไปผสมกับก๊าซแอลพีจี เป็นเชื้อเพลิงใช้ในรถยนต์ โดยนำรถเก๋งฮอนด้า ซีวิค รุ่นที่ขายอยู่ในปัจจุบันมาทดสอบ และทำได้สำเร็จ เติมน้ำ 1 ลิตรทำให้รถวิ่งได้ไกลถึง 3,000 ก.ม. โดยเชื้อเพลิงฉีดผสมใช้ไฮโดรเจน 60% และก๊าซแอลพีจี 40% ทดลองวิ่งกว่า 40,000 ก.ม.ไม่มีปัญหาอะไร พร้อมจดลิขสิทธิ์เป็นของคนไทยแล้ว ใช้ต้นทุนเพียง 4 หมื่นบาทในการติดตั้งระบบนี้ จนท.เทคนิคบีเอ็มฯ ผู้นำด้านรถพลังงานไฮโดรเจนยังมึนเพราะการเผาไหม้ไฮโดรเจนความร้อนจะสูงมาก ต้องใช้เครื่องยนต์ที่ผลิตขึ้นมาเฉพาะ และการเก็บไฮโดรเจนก็ทำได้ยาก ส่วนกูรูรถยนต์ชื่อดัง"พัฒนเดช อาสาสรรพกิจ" ที่กำลังประชุมเรื่องพลังงานทางเลือกที่รัฐสภา ทราบข่าวก็งง เพราะในที่ประชุมไม่เคยมีใครรู้เรื่องมาก่อน เผยแม้ทางเทคนิคเป็นไปได้แต่ก็ไม่ง่าย แต่ถ้าทำได้ก็เป็นเรื่องดี และจะเชิญมาร่วมงานสัมมนาของรัฐสภาด้วย

เมื่อวันที่ 21 ส.ค. ที่ห้องประชุมอาคารเฉลิมพระ เกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ผศ.จรูญ ถาวรจักร์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี พร้อม ด้วยผศ.วิเชียร จันทะโชติ อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีเครื่องกล คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี พ.อ.อ.สุมิตร อิศรางกูล ณ อยุธยา และนายสมชาย สุริยะธรรมา ที่ปรึกษาฝ่ายอิเล็กทรอ นิกส์ ร่วมกันแถลงข่าวความสำเร็จในการทดลองนำน้ำเปล่ามาเป็นเชื้อเพลิงทดแทนใช้ใน รถยนต์ พร้อมนำรถยนต์คันที่ผ่านการทดสอบมาแสดงให้ชมที่ชั้นล่างของอาคาร

รถ คันดังกล่าวเป็นรถยนต์เก๋งยี่ห้อฮอนด้าซีวิค สีบรอนซ์ ทะเบียน ชห 4701 กทม. เครื่องยนต์วีเทค 1800 ซีซี แบบเดียวที่ขายทั่วไป ที่ประตูข้างคนขับมีรูปธงชาติไทยและสหรัฐอเมริกา ระหว่างธงชาติทั้ง 2 มีข้อความเป็นสูตรเคมีของน้ำ เขียนว่า "H2O" อยู่ในวงกลม และที่ใต้ธงชาติทั้ง 2 และสูตรเคมี มีข้อความเป็นภาษาไทยว่า"เทคโนโลยีแห่งอนาคต"ที่ประตูหลังเขียนเป็นภาษา อังกฤษว่า HGV hydrogen Vehicle

