เสาเข็มสำเร็จรูป vs เสาเข็มเจาะ

เชิญมาพักผ่อน คลายร้อนนั่งเล่น คุยกันเย็นๆ พร้อมเรื่องกีฬา สัพเพเหระ ทัศนะนานา ชีวิตชีวา สุขภาพทั่วไป บันเทิงขำขัน รอบเรื่องเมืองไทย ชวนเที่ยวที่ไหน อยากไปก็นัดมา ...โย่วๆ

โพสต์ โพสต์
pawiga
Verified User
โพสต์: 870
ผู้ติดตาม: 0

เสาเข็มสำเร็จรูป vs เสาเข็มเจาะ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

อยากถามพี่ๆใน วงการก่อสร้าง ว่า
เสาเข็มทั้ง2ชนิด มีการใช้งานแตกต่างกันอย่างไร แล้วโครงสร้างต่างกันรึเปล่า    แล้วในขนาด ความยาว เท่ากันนี่ ราคาต่างกันรึเปล่า
เห็น ราคา เสาเข็มสำเร็จรูปพวกเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง พุ่งขึ้น ตั้งเยอะ
เลย สงสัยว่า เสาเข็มเจาะจะเป็นอย่างไร
TPH
Verified User
โพสต์: 347
ผู้ติดตาม: 0

เสาเข็มสำเร็จรูป vs เสาเข็มเจาะ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ผมไม่ได้อยู่ในวงการก่อสร้างนะครับ แต่จะลองตอบดู  :roll:
เสาเข็มสำเร็จรูปกับเสาเข็มเจาะมีคุณสมบัติในการใช้รับแรงที่ส่งผ่านฐานรากไปยังพื้นดินเหมือนกัน
เสาเข็มสำเร็จรูปส่วนใหญ่จะเป็นคอนกรีตอัดแรงหล่อสำเร็จจากโรงงานแล้วขนส่งไปตอกที่หน้างาน ความยาวก็มีหลายขนาดแล้วแต่สั่งทำ แต่สำหรับลักษณะชั้นดินของกรุงเทพก็จะมีตั้งแต่ 26 - 42 เมตร การติดตั้งก็จะใช้ปั้นจั่นตอกลงไป ระยะเวลาก่อสร้างจะน้อยกว่าเสาเข็มเจาะ
ส่วนเสาเข็มเจาะ ชื่อก็บอกแล้วว่าเจาะ ดังนั้นการก่อสร้างก็จะใช้การเจาะหรือขุดดินออก แล้วก็นำคอนกรีตผสมเสร็จไปเทแทนที่รูเจาะ การติดตั้งจะใช้เวลานานกว่าเสาเข็มตอก แต่ข้อดีของเสาเข็มเจาะคือเวลาก่อสร้างจะมีแรงกระเทือนน้อยกว่าเสาเข็มตอก ซึ่งส่วนใหญ่เสาเข็มตอกจะมีข้อจำกัดหากสถานที่ก่อสร้างติดกับอาคารอื่น ๆ ก็จะส่งผลกระทบต่ออาคารข้างเคียงได้
ผมคงจะให้ข้อมูลได้เท่านี้ รอท่านอื่นมาเสริมครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
san
Verified User
โพสต์: 1675
ผู้ติดตาม: 0

เสาเข็มสำเร็จรูป vs เสาเข็มเจาะ

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ในเรื่องของความสามารถในการรับน้ำหนัก
......โดยปกติแล้ว
ถ้าหากว่าเสาเข็มเจาะมีขนาดแล้วความยาวเท่ากับเสาเข็มตอก  เช่น เสาเข็มหน้าตัดกลม
เสาเข็มเจาะ   จะรับน้ำหนักบรรทุกได้น้อยกว่าเสาเข็มตอก เล็กน้อย
เหตุผลมาจากที่ว่า..เสาเข็มตอกนั้นไม่ได้ทำการเอาดินออกจากพื้น  ทำให้ปริมาตรดินที่อยู่ในพื้นนั้นคงเดิม
ส่วนเสาเข็มเจาะนั้นได้ทำการเอาดินออกจากรูที่เจาะเสาเข็ม    ทำให้ปริมาตรดินที่บริเวณนั้นลดลง  จึงส่งผลให้  ดินทำการหนีบ ตัวเข็มลดลงเนื่องจากดินแน่นน้อยลงครับ

สรุป
การรับน้ำหนักของเสาเข็มเจาะนั้นจะลดลงเมื่อเทียบกับเสาเข็มตอก(ที่มีขนาดหน้าตัดและความยาวที่เท่ากันครับ)  อันเนื่องมาจาก แรงเสียดทานที่เกิดจากแรงดันดิน ที่ต่างกันครับ
ขอบคุณ รุ่นพี่ๆ รุ่นน้องๆ ครูบา อาจารย์ ในนี้ ที่แนะนำเรื่อง วิธีการลงทุนที่ดี นะครับ
อ. โจ กับ พี่พอใจ ยังเป็นขวัญใจ เสมอครับ
วันนี้ อ. โจ ได้ลง นสพ ด้วย .....อิอิอิ
lovebanana_45
Verified User
โพสต์: 24
ผู้ติดตาม: 0

ขอตอบในความเห็นส่วนตัว

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ขอตอบในความเห็นดังต่อไปนี้

เข็มตอก ขณะตอกจะรบกวนสภาพดินรอบข้าง ทำให้ดินเสียกำลังเป็นไปบ้าง (ดินรอบ ๆ เกิดสภาวะที่แรงดันน้ำส่วนเกิน สูงขึี้น) ทำให้เข็มตอกในตอนแรกจะใช้กำลังจาก ปลายเข็ม (end bearing ในการรับน้ำหนัก) ในการออกแบบ ถ้าออกแบบเป็นจะกำหนด factor ลดทอนกำลังของ friction ลง

เข็มเจาะ ตรงกันข้าม ขณะเจาะ ดินก้นหลุมจะไม่ไม่เกาะตัวกัน อาจมีเศษดินตกลงไป ดังนั้นเวลาออกแบบ จะลด factor ให้ end bearing ต่ำลง แต่เน้น friction เพราะเค้าว่ากันว่า ดินรอบ ๆ เสาเข็ม ไม่ถูกรบกวนมากนัก
Alaforie
Verified User
โพสต์: 45
ผู้ติดตาม: 0

เสาเข็มสำเร็จรูป vs เสาเข็มเจาะ

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ผมไม่ได้แย้งข้างบนนะ

ว่าด้วยเรื่อง safety facter ก่อนเลย เสาเข็มตอกจะใช้ facter of safty น้อยกว่าเสาเข็มเจาะ ทั้ง friction และ end bering หมายความว่า
ถ้าเสาเข้มขนาดเท่ากัน เสาเข็มตอก จะสามารถรับกำลังได้มากกว่าเสาเข็มเจาะ เพราะขบวนการติดตั้ง ของเสาเข็มตอก ทำให้เกิดการเพิ่มความเค้นในมวลดิน ทำให้ดินรอบข้างผิวเข็ม และปลายเสาเข็มเกิดการเปลี่ยนแปลง ในทิศทางที่ทำให้ แอลฟ่า facter มีค่าสูงขึ้น (ไอ้ตัวคล้ายๆอินฟินิตี้ ถ้าจำไม่ผิด)
ในเสาเข้มเจาะจะเป็นตรงกันข้าม

เสาเข็มตอกเป็นการยากที่จะตอกทำลุชั้นดินที่มีค่า spt > 35 blows/ft ที่หนามากกว่า 1.5 ม.
เสาเข็มเจาะเล็ก ใช้พวกกระเช้า เป็นการยากที่จะเจาะผ่านชั้นดินที่มีค่า spt > 50 blows/ft ที่หนามากกว่า 3 เมตร
เสาเข็มเจาะใหญ่ เครน ตามทฤษฎียังไม่มีข้อจำกัด ต่อให้เป็นชั้นหิน ก็ใช้หัวเพชร coring ผ่านได้

ในการติดติดตั้งเสาเข็มตอก จะมี่การสั่นสะเทือนสูงกว่าเสาเข็มเจาะ
ในสภาพหน้างาน เสาเข็มเจาะเปียกที่ใช้ bentonite จะมีสภาพหน้างานเละที่สุด และทำให้สภาพท่อระบายน้ำดดยรอบเลวร้ายสุดเขียด เพราะ bentonite จะเปลี่ยนดินเป็นคล้ายๆเลน ยากที่จะแห้ง แต่ยงเว้นใช้ตัวใหม่ ถ้าจำไม่ผิดเรียก อะไ เมอๆๆๆ นี่แหละ
Alaforie
Verified User
โพสต์: 45
ผู้ติดตาม: 0

Re: ขอตอบในความเห็นส่วนตัว

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ผมไม่อยากแย้งคุณหรอกนะแต่ดูเหมือนคุณจะเข้าใจอะไรๆคลาดเคลื่อนไปนิดนึง (กันการแย้ง ผม สย นะ)

เข็มตอก ขณะตอกจะรบกวนสภาพดินรอบข้าง ทำให้ดินเสียกำลังเป็นไปบ้าง (ดินรอบ ๆ เกิดสภาวะที่แรงดันน้ำส่วนเกิน สูงขึี้น) ถูก ทำให้เข็มตอกในตอนแรกจะใช้กำลังจาก ปลายเข็ม (end bearing ในการรับน้ำหนัก) อันนี้แม่งๆ ในการออกแบบ ถ้าออกแบบเป็นจะกำหนด factor ลดทอนกำลังของ friction ลง ลองพิจารณาสูตรใหม่นะ

เข็มเจาะ ตรงกันข้าม ขณะเจาะ ดินก้นหลุมจะไม่ไม่เกาะตัวกัน อาจมีเศษดินตกลงไป ถูก ดังนั้นเวลาออกแบบ จะลด factor ให้ end bearing ต่ำลง แต่เน้น friction เพราะเค้าว่ากันว่า ดินรอบ ๆ เสาเข็ม ไม่ถูกรบกวนมากนักแม่งๆ
Monet
Verified User
โพสต์: 363
ผู้ติดตาม: 0

Re: ขอตอบในความเห็นส่วนตัว

โพสต์ที่ 7

โพสต์

Alaforie เขียน:ผมไม่อยากแย้งคุณหรอกนะแต่ดูเหมือนคุณจะเข้าใจอะไรๆคลาดเคลื่อนไปนิดนึง (กันการแย้ง ผม สย นะ)

เข็มตอก ขณะตอกจะรบกวนสภาพดินรอบข้าง ทำให้ดินเสียกำลังเป็นไปบ้าง (ดินรอบ ๆ เกิดสภาวะที่แรงดันน้ำส่วนเกิน สูงขึี้น) ถูก ทำให้เข็มตอกในตอนแรกจะใช้กำลังจาก ปลายเข็ม (end bearing ในการรับน้ำหนัก) อันนี้แม่งๆ ในการออกแบบ ถ้าออกแบบเป็นจะกำหนด factor ลดทอนกำลังของ friction ลง ลองพิจารณาสูตรใหม่นะ

เข็มเจาะ ตรงกันข้าม ขณะเจาะ ดินก้นหลุมจะไม่ไม่เกาะตัวกัน อาจมีเศษดินตกลงไป ถูก ดังนั้นเวลาออกแบบ จะลด factor ให้ end bearing ต่ำลง แต่เน้น friction เพราะเค้าว่ากันว่า ดินรอบ ๆ เสาเข็ม ไม่ถูกรบกวนมากนักแม่งๆ
ขออนุญาตติงสักนิดครับ
1. ตามกฎกระทรวงประกอบพรบ.วิชาชีพวิศวกรรม มีการกำหนดขอบเขตการประกอบวิชาชีพตามชั้นวิศวกร (ภย. สย. และ วย.) แต่มิได้กำหนดห้ามวิศวกรชั้นเล็กกว่าแย้งหรือแสดงความคิดเห็นแตกต่างจากวิศวกรชั้นสูงกว่าแต่อย่างใด
   ผมจึงไม่เห็นด้วยกันคำพูดที่คุณ Alaforie ใช้นะครับ
2. สามัญวิศวกรนับว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถสูงในงานวิศวกรรมสาขานั้น ๆ
   ผมจึงไม่เห็นด้วยที่คุณ Alaforie ตอบในลักษณะใช้ความรู้สึกอย่างเดียวครับ น่าจะมีคำอธิบายที่เข้าใจได้มากกว่านี้
บทที่หนึ่ง "ทำงานหาเงิน"
Alaforie
Verified User
โพสต์: 45
ผู้ติดตาม: 0

เสาเข็มสำเร็จรูป vs เสาเข็มเจาะ

โพสต์ที่ 8

โพสต์

งั้นเอาเต็มๆ
การที่ผมเขียนแบบนั้น เพื่อให้เค้าไปอ่านตำรามาใหม่ เพราะเค้าเข้าใจผิดถนัด

เพราะในสูตรการคำนวนกำลังรับน้ำหนักเสาเข็มไม่ว่าจะตอกหรือเจาะก็เป็นสูตรเดียวกัน

ถ้าไปเปิดตำราค่ากราฟค่าแอลฟ่าของเข็มตอกจะสูงกว่าเข็มเจาะเสมอในดินเหนียว ถ้าในทรายจะเท่ากัน (conservative แล้ว) ปัจจุบันวิศวกรที่ชำนาญด้านฐานรากจะใช้ fs เท่ากันคือ 2.5 (เพราะปัจจุบันสามารถคำนวนได้ไกล้เคียง fail กันมากขึ้น)

ที่กำลังรับน้ำหนักเท่ากัน จะใช้เข็มตอกที่หน้าตัดเล็กกว่าเข็มเจาะที่ความยาวเท่ากัน

จึงมีบางคนเรียกเข็มตอกว่า friction pile เพราะกำลังรับน้ำหนักส่วนใหญ่ของเข็มตอกมาจาก friction

เพราะฉนั้น เข็มตอกในตอนแรกจะใช้กำลังจาก ปลายเข็ม (end bearing ในการรับน้ำหนัก) มันจึงผิดแน่นอน เพราะเสาเข้มทุกชนิด Friction จะเป็นตัวรับแรงก่อนเสมอ ถ้าไม่พอจึงใช้ End bearing สามารถเปิดตำราดูกราฟทดสอบเสาเข็มได้ (ดินรอบผิวเข็มและปลายเข็มถูกรบกวน แต่การรบกวน ทำให้นับน้ำหนักได้มากขึ้น)

ในการทำเสาเข็มเจาะจะต้องมีการดึง casing ออกมาจาดหลุมเจาะ ในการดึง casing จะทำให้ดินติด casing มาด้วย 1-1.5 เมตร จึงเป็นสาเหตุให้ค่า แอลฟ่า ตำกว่าเข็มตอก (ดินรอบผิวเข็มถูกรบกวน แต่การรบกวนทำให้รับน้ำหนักได้น้อยลง)
[/code]
Alaforie
Verified User
โพสต์: 45
ผู้ติดตาม: 0

เสาเข็มสำเร็จรูป vs เสาเข็มเจาะ

โพสต์ที่ 9

โพสต์

แก้ ดินติด 1-1.5 ซม.
Monet
Verified User
โพสต์: 363
ผู้ติดตาม: 0

เสาเข็มสำเร็จรูป vs เสาเข็มเจาะ

โพสต์ที่ 10

โพสต์

Alaforie เขียน:จึงมีบางคนเรียกเข็มตอกว่า friction pile เพราะกำลังรับน้ำหนักส่วนใหญ่ของเข็มตอกมาจาก friction
ถ้าผมจะบอกว่า "อันนี้xxxx ๆ" ก็คงจะไม่ดี (ขอโทษครับ ล้อเล่น)
เราเรียก Friction Pile กับ Bearing Pile โดยพิจารณาจากสัดส่วนกำลังรับน้ำหนักของเสาเข็มในส่วน Friction กับ End Bearing ไม่ใช่หรือครับ?
เพราะฉนั้น เข็มตอกในตอนแรกจะใช้กำลังจาก ปลายเข็ม (end bearing ในการรับน้ำหนัก) มันจึงผิดแน่นอน เพราะเสาเข้มทุกชนิด Friction จะเป็นตัวรับแรงก่อนเสมอ ถ้าไม่พอจึงใช้ End bearing สามารถเปิดตำราดูกราฟทดสอบเสาเข็มได้ (ดินรอบผิวเข็มและปลายเข็มถูกรบกวน แต่การรบกวน ทำให้นับน้ำหนักได้มากขึ้น)
น่าจะหมายถึงในขณะตอกเสาเข็มในดินเหนียว ซึ่งระหว่างการตอกจะเกิดสภาพ Dynamics และแรงเสียดทานระหว่างดินกับผิวเสาเข็มจะลดลงจากสภาพ Statics อย่างมาก แรงที่ต้านทานการตอกส่วนใหญ่จึงเป็นแรงจาก End Bearing แต่เมื่อหยุดตอกและปล่อยให้ดินคืนตัวระยะหนึ่ง (14-28 วัน) หรือที่เรียกว่า Soil Set Up แรงเสียดทานก็จะเพิ่มขึ้นจนได้กำลังตามที่ออกแบบ จึงทำให้มีการลด Factor ที่ใช้ในการควบคุมการตอก (Pile Driving Formula) เพื่อไม่ให้ Conservative เกินไป
บทที่หนึ่ง "ทำงานหาเงิน"
lovebanana_45
Verified User
โพสต์: 24
ผู้ติดตาม: 0

เสาเข็มสำเร็จรูป vs เสาเข็มเจาะ

โพสต์ที่ 11

โพสต์

ขอบคุณสำหรับความเห็น

แต่ยังยืนยันว่าสูตรมันก็คือสูตรนั่นแหละ เราออกแบบตามพฤติกรรมของดินมิใช่หรือ
เรามีสิทธิปรับอะไรก็ตามหากเป็นความมั่นใจของเรามิใช่หรือ ผมอยากจะเผื่ออยากจะลดอะไรก็ได้ตามความมั่นใจ ไม่มั่นใจ สูตรไม่ได้เป็นตัวกำหนดผม FS มันก็ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับผม ผมอยากใช้มันมากกว่านี้ 10 หรือ 1 มันก็เรื่องของผม

สำหรับความรู้ของคุณนั่นก็ดีครับ แต่ผมขอยืนยันความรู้ของผม ก็พฤติกรรมของเข็มตอก เข็มเจาะมันเป็นอย่างที่ผมว่าไว้ ผมยังยืนยัน
lovebanana_45
Verified User
โพสต์: 24
ผู้ติดตาม: 0

เสาเข็มสำเร็จรูป vs เสาเข็มเจาะ

โพสต์ที่ 12

โพสต์

ภาพประจำตัวสมาชิก
san
Verified User
โพสต์: 1675
ผู้ติดตาม: 0

เสาเข็มสำเร็จรูป vs เสาเข็มเจาะ

โพสต์ที่ 13

โพสต์

โค้ด: เลือกทั้งหมด

(กันการแย้ง ผม สย นะ) 
ไม่ได้เข้ามาหลายวัน.......

อ่า......

คุยกันแบบอื่นดีกว่านะครับ  เข้าใจนะครับว่ามีเหตุผล    แต่ว่า.....คุยกันแบบข้างบนนี้ม่ายยยย ดี เลยครับ
ขอบคุณ รุ่นพี่ๆ รุ่นน้องๆ ครูบา อาจารย์ ในนี้ ที่แนะนำเรื่อง วิธีการลงทุนที่ดี นะครับ
อ. โจ กับ พี่พอใจ ยังเป็นขวัญใจ เสมอครับ
วันนี้ อ. โจ ได้ลง นสพ ด้วย .....อิอิอิ
ภาพประจำตัวสมาชิก
san
Verified User
โพสต์: 1675
ผู้ติดตาม: 0

เสาเข็มสำเร็จรูป vs เสาเข็มเจาะ

โพสต์ที่ 14

โพสต์

นิดนึงครับ
การคุยกันทางด้านเทคนิคอลในนี้  ที่อ่านมานั้น   ดีนะครับ  แสดงความคิดเห็นกันเถอะครับ ทางเทคนิคอลนะครับ
ขอบคุณ รุ่นพี่ๆ รุ่นน้องๆ ครูบา อาจารย์ ในนี้ ที่แนะนำเรื่อง วิธีการลงทุนที่ดี นะครับ
อ. โจ กับ พี่พอใจ ยังเป็นขวัญใจ เสมอครับ
วันนี้ อ. โจ ได้ลง นสพ ด้วย .....อิอิอิ
โพสต์โพสต์