ขอความรู้เรื่องอิฐมวลเบา

เชิญมาพักผ่อน คลายร้อนนั่งเล่น คุยกันเย็นๆ พร้อมเรื่องกีฬา สัพเพเหระ ทัศนะนานา ชีวิตชีวา สุขภาพทั่วไป บันเทิงขำขัน รอบเรื่องเมืองไทย ชวนเที่ยวที่ไหน อยากไปก็นัดมา ...โย่วๆ

โพสต์ โพสต์
MarginofSafety
Verified User
โพสต์: 5786
ผู้ติดตาม: 0

ขอความรู้เรื่องอิฐมวลเบา

โพสต์ที่ 1

โพสต์

รบกวนเพื่อนๆวิศวกรโยธาและสถาปนิก
รวมทั้งเพื่อนๆที่เคยใช้อิฐมวลเบาสร้างบ้าน
มาให้ข้อมูลเกี่ยวกับวัสดุก่อผนังชนิดนี้หน่อยครับ

ผมนั่งหาข้อมูลมาซักพักใหญ่ๆแล้วก็ได้ข้อมูลพอสมควร
แต่อยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมจากการใช้งานจริงมากกว่า

ที่ผมทราบมา ข้อดีของอิฐมวลเบาที่เหนือกว่าอิฐมอญมีเยอะแยะ
เนื่องจากเป็นนวัตกรรมใหม่ (ในเมืองไทย) เช่นกันไฟได้ 4 ชม.
เป็นฉนวนความร้อน ทำให้ภายในบ้านเย็น กันเสียงได้ดีกว่า
ก่อสร้างได้เร็ว เป็นต้น

คำถามนะครับ
1. "ตัวอิฐมวลเบาเองกันเสียงได้ดีกว่าผนังอิฐมอญแน่นอน
แต่ถ้าฉาบแล้วผนังอิฐมอญกันเสียงได้ดีกว่า
และไม่มีการทดสอบที่เป็นทางการที่บอกว่าผนังอิฐมวลเบาหลังฉาบ
กันเสียงได้ดีกว่าผนังอิฐมอญ"

จริงหรือเปล่าครับ?

2. "ผนังอิฐมอญกันความชื้นได้ดีกว่า"

จริงเปล่าครับ?

3. "ผนังอิฐมวลเบา เนื่องจากเป็นฉนวนความร้อน
ทำให้อุณหภูมิของผนังฝั่งภายนอกอาคาร
และภายในอาคารต่างกันมาก จึงทำให้เกิดรอยแตกร้าวได้ง่ายกว่า
ซึ่งผลที่ตามมา ก็จะเกิดการซึมตามรอยร้าวดังกล่าวได้
ดังนั้นใช้อิฐมอญก่อผนังล้อมรอบตัวอาคารจะดีกว่า"

จริงเปล่าครับ?

รบกวนแค่นี้ก่อนครับ
แก้ไขล่าสุดโดย MarginofSafety เมื่อ พฤหัสฯ. ก.พ. 21, 2008 9:10 pm, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
"Winners never quit, and quitters never win."
artvr4
Verified User
โพสต์: 767
ผู้ติดตาม: 0

ขอความรู้เรื่องอิฐมวลเบา

โพสต์ที่ 2

โพสต์

1. "ตัวอิฐมวลเบาเองกันเสียงได้ดีกว่าผนังอิฐมอญแน่นอน
แต่ถ้าฉาบแล้วผนังอิฐมอญกันเสียงได้ดีกว่า
และไม่มีการทดสอบที่เป็นทางการที่บอกว่าผนังอิฐมวลเบาหลังฉาบ
กันเสียงได้ดีกว่าผนังอิฐมอญ"
  โดยรวม อิฐมวลเบายัง กันเสียงได้ดีกว่าครับ ที่บ้าน ต่อเติม ทำห้องดูหนังก็ใช้อิฐมวลเบา รู้สึกว่าเสียง ที่ดังรอดออกมา จะเบากว่าส่วนห้องเดิมที่ก่อด้วยอิฐมอญครับ

.
"ผนังอิฐมอญกันความชื้นได้ดีกว่า"

จริงเปล่าครับ?
  จริงครับ เนื่องจาก อิฐมวลเบา จะมีลักษณะ พรุน ข้างใน จะทำให้ เกิดการเป็นเชื้อราได้  ดังนั้น เค้าจึง ห้ามเอาอิฐมวลเบา ไปก่อ ห้องน้ำ เพราะว่าจะเจอปัญหาความชื่น ได้   แต่ปัจจุบัน เทคโนโลยี อิฐมวลเบา ที่เรียกว่าg4 นั้น  ของซุปเปอร์บล็อก เค้าบอกว่าแก้ปัญหานี้ได้  
ผนังอิฐมวลเบา เนื่องจากเป็นฉนวนความร้อน
ทำให้อุณหภูมิของผนังฝั่งภายนอกอาคาร
และภายในอาคารต่างกันมาก จึงทำให้เกิดรอยแตกร้าวได้ง่ายกว่า
ซึ่งผลที่ตามมา ก็จะเกิดการซึมตามรอยร้าวดังกล่าวได้
ดังนั้นใช้อิฐมอญก่อผนังล้อมรอบตัวอาคารจะดีกว่า"

 ไม่จริงครับ ส่วนใหญ่ปัญหาการแตกร้าว เป็นปัญหาที่เกิดจาก การก่อฉาบ แล้ว ไม่มีการ สาดน้ำที่มากพอ( ภาษาช่าง)  ทำให้อิฐดูดความชื้นจากปูนฉาบ  ก่อนที่ ปูนฉาบจะเซ็ทตัวได้  จึงเกิดปัญหาการแตกร้าว  และอีกสาเหตุ เกิดจาก  มุมต่างๆที่มีประตูหน้าต่าง ก่อนฉาบ ไม่ได้ติดเหล็กกรงไก่ ป้องกันการแตกร้าวครับ     การฉาบ หากว่า รดน้ำที่ผนังอิฐให้ชุ่ม  แล้วฉาบ   พอปูนแห้ง แล้ว อีกวัน สองวัน ควรจะ รดน้ำ ที่ผนังด้วย เพราะช่วงนี้ปูนจะดูดน้ำเยอะ ครับ
หุ้นนี่ เรียนรู้ได้ทั้งชีวิต จริงๆ
Capo
Verified User
โพสต์: 1067
ผู้ติดตาม: 0

ขอความรู้เรื่องอิฐมวลเบา

โพสต์ที่ 3

โพสต์

เห็นญาติผมบอกว่าเจาะผนังแขวนนู่นแขวนนี่หนัก ๆ แล้วพุกถอนอยู่เรื่อย

แต่ไม่รู้เหมือนกันว่าเพราะอะไรกันแน่

1. แกทำเอง

2. เพราะอิฐมวลเบา

3. ฯลฯ
... จุดเริ่มต้นของคนเราไม่สำคัญ

มันสำคัญที่ว่าเขาวิ่งได้เร็วแค่ไหนตะหาก ...
winnie
Verified User
โพสต์: 92
ผู้ติดตาม: 0

ขอความรู้เรื่องอิฐมวลเบา

โพสต์ที่ 4

โพสต์

การฉาบอิฐมวลเบานั้นจะต้องสาดน้ำก่อนเพื่อให้อิฐดูดน้ำเข้าไปให้เต็มที่
นอกจากนั้นปูนที่ฉาบจะเป็นปูนเฉพาะ ไม่ใช่ปูนที่ฉาบอิฐแดง เวลาทำก็ดูด้วยนะครับ เดี๋ยวโดนผู้รับเหมานิสัยไม่ดีลักไก่เอา
ภาพประจำตัวสมาชิก
ปรัชญา
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 18252
ผู้ติดตาม: 0

ขอความรู้เรื่องอิฐมวลเบา

โพสต์ที่ 5

โพสต์

winnie เขียน:การฉาบอิฐมวลเบานั้นจะต้องสาดน้ำก่อนเพื่อให้อิฐดูดน้ำเข้าไปให้เต็มที่
นอกจากนั้นปูนที่ฉาบจะเป็นปูนเฉพาะ ไม่ใช่ปูนที่ฉาบอิฐแดง เวลาทำก็ดูด้วยนะครับ เดี๋ยวโดนผู้รับเหมานิสัยไม่ดีลักไก่เอา
ได้ความรู้เพิ่มขึ้น  ขอบคุณครับ

สนใจบ้านประหยัดพลังงาน  แอร์เครื่องเดียวเย็นทั้งบ้าน  ถามคุณวิบูลย์ซิครับ
เพราะสร้างอยู่มาหลายปี
Alaforie
Verified User
โพสต์: 45
ผู้ติดตาม: 0

ขอความรู้เรื่องอิฐมวลเบา

โพสต์ที่ 6

โพสต์

เมื่อครั้งยังเอาะๆ ปัญหานี้มีน้อยมาก
อิฐก่อนก่อต้องแช่น้ำ แล้วพึ่งลมซักพักก่อนก่อ แล้วก่อบริเวณนั้นเสร็จแล้วค่อยมาฉาบ
ปัจจุบัน ได้มีซ่อมเกือบทุกงาน
โซโลเลย สบัดน้ำเล็กน้อย ก่อนฉาบ

สรุป มีน้ำไม่พอ

พุกถอน น่าเกิดจากการเลือกชนิดของพุก และวิธีติดตั้ง

บ้านประหยัดพลังงาน
บ้านไม้ประหยัดพลังงานชัว แต่แพงกว่าบ้านปูน (บ้านปูนให้เย็นขึ้นก็ให้ระหว่างชั้นมันสูงขึ้น และออกแบบให้สามารถถ่ายเถอากาศจากล่างขึ้นบนได้ดีขึ้น ก็แคนั้น)
RONNAPUM
Verified User
โพสต์: 1455
ผู้ติดตาม: 0

ขอความรู้เรื่องอิฐมวลเบา

โพสต์ที่ 7

โพสต์

มาตรฐานผลิตภัณฑ์คอนกรีตมวลเบา Q-CON

อิฐมวลเบา หรือบล็อคมวลเบา (Q-CON Block)
          มาตรฐานมอก. 1505-2541 ชั้นคุณภาพ 2 ชนิด 0.5 เป็นวัสดุใช้สำหรับก่อผนังเพื่อแบ่งกั้นพื้นที่ระหว่างห้องหรืออาคาร ใช้งานได้ทั้งผนังภายนอก และภายใน ขนาดมิติเที่ยงตรงแน่นอน ผิดพลาดเพียง 2 มม. เท่านั้น ใช้งานด้วยวิธีก่อบางด้วยปูนกาวหนาเพียง 2-3 มม. มีหลายความหนาให้เลือกใช้ บรรจุและลำเลียงขนส่งด้วยพาเลทไม้จึงสะดวก รวดเร็ว เสียหายน้อย



ความหนา(ซม.)
กว้างxยาว(ซม.)
ก้อน/ตร.ม.
กิโลกรัม/ตร.ม.
ก้อน/พาเลท
ตร.ม./พาเลท

7.5
20x60
8.33
46.5
200
24.0

10
20x60
8.33
63.0
150
18.0

12.5
20x60
8.33
77.5
125
15.0

15
20x60
8.33
93.0
100
12.0

20
20x60
8.33
124.0
70
8.4

25
20x60
8.33
155.0
60
7.2


คานทับหลังสำเร็จรูป (Q-CON Lintels)
          ใช้วางลงบนผนัง Q-CON Block เหนือช่องเปิดประตูหรือหน้าต่าง เพื่อทดแทนการหล่อทับหลัง หรือเสาเอ็นคสล. โดยให้มีระยะนั่งของปลายคานทั้งสองด้านไม่น้อยกว่า 15 ซม. มีหลายขนาดตามความหนาของ Block ช่วยให้งานรวดเร็ว แข็งแรง ไม่แตกร้าวบริเวณมุมช่องเปิด



ความหนา (ซม.)
ความสูง (ซม.)
ความยาว (ม.)
ความกว้างของช่องเปิด (ม.)

10,12.5,15 และ 20
20
1.20, 1.50, 1.80, 2.10,
2.40, 2.70, 3.00, 3.30
และ 3.60
0.60-3.00
(ช่องประตู หรือหน้าต่าง)


แผ่นผนัง (Q-CON Wall Panels)
          มาตรฐานมอก. 1510-2541 เป็นแผ่นผนังกึ่งสำเร็จรูปเสริมเหล็ก 2 ชั้น พร้อมทั้งชุบเหล็กกันสนิม เลือกติดตั้งได้ทั้งในแนวนอน หรือแนวตั้ง ติดตั้งได้รวดเร็วอย่างเป็นระบบทั้งภายในและภายนอก พื้นผิวเรียบสม่ำเสมอเลือกวัสดุแต่งผิวได้หลากหลายประเภท แข็งแรง ทนทาน รับแรงลม แรงด้านข้างได้ดีกว่า ด้วยความยาวสูงสุดถึง 6 เมตร



ความหนา (ซม.)
ความกว้าง (ซม.)
ความยาวสูงสุด (ม.)
แรงลมที่รับได้ (กก./ตร.ม.)

10,12.5,15,17.5,20
60
2.00-6.00
ทุกช่วงความยาว 0.50 ม.
50-500


แผ่นพื้น (Q-CON Floor Panels) และแผ่นหลังคา (Q-CON Roof Panels)
          มาตรฐานมอก. 1510-2541 เป็นแผ่นพื้นเสริมเหล็กกึ่งสำเร็จรูป ใช้วางบนผนังหรือคานทั้งสองด้าน ให้มีระยะนั่งอย่างน้อย 7 ซม. แข็งแรงรับน้ำหนักใช้งานได้ทันที ติดตั้งรวดเร็ว เพราะไม่ต้องค้ำยัน และไม่ต้องเททับหน้า เพียงวางเหล็ก และเทปูนทรายลงในแนวรอยต่อเท่านั้น แล้วทำการตกแต่งพื้นผิวได้ทันที



ความหนา (ซม.)
ความกว้าง (ซม.)
ความยาวสูงสุด (ม.)
น้ำหนักที่รับได้ (กก./ตร.ม.)

10,12.5,15,17.5,20,22.5,25
60
2.00-6.00
ทุกช่วงความยาว 0.50 ม.
100-1,000


แผ่นบันได (Q-CON Stairs)
          เป็นแผ่นลูกขั้นบันไดกึ่งสำเร็จรูป โดยวางพาดกับผนังทั้งสองด้าน สามารถใช้สอยพื้นที่ห้องใต้บันไดได้ ความหนามาตรฐาน 17.5 ซม. หน้ากว้าง 27-60 ซม. ความยาว 1.00-3.00 ม. ติดตั้งได้รวดเร็วและแข็งแรง รับน้ำหนักได้มาก ไม่ต้องเทโครงสร้างคสล. ประหยัดเวลา และค่าก่อสร้าง



ปูนก่อ Q-CON (1 ถุง/40 กก.)
          เป็นปูนก่อสำเร็จรูปผสมน้ำใช้ได้ทันที โดยไม่ต้องผสมสารใดๆ เพิ่มอีก มีลักษณะเป็นปูนกาวเนื้อละเอียด แรงยึดเหนี่ยวสูง ไม่ย้อยตัว ผสมโดยใช้หัวปั่นปูนต่อเข้ากับสว่านไฟฟ้าใช้งานร่วมกับเกรียงก่อ Q-CON ความหนาปูนก่อ 2-3 มม. ช่วยให้ก่อได้รวดเร็ว ปูนก่อไม่ตกหล่นเสียหาย แรงยึดเหนี่ยวระหว่างก้อนมีความแข็งแรง และประหยัด


 ปูนฉาบ Q-CON (1 ถุง/40 กก.)
          เป็นปูนฉาบสำเร็จรูปผสมน้ำในปริมาณที่พอเหมาะใช้งานได้ทันทีหลังจากพรมน้ำที่ผนังแล้ว ความหนาของปูนฉาบบางประมาณ 5-10 มม. เนื้อละเอียด เหนียวลื่น ฉาบง่าย ยึดเกาะดี ไม่ย้อยตัว ไม่แตกร้าวลายงา ลดปัญหาซ่อมงาน และยังฉาบได้พื้นที่มากกว่าปูนฉาบทั่วไปกว่า 30% เมื่อน้ำหนักปูนฉาบเท่ากัน




เครื่องมือ และอุปกรณ์  Q-CON
          การใช้งานผลิตภัณฑ์คอนกรีตมวลเบาควรปฏิบัติตามคำแนะนำที่ถูกต้อง และใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ที่เหมาะสมจะทำให้ทำงานได้ง่าย สะดวกรวดเร็ว ผนังแข็งแรง ประหยัดแรงงานและค่าใช้จ่าย ในการก่อสร้าง



หัวปั่นปูน
- เพื่อปั่นตีกวนปูนให้เข้ากันดีในเวลาอันสั้น โดยเสียบเข้ากับหัวสว่านไฟฟ้า

เกรียงปูนก่อ
- ใช้ป้ายปูนก่อมีขนาดให้เลือกใช้ตามความหนาของ Q-CON Block ลักษณะเป็นเกรียงหวี ช่วยควบคุมความหนา และความกว้างของเนื้อปูนก่อ

ค้อนยาง
- ใช้เคาะปรับระดับ และแนวในการก่อ Block โดยไม่ทำให้ผิวงานเสียหาย อีกทั้งรอยต่อมีความแข็งแรง

ระดับน้ำ
- ใช้ตรวจสอบระดับตามแนวราบ และแนวดิ่งของผนัง

เหล็กฉาก
- ใช้สำหรับทาบเส้นเพื่อตัด Q-CON Block ในแนวตรงได้ฉาก

เลื่อยตัดบล็อค
- ใช้ตัดก้อนคอนกรีตมวลเบา Q-CON ได้ตรงแนว รวดเร็ว ไม่บิดเบี้ยว

เกรียงฟันปลา
- ใช้ไสขัดผิวผนังส่วนที่เกินให้เรียบ ในแนวระดับดิ่งฉากที่ต้องการ
อย่าทำตัวเป็นนักแสดง เป็นเพียงผู้ดูก็พอ..
artvr4
Verified User
โพสต์: 767
ผู้ติดตาม: 0

ขอความรู้เรื่องอิฐมวลเบา

โพสต์ที่ 8

โพสต์

มาเพิ่มอีกนิดครับ

อิฐมวลเบามีสองแบบ สองเทคโนโลยี   แบบของคิวคอน ซุปเปอร์บล็อก จะเป็นสีขาว

อีกแบบ ของดีคอน  จะเป็นสีเหมือนปูน

 ทั้ง สอบแบบ ก็ว่าแบบเค้าดี กว่าอีกแบบ  

เค้าบอกว่า แบบ ของดีคอน จะสามารถใช้ปูน ฉาบธรรมดาได้ครับ

นี่  บริษัทผมกับเพื่อนๆ กำลังสร้างบ้าน ให้ลูกค้า ว่าจะลองใช้ ของดีคอนดู (ตอนนี้เพิ่งเริ่มทำเสาเข็ม)    ไม่รู้ว่าดีหรือเปล่า เพราะว่าหากใช้ปูนฉาบปกติได้ ก็ประหยัด ได้หลายอยู่ครับ   ปกติ ใช้ซุปเปอร์บล็อก
หุ้นนี่ เรียนรู้ได้ทั้งชีวิต จริงๆ
MarginofSafety
Verified User
โพสต์: 5786
ผู้ติดตาม: 0

ขอความรู้เรื่องอิฐมวลเบา

โพสต์ที่ 9

โพสต์

ขอบคุณมากนะครับ โดยเฉพาะคุณ artvr4
ฟังๆดูเหมือนกับเป็นวิดวะโยธาเลย ผมเข้าใจถูกเปล่า

ถามเพิ่มเติมในประเด็นที่สงสัยต่อนะครับ

4. ถ้าอิฐมวลเบามีปัญหาที่ความชื้นจริง
เช่นไม่ควรใช้สร้างห้องน้ำ
แล้วเราเอาอิฐชนิดนี้ไปก่อผนังรอบตัวอาคาร
ต้องเจอทั้งแดดและฝน มันจะไม่มีปัญหาเรื่องความชื้น
และเชื้อราตามมาเหรอครับ

5. ได้ยินมาว่าปกติอิฐมวลเบา กำหนดให้ฉาบบาง
อยากทราบว่ามีความหนาเท่าไหร่
แล้วก็ถ้าก่ออิฐมอญ ปกติฉาบหนาเท่าไหร่

6. อาคารที่โครงสร้างออกแบบมาเพื่อก่ออิฐมอญ
เราสามารถเปลี่ยนมาก่อเป็นอิฐมวลเบาได้เลย
โดยไม่ต้องแก้แบบ ใช่เปล่าครับ

7. เราพอจะแขวน LCD TV ขนาด 40" ไว้บนผนังอิฐมวลเบา
ความหนาซัก 10 cm. พอไหวหรือเปล่าครับ
มั่นใจได้ซักแค่ไหนว่าจะไม่หล่นลงมา

ขอบคุณมากครับ
"Winners never quit, and quitters never win."
ภาพประจำตัวสมาชิก
Little Boy
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1318
ผู้ติดตาม: 0

ขอความรู้เรื่องอิฐมวลเบา

โพสต์ที่ 10

โพสต์

บ้านผมที่กำลังสร้างใช้อิฐของ D-con ครับ ข้างๆ กันใช้อิฐ Q-con ครับ เวลาฉาบบ้านผมใช้ปูนฉาบตราเสือปกติได้เลย (ประหยัดดี :lol: ) แต่ของข้างบ้านต้องใช้ปูนกาวครับ ฉาบเสร็จไปเมื่อประมาณต้นเดือน ไม่พบรอยแตกลายงาแต่อย่างใด ช่างฝีมือดีครับ น้ำถึงตลอดทั้งก่อนฉาบหลังฉาบ ไม่รู้คิดไปเองหรือเปล่า ว่าอิฐมวลเบากันความร้อนได้ดีกว่าอิฐแดง ช่วงบ่ายๆ ข้างนอกแดดเปรี้ยงผมเคยลองเข้าไปอยู่ในบ้านสักพักก็ไม่ค่อยร้อนเท่าไหร่ อาจจะเป็นเพราะสถาปนิกออกแบบให้ลมถ่ายเทได้ดีจากหน้าต่างด้วยมั้ง

ส่วนเรื่องความชื้นของห้องน้ำ คงไม่น่าจะเป็นไรมั้งครับพี่หวี เพราะต้องปูกระเบื้องอีก  1 ชั้น ส่วนเรื่องการรับน้ำหนักก็ได้ยินมาเหมือนกันว่ารับน้ำหนักได้ไม่มาก อันนี้คงต้องรอผู้รู้มาช่วยชี้แจงให้หน่อยครับ เพราะผมมีแผนว่าจะตั้งแขวน PLASMA PANA 42 นิ้ว ด้วยเหมือนกันครับ ถ้ารับน้ำหนักไม่ได้สงสัยคงต้องตั้งธรรมดา
ความรู้..อาจมีขอบเขตจำกัด แต่จินตนาการ..ไร้ขีดจำกัด
MarginofSafety
Verified User
โพสต์: 5786
ผู้ติดตาม: 0

ขอความรู้เรื่องอิฐมวลเบา

โพสต์ที่ 11

โพสต์

ยินดีกับพี่บอยด้วยนะครับ บ้านจะเสร็จแล้ว
ต่อไปก็แต่ง ...  :lol:
"Winners never quit, and quitters never win."
artvr4
Verified User
โพสต์: 767
ผู้ติดตาม: 0

ขอความรู้เรื่องอิฐมวลเบา

โพสต์ที่ 12

โพสต์

เอ่อ ขอบคุณครับ ไม่ได้เป็นวิศวะ ครับ จบด้านบริหารแต่ หุ้นกับเพื่อนทำบริษัทก่อสร้างบ้าน ได้ความรู้จากเพื่อนเป็นวิศวะกรมาเยอะเลยครับ ประกอบกับ เจอปัญหา หน้างานให้แก้ๆ  ก็พอ รู้เรื่อง แต่เรื่องคำนวณโครงสร้างคงทำไม่เป็นครับ :wink:


มาต่อครับ

4. ถ้าอิฐมวลเบามีปัญหาที่ความชื้นจริง
เช่นไม่ควรใช้สร้างห้องน้ำ
แล้วเราเอาอิฐชนิดนี้ไปก่อผนังรอบตัวอาคาร
ต้องเจอทั้งแดดและฝน มันจะไม่มีปัญหาเรื่องความชื้น
และเชื้อราตามมาเหรอครับ
 
    คำว่าความชื้น นี่  หมายถึงการอยู่ในบริเวณที่มันต้องเปียกตลอดเวลา มันไม่ดีกับอิฐมวลเบาในระยยาวครับ   อย่างห้องน้ำ ซึ่ง เป็นส่วนเปียกของตัวบ้าน จึงไม่ควร ใช้อิฐมวลเบา เพราะว่า มีโอกาศเจอความชื้นตลอดเวลา  พวก ผนังรอบอาคาร มันไม่ได้เจอความชื้นบ่อยครับเลยไม่มีปัญหา

5. ได้ยินมาว่าปกติอิฐมวลเบา กำหนดให้ฉาบบาง
อยากทราบว่ามีความหนาเท่าไหร่
แล้วก็ถ้าก่ออิฐมอญ ปกติฉาบหนาเท่าไหร่
  อืม ข้อนี้ ผมเห็นคนงานผมทำ  ก็รู้สึกว่าเวลาฉาบอิฐมวลเบา เค้าฉาบไม่หนาเท่าอิฐมอญครับ แต่ผมก็ไม่เคยสังเกตุว่า แตกกันเยอะขนาดไหน แต่ ดูจากปริมาณ ปูนฉาบ ที่อิฐมวลเบาใช้ปูนฉาบ(พวกยี่ห้อ ลูกดิ่ง ) น้อยกว่าครับ


6
. อาคารที่โครงสร้างออกแบบมาเพื่อก่ออิฐมอญ
เราสามารถเปลี่ยนมาก่อเป็นอิฐมวลเบาได้เลย
โดยไม่ต้องแก้แบบ ใช่เปล่าครับ
      ไม่ต้องแก้แบบครับ เพราะ น้ำหนัก ต่อ ตารางเมตร ของอิฐมวลเบาจะน้อยกว่าครับ   หากบ้านออกแบบโดยใช้อิฐมวลเบาแต่แรก จะประหยัดโครงสร้างพวกเหล็ก   ได้พอควร  (อันนี้ต้องให้วิศวกร คำนวณครับ) แต่โดยปกติ เท่าที่เห็นวิศวกร เค้าจะออกแบบโครงสร้าง สำหรับอิฐมอญ  เผื่อไว้อยู่แล้วครับ

7. เราพอจะแขวน LCD TV ขนาด 40" ไว้บนผนังอิฐมวลเบา
ความหนาซัก 10 cm. พอไหวหรือเปล่าครับ
มั่นใจได้ซักแค่ไหนว่าจะไม่หล่นลงมา

  แขวนได้ครับ   แต่ต้องใช้ พุก เฉพาะ รู้สึกจะเป็นพุกตะกั่ว ไม่ใช่แบบพุกพลาสติกครับ ไปหาตามโฮมโปร น่าจะมี  พุกนึง จะรับน้ำหนักได้ประมาณ 20 กก ต่อจุดครับ       ใช้อิฐมวลเบา หนา 10 เซ็น นี่เรียกว่าหนากว่ามาตรฐาน ที่7.5 เซ็น ยิ่งไม่มีปัญหาครับ

 แต่ว่าเวลาเจาะควรใช้สว่าน และเบอร์ดอกสว่านควรเล็กกว่าพุกนิดนึง  เวลาเจาะก็เจาะเข้าตรงๆ ครับ อย่าไปคว้านรู ให้ใหญ่ครับ แล้วค่อยตอกพุกเข้าไปครับ      เคยสร้างบ้านให้หลัง เค้ายึดพวกตู้บิวอินท์ลอยในห้องครัว กับผนังอิฐมวลเบาไม่มีปัญหาครับแค่ นั่นมีจาน ชาม อยู่ในตู้อีกเพียม เพิ่มจุดยึดให้มากกว่าปกติก็ใช้ได้ครับ
หุ้นนี่ เรียนรู้ได้ทั้งชีวิต จริงๆ
winnie
Verified User
โพสต์: 92
ผู้ติดตาม: 0

ขอความรู้เรื่องอิฐมวลเบา

โพสต์ที่ 13

โพสต์

ถ้าเปลี่ยนมาใช้อิฐมวลเบาแทนอิฐแดง ไม่ต้องคำนวณโครงสร้างใหม่ครับ
เพราะอิฐมวลเบานั้นเบากว่า ก็เป็นการเพิ่ม safety factor ไปในตัว ยกเว้นการใช้ผนังนั้นรับแรงด้วย แต่ไม่ค่อยพบนะครับ
สำหรับเรื่องห้องน้ำนั้น ปัญหารั่วซึมส่วนใหญ่นอกจากท่อรั่วแล้วก็จะมาจากปูนยาแนวระหว่างแผ่นกระเบื้องครับ ปูนยาแนวหลุดไปหรือไม่เต็ม น้ำก็จะซึมเข้าไปสะสมในปูน พอชื้นมากๆ ก็จะซึมลงข้างล่าง ฝ้าเพดานก็จะด่างครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Little Boy
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1318
ผู้ติดตาม: 0

ขอความรู้เรื่องอิฐมวลเบา

โพสต์ที่ 14

โพสต์

[quote="HVI"]ยินดีกับพี่บอยด้วยนะครับ บ้านจะเสร็จแล้ว
ต่อไปก็แต่ง ...
ความรู้..อาจมีขอบเขตจำกัด แต่จินตนาการ..ไร้ขีดจำกัด
mambo
Verified User
โพสต์: 64
ผู้ติดตาม: 0

ขอความรู้เรื่องอิฐมวลเบา

โพสต์ที่ 15

โพสต์

มีคนบอกว่า ใช้ผนังยิปซั่มฉีดพียูโฟมตรงกลางจะราคาถูกว่าอิฐมวลเบา และกันความร้อนได้ดีกว่า ไม่ทราบจริงรึเปล่าครับ
พรสวรรค์หรือจะสู้พรแสวง
ภาพประจำตัวสมาชิก
Little Boy
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1318
ผู้ติดตาม: 0

ขอความรู้เรื่องอิฐมวลเบา

โพสต์ที่ 16

โพสต์

mambo เขียน:มีคนบอกว่า ใช้ผนังยิปซั่มฉีดพียูโฟมตรงกลางจะราคาถูกว่าอิฐมวลเบา และกันความร้อนได้ดีกว่า ไม่ทราบจริงรึเปล่าครับ
:shock:  แล้วถ้าเทียบกับอิฐบล็อคล่ะครับ พอดีจะสร้างโกดังเก็บของด้วยสนใจครับ
ความรู้..อาจมีขอบเขตจำกัด แต่จินตนาการ..ไร้ขีดจำกัด
MarginofSafety
Verified User
โพสต์: 5786
ผู้ติดตาม: 0

ขอความรู้เรื่องอิฐมวลเบา

โพสต์ที่ 17

โพสต์

Little Boy เขียน: แล้วของพี่หวีล่ะครับ ใกล้เสร็จหรือยัง อยู่ในขั้นตอนไหนแล้วครับ
คอนโดใหม่ผมก็ก้าวหน้าไปพอสมควรแล้วครับ
เทพื้นชั้น 5 เสร็จแล้ว
สร้างเร็วกว่ากำหนดพอสมควร
น่าจะย้ายเข้าอยู่ได้ก่อนสิ้นปีตามกำหนด
คงสะดวกดีครับ เดินไปนั่ง MRT ไปทำงานได้เลย

รูปภาพ

มีปัญหาบ้างเล็กน้อยแต่ก็ค่อนข้างอุ่นใจ
ถ้าเทียบกับโครงการละแวกเดียวกัน
โดยเฉพาะพวกที่ต้องชะงักกับกฎหมาย EIA

ของพี่บอยคงซื้อที่ดินสร้างบ้านเอง
เหนื่อยครับ แต่สร้างเสร็จแล้วคงภูมิใจมาก
แล้วก็ได้บ้านแบบที่เราต้องการจริงๆ
"Winners never quit, and quitters never win."
ภาพประจำตัวสมาชิก
เพื่อน
Verified User
โพสต์: 1826
ผู้ติดตาม: 0

ขอความรู้เรื่องอิฐมวลเบา

โพสต์ที่ 18

โพสต์

อันนี้จากค่ายดีคอน
http://www.dconproduct.com/product/BlockCLC.pdf
บล็อคเทากันความรอนดีคอน : ผลิตในโรงงานของดีคอนซึ่งมีเครื่องจักร
ที่ทันสมัยจากเยอรมัน และมีการควบคุมคุณภาพทุกขั้นตอนการผลิต เปน-
คอนกรีตมวลเบาระบบ CLC อัตราการซึมน้ําต่ํา 16 - 20% (บล็อคขาว G2 G4-
ทั่วไปซึมน้ํา 30-35%) ลดโอกาสเกิดเชื้อราจากความชื้นซึมสะสม สามารถใชปูน
ทรายธรรมดาฉาบงายสะดวก สามารถเจาะแขวน TV LCD, Plasma ไดอยางแข็งแรง ลดเวลาการกอฉาบ
ชวยประหยัดพลังงานทําใหบานเย็นสบาย ปลอดภัยจากเชื้อรา
จุดเดน
1. แข็งแรง สามารถยึดเจาะแขวนของที่มีน้ําหนักมากได
2. อัตราดูดซึมน้ําต่ําเพียงครึ่งของอิฐมวลเบาสีขาว จึงลดโอกาสเกิดเชื้อราซึ่งเปนอันตราย
ตอสุขภาพ
3. ใชปูนทรายธรรมดากอ-ฉาบ จึงทํางานสะดวก และประหยัดคาใชจาย
รายการ ดีคอนบล็อค บล็อคอื่นๆ อิฐมอญ
ระบบ CLC ระบบ AAC
ขนาดกอน (กวางxยาวxหนา) ( ซม.) 20x60x7.5 20x60x7.5 7x15x6
8.33 8.33 120 130 จํานวนใชงานตอ 1 ตร.ม (กอน/ตร.ม.)
น้ําหนักวัสดุ (กก./ตร.ม.) 65 - 85 45 130
105 - 135 90 180 น้ําหนักวัสดุรวมกอฉาบ 2 ดาน (กก/ตร.ม.)
ความหนาปูนกอ (ซม.) 1 - 1.5 0.3 - 0.5 2.0 - 2.5
1 - 1.5 1 - 1.5 1.5 - 3.0 ความหนาปูนฉาบ (ซม.)
800 - 1000
500 - 700 1800 ความหนาแนน (Dry density) (กก./ลบ.ม.)
ทดสอบตามมาตรฐาน ASTM C796
ความแข็งแรง (กก./ตร.ซม.)
> 45
35 - 50
15 - 40 คากําลังอัดที่ 28 วัน (Compressive- Strength)
ทดสอบตามมาตรฐาน ASTM C495
ตารางเปรียบเทียบคุณสมบัติวัสดุจากการทดสอบจริง
ที่จริงยังมีข้อมูลรายละเอียดเพิ่มอีก และตารางข้อมูลก็ดูง่ายกว่านี้ สนใจก็ลองโหลดLinkมาดูเองนะครับ

ส่วนของsupperblock เข้าไปดูที่นี่เลยครับ
http://www.superblock.co.th
เห็นมีแต่ภาษาอังกฤษ

ผมอยากจะเอาหน้าโฆษณาของทั้ง2ค่ายที่ลงในหนังสือ อาษา มาให้ดูจัง ....เค้าBluffกันสนุกดี ไม่รู้ใครดีกว่าใครเลยครับ ใครทดลองใช้จริงๆแล้วมาโพสต์บอกกันมั่งก็ดี โดยเฉพาะดีคอน ผมยังไม่มีโอกาสเจอใครใช้ซักทีครับ...อยากรู้เหมือนกัน
nokkamon
Verified User
โพสต์: 2
ผู้ติดตาม: 0

ขอความรู้เรื่องอิฐมวลเบา

โพสต์ที่ 19

โพสต์

ได้เข้ามาอ่านแล้วค่ะ
แต่ก้อยังไม่ค่อยเข้าใจอยู่ดี
อยากทราบว่า การใช้คอนกรีตมวลเบา สามารถใช้ได้ทุกสภาพภูมิอากาศเหรือป่าวค่ะ
nokkamon
Verified User
โพสต์: 2
ผู้ติดตาม: 0

ขอความรู้เรื่องอิฐมวลเบา

โพสต์ที่ 20

โพสต์

ไม่ทราบว่า หากจะหาข้อมูลของคอนกรีตมวลเบา

หรือหนังสือ ไม่ทราบพอจะมีแนะนำบ้างมั้ยค่ะ

ขอบคุณล่วงหน้านะค่ะ
sattaya
Verified User
โพสต์: 1372
ผู้ติดตาม: 0

ขอความรู้เรื่องอิฐมวลเบา

โพสต์ที่ 21

โพสต์

กำลังสร้างบ้านอยู่พอดี มีประโยชน์มากเลยครับ ขอบคุณพี่ๆสำหรับข้อมูล
โพสต์โพสต์