พ.อ.อ.สุมิตร อายุ 48 ปี อดีตทหารอากาศ ซึ่งเป็นผู้คิดค้นระบบนี้ขึ้นมากล่าวว่า เป็นคนจ.ราชบุรีโดยกำเนิด จบชั้นมัธยมที่โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี แล้วมาต่อที่โรงเรียนจ่าอากาศ ได้เรียนช่างที่การบินและได้รู้จักการประดิษฐ์ต่างๆ จบแล้วมาทำงานรับใช้ชาติอยู่ฝ่ายบำรุงเครื่องบิน ประจำอยู่กองบิน 23 อุดร ธานี ในปีพ.ศ.2533 จนมีครอบครัวที่อุดรฯ ขณะที่ทำงานก็ได้รู้จักกับอาจารย์วิเชียร จึงมาศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรฯ และทำงานอยู่ฝ่ายช่างทหารอากาศ 6 ปี ก็ลาออกไปทำงานอยู่สายการบินบางกอกแอร์เวย์ส จากนั้นก็มาทำงานอยู่ที่ยูเอสอาร์มี่ จนได้เป็นหัวหน้า และได้รับเหรียญเชิดชูเกียรติทำงานดีเด่นด้านเครื่องบิน จึงได้ไปสมัครเข้าทำงานที่องค์การนาซ่า ประเทศสหรัฐอเมริกา และได้รับการคัดเลือกเข้าทำงานเป็นเวลา 2 ปีแล้ว หลังจากนั้นก็พาครอบครัวไปอยู่ที่อเมริกา ยังเหลือแต่ญาติๆ ที่อุดรฯ

พ. อ.อ.สุมิตรกล่าวต่อไปว่า ส่วนเรื่องการคิดเรื่องนำน้ำมาเป็นเชื้อเพลิง โดยการแยกก๊าชไฮโดรเจนออกจากก๊าซออกซิเจนนี้ ศึกษามาเป็นเวลา 4 ปีแล้วก่อนที่ไปทำงานที่องค์การนาซ่าอีก และเมื่อมาทำงานที่นาซ่าก็ยังคงศึกษาค้นคว้าคิดเครื่องแยกน้ำที่มีชื่อว่า" อีเลคโทรแลคเซอร์" แต่ตนเรียกว่า รีแอคเตอร์ จนประสบผลสำเร็จ โดยขณะศึกษาค้นคว้าและทดลองนั้น ก็ได้เทียวไปมาระหว่างอเมริกากับอุดรฯอยู่เสมอ เพื่อมาขอคำปรึกษากับผศ.วิเชียร ขอหยิบยืมเอกสารตำราและเครื่องมือในการทดลองมาตลอด โดยตนจะไม่ไปหยิบยืมอุปกรณ์ของสหรัฐให้เข้ามายุ่งเกี่ยวเลย เพื่อที่จะให้ผลิตผลที่ตนผลิตขึ้นมาได้เป็นของคนไทยจริงๆ

"สำหรับตัว รีแอคเตอร์นั้น ใครๆ ก็ทำขึ้นมาได้ เพียงแต่ว่าใครจะควบคุมมันได้แค่ไหน เพราะถ้าควบคุมไม่ดีแล้วเมื่อมันเกิดความร้อนแล้วจะเกิดระเบิดได้ แต่ในเรื่องนี้ทางเราสามารถควบคุมมันได้จึงไม่เกิดการระเบิด และก็พัฒนาตัวรีแอคเตอร์ไปเรื่อยๆ หลังจากนั้นจึงติดตั้งอุปกรณ์ในการผลิตพลังงานทดแทน ไว้ในฝากระโปรงท้ายรถ ซึ่งประกอบไปด้วยเครื่องรีแอคเตอร์จะเป็นตัวถังเก็บน้ำเปล่า จากนั้นก็จะเป็นตัวแยกไฮโดเจนออกมาเป็นออกซิเจนแล้ว ผสมผสานกับก๊าซ LPG แล้วส่งต่อไปยังห้องเครื่องยนต์อัตราส่วนที่ใช้น้ำเปล่า 60 ส่วน ก๊าซ 40 ส่วน โดยจะใช้คอมพิว เตอร์เป็นตัวควบคุมและประเมินผลในการทำงาน สั่งจ่ายพลังงานจำนวนอัตราเท่าไร และยังมีชิพไว้คอยเก็บข้อมูลในการหาค่าบกพร่องของระบบในการทำงาน" พ.อ.อ.สุมิตรกล่าว

พ.อ.อ.สุมิตรอธิบายขั้นตอนในการทำงาน คือการ นำน้ำสะอาดใส่ลงในรีแอคเตอร์ จากนั้นรีแอคเตอร์จะแยกก๊าซไฮโดรเจนออกมาด้วยกระแสไฟฟ้าแบตเตอรี่ในรถยนต์ แล้วส่วนที่เป็นก๊าซออกซิเจนก็ จะถูกปล่อยทิ้งออกไป ส่วนก๊าซไฮโดรเจนก็ไปผสมกับก๊าซแอลพีจี กลายเป็นพลังงานเชื้อเพลิง ส่วนน้ำมันเบนซินจะใช้เพียงสตาร์ตเครื่องยนต์เท่านั้น

พ.อ.อ.สุมิตร กล่าวอีกว่า สำหรับรถยนต์ต้นแบบที่นำมาทดลอง เป็นรถยนต์ส่วนตัวมีเชื้อเพลิงอยู่ 3 ประเภท คือน้ำมันเบนซิน ก๊าซ LPG และ ก๊าซไฮโดร เจน โดยคิดค้นนำน้ำมาผลิตเป็นเชื้อเพลิง พลังงานทดแทนเพื่อลดมลพิษคาร์บอนไดออกไซด์ที่ออก มาจากท่อไอเสียรถยนต์ โดยรถต้นแบบคันนี้นำไปทดลองใช้วิ่งมาแล้ว 40,000 ก.ม.ไป-กลับกทม.-อุดรฯ หลายเที่ยวและไปที่อื่นๆ ด้วย ปรากฏผลว่าอัตราส่วนน้ำ 1 ลิตรรถคันนี้วิ่งได้ถึง 3,000 ก.ม. อุปกรณ์ในการติดตั้งต้นทุนอยู่ในราคาประมาณ 40,000 บาทไม่เกินนี้ ส่วนอัตราการเร่งรอบเครื่องยนต์ปกตินั้นจำนวน 1,000 รอบต่อนาที ถ้าติดตั้งพลังงานทดแทนตัวนี้เข้าไปแล้วอัตราเร่งรอบเครื่องยนต์จะเพิ่มขึ้น มาเป็น 1,200 รอบต่อนาที ทำให้รถยนต์ออกตัวพุ่งดีกว่าเดิม และขณะนี้ยังไม่มีปัญหาของเครื่องยนต์บกพร่องหรือเครื่องรวนแต่อย่างใด และเชื้อเพลิงตัวนี้ใช้ได้กับรถยนต์ทุกชนิดทั้งรถใหม่และรถเก่า

ผู้ คิดค้นระบบใช้น้ำมาเป็นพลังงานแทนน้ำมันกล่าวอีกว่า หลังจากผลิตสำเร็จก็นำไปจดสิทธิบัตรความคิดเป็นของประเทศไทย เพราะอยากให้เทคโนโลยีนี้นั้นเป็นสมบัติของชาติ และคนไทยสามารถนำไปต่อยอดต่อได้ ซึ่งถือว่าการทำเช่นนี้เป็นการตอบ แทนพระคุณแผ่นดินอีกทางหนึ่งด้วย หลังจากผลิตผลสำเร็จและมีข่าวออกไปก็ได้มีนักธุรกิจจากบริษัทต่างชาติ เช่นญี่ปุ่นและมาเลเซียได้ติดต่อมา แต่ตนไม่สนใจที่จะขายความรู้นี้ให้กับคนต่างชาติ จะขอให้เป็นของคนไทย และหลังจากพัฒนาดีแล้วก็จะนำขึ้นทูลเกล้าฯถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัว อย่างไรก็ตามอยากให้คนไทยได้ใช้พลังงานทดแทนที่คิดค้นขึ้นมา ไม่ต้อง ไปซื้อพลังงานเชื้อเพลิงจากต่างชาติมาใช้ โดยตนจะร่วมกับผศ.วิเชียรในการผลิตตำราการเรียนการสอนในเรื่องนี้ เพื่อนำไปสอนให้แก่นักศึกษาในการผลิตบุคลากรพัฒนาประเทศชาติต่อไป

วัน เดียวกันผู้สื่อข่าวสอบถามเกี่ยวกับพลังงานดังกล่าวไปยังเจ้าหน้าที่ฝ่าย เทคนิคของบริษัท บีเอ็ม ดับเบิลยู (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นค่ายรถยนต์ หนึ่งที่พัฒนารถใช้พลังงานไฮโดรเจน ซึ่งเจ้าหน้าที่เปิดเผยว่าตามหลักการของเครื่องยนต์แล้วสามารถทำได้ แต่ความร้อนของไฮโดรเจนสูงกว่าน้ำมัน หรือก๊าซค่อนข้างมาก อีกทั้งรถยนต์ปกติไม่ได้มีการดีไซน์เพื่อนำมาใช้กับไฮโดรเจน มองว่าอาจทำให้เกิดอันตรายได้ นอก จากนี้ในส่วนของถังที่เก็บไฮโดรเจนต้องใช้เทคโนโลยีเฉพาะ เนื่องจากไฮโดรเจนมีสถานะเป็นจุดเยือกแข็ง และมีแรงดันทำให้การจัดเก็บค่อนข้าง ยาก ในประเทศเยอรมันการก่อสร้างสถานีไฮโดรเจนใช้งบประมาณสูงมาก อีกทั้งเวลาเติมไฮโดรเจนต้องระมัด ระวังมากกว่าการเติมน้ำมัน หรือก๊าซเหมือนที่ใช้อยู่ทั่วไป

ขณะที่นายพัฒนเดช อาสาสรรพกิจ ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับรถยนต์ชื่อดังของเมืองไทย กล่าวว่าทราบข่าวนี้เช่นกัน และนำเข้าในที่ประชุมวุฒิสภา ซึ่งทุกคนงงหมด แม้แต่สภาวิจัยแห่งชาติ เนื่องจากยังไม่ทราบรายละเอียดของอุปกรณ์ดังกล่าวว่าใช้หลักการอะไร โดยเฉพาะในจุดที่แจ้งว่าฉีดเชื้อเพลิงเข้าไปพร้อมกับไฮโดร เจน ซึ่งอุณหภูมิต่างกันถือว่าเป็นไปได้ค่อนข้างยาก

"แม้จะไม่มีอะไรที่ เป็นไปไม่ได้ เพียงแต่กรณีนี้ยังไม่ค่อยแน่ใจ ยิ่งใช้ร่วมกับแก๊สแอลพีจี นอกจากนี้เมื่อแยกไฮโดรเจนออก ต้องมีออกซิเจนออกมาด้วย แล้วนำไปเก็บไว้ไหน ใครๆ ก็รู้ว่าออกซิเจนติดไฟได้ง่าย คือยังมีปัญหาหลายจุด" นายพัฒนเดชกล่าว และว่าจริงๆแล้วการแยกไฮโดรเจนออกจากน้ำไม่ใช่เรื่องยาก ในเว็บไซต์มีชุดคิทที่ทำได้ด้วยตัวเอง ชุดละ 100-200 เหรียญสหรัฐ เพียงแต่ใครจะนำไปต่อยอดได้มากน้อยแค่ไหน ในกรณีนี้ถือว่าน่าสนใจ เพียงแต่ต้องลงรายละเอียดลึกๆ ก่อน

นายพัฒนเดชกล่าวอีกว่า ในวันที่ 8 ก.ย.ที่จะถึง เตรียมเชิญพล.อ.ท.มรกต ชาญสำรวจ คนไทยที่ผลิตรถยนต์ไฮโดรเจนมาร่วมโชว์ในงาน สัมมนาเรื่องรถยนต์พลังงานทางเลือก ที่รัฐสภา ส่วนกรณีของ พ.อ.อ.สุมิตรนี้ต้องตรวจสอบอย่างรอบคอบ หากเป็นเรื่องจริงก็จะเชิญมาร่วมโชว์ในงานนี้ด้วยเช่นเดียวกัน

ด้าน ผศ.ประยุทธ์ ดวงคล้าย รองหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี กล่าวว่า การใช้ก๊าซไฮโดรเจนที่แยกออกมาจากน้ำ เป็นพลังงานร่วมกับก๊าซแอลพีจีเป็นการ เพิ่มปริมาณก๊าซไฮโดรเจนให้กับก๊าซแอลพีจี เพราะในก๊าซแอลพีจีมีส่วนประกอบหลักของก๊าซมีเทนและไฮโดรเจน ส่งผลให้อัตราการเผาไหม้ดีขึ้นและทำให้ กำลังเครื่องยนต์เพิ่มมากขึ้น ส่วนในเรื่องความปลอด ภัยจะเท่ากับเครื่องยนต์ที่ใช้ก๊าซโดยทั่วไป เพราะใช้ก๊าซไฮโดรเจนเข้าไปผสมในอัตราส่วนไม่มาก ต่างกับการนำก๊าซไฮโดรเจนเพียงอย่างเดียวไปใช้กับเครื่องยนต์จะอันตรายมาก แต่คงต้องปรับแต่งเครื่องยนต์ใหม่ให้เหมาะสมกับอัตราการเผาไหม้ที่เพิ่มขึ้น และต้องดูว่าเครื่องรีแอคเตอร์ดังกล่าวใช้อะไรเป็นพลังงานในการแยกก๊าซ ไฮโดรเจนออกจากน้ำ เนื่องจากเทคโนโลยีในปัจจุบันส่วนใหญ่จะใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นตัวกระตุ้นให้ เกิดปฏิกิริยาดังกล่าว แต่ต้องใช้พลังงานไฟฟ้าจำนวนสูงมาก ต้นทุนในการแยกก๊าซไฮโดรเจนจากน้ำเพิ่ม นำมาใช้งานจริงจึงยังไม่คุ่มค่า
ผู้เชี่ยวชาญด้านรถยนต์ พูดผิดด้วยแฮะ ออกซิเจนติดไฟได้ง่าย :shock:
มันติดไฟไม่ได้แต่ช่วยให้ไฟติดต่างหาก แหม พูดซะไม่กล้าหายใจเลย
ภาพประจำตัวสมาชิก
Nongki
Verified User
โพสต์: 1222
ผู้ติดตาม: 0

เปิดตัวรถพลังน้ำ วิ่งได้ 56 กิโลเมตร/ลิตร

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ในหนังเคยเรียกว่า Cold Fusion
ปัจจุบัน เรียกกันว่า Hybrid
อนาคต น่าจะได้ Nobel
:lol:
เรารักในหลวง  เรารักอำมาตย์  เราเกลียดคนขายชาติ  เรารักประชาธิปไตย
Jeng
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 14783
ผู้ติดตาม: 0

เปิดตัวรถพลังน้ำ วิ่งได้ 56 กิโลเมตร/ลิตร

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ยอดเยี่ยมมาก อิอิ  :D   :D   :D
ภาพประจำตัวสมาชิก
กล้วยไม้ขาว
Verified User
โพสต์: 1074
ผู้ติดตาม: 0

เปิดตัวรถพลังน้ำ วิ่งได้ 56 กิโลเมตร/ลิตร

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ว่าแต่ว่าอย่างนี้

จะมีผลกับธุรกิจไหน และ อย่างไรมั่งนะ :?:

ถ้าในอนาคตใช้ได้ดีจริง ๆ ผมว่า BAT-3K กะ YAUSA น่าจะดีนะเนี่ย

เพราะรถต้องใช้แบ็ตเตอรี่มากขึ้น คงต้องเปลี่ยนบ่อยขึ้นหน่อย

พี่ ๆ มีความเห็นว่ายังไงครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
gradius173
Verified User
โพสต์: 198
ผู้ติดตาม: 0

เปิดตัวรถพลังน้ำ วิ่งได้ 56 กิโลเมตร/ลิตร

โพสต์ที่ 9

โพสต์

คงต้องใช้batteryพิเศษแบบรถไฮบริตแน่เลย
แต่ปัญหารถพวกนี้อยู่ที่ความเร็ว ไม่รู้ว่าวิ่งได้สูงสุดกี่Kms./hr
แต่เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับคนไทย :D
ภาพประจำตัวสมาชิก
py106
Verified User
โพสต์: 296
ผู้ติดตาม: 0

เปิดตัวรถพลังน้ำ วิ่งได้ 56 กิโลเมตร/ลิตร

โพสต์ที่ 10

โพสต์

อืม....อยากเห็นมีการพัฒนาไปใช้ได้ในเชิงพาณิชย์จังเลยครับ  :o
แวะไปเยี่ยมเยียนกันได้ครับ ^^
http://py106travel.blogspot.com
chode
Verified User
โพสต์: 590
ผู้ติดตาม: 0

เปิดตัวรถพลังน้ำ วิ่งได้ 56 กิโลเมตร/ลิตร

โพสต์ที่ 11

โพสต์

[quote="py106"]อืม....อยากเห็นมีการพัฒนาไปใช้ได้ในเชิงพาณิชย์จังเลยครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
ปรัชญา
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 18252
ผู้ติดตาม: 0

เปิดตัวรถพลังน้ำ วิ่งได้ 56 กิโลเมตร/ลิตร

โพสต์ที่ 12

โพสต์

รูปภาพ

[ ฉบับที่ 923 ประจำวันที่ 20-8-2008  ถึง 22-8-2008

นิสสันเผยโฉมรถสิ่งแวดล้อม



>> ต้นแบบไฟฟ้า-พลังงานไฮบริด

นิสสันมอเตอร์ เผยโฉมรถต้นแบบรุ่นใช้ไฟฟ้าทั้งหมด และรุ่นพัฒนาใหม่ใช้พลังงานแบบไฮบริด ที่ใช้แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนล้ำสมัยทั้ง

2 รุ่น เพื่อเป็นผู้นำการผลิตรถยนต์ไร้ก๊าซเรือนกระจก ภายใต้แผนธุรกิจ GT 2012 โดยรถใช้ไฟฟ้าทั้งหมดจะเปิดตัวในปี 53 และออกจำหน่ายทั่วโลก ในปี55

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ นิสสัน มอเตอร์ เปิดเผยว่ารถยนต์ไฟฟ้าต้นแบบที่ใช้แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนล้ำสมัยนี้เป็นส่วน หนึ่งจากผลงานในการค้นคว้าอย่างอุตสาหะของนิสสันเพื่อพัฒนารถยนต์ไร้ก๊าซ เรือนกระจก โดยรถยนต์ยุคอนาคตนี้เป็นแบบขับเคลื่อนล้อหน้าและใช้มอเตอร์และอิน เวอร์เตอร์ 80KW ที่พัฒนาขึ้นใหม่ และแบตเตอรี่ลิเธียมไออนหุ้มลามิเนตขนาดกะทัดรัดบรรจุใต้พื้นรถทำให้ไม่กิน เนื้อที่ห้องโดยสารหรือพื้นที่บรรทุก

จะออกสู่ตลาดในปี พ.ศ.2553 จะได้รับการออกแบบรูปโฉมตัวรถใหม่เอี่ยม ไม่ซ้ำกับรถยนต์นิสสันรุ่นใดๆ ในปัจจุบัน

สำหรับรถยนต์พลังงานไฟฟ้าไฮบริด (Hybrid Electric Vehicle) ที่นิสสันพัฒนาขึ้นใหม่ประกอบไปด้วยสองเทคโนโลยีคือระบบขับเคลื่อนล้อหลัง ไฮบริดสมรรถนะสูง และระบบส่งกำลังไฮบริดคู่ขนาน ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่นิสสันพัฒนาขึ้นเอง โดยเป็นระบบส่งกำลังขับเคลื่อนล้อหลังไฮบริดระบบแรกของนิสสัน

โดยระบบส่งกำลังคู่ขนานเป็นระบบประหยัดพลังงานที่ใช้สองคลัตช์ มีมอเตอร์หนึ่งตัวต่อตรงกับเครื่องยนต์

และระบบส่งกำลังผ่านคลัตช์สองชุด ในระหว่างการขับขี่ที่มีสภาพแปรผัน มอเตอร์จะสลับไปมาระหว่างคลัตช์ทั้งสองเพื่อประหยัดน้ำมันและเพิ่มประสิทธิ ภาพการใช้พลังงานและระบบส่งกำลังคู่ขนานไฮบริด ทำให้หมดความจำเป็น ต้องใช้ทอร์กคอนเวอร์เตอร์เหมือนรถทั่วไป ช่วยให้รถมีการตอบสนองดีขึ้นและเร่งได้แรงขึ้น เพิ่มสุนทรียภาพในการขับขี่

ส่วนแบตเตอรี่ลิเธียมไออนที่ใช้ในรถต้นแบบทั้งสองรุ่นนี้ เป็นผลงานจากการพัฒนาของ AESC (Automotive Energy Supply Corporation) ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่างนิสสันกับ NEC และมีความเหนือกว่าแบตเตอรี่นิกเกิลเมทอลไฮไดรด์ที่ใช้ทั่วไป ทั้งในด้าน สมรรถนะ ความแน่นอนวางใจได้ ความปลอดภัย และความคุ้มค่าใช้จ่าย โดยสามารถให้กำลังไฟฟ้าได้ถึงสองเท่าของแบตเตอรี่นิกเกิลเมทอลไฮไดรด์ทรง กระบอกที่ใช้กันทั่วไป รูปทรงกะทัดรัดหุ้มลามิเนตยังช่วยในการออกแบบบรรจุในตัวรถได้ดีขึ้นและนำไป ประยุกต์ใช้ได้หลากหลายมากขึ้น

ทั้งนี้นิสสันมีประสบการณ์ยาวนานในการพัฒนารถยนต์พลังงานไฟฟ้า เริ่มตั้งแต่รุ่น “Tama Electric Vehicle”

ซึ่งเป็นรถยนต์ไฟฟ้าคันแรกของนิสสันในปีพ.ศ.2490 นิสสันยังเป็นผู้นำแบตเตอรี่ลิเธียมไออนไปใช้ในรถยนต์เป็นครั้งแรกของโลกใน รุ่น Prarie Joy EV ในปีพ.ศ. 2539 ตามมาด้วยรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นสุดกะทัดรัด Hypermini ในปีพ.ศ.2543

นิสสันยังได้เปิดตัวรถยนต์พลังงานผสม Tino Hybrid ที่พัฒนาขึ้นเองเมื่อปีพ.ศ. 2542 ในประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้ในปีพ.ศ.2549 ยังได้นำรถรุ่น Altima Hybrid ที่ใช้เทคโนโลยีลิขสิทธิ์ วางตลาดในทวีปอเมริกาเหนือภายใต้โครงการนิสสันกรีนเพื่อสิ่งแวดล้อม 2010
โพสต์โพสต